MPCF Thailand

พันธกิจคนในเครื่องแบบ และครอบครัว เพื่อพระคริสต์

เพจนี้สร้างขึ้นเผยแพร่งานพันธกิจของมูลนิธิคริสเตียนทหารตำรวจในประเทศไทย หรือ คทต. โดยมีพันธกิจในการประกาศข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้าและพระนามพระเยซูคริสต์กับคนในเครื่องแบบ โดยเฉพาะนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพ และนักเรียนนายร้อยตำรวจ ตลอดจนครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความเชื่อให้เข้มแข็ง หยั่งรากลงในความรู้ของพระเยซูคริสต์ จนกว่าจะเติบโตขึ้นถึงความไพบูลย์ของพระองค์ และเสริมสร้า

25/07/2024

สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

ผ่านระบบออนไลน์ ที่ www.royaloffice.th
หรือที่
https://wellwishes.royaloffice.th/
ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗

Photos from กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์'s post 24/07/2024

ที่มา : กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์

21/07/2024

"คนดื้อรั้นมักปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง"
วันต้นสัปดาห์ กับ พระวจนะแห่งชีวิต

ถ้าพวกเขาไม่ฟังโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะ แม้จะมีใครเป็นขึ้นมาจากตาย..."เขาก็ยังจะไม่เชื่อ"

(ลูกา บทที่ 16 ข้อที่ 31)

--------------------------

ในวันต้นสัปดาห์นี้ ขอนำพระวจนะของพระเจ้าในพระธรรมลูกา บทที่ 16 ซึ่งเป็นบริบทที่มีความสำคัญที่ "พระเยซู" ได้ยกตัวอย่างเล่าเรื่องในเชิงเปรียบเทียบ หรือบางข้อมูลระบุว่า เป็นนิทานที่พระเยซูแต่งขึ้นเพื่อตรัสสอนกับบรรดาสาวกของพระองค์ นั้นคือเรื่องของ "เศรษฐีกับลาซารัส" โดยเรื่องนี้ "ลูกา" เป็นผู้เขียนบันทึกไว้เพียงคนเดียว... อย่างไรก็ดี จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า มีการเปรียบเทียบ "เศรษฐี" เป็นเหมือน "พวกฟาริสีที่เห็นแก่เงิน" (ข้อที่ 14) ส่วน "ลาซารัส" เป็น "สาวกหรือคนที่ฟังคำสอน ของพระเยซูและยอมรับในคำสอนนั้น" ทั้งนี้ ในการศึกษาในบทนี้ จะต้องดูบริบทตั้งแต่เริ่มต้นตามที่ "ลูกา" ได้บันทึกไว้...
เริ่มต้นในข้อที่ 1-16 ลูกา ได้บันทึกว่า "พระเยซู" ได้เล่าถึงคำอุปมา "เรื่องพ่อบ้านที่ไม่ซื่อสัตย์" ซึ่งคำอุปมานี้พระเยซูต้องการสอนให้พวกเขาเข้าใจเรื่อง "ความซื่อสัตย์" โดยพระเยซูได้สรุปในช่วงท้ายให้สาวกของพระองค์ตระหนักว่า "คนที่ซื่อสัตย์ในของเล็กน้อยจะซื่อสัตย์ในของมากด้วย และคนที่ไม่ซื่อสัตย์ในของเล็กน้อย จะไม่ซื่อสัตย์ในของมากเช่นกัน" แม้ว่าในคำอุปมานี้ จะมีบางคนตีความว่า "พระเยซู" สอนให้เป็นคนไม่สัตย์ซื่อและเห็นแก่ตัว ซึ่งถ้าอ่านจบก็จะเข้าใจว่าไม่ใช่แบบนั้น... ในทางตรงกันข้าม "คำอุปมา" อาจดูขัดแย้งกับหลักคำสอนเรื่องความซื่อสัตย์ แต่จริง ๆ พระองค์ต้องการสอนให้พวกเขาฉลาดในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่พระองค์ก็ให้เราคิดถึงผู้อื่นด้วย เหมือนอย่างที่ "พ่อบ้านที่ไม่ซื่อสัตย์" ได้ทำ คือ คิดถึงบรรดาลูกหนี้ของเศรษฐี และแก้ไขบัญชีหนี้สิ้นให้กับพวกเขา (ข้อที่ 5-7) โดยการกระทำของ "พ่อบ้านที่ไม่ซื่อสัตย์" ส่งให้ผลให้พระเยซู ตรัสว่า "เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงทำตัวให้มีมิตรสหายด้วยเงินทองอธรรม เพื่อที่ว่าเมื่อสูญเสียมันไปแล้ว เขาจะได้ต้อนรับท่านไว้ในที่อาศัยตลอดไป" (ข้อที่ 9) ในประโยคคำว่า "ที่อาศัยตลอดไป" ใน footnote หมายถึง "การต้อนรับจากสวรรค์" ซึ่งความหมายตรงนี้จะเชื่อมโยงไปยังเรื่องของ "เศรษฐีกับลาซารัส" ...
นอกจากนี้ ถ้าผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องคำอุปมาของพระเยซู ผู้อ่านจะรู้ว่า ในทุก ๆ คำอุปมาของพระเยซู พระองค์ต้องการสื่อสารถึง "แผ่นดินสวรรค์ หรือแผ่นดินของพระเจ้า" ซึ่งในคำอุปมานี้ ก็เปรียบเสมือน "การเตรียมพร้อมรับอาณาจักรของพระเจ้า ที่จะมาอย่างไม่คาดคิด" หรือหากเปรียบในการใช้ชีวิตคือ "เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด" เหมือนดังที่ "พ่อบ้านที่ไม่ซื่อสัตย์" ได้กระทำ... มีคำถามต่อไปว่า? พ่อบ้าน ถูกไล่ออกหรือไม่? ประเด็นนี้มีการตีความว่า "พ่อบ้าน" คนนี้ไม่น่าจะถูกไล่ออก เพราะ "เศรษฐี" คงเห็นในความฉลาดที่เขามี จึงมีบันทึกว่า "เศรษฐี" ก็ชมพ่อบ้านอสัตย์นั้น!(ข้อที่ 8)
จากนั้น "พระเยซู" ได้ตรัสต่อไป "คนที่ซื่อสัตย์ในของเล็กน้อยจะซื่อสัตย์ในของมากด้วย และคนที่ไม่ซื่อสัตย์ในของเล็กน้อย จะไม่ซื่อสัตย์ในของมากเช่นกัน ดังนั้น ถ้าพวกท่านยังไม่ซื่อสัตย์ในเงินทองอธรรมแล้ว ใครจะมอบของเที่ยงแท้ให้แก่ท่าน? และถ้าพวกท่านยังไม่ซื่อสัตย์ในสิ่งที่เป็นของคนอื่นแล้ว ใครจะมอบสิ่งที่เป็นของท่านเองให้แก่ท่าน? (ข้อที่ 10-12) ในบริบทนี้ได้ยืนยันชัดเจนว่า "พระเยซูสนับสนุนให้สาวกของพระองค์เป็นคนสัตย์ซื่อ" ไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยหรือของมาก เพราะความสัตย์ซื่อจะเป็นเหตุทำให้เกิดความ "ไว้วางใจ" ดังนั้น ในประโยคสุดท้ายที่พระเยซูปิดท้าย พระองค์จึงโฟกัสไปที่ "แผ่นดินของพระเจ้า" โดยตรัสว่า "ท่านจะรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้" (ข้อที่ 13)
ต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์หนึ่งที่ "ลูกา" บันทึก ว่า "พวกฟาริสีที่เห็นแก่เงินเมื่อได้ยินคำเหล่านั้นแล้วจึงเยาะเย้ยพระองค์" (ข้อที่ 14) พระเยซูก็ตรัสกับพวกเขาว่า "พวกท่านทำทีดูเป็นคนชอบธรรมต่อหน้ามนุษย์ แต่พระเจ้าทรงทราบจิตใจของท่าน เพราะว่าสิ่งที่มีคุณค่าสูงในหมู่มนุษย์ ก็เป็นที่เกลียดชังในสายพระเนตรของพระเจ้า" (ข้อที่ 15) ในประโยคนี้ พระเยซูได้เปิดเผยว่า พวกฟาริสีคิดว่าตนนั้นสูงส่ง และคนจะเข้าหาพวกเขา... แต่ มีสิ่งเดียว "ที่คนเป็นมากมายแสวงหา" นั้นคือ "แผ่นดินสวรรค์" (ข้อที่ 16) โดยพระเยซูตรัสว่า "คนทั้งปวงก็ชิงกันเข้าไปในแผ่นดินนั้น" (เวอร์ชั่น TH1971) ไม่ใช่ตัวฟาริสีอีกต่อไป.. จากนั้น "พระเยซูก็กำชับกับพวกเขาว่า "ฟ้าและดินจะล่วงไปก็ยังง่ายกว่าขีด ขีดหนึ่งในธรรมบัญญัติหลุดหายไป" (ข้อที่ 17) ในประโยคนี้ footnote ได้ระบุไว้ว่า เป็นการยืนยันในพันธสัญญาของพระเจ้าที่มีมาตั้งแต่อับบราฮัม จนถึงในยุคพระเยซูว่าสิ่งที่ได้ตรัสไว้จะไม่สูญหายแม้สักขีดเดียว (ในภาษาฮีบรูการเขียนเป็นไปลักษณะของการขีดเป็นเส้น ๆ) แม้ว่า "โลกจะหรือแผ่นดินจะถูกทำลายหรือสลายไป พันธสัญญาของพระองค์จะไม่เปลี่ยนแปลงไป... ซึ่งแสดงถึง "ความสัตย์ซื่อของพระเจ้า" ที่มีต่อผู้ที่เชื่อและวางในในพระองค์นั้นเอง"
จากนั้น ในข้อที่ 18 พระเยซูก็ยกตัวอย่างเรื่อง "ความสัตย์ซื่อ" อีกครั้ง โดยบันทึกว่า "ผู้ที่หย่าภรรยาของตนแล้วไปมีภรรยาใหม่ก็ผิดประเวณี และคนที่รับหญิงซึ่งสามีหย่าแล้วมาเป็นภรรยาของตนก็ผิดประเวณีด้วย" ในบริบทเรื่องนี้ พระเยซู ต้องการชี้ให้เห็นถึง "ความจำเป็นของความซื่อสัตย์และความสมบูรณ์ทางจริยธรรมยุคใหม่" โดยใช้วัฒนธรรม ประเพณีเรื่อง "การแต่งงาน และ การหย่าร้าง" ซึ่งเป็นภาพของพันธสัญญาที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงให้สัญญากับพระเจ้า... หนึ่งในคำปฏิญาณคือ "ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่อเจ้า" ดังนั้น การมีส่วนทำให้ "การแต่งงานต้องแตกแยก ถือว่าเป็นการผิดประเวณี" ทำให้ในปัจจุบันจะพบว่า "การมีผัวเดียว เมียเดียว" เป็นเรื่องสำคัญของในวัฒนธรรมปัจจุบันของทั้งสังคมทั่วไป และในสังคมของผู้เชื่อด้วย ซึ่งสะท้อนถึง "ความสัตย์ซื่อ" ที่ให้ไว้กับพระเจ้านั้นเอง...
ถัดจากนั้น "พระเยซู" ได้ยกตัวอย่างนิทาน เรื่องของ "เศรษฐีกับลาซารัส" (The Rich Man and Lazarus) ซึ่งบริบทภาพรวมของเรื่องราวนี้ เป็นเรื่องของ "เศรษฐี" ชายผู้ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สนใจผู้อื่น กับ "ลาซารัส" ขอทานยากไร้ เต็มไปด้วยแผล เร่ร่อนขอเศษอาหารจากบ้านของเศรษฐี และก็มีสุนัขมาเลียแผลของเขา (ข้อที่ 19-21) ในนิทานตัวอย่างเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่มีการกล่าวถึง "ชื่อ" อย่างเฉพาะเจาะจง... จากนั้นในข้อที่ 22-23 ลูกา ได้บันทึกว่า ทั้งตัวเศรษฐี และ ตัวลาซารัส ได้เสียชีวิตไป... แต่ "ลาซารัส" ได้ถูกทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่กับอับราฮัม... ส่วน "เศรษฐี" คนนั้นก็ตายด้วย และถูกฝังไว้...เมื่อเขาเป็นทุกข์ทรมานอยู่ในแดนคนตาย เขาแหงนหน้าดู เห็น "อับราฮัม" อยู่แต่ไกล และลาซารัสก็อยู่กับท่าน... เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก กับ ในปากแดนผู้ตาย ช่างแตกต่างจากความจริงของเศรษฐีมากจริง ๆ ...
พระเยซูเล่าต่อไปว่า "เศรษฐีจึงร้องว่า ‘อับราฮัมบิดาเจ้าข้า ขอเมตตาข้าพเจ้าเถิด ขอใช้ลาซารัสเอาปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นของข้าพเจ้าให้เย็น เพราะข้าพเจ้าต้องทุกข์ระทมอยู่ในเปลวไฟนี้’ แต่อับราฮัมตอบว่า ‘ลูกเอ๋ย เจ้าจงระลึกว่าเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ เจ้าได้สิ่งที่ดีสำหรับตัว และลาซารัสได้แต่สิ่งเลว เวลานี้เขาได้รับการปลอบโยนแล้ว แต่เจ้าได้รับแต่ความทุกข์ระทม... ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างเรากับพวกเจ้าก็มีเหวใหญ่ตั้งขวางอยู่ เพื่อว่าถ้าใครอยากจะข้ามจากที่นี่ไปถึงพวกเจ้าก็ทำไม่ได้ หรือถ้าจะข้ามจากที่นั่นมาถึงเราก็ทำไม่ได้" (ข้อที่ 24-26)...
เหตุการณ์นี้ จึงสอดคล้องกับการที่พระเยซูตรัสไว้ในคำอุปมา "เรื่องพ่อบ้านที่ไม่ซื่อสัตย์" นั้นคือ "การต้อนรับจากสวรรค์" ตามที่พระเยซูได้ตรัสว่า "จงทำตัวให้มีมิตรสหายด้วยเงินทองอธรรม เพื่อที่ว่าเมื่อสูญเสียมันไปแล้ว เขาจะได้ต้อนรับท่านไว้ในที่อาศัยตลอดไป" (การต้อนรับจากสวรรค์) ซึ่ง "เศรษฐี" คนดังกล่าวไม่ได้รับการต้อนรับจากสวรรค์ เขาจึงตกอยู่ในแดนตาย... เพราะเขาไม่ได้ใช้เงินหรือทรัพย์สินที่มี เป็น "ความเมตตา" ต่อ "ลาซารัส" เศรษฐี คนนี้ไม่ได้ฉลาด ไม่มีการเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด.. โดยเฉพาะเกี่ยวกับ "แผ่นดินของพระเจ้า"
ในข้อที่ 27-30 เป็นใจความสำคัญที่พระเยซูเล่าต่อไปว่า "เศรษฐีคนนั้นจึงกล่าวว่า ‘ถ้าอย่างนั้น บิดาเจ้าข้า ขอท่านใช้ลาซารัสไปที่บ้านบิดาของข้าพเจ้า เพราะว่าข้าพเจ้ามีน้องชายห้าคน ให้ลาซารัสไปเตือนพวกเขา เพื่อไม่ให้เขาต้องมาอยู่ในที่ทุกข์ทรมานแห่งนี้’ แต่อับราฮัมตอบว่า ‘เขามีโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะแล้ว ให้พวกเขาฟังคนเหล่านั้นเถิด’ เศรษฐีคนนั้น จึงกล่าวว่า ‘ไม่ได้ อับราฮัมบิดาเจ้าข้า แต่ถ้ามีใครสักคนหนึ่งจากพวกคนตายไปหาพวกเขา เขาคงจะกลับใจใหม่’ อับราฮัมจึงตอบเขาว่า ‘ถ้าพวกเขาไม่ฟังโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะ แม้จะมีใครเป็นขึ้นมาจากตาย เขาก็ยังจะไม่เชื่อ”... ในประโยค "แม้จะมีใครเป็นขึ้นมาจากตาย เขาก็ยังจะไม่เชื่อ" เป็นการบอกเป็นนัยว่า "แม้แต่การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูก็ไม่สามารถช่วยบางคนให้ตอบสนองได้" ดังนั้น จำเป็นที่ผู้อ่านจะต้อง "ไม่เป็นคนดื้อรัน หรือปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับแผ่นดินของพระเจ้า หรือข่าวประเสริฐของพระองค์ เพื่อท่านจะไม่ต้องเป็นเหมือน "เศรษฐี" ที่ตกอยู่ในแดนคนตาย แต่ท่านจะได้รับการต้อนรับจากสวรรค์ เหมือนกับ "ลาซารัส" เพราะท่านมีการเตรียมตัว รับฟังยอมรับเรื่องของแผ่นดินของพระเจ้า และเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะ "ชีวิตหลังความตาย" ที่ใคร ๆ หลายคนมักตั้งคำถามว่า "ตายแล้วไปไหน?...

-------------------

สุดท้ายนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า "คำเตือนจากโลกหลังความตาย ที่พี่น้องของเศรษฐีถูกปฏิเสธ! ได้ถูกส่งมาถึง "ผู้อ่าน" ทุกคนแล้วในการบันทึกของลูกา... ขอพระเมตตาและฤทธานุภาพของพระเจ้า ดำรงอยู่กับผู้อ่านทุกคน ให้ท่านเป็นคนสัตย์ซื่อ และไม่ดื้อรันต่อความจริงของพระเจ้า" และขอให้ผู้อ่านทุกคนได้มีชื่อจดไว้ในหนังสือแห่งชีวิต และได้รับการต้อนรับจากพระองค์ในแผ่นดินของพระองค์...

สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า

By : MPCF Thailand
21/7/2024
#วันต้นสัปดาห์กับพระวจนะแห่งชีวิต #พันธกิจด้านพระวจนะ #ความสัตย์ซื่อ

16/07/2024

⛔️เตือนภัย!!!
รวมดาวกองร้อยปอยเปต แต่งเป็นตำรวจ คอลหลอกเหยื่อให้สูญเงิน

อย่าหลงเชื่อ ตรวจสอบข้อมูล หรือแจ้งความออนไลน์
ได้ที่ สายด่วน AOC 1441 ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์
ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
#เตือนภัย #มิจฉาชีพ #ตำรวจสอบสวนกลาง

14/07/2024

...ให้อภัยแบบพระเยซู (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)...
🔣(70x7 ไม่ใช่ 490 แต่เป็นการให้อภัยแบบพระเยซู ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
วันต้นสัปดาห์ กับ พระวจนะแห่งชีวิต

พระเยซูตรัสตอบเขาว่า "เราไม่ได้บอกท่านว่าเจ็ดครั้งแต่เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด"

(มัทธิว บทที่ 18 ข้อที่ 22)

---------------------------------------

ในวันต้นสัปดาห์นี้ ขอนำพระวจนะในหนังสือมัทธิว บทที่ 18 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่พระเยซูเล่าเป็นคำอุปมาเพื่อสอนเหล่าสาวกของพระองค์ในการดำเนินชีวิต และตัดสินใจบนแนวคิดและมุมมองของพระเยซู เรื่องนั้นคือ "การให้อภัย" หรือ "forgiving"
เรื่องนี้หากจะพิจารณาก็พบว่าเป็นทั้ง "ยาขม" และ "ยารักษา" ของคนบางคน เหมือนกันในบริบทนี้ พระเยซูได้ตอบคำถามของเปโตรว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์ควรยกโทษให้พี่น้องที่ทำผิดต่อข้าพระองค์สักกี่ครั้ง? ถึงเจ็ดครั้งเชียวหรือ?" พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “เราไม่ได้บอกท่านว่าเจ็ดครั้งแต่เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด..." (มัทธิว 18 ข้อที่ 21-22) คำถามที่เปโตรถามพระเยซูในเรื่องนี้เป็นเรื่องสืบเนื่องจากการได้ฟังคำสอนก่อนหน้าเรื่องการ "การตักเตือนผู้ที่ทำความผิดบาป" หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Restoring Christian Relationships" หมายถึง การฟื้นฟูความสัมพันธ์แบบคริสเตียน หรือแบบวิธีการของพระเยซู ซึ่งถ้าผู้อ่านได้พิจารณาจะพบว่า พระเยซูได้แนะนำวิธีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ก่อน "ตัดความสัมพันธ์" ไว้ถึง 3 ระดับ ดังนี้...
ระดับแรกคือ "จงไปหาและชี้ความผิดต่อเขาสองต่อสองเท่านั้น" (มัทธิว 18 ข้อที่ 15)
ระดับที่สอง คือ "จงพาอีกคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย เพื่อให้คำพูดทุกคำได้รับการยืนยันด้วยปากของสองสามคน (มัทธิว 18 ข้อที่ 16)
ระดับที่สาม คือ "ถ้าเขาไม่ฟังคนเหล่านั้น จงไปแจ้งต่อคริสตจักร" (คำว่าคริสตจักรถ้าตามบริบทในสมัยพระเยซูยังไม่มี แต่จะมีผู้นำศาสนา หรือ "สภาซันเฮดริน (Sanhedrin)" เป็นศาลสูงสุดของชาวยิว มีอำนาจหน้าที่ควบคุมกิจการด้านศาสนาทั้งหมดของชาวยิวในการตีความบทบัญญัติของโมเสส คำตัดสินของสภาซันเฮดรินในเรื่องนี้ถือเป็นที่สุด นอกนั้น สภายังทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองและพิจารณาคดีอาญาตามที่รัฐบาลโรมันมอบอำนาจให้ แต่ไม่มีอำนาจลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิด)
ถ้าได้มีการทำตามทั้ง 3 วิธีแล้วยังไม่ได้ผล พระเยซูบอกว่า "ก็ให้ถือว่าเขาเป็นเหมือนคนต่างชาติหรือคนเก็บภาษี" คือ เขาไม่ได้เชื่อในพระเจ้าหรือเป็นคนของพระองค์นั้นเอง แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่คงไปไม่ถึงระดับที่ 3 เพราะถ้าไปถึงจุดนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร และก็คิดว่าบางรายอาจจะตัดความสัมพันธ์กันไปก่อนที่จะฟื้นฟู ยกเว้นว่า "เรื่องราวดังกล่าวมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถทำได้แค่ตัดความสัมพันธ์!" หรือที่เรียกว่า "เอาเรื่องให้ถึงที่สุด"
จากคำสอนนี้ได้นำมาสู่คำถามที่เปโตรได้ถามพระเยซูนั้นเอง แต่ตรงจุดนี้ ถ้าพิจารณาก็จะพบว่า 3 ระดับของการฟื้นฟูความสัมพันธ์นั้นมีรากฐานและที่มาจากวัฒนธรรมและกฎหมายของคนยิวว่า "เราต้องขอการอภัยสามครั้ง หากผ่านไปสามครั้งแล้วผู้ถูกกระทำผิดยังไม่ได้รับการอภัย ฝ่ายที่กระทำผิดก็ไม่จำเป็นต้องถามอีกต่อไป" ซึ่งพิจารณาแล้วก็น่าจะเป็นพื้นฐานที่พระเยซูนำคำสอนเรื่องนี้มาสอนสาวกของพระองค์ ประเด็นที่น่าสนใจถ้าพิจารณาจากข้อมูลนี้ คือ "ผู้ที่ต้องให้อภัยจะต้องรีบตัดสินใจให้อภัย" เพราะถ้าเกินจากนี้ 3 ครั้ง หรือ 3 ระดับแล้วก็คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมของยิวหรือกฎหมายเรื่องนี้ต้องการฝึกให้คนยิวส่วนใหญ่ "รู้จักการให้อภัย" เพราะหากย้อนกลับไปที่ผ่าน "คนยิว" ได้รับการอภัยจากพระยาห์เวห์หลายเรื่อง จากที่ต้องถูกลงโทษเป็นเชลยของชาติต่าง ๆ แต่ในที่สุดก็ได้รับการช่วยเหลือกลับมาให้เป็นประเทศได้อีกครั้ง ดังนั้น ถ้าคิดตามบริบทนี้แล้ว เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของคนยิวก็ว่าได้...
กลับมาที่เปโตร ถามพระเยซูกลับไปว่า... ข้าพระองค์ควรยกโทษให้พี่น้องที่ทำผิดต่อข้าพระองค์สักกี่ครั้ง? ถึงเจ็ดครั้งเชียวหรือ?.. ถ้าเข้าใจบริบทนี้ คือ เปโตรออกแนว ๆ พูดเสียด ๆ ว่าจะต้องให้อภัยมากว่า 3 ครั้งเลยเหรอ! ในความหมายเปโตรคือ การคูณสองของการให้อภัย (เหลืออดที่สุดของมนุษย์ที่จะทำได้!!) แต่พระเยซูทรงตอบเปโตรอย่างตรงไปตรงมาว่า "เราไม่ได้บอกท่านว่าเจ็ดครั้งแต่เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด" ในประโยคนี้ มีการอธิบายเพิ่มเติมว่า "เมื่อทำผิดหนึ่งครั้ง ก็ให้อภัยทุกครั้ง" ... หรือพูดให้เข้าใจคือ "เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด" ในความหมายของ "พระเยซู" คือ ...การให้อภัยโดยที่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง...
แน่นอนว่า "เปโตร" คงอึ้งกับคำตอบ เพราะเรื่องนี้อยู่นอกเหนือสารระบบของเขา แม้ว่าเปโตรจะเป็นชาวประมง แต่เขาก็มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมและกฎหมายบ้าง ดังนั้น แนวคิด หรือ หลักสูตรใหม่ ที่พระเยซูกำลังสอนพวกเขาจึงเป็นเรื่องใหม่เกินที่พวกเขาจะคิดได้ว่า จะเป็นไปได้อย่างไร? ดังนั้น พระเยซูจึงต้องหยิบยกคำอุปมา "เรื่องทาสที่ไม่ยอมให้อภัย" (The Parable of the Unforgiving Slave) ให้พวกเขาฟังเพื่อจะได้เข้าใจว่า ทำไมต้องให้อภัยมากกว่า 3 ครั้ง! หรือ เจ็ดครั้ง!(7) หรือ เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด!(70x7)...
ในข้อที่ 23-24 พระเยซูเล่าว่า "แผ่นดินสวรรค์ก็เปรียบเหมือนเจ้าองค์หนึ่งที่มีพระประสงค์จะคิดบัญชีกับบรรดาทาสของตน เมื่อท่านทรงเริ่มต้นคิดบัญชีคนหนึ่งที่เป็นหนี้หนึ่งหมื่นตะลันต์ก็ถูกพามาเข้าเฝ้า" เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ "แผ่นดินสวรรค์" พระเยซูเปรียบเป็นตัวบุคคล ทำให้เข้าใจเรื่องแผ่นดินสวรรค์หรือแผ่นดินของพระเจ้าได้ชัดเจนขึ้น เพราะในเวลานั้นพระเยซูมาเพื่อประกาศเรื่อง "แผ่นดินของพระเจ้า" ต่อมา ปรากฎว่า มีลูกหนี้คนหนึ่ง มีหนี้อยู่ถึง "หนึ่งหมื่นตะลันต์"!!! ใน footnote ของพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานอธิบายว่า "หนึ่งตะลันต์ เป็นจำนวนเงินที่จ้างคนงานให้ทำงานมากกว่า 15 ปี" แต่เมื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ข้อมูลว่า ตะลันต์เป็นเงินจำนวนมหาศาล เท่ากับ 6,000 เดนาริอัน (หนึ่งเดนาริอันเป็นค่าจ้างรายวันของคนงานคนหนึ่ง) คำว่าตะลันต์ เป็นหน่วยการเงินของกรีก ถามว่าจำนวนหนี้นั้นมีมูลค่าสูงไหม? ตอบเลยว่า "สูงมาก" จนมีการเปรียบว่า แม้ตายก็ไม่สามารถชดใช้ได้ไม่หมด... ถ้าจะลงรายละเอียดในเชิงเศรษฐศาสตร์ก็คงจะยาวเกินไป แต่ให้เข้าใจว่าบริบทนี้พระเยซูเปรียบเทียบให้เห็น "หนี้" ที่เกินกว่าจะชำระได้ เพื่อให้ผู้ฟังคิดตามและไม่สับสน ในข้อที่ 25 เจ้าองค์นั้นบอกให้ลูกหนี้ ขายทุกสิ่งที่มีอยู่รวมทั้งครอบครัวเพื่อมาชำระหนี้... แต่ทว่า "ทาสคนนั้นจึงกราบลงวิงวอนว่า ‘ขอโปรดผัดไว้ก่อน แล้วข้าพระองค์จะใช้หนี้ทั้งหมด" (ข้อที่ 26) และ "เจ้าองค์นั้นทรงสงสาร จึงทรงปล่อยตัวเขาและทรงยกหนี้" ดูเหมือนเรื่องราวจะจบเพียงเท่านี้ แต่ไม่เลย...
จากนั้นในข้อ 28-30 ก็เกิดเหตุการณ์ที่ดูคล้ายกับบริบทเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่วิธีการตัดสินใจ... เพราะเมื่อทาสคนนั้นออกไปก็พบคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนทาสด้วยกัน ที่เป็นหนี้เขาอยู่หนึ่งร้อยเดนาริอัน เขาก็จับคนนั้นบีบคอบอกว่า ‘แกต้องใช้หนี้ให้ข้า’ เพื่อนทาสคนนั้นจึงกราบลงอ้อนวอนว่า ‘ขอผัดไว้ก่อนแล้วข้าจะใช้ให้’ แต่เขาไม่ยอม จึงนำทาสลูกหนี้นั้นไปขังคุกไว้จนกว่าจะสามารถใช้หนี้ได้... คำว่า "การขังคุกไว้จนกว่าจะสามารถใช้หนี้ได้" เรื่องนี้มีข้อมูลสนับสนุนจากการสืบค้นเพิ่มเติมพบว่า "เป็นแง่มุมของกฎหมายโรมันที่อาจอ้างอิงทางวัฒนธรรม อุปมานี้สร้างขึ้นโดยพิจารณาว่าสมัยยูเดียของพระเยซูถูกปกครองโดยกรุงโรม ในรัฐธรรมนูญของโรมันที่เรียกว่ากฎของ 12 ตาราง (ตารางที่ 3 กฎหมาย IV-X) มีชุดกฎหมายโดยละเอียดเกี่ยวกับลูกหนี้ซึ่งแสดงความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับสถานการณ์ในอุปมา ลูกหนี้ที่ไม่ชำระเงินสามารถถูกนำตัวขึ้นศาลและถูกล่ามโซ่ไว้ได้ และถูกบังคับให้ต้องดำเนินการหลายอย่างเพื่อชำระหนี้โดยอาศัยภาระจำยอม นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าคนอื่นสามารถมาชำระหนี้แทนพวกเขาได้ จึงปล่อยพวกเขาออกจากคุก หนี้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ส่งผลให้เกิดการเป็นทาสแก่เจ้าหนี้หรือนำไปขายในตลาดทาสต่อไปได้...
เหตุการณ์ดูเหมือนหนังม้วนเดียวกัน แต่คนที่เป็นทาสคนแรกกลับตัดสินกับเพื่อนทาสอีกคนแตกต่างจากที่เขาได้รับมาจากเจ้าองค์นั้นที่ได้โปรด "ยกหนี้" ของเขา และถ้าพิจารณาหนี้ของเพื่อนทาสเขา คือ 100 ตะลันต์ แต่ตัวเขาเป็นหนี้เจ้าองค์นั้นถึง 10,000 ตะลันต์ แต่อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ การกระทำย่อมต้องมีผลตามมาเสมอ ข้อที่ 31-34 บันทึกว่า เมื่อเพื่อนทาสเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น "ก็เป็นทุกข์อย่างยิ่ง" และนำเหตุการณ์ทั้งหมดไปกราบทูลเจ้าองค์นั้น และทาสคนแรกก็ไปพบเจ้าองค์นั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ "ท่านจึงเรียกทาสนั้นมาตรัสว่า ‘ไอ้ข้าชั่วร้าย เรายกหนี้ให้เอ็งทั้งหมด ก็เพราะเอ็งอ้อนวอนเรา เอ็งควรจะเมตตาเพื่อนทาสด้วยกัน เหมือนเราเมตตาเอ็งไม่ใช่หรือ?’ แล้วเจ้าองค์นั้นก็กริ้ว จึงทรงมอบทาสคนนั้นไว้ให้เจ้าหน้าที่ทรมานจนกว่าจะใช้หนี้หมด".... สุดท้ายพระเยซูจบเรื่องนี้ด้วยถ้อยคำที่สำคัญว่า "พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์ ก็จะทรงทำต่อพวกท่านอย่างนั้น ถ้าพวกท่านแต่ละคนไม่ยอมยกโทษให้พี่น้องจากใจของพวกท่าน” มาถึงตอนนี้ทำให้เข้าใจว่า "พระเยซู" สอนให้สาวกของพระองค์ "ให้อภัยแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง" และ พระองค์ก็จะลงโทษพิพากษา "ผู้ที่ไม่ยอมให้อภัย (ไม่ยอมกลับใจ)" ด้วยเช่นกัน...
อย่างไรก็ดี ก่อนจะจบในบริบทนี้ อยากชวนให้ผู้อ่านเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของเรื่องราวนี้ให้ชัดเจนขึ้น... คือ เรื่องนี้ พระเยซูโฟกัสไปที่ "แผ่นดินของพระเจ้า" ซึ่งในขณะนั้นพระเยซูได้ประกาศกับคนยิวว่า "แผ่นดินของพระเจ้ากำลังจะมา" ดังนั้น การที่จะเข้าสู่แผ่นดินของพระเจ้า.. จำเป็นที่ผู้นั้นจะต้อง "ให้อภัยเป็น" เหมือนกับที่พระเยซูได้อธิบายเรื่อง "คำอุปมานี้" แก่เหล่าสาวก เพราะ "การให้อภัยเป็นเรื่องสำคัญ" ซึ่งในอีกทางหนึ่งกำลังสะท้อนว่า "แผ่นดินของพระเจ้า" จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการให้อภัย หรือ "ยกโทษ" โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่ง "พระเยซู" พระองค์ได้เป็นผู้นั้นที่เป็นต้นแบบแห่งการให้อภัย และยกโทษความบาปให้กับทุกคนที่เชื่อวางใจในพระองค์... โดย พระเยซูกำลังสะท้อนว่า "หนี้" ที่ทาสคนแรก และคนที่สองมีอยู่นั้น เปรียบเหมือนกับ "ความบาป" ที่ไม่สามารถให้อภัยได้ แต่ด้วยแผนการณ์ของพระบิดาที่ได้ส่งพระเยซูมาบนโลกนี้ "ความบาป" หรือ "หนี้" ก็ได้ "ถูกยกหนี้" และคนบาปก็ได้รับการให้อภัย ไม่ใช่เพียงแค่คนยิว แต่หมายรวมถึงทุกคนที่เชื่อและวางใจในพระเยซู พระบุตรของพระเจ้า เพราะเขาจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร์...

-----------------------

สุดท้ายนี้... ขอพระเมตตาและฤทธานุภาพ ดำรงอยู่กับผู้อ่านทุกคน ให้คำอุปมาเรื่องนี้ได้หนุนใจและเป็นแนวคิดตั้งต้นในการดำเนินชีวิตที่จะสามารถให้อภัยกับผู้ที่เราอาจคิดว่า "ไม่สามารถให้อภัยได้" ด้วยความรักของพระองค์ ด้วยพระนามของพระเยซู เพื่อท่านจะได้ไม่แบกภาระหรือความทุกข์ที่เรียกว่า "การไม่ให้อภัย" ไว้ในชีวิต ขอให้ผู้อ่านทุกคนได้รับการปลดปล่อย และรับเอาพระเมตตาและฤทธานุภาพของพระเยซูไว้ในชีวิต เพื่อท่านจะมีชีวิตใหม่ ประสบการณ์ใหม่ในการ "ให้อภัยอย่างถูกต้อง" และมีเสรีภาพหลุดพ้นจากบ่วงแร้วแห่งความตายทั้งปวง ที่สำคัญขอให้ทุกคน "อย่าเป็นหนี้ผู้หนี้ผู้ใด แต่จงอยู่ในความรักของพระองค์ตลอดไป... อาเมน!!!

สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า

By : MPCF Thailand
14/7/2024
#วันต้นสัปดาห์กับพระวจนะแห่งชีวิต #พันธกิจด้านพระวจนะ
(หมายเหตุ : เรื่องนี้ Re-Writ จากปี 2021)

07/07/2024

"คนห้าพันคน กับ ขนมปังห้าก้อน & ปลาสองตัว"
วันต้นสัปดาห์ กับ พระวจนะแห่งชีวิต

"...แล้วพระเยซูก็ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วก็ทรงแจกจ่ายให้บรรดาคนที่นั่งอยู่นั้น และให้ปลาด้วยตามที่เขาต้องการ..."

(ยอห์น บทที่ 6 ข้อที่ 11)

-------------------------

ในวันต้นสัปดาห์นี้ขอนำผู้อ่านทุกคนมาศึกษาวิธีการทำงานของพระเยซู เมื่อพระองค์ได้ทำการประกาศแผ่นดินของพระเจ้าในเวลานั้น ซึ่งพระองค์ก็ได้ทำการอัศจรรย์ที่ไม่ต่างกันในยุคของโมเสส สำหรับวิธีการทำงานของพระองค์ในบริบทนี้ คือ "การดูแลคนห้าพันคน ด้วยขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว" นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์พระคัมภีร์ที่ได้เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายก็พบว่าจากขนมปังไม่กี่ก้อนกับปลาไม่กี่ตัว สามารถดูแลคนได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ บริบทในเหตุการณ์ตอนนี้ พระกิตติคุณทั้ง 4 เล่ม มีการบันทึกไว้เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในลักษณะการเขียน ผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ ตามข้อพระคัมภีร์ที่โค้ดไว้ให้นี้ ได้แก่ มัทธิว บทที่ 14 ข้อที่ 13-21 มาระโก บทที่ 6 ข้อที่ 30-44 และ ลูกา บทที่ 9 ข้อที่ 10-17
จากการศึกษาข้อมูลภาพรวมของพระคัมภีร์ใหม่พบว่า "หนังสือพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์" ทั้ง มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น ได้มีการบันทึกเรื่องราวที่พระเยซูทรงเลี้ยงคนห้าพันคนด้วย "ขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว" ไว้เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่การใช้ภาษา บริบท และรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยพบว่าการบันทึกของมัทธิว มาระโก ลูกา ไม่ได้ระบุว่า ขนมปังและปลานั้นนำมาจากใคร แต่ในยอห์นมีการระบุว่า "นำมาจากเด็กชายคนหนึ่ง" (9) ข้อนี้หากพิจารณาดูแล้วมีความสำคัญมาก เพราะทำสามารถอนุมานได้ว่า "ในการดำเนินชีวิตที่ได้ติดตามพระเยซูนั้น พระองค์จะทรงใช้สิ่งที่เรามี หรือเราเป็นอยู่ เพื่อสำแดงและเปิดเผยพระประสงค์ กับ ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ให้กับทุกคนผ่านชีวิตของเราเอง"
ในยอห์นบทที่ 6 เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่พระเยซูเดินทางข้ามทะเลสาบกาลิลี ("ทะเลทิเบเรียส" ชื่อนี้ ถูกเรียกตามเมืองที่เฮโรดได้สร้าง คือ "เมืองทิเบเรียส" ได้สำเร็จบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลนี้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20) ก็พบว่ามีมหาชนมากมายติดตามพระองค์มา เพราะเห็นหมายสำคัญและการอัศจรรย์ในการที่พระเยซูทรงรักษาคนเจ็บป่วย (1-2) พระเยซูก็นำพาสาวกขึ้นไปบนภูเขาเพื่อพักผ่อนหลังจากเดินทางมาถึงที่นี่ ในข้อที่ 5 พระเยซูทรงมองเห็นมหาชนพากันมาหาพระองค์ โดยการตรัสถามฟิลิปว่า "พวกเราจะซื้ออาหารให้คนเหล่านี้กินได้ที่ไหน?" ในเรื่องนี้ยอห์นได้บันทึกว่า "พระเยซูต้องการทดสอบฟิลิป" แต่ยอห์นได้บอกว่า "พระเยซูรู้อยู่แล้วว่าจะทำอย่างไร?" ในบริบทนี้เข้าใจว่าเป็นการบันทึกย้อนหลัง จึงทำให้ยอห์นในฐานะผู้เขียนเรื่องนี้เข้าใจเหตุการณ์นี้มากขึ้น จึงได้เขียนประโยคนี้ไว้ เพราะยอห์นก็อยู่ในเหตุการณ์นี้...
ขณะเดียวกันฟิลิปตอบกลับพระเยซูว่าต้องใช้เงินมากว่าสองร้อยเดนาริอันก็ยังไม่สามารถเลี้ยงคนเหล่านี้ได้ เหตุผลที่พระเยซูตรัสถามฟิลิป เพราะฟิลิปเป็นชาวเบธไซดา ในแคว้นกาลิลี พระเยซูคิดว่าเขาน่าจะรู้ว่าควรจะซื้ออาหารที่ไหนได้ แต่ตรงกันข้ามฟิลิปคิดคำนวณไปไกลกว่าที่พระเยซูถาม ฟิลิปมองไปที่จำนวนเงินที่ต้องมีมากกว่าสองร้อยเดนาริอันก็ยังไม่สามารถซื้ออาหารให้กับคนเหล่านี้ได้ ก็มีคนตั้งสันนิษฐานว่า ทำไมจึงถามแต่ฟิลิป ทำไมไม่ถามเปโตร ยากอบ ซึ่งก็เป็นชาวเบธไซดาด้วย ทั้งนี้ สถานที่บนภูเขาที่พระเยซูและสาวกอยู่ ก็อยู่ใกล้กับเมืองเบธไซดาด้วย... นับได้ว่าเป็นความท้าทายสำหรับสาวกของพระเยซู โดยเฉพาะฟิลิป ทำให้คิดถึงว่า หากเราเป็นฟิลิป.. เราจะตอบอย่างไร? ในโมเมนท์ของฟิลิปก็คงเหมือนกับเวลาที่นั่งเรียนอยู่ แล้วอาจารย์ในห้องก็มองมาทางเราและให้เราตอบคำถามในข้อนี้! ซึ่งพอมองไปที่โจทย์หรือคำถาม มันไม่ง่ายที่ตอบได้... แต่พระเยซูก็ไม่ได้ต่อว่าฟิลิปเลย หลังจากที่ได้ตอบออกไปแบบนั้น เพราะอาจจะเป็นบริบทชีวตของฟิลิปเองก็ได้ที่สะท้อนได้ว่าเค้าอาจจะเป็นคิดนักคำนวณ หรือเชี่ยวชาญด้านการเงิน หรือเป็นพ่อค้า เนื่องจากในข้อมูลไม่มีการระบุว่า "ฟิลิป" มีอาชีพอะไร? แต่คำตอบของฟิลิปก็อาจจะทำอนุมานได้ว่าเขาอาจเคยทำอาชีพที่เกี่ยวกับการค้าขายก็ได้ จึงสามารถประเมินว่า "แม้เงินมากกว่าสองร้อยเดนาริอัน" ก็ยังไม่พอ เงินสองร้อยเดนาริอันในเวลาก็ตีค่าเป็นค่าจ้างประมาณ 8 เดือนของการทำงานในเวลานั้น
ต่อมา "อันดรูว์" น้องชายของเปโตร เข้ามาบอกว่า "ที่นี่มีเด็กชายคนหนึ่งมีขนมปังบาร์เลย์ห้าก้อนกับปลาสองตัว" แต่อันดรูว์ก็บอกว่า "แต่เท่านั้นจะพออะไรกับคนมากอย่างนี้?" เพราะในสถานการณ์และบริบทนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาอาหารได้ครบทุกคน เพราะจุดที่ทุกคนอยู่ คือบนภูเขาด้วย แต่การที่อันดรูว์ไปหาเด็กชายที่มีขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวมาได้ นั้นแสดงว่า อันดรูว์เองก็น่าจะได้ยินคำถามที่พระเยซูทรงถามฟิลิป อีกนัยหนึ่งสะท้อนว่า อันดรูว์เองก็เป็นคนที่พยายามจะตอบโจทย์ที่พระเยซูทรงตรัสไว้... ซึ่งคำตอบที่อันดรูว์พยายามอยู่นั้นกลับเป็นผลดีตามมา ก็คือ พระเยซูเลือกคำตอบของอันดรูว์ ซึ่งไม่ได้ความว่าคำตอบของฟิลิปไม่ถูกต้อง แต่คำตอบของฟิลิปไม่สามารถจับต้องได้นั้นเอง ตรงกันข้าม คำตอบของอันดรูว์จับต้องได้ คือ มีจำนวนที่นับได้คือ "ขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว"
หลังจากนั้นพระเยซูตรัสว่า “ให้ทุกคนนั่งลงเถิด” (ที่นั่นมีหญ้ามาก) คนเหล่านั้นจึงนั่งลง นับแต่ผู้ชายได้ประมาณห้าพันคน... ในข้อที่ 11 เป็นข้อที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์มาก ๆ โดยยอห์นได้บันทึกว่า "แล้วพระเยซูก็ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วก็ทรงแจกจ่ายให้บรรดาคนที่นั่งอยู่นั้น และให้ปลาด้วยตามที่เขาต้องการ" จากการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องนี้พบว่าไม่มีใครอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แบบเข้าใจ นักเทศนาและนักเขียนพระคัมภีร์ระบุว่า เหตุการณ์นี้ดูคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระคัมภีร์เดิม คือ ในช่วงที่พระยาห์เวห์ทรงประทาน "มานา" ให้กับคนอิสราเอลเพื่อให้พวกเขาได้รับประทานอาหาร เช่นเดียวกันในเหตุการณ์นี้ "พระเยซู" เองก็ได้ทรงเห็นใจและเข้าใจหัวอกคนที่ติดตามพระองค์มา โดยในหนังสือมัทธิว มาระโก ลูกา ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูมีความสงสารคนเหล่านั้น จึงได้ตรัสสั้งให้สาวกของพระองค์ดูแลพวกเขา...
นอกจากนี้เหตุการณ์นี้ยังไปคล้ายคลึงกับสถานการณ์ของเปาโลที่อยู่บนเรือระหว่าเดินทางไปกรุงโรม ซึ่งบันทึกไว้ใน กิจการบทที่ 27 ว่า เปาโลรู้สึกเชิญชวนคนที่โดยสารมาในเรือให้รับประทานอาหาร หลังจากที่ไม่ได้กินอะไรมาถึง 14 วัน เพราะเรือเจอกับพายุ (ซึ่งภายหลังเรือลำนี้อับปางลง) ทำให้ทุกคนสิ้นหวัง เพราะมีแต่ความกลัว แต่เปาโลได้หนุนใจพวกเขาให้กินอาหารเพื่อได้มีกำลัง และผู้บันทึก (ลูกา) ก็ได้เขียนว่า "ท่านจึงหยิบขนมปังขอบพระคุณพระเจ้าต่อหน้าทุกคน แล้วก็หักรับประทาน ทุกคนก็มีกำลังใจขึ้นจึงรับประทานอาหารด้วย (เราที่อยู่ในเรือลำนั้นมีจำนวนสองร้อยเจ็ดสิบหกคน)" เชื่อกันว่าเปาโลน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวการอัศจรรย์ที่พระเยซูทรงเลี้ยงคนห้าพันคนนี้จากเหล่าสาวก แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนัก ซึ่งบนเรืออาจจะมีขนมปังเพียงพอถึงสองร้อยเจ็ดสิบหกคนอยู่แล้วก็ได้ หรือเมื่อเปาโลหักขนมปังแล้วก็มีขนมปังเพิ่มขึ้นเหมือนกับที่พระเยซูทรงได้กระทำ แต่สิ่งที่เปาโลทำสะท้อนให้เห็นว่า "เปาโลได้เลียนแบบพระเยซู" และการเลียนแบบพระเยซูของเปาโลทำให้ชีวิตของเปาโลนั้น ประสบความสำเร็จในการรับใช้และทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่ได้กำหนดไว้ในชีวิตของเปาโล
หลังจากที่พระเยซู "ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วก็ทรงแจกจ่ายให้บรรดาคนที่นั่งอยู่นั้น และให้ปลาด้วยตามที่เขาต้องการ" (11) ซึ่งทำให้ทุกคนได้กินอิ่ม และพระเยซูตรัสสั่งสาวกว่า “จงเก็บเศษอาหารที่เหลือไว้ อย่าให้มีสิ่งใดตกหล่น” พวกเขาจึงเก็บเศษขนมปังบาร์เลย์ห้าก้อนที่เหลือหลังจากทุกคนกินแล้วใส่กระบุงได้สิบสองกระบุงเต็ม (12-13) จากขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว สามารถดูแลคนได้ถึงห้าพันคน และยังมีเหลืออีกถึง 12 กระบุ้งเต็มด้วย เหตุการณ์นี้ยอห์นได้สรุปว่า "เป้าหมายที่แท้จริงที่พระเยซูได้ทำนี้ก็คือ... เพื่อให้คนอิสราเอลในเวลานั้นรู้จักพระองค์ว่า พระองค์เป็นใคร? ซึ่งในข้อที่ 14 บันทึกว่า "เมื่อคนทั้งหลายเห็นหมายสำคัญที่พระองค์ทรงทำ" พวกเขาจึงพูดกันว่า "แท้จริงท่านผู้นี้เป็นผู้เผยพระวจนะคนนั้นที่จะมาในโลก" ประโยคนี้มีความสำคัญสะท้อนให้เข้าใจ หากต้องการให้ใครรู้จัก หรือเป็นอย่างไร? สิ่งสำคัญคือ ต้องลงมือกระทำ! เช่นเดียวกัน "พระเยซู" มีเป้าหมายเพื่อประกาศแผ่นดินของพระเจ้า พระองค์จึงได้ลงมือทำในการประกาศเรื่องราวแผ่นดินของพระเจ้าให้กับคนยิวในเวลานั้นได้รู้ และที่สำคัญพระองค์ต้องการเปิดเผยด้วยว่า "พระองค์เป็นใคร" พระองค์มาทำอะรไ" แต่ในปัจจุบัน ณ เวลานี้ ผู้อ่านก็คงทราบและรู้แล้วพระองค์เป็นใคร... พระองค์ทำอะไร...
ฉะนั้น ขอให้ผู้อ่านทุกคนยึดพระนามของพระองค์ไว้ในชีวิตของทุกคนต่อไป เชื่อแน่นอนว่า หากทุกคนได้เรียนรู้และเลียนแบบอย่างตามที่พระเยซูทรงทำ ความสำเร็จตามพระประสงค์ของพระเจ้าก็จะเกิดขึ้นกับการรับใช้ของทุกคน และจะส่งผลไปสู่ชีวิตส่วนตัวของทุกคนเช่นเดียวกัน ขอพระเจ้าทรงอวยพรผู้อ่านทุกคนตามพระประสงค์ของพระองค์ และให้ทุกคนมีประสบการณ์แห่งความรักในพระเยซูตลอดไป

-------------------------------------------

สุดท้ายนี้ ขอพระเมตตาและฤทธานุภาพของพระเยซูดำรงอยู่กับผู้อ่านทุกคน ให้ทุกคนได้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูจากพระองค์อย่างดีเลิศ เหมือนกับเหล่าสาวกและคนห้าพันคนที่ได้รับการดูแลจากพระองค์ผ่าน "ขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว"

สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า

By : MPCF Thailand
7/7/2024
#วันต้นสัปดาห์กับพระวจนะแห่งชีวิต #พันธกิจด้านพระวจนะ
(ปล. เรื่องนี้ Repost จากปี 2020 ด้วยเห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและหนุนใจผู้อ่านได้เสมอในการจัดเตรียมของพระเจ้าที่มาถึงชีวิตของเราทุกคน และให้ทุกคนดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ และมีความจริงของพระองค์ตลอดไป)

Photos from MPCF Thailand's post 05/07/2024

ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับ ผู้กองโบว์ ผู้กองโจอี้ และทีมงาน ที่ได้เป็นต้นแบบในการรับใช้พระเจ้าในจัดกลุ่มสามัคคีธรรมร่วมกับนักเรียนนายร้อย จปร. ที่มีความเชื่อ ร่วมทั้งขอบคุณพระเจ้า ที่ผู้ใหญ่ในคริสตจักร ทั้ง อ.กอบชัย จิราธิวัฒน์ ศิยยาภิบาลอาวุโส และอ.ศิริชาติ แสงทับทิม ศิษยาภิบาล คริสตจักรกิจการของพระคริสต์ แจ้งวัฒนะ มาร่วมเป็นพระพร แบ่งปัน หนุนใจอธิษฐานเผื่อนักเรียนนายร้อย จปร. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา

สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า

By : MPCF Thailand
ปล. ขอบคุณภาพและข่าวจาก ผู้กองโจอี้ / คริสตจักรกิจการของพระคริสต์ ฮิมนครนายก

30/06/2024

"ความมั่นคง และความปลอดภัย"
วันต้นสัปดาห์ กับ พระวจนะแห่งชีวิต

"ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน... บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า"

(สดุดี บทที่ 127 ข้อที่ 1)

-------------------------

ในวันต้นสัปดาห์นี้ขอพระวจนะของพระเจ้าในหนังสือสดุดี มาแบ่งปันและร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านทุกคน โดยเนื้อหาจะอยู่ใน หนังสือสดุดี บทที่ 127 ซึ่งเป็นบทเพลงใช้แห่ขึ้น ของซาโลมอน โดยผู้เขียน คือ "กษัตริย์ดาวิด" และอุทิศให้กับ "โซโลมอน" ลูกชายของเขา ซึ่งจะสร้างพระวิหารหลังแรก... ในเวอร์ชั่นภาษาไทย (ฉบับบมาตรฐาน) ระบุไว้ว่าเป็นเรื่อง "พระพรของพระเจ้าสำหรับครอบครัว" ซึ่งเมื่อได้อ่านอย่างพิจารณาก็พบว่าในตอนนี้มีพระวจะที่โดดเด่นและถูกนำไปใช้บ่อย ๆ นั้นคือ ข้อที่ 1 ที่เขียนไว้ว่า "ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน... บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงเฝ้ารักษานคร... คนยามตื่นอยู่ก็เหนื่อยเปล่า" พออ่านแบบนี้แล้วก็ไม่ได้คิดว่าจะเกี่ยวกับครอบครัวตรงไหน แต่จะเป็นการตีความในทำนองที่ว่า "การทำอะไรชีวิตของผู้เชื่อต้องมีพระเจ้า และให้พระเจ้าเป็นผู้ช่วยเหลือ เพราะมิฉะนั้นก็อาจจะเหนื่อยเปล่าในทุกสิ่งที่ทำ เพราะถ้าปราศจากพระเจ้าแล้วก็อาจจะไม่เกิดผล" พอเข้าใจแบบนี้ก็ทำให้นึกถึงพระวจนะของพระเจ้าในหนังสือยอห์น บทที่ 15 ข้อที่ 5 ซึ่งเป็นคำตรัสของพระเยซูว่า "จงติดสนิทอยู่กับเราและเราติดสนิทอยู่กับพวกท่าน แขนงจะออกผลเองไม่ได้นอกจากจะติดสนิทอยู่กับเถา พวกท่านก็เช่นเดียวกันจะเกิดผลไม่ได้นอกจากจะติดสนิทอยู่กับเรา... ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงทั้งใน 2 บริบท ทั้งในบริบทของหนังสือสดุดี และหนังสือยอห์น จริง ๆ แล้วพระวจนะของพระเจ้าทั้งสองข้อนี้ดูใกล้เคียงกัน
แต่เมื่อได้ลองเปรียบเทียบในพระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษเวอร์ชั่น KJVA (King James Version wit Aporcrypha American Edition) ได้แปลหัวเรื่องนี้ได้น่าสนใจว่าเรื่องราวในตอนนี้กล่าวถึงเรื่อง "ความเจริญรุ่งเรืองมาจากพระเจ้า" (Prosperity Comes from the Lord) ซึ่งก็มีความใกล้เคียง ที่หยิบยกมาอ้างถึงเพราะดูแล้วมีความตรงกับบริบทที่ "กษัตริย์ดาวิด" เขียนไว้ค่อนข้างมาก เพราะเมื่ออ่านในข้อที่ 1-2 ซึ่งเป็นข้อที่ได้นำมาเป็นข้อหลักของการสื่อสารในวันต้นสัปดาห์ ก็พบว่าสิ่งที่กล่าวไว้คือ "พระยาห์เวห์" ทรงเป็นผู้อำนวยพรมาถึงชนชาติอิสราเอล ถ้าพวกเขาปราศจากพระองค์ก็คงไม่สามารถที่จะทำการใด ๆ ได้ ซึ่งในข้อที่ 1 และ 2 ได้ให้เหตุผลว่า "ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน หรือทรงเฝ้ารักษาพระนคร พวกเขาก็เหนื่อยเปล่า แม้ว่าจะพยายามทำทุกสิ่ง ทุกอย่าง แต่ทำเท่าไหร่ ทำอย่างไรก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ หรืออิ่มใจ"
ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ version New English Transation ได้ให้คำนิยามของบทนี้อย่างน่าสนใจว่า "that one does not find security by one's own efforts, for God alone gives stability and security" หมายถึงว่า พระเจ้าทรงเป็นความปลอดภัยและมั่นคงอยู่ แต่ด้วยความพยายามของตนเองก็จะไม่พบความปลอดภัย" ความหมายมีความใกล้เคียงกันและเป็นเรื่องราวเดียวกัน คือ พูดถึงความปลอดภัย ความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต... อย่างไรก็ดี ใน footnote ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมของข้อที่ 1 ในสำนวนที่ว่า "ถ้าพระเจ้าไม่ทรงสร้างบ้าน" หมายถึง "การสร้าง การสืบสาน และการรักษาสายเลือดของครอบครัว เพราะการมีสายเลือดของครอบครัวทำให้ชาวอิสราเอลในสมัยโบราณมีความมั่นคง"... ส่วนคำที่ระบุว่า "ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงเฝ้ารักษานคร คนยามตื่นอยู่ก็เหนื่อยเปล่า" ใน footnote อธิบายเพิ่มเติมว่า "เมือง หรือ นคร" เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงของชุมชน ซึ่งเป็นสถานที่การทำงานที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงของครอบครัว"
มีการสรุปเพิ่มเติมในข้อที่ 1 ไว้อย่างน่าสนใจว่า ดาวิดต้องการสื่อสารไปถึง "ซาโลมอน" ให้รู้ว่า การสร้างพระวิหารตามความประสงค์ที่ได้ดาวิดตั้งใจนั้นจะสำเร็จได้ ก็คือ "ให้พระยาห์ทรงสถิตอยู่ด้วยในการสร้างพระวิหาร" (1) เพราะถ้าพระยาห์เวห์ไม่ได้ทรงสถิตอยู่ พระวิหารหลังนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการสร้างสิ่งปลูกสร้างทั่วไป คนงานหรือคนที่ต้องทำการก่อสร้างก็อาจไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในความสำเร็จนี้ "ดาวิด" น่าจะหมายถึงการที่เจ้าของบ้านต้องอยู่ด้วยกับผู้สร้าง คอยบอกว่าจะต้องสร้างอย่างไร? ต้องไม่ลืมว่า "พระนิเวศหรือพระวิหาร" ดาวิดปรารถนาจะสร้างให้พระยาห์เวห์ จึงจำเป็นต้องให้ "พระยาห์เวห์" เป็นผู้สถิตอยู่และกำหนดในทุกเรื่อง เหมือนกับที่พระองค์ทรงกำหนดให้สร้าง "พลับพลาโมเสส" พลับพลาดาวิด" ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
ต่อมา ในข้อที่ 2 ตอนท้ายได้บอกไว้ว่า ได้มีการบันทึกต่อไปว่า "เป็นการเหนื่อยเปล่า ที่ท่านลุกขึ้นแต่เช้ามืด ทำงานจนดึก กินอาหารที่ได้จากงานตรากตรำ" ในประโยคนี้ดูสอดคล้องกับบริบทในหนังสือปัญญาจารย์ ที่ผู้เขียนได้พูดถึงเรื่อง "อนิจจัง" ในบทที่ 1 ข้อที่ 3 ว่า "..มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากการตรากตรำทุกอย่างของเขา ซึ่งเขาตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์นั้น.." จากนั้น ผู้เขียนได้แต่งประโยคดังกล่าวต่อไปว่า..."เพราะพระองค์ประทานการนอนหลับแก่ผู้ที่พระองค์ทรงรัก" จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า "
คำว่า "การนอนหลับ" ในภาษาฮีบรูใช้คำว่า "shena" ซึ่งผู้แต่งต้องการสื่อสารว่า ...การทำงานหนักเพียงอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ แต่เป็น "ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า" เพราะพระเจ้าสามารถอวยพรบุคคลหนึ่งได้แม้ในขณะที่เขาหลับอยู่ก็ตาม... ใน footnote ระบุว่า คำกล่าวนี้ไม่ได้สนับสนุนความขี้เกียจ แต่ใช้การพูดเกินจริง เพื่อให้มองเห็นภาพ และเตือนผู้อ่านและผู้ฟังว่า "พระเจ้าต้องเป็นสิ่งสำคัญดับแรกของเรา" ทางเลือกหนึ่ง คือใช้คำว่า"การนอนหลับ" ซึ่งถ้าพิจารณากันจริง ๆ "การนอนหลับ" เป็นวิธีการพักผ่อนของชีวิตมนุษย์ที่ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและปรารถนา เพราะในชีวิตของมนุษย์มีหลายเรื่องราวเกิดขึ้น บางคนใช้ชีวิตไม่เป็น ไม่ถูกต้องก็ไม่อาจนอนหลับได้ แม้ตัวจะนอนลง ตาหลับ แต่จิตใจไม่หลับ กระวนกระวาย สับสนและมีความวุ่นวายใจเพราะเป็นทุกข์... ขอพระองค์ประทานการนอนหลับแกทุกคนที่ "พระองค์ทรงรัก"
มีการสรุปเพิ่มเติมในข้อที่ 2 ไว้อย่างน่าสนใจว่า รากศัพท์ของภาษาฮีบรู ระบุว่า มีการซ่อนชื่ออีกชื่อหนึ่งของ "ซาโลมอน" ไว้ นั้นคือ "เยดีดิยาห์" ที่หมายถึง "เป็นที่รักของพระยาห์เวห์" รวมทั้งในข้อนี้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเป็นการสื่อสารที่ดาวิดต้องการให้ซาโลมอน และผู้ที่ฟังเห็นภาพว่า "เมื่อในบ้านหลังนี้ หรือพระวิหารหลังนี้ พระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่ด้วย ผู้ที่พักอาศัยและเข้ามาในพระวิหารหลังนี้ รวมไปถึงราชอาณาจักรของซาโลมอน และทุก ๆ คน พวกเขา จะได้ "นอนหลับ" หรือสื่อในอีกความหมายหนึ่ง คือ "สันติสุข" ไม่มีสงคราม พวกเขาจะได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม ไม่ต้องตกใจตื่นกลัวในเวลากลางคืน หรือต้องมายืนเฝ้าที่ประตูเมืองว่า "จะมีศัตรูมาจากทางทิศใด" ซึ่งจริง ๆ ในข้อนี้เหมือนเป็นคำพยากรณ์ไปถึงราชอาณาจักรของ "ซาโลมอน" ด้วยว่า "จะมีแต่ความสงบสุข ไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น" และก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ในยุคของการปกครองของซาโลมอนไม่มีเรื่องการสงครามใด ๆ
จากนั้นในข้อที่ 3-5 ผู้เขียนได้แต่งต่อไปว่า "นี่แน่ะ บุตรทั้งหลายเป็นมรดกจากพระยาห์เวห์ ผลิตผลของครรภ์เป็นรางวัล บุตรทั้งหลายที่เกิดเมื่อบิดายังหนุ่ม ก็เหมือนลูกธนูในมือนักรบ ชายใดมีลูกธนูเต็มแล่งก็เป็นสุข เขาจะไม่ต้องอับอายเมื่อเขาตอบโต้ศัตรูที่ประตูเมือง" จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ประโยคนี้ ดาวิดได้พูดถึงความภาคภูมิใจของตนเองที่ได้มี "ซาโลมอน" เพราะการมีลูกเป็นการอวยพรจากพระยาห์เวห์ ซึ่งเป็นสืบทอดเชื้อสาย และรวมถึงความตั้งใจของเขาที่มีต่อพระยาห์ในเวห์ในการสร้างพระวิหารอีกด้วย หรือพูดกันง่าย ๆ ในบริบทนี้คือ ดาวิดบอกว่ามีความสบายใจมากที่ได้มีซาโลมอนสืบเชื้อสาย และเป็นกษัตริย์ต่อจากเขา เพราะเขาจะเป็นผู้ที่สานต่อความตั้งใจของดาวิดในการสร้างพระวิหารให้สำเร็จได้ แน่นอนว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่ดาวิดตั้งใจ กษัตริย์ซาโลมอน ได้ทำตามความตั้งใจของดาวิดจนสำเร็จ สามารถสร้างพระวิหารหลังแรกบนภูเขาโมรียาห์ได้สำเร็จ...

------------------

สุดท้ายนี้ หนังสือสดุดี 127 สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตของผู้เชื่อได้อย่างมาก หากผู้อ่านได้มีความตั้งใจที่จะดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยให้การดำเนินชีวิตของทุกคนนั้นมี "พระเจ้า" อยู่ในชีวิตตลอดเวลา เหมือนกับ "ร่างกายของผู้อ่านทุกคน" คือ พระวิหารของพระเจ้าที่พระองค์ทรงสถิตอยู่ด้วย และแน่นอนว่า เมื่อพระองค์ทรงสถิตอยู่ด้วย พระนามของพระเยซูทรงอยู่กับท่าน ซึ่งพระองค์จะอยู่กับทุกคนอย่างแน่นอน ทุกคนจะได้รับการอวยพรให้มีสันติสุข ความสงบ และไม่มีความวุ่นวาย ชีวิตของทุกคนจะได้ "นอนหลับ" ไม่ต้องมีความกระวนกระวายใด ๆ เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่ด้วยเสมอ ขอพระองค์ทรงอวยพรผู้อ่านทุกคนตามพระประสงค์ของพระองค์ และที่สำคัญ สำหรับผู้อ่านทุกคนที่มีครอบครัวและมีบุตรชาย หรือผู้ที่สืบเชื้อสายในครอบครัว ขอให้ทุกคนได้ทำเหมือนกับที่ดาวิดได้กล่าวไว้ คือ "นี่แน่ะ บุตรทั้งหลายเป็นมรดกจากพระยาห์เวห์ ผลิตผลของครรภ์เป็นรางวัล บุตรทั้งหลายที่เกิดเมื่อบิดายังหนุ่ม ก็เหมือนลูกธนูในมือนักรบ ชายใดมีลูกธนูเต็มแล่งก็เป็นสุข เขาจะไม่ต้องอับอายเมื่อเขาตอบโต้ศัตรูที่ประตูเมือง" ขอให้ผู้อ่านทุกคน จงมีความภูมิใจในเชื้อสายของท่าน จงให้เกียรติแก่เขา และให้เขาได้เติบโตขึ้นโดยสานต่อเจตนารมณ์ที่ท่านมีในการดำเนินชีวิตในพระเจ้า เหมือนกับดาวิดที่มีเจตนารมณ์ในการสร้างพระวิหารของพระยาห์เวห์ให้สำเร็จ ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ดาวิดปรารถนาให้ซาโลมอนอยู่ในแผนการณ์และพระประสงค์ของพระยาห์เวห์ตลอดไป เช่นกัน หากผู้อ่านทุกคนมีสถานะเป็นพ่อแม่ หรือกำลังจะเป็นในอนาคต ก็ให้ท่านมีความตั้งใจที่จะให้ลูกหรือเชื้อสายของคุณมีพระเจ้าทรงสถิตอยู่ในชีวิตของเขาเฉกเช่นดาวิดส่งต่อความรักของเขาให้กับโซโลมอนด้วยบทเพลงในสดุดีบทที่ 127

สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า

By : MPCF Thailand
30/6/2024

#วันต้นสัปดาห์กับพระวจนะแห่งชีวิต #พันธกิจด้านพระวจนะ #ความมั่นคงและความปลอดภัย

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง เทวโลก ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

พิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ รร.จปร.
จปร.จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล"กรมสมเด็จพระเทพฯ" เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
MPCF Thailand Happy New Year 2024
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2566 ณ พระที่นั่งอัมพร...
เนื่องในโอกาสครบ 106 ปี "ธงชาติไทย" 🇹🇭MPCF Thailand ขอนำคลิปการไปเยี่ยมชม #พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม (เดือนเมษายน 2566)...
บทเพลง “ในหลวงรัชกาลที่สิบ”
Blessed Talk with MPCF Story - ว่าที่ร้อยตำรวจตรี โจนาธาน ตรีประลำ
ข่าวในพระราชสำนัก 30 เมษายน 2565
พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ในหลวงพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร
ทอดพระเนตรการฝึกภาคสนามของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 72
Happy New Year 2022 - พลโท สุรพล เจียมสมบูรณ์

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


เลขที่ 99/182 ถนนสายไหม 22 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพ
Bangkok
10220

องค์กรศาสนา อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Christ Church Bangkok (Thai) Christ Church Bangkok (Thai)
11 Convent Road
Bangkok, 10500

An oasis of living water in the heart of Bangkok แหล่งน้ำแห่งชีวิตใจกลางกรุงเทพ

ChurchofCovenant ChurchofCovenant
274 ถนนรามคำแหง 81 แยก 6 เขตบางกะปิ กรุงเทพ
Bangkok, 10240

คริสตจักรแห่งพันธสัญญา ยินดีต้อนรับทุกท่าน

RHEMA Thailand RHEMA Thailand
Rama 3, Bangkok Square
Bangkok, 10120

RHEMA Thailand is associated with Kenneth Hagin Ministries (Tulsa, OK, USA) and includes Rhema Church Bangkok, and Rhema Bible Training Centers in Bangkok, Nakorn Ratchasima, Mae S...

Lighthouse International Church Thailand Lighthouse International Church Thailand
4th Floor City Link Building A, Phetchaburi 35 Alley, Makkasan, Ratchathewi
Bangkok, 10330

We celebrate Jesus and His finished work at the cross, where we fellowship in the truth of the WORD.

เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan
23 Vacharaphol Road
Bangkok, 10230

เสถียรธรรมสถาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างศานติ

มานาประจำวัน มานาประจำวัน
18 ซอยรามคำแหง 16
Bangkok, 10240

เริ่มต้นวันใหม่ด้วยพระคำพระเจ้าทางหนังสือ อีเมล หรือ App มือถือ ได้ฟรี!!! สมัครที่ thaiodb.org

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ
ทางเข้าสวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) ถนนนิคมรถไฟสาย ๒; แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
Bangkok, 10900

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives)

คริสตจักรสะพานเหลืองคลองตัน คริสตจักรสะพานเหลืองคลองตัน
1023/1 ซ. ปรีดีพนมยงค์ 41 , ถ. สุขุมวิท 71 , คลองตัน , วัฒนา
Bangkok, 10110

คริสตจักรสะพานเหลืองคลองตัน Sapanluang Klongtan

Creation Church for Jesus Christ Creation Church for Jesus Christ
คริสตจักรครีเอชั่น เลขที่ 13 อาคาร YWCA ชั้น 6 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ
Bangkok, 10120

องค์กรคริสตจักรสร้างสรรค์เพื่อพระเยซูคริสต์

International Church of Bangkok International Church of Bangkok
Bangkok Christian College @ 35 Soi Pramuan (Off Sathorn Road), Next To Surasak BTS (10. 00 Am)
Bangkok, 10110

Advancing the Word & Work of Jesus.

INEB - International Network of Engaged Buddhists INEB - International Network of Engaged Buddhists
Bangkok, 10600

In 1989, the International Network of Engaged Buddhists (INEB) was established in Thailand by Sulak Sivaraksa and a group of Buddhist and non-Buddhist thinkers to practice social ...

Trói Buộc Hôn Nhân Gia Đình - Bua Ngãi Mê Trói Buộc Hôn Nhân Gia Đình - Bua Ngãi Mê
Na Phra Lan, Phra Nakorn
Bangkok, 10100

Chuyên bùa yêu - ngải tình , trói yêu , chia cắt NGT3 , quyến rũ, làm ăn, tài lộc.