บีบี นวดเพื่อสุขภาพ

บริการนวดเพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื?

Timeline photos 06/02/2017

👯การป้องกันการเกิดโรคข้อศอกเทนนิสในวัยทำงาน👯
โรคนี้ค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ต้องใช้แรงแขนและข้อศอกอยู่ตลอด อะไรก็ตามที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ในส่วนนี้ก็ล้วนแต่เป็นความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น
หลักในการป้องกันหรือเกิดแล้วก็ทำให้บรรเทาลง มีอยู่ 3 อย่างให้นำไปปฏิบัติกัน ดังต่อไปนี้
🌻1.ในขณะที่กำลังทำงานอยู่นั้นหากรู้สึกว่าตัวเองเรื่องเหนื่อยล้าแขน และศอก ให้หยุดพักเสียผ่านห้ามฝืนทำต่อโดยเด็ดขาด หรือหากหยุดไม่ได้ก็ต้องพยายามช้าลง
🌻2.ให้หาอุปกรณ์ช่วยทุ่นแรง กล้ามเนื้อทำงานไม่ต้องหนักมาก หากเป็นนักกีฬาก็ต้องรู้สภาพตัวเองว่าสามารถเล่นได้มากแค่ไหน
🌻3.หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำเพราะจะเป็นตัวที่ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากขึ้น และสามารถทำงานหนักได้โดยไม่ต้องกลัวกล้ามเนื้อจะฉีก แต่การออกกำลังกายเองก็ต้องให้พอดีไม่หนักเกินไปด้วยเช่นกัน

Timeline photos 05/02/2017

ฝากแชร์ ให้ ความ รู้ ค่ะ !! โ ร ค ป ว ด ร ะ ดั บ เ อ ว ล ง ม า ป ว ด ร้ า ว ล ง ข า หรือ โรค หมอน รอง กระดูก ทับ เส้น ประ สาท หรือโรค ก้อน เนื้อ ที่ สะโพก ทับ เส้น ประสาท กัน แน่ ?

อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

สาเหตุของอาการเกิดจากการที่ หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตกจนของเหลวภายในไปเบียดทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณกระดูกสันหลังชิ้นที่ L3 L4 L5 S1 ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทส่วนเอวไปถึงขา
เริ่มแรกผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลังบริเวณเอว เป็น ๆ หาย ๆ มาก่อน ซึ่งอาการดังกล่าวจะเป็นมากเวลาทำงาน เช่นยืน ก้มเงย หรือนั่งนาน ๆ และจะดีขึ้นเมื่อได้นอนพัก

โรคปวดร้าวลงขา (Sciatica)
เส้นประสาทไซเอทิค (Sciatic nerve)… เป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเส้นประสาทที่ออกจากกระดูกสันหลัง ส่วนเอว 5 เส้นมาเชื่อมรวมกันในบริเวณกระดูกเชิงกราน เส้นประสาทนี้เริ่มต้นจากสะโพกหรือกระดูกเชิงกรานไป ควบคุมและหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมทั้งข้อต่าง ๆ ที่ต้นขา เข่า น่อง เท้า และนิ้วเท้า
ไซเอทิคา (Sciatica )…คืออาการปวดร้าวที่เริ่ม จากสะโพกและแล่นลงมาที่ขา (ส่วนมากจะเป็นขาข้างใดข้างหนึ่ง) ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองหรือการถูกกดทับ ของเส้นประสาทไซเอทิค(Sciatic nerve)
ส่วนของร่างกายที่มักจะพบอาการปวด ได้แก่… บริเวณด้านหลังของต้นขาและที่น่องบางกรณีอาจมีอาการปวดที่สะโพกด้านหน้าหรือด้านข้างของขา บางครั้งความปวด จะร้าวไปถึงข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้า ในบางรายผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกก่อนที่จะมีอาการปวดร้าวลงขา

Timeline photos 05/02/2017

💁💁อาการปวดข้อใคร ๆ ก็เป็นได้💁💁
🐣สาเหตุของอาการเจ็บปวดตามข้อต่างๆ🐣
🐤อาการปวดข้อเกิดได้หลายสาเหตุ โดยมากแล้วเกิดจากข้อมีการอักเสบ จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวด อย่างไรก็ตามคำว่าข้ออักเสบนั้นไม่ได้หลายถึงกระดูกเพียงสองหรือสามชิ้น หากแต่รวมไปถึงส่วนประกอบของข้อทั้งหมด อาทิ กระดูกอ่อน หมอนรองข้อและเส้นเอ็นข้อ ฉะนั้นการจะวินิจฉัยหาว่าข้ออักเสบเนื่องจากอะไรนั้นยาก เพราะคนที่ป่วยเป็นข้ออักเสบมีหลายสาเหตุ🐤
🐥 ซึ่งในหลายสาเหตุนั้นจะมีสาเหตุที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก็คือ ข้ออักเสบเนื่องจากอุบัติเหตุ ข้ออักเสบเนื่องจากรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม โรคเกาต์ และอย่างอื่นมากมายไม่ว่าจะเป็น ข้อติดเชื้อ ภูมิแพ้ และโรคผิวหนังบางชนิด ซึ่งควรจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เพราหากปล่อยให้เกิดอาการปวดข้อไปนานๆแล้วรับประทานยาเองเพื่อหวังให้อาการทุเลาลง อาจจะทำให้อาการปวดเรื้อรังเป็นเวลานานจนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อมได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก🐥

Timeline photos 04/02/2017

ระวัง! เล่นคอมนาน-กดโทรศัพท์บ่อย เสี่ยงโรคพังผืดทับเส้นประสาท
เตือน ! เล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน กดโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ กลุ่มเสี่ยงโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ รักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม หากเป็นหนักต้องถึงขั้นผ่าตัด
ตกเป็นประเด็นฮือฮามาพักใหญ่ ๆ แล้วสำหรับโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ที่พักนี้เริ่มจะระบาดไปทั่ว แต่เอ๊ะ! อย่าเพิ่งเข้าใจผิดค่ะ
โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นโรคในกลุ่มการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดพังผืดที่หนาตัวขึ้นบริเวณข้อมือด้านฝ่ามือ และไปกดทับถูกเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ซึ่งอยู่ผ่านช่องข้อมือแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วหัวแม่มือ โดยเมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ จะทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว และถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ ฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือจะลีบเล็กลง

สาเหตุของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เกิดจาก
1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ อย่างเช่นคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เม้าส์ โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน การกดแป้นคีย์บอร์ด การเย็บผ้า การถักนิตติ้ง
2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนาน ๆ การรีดผ้า การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ
3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต
4. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น จากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น

อาการที่พบบ่อย
1 . มีอาการปวดมือ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน
2. มักจะมีอาการชาที่นิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางและบางส่วนของนิ้วนางตามแนวของเส้นประสาท
3. อาการปวดจะมีมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานในลักษณะการเกร็งอยู่นาน ๆ ในท่าเดิม เช่น การจับมีด กรรไกร
4. การทำงานช่างที่ใช้ค้อนหรือใช้เครื่องมือที่มีแรงสั่นสะเทือน
5. มักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือเวลาตื่นนอนตอนเช้า และจะหายไปชั่วครู่หลังจากสะบัดมือ
6. บางรายที่ถูกกดทับอยู่นาน ๆ จะเริ่มมีอาการอ่อนแรงของมือ เช่น จะรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรงเวลากำมือ โดยเฉพาะการใช้มือหยิบของเล็ก ๆ จะทำได้ลำบาก
7. มีกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ

Timeline photos 02/02/2017

อ้ า ว..!! เ จ อ โ ร ค แ ป ล ก ๆ โรคปวดเอว ปวดกระเบนเหน็บ ปวดสะโพก ร้าวลงขา โรคนี้ที่คนเป็นเยอะ..! แต่รู้จักน้อย
อ่านแล้ว... ฝากกดแชร์..!! ให้คนอื่นได้รู้ด้วยค่ะ.!

ปวดสะโพกร้าวลงขา (si joint dysfunction syndrome)
โรคปวดสะโพกร้าวลงขา หรือ si joint dysfunction เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่แพ้โรคกระดูกสันหลัง และก็สร้างความสับสนให้กับผู้ป่วยอยู่พอสมควรเพราะกระดูกข้อสะโพกและกระดูกสันหลังนั้นอยู่ใกล้กัน เมื่อมีอาการปวดบริเวณสะโพกและมีชาร้าวลงขาก็จะถูกเหมารวมกันไปว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นแน่ๆ ฉะนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า

เป็นภาวะ sacroiliac joint (กระดูกข้อต่อก้นกบ) มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งอาจมีการเคลื่อนไหวน้อยลง หรือมากขึ้น หรือมีการยึด ติด รั้ง เส้นเอ็นอักเสบที่ยึดข้อ มีการเคลื่อนที่ที่ไม่สมดุลกันระหว่างซ้ายขวา หรือมีการวางตัวของแนวกระดูกที่ผิดปกติไปจนทำให้เกิดอาการปวดขึ้นนั่นเอง
สาเหตุของโรค
- ทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน เช่น ขับรถเกิน 4 ช.ม.ติดต่อกัน, นั่งทำงานในท่าเดิมๆนานๆ
- เคยมีประวัติตั้งครรภ์ เพราะขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์สะโพกจะขยายตัว
- เคยประสบอุบัติเหตุที่สะโพกโดยตรง เช่น ล้มก้นกระแทก, อุบัติเหตุทางรถยนต์
- ชอบนั่งไขว้ห้างเป็นประจำ
- ชอบบิดตัวให้กระดูกดังกร๊อบๆเป็นนิสัย
- เล่นกีฬาที่ต้องเหวี่ยง ขว้าง หรือเตะอย่างแรง โดยใช้แขนหรือขาข้างนั้นเป็นประจำ
ลักษณะอาการ
- มีอาการปวดตื้อๆ แหลมๆบริเวณข้อต่อ กระเบนเหน็บ แต่ในรายที่ปวดมากจะปวดร้าวลงขาด้วย
- ปวดตามแนวขอบกางเกงใน
- ปวดมากขึ้นเมื่อให้ยืนขาข้างเดียว หรือเอียงตัวไปด้านข้าง
- ปวดเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นลุกขึ้นยืน แต่อาการปวดจะทุเลาลงเมื่อเดินไปได้สักระยะ
- บางรายขณะเดินๆอยู่รู้สึกเข่าทรุด ขาพับไปเองทั้งที่ไม่มีอาการปวดก็ได้
- รู้สึกขาอ่อนแรง เมื่อยล้าง่าย
- ไม่มีอาการปวดบริเวณหลัง โดยมากมักปวดตั้งแต่ขอบกางเกงในลงมา
- ไม่มีอาการชา

Timeline photos 01/02/2017

#แชร์ได้ค่ะ รวม 7 โรคปวดหลัง ที่เรารู้จัก แต่ไม่รู้จริง !!!
เมื่อเราปวดหลัง คนทั่วไปมักนึกถึงโรคที่เกี่ยวกับหลังอยู่ 2 โรคด้วยกัน คือ หมอนรองกระดูกทับเส้นกับกล้ามเนื้อหลังอักเสบ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังมีมากกว่านั้น...เยอะมากกกกกกกก กอไก่ร้อยตัวเลยทีเดียว ถ้าให้อธิบายทั้งหมดมันดูเป็นวิชาการจนเกินไป เดี๋ยวเพื่อนๆจะหลับกันซะก่อน ฉะนั้น จึงยกตัวอย่างเพียง 7 โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลัง ที่พบได้บ่อยพบได้มากและมีให้เห็นกันแทบทุกวันในโรงพยาบาล แต่คนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้มาฝากกัน โดยเริ่มจากโรคที่เรารู้จักกันดี คือ..

1) โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (herniated disc pulposus : HNP)
จะอธิบายแบบสรุปเลยนะคะ โรคนี้เกิดจากเจลในหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal cord) หรือรากประสาท (spinal nerve root) ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ซึ่งพบได้บ่อยมาก ทีนีจะแนะวิธีการสังเกตุอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกัน
อาการ ของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนแทบกระดิกตัวไม่ได้ (ในกรณีที่ทับโดนเส้นประสาทไขสันหลัง)
- ปวดเมื่อไอ จาม เบ่งถ่ายขณะเข้าห้องนํ้า (อันนี้คือหัวใจสำคัญของโรคนี้เลยค่ะ)
- ไม่สามารถแอ่นหลังได้ ต้องก้มหลังตลอดเวลา ถ้าแอ่นหลังจะปวดมากขึ้น
- ขาชา
- ปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างเลย
- บางรายไม่มีอาการปวดหลังเลย แต่จะรู้สึกขาชาอย่างเดียว พอเบ่งถ่ายก็รู้สึกขาชามากขึ้น
- บางรายก็ไม่มีอาการชาขา หรือปวดหลังเลย แต่จะปวดขาอย่างเดียว จะบีบจะนวดขายังไงก็ไม่รู้สึกดีขึ้น รู้สึกปวดขาแบบหน่วงๆ เหมือนขาหนักๆครับ
- หากเป็นมานานขาจะอ่อนแรง ล้มพับง่าย ยืนไม่มั่นคง
- กล้ามเนื้อขาฝ่อลีบ ของมัดที่เส้นประสาทถูกกดทับ
- ในกรณีที่ถูกทับมากๆ แค่พูด ผู้ป่วยก็รู้สึกปวดหลังจนนํ้าตาไหลแล้ว
- ปวดมากเมื่อกดลงไปที่กระดูกสันหลังตรงๆ

2) โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน (acute lower back pain)
โรคนี้แทบไม่มีความเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังเลยค่ะ เกิดจากตัวกล้ามเนื้อหลังของเราล้วนๆ แล้วที่น่าสนใจคือ โรคนี้จะมีอาการคล้ายกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาก เพียงแต่ไม่มีอาการชาเท่านั้น ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหลังของเราถูกใช้งานมากเกินไป จากการก้มๆเงยๆ การยกของหนัก อุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลังโดยตรง การเล่นกีฬาอย่างหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันทันที
อาการ ของโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน
- ปวดตึงหลัง
- รู้สึกปวดหลังแบบกว้างๆ ระบุตำแหน่งชัดเจนไม่ได้ (นี่คือจุดที่แตกต่างระหว่างเป็นที่กล้ามเนื้อกับกระดูกสันหลัง ถ้าเป็นที่กระดูกสันหลังจะระบุตำแหนงที่ปวดได้ค่อนข้างชัด แต่ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อจะรู้สึกปวดกว้างๆ บอกตำแหน่งชัดเจนไม่ได้)
- ผู้ป่วยจะเดินหลังเกร็ง และแอ่นหลังตลอดเวลา
- กล้ามเนื้อหลังหดเกร็งเป็นลำชัดเจน
- จะก้มหรือแอ่นหลังก็ทำไม่ได้ เพราะปวดตึงหลังไปหมด
- บางรายอาจจะปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้าง (อาการนี้จะสร้างความสับสนว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้น)

3) โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (spondylosis)
รู้หรือเปล่าว่า โดยปกติแล้วโรคกระดูกสันหลังเสื่อมในระยะแรกจะไม่มีอาการปวดใดๆเลยนะ ผู้ป่วยจะมามีอาการปวดหลังก็ต่อเมื่อข้อต่อ facet joint ที่ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกสันหลังชิ้นบนกับชิ้นล่างไว้ด้วยกัน เกิดเสื่อมลงมากจนทรุดตัวแล้วนั่นแหละค่ะ ถึงจะเริ่มมีอาการปวดหลัง นอกจากนี้ ยังเกิดจากกระดูกงอก (หรือเรียกว่าหินปูนก็ได้) ที่เกิดจากการซ่อมแซมกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง เกิดงอกมากเกินไปจนไปกดทับรากประสาทสันหลังเข้า ทำให้มีอาการขาชาได้ไม่ต่างจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเลยทีเดียว
อาการ ของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
- ในระยะแรกไม่มีอาการปวดใดๆเลยค่ะ แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ไปตรวจ X-ray อาจพบว่ากระดูกสันหลังอยู่ชิดกันมากขึ้น
- มีอาการปวดหลังแบบขัดๆภายในข้อ สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน
- ผู้ป่วยจะก้มหลังไม่ค่อยได้ หลังจะแอ่นอยู่ตลอดเวลา (ลองสังเกตดู หากเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นจะตรงข้ามกันนะ)
- ผู้ป่วยจะก้มหลังได้ไม่สุด จะรู้สึกตึงๆขัดๆที่หลังในขณะที่ก้ม
- รู้สึกขาชาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง (แต่พบน้อยที่ชาทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน) เนื่องจากกระดูกงอกไปกดทับเส้นประสาท
- หากกดลงไปที่กระดูกสันหลังของข้อที่เสื่อม ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดขัดๆภายในข้อนั้น แต่หากกดที่ข้ออื่นจะไม่รู้สึกอะไร
- หากกระดูกสันหลังทรุดมาก อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหลังหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
โดยสรุปแล้ว อาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจะค่อนข้างซับซ้อนขึ้นมาหน่อย

4) โรคปวดสะโพกร้าวลงขา (sacroiliac joint dysfunction symptoms)
โรคนี้เอาจริงๆแล้วคนเป็นเยอะไม่แพ้โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเลยนะ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะอาการมันคล้ายกับกระดูกสันหลังเสื่อมมากๆ ต่างกันแค่ตำแหน่งที่ปวดเฉยๆ ซึ่งก็คือที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกราน (pelvic) กับกระดูกสันหลังส่วนปลาย (pelvic) นั่นเองค่ะ (หากงงก็รูปภาพประกอบได้)
อาการ ของโรคปวดสะโพกร้าวลงขา
- ปวดบริเวณขอบกระดูกเชิงกราน ใกล้กับแนวกระดูกสันหลัง (ตรงจุดนี้แหละที่ทำให้เข้าใจผิดบ่อยๆว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม)
- ปวดเมื่อบริเวณหลังเมื่อนั่งนาน
- จะมีอาการปวดเสียวที่หลัง เมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งไปยืน โดยเฉพาะหลังจากขับรถมานาน
- จะสังเกตุเห็นเอวทั้ง 2 ข้างอยู่สูงตํ่าไม่เท่ากัน
- ปวดบริเวณหลังส่วนล่างร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง
- ปวดมากเมื่อนั่งนาน
- ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งนานๆได้ หากนั่งนานก็จะนั่งเอี้ยวตัวลงนํ้าหนักที่ก้นข้างใดข้างหนึ่งแทน
- รู้สึกขาอ่อนแรง บางครั้งเดินๆอยู่ก็รู้สึกเข่าพับไปดื้อๆ
- รู้สึกปวดแบบแหลมๆที่กระเบ็นเหน็บ เมื่อนั่ง
- ไม่มีอาการชาใดๆ
- ปวดตามแนวขอบกางเกงใน
- X-ray จะไม่เห็นความผิดปกติมากนัก ไม่เหมือนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
- หากกดลงไปที่กระดูกสันหลังตรงๆ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกปวดอะไร แต่หากกดที่รอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานจะปวดร้าวลงขา บางรายอาจจะปวดร้าวลงหน้าแข้งเลยก็มีค่ะ

5) โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (piriformis syndrome)
โรคนี้พบได้เยอะมากกกกก แล้วเป็นโรคที่โดนเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เพราะว่ามันมีอาการชาร้าวลงขาเหมือนกันเลย ต่างกันแค่ตำแหน่งที่เส้นประสาทถูกหนีบเท่านั้นเองค่ะ โรคนี้เกิดจากกล้ามเนื้อ piriformis ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดลึกอยู่ภายในก้นของเรา เกิดตึงตัวมากๆจากการนั่งนานไปหนีบเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาชื่อว่า sciatic nerve ผลก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการขาชา ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อขาฝ่อลีบ แต่เมื่อไอจามแล้วไม่มีอาการปวดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
อาการ ของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
- รู้สึกปวดลึกๆที่แก้มก้น หรือก้นย้อย คลำหาจุดกดเจ็บไม่ค่อยเจอ เพราะกล้ามเนื้ออยู่ลึกมาก
- รู้สึกขาชา แต่จะรู้สึกชาตั้งแต่ก้นลงมา
- จะรู้สึกปวดก้นมากขึ้น หรือขาชามากขึ้นหากนั่งนาน
- ไม่มีอาการปวดหลังใด
- มีจุดกดเจ็บที่ก้น เมื่อนักกายภาพใช้นิ้วกดลงไปทีแก้มก้นจะรู้สึกปวดมากที่ก้นและบางรายปวดร้าวลงถึงปลายเท้า
- ไอ จาม หรือเบ่งถ่ายไม่ทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
- รู้สึกขาอ่อนแรง เมื่อเดินลงนํ้าหนักจะรู้สึกว่า ขาเหยีบพื้นได้ไม่เต็มที่
- รู้สึกขาหนักๆ ยกขาข้างที่เป็นไม่ค่อยขึ้น

6) โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)
โรคนี้อาจจะสังเกตุอาการยากนิดนึงครับสำหรับคนทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้การตรวจ X-ray จึงเห็นชัดคะ ซึ่งโรคนี้เกิดจากตัวเชื่อมระหว่างปล้องกระดูกสันหลังกับส่วนหางของกระดูกสันหลัง (pars interarticularis) มันหัก ทำให้ตัวปล้องกระดูกสันหลังเคลื่อนไปด้านหน้ามากกว่าปกติ อาจเกิดจากอุบัติเหตุที่กระดูกสันหลังโดยตรง จากที่เคยตั้งครรถ์ หรืออ้วนลงพุงมากก่อนก็ได้คะ
อาการ ของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
- ระยะแรกไม่มีอาการแสดงใดๆเลยคะ
- หากเคลื่อนมากขึ้น จะรู้สึกปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขา
- หากเคลื่อนไปทับเส้นประสาท จะมีอาการขาชา ขาอ่อนแรง
- ผู้ป่วยจะยืนเดินนานไม่ค่อยได้
ซึ่งโรคนี้จะไม่มีอาการเด่นชัดมากเหมือนโรคอื่นๆคะ

7) ปวดหลังจากอวัยวะภายใน
นอกจากอาการปวดหลังจากตัวกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว ก็ยังเกิดจากอวัยวะภายในของเรามีปัญหาด้วยก็ได้นะ เช่น เป็นโรคกระเพาะ, เป็นลำไส้อักเสบ หรือเป็นโรคไต แต่โรคเหล่านี้มักจะมีอาการปวดท้องควบคู่กันไปด้วยนะคะ
ทีนี้ก็จบลงไปแล้วสำหรับโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังที่เราพบได้บ่อยมากๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นคู่มือการสังเกตุโรคของตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

Timeline photos 01/02/2017

#ข้อเท้าพลิกบ่อยๆ ระวังเป็นโรคเอ็นข้อเท้าหลวม!!!

#ฝากกดแชร์ด้วยนะคะ

ใครหลาย ๆ คนที่ชื่นชอบกับการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือชอบใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้ข้อเท้าพลิกได้ ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการทั่ว ๆ ไป ที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่เป็นประจำ แต่ถ้าปล่อยปละละเลยทิ้งไว้นาน ๆ แล้วอาจส่งผลให้เกิดข้อเท้าหลวมได้


สาเหตุอาการข้อเท้าหลวม โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก ซึ่งอาจเป็นในลักษณะของข้อเท้าพลิกซ้ำบ่อย ๆ หรือเกิดจากผลสืบเนื่องจากการรักษาที่ไม่เหมะสมหลังจากข้อเท้าพลิก เช่น การทำกายภาพบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า หรือการบริหารระบบประสาทที่ป่วยในการทรวงตัวของข้อเท้าไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เอ็นข้อเท้ายืด เกิดอาการข้อเท้าหลวมตามมา

สำหรับอาการผู้ป่วยมักมีอาการเดินแล้วรู้สึกว่า ข้อเท้าทรุดหรือพลิกง่าย รู้สึกข้อเท้าไม่มั่นคง บางครั้งเดินเท้าเปล่าบนพื้นทรายหรือพื้นเรียบ เช่น พรมไม่ได้ ซึ่งไม่ได้มีอาการข้อเท้าหลวมเพียงอย่างเดียว หากพบว่า ยังมีอาการปวดร่วมด้วยต้องคำนึงถึงสาเหตุการบาดเจ็บอื่น ๆ ที่พบร่วมกันได้ อาทิ มีอาการเส้นเอ็นด้านนอกข้อเท้าฉีกขาด , มีรอยแผลที่กระดูกอ่อนในข้อเท้า , การได้รับบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายเท้า กระดูกเท้าและข้อเท้าหัก เป็นต้น หากมีอาการมากขึ้นอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นนอกข้อเท้า ข้อเท้าเอียงผิดรูป และมีอาการข้อเท้าเสื่อมตามมาได้

ทั้งนี้หลักในการรักษาข้อเท้าหลวมนั้น จำเป็นต้องตระหนักว่า สาเหตุในการเกิดไม่ได้มีสาเหตุมาจากเอ็นข้อเท้ายืดหรือฉีกขาดเพียงอย่างเดียว มักพบว่ามีปัญหาเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของข้อเท้า ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นของเส้นนอกข้อเท้าร่วมด้วย ดังนั้นการรักษาที่จะทำให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังกล่าวให้ครบถ้วน

โดยทั่วไป สามารถพิจารณาให้การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม (Conservotive Tredment) ได้แก่

- การฝึกบริหารเพิ่มความแข็งแรงของเอ็นบริเวณรอบข้อเท้า

- การฝึกการควบคุมการทรงตัวของข้อเท้า

- การใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ที่รัดข้อเท้าทั้งแบบมีแกนด้านข้างและไม่มีแกนด้านข้าง

- การใช้ยาเพื่อลดอาการอักเสบ

หากการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลในช่วงระยะเวลา 3 - 6 เดือน จึงพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเข้าไปเย็บซ่อมแซมเส้นเอ็นส่วนที่เป็นปัญหาดังกล่าว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การรักษาข้อเท้าหลวมที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดและรักษาอาการพลิกตั้งแต่เริ่มแรกได้อย่างเหมาะสม จะช่วยลดปัญหาอาการข้อเท้าหลวมที่เกิดขึ้นได้

Timeline photos 01/02/2017

❤️อาการชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ❤️

เกิดจากอะไร ปวดเจ็บนิ้วไหน บอกโรคที่เป็นได้ ! อ่านแล้วฝากกดแชร์..!! ด้วยนะคะ

ชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเกิดจากอะไร ?

อาการชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้าสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน การทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือซ้ำ ๆ ซึ่งอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง หรือการที่ร่างกายมีระดับธาตุและวิตามินผิดปกติ รวมทั้งอาจเป็นอาการข้างเคียงของบางโรค เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคเบาหวาน งูสวัด ลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง อาการผิดปกติของปลายประสาท เป็นต้น


ซึ่งอาการชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า สามารถแบ่งแยกสาเหตุได้จากอาการชาที่เกิดกับร่างกาย ดังนี้

* ชานิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และอาจมีอาการปวดมือ ปวดร้าวไปถึงแขนด้วย นั่นอาจหมายถึงสัญญาณของโรคเส้นประสาทกดทับที่ฝ่ามือ โดยเกิดจากการใช้งานมือในลักษณะการเกร็งอยู่นาน ๆ ในท่าเดิม เช่น การจับมีด กรรไกร ไดร์เป่าผม คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือตื่นนอนตอนเช้า

* ชาที่นิ้วก้อย อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณรักแร้ที่ยาวไปถึงนิ้วก้อย สาเหตุจากงอและเกร็งข้อศอกเพื่อถือหูโทรศัพท์เป็นเวลานาน

* ชาปลายเท้าและปลายมือ อาจเกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือบี 12 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคมะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น

* ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว แต่ไม่มีอาการชาปลายเท้า และมักจะชาช่วงกลางคืนหรือก่อนนอน อาจเกิดจากการใช้มือทำงานหนัก เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ต่อเนื่องนาน ๆ เล่นโทรศัพท์บ่อย ๆ ครั้งละนาน ๆ ซึ่งอาจทำให้เอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือได้

* ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และด้านข้างฝ่ามือ (สันมือ) อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งก็ควรเปลี่ยนท่านั่งหรือท่านอนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชาดังกล่าว

* ชาง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ อาจเกิดจากเส้นประสาทกดทับที่ต้นแขน แนะนำให้เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการเอาแขนพาดพนักเก้าอี้

* ชาทั้งแถบ ตั้งแต่แขนลงไปถึงนิ้วมือ อาจเกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อมและกดทับเส้นประสาท ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์นะคะ เพราะน่าเป็นห่วงมากเลยทีเดียว

* ชาหลังเท้าลากยาวไปถึงหน้าแข้ง แต่ไม่มีอาการชาที่มือ อาจเกิดจากการนั่งไขว้ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ เป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าด้านนอกถูกกดทับจนเลือดเดินติดขัดได้

* ชาทั้งเท้า และเลยไปถึงสะโพก อาการนี้ก็ควรต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

* อาการชาที่เริ่มเกิดขึ้นจากปลายเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว ลามขึ้นไปที่ข้อเท้า เข่า และลำตัว เป็นอาการที่มักเกิดกับนักดื่มคอทองแดง เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์เข้าไปทำลายเส้นประสาทให้เสียหายหลายเส้น

สรุป แม้ว่าอาการชาในบางคนอาจเป็นเพียงอาการชั่วครั้งชั่วคราว เป็นแล้วสักพักก็หาย ทว่าอย่างที่เราเพิ่งนำเสนอไปนะคะ อาการชาปลายมือปลายเท้าอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหรือภาวะผิดปกติบางอย่างได้ ฉะนั้นหากมีอาการชาปลายมือปลายเท้าขึ้นมาเมื่อไร ก็ควรหมั่นสังเกตความถี่และความรุนแรงของอาการไว้ด้วย

Timeline photos 01/02/2017

เมื่อปวดคอบ่าไหล่เรื้อรัง ปวดรำคาญ ร้าวลงแขน แถมชาปลายมืออีก เอาเข้าไป? ทานอะไร? ก็ไม่ดีขึ้น
อ่านแล้วฝากกดแชร์..!! ด้วยนะคะ

ที่มาส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง ปวดบ่า คอ ไหล่ เรื้อรัง จาก Office Syndrome

A. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีโอกาสเกิดปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังคือ
* ปัจจัยทางโครงสร้าง เช่น ผู้ที่มีหลังคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน จึงเกิดภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อได้
* ปัจจัยทางท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น
- เลือกใช้เก้าอี้ที่ออกแบบไม่เหมาะสม
- เก้าอี้ที่ไม่เหมาะกับงาน กับตำแหน่งของคอมพิวเตอร์
- ท่าทางไม่เหมาะสม (poor posture) เช่น ท่านั่ง ท่ายืนในการทำงานไม่ถูกต้อง ท่ารับโทรศัพท์ไม่เหมาะสม เช่น เอียงคอหนีบหูโทรศัพท์ ใส่รองเท้าส้นสูง
- เกิดจาการทำงานในท่าเดิมซ้ำๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการพัก หรือยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสม หรือใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การสะพายกระเป๋าหนักๆ ที่ไหล่ หรือจากสายยกทรงของผู้หญิงที่มีขนาดเต้านมใหญ่ กดรัด

B. ปัจจัยทางภาวะโภชนาการ ไม่สมดุลของวิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมนต่างๆ

พบว่าปัจจัยที่สำคัญในผู้ที่มีภาวะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง มาจากภาวะการขาดวิตามิน ที่ละลายในน้ำ ซึ่งเป็นโคเอมไซม์ ที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และช่วยในการทำงานและสร้างพลังงานแก่เซลล์กล้ามเนื้อ เช่น วิตามินบี 1 บี 6 บี12 และวิตามินซี กรดโฟลิก แคลเซียม โปแตสเซียม แมกนีเซียม แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามินควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งคุณสามารถปรึกษาแพทย์
ในบางกรณีการขาดพลังงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ที่เกิดจากโรคทางเมตาโบลิกและโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น ผู้ที่มีภาวะของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ หรือในผู้ที่มีภาวะกรดยูริกสูง

C. ความผิดปกติของอารมณ์ และสภาพจิตใจ
ปัจจัยทางจิตใจที่ชักนำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา ได้แก่เครียด กังวล หดหู่ ซึมเศร้า ขาดความหวัง เป็นต้น กรณีสำคัญซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากอารมณ์ที่ผิดปกติ คือ นอนไม่หลับ นอนหลับไม่เพียงพอจากสาเหตุต่างๆ
หลักการสำคัญในการรักษาภาวะปวดเรื้อรัง
หลักการในการรักษาภาวะปวดกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ “การรักษาที่จุดกดเจ็บ” ร่วมกับ “การค้นหาเพื่อแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะปวดกล้ามเนื้อ”

การรักษาจุดกดเจ็บมีวิธีการรักษาดังนี้
* การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดปวด คลายกล้ามเนื้อ ยาลดกล้ามเนื้อเกร็ง ยากลุ่มฃต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ รวมทั้งการใช้ยาทาเฉพาะที่แก้ปวด

* การรักษาด้วยการฉีดยาที่บริเวณจุดเจ็บ (trigger points injection) ซึ่งโดยมากนิยมใช้กลุ่มประเภทยาชาเฉพาะที่
* การรักษาโดยการฝังเข็มเฉพาะที่ (dry needle puncture) โดยใช้เข็มฝังประเภทเดียวกับการฝังเข็มแบบจีน เพื่อทำการคลายจุดเจ็บเฉพาะที่ โดยไม่มีการใช้ยาใดๆ
* การรักษาโดยการฝังเข็มแบบจีน เพื่อลดปวดและปรับสมดุลในร่างกาย (Chinese acupuncture)
* การรักษาโดยการฉีดยาโบทูลินั่มทอกซิน A (botulinum toxin A) โดยฉีดที่จุดปวดของกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อบริเวณจุดปวดนั้นๆ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าลดอาการปวดเกร็งได้ค่อนข้างดีเป็นระยะเวลายาวนาน (3-6 เดือน) แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากปริ มาณ และเทคนิคการฉีดสารชนิดนี้มีความสำคัญมาก เพราะอาจเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ชั่วคราว ถ้าปริมาณยาได้การฉีดไม่เหมาะสม
* การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เช่น การใช้ความร้อน ความเย็น ความร้อนลึก (ultrasound) การนวด การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญมากที่ต้องทำร่วมไปกับการรักษาอาการปวดของจุดเฉพาะที่ คือ การหาสาเหตุของอาการปวด ณ จุดนั้นๆ ว่ามีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ และต้องแก้ไขภาวะต่างๆ เหล่านั้นที่ต้นเหตุ เช่น ภาวะโรคต่างๆ การขาดวิตามินต่างๆ เป็นต้น

รวมถึงต้องมีการปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทาง ในการนั่งทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม ควรมีการออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ และควรประเมินด้วยว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นเป็นสาเหตุของอาการปวดหรือไม่ เช่น เก้าอี้ เบาะนอน หมอนหนุน กระเป๋าสะพายที่ใช้อยู่ทุกวัน สร้อยคอ รองเท้าส้นสูง ลักษณะท่าทางในการขับรถ บางคนได้มีการรักษาทุกวิถีทาง ทั้งการปรับอุปกรณ์ต่างๆ ทุกแง่ทุกมุม แต่งานที่ทำมีความจำเป็นที่ทำให้เปลี่ยนแปลงท่าทางยาก เช่น ต้องนั่งทำงาน หรือนั่งประชุมตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด
แนะนำให้ปรับอิริยาบถ ลดความเครียด ทำใจให้ยอมรับรวมถึงทำใจให้เข้มแข็ง. "ทำใจให้สุข กายก็จะสบายขึ้น”

Timeline photos 01/02/2017

ความรู้ที่ดีค่ะ
กระดูกคอเสื่อม (cervical spondylosis )
สาเหตุ ของโรคกระดูกคอเสื่อม
#แชร์เป็นวิทยาทาน

- อายุมากกว่า 40 ปี
- ใช้งานศีรษะในท่าก้ม เงย หรือหมุนคอบ่อยๆ
- อยู่ในอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมเป้นเวลานานๆ เช่น ทำงานที่ต้องเงยหน้าค้างไว้นานๆเป็นประจำ
- เกิดอุบัติเหตุ เกิดการกระแทกที่กระดูกสันหลังโดยตรง
- การเล่นกีฬาที่มีการกระแทก การปะทะกันบ่อยๆ เช่น อเมริกันฟุตบอล หรือการเล่นโยคะในท่าหัวโหม่งพื้นนานๆ
อาการ ของโรคกระดูกคอเสื่อม
- โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่มีอาการปวดใดๆที่บ่งชี้ได้ว่าเป็นกระดูกคอเสื่อม แต่จะมีอาการเมื่อยคอ เป็นๆหายๆมากกว่า
- ปวดคอเรื้อรัง ทานยาก็หายปวด เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาปวดใหม่ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
- เมื่อเงยหน้าค้างไว้นานๆจะทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มมากขึ้น บางรายมีอาการปวดร้าวลงสะบัก หรือมีอาการชาร้าวลงแขนร่วมด้วย
- รู้สึกแขนอ่อนแรง เมื่อเทียบกับข้างปกติ กำมือได้ไม่สุด ยกของหนักไม่ได้ เมื่อยกแล้วรู้สึกปวดตึงคอเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกระดูกงอกทับเส้นประสาท ทำให้การส่งสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อมัดนั้นๆทำได้ไม่เต็มที่ และหากยังปล่อยทิ้งไว้จะพบว่าแขนข้างนั้นฟ่อลีบจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเลย (แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยก็ไม่ยอมให้ถึงขั้นฟ่อลีบหรอก)
- ในรายที่กระดูกงอกทับเส้นประสาทนั้น จะทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนได้ไม่ดีดังเดิม เช่น การเขียนหนังสือ การเย็บผ้า การติดกระดุมเสื้อ เป็นต้น

- กล้ามเนื้อรอบๆคอ บ่า และสะบักเกิดการตึงตัว ในรายที่เป็นโรคคอเสื่อมมาระยะเวลานานแล้วไม่ได้เข้ารับการรักษาจะสังเกตุเห็นว่า กล้ามเนื้อบ่าตึงแข็งเป็นลำ เมื่อให้ยืนส่องกระจกจะพบว่าหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างสูงตํ่าไม่เท่ากัน
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ
- กระดูกคอของคนเรามีทั้งหมด 7 ข้อ โดยข้อที่มีการเสื่อมมากที่สุดคือข้อที่ C5-C6 ค่ะ เนื่องจากเป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุด ต้องรับนํ้าหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อต่อทั้ง 7 ชิ้น ด้วยภาระงานของข้อที่ 5 และ 6 รับอยู่นั้นมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดการเสื่อมได้ง่าย

Photos from บีบี นวดเพื่อสุขภาพ's post 01/02/2017

ฝึกสอนนวดฝ่าเท้าให้กับ นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จังหวัดตาก 30-31 มกราคม 2560 ในโอกาสที่จังหวัดอุทัยธานีเป็นเจ้าภาพงานมหกรรมเกษตร ที่วิทยาลับเกษตรและเทคโนโลยี จังหวัดอุทัยธานี ระหว่างวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2560 ในงานนี้ #สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเข้าชมงานด้วย

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ การปฏิบัติ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง คลินิก ใน Uthai Thani?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


1/23 ถ. เติบศิริ
Uthai Thani
61000

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 22:00
อังคาร 09:00 - 22:00
พุธ 10:00 - 17:00
พฤหัสบดี 10:00 - 22:00
ศุกร์ 10:00 - 22:00
เสาร์ 10:00 - 22:00
อาทิตย์ 10:00 - 22:00

Uthai Thani คลินิกอื่นๆ (แสดงผลทั้งหมด)
Karen Gzt Mags2594 Karen Gzt Mags2594
Cambodia
Uthai Thani, 53109

Miguel Dizon7485 Miguel Dizon7485
Cambodia
Uthai Thani, 81094

Pauline Nicole T. Bacay5522 Pauline Nicole T. Bacay5522
Cambodia
Uthai Thani, 47356

โอวาริช คลินิกสูตินรีเวช โอวาริช คลินิกสูตินรีเวช
โอวาริช คลินิก
Uthai Thani, 61000

รับฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ ตรวจโรคสตรี ตรวจภายใน ปรึกษาสุขภาพเพศ (ฆสพ.อน.๖/๒๕๖๗)

Thitima Clinic คลินิกหมอฐิติมา โรคผิวหนัง สิว ฝ้า โรคทั่วไป Thitima Clinic คลินิกหมอฐิติมา โรคผิวหนัง สิว ฝ้า โรคทั่วไป
116 ถ. ท่าช้าง
Uthai Thani, 61000

ตรวจรักษาโรคผิวหนัง สิว ฝ้า กระ ริ้วรอย โบท็อกซ์ เลเซอร์ วิตามินผิว ดูแลผิวพรรณและความงาม โรคทั่วไป

Mohsen Seyfi4399 Mohsen Seyfi4399
Cambodia
Uthai Thani, 74171

Jun Wen4963 Jun Wen4963
Cambodia
Uthai Thani, 33299

Ana Espejo7437 Ana Espejo7437
Cambodia
Uthai Thani, 34932

Ahmad Rabea9215 Ahmad Rabea9215
Cambodia
Uthai Thani, 82856

เซรั่ม icon face I serum ผิวสุขภาพดี เซรั่ม icon face I serum ผิวสุขภาพดี
อุทัยธานี
Uthai Thani, 61000

ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของ The Icon Group ทั้งปลีกและส่ง

Red Wolf Red Wolf
ไทย
Uthai Thani, 61110

สมุนไพรบำรุงร่างกาย