Yangnar Studio

Yangnar Studio

แชร์

YANGNAR STUDIO ให้คำปรึกษา ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทงานไม้ ที่สอดคล้องกับบริบท สภาพพื้นที่และวิถีชีวิต

27/02/2025

Sin Thao house
Model structure design

ช่างไม้ สถาปนิก นักศึกษาฝึกงาน ได้ร่วมกัน
จัดทำโมเดลหรือหุ่นจำลองไม้จริงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่เรายางนาสตูดิโอให้ความสำคัญ ในกระบวนการทำให้เราได้เข้าใจระบบโครงสร้าง สัดส่วน แสงเงาที่ตกกระทบ การยึดโยงประกอบส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันของโครงสร้างผ่านการใช้เครื่องมือที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะ

วัสดุ : ไม้สัก / กิ่งไผ่ / กาบไผ่ / ตอก

Mang river
Bo Kluea, Nan, Thailand
-
02/2025
Made by : Anuchart Thidwongsa, Nattapong Yanawong, Staryu Sankham, Afik Hae,
Eva Herr, Yatawee Kumpakdee

Photos from Yangnar Studio's post 18/02/2025

Oyea | 72 m²
Private Stay | Chiang Dao, Thailand
Architect : Yangnar studio
Drawing : Eva Herr, Anuchart Thidwongsa, Staryu Sankham

Photos from Yangnar Studio's post 03/02/2025

Process
Oyea | Private Stay | Chiang Dao, Thailand
ทีมงานก่อสร้าง : ชุมช่างไม้โดยสล่าประเสก ฝาคำ ร่วมกับทีมสล่ายางนาสตูดิโอ/ช่างชาวลีซอ
ผู้ควบคุมงาน : เมธี มูลเมือง สถาปนิกยางนาสตูดิโอ
วัสดุ : ไม้เก่าชนิดประดู่ แดง แงะ เปา สัก, ไผ่ซางหม่น ไผ่รวก, ใบตองตึง, กระเบื้องซีเมนต์ลอนเล็ก, ตอม่อคอนกรีตสำเร็จ
ผ้า หมอน ฟูกรองนอนใยกัญชงย้อมฮ่อม โดย สาธุ

Photos from Yangnar Studio's post 03/01/2025

Oyea
Private Stay | Chiang Dao, Thailand

พื้นที่เชิงเขา ต้นมะกอกป่า ดอยหลวงและชุมชน เป็นสิ่งที่อยู่มาก่อน การสร้างเรือนพักอาศัยให้ส่งเสริม สอดคล้อง และคงไว้ซึ่งความเด่นชัดของสภาพแวดล้อมเดิมในพื้นที่ เป็นสิ่งสำคัญที่เราคำนึงถึง

วิธีคิดพื้นฐานแบบชาวบ้าน ผ่านประสบการณ์ที่เราเคยเดินป่าเข้าไปศึกษายังหมู่บ้านบนพื้นที่สูงต่างๆ ถูกนำมาใช้ในการออกแบบ โดยเริ่มจากการวางตัวเรือนให้ขนานไปกับเส้นชั้นความสูงเพื่อลดภาระในการปรับดินของพื้นใต้ถุน ให้เป็นขั้นบันไดลดหลั่นลงมาเพื่อง่ายต่อการใช้งาน และปล่อยให้เป็นทางระบายน้ำผิวดิน ทางเดินขึ้นเรือนคงไว้ซึ่งความลาดเอียงเดิม จัดการเพียงแค่ใช้จอบขุดเป็นขั้นบันได การได้ออกแรงเดินเท้าลัดเลาะขึ้นเนินดินผ่านต้นมะกอกป่าสู่ตัวเรือน เป็นการปรับอารมณ์ความรู้สึกให้ช้าลงเพื่อสัมผัสสิ่งรอบตัวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อถึงชานจะพบกับดอยหลวงเชียงดาวตั้งตระหง่าน เมื่อนั้นตัวเราจะเล็กลงพร้อมเปิดรับธรรมชาติรอบตัว

สัดส่วนเรือนพักอาศัยมีความกระชับ เกาะเกี่ยวไปตามเนินเขา ใช้วัสดุที่กลมกลืนไปกับชุมชนและสภาพแวดล้อม การแก้ปัญหา ปรับรูปแบบ และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ มักเกิดขึ้นเสมอเพื่อความสมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ
พื้นที่จอดรถถูกคิดขึ้นมาภายหลังจากก่อสร้างเรือนพักอาศัยเสร็จ โดยการขุดปรับดิน จากนั้นนำดินที่ได้มาถมด้านหลังเรือนในลักษณะขั้นบันได เกิดเป็นลานดูดาว และลานก่อกองไฟ

ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการวางแผนแต่แรก แต่กลับส่งเสริมพื้นที่ใช้งานโดยรอบได้เป็นอย่างดี รูปแบบเพิงเก็บฟืน (ผาม) ถูกยกให้เป็นหน้าที่ของสล่าชาวลีซอ จัดการก่อรูปขึ้นตามโลกทัศน์ของตัวเอง เกิดเป็นความงามจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat
Narrative text : Pongsatorn Swadchatchwan

The hills, the olive trees, and the community settled at Doi Luang are the contextual elements that existed before. Therefore, our team is strongly concerned with the architectural process that encourages and preserves the site’s distinctiveness and the original environment in the area.

The basic thinking of the villagers inspired us. The elements we experienced from them during our visits to the local people on the hills were improvised into the design. We started with the building orientation, which was placed parallel to the contour line to reduce the need for adjusting the ground elevation under the house. The ground was carved into steps for convenience and left as a water drainage path.
The walkway up to the house still maintains the original slope, using only a hoe to scoop the soil into steps. Walking along the slope, past the group of olive trees toward the house, slows down all perceptions, opening the mind to feel the surrounding environment more clearly. When you reach the deck, you will see Doi Luang Chiang Dao standing elegantly. At that moment, you will feel smaller and ready to embrace the greatness of the nature around you.

Our design team tried to keep the building’s proportion compact and close to the hillside. Materials were selected to blend in with the community and the surrounding environment. Throughout all the construction processes, problem solving and details improvisation were always important to find the perfect solution for the on-site constraints.

For example, the parking area was conceived after the building was constructed, by adjusting the land level. The soil from there was used to fill in the back of the house, creating a stargazing area and a fire pit area. This was beyond the initial planning, but it greatly enhanced the site’s potential. The firewood shed (Pham) was entrusted to our Lisu craftsmen to manage and construct based on their own experiences. This is also seen as the beauty of local wisdom that shapes architecture.

Materialization -Gurjan Leaf Roof/ Sang Mhon Bamboo ( Dendrocalamus sericeus Munro)/ Ruak Bamboo (Long Sheath Bamboo) / Reclaimed Wood / Bamboo Stripes / Rope

Area : 72 sq.m.
Year : 2024
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham, Apiwat Chainarin
Landscape design : Yangnar Studio
Construction Supervisor : Metee Moonmuang
Builder Team : Chumchangmai, Yangnar studio builder team
Owner : Chalermpol Thikamporntheerawong

Sala Yangnar / Yangnar Studio 26/12/2024

Sala Yangnar / Yangnar Studio Completed in 2023 in Thailand. Images by Rungkit Charoenwat. There is a land embraced by the mountains in northern Thailand, surrounded by lush green paddy fields, with sunlight softly shining through the...

Photos from Yangnar Studio's post 23/10/2024

Sala Yangnar
ศาลายางนา
“ศาลา” ในความหมายของเรากล่าวถึงอาคารขนาดเล็กเปิดโล่งสอดรับกับธรรมชาติแวดล้อม ใช้เพื่อเป็นที่กำบังหลบแดดหลบฝน ศาลายางนา ถูกสร้างมาสำหรับเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ในรอบวัน ใช้สำหรับต้อนรับผู้มาเยือน และ ที่นี่เป็นที่ที่เหล่านักสร้างสรรค์ของ ยางนา สตูดิโอ ใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อประกอบวิชาชีพตามความมุ่งมั่นของตน ก่อให้เกิดเรื่องราวมากมายภายใต้หลังคาจั่วอันเรียบง่าย
ศาลาหลังนี้ก่อรูปขึ้นมาจากภูมิปัญญา ประสบการณ์ และความมุ่งมั่นของทีมยางนา สตูดิโอ โดยพยายามใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น วัสดุของอาคารประกอบไปด้วยไม้เก่า ไผ่ กระเบื้องซีเมนต์ลอนเล็ก อิฐมอญ โดยพยายามใช้วัสดุใกล้ตัวให้ตอบโจทย์พื้นที่ตั้งอาคาร เช่น การใช้พื้นอิฐมอญที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ไม่กักเก็บความร้อน การใช้เคาน์เตอร์ครัวไม้สัก ที่มีความทนน้ำ โดยน้ำถูกลำเลียงระบายลงธรรมชาติรอบๆด้วยรางไผ่ซางหม่น
ตัวอาคารถูกวางตามแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยวางพื้นที่ครัวทางทิศใต้ สามารถรับแสงแดดได้ดีทำให้พื้นที่ส่วนเปียกนั้นแห้งได้เร็วขึ้นและสะอาดอยู่เสมอ ตัวอาคารถูกจัดวางให้เปิดรับสายลมที่นำพากลิ่นหอมของทุ่งนา มีพื้นไม้ยกระดับยื่นออกไปทางทุ่งนาสำหรับเป็นพื้นที่นอนพักผ่อน ตัวหลังคามีชายคาที่ยื่นยาวเฉียงต่ำลงตามองศาเพื่อกำบังแดดและฝน ทำให้แสงแดดสามารถลอดเข้ามาตรงๆได้เพียงช่วงเช้าๆและเย็นเท่านั้น สร้างความสบายที่เกิดจากการระบายอากาศตามธรรมชาติได้ตลอดวัน
ในการก่อสร้างมุ่งเน้นให้แสดงออกถึงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นทางเหนือมาปรับประยุกต์และความชำนาญเฉพาะทางของทีมช่างยางนาแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป โดยมีการใช้ทั้งเครื่องมือไฟฟ้าประกอบกับเครื่องมือช่างแบบดั้งเดิมเช่น มีด สิ่ว มุย ขวาน เป็นต้นในกระบวนการสะท้อนออกมาผ่านการร่วมมือระหว่างสถาปนิก สล่า และนักศึกษาฝึกงานของยางนาสตูดิโอ ที่มีโอกาสได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง โดยเราเชื่อว่าความมุ่งมั่นของเราจะสามารถสื่อสารผ่านงานสถาปัตยกรรมที่มีความเรียบง่ายตอบรับกับแขกผู้มาเยือนได้เห็นคุณค่าและความงามที่ปรากฎผ่านการถักทอสอดประสานกันของโครงสร้าง
ศาลายางนา ทำให้เราได้รู้ว่าในบางครั้ง ชีวิตของเราก็ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการได้นอนกลางวันริมทุ่งนาในวันที่ฝนพรำเบาๆ

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat
Narrative text : Ranon Chotkamolpongsa

There is a land embraced by the mountains in northern Thailand, surrounded by lush green paddy fields, with sunlight softly shining through the morning fog. This land is home to a few small buildings that settle humbly in the middle of the fields, where many people seek to escape the chaos of the city and nestle in serenity. At the center of this land stands a small wooden pavilion. In architectural terms, it lacks complexity and astonishment, yet this pavilion stands respectfully within its environment.

The term “Sala” in Thai refers to a pavilion, a small structure amidst nature used as a shelter and a relaxing space. Sala Yangnar is an outdoor building designed for a team, serving as a multipurpose space for living, welcoming guests, and connecting to other buildings on the property. Here, a group of passionate architects known as “Yangnar Studio” lives together casually, pursuing their careers and enjoying life. For them, many meaningful moments occur under this simple gable roof. This pavilion is not just a temporary relaxing space; it also serves as a mental healing spot in everyday life.

Sala Yangnar is built upon the wisdom, experience, and efforts of Yangnar Studio. Using local materials such as reclaimed wood, bamboo, corrugated cement tiles, and handmade clay bricks, the design maximizes the potential of these materials and the site itself. For instance, clay bricks are efficient at absorbing water. The teak kitchen counter, which is water-resistant, showcases the beauty of wood in everyday function, with water running down to the ground via a bamboo gutter. The wooden walls, complemented by overhead bamboo shelves, provide additional storage space in the service zone.

The building is oriented along a north-south axis, with the kitchen zone facing south to capture sunlight for most of the day, keeping the area clean and dry. The building is fully open to the breeze, allowing the scent of the rice fields to flow through. The elevated wooden floor serves as a relaxing area that extends toward the green rice fields. The low eaves of the roof allow sunlight to pe*****te the space only in the morning and evening, ensuring comfortable ventilation throughout the day.

Every detail of Sala Yangnar reflects the skills and traditions of local craftsmen. The building incorporates traditional techniques, such as dowel-pin joints and both powered and hand tools, showcasing the artistry of the team. The construction methods are inspired by vernacular northern Thai architecture, with a commitment to preserve these techniques and share them with future generations through our design. Sala Yangnar was created through the collaboration of architects, craftsmen, and intern students, providing hands-on learning experiences in real-site construction. This shared passion is evident in the work, making the architecture both powerful and humble.

Sala Yangnar reminds us that sometimes life requires little more than taking a nap by the rice fields as the rain softly falls.

Project location : San Kamphaeng District, Chiang Mai, Thailand
Building Type : Small Scale
Completion Year : 2023
Area : 55 sq.m.
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham
Drawing : Ranon Chotkamolpongsa
Construction Supervisor : Metee Moonmuang
Builder Team : Yangnar studio builder team

Photos from Yangnar Studio's post 17/10/2024

5-6/10/2024
Thatcing the roof. (Nagano, Japan)
Our four representatives from Yangnar Studio traveled up the mountain through a cedar pine forest (sugi, 杉), walked along the canals, and then ascended the mountain again. This is the only way to reach Maki Village (牧). It took us a total of two hours to get there. In this village, bundles of straw (Kariyasu) were tied up by last year's participants, waiting for the new-generation participants to use them to replace damaged roofs each year. This preparation process is repeated annually for us to learn traditional techniques from this land, where they emphasize the importance of inheritance.

Organizer : Mitsuyoshi Kawasaki(Mingaya collective)
Carpenter : Shinya Oyaizu, Otari, Kita-Azumi, Nagano

เส้นทางไปยังหมู่บ้านนี้มีเพียงเส้นทางเดียว เราตัวแทนยางนาสตูดิโอเดินเท้าขึ้นเขาผ่านป่าสนซีดาร์ (sugi, 杉) เดินลัดเลาะลงลำห้วยและกลับขึ้นเขาอีกครั้ง ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เข้าถึงหมู่บ้าน Maki (牧) ฟาง(Kariyasu) ถูกมัดเป็นฟ่อนตากไว้โดยผู้เข้าร่วมตั้งแต่ปีที่แล้ว รอผู้เข้าร่วมหน้าใหม่นำมาเปลี่ยนแทนที่หลังคาเดิมที่ชำรุดในแต่ละปี การจัดเตรียมเช่นนี้ถูกทำซ้ำในทุกปี ให้เราได้เรียนรู้วิธีการดั้งเดิม จากดินแดนแห่งการสืบทอดแห่งนี้

23/09/2024
บ้านพื้นถิ่นภาคเหนือใน จ.เชียงใหม่ ของครูสอนทำอาหาร | บ้านและสวนทีวี 05/08/2024

Three Trees Doi Saket
Architects : Yangnar Studio

บ้านพื้นถิ่นภาคเหนือใน จ.เชียงใหม่ ของครูสอนทำอาหาร | บ้านและสวนทีวี บ้านพื้นถิ่นภาคเหนือใน จ.เชียงใหม่ ของครูสอนทำอาหาร ที่ใส่ใจตั้งแต่รสชาติอาหาร และการใช้ชีวิตภายในบ้าน.บ...

18/07/2024

Northern Thai Style Bushcraft Carpentry
by Yangnar Studio
กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์จุลพร นันทพานิช
สถาปนิกจากป่าเหนือสตูดิโอมาเป็นวิทยากรหลัก
พร้อมด้วยทีมงานยางนาสตูดิโอ, ธงชัย จันทร์สมัคร จาก Sher Maker, ประเสก ฝาคำ จาก ชุมช่างไม้

ผู้เข้าร่วมจะได้ทดลองลงมือ และเรียนรู้การทำงานไม้อย่างง่าย ด้วยเครื่องมือจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นเมืองเหนือเช่น มีด พร้า มุย ผ่านวิธีการ ถาก เหลา บาก เจาะ รวมถึงการตัดไผ่ จักตอก มัดสาน
นอกจากนี้ยังมีการทำอาหารร่วมกัน ตั้งแคมป์ นั่งล้อมวงพูดคุยเกี่ยวกับวิถีชีวิตและงานไม้ทางภาคเหนือ
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถลงทะเบียนตามลิงค์ในคอมเมนต์ หรือ QR code ในโปสเตอร์

รายละเอียดกิจกรรม
จัดวันที่ 17-18 สิงหาคม 2567
เวลา 17 สิงหาคม 9.00 น. ถึง 18 สิงหาคม 14.00 น.

• จำกัดอายุผุ้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
• ค่าสมัครในการเข้าร่วม 4,000 บาท นักเรียน นักศึกษา รับส่วนลด 1,000 บาท
• กำหนดผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน
• สถานที่จะจัดขึ้นที่ ยางนาสตูดิโอ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

*** สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องจัดเตรียม ***
• เต็นท์และเครื่องนอน
• มีด หรืออุปกรณ์สำหรับทำงานไม้ประจำตัว (ถ้ามี)
• อุปกรณ์ทำครัวแคมป์ปิ้ง (ถ้ามี)
(วัตถุดิบอาหาร 4 มื้อ จะจัดเตรียมไว้ให้)

สามารถลงทะเบียนพร้อมชำระเงินได้ทางแบบฟอร์มในลิงก์ดังกล่าว และรอรับผลการลงทะเบียนผ่านทางอีเมล
กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ทางข้อความเพจ หรือโทร : 091-076-6083 คุณบี
______________________________________________________
English Below >>>

Pham. Special Workshop
“Northern Thai Style Bushcraft Carpentry“ by Yangnar Studio

This workshop is led by Prof. Chunlaporn Nuntapanich, the founder of Northforest Studio, as the main instructor, in collaboration with Thongchai Chansamak (Oat) from Sher Maker, and Prasek Fahkam (Sek) from Chum-Chang-Mai.

Participants will have the opportunity to learn and engage in hands-on experimentation with basic bushcraft carpentry, utilizing the tools and skills of Northern Thai wisdom. The workshop will cover techniques such as whittling, sharpening, notching, and drilling using a knife, machete, and axe. Additionally, there will be a talk session discussing the Northern Thai way of life and carpentry, along with camping and cooking activities.

For those interested, you can register via in comment or inquire for more information via our Facebook direct message.

Pham Special Workshop:
“Northern Thai Style Bushcraft Carpentry” by Yangnar Studio
Activity Details:
• Date: 17th-18th August 2024
• Time: 9:00 AM (17th August) – 2:00 PM (18th August)
• Location: Yangnar Studio, San Kamphaeng, Chiangmai
• Participants must be at least 10 years old.
• Registration fee: 4,000 THB (1,000 THB discount for students).
• Maximum of 30 participants.
Required Items for Participants:
• Tent & sleeping equipment
• Personal knife/axe for carpentry (We recommend bringing personal tools.)
• Cooking & camping equipment (optional)
(Ingredients for all 4 meals are provided)
Participants can register and complete the payment via this Google form link. Registration confirmation will be sent via email. If you have any questions, feel free to contact us via direct message on our page or call (+66) 91-076-6083.

Cha Arnon Farm / Yangnar Studio 30/05/2024

Cha Arnon Farm / Yangnar Studio Completed in 2023 in Thailand. Images by Rungkit Charoenwats. Belief reflects people’s way of living and their environment, especially in rural areas where they live close to nature with respect. Everybody has...

Photos from Yangnar Studio's post 24/05/2024

Cha Arnon Farm
ระหว่างทางไปบ่อน้ำพุร้อนฝาง อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก เรียบถนนริมน้ำแม่ใจเป็นที่ตั้งของ "ชา อานน" อาคารไม้ที่แทรกตัวอยู่ภายใต้ร่มเงาของสวนอินทผาลัม องค์ประกอบต่างๆของอาคารถูกออกแบบให้มีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมและยึดโยงกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยปรับประยุกต์เลือกใช้วัสดุในพื้นที่ เช่น ไม้เก่า ดินเผา ดินดิบปั้นมือ หิน รวมถึงวัสดุสมัยใหม่ถูกนำมาประกอบให้เกิดเป็นพื้นที่ที่บอกเล่าเรื่องราวและตัวตนของเจ้าของ

“ วิถีชีวิตและความเชื่อ​ สะท้อนถึงความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมในชีวิตชนบท​ คือความใกล้ตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้​ บางคนนับถือสิ่งเล้นลับ​ บางคนนับถือต้นไม้​ บางคนนับถือจอมปลวก​ สิ่งเหล่านี้คือความงาม​ ที่ได้นำมาคลี่คลายออกมาเป็นชิ้นงานลายปักผ้า​ สไตล์ผีปอบ​ ที่น้อยคนนักจะรู้จัก​ ทุกอย่างคือสิ่งที่คนเราสร้างขึ้นและกำหนดคำนิยามว่าสิ่งนั้นคืออะไร​ สุดท้ายแล้วไร้ซึ่งตัวตน​ กลับคืนสู่จุดที่จากมา” บทความโดยคุณนนเจ้าของโครงการ

“ชา อานน” เป็นอาคารพาณิชย์และเป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะในตัว ความต้องการต่างๆ ถูกนำมาหลอมรวมเข้ากับภูมิปัญญาเชิงช่างไม้พื้นถิ่น เป็นความร่วมมือของหลายวิชาชีพ ทั้งสถาปนิก สล่า ศิลปินและเจ้าของโครงการ รวมถึง สล่าใหญ่ [YAIWOOD] หัวหน้าช่างที่นำเอาประสบการณ์ ความสนใจและความสามารถด้านวิจิตรศิลป์มาปรับประยุกต์กับงานไม้และการจัดเรียงวัสดุต่างๆ
ศิลปะ และ สถาปัตกรรมนั้น ต่างถูกให้คำนิยามที่แตกต่างกันออกไป “ชา อานน” เป็นอีกหนึ่งผลงานของการมาบรรจบกันระหว่างสองสิ่งนี้

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat
Narrative text : Ranon Chotkamolpongsa

Project location : Fang District, Chiang Mai, Thailand
Building Type : Commercial
Completion Year : 2023
Area : 74 sq.m.
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham, Thanakit Kaewruamwong
Construction Supervisor : Rungroj Tansukanun, Metee Moonmuang
Structure Engineer : Yangnar Studio
Builder Team : Yaiwood
Drawing : Kan Pinsopon, Poramin Tavon

Photos from Yangnar Studio's post 01/05/2024

สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2567
โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ยางนา สตูดิโอได้รับรางวัล 2 ผลงาน

สถาปัตยกรรม อาคารขนาดเล็ก
รางวัลเหรียญทอง - Thingamajiggy Coffee Roaster

สถาปัตยกรรม ประเภทอาคารพักอาศัย
รางวัลสมควรเผยแพร่ - บ้านอิงสุข ( Baan Ing-Suk )

เรามีความยินดีอย่างยิ่งและขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

https://asa.or.th/news/asa-architectural-design-award-2024-final/

Photographs : Rungkit Charoenwat

25/04/2024

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้มอบรางวัลงานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ประเภท ก. ประจำปี 2567 ระดับดี ให้กับ ‘ เรือนยอง 105 ปี ’
ขอขอบคุณเจ้าของบ้าน คุณนิพัทธพันธ์ุ และ คุณกมลพรรณ นุตเวช, ทีมงานสล่าและสถาปนิกยางนา สตูดิโอทุกท่าน ที่ร่วมอยู่ในกระบวนการบูรณะครั้งนี้

เจ้าของเดิม : พ่อน้อยตา หวันแก้ว
เจ้าของปัจจุบัน : คุณนิพัทธพันธุ์ นุตเวช และ คุณกมลพรรณ นุตเวช
สถาปนิก : คุณเมธี มูลเมือง และ คุณรุ่งโรจน์ ตันสุขานันท์
ภาพถ่าย : คุณรุ่งกิจ เจริญวัฒน์

https://asa.or.th/news/asa-conservation-award-2024/

Photos from Yangnar Studio's post 20/03/2024

Progress 2/3
ศาลาคลอง 5
10 • 23
ขั้นตอนงานออกแบบตั้งใจให้โครงสร้างได้แสดงถึงความงามของชิ้นส่วนต่างๆ ที่ได้ประกอบร้อยเรียงเข้าด้วยกันจากความมุมานะของทีมสล่า ภาพโครงสร้างที่เห็นจะปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะ ทำให้เราได้เห็นการตกกระทบของแสง เงา ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปในรอบวัน ก่อนโครงสร้างทั้งหมดนั้นจะถูกห่อหุ้มโดยหลังคา พื้น ผนังในขั้นตอนต่อไป

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat

The design process focuses on selecting structures that showcase their inherent beauty, allowing for perfect installation together. Even a quick glance at the structures is enough to see how light and shadows interact throughout the day. The overall structural installation will be completed in the next steps, once all structures are elaborately covered with roofs, floors, and walls.

Location : Pathum Thani, Thailand
Building Type : Wooden House
Area : 90.5 sq.m.
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham, Wuttichai Jaisamer
Construction Supervisor : Rungroj Tansukanun, Staryu Sankham

Photos from Yangnar Studio's post 28/02/2024

Progress 1/3
ศาลาคลอง 5
2•8•23
สล่า สถาปนิก นักศึกษาฝึกงาน ช่างภาพ
พร้อมใจกันทำพิธียกเสาเอก สล่าลุงน้อยได้จัดเตรียม ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวของต่างๆตามความเชื่อในการทำพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของบ้าน และทีมงานทุกคน

การขึ้นโครงสร้างในครั้งนี้ได้จัดเตรียมตอม่อคอนกรีต งานไม้ได้ทำการบาก เจาะ ถาก เหลา ทดลองประกอบไม้เครื่องบนไว้แล้วส่วนหนึ่ง จึงทำให้ขั้นตอนการยกเสาประกอบแปหัวเสา ขื่อ ดั้ง อกไก่ ตะเข้สัน จันทัน แล้วเสร็จภายในวันเดียวท่ามกลางสภาพอากาศที่เป็นใจ

ขอขอบคุณทีมงานสล่าเสก ประเสก ฝาคำ ที่ได้มาร่วมแรงในครั้งนี้ด้วยครับ

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat

2•8•23
Sala Klong 5
Yangnar Studio’s craftsmen team, architects, interns, and photographers joined together for the groundbreaking ceremony, which marks the beginning of the installation of the main column of the house. The ceremony was prepared by Uncle Noi, who provided us with oblations such as flowers, incense, candles, and other offerings, believed to bring fortune to the owner and our team.

For the construction, we have already prepared all the concrete piers. All of the wooden structure has been notched, drilled, chipped, sharpened, and assembled, with some of the upper pieces forming a frame. Therefore, the process of lifting the columns and assembling the purlins, rafters, king posts, ridge, hip rafters, and rafters can be completed in one day under favorable weather conditions.

We are sincerely thankful to the Sala-Sek Craftsmen team and Prasek Fahkam for all their support on this occasion.

Location : Pathum Thani, Thailand
Building Type : Wooden House
Area : 90.5 sq.m.
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham, Wuttichai Jaisamer
Construction Supervisor : Rungroj Tansukanun, Staryu Sankham

12/02/2024

Thingamajiggy Coffee Roaster has been nominated for the ArchDaily 2024 Building of the Year Awards.
Please support us by voting on this link.
https://boty.archdaily.com/us/2024/candidates/164108/

ขอขอบคุณทุกการสนับสนุนครับ

Photos from Yangnar Studio's post 24/01/2024

ASA LANNA 2023
Pham-Villion
Exhibition design by Yangnar Studio

ชั่วครั้ง-ชั่วคราว
สถาปัตยกรรมชั่วคราว คือสิ่งปลูกสร้างที่คงอยู่ไม่ถาวร หรือคงอยู่เฉพาะช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการออกแบบที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงความสวยงาม แต่ยังคำนึงถึงกระบวนการก่อสร้างตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรบกวนโลกของเราให้น้อยที่สุด
จึงเป็นที่มาของ ”ชั่วครั้ง-ชั่วคราว” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่ถูกก่อรูปขึ้นเพื่อตอบโจทย์กิจกรรมจัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรมจากตัวแทนสถาปนิก 20 ทีมที่ได้คัดสรรค์จากภูมิภาคทางเหนือของไทยเป็นการจัดแสดงผลงานรวม 3 วันในพื้นที่สวนหลวง ร.9 ผู้ออกแบบได้คำนึงถึงการส่งเสริมวัสดุธรรมชาติ ภูมิปัญญา และผู้คนที่อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่นในบริบทที่ต่างกันออกไป ในขณะเดียวกันการออกแบบมุ่งเน้นที่จะรักษาสภาพแวดล้อมที่ตั้งเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด ลดการก่อ carbon footprint
การเลือกใช้วัสดุจำพวกไผ่ (ไผ่รวก ไผ่บง ไผ่ซางหม่น) ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติเป็นตัวตั้งต้นรูปแบบสถาปัตยกรรม จึงเกิดรูปร่างที่สอดคล้องกับลักษณะของไผ่ที่มีความยาว ตรง มาจัดวางโครงสร้างที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน
วิธีการผูก มัด เจาะ บาก ตัด ถาก เหลา สอด เสียบ เป็นวิธีการหลักที่เราได้นำเสนอ ผ่านฝีมือที่มีความชำนาญของสล่าชาวลีซอและสล่าพื้นเมืองลำปาง,เชียงใหม่กับการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เกิดจากลักษณะทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ประกอบด้วย มีด พร้า มุย(ขวานเชียงใหม่) เลื่อยมือ รวมถึงความหลากหลายทางเทคนิคจากการแปรรูปไผ่ เช่น การผ่าโขบ (ผ่าครึ่ง),ผ่าซีก (ผ่าซี่), และการจักตอก จากผิวไผ่ สำหรับมัดโครงสร้าง แหนเครือ, เครือดิน วัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการผูกมัด
ในฐานะสถาปนิก หน้าที่ของเราไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบความสวยงามของพื้นที่และสิ่งปลูกสร้าง แต่ยังรวมถึงการขมวดเนื้อหาที่ต้องการสื่อผ่านการออกแบบเพื่อสร้างคุณค่าในผลงานต่อผู้พบเห็น ผลงานนี้จึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงรูปลักษณะทางกายภาพของตัวงาน แต่ยังรวมถึงการตีความคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมชั่วคราวในมิติของ การลดบทบาทตัวสถาปัตยกรรมลงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่เกิดขึ้น การเสนอกระบวนการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับบริบทที่ตั้งและผู้คนที่อยู่เบื้องหลังไปพร้อมกัน และสร้างแนวทางเลือกในการออกแบบที่คำนึงถึงความยั่งยืนของวัสดุควบคู่กับการส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ได้มาร่วมชมงานในครั้งนี้

Architects : Yangnar Studio
Photographs : Rungkit Charoenwat

Temporary architecture refers to structures that are not permanent, existing only for a specific period. Therefore, it's something that must be carefully considered in the design process, focusing not only on aesthetics but also on the construction process from start to finish, utilizing limited resources, maximizing its impact, and minimizing disruption to our environment.
This concept brings us to "ชั่วครั้ง-ชั่วคราว (Temporary-Transient)," temporary architecture designed to meet the needs of an exhibition showcasing architectural works from selected teams representing the northern region of Thailand. The exhibition takes place over three days in Rama IX Lanna Park, Chiang Mai, with a focus on promoting materials, local wisdom, and the people behind the architecture that reflect the distinct local context. Simultaneously, there is a design consideration to avoid environmental degradation at the project site, reducing the carbon footprint by using materials that can be reused to the maximum extent possible.
This brings us to the material choice of bamboo (such as Thyrsostachys Siamensis, Bambusa Nutans, and Dendrocalamus Sericeus), local bamboo in northern Thailand that serves as the foundation for architectural forms, creating simple and uncomplicated structures that align with the characteristics of those bamboo types. Techniques like tying, binding, drilling, notching, cutting, and carving are employed, showcasing the expertise of Lisaw Karen craftsmen, one of the ethnic groups in northern Thailand, and local craftsmen from Lampang and Chiang Mai. Traditional tools like knives, Prahs (Big Knife), Mui (Chiang Mai axe with a two-sided head of an axe and a hammer), and hand saws are used, along with various bamboo processing techniques such as splitting, notching, splitting into strips, and tying them together, using bamboo strips and climbing plants.
As an architect, our role goes beyond designing the physical aesthetics of space and construction. It also includes curating content that communicates through design to create value in the work for society. Therefore, "ชั่วครั้ง-ชั่วคราว" doesn't just focus on the physical appearance of the structure but also interprets the value of temporary architecture in various dimensions. This includes reducing the role of architecture to promote activities during specific times, presenting a design process that emphasizes the context and the people behind the architecture, and providing sustainable material options while promoting local wisdom for the new generations.

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ โรงเรียน ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

Sin Thao houseModel structure designช่างไม้ สถาปนิก นักศึกษาฝึกงาน ได้ร่วมกันจัดทำโมเดลหรือหุ่นจำลองไม้จริงเป็นอีกหนึ่งว...
งานขุดสระ คลอง ปรับถมถนนและลานเสร็จเรียบร้อย
ยางนา - อาสา

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


23/13 Huai Sai, San Kamphaeng
Chiang Mai
50130