ปั้นสี PUNSI
Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from ปั้นสี PUNSI, Education, .
🌈 วันนี้มาชวนเด็ก ๆ เล่นสนุกกับตัวเลขอีกแล้วค่ะ ชวนกันปั้นแป้งโดว์กลม ๆ เหมือนไข่ของเจ้าหนอนจอมหิวบนใบไม้กันค่ะ 🐛💗
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍https://drive.google.com/file/d/15kmS3ttv58_gjpRtEPAcezvTQwBlC2XA/view?usp=share_link
✍🏻 ดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Punsiforkids.com
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
#ปั้นสีฟอร์คิดส์ 💖
🌈 วันนี้มาชวนเด็ก ๆ เล่นสนุกกับตัวเลขกันค่ะ 💗
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍https://drive.google.com/file/d/1dSt9dM8orQ4gksITwHaTzexknmOeTsao/view?usp=share_link
✍🏻 ดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Punsiforkids.com
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
#ปั้นสีฟอร์คิดส์ 💖
📸: mamashappyhive, inspiring playful learning
หนังสือ เรื่อง "บัตรพลัง (Power Card) : ใช้สอนทักษะทางสังคมแก่เด็กออทิสติกและเด็กทุกคนที่มี Hero ในดวงใจ" เขียนโดย ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู, รศ.ดร.กุลยา ก่อสุวรรณ, และคณะ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2551 แต่เนื้อหายังใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ค่ะ
ทักษะสังคม หมายถึง การทำตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สถานที่ เวลา บุคคล ฯลฯ (คนทั่วไปเรียกว่า "มารยาท" หรือ "กาลเทศะ" )
ทักษะทางสังคมเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กพิเศษเกือบทุกคน เพราะ
1. เด็กพิเศษมักอ่านสถานการณ์ไม่ออก และมักไม่รู้ว่าในสถานการณ์แตกต่างกัน เขาควรปฏิบัติตัวแตกต่างกัน
2. ทักษะทางสังคมเป็นเรื่องนามธรรมที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่มีสิ่งของหรือบุคคลที่เด็กพิเศษจะจับต้องได้ เด็กพิเศษจึงมักไม่เข้าใจ/ไม่รู้ (ถ้าไม่มีคนสอน)
3. คนส่วนใหญ่คิดว่า มนุษย์ทุกคนซึมซับเรื่องเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง จึงไม่ได้สอนเรื่องนี้อย่างชัดเจน เด็กพิเศษจึงมักไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องนี้
หนังสือเรื่องบัตรพลัง รวบรวมตัวอย่างการสอนพฤติกรรมที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ (ทักษะทางสังคม) ผ่านตัวการ์ตูนที่เด็ก ๆ ชอบ ... แต่ถ้านักเรียนหรือลูกของเราไม่ได้ชอบตัวการ์ตูนที่อยู่ในเล่ม ครูและผู้ปกครองก็สามารถศึกษาแนวทางการเขียนบัตรพลัง แล้วปรับเนื้อหาและเปลี่ยนตัวการ์ตูนให้ตรงใจของนักเรียน/ลูกของเราได้ค่ะ
ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือเรื่องบัตรพลังได้จากลิ้งค์นี้ค่ะ https://drive.google.com/file/d/1iUt6uniIhfoMRe9VO6ePpCW_PDJF-d2s/view?usp=sharing
🌈 วันนี้มีเกมการศึกษามาฝากอีกแล้วค่ะ นั่นก็คือเกมภาพตัดต่อหรือเกมต่อจิ๊กซอว์ค่ะ วันนี้มาแบบง่าย ๆ รูปผีเสื้อค่ะ สังเกตลายที่สมมาตรกันและต่อให้เข้ากันค่ะ 🦋
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍https://drive.google.com/file/d/1T_QkZIM9OUK9E3KAOu6nFcGjQ62uSeyJ/view?usp=share_link
✍🏻 ดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Punsiforkids.com
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
#ปั้นสีฟอร์คิดส์ 💖
ผู้ปกครองที่สนใจให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย) ปีการศึกษา 2568
สามารถลงทะเบียนผ่านลิงค์นี้ https://forms.gle/jpcdh7Xeug3KLQccA
ตั้งแต่วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567 ในช่วงเวลา 8:00 - 17:00 น. เป็นต้นไปค่ะ
รายละเอียด/ขั้นตอนการรับสมัครนักเรียนของโรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย) ประจำปีการศึกษา 2568
1. ผู้ปกครองเข้าร่วม”ห้องเรียนพ่อแม่" กับทางโรงเรียนให้ครบตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 2 คอร์ส(รวม12 ชั่วโมง) ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ โดยเลือกจากหัวข้อบังคับเป็นพื้นฐาน 1 คอร์ส คือ คอร์ส A (6 ชั่วโมง) และ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกได้ตามความสนใจเป็นพิเศษอีก 1 คอร์ส(คอร์ส B+C1 หรือ B+C2 รวม 6 ชั่วโมง) และสามารถซื้อใบสมัครเข้าเรียนของลูกได้ทันทีหลังจากที่เข้าเรียนครบตามที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว(การซื้อใบสมัครก่อนหลังไม่มีผลต่อการพิจารณารับเด็กเข้าเรียน)
ซึ่งมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรมดังนี้
คอร์ส A กรณีสมัครเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกันทั้งคุณแม่และคุณพ่อในวันเดียวกัน ค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 1,500 ต่อ 2 ท่าน แต่ในกรณีสมัครเข้าร่วมกิจกรรมแยกกันคนละวัน ค่าใช้จ่ายท่านละ 1,000 บาท ต่อท่าน
คอร์ส B + C1 หรือ B + C2 กรณีสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งคุณแม่และคุณพ่อในวันเดียวกัน ค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 1,500 บาท ต่อ 2 ท่าน แต่ในกรณีสมัครเข้าร่วมกิจกรรมแยกกันคนละวัน ค่าใช้จ่ายท่านละ 1,000 บาท ต่อท่าน
(การชำระเงิน : หลังจากที่ผู้ปกครองลงทะเบียนในการเข้าร่วมกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนจะส่งเมล์เพื่อยืนยันวันในการเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการชำระเงินให้กับท่านภายใน 1-2 สัปดาห์)
2. เกณฑ์อายุในการรับเด็กเข้าเรียน แบ่งกลุ่มอายุเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มอายุ 1.8 ขวบ - 1.11 ขวบ
- กลุ่มอายุ 2 - 2.11 ขวบ
- กลุ่มอายุ 3 - 6 ขวบ (จัดชั้นเรียนแบบคละอายุ)
(นับเกณฑ์อายุเด็กถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568)
🌈 วันนี้มีเกมการศึกษา เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์มาฝากค่ะ ชวนกันจับคู่สีและรูปร่างให้ถูกต้องค่ะ 💖
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍https://drive.google.com/file/d/1lALVwazM5ssxgNb1PWZb-B9ZZtltfDtj/view?usp=share_link
🛒 กรรไกรเด็ก : https://s.shopee.co.th/20ZzCvKTtE
✍🏻 ดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Punsiforkids.com
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
#ปั้นสีฟอร์คิดส์ 💖
🌈 วันนี้ชวนมาหาอะไรเล่นกับปอมปอมกันค่ะ ชวนเด็ก ๆ สังเกตสีของปอมปอมในภาพและหยิบใส่แก้วให้เหมือนในภาพ 🥰 หรือจะเพิ่มความท้าทายด้วยการใช้ที่หนีบ ตะเกียบ หรือช้อนในการตักก็น่าสนุกไปอีกแบบค่ะ
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍 https://drive.google.com/file/d/1mUC4pfODK92BAL_3Jg8eo0fvDIu7R_aa/view?usp=share_link
🛒 ปอมปอม : https://s.shopee.co.th/20ZzCiYbId
✍🏻 ดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Punsiforkids.com
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
#ปั้นสีฟอร์คิดส์ 💖
🌈 ชวนมาส่องสื่ออัพใหม่สัปดาห์นี้ค่า 🌟 ส่วนใหญ่ยังเป็นสื่อเก่า ๆ ที่เคยทำไว้น้าาา 💖 หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ 💗 ตามเข้าไปส่องกันได้ที่ 📍 Punsiforkids.com
❣️ แผนการสอนและใบกิจกรรมสามารถนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💖 แต่ไม่อนุญาตให้เอาไปใช้เชิงพาณิชย์นะคะ 💝
#ปั้นสีฟอร์คิดส์
🌟 สวัสดีค่า วันนี้ปั้นสีกับมาพร้อมกับเว็บไซต์โฉมใหม่ค่ะ 🥰 เรารวบรวมไอเดียและสื่อการสอนที่เคยแชร์ไว้ในเว็บไซต์นี้เพื่อความสะดวกในการค้นหาสื่อนะคะ และแก้ปัญหาการที่ลิ้งค์เก่า ๆ เปิดไม่ได้ด้วยค่ะ คราวนี้ลิ้งค์สื่อต่าง ๆ จะไม่หายไปด้วยค่ะ 💖 ตอนนี้กำลังพยายามทะยอยอัพโหลดให้นะคะ อาจจะช้านิดนึงนะคะเพราะทำคนเดียวค่ะ 🤣 ยังไงฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามกันด้วยน้าาา 🙏🏻💪🏻😍
📍 https://punsiforkids.com/
❣️ แผนการสอนและใบกิจกรรมสามารถนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💖 แต่ไม่อนุญาตให้เอาไปใช้เชิงพาณิชย์นะคะ 💝
#ปั้นสี #ปั้นสีฟอร์คิดส์
🌈 ห่างหายกันไปนานเลยค่ะ 🙏🏻 วันนี้มาชวนส่องสื่อเกมการศึกษาทั้งแปดแบบตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกันค่ะ มีอะไรบ้างน้าาาา 🌟 มีห้องไหนมีครบทั้งแปดแบบไหมคะ ส่วนทางนี้ไม่ค่อยได้เล่นเกมตารางเท่าไหร่เลยค่ะ 🤣
🎉 ขอเชิญบุคคลทั่วไป ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ที่ทำงานด้านพัฒนาการมนุษย์ และศิษย์เก่าหลักสูตรพัฒนาการมนุษย์
: จิตวิทยาเชิงบวก เพื่อการเลี้ยงดูบุตรและการส่งเสริมพัฒนาการ
📅 ในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567
🌟เวลา 09.00 – 12.00 น.
📞 สอบถามเพิ่มเติม:โทร 092-4145296 (ในวันและเวลาราชการ)
ลงทะเบียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
🎉 ขอเชิญบุคคลทั่วไป ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ที่ทำงานด้านพัฒนาการมนุษย์ และศิษย์เก่าหลักสูตรพัฒนาการมนุษย์
: จิตวิทยาเชิงบวก เพื่อการเลี้ยงดูบุตรและการส่งเสริมพัฒนาการ
หรือลงทะเบียนผ่าน https://nicfd-member.mahidol.ac.th/member/login?course_id=316
📅 ในวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567
🌟เวลา 09.00 – 12.00 น.
📞 สอบถามเพิ่มเติม:โทร 092-4145296 (ในวันและเวลาราชการ)
ลงทะเบียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
โรงเรียนเพลินพัฒนา
เปิดรับสมัครนักเรียนใหม่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2568
👉 ตั้งแต่วันที่ 20 - 31 พฤษภาคม 2567
⏩ ลงทะเบียนสมัครเรียนผ่าน
www.plearnpattana.ac.th
(เริ่มเวลา 8.00 น. เป็นต้นไป)
⏩ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :
https://pptn.ac.th/admission68
===========
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
Line ID :
โทร. 02 885 2670 - 5 ต่อ 111 , 222
เด็กเล็กปฐมวัยแนะนำออกห่างจากจอไปก่อนนะคะ หันไปชวนกันเล่น ชวนกันอ่านนิทานดีกว่าค่ะ 🌟💗
BRIEF: อายุเท่าไหร่ถึงมีมือถือของตัวเอง? งานวิจัยพบ 1 ใน 5 ของเด็ก 3-4 ขวบมีโทรศัพท์แล้ว แถมใช้งานฉ่ำ!
เคยสงสัยไหมว่าต้องอายุเท่าไหร่ถึงจะมีโทรศัพท์เป็นของตัวเองได้?
งานวิจัยใหม่จาก Ofcom พบว่า 1 ใน 5 ของเด็กอายุ 3 และ 4 ขวบมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง และใช้โทรศัพท์เพื่อรับบริการสตรีมมิ่ง โซเชียลมีเดีย และเล่นเกมออนไลน์ด้วย
ตามรายงานของหน่วยงานกำกับดูแลสื่อพบว่า กว่า 69% ของผู้ที่มีอายุ 3 และ 4 ขวบ มีโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานเป็นประจำจากทั้งของตัวเองและพ่อแม่ให้ยืม แต่การค้นพบว่า 1 ใน 5 ของเด็กที่มีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ทำให้คณะกรรมาธิการเด็กประจำอังกฤษออกมาบอกว่า พวกเขากังวลต่อเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเด็กที่เล็กมากๆ ยังไม่ควรมีโทรศัพท์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต
ความกังวลเกี่ยวกับการที่เด็กๆ สัมผัสกับเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่ และแม้ว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่จะต้องประสบปัญหาจากการจำกัดการใช้โทรศัพท์ แต่หลายคนก็ยอมรับว่าให้เด็กเล็กใช้งานโทรศัพท์อยู่บางครั้ง
ทำไมถึงเกิดความกังวลขึ้น? เหตุผลเพราะว่า เด็กอายุ 3 และ 4 ขวบอาจยังพัฒนาความชำนาญในการจับปากกา แต่งตัว หรือตัดอาหาร แต่ในงานวิจัยเด็กกว่า 92% ดูแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง YouTube และใช้โทรศัพท์ส่งข้อความเสียงและวิดีโอ 23% ใช้แอปฯ หรือเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย 18% เล่นเกมออนไลน์ และ 11% โพสต์เนื้อหาสตรีมวิดีโอของตัวเอง
งานวิจัยยังพบอีกว่า เด็กในวัยนี้มีแนวโน้มกว่า 51% ใช้ช่องสำหรับเด็กของ YouTube – หรือ YouTube for kids มากกว่าไซต์หลัก ขณะที่ 38% มีโปรไฟล์ YouTube เป็นของตัวเอง
นอกจากนี้งานวิจัยแยกจาก The Insights Family พบว่าช่อง YouTube ยอดนิยมของกลุ่มอายุนี้คือ Blippi ซึ่ง YouTuber สวมชุดสีฟ้าและสีส้มที่มีผู้ติดตามถึง 17 ล้านคน อีกช่องคือ ไรอัน เวิล์ด (Ryan's World) และช่องของไรอัน คาจิ (Ryan Kaji) เด็กอายุ 11 ปี ที่มีผู้ติดตาม 34 ล้านคน
สิ่งนี้สร้างความยากลำบากให้กับกลุ่มครูเด็กเล็ก เช่น โนวา คอบบาน (Nova Cobban) อดีตครูโรงเรียนประถมที่ดูแลเด็ก 5 และ 6 ขวบ บอกว่า สิ่งที่เด็กๆ เอามาพูดคุยกันคือสิ่งที่พวกเขาเห็นบน YouTube และเริ่มล้อเลียนเด็กคนอื่นๆ ที่เข้าไม่ถึงสิ่งนั้น มีหลายครั้งที่เด็กๆ เอาแต่พูดถึงเกม ทำให้ขาดช่วงขณะที่ครูกำลังสอนซึ่งทำให้ครูเหนื่อยขึ้นกว่าเดิมมาก
เธอบอกว่า เธอจะไม่มีวันให้โทรศัพท์แก่ลูกวัย 4 ขวบของเธอ แม้ว่าจะอนุญาตให้ใช้บ้างบางครั้งก็ตาม เธอมองว่ามันเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ แต่การสอนลูกให้อยู่เงียบๆ สัก 5 นาทีก็เป็นเรื่องที่ดี
ในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูหน้าจอใดๆ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบควรมีเวลาอยู่หน้าจอไม่เกิน 1 ชั่วโมง การใช้เวลาอยู่หน้าจอในระดับสูงเชื่อมโยงกับพัฒนาการที่ล่าช้าของเด็กอายุระหว่าง 2 - 5 ขวบด้านนักจิตบำบัดเด็กและวัยรุ่นบอกว่า ข้อกังวลอย่างหนึ่งคือการใช้หน้าจอเพื่อให้เด็กๆ เงียบนั้นกำลังสอนพวกเขาและสมองของพวกเขาก็กำลังเรียนรู้
แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าหน้าที่การแพทย์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรสรุปในปี 2019 เช่นกันว่า จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดเพียงพอจะให้คำแนะนำว่าเด็กควรใช้เวลาอยู่หน้าจอนานเท่าใดถึงจะดีที่สุด
อ้างอิงจาก
https://www.ofcom.org.uk/__data/assets/pdf_file/0027/255852/childrens-media-use-and-attitudes-report-2023.pdf
https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2023/apr/15/its-tough-for-parents-should-young-children-have-their-own-phone
https://childmind.org/article/when-should-you-get-your-kid-a-phone/
โครงการ “สร้างเด็กดี ด้วยนิทาน ปี3” เชิญประกวดคลิปวิดีโอ
🍎“หนูน้อยนักเล่านิทาน”🍎
🌟แบ่งประเภทผู้ประกวดเป็น 2 กลุ่ม🌟
1. ดาวดวงเล็ก 4-6 ปี
2. ดาวดวงน้อย 7-9 ปี
🌸กติกา🌸
1. ผู้เข้าประกวด ยินยอมให้เผยแพร่คลิปต่อสาธารณะ ผ่านทางช่องออนไลน์ ของโครงการ “สร้างเด็กดี ด้วยนิทาน”
2. เล่านิทานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากหนังสือนิทานของโครงการ “สร้างเด็กดี ด้วยนิทาน ปี3” เท่านั้น ได้แก่ พ่อรักลูกนะ, คุณหมีกับแอปเปิลผลสุดท้าย, อ่านมหัศจรรย์, ลิงจ๋อจอมซนกับไม้วิเศษ, ดอกไม้จะบานเมื่อไรนะ
3. ความยาวคลิปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการเล่าเรื่อง ผู้เล่าอาจเล่าเฉพาะนิทานหรือจะเพิ่มเติมวิดีโอกิจกรรมท้ายเล่มก็ได้
4. ไม่จำกัดเทคนิค อุปกรณ์ ฉาก การตัดต่อ
5. ส่งไฟล์คลิปวีดีโอ ทาง email : [email protected] พร้อมระบุข้อมูลดังนี้
-ชื่อ-สกุลจริง ผู้ปกครองหรือครูที่ส่งคลิป
-ชื่อ Facebook ผู้ปกครองหรือครูที่ส่งคลิป
-ชื่อ-นามสกุล และชื่อเล่นของเด็ก
-ประเภทที่ส่ง
-วันเดือนปีเกิดของเด็ก
-อายุเด็ก
-ที่อยู่ไปรษณีย์
-เบอร์โทร
6. จำกัดการส่งคลิป เด็ก 1 คนได้คนละ 1 คลิปเท่านั้น
7. ผู้ปกครองหรือคุณครูดาวน์โหลดไฟล์นิทาน เพื่อพรินต์ให้เด็กเล่า หรือจะเล่าจากหนังสือนิทานที่เป็นรูปเล่มก็ได้(ไม่มีผลต่อการตัดสิน) โดยดาวน์โหลดไฟล์นิทานได้จาก link นี้ https://www.mediafire.com/folder/7jjhdm3rn1y1b/สร้างเด็กดี_ด้วยนิทาน_ปี_3_E-book
🍊ขยายเวลา หมดเขต 3 มิถุนายน 2567
🍋ประกาศผล ภายในเดือนมิถุนายน 2567
🍩เมื่อประกาศผลรางวัลแล้ว ทางโครงการจะจัดส่งรางวัลไปให้ตามที่อยู่ไปรษณีย์ที่แจ้งไว้ ของรางวัลไม่สามารถแลกเป็นเงินได้
✏️เกณฑ์การตัดสิน
คณะกรรมการจะตัดสินจากทักษะความสามารถในการเล่าเรื่องความสนุกสนาน การใช้ภาษา ความคิดสร้างสรรค์ เทคนิค ความประทับใจและคุณภาพของการถ่ายวีดีโอ โดยผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
🌟รางวัล🌟
💛ดาวดวงเล็ก 4-6 ปี💛
รางวัลดาวรุ่ง - โล่รางวัล 1 รางวัล พร้อมของที่ระลึก
รางวัลดาวเด่น - เกียรติบัตร 10 รางวัล พร้อมของที่ระลึก
🩷ดาวดวงน้อย 7-9 ปี🩷
รางวัลดาวรุ่ง - โล่รางวัล 1 รางวัล พร้อมของที่ระลึก
รางวัลดาวเด่น - เกียรติบัตร 10 รางวัล พร้อมของที่ระลึก
…………………..
โครงการ “สร้างเด็กดี ด้วยนิทาน ปี3”ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
💜 ชวนให้แชร์ 💜
พรุ่งนี้..
2 เมษายน..วันหนังสือเด็กแห่งชาติ
เชิญชวนบริจาคคนละ 100
เพื่อเด็กน้อยด้อยโอกาส เด็กพิการ แม่ในคุก ลูกในคุก ลูกในครรภ์ พ่อในคุก และลูกที่บ้านมีหนังสือดี ๆ อ่าน
#ตามคำขอครับ ♥️♥️♥️
เมื่อวานมีคุณครูทักมาทางช่องแชตเพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวกับการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม แอดมินก็พอมีที่เก็บๆไว้
#ขออนุญาตเผยแพร่ครับ
#คู่มือการให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มและการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในระดับปฐมวัย
https://drive.google.com/file/d/1MRVe0H_yEBR5bf5Liis8PMTXECSqGJZf/view?usp=sharing
ขอขอบคุณ
มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
#แอดมินจะอยู่เคียงข้างทุกปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ #อันไหนตอบได้แอดมินจะตอบให้ทันที #อันไหนตอบไม่ได้แอดมินจะไปถามผู้รู้มาให้ครับบ
⭐ ชวนอ่านนิทานจากภาคนิพนธ์วรรณกรรมสำหรับเด็ก
ผลงานจากนิสิต เอกวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
👉 http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15530
📔 Children's Literature-SWU
#วรรณกรรมสำหรับเด็ก #คลังสถาบันมศว
#ขีดๆเขียนๆวาดลากเส้นแล้วจึงอ่าน การอ่านเป็นเรื่องที่เด็กไทยถูกประเมินว่ามีศักยภาพที่ถดถอยมาตลอด แนวทางใดที่จะเป็นหนทางที่เด็กจะพัฒนาศักยภาพสิ่งนี้อย่างนามธรรม : มีแรงจูงใจที่อยากจะอ่าน ไปสู่รูปธรรม: การอ่านแบบวิเคราะห์ได้
การศึกษาแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf Education)ให้ความสำคัญกับการวางรากฐานสำหรับการอ่านในชั้นอนุบาล โดยใช้วิธีที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการภาษาและการอ่านของมนุษยชาติตั้งแต่เริ่มแรก มนุษย์เราเริ่มจากพัฒนาภาษา ‘พูด’ ขึ้นก่อน จากนั้นผู้คนจะวาดภาพเพื่อสื่อสารความคิดของพวกเขา ตามด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น อักษรอียิปต์โบราณ ตัวอักษรนามธรรม จนมาถึงตัวอักษรสมัยใหม่ เมื่อมีภาษา ‘เขียน’ ผู้คนจึงเรียนรู้ที่จะ ‘อ่าน’ ดังนั้นการเรียนรู้ไปตามลำดับขั้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของพวกทำให้เด็กสามารถเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ
1. ความสำคัญของคำพูด
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ขวบ จุดเน้นอยู่ที่ ‘คำพูด’
ในช่วงชั้นอนุบาล หลักสูตรจะเน้นที่บทกวีและนิทาน เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานพื้นบ้าน และเทพนิยาย ครูเป็น "นักเล่าเรื่อง" และระวังอย่า “ลดความสละสลวย” หรือทำให้ภาษาในนิทานเรียบง่ายลง ครูควรใช้คำพูดที่ชัดเจนและออกเสียงอย่างถูกต้องเนื่องจากการดื่มด่ำกับวรรณกรรมนี้เป็นพื้นฐานของการอ่านออกเขียนได้ อรรถรสของภาษานี้จะเอื้อให้เด็กมีความรุ่มรวยในถ้อยคำเมื่อถึงเวลาที่เขาเรียนรู้การเขียนและสะกดคำ
2. การทำซ้ำ ช่วยให้คงอยู่
การทำซ้ำลำดับกิจกรรมและเรื่องราวเดียวกันในกิจกรรมวงกลมประจำวัน* เป็นเวลาหลายสัปดาห์ต่อครั้ง เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องราว เพลง และบทกลอนเหล่านี้ "ด้วยใจ" ดร.รูดอล์ฟ สไตน์เนอร์ ผู้ก่อตั้งการศึกษาวอลดอร์ฟ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำซ้ำ เมื่อเขาพัฒนาโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกในเยอรมนีในช่วงทศวรรษ 1920 การวิจัยสมองในปัจจุบันยืนยันว่าการทำซ้ำช่วยพัฒนาสมองของเด็ก การเชื่อมต่อของทางเดินประสาทหลายพันล้านเส้นในสมองมีความเข้มแข็งขึ้นผ่านประสบการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
3. การเขียนเริ่มต้นแบบองค์รวม
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวอลดอร์ฟ เน้นให้เด็กเข้าใจตัวอักษรผ่านรูปแบบจินตนาการและเป็นภาพ โดยที่ไม่ต้องใช้การเรียนรู้ผ่านแผ่นงานที่สำเร็จรูปที่พิมพ์ขึ้นมา ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกนำเสนอเป็นภาพที่แสดงถึงองค์ประกอบจากเรื่องราวที่เด็ก ๆ เล่า ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจได้ยินเรื่องราวของอัศวินในภารกิจที่ต้องข้ามภูเขาและหุบเขา และจากนั้นเข้าใจการวาดภาพที่แสดงถึงตัวอักษรในเรื่องราวนั้น เช่น การวาด "M" เพื่อแสดงภูเขา-Mountain ที่อยู่สองข้างของ "V" ที่แทนหุบเขา-Valley
วิธีการนี้ช่วยให้เด็กสร้างความสัมพันธ์ที่มีชีวิตกับแต่ละตัวอักษร แทนที่จะมุ่งตรงไปที่ตัวอักษรที่เป็นนามธรรมโดยตรง 'รูปภาพ' ที่สร้างขึ้นเหล่านี้เป็นเหมือนสะพานสายรุ้งที่เชื่อมระหว่างความคิดเชิงภาพของเด็กกับการคิดเชิงนามธรรมของผู้ใหญ่
หลังจากเรียนรู้ตัวอักษรทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคัดลอกงานเขียนของครูลงใน 'หนังสือบทเรียนหลัก' อันสวยงามที่เด็ก ๆ ทำขึ้นเอง ประโยคและเรื่องราวที่เขียนขึ้นในช่วงแรกเหล่านี้มาจากประสบการณ์ของเด็กเอง และเริ่มต้นการ 'อ่าน' โดยการอ่านข้อความของตัวเอง
ซึ่งจะเห็นความก้าวหน้าของเด็กได้เมื่อครูเขียนบทกวีที่เด็ก ๆ รู้จักขึ้นใจกันดีอยู่แล้วบนกระดาน จากการจดจำเสียงและคำศัพท์ที่คุ้นเคยอย่างสนุกสนาน พวกเขาจะเริ่ม 'อ่าน' และเขียนลงในหนังสือของพวกเขาเอง
4. การอ่านเริ่มต้นอย่างเป็นธรรมชาติ
การเรียนรู้การอ่านเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งมักเริ่มต้นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และดำเนินไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจว่า ‘การอ่าน’ ต้องการทักษะในการถอดรหัสที่พัฒนาขึ้นในช่วงอายุที่แตกต่างกัน ในการศึกษาวอลดอร์ฟ เรารับรู้ว่าการเรียนรู้การอ่านจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติตามเวลาของมันเองสำหรับส่วนใหญ่ของเด็กเมื่อได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม
เหมือนกับที่เด็กปกติและมีสุขภาพแข็งแรงจะเรียนรู้ที่จะเดินโดยไม่ต้องสอน และเหมือนกับการที่เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะพูดภาษาได้เองภายในวัยสามขวบโดยไม่ต้องมีบทเรียน การทำแบบฝึกหัดหรือพจนานุกรม ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้การอ่านเป็นไปตามธรรมชาติเมื่อพวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาษาพูดและเขียน และได้รับเครื่องมือและทักษะที่จำเป็น
5. หนังสือคลาสสิกเพิ่มคำศัพท์
เมื่อนักเรียนอ่านได้เป็นอย่างดีแล้ว วรรณกรรมที่เขียนได้ดีและเหมาะสมกับช่วงวัยจะช่วยเพิ่มความหลงใหลในการอ่านอยู่เสมอ
6. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการผลักดันการอ่านเร็วกว่าวัย
มีการวิจัยมากมายได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบด้านลบของการผลักดัน "วิชาการ" เช่นการอ่าน ในวัยที่เร็วเกินไป การบังคับเด็กให้อ่านก่อนวัยมักทำให้ความมั่นใจของเขาลดลงและความหลงใหลในหนังสือลดลง วิจัยนี้ชี้ชัดว่าวัยอนุบาลและก่อนเข้าชั้นประถมศึกษาควรเน้นกิจกรรมที่เหมาะสมตามอายุ เช่น เล่น เรียนรู้และสร้างสังคม ฟินแลนด์เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในเรื่องนี้ และเป็นมาตรฐานการศึกษาทั่วโลก โดยทั่วไปจะไม่ได้เริ่มเรียนในชั้นอนุบาลจนถึงอายุ 6 ปี ในชั้นอนุบาลมุ่งเน้นเฉพาะการเล่นและการเข้าสังคม ไม่มีการอ่านหรือเขียน อีกทั้ง วันเรียนของเด็กจะไม่เกิน 4 ชั่วโมง
แนวทางการเรียนการสอนของวอลดอร์ฟเริ่มสร้างรากฐานการอ่านตั้งแต่ชั้นอนุบาล อย่างไรก็ตาม การอ่านจะไม่ถูกเร่งให้มาก่อนการเรียน ‘การเขียน’ และนักเรียนในแนวทางนี้โดยทั่วไปจะอ่านได้ในระดับหรือสูงกว่าระดับมาตรฐานของรัฐบาล และมีภาวะความเข้าใจที่ดีและพร้อมเรียนรู้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เด็กที่พร้อมที่จะเรียนรู้การอ่านจะสามารถรักษาความหลงใหลในเรื่องราวและความรักในการอ่านต่อไปในช่วงอายุที่มากขึ้น
*โพสต์ที่เล่าถึง กิจกรรมวงกลม -Morning Circle
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1023295499117509&id=100043112065521&mibextid=RtaFA8
อ้างอิงจาก : Nelson Waldorf School
www.waldorftoday.com/2018/05/7-benefits-of-waldorfs-writing-to-read-approach/
ภาพประกอบ : สุพิชฌาย์ เอี่ยมดิลกวงศ์
#ศิลปะด้านใน
#สสส
👀 ชวนเด็ก ๆ เล่นเกม I spy ตามหาภาพกันค่ะ 🔎
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍 https://drive.google.com/file/d/1tLwkGK2xxkXVDtgDAWOAjTj71YRwceI-/view?usp=share_link
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
💖
🪼🌊 วันนี้ชวนเด็ก ๆ ดำลงไปใต้ทะเลกันค่ะ 🥰 ชวนกันฝึกการใช้กรรไกรในการตัดภาพสัตว์ทะเลกันค่ะ 💖
🌟ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍 https://drive.google.com/file/d/1a5U7D97lqNJiCkBoMgU04hCiygZh6I9i/view?usp=share_link
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
💖
🌈🎨 ชวนเด็ก ๆ วาดรูปภาพง่าย ๆ กันค่ะ 🖼😍 วันนี้ปั้นสีมีใบกิจกรรมวาดภาพ step by step มาฝากค่ะ ✍🏻🧑🏻🎨
🌟 ดาวน์โหลดใบกิจกรรมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
📍 https://drive.google.com/file/d/1x2NuMMZF09wGTi1XdwEJKyT2X9MKy8uP/view?usp=share_link
📚 สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นกับเด็ก ๆ ที่บ้านหรือใช้ในชั้นเรียนได้เลยนะคะ 💗 แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ 😍
💖