KruEarthquake

KruEarthquake

สื่อที่จะนำเสนอข้อมูล หรือความรู้ท

หากท่านจะนำข้อมูลในเพจนี้ไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ แล้วท่านจะกรุณากดแบ่งปันหรือให้เครดิตจะเป็นพระคุณมากนะครับ ^_^

"ภาษาไทยนับเป็นเครื่องมือย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลาย เป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเอง ซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเ

Photos from KruEarthquake's post 24/06/2019

วันนี้ (24/6/62) นำกองเนตรนารีร่วมซ้อมพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งจะมีพิธีจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เสด็จแทนพระองค์ ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ

24/06/2019

ปีที่สี่ของการร่วมพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนาม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ต่อ(ผู้แทนพระองค์)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 รัชกาล นับเป็นหนึ่งความภาคภูมิใจในชีวิต

Photos from KruEarthquake's post 31/05/2019

พิธีกรมือหนึ่งของอิสลามวิทยาลัย ฯ
มือหนึ่งถือไมค์ มือหนึ่งถือสคริป อิอิ

#เฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี2562

Photos from KruEarthquake's post 29/05/2019

“ #ครู คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องสร้างเงื่อนไขหรือระยะห่างระหว่างกัน เขาสามารถที่จะเรียนรู้ว่าควรให้เกียรติหรือเคารพครูได้ด้วยตัวเขาเอง

ไม่ได้สอนให้เชื่อ(ง) แต่สอนให้คิดเองและเชื่อมั่นในความคิดของตน ความคิดนั้นแม้จะผิดบ้าง ถูกบ้าง มันคือการลองผิดลองถูกโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ และนั่นแหละคือ #การเรียนรู้”

เอกชัย ช.
อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

#ครูหล่อบอกต่อด้วย
#ครูมั่นหน้า

#มีความครู
#มีความรักเด็ก
#มีความอวดลูกศิษย์
#มีความโลกสวย

Photos from KruEarthquake's post 04/05/2019

...ว่าด้วยการขานพระปรมาภิไธย...

#พระปรมาภิไธยอย่างวิเศษ(ปัจจุบันความยาวเท่าอย่างกลาง)
“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”*

#พระปรมาภิไธยอย่างสังเขปแบบหนึ่ง
“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

#พระปรมาภิไธยอย่างสังเขปแบบสอง
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

#ในกรณีรัชกาลปัจจุบัน แผ่นดินมีพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว ซึ่งละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าหมายถึงพระองค์ใด ฉะนั้น มิต้องออกพระปรมาภิไธย จึงขานเพียงว่า “ #พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เท่านั้น

อนึ่ง พระปรมาภิไธยย่อ คือ วปร. (มหาวชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช)

เอกชัย ช.

*จารึกในพระสุพรรณบัฏ

25/01/2019

[TCAS #62] จุฬาฯ เปิดต้อนรับน้องๆ นักกีฬาทีมชาติหลากหลายชนิดกีฬา

สำหรับการรับรอบ 2 แบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ

สมัครด่วน ตั้งแต่ 4 -13 ก.พ. 62 เท่านั้น ที่ >> https://www.tcas.atc.chula.ac.th/

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2Mq7ji8
โทรศัพท์ 0 2218 3719

Photos from KruEarthquake's post 21/01/2019

เรียบร้อยไปอีก 1 จุด

ที่ รร.เดชะ ว่าสนุกแล้ว ที่นี่ก็สนุกไม่น้อยไปกว่ากัน
เด็ก ๆ ปัตตานีน่ารัก มีส่วนร่วมในการติว
ดีใจที่ได้พบกัน ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะครับ

รัก ณ รร.เบญจมราชูทิศ ปัตตานี

#รินน้ำใจ62
#งานหลวง
#สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Photos from KruEarthquake's post 21/01/2019

ผ่านไปแล้วสำหรับจุดติวที่แรก
ขอบน้ำใจเด็ก ๆ ทุกคน
หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้ที่มากขึ้นและรักภาษาไทยมากขึ้นด้วยนะครับ

รัก ณ เดชะปัตตนยานุกูล ปัตตานี

#รินน้ำใจ62
#งานหลวง
#สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

26/06/2018

๏ สดุดีครูกลอนสุนทรภู่
บรมครูแห่งศาสตร์ปราชญ์แห่งศิลป์
โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย โลกได้ยิน
สรรเสริญกวีศิลป์แผ่นดินไทย ฯ

๏ ทั้งนิราศนิทานการละคร
ภาษิตสอนเสภาขับรับสมัย
อันเห่กล่อมครั้นได้ฟังเพลินฤทัย
สุดยิ่งใหญ่ครูกวีศรีสากล ๚ะ๛

(เอกชัย ช. ประพันธ์)
_________________________

๒๖ มิถุนายน วันคล้ายวันเกิด #พระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์) อาลักษณ์ราชสำนักคู่พระทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ในหลวง รัชกาลที่ ๒)

#ยุคทองแห่งวรรณคดี
#กวีเอกของโลก
#บุคคลสำคัญของโลก
#เช็คสเปียร์แห่งประเทศไทย

ภาพประกอบไม่เกี่ยว แค่อยากบอกว่า
#ครูหล่อบอกต่อด้วย อิอิ

02/04/2018

៙ อ้าองค์อธิศรีนารีรัตน์
ธ ดุจฉัตรปกเกศประเทศสยาม
พระบารมีจริยวัตรเด่นชัดงาม
เลื่องพระนามบรมราชกุมารี

พระหทัยใสสะอาดปราศเคืองขุ่น
ทรงการุณย์ไพร่ฟ้าสง่าศรี
เสด็จเยือนเถื่อนหล้าทั่วธาตรี
ราษฎร์ภักดีรัฐเทิดเกล้าเจ้าฟ้าไทย

ทรงกอปรกิจเกื้อการกรบวรบาท
สมเด็จพระภูวนาถราษฎร์เลื่อมใส
องค์วิศิษฏศิลปินปิ่นไผท
เกียรติเกริกก้องเกรียงไกรในธานินทร์

อัจฉริยภาพโดดเด่นเป็นสง่า
ประวัติศาสตร์ ภาษา นานาศิลป์
การดนตรี กวีนิพนธ์ โลกยลยิน
ทั่วแผ่นดินสรรเสริญสดุดี

อุปถัมภ์ค้ำชูการศึกษา
อุปถัมภ์ศาสนาสง่าศรี
ทรงส่งเสริมเกษตรกรรมนำชีวี
ทรงปรานีผองเกล้าเหล่าประชา

เด่นดำรงคงสมรปวรปรัชญ์
ทรงปรัตถ์ทรงชเยศทั่วเขตหล้า
ทรงชวิศอิสตรีปรีชญา
ธ ทรงเปี่ยมกรุณาบารมี

นิรชรอัปสรต่างแซ่ซ้อง
ล้วนกึกก้องปรีดิ์เปรมเกษมศรี
ถวายพระพรขัตติยะกุมารี
อธิศรีหกสิบสามปีชนมวาร

ลุคำรบที่สองเมษามาส
ไทยทั้งชาติไพร่ฟ้ามหาศาล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
สุขสราญสุขสวัสดิ์พิพัฒน์เทอญ ๚ะ๛

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ว่าที่ ร.ต.เอกชัย เชียงคำ

02/04/2018

ณ พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท
มีพระราชสาส์นหลวงเยือนกรุงศรี
เชอรวาเลียร์ เดอ โชมองต์ฟะรังคี
พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ทรงส่งมา

คอนสแตนติน ฟอลคอนตระเตรียมการ
แจงให้ยกพระราชสาส์นเหนือเกศา
ทูลกระหม่อมน้อมถวายให้ราชา
พระนารายณ์จอมหล้าเจ้าธานี

แต่เมื่อถึงเพลาทูลเกล้าไท้
ราชทูตกลับใจในวิถี
ออกพระฤทธิ์กำแหงแจงวจี
ยกขึ้นอีก สูงกว่านี้ ยกขึ้นไป

องค์ขุนหลวงทรงล่วงรู้ในการณ์นั้น
แต่ก็หาทรงไหวหวั่นอันใดไม่
แย้มพระสรวลโน้มพระองค์เอื้อมลงไป
ทรงหยิบสาส์นเต็มพระทัยไม่โกรธา

พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงส่งสาส์น
ด้วยหมายให้พระภูบาลเปลี่ยนศาสนา
ให้เข้ารีตเปลี่ยนพระราชศรัทธา
ละความเป็นพุทธมามกะนั้น

แต่ด้วยทรงเลื่อมใสในพระพุทธ
อีกพระราชบรรพบุรุษทรงถือมั่น
สืบเนื่องมาพรรษากว่าสองพัน
จะละทิ้งอย่างไรกันไม่เห็นควร

ขอให้เป็นพระประสงค์องค์พระเจ้า
หากจักหมายดลให้เราเข้ามีส่วน
เป็นคริสตชนคาทอลิกตามเชิญชวน
ก็สมควรหากพระเจ้าจักบัญชา

ท่านสามารถเผยแผ่แก่ปวงราษฎร์
ท่านสามารถสั่งสอนคริสต์ศาสนา
ตามอัธยาศัยในแผ่นดินอยุธยา
ถึงเพลาข้าจักรับด้วยยินดี

เอกชัย ช.
๒ เมษามาส ๒๕๖๑

#บุพเพสันนิวาส #สยาม #กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา #ฝรั่งเศส #สมเด็จพระนารายณ์ #พระเจ้าหลุยส์ที่14 #พระราชสาส์น #ราชทูต #เดอโชมองต์ #คอนสแตนตินฟอลคอน #ธรรมเนียมฝรั่ง #พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท #พระปฏิภาณการแก้ปัญหา #ภาษาทูต

19/03/2018

ว่าด้วยคำว่า “แซว”, “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ”

การพูดจาภาษาไทยนอกจากการใช้ถ้อยคำวาจาที่สุภาพสื่อความเข้าใจระหว่างกันได้ชัดเจนแล้ว ควรมีหางเสียงที่จะทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปดูนุ่มนวล น่าฟัง ทั้งหางเสียงหรือกระแสเสียงลงท้ายยังแสดงหรือสะท้อนนิสัย อารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดด้วย หากพูดจาไม่มีหางเสียงอาจทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปนั้นฟังดูห้วน กระด้าง และอาจระคายหูผู้ฟัง การพูดจาที่สุภาพนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเลือกสรรถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะแล้ว ควรใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพควบคู่ไปด้วยทั้งชายและหญิง เช่น ผู้ชายใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพ ว่า ครับ, นะครับ ผู้หญิงใช้ คะ, ค่ะ, นะคะ ปัจจุบันการเขียนคำลงท้ายแสดงความสุภาพที่ผู้ชายใช้ไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ค่อนข้างจะสับสน เช่น “คะ” ไปใช้ว่า “ค๊ะ”, “ค๋ะ” หรือสับสนในการใช้คำว่า “คะ” กับ “ค่ะ” เช่น ใช้ว่า “มาแล้วคะ”, “กำลังอ่านหนังสืออยู่นะค่ะ”, “ทำอะไรอยู่หรือค่ะ” ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องใช้ว่า “มาแล้วค่ะ”, “กำลังอ่านหนังสืออยู่นะคะ” หรือ “กำลังอ่านหนังสืออยู่ค่ะ”, “ทำอะไรอยู่หรือคะ” เวลาเขียนจึงควรช่วยกันเขียนให้ถูกต้องด้วย โดยให้จำไว้เสมอว่ารูปเขียนที่ถูกต้องคือ “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ” (ไม่มี ค๊ะ, ไม่มี ค๋ะ, ไม่มี นะค่ะ)

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า “แซว” ที่มีผู้สงสัยอยู่ว่า ที่ถูกต้องควรเขียนว่า “แซว” หรือ “แซ็ว” นั้น อาจเป็นด้วยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บคำว่า “แซว” ที่เป็นภาษาปากมีความหมายว่า “กระเซ้า” ไว้ และพิมพ์คำผิดเป็น “แซ็ว” จึงทำให้มีคำว่า “แซ็ว” ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฯ และทำให้เกิดข้อสงสัย ทั้งนี้ ปัญหาจากการพิสูจน์อักษรผิดดังกล่าว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการจัดพิมพ์พจนานุกรมฯ ครั้งต่อไป ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดจาหยอกล้อแซวกันเล่น ก็เขียนว่า “แซว” หรือจะเป็นแซววาที ก็เขียนว่า “แซว” รวมทั้ง “แซว” ในคำว่า แซงแซว (นกแซงแซว) ตลอดจน “แซว” ในคำว่า อีแซว (เพลงอีแซว) ก็เขียนว่า “แซว” ทั้งสิ้น.

29/12/2017

ข้อสอบภาค ข.
วิชาเอกภาษาไทย

ติวเตอร์ 28/12/2017
07/10/2017

#ก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาโดยคนจีนที่อพยพมาอาศัยอยู่สยาม* และแพร่หลายเป็นที่นิยมของชาวสยาม

ด้วย จอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น มีนโยบายอนุรักษ์นิยมเพื่อความเสถียรภาพของชาติ ให้คนไทยกินของไทย ใช้ของไทย จึงได้มอบหมายให้มีการคิดอาหารที่ทำจากเส้นเช่นเดียวกันกับก๋วยเตี๋ยว แต่เป็นอาหารของไทย ทำด้วยคนไทย

และนั่น จึงเป็นต้นกำเนิด #ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของอาหารไทยในปัจจุบัน

ปัจจุบันเรียกกันสั้น ๆ ว่า ผัดไทย หากลังเลใจว่า ผัดไทย มี ย.ยักษ์ ด้วยหรือไม่ ให้ระลึกว่า เป็น ผัดของไทย ผัดไทยจึงต้อง มี ย.ยักษ์ ด้วยเสมอครับ

❌ ผัดไท
✔ ผัดไทย

เอกชัย ช.
7/10/2560

* สยาม หรือ เสียม เขียนในอักษรโรมันว่า SIAM เป็นชื่อเดิมของ ประเทศไทย

บำเพ็ญกุศลถวายฯ 02/10/2017

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คณะทำงานเยาวชนอาเซียนแห่งประเทศไทย(ASEAN Youth Panel of Thailand) บำเพ็ญกุศลถวาย ฯ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง 2 กรกฎาคม 2560

28/09/2017

วันนี้ (28 กันยายน 2560)ไม่ใช่วันพระราชทานธงชาติไทย แต่เป็นวันคล้ายวันพระราชทานธงชาติไทย เพราะพระราชทานมาแล้วเมื่อ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา

ตั้งแต่ฝรั่งเศส ได้เดินทางมาเพื่อเจริญพระราชไมตรีและทำการค้ากับอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.2223) ทำให้เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งราชอาณาจักรไทย

ด้วยธรรมเนียมการเดินทางเยือนของนานาประเทศนั้น จะมีการชักธงประจำชาติของตนขึ้นสู่ยอดเสาเรือ เพื่อแสดงว่ามาถึงแล้ว ส่วนอีกฝ่ายจะยิงสลุตคำนับ และเมื่ออยุธยาจะต้องเป็นฝ่ายชักธงขึ้นยอดเสาบ้างเพื่อแสดงว่ายินดีต้อนรับ แต่ในขณะนั้นอยุธยายังไม่มีธงประจำชาติ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมีธงชาติไทย

ทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ ได้แก้ปัญหาโดยการนำผ้าบริเวณนั้นมาใช้เป็นธง แต่ทว่า ผ้าผืนนั้น คือธงประจำชาติฮอลันดาซึ่งเป็นชาติอริกับฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสตกใจและไม่ยอมยิงสลุตคำนับ จนฝ่ายอยุธยาได้นำผ้าผืนสีแดงเกลี้ยงมาชักแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยิงสลุตคำนับในที่สุด และนั่นจึงเป็นธงชาติผืนแรกของไทย(อย่างไม่เป็นทางการ)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง เพื่อให้ทราบว่าเป็นเรือพระที่นั่ง

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกมา 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างไว้ภายในวงจักรของเรือหลวงด้วย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการติดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างชาติมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลางหันหน้าเข้าหาเสาธง เป็นธงประจำชาติ ตามธรรมเนียมของชาติตะวันตก

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไขธงที่ใช้กับเรือหลวง จากช้างเผือกขาวธรรมดา เป็น ช้างทรงเครื่องยืนพื้น เพื่อความสง่างามและเหมาะสมกับพระมหากษัตริย์

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินอุทัยธานี เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัย ได้ทอดพระเนตรเห็นธงชาติ ที่เป็นรูปช้างหงายท้อง (กลับหัว) ถือเป็นสิ่งที่ไม่มงคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับธงชาติ เป็นธงแดงขาว 5 ริ้ว ที่มีความสมมาตร ให้ทางไหนขึ้นบนก็ได้

ต่อมา ในปี พ.ศ.2460 ทรงพระอักษรหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับภาษาอังกฤษ ผู้เขียน (อะแควเรียส) ได้เขียนเรื่องธงแดงขาว 5 ริ้วว่า "ธงห้าริ้วสวยงามดี แต่หากจะให้ดีน่าจะมีสีน้ำเงินใส่เข้าไปด้วย เพราะสีน้ำเงิน เป็นสีแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในนานาประเทศ" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนแถบสีแดงกลางธงเป็น สีน้ำเงินขาบ ซึ่งตรงกับสีประจำประองค์ (สีเดียวกันกับสีประจำ ร. 11 รอ.) และเป็นสีที่แสดงถึงชัยชนะและความสามัคคีของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงพระราชทานชื่อเรียกว่า ธงไตรรงค์ (ธงสามสี)

สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีเพื่อธำรงรักษาชาติและศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งศาสนา

ธงไตรรงค์นี้ ใช้สืบต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 100 ปี
นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจ แสดงออกความเป็นไท เป็นเอกราช และความยิ่งใหญ่แห่งราชอาณาจักรไทย

100 ปี ธงชาติไทย ร้อยดวงใจไทยทั้งชาติ
เอกชัย ช.
เรียบเรียง

13/07/2017

"สิบสามกรกฎา วรราชาทินัดดามาตุ"

"พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ"

Timeline photos 04/07/2017

" ที่สี่กรกฎามาส
วโรกาสถวายพร
บังคมประนมกร
จุฬาภรณราชธิดา

ห้าร้อบกุมารี
อธิศรีทรงสง่า
บุตรีกษัตรา
เหล่าปวงข้าฯสดุดี

กอปรคุณเกื้อหนุนราษฎร์
ฝ่าพระบาททรงปรานี
เสด็จฯเยือน แพทย์เคลื่อนที่ ฯ
บารีมีสิแผ่ไกล

เจ้าฟ้าวิทยาศาสตร์
ดำริราช ณ เป็นไป
กรุณาธิคุณใด
จักจารึกตรึกกมล

ขอองค์กุมารา
ไร้โรคาประสบผล
จงสฤษดิ์กิจมงคล
สุขสวัสดิ์พิพัฒน์เทอญ ฯ "
___________________________________
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ว่าที่ร้อยตรีเอกชัย เชียงคำ

Timeline photos 10/05/2017

เมื่อพูดถึงวันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ทุกท่านคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า วันนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 เหตุการณ์ต่างปีต่างวาระ นั่นคือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

การบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ว่าด้วยการตั้งโต๊ะหมู่บูชา หรือการเวียนเทียน เครื่องสักการะที่ต้องพบอยู่เสมอ คือ ธูป เทียนและดอกไม้ และเมื่อมีคำถามตามมาว่า ธูป 3 ดอกหมายถึงอะไร เรามักตอบด้วยความมั่นใจในทันใด ว่า ธูป 3 ดอกหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากธูป 3 ดอกหมายถึงพระรัตนตรัยโดยครบถ้วน แล้วเทียนและดอกไม้ หมายถึงสิ่งใด

แท้จริงแล้วธูปทั้ง 3 ดอกนั้นหมายถึงการบูชาพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว คือพระพุทธคุณ 3 ประการ อันได้แก่
1. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครสอน

2. พระบริสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดสิ้นจากราคะ โทสะ และโมหะ

3. พระมหากรุณาธิคุณ คือ ทรงเมตตาสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง

ส่วนเทียน 2 เล่มนั้น สื่อความหมายถึง การบูชาคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ได้แก่ #พระธรรม และ #พระวินัย

และสุดท้าย ดอกไม้ สื่อความหมายถึง การบูชาพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมาจากหลายตระกูล ต่างวรรณะ เชื้อชาติ ต่างชนชั้น มาอยู่ในพระธรรมวินัยเดียวกันจึงสวยงามเหมือนดอกไม้ต่าง ๆ

#ธูป เป็นสัญลักษณ์แห่งความหอม เพราะถูกทำมาจากไม้หอมหลากหลายชนิด ความหอมนั้นทำให้เกิดความสงบ
#เทียน เป็นสัญลักษณ์แห่งความสว่าง เพราะแสงสว่างขับไล่ความมืด ในทางธรรมนั้นแสงเทียนเปรียบเสมือนปัญญา
#ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ไม่ว่าดอกไม้จะขึ้นหรือเจริญเติบโตที่ไหนก็ตามมักจะคงความงดงามสดชื่นอยู่เสมอ ความงามนั้นเปรียบเสมือนความสะอาด

เมื่อรวมความหมายของธูปเทียนและดอกไม้ เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะเห็นโดยภาพรวมว่าหมายถึง ความสะอาด ความสว่าง และความสงบ นั่นเอง.................................................
วิสาขบูชาเดย์ พ.ศ. 2560
ณ วัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร
เจริญพร

เอกชัย ช.
10 พ.ค. 2560

สรุปหลักภาษาไทย (ฉบับเตรียมสอบ) | สถาบัน The Act. 04/12/2016

สรุปหลักภาษาไทย (ฉบับเตรียมสอบ) | สถาบัน The Act. สรุปหลักภาษาไทย (ฉบับเตรียมสอบ), รับตรง มข, the act kk, กวดวิชา ขอนแก่น, ข้อสอบ โควตามข., ติวเข้า มข., G*T, PAT, ข้อสอบแพทย์,, ติวแพทย์, ติวโควตา มข., แพทย์, ทันตะ, เภสัช, วิศวะ, เก็งข้อสอบ

Timeline photos 02/12/2016

ว่าด้วย #สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช #สยามมกุฏราชกุมาร

1. ภายหลังการทรงพระกรุณารับคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ ของคณะประมุข 3 อำนาจ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นำโดย ประธาน สนช.

1.1) ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

1.2) ออกพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" หรือ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ฯ"......................................................................................

2. ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

2.1) ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

2.2) ออกพระนามได้ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" หรือ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ฯ"

2.3) จะมีการเฉลิมพระปรมาภิไธย และจารึกในพระสุพรรณบัฏ แต่จะเฉลิมว่าอย่างไรนั้น ก็สุดแล้วแต่สำนักพระราชวัง แต่หากอนุมาน ก็อาจจะเฉลิมว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ฯ "
รัชกาลคู่ ใช้ว่า ปรเมนทร
รัชกาลคี่ ใช้ว่า ปรมินทร
"บรม + อินทร"
......................................................................................
3. ใช้คำราชาศัพท์ระดับสูงสุด (พระมหากษัตริย์)
เช่น
จาก "พระราชบัณฑูร" เป็น "พระบรมราชโองการ" (ปัจจุบันใช้ พระราชโองการ)
จาก "พระราโชวาท" เป็น "พระบรมราโชวาท" เป็นต้น
......................................................................................
4. วันเฉลิมพระชนมพรรษา อันเนื่องจากวันคล้ายวันพระราชสมภพ ได้แก่ วันที่ 28 กรกฎาคม
......................................................................................
5. เพลงรับ-ส่งเสด็จ ฯ
ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี
......................................................................................
6. ธงประจำพระองค์
ได้แก่ ธงมหาราช
......................................................................................
7. พระปรมาภิไธยย่อ วปร.
......................................................................................
***** การออกพระนาม จะออกเฉพาะพระราชอิสริยยศ คือ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ไม่ต้องออกพระนามเต็ม เนื่องจาก มีเพียงพระองค์เดียว และทรงเป็นรัชกาลปัจจุบัน
*******************************************************
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้าขอรับ
เอกชัย ช.
1/12/59

Timeline photos 23/10/2016

"๒๓ ตุลามาส ปิยมหาราชชาติสยาม"

๏ ยิ่งยศปิยราชเจ้า............จอมสยาม
ครองราชย์รัฐเขตคาม.......ทั่วหล้า
พระเกียรติเลื่องลือนาม.....เกินเปรียบ เทียบแฮ
พระยศปรากฎฟ้า...............เกริกก้องเกรียงไกร

๏ หทัย ธ โอบเอื้อ............ปวงชน
เลิกทาสประกาศผล..........ไพร่ข้า
ป้องรัฐปกราษฎร์ล้น.........-เกล้าเผ่า ไทยเฮย
ดุจเทพจุติหล้า..................ประทับไว้ในมโน

๏ ปิโยวาทกษัตริย์เจ้า.......จอมนคร
สำนึกตรึกสั่งสอน.............ห่อนสิ้น
ด้วยเดช ธ อาทร...............พสกสุข เสมอนา
สู้สุดใจขาดดิ้น..................รักษ์ด้าวแดนสยาม ๚ะ๛

(เอกชัย ช.)

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ว่าที่ร้อยตรีเอกชัย เชียงคำ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

Timeline photos 21/10/2016

"เถลิงถวัลยราชสมบัติ"

เถลิงถวัลยราชสมบัติ อ่านว่า ถะ - เหฺลิง - ถะ - หฺวัน - ละ - ยะ - ราด - ชะ - สม - บัด

คำนี้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ ประกอบด้วยคำ ๔ คำ ได้แก่

๑. เถลิง (ถะ - เหฺลิง) แปลว่า ขึ้น การเริ่มต้น การเข้าสู่ เช่น เถลิงศก คือการขึ้นปีใหม่
คำนี้รับมาจากภาษาเขมรว่า เฬิง แล้วแผลงเป็นคำว่า เถลิง ในภายหลัง

๒. ถวัลย์ (ถะ - หฺวัน) แปลว่า ครอง ทรง

๓. ราช (ราด) แปลว่า กษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้บันดาลความสุขของราษฎร
มักใช้ประกอบกับคำอื่น(สมาส สนธิ) หากใช้เดี่ยว ๆ มักใช้ว่า ราชา หรือ ราชัน

๔. สมบัติ (สม - บัด) แปลว่า ทรัพย์สิน เงินทอง ความบริบูรณ์

ดังนั้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงแปลได้ว่า การขึ้นครองราชสมบัติ การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ หรือ การเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบต่อจากพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการสืบราชสันตติวงศ์จากการสวรรคต หรือการสละราชสมบัติ

เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

*** ราช ราชัน ไม่มี ย์......................................
เอกชัย ช.
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

18/10/2016

"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ"

หากจะอ่านให้ถูกต้องตามหลักการสมาส(คือการอ่านออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า) จะอ่านได้ว่า

" สม - เด็ด - พฺระ - เทบ - พะ - รัด - ตะ - นะ - ราด - ชะ - สุ - ดา "

ก็จะอ่านยากและแลดูสะบัดสะบิ้งมากไป
แต่ถ้าอ่านตามหนังสือของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๓/๓๘๓๔ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๔ จะอ่านว่า

"สม - เด็ด - พฺระ - เทบ - พะ - รัด - ราด - สุ - ดา"

ส่วนตัวผู้เขียนเองก็มองว่า สวยงาม เหมาะสม และมีความพอดี

อนึ่ง การตั้งพระนามของกษัตริย์หรือพระราชวงศ์นั้น จะมีลักษณะเป็น "ร่าย" คือ มีการสัมผัสเชื่อมต่อกันไปในแต่ละวรรค เช่น

"จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช"

จะอ่านว่า
จัก - กฺรี - นะ - รึ - บอ - ดิน / สะ - หฺยา - มิน - ทฺรา - ทิ ราด

ไม่อ่านว่า
จัก - กฺรี - นะ - รึ - บอ - ดิน - ทฺระ หรือ
จัก - กฺรี - นะ - รึ - บอ - ดิน - ทอน

เนื่องจาก เป็นการอ่านให้เอื้อสัมผัส(กับวรรคต่อไป)เพื่อความไพเราะ และเพิ่มความสวยงามให้ภาษามากยิ่งขึ้น
และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่คำว่า "สมเด็จพระปรมินทร" อ่านว่า สม - เด็ด - พฺระ - ปะ - ระ - มิน ไม่อ่านว่า สม - เด็ด - พฺระ - ปะ - ระ - มิน - ทฺระ................................
ด้วยความเคารพ
เอกชัย ช.

16/10/2016

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ"

เป็นคำเก่า คำโบราณ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินที่สวรรคตแล้ว ซึ่งอาจหมายรวมถึง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดก็ได้ (เดิมทีผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยชอบคำนี้เสียเท่าไหร่)

หากจะเป็นการดี และเป็นการถวายพระเกียรติคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ควรระบุพระนาม อันเป็นการระบุแผ่นดินไปเลยว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" อันเป็นพระปรมาภิไธย(เต็ม) ที่จารึกไว้ในพระสุพรรณบัฏ เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือ

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ" (พระปรมาภิไธยย่อ) หรือ

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"

ทั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะใช้พระปรมาภิไธยเต็ม พระปรมาภิไธยย่อ หรือใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณ และความสะดวกของแต่ละท่านขอรับ
...............................
เอกชัย ช.
16 ตุลาคม 2559

16/10/2016

"ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย"

ไม่ปรากฏธรรมเนียมการใช้มาแต่เดิม

พระมหากษัตริย์ ทรงเป็น ผู้มีบุญญาธิการ สามารถเสด็จฯ สู่สวรรค์ได้ด้วยพระองค์เอง

หากเรากล่าวว่า ส่งเสด็จฯ จะหมายความว่า เราเป็นคนส่งให้ท่านไปสู่สวรรค์

ฉะนั้น หากใช้ให้ถูก ต้องใช้ว่า
"เสด็จสู่สวรรคาลัย" หรือ "พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย"

อันเป็นไปตามหลักการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาครับ
...........................
เอกชัย ช.
16 ตุลาคม 2559

Videos (show all)

ปีที่สี่ของการร่วมพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนาม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ต่อ(ผู้แทนพระองค์)พระบาทสมเด็จ...

Website