คนไทย ปกป้องสถาบันพระเจ้าอยู่หัว

คนไทย ปกป้องสถาบันพระเจ้าอยู่หัว

Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from คนไทย ปกป้องสถาบันพระเจ้าอยู่หัว, Government Organization, .

08/04/2021

ขอเชิญชวนประชาชนเฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดสุโขทัย
🗓 วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔
🕔 เวลา ๑๗.๐๐ น.
📌 ณ ที่ทำการศาลจังหวัดสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
ที่มา : เพจ พระลาน

14/10/2016

ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

06/04/2014

Thai PBS

๖ เมษายน ๒๕๕๗ วันจักรี

รำลึกวันสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรี “วันจักรี” วันแห่งชาติศาสน์กษัตริย์
กรุงรัตนโกสินทร์ฐานถิ่นรัฐ เริ่มพิพัฒน์เริ่มผดุงไทยรุ่งเรือง
บุญสืบทอดดั่งยอดฟ้าได้ปรากฎ เกียรติยศร่วมกันก่ออย่างต่อเนื่อง
น้ำใจไทยใฝ่พิทักษ์รักบ้านเมือง โลกลือเลื่องเกียรติศักดิ์เลิศนัครินทร์

06/04/2014

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระมหาบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์

06/04/2014

Photos from คนไทย ปกป้องสถาบันพระเจ้าอยู่หัว's post

06/04/2014

คนไทย ปกป้องสถาบันพระเจ้าอยู่หัว's cover photo

05/04/2014

GuideUbon ไกด์อุบล

วันที่ 5 เมษายน เป็นวันคล้ายวันประสูติทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระนามของพระองค์เกี่ยวเนื่องกับวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ วัดศรีทอง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2398 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 4 รูปทรงอุโบสถหลังนี้ ถอดแบบจำลองมาจากพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

ในพิธีฉลองสมโภชฝังลูกนิมิตและยกช่อฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทรงประกอบพิธีดังกล่าวในวันที่ 29 มีนาคม 2511 กับทั้งทูลถวายอุโบสถหลังนี้ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดศรีอุบลรัตนาราม”

07/01/2014

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

07/01/2014
07/01/2014
22/10/2013

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิกิพีเดีย

th.wikipedia.org พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายนพ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวย...

28/07/2013

.♥♥♥♥♥ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน♥♥♥♥. .♥♥♥▄██▄██▄♥▄██▄██▄♥▄██▄██▄♥♥♥. .♥♥♥▀█████▀♥▀█████▀♥▀█████▀♥♥♥. .♥♥♥──▀█▀──♥──▀█▀──♥──▀█▀──♥♥♥. ♥♥ทรงพระเจริญ.ทรงพระเจริญ.ทรงพระเจริญ♥♥.

❤••❤•✿
(¯`∨´¯) ♥♫ ░ท░ร░ง░พ░ร░ะ░เ░จ░ริ░ญ░ ♫♥
(¯`:✿:´¯) ทรงพระเกษมสำราญยิ่งยืนนานเทอญ
*(_.∧._)¸❀¸¸¸.•*´¯`❀¸¸¸.•*´¯`❀♥
¸¸¸.•*´¯`❀¸¸¸.•*❀♥

▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬
✿*゚¨゚*✿*ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ✿*゚¨゚*✿
▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬

❤••❤•✿
(¯`∨´¯) ♥♫ ░ท░ร░ง░พ░ร░ะ░เ░จ░ริ░ญ░ ♫♥
(¯`:✿:´¯) ทรงพระเกษมสำราญยิ่งยืนนานเทอญ
*(_.∧._)¸❀¸¸¸.•*´¯`❀¸¸¸.•*´¯`❀♥
¸¸¸.•*´¯`❀¸¸¸.•*❀♥

25/06/2013

คำปฏิญาณตนของทหารบกไทย

25/05/2013

สำนักราชเลขาธิการ - ผลการค้นหา

http://oldwebsite.ohm.go.th/searchsheetlist.php?get=1&offset=0

รวมภาพ

oldwebsite.ohm.go.th

10/05/2013

ปรัชญาแห่งชีวิต & คติธรรม

06/05/2013

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

royjaithai.com ประวัติศาสตร์ชาติไทย, ประวัติราชวงศ์ไทย, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, ประวัติพระเจ้าอยู่หัว,ประวัติพระราชินี,ประวัติพระบรมวงศานุวงศ์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ , พระเจ้าหลานเธอ , ลำดับพระราชวงศ์ไทย , ประวัติ รัชกาลที่๑ถึง๙ , พ่อขุนรามคำแหงมหาราช , สมเด็จพระนเร...

06/05/2013

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

bangkokbiznews.com สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ เมืองเอดินเบอระ สกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอในพระบาทส...

06/05/2013

พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

royjaithai.com ประวัติศาสตร์ชาติไทย, ประวัติราชวงศ์ไทย, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, ประวัติพระเจ้าอยู่หัว,ประวัติพระราชินี,ประวัติพระบรมวงศานุวงศ์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ , พระเจ้าหลานเธอ , ลำดับพระราชวงศ์ไทย , ประวัติ รัชกาลที่๑ถึง๙ , พ่อขุนรามคำแหงมหาราช , สมเด็จพระนเร...

04/05/2013

ข้าแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี

ไกล้ถึง“วันฉัตรมงคล”(ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมใจกันถวายพระพร)
“วันฉัตรมงคล”ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และราชอาณาจักรไทย

11/04/2013

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ ๑๗ เมษายน



http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/28%20December/Taksinday.html

irrigation.rid.go.th

08/04/2013

.♥♥♥♥♥ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน♥♥♥♥. .♥♥♥▄██▄██▄♥▄██▄██▄♥▄██▄██▄♥♥♥. .♥♥♥▀█████▀♥▀█████▀♥▀█████▀♥♥♥. .♥♥♥──▀█▀──♥──▀█▀──♥──▀█▀──♥♥♥.
.♥♥ทรงพระเจริญ.ทรงพระเจริญ.ทรงพระเจริญ♥♥.

09/03/2013
07/03/2013

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ตลอดระยะเวลาแห่งการดำรงพระอิสริยยศ ”พระราชินี” จนถึง “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” ได้ทรงปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งในฐานะ “พระผู้เป็นที่พึ่งของปวงชนชาวไทย” และในฐานะ “คู่บุญคู่พระราชหฤทัย” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อานาประชาราษฏร์ ทั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เอง ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท ทั่วทุกภูมิภาค แม้ตรากตรำพระวรกาย เนื่องจากการคมนาคมในสมัยนั้น ยังไม่สะดวกสบายเหมือนในปัจจุบัน ก็มิได้ย่อท้อ

ในด้านความมั่งคงของประเทศ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหารที่ปฎิบัติการสู้รบ ต่อสู้ผู้ก่อการร้ายตามชายแดนถึงฐานปฏิบัติการต่าง ๆ แม้เป็นที่เสี่ยงภยันตราย ก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปทรงดูแลทุกข์สุก ปลอบขวัญถึงฐานปฎิบัติการต่าง ๆเป็นขวัญกำลังใจ ให้ทหารต่อสู้ปกป้องผืนแผ่นดิน นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่อาณาประชาชน ให้สามารถทำมาหากินได้อย่างสงบสุข ตราบจนต่อมา ภัยจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็สลายลง ด้วยเดชะพระบารมีแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนาถ มีกว้างขวางครอบคุมสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์และสาธารณสุข การต่างประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ อีกมากมาย

ในด้านการศึกษา ทรงมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายหลายรูปแบบ เช่น ทรง พระอุตสาหะสอนหนังสือราษฏรด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนจากครอบครัวที่ยากจน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทรงรับไว้เป็นนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนบิดามารดาพี่น้องของเด็ก ก็โปรดเกล้าฯให้เข้ารับการฝึกอบรมพระราชทานความช่ายเหลือให้ปรับปรุงการประกอบอาชีพให้เป็นผล หรือให้มีความรู้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้สามารถช่วยตนเอง และครองครัวให้ดำรงชีวิตเป็นสุขตามอัตภาพ โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านมาทำประโยชน์ เช่น หัตถกรรมจักสานของโครงการหุบกะพง โครงการจักสานย่านลิเพา และทำเครื่องปั่นดินเผาในภาคใต้ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้สอดแทรกเรื่อง ความรักชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาศิลปวัฒธรรมท้องถิ่น และ ประเทศ การรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย การรู้จักพัฒนาตนเอง การเห็นความสำคัญของการศึกษาและการช่วยเหลือร่วมมือกับส่วนรวม พร้อมทั้งให้ทุกคนตระหนักว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ต้องบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์เพื่อความเจริญพัฒนาของภูมิภาค

นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงงานด้านการศึกษาอื่น ๆ เช่น ทรงรับมูลนิธิด้านการศึกษา ไว้ในพระราชินูปถัมภ์ พระราชทานพระราชทรัพย์แก่โรงเรียนที่สอนเด็กปัญญาอ่อน เรียนช้าและพิการช่ำช้อน ทรงสนับสนุนก่อตั่งและขยายโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร ทรงส่งเสริมให้ราษฎรศึกษาด้วยตนเองโดยก่อตั่ง “ศาลารวมใจ” มีลักษณะเป็นห้องสมุด และ ศูนย์ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งศูนย์รักษาพยาบาลเบื้องต้น

พระมหากรุณาธิคุณมิได้แผ่ปกป้องเฉพาะปวงชนชาวไทย หากแต่ยังทรงแผ่ปกไปถึงประชาชน ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ชาวกัมพูชาอพยพลี้ถัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแดนไทย แถบจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี มีพระราชศรัทธาและพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงบำบัด ทุกข์บำรุงสุขผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือ เผ่าพันธุ์พระปรีชาสามารถ และพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทอุทิศกำลังพระวรกาย พระสติปัญญา พระราชทรัพย์ ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆเพื่อเกื่อกูลประโยชน์สุขของพสกนิกรนั้น ได้ดื่มด่ำอยู่ในหัวใจคนไทยทั้งชาติ และหยั่งลึกลงเป็นรากฐานแห่งความจงรักภักดีต่อ พระบรมราชจักรีวงศ์เป็นผลให้เกิดความมั่งคง และนำศานติสุขมาสู่ปวงชนชาวไทย

สถาบัน องค์กร มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โล่เฉลิมพระเกียรติ รางวัล และประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น องค์กรค์การเอฟเอโอ ทูลเกล้าฯถวายเหรียญ ซีเรส เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้น และทรงเป็นผู้ “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” มหาวิทยาลัยทัฟฟ แห่งรัฐแมสซาซูเซ็ทท์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรม ในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะ การครองชีพของประชาชน และช่วยบรรเทาทุกข์ของเด็กๆในหมู่ผู้ลี้ภัย สหพันธ์เด็กแห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก สถาบันเอเชียโซไซตี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก สดุดีทิดพระเกียรติในฐานะบุคคลดีเด่นด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่นๆ อีกมากมายที่ทูลเกล้าฯถวายปริญญา และรางวัลประกาศกิตติคุณแด่พระองค์ท่าน

นับได้ว่า เป็นบุญของชาติและประชาชนชาวไทย ที่มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งรัตนนารีโดยแท้ พระองค์มิได้ทรงเป็น พระบรมราชินีที่มีพระสิริโฉมเป็นเลิศเท่านั้น หากแต่ยังทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญ ในกิจการต่างๆ ซึ่งปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนโดยตลอด ทรงยึดมั่นในพระบวรพระพุทธศาสนา พระคุณธรรม พระปัญญาคุณ และพระเมตตากรุณาคุณ ซึ่งทรงดำรงไว้มั่นคงตลอดมา เป็นปัจจัยส่งเสริม ให้พระเกียรติคุณขจายขจรไปทั่วในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก อาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ของชาติไทย เป็นพระบรมราชินีที่ทรงได้รับการสรรเสริญ พระเกียรติคุณจากนานาประเทศอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าพระบรมราชินีพระองค์อื่นใดในโลก

07/03/2013

พระราชกรณียกิจ ด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์

ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงรับฉันทานุมัติ เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า

"...ได้ทรงเลือกสรรประสบผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาทร่วมทุกข์ แบ่งเบาพระราชภาระในภายภาคหน้า..."

ในครั้งนั้น ใครจะคิดว่าพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น นอกจากการประกอบพระราชกรณียกิจ ที่เป็นพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี และพระราชกรณียกิจที่กำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยแล้วจะยังมีพระ ราชกรณียกิจอื่นที่มากพ้นล้นเหลือประมาณอีกด้วย แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ คนไทยก็ได้ประจักษ์ว่าพระราชกรณียกิจ ทั้งหลายทั้งปวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติมากมายสุดจะพรรณา นั้นทรงปฏิบัติด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยประชาชนและประเทศชาติบ้านเมือง ได้ทรงพระวิริยอุตสาหะไม่ท้อถอย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้านเมืองทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระต่าง ๆ มาโดยตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบทให้มีความรู้ มีงานมีรายได้ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุขอนามัย

เมื่อครั้งทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีใหม่ ๆ นั้น เมื่อ เกิดอุทกภัยวาตภัย และอัคคีภัยขึ้นที่จังหวัดใด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชบริพารฝ่ายในนำอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ไปแจกจ่าย ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยเหล่านั้นอย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่กรมประชาสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรเอกชนจัดขึ้น ณ ศาลาสันติธรรม เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

"ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเร่งรัดสร้างสรรค์ความเจริญ จำเป็นต้องตระหนักถึงผลทางสังคมอันจะเกิดขึ้นและเตรียมที่จะรับปัญหานั้นใน เรื่องนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดข้องและความผิดพลาด น่าจะศึกษาบทเรียนที่ประเทศต่าง ๆ ได้รับในระยะการพัฒนาการ ส่วนผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนผู้แทนและผู้สังเกตการณ์จากหน่วย งานหรือองค์กรสถานศึกษาต่าง ๆ นั้น ก็ควรจะ ประสานงานสอดคล้องต้องกันเพื่อพัฒนางานในด้านนั้นให้เกิดประโยชน์อันยิ่ง ใหญ่แก่ประชาชน ซึ่งเป็นกุศลบุญ ควรแก่การอนุโมทนา..."

พระราชดำรัสในเรื่องการสังคมสงเคราะห์เมื่อกว่าสี่สิบปีมาแล้วแสดงถึงความสน พระราชหฤทัยและความถี่ถ้วนรอบคอบในกิจการทั้งปวงที่หน่วยงานต่าง ๆ ควรจะต้องประสานงานกัน การศึกษาสังเกตการณ์ซึ่งได้ทรงถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การสังคมสงเคราะห์ในระยะต่อมาได้ทรงค่อย ๆ เปลี่ยนจากการที่ทรง "ให้" เป็นความพยายามให้ราฏรได้ช่วยตนเองด้านการตามแนวทางและวิธีการ โดยอาศัยความรู้ความสามารถที่ราฏรมีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่นแต่ได้ถูกทอด ทิ้งละลืม ให้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์

เมื่อมีการจัดตั้งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยขึ้นใน พ.ศ. 2503 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมหลายครั้ง ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานทุนทรัพย์ตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้นเมื่อทรงทราบว่า คนบางคนแม้จะตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตด้วยความขยันแล้ว แต่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่ความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย จึงเดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ จนมีหนี้สินพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ยากที่จะปลดเปลื้องได้ เกิดความเดือดร้อน เป็นความทุกข์ของครอบครัวทับถมซับซ้อน ก่อให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ ความเก็บกดหรือการแก้ปัญหาในทางที่ผิดของเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวนั้น ๆ ความท้อแท้ที่จะ ศึกษาเล่าเรียน จนท้ายที่สุดกลายเป็นปัญหาของสังคม กองทุนเมตตาได้ขจัดปัดเป่าบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ที่เดือดร้อนได้ตามวัตถุ ประสงค์ในเวลานั้น นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่งให้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็นทุนริเริ่มกองทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กเยาวชน เพื่อช่วยเหลือเด็กขาดแคลนให้มีโอกาสได้เล่าเรียน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกที่ควรกองทุนนี้ต่อมา ได้มีผู้สมทบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และขยายเป็นทุนอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันนี้อีกหลายทุน มีชื่อต่าง ๆ ได้ช่วยสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเมื่อเติบโตขึ้น นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์แก่สมาคม และมูลนิธิเพื่อการสังคมสงเคราะห์เป็นจำนวนมาก เช่น มูลนิธิช่วยเด็กปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้ทรงส่งเสริมการปฏิบัติงานช่วยเหลือองค์กรการสังคมสงเคราะห์ เพื่อดำเนินงานสาธารณกุศล เช่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริการอาสาสมัครขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ประจำของหน่วยงาน บรรเทาทุกข์หรือสาธารณประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาล ศูนย์เยาวชน สถานสงเคราะห์ ฯลฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะกรรมการและอาสาสมัครเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2510 ได้มีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า

"...การที่คนไทยเรายึดหลักอุดมคติว่า ความทุกข์สุข ไม่ไช่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล หรือเฉพาะครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น เป็นความคิดที่ทันสมัยในโลกปัจจุบัน เราจะมีความสุขแต่ลำพัง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอีกหลายคนที่แวดล้อมเราอยู่นั้นไม่ได้ผู้ มีจิตหวังประโยชน์ส่วนร่วม ย่อมรู้จักบางปันความสุขเพื่อผู้อื่น และพร้อมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่นตามกำลังและโอกาสเสมอ...."

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน พ.ศ. 2513 เมื่อเกิดอุทกภัยในจังหวัดนครพนม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรทางภาคกลางเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ไร่นาล่ม จมเสียหายใจ พ.ศ. 2518 รวมทั้งในระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชนิเวศน์ในต่างจังหวัด ได้มีพระราชดำรัสถามราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ทำให้ทรงทราบว่าราษฏรในชนบทจำนวนมากยากจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และไม่สามารถที่จะหารายได้เพิ่ม ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไขความเดือดร้อนด้วยตนเอง ขาดแคลนสาธารณสุขพื้นฐานขาดสุขอนามัย ยามเจ็บไข้ก็ไม่มีแพทย์และยารักษาโรคที่จะบำบัดรักษา จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ปรากฏในคำบอกเล่าของ ดร.สุเมธ จันติเวชกุล ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ (กปร.) ที่กล่าวในการอภิปรายเรื่อง "สมเด็จฯของเรา" ณ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งได้เชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตอนหนึ่งว่า

"...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่ได้พึงพอใจกับเพียงแต่เยี่ยมเยียนราษฏร หรือทำแต่สิ่งที่เคยทำเป็นประเพณี เราต้องพยายามให้ดีกว่านั้น เราต้องช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเพราะเราเป็น ประเทศด้อยพัฒนา ดังนั้นการที่เพียงแค่ไปเยี่ยมเยียนราษฏรเพราะเป็นหน้าที่ของประมุขของ ประเทศที่จะต้องทำตามประเพณีนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนแล้ว เราต้องถือว่าการเป็นประมุขประสบความล้มเหลว...."

พระราชดำรัสครั้งนั้น แสดงถึงพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่นที่จะบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฏร และหากทบทวนพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า ราษฏรในชนบทได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากการเสด็จเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรนับ ครั้งไม่ถ้วน โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายพันโครงการ มีทั้งโครงการเรื่องการเกษตรเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแพทย์ การสาธารณสุข ฯลฯ

เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของราษฏร ในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรในต่างจังหวัด เมื่อทรงพบเห็นว่าราษฏรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ มีอาการเจ็บป่วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระรบมราชินีนาถได้มีพระราชเสาวนีย์ให้แพทย์ที่ตามเสด็จไปในขบวนตรวจอาหาร จ่ายยา ละให้คำแนะนำแก่ราษฏรในการดูแลรักษาตนเองแต่หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ใน ขณะนั้น หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง จะมีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งอยู่ใกล้ท้องถิ่น นั้น โดยพระราชทานหนังสือรับรองว่าเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์พร้อมค่าเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่ายานั้น จะพระราชทานแก่โรงพยาบาลโดยตรง หากผู้ป่วยไม่สามารถไปเองได้จะทรงจัดเจ้าหน้าที่นำไป และพระราชทานค่าใช้จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ด้วย ถ้าโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ท้องถิ่นนั้นขาดบุคลากรทางการแพทย์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษา ก็ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยพระราชทานค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรต่างจังหวัด หรือขณะแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชนิเวศน์ในภูมิภาคต่าง ๆ มีราษฏรที่เจ็บไข้มาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ต้องมีแพทย์และพยาบาลอาสาไปช่วยปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น แล้วยังใช้เวลามากขึ้นจนมืดค่ำ หลายครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงช่วยซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตลอดจนช่วยแพทย์ในการจ่ายยา และการบันทึกเพื่อติดตามผล นอกจากนี้โรงพยาบาลในท้องถิ่นมักมีความจำกัดในเครื่องเวชภัณฑ์และยารักษาโรค สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้และยาเพิ่มขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมช่วยเหลือคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เช่น ตำรวจตระเวนชายแดนนำคนไข้ไปส่งโรงพยาบาลการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกใบเบิกทางให้คนไข้และญาติแทนค่าโดยสารโรงพยาบาล ลดค่ารักษาพยาบาลให้ ฯลฯ ในระหว่างที่ราษฏรผู้เจ็บป่วย ต้องจากบ้านไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเข้าพระราชหฤทัย ถึงความรู้สึกของคนไข้เป็นย่างดีว่าย่อมจะว้าเหว่ เกิดความอ่อนแอทางจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทางกายเป็นอันมาก และคนในครอบครัวก็ย่อมจะห่วงใย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ญาติผู้ใกล้ชิดติดตามไป เพื่อช่วยดูแลคนไข้และพราชทานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ด้วย

07/03/2013

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามะกะ และเป็นอัครศาสนูปถัมภก ประชาชนมีสิทธิและเสรี ในการนับถือศาสนา ตามที่ตนเชื่อ และศรัทธา

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงตระหนักว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์มิให้ประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่เป็น ความชั่ว และเป็นแนวทางให้มนุษย์เลือกกระทำแต่ความดี จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญในการอุปถัมภ์ศาสนา นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชน ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาโดยสม่ำเสมอแล้ว

ยังทรงทะนุบำรุงศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และ ซิกข์ เพราะทรงถือว่าทุกศาสนาต่างก็มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนเช่นเดียวกัน ดังนั้น คราวใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในงานพระราชพิธี หรือทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถมักจะโดยเสด็จเสมอไม่ว่าจะเป็นพิธีของศานาใด บางครั้งก็เสด็จพระราชดำเนินโดยลำพังพระองค์เอง ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเคารพในประเพณีของศาสนานั้น ๆ อย่างดียิ่ง

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยทรงรับการอบรบพื้นฐานความรู้เรื่องศาสนามาจากพระบิดาพระมารดา คือ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทร์บุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิตกิยากร ทรงเป็นพุทธศานาสนิกชนที่เคร่งครัดทรงเคารพนอบน้อมในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทรงบำเพ็ญกุศลทาง เช่น ทรงบาตร ทรงเก็บดอกไม้มาบูชาพระ ทรงสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ มีน้ำพระราชหฤทัยเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ ทรงยึดมั่นในสัจจะ อยู่ในโอวาทครูอาจารย์ พระบิดามารดา

เมื่อเข้าสู่พระราชพิธีราชาพิเษกสมรส และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแล้ว ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระบวรพุทธศาสนามากขึ้น ทรงยกย่องเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้พระราชทานความรู้แก่พระองค์ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงนมัสการและสนทนาธรรมกับพระ เถรานุเถระอยู่เสมอ ทรงใช้หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งในส่วนพระองค์และในฐานะสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่กลุ่มนักข่าวหญิง เมื่อ พ.ศ. 2524 ว่า

"....ฉันรู้สึกว่า ชีวิตของฉันทั้งโดยฐานะส่วนตัว และในฐานะที่เป็นพระราชินี ถ้าเผื่อไม่ได้พระพุทธศาสนา ก็คงจะแข็งแรงอยู่ไม่ได้อย่างนี้..."



สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงพยายามทุกวิถีทางและทุกโอกาสที่จะทรงแนะนำให้ พสกนิกรเห็นว่า ความเจริญทางด้านจิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด ไม่น้อยไปกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ เพราะจะช่วยให้ชีวิตมนุษย์สมบรูณ์และมีค่า ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักศึกษาว่าพยาบาล ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า

ความเจริญทางด้านวัตถุจำต้องควบคู่ไปกับความเจริญทางด้านจิตใจจะทำให้ชีวิต มนุษย์สมบรูณ์และมีค่า บุคคลแม้จะเป็นผู้ที่ขาดความมั่นคงทางวัตถุ แต่ร่ำรวยในด้านคุณธรรม มีความรักและห่วงใยในเพื่อนมนุษย์ จึงนับว่าเป็นผู้ที่พระพุทธศาสนายกย่องแล้วว่าเจริญแท้..."

นอกจากทรงได้รับความรู้ทางธรรมะจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงศึกษาธรรม ด้วยการทรงสนทนาธรรมกับพระเถระและภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ใน ยามที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ หากทรงมีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมวัดวาอารามใด ก็จะมีพระราชศรัทธาถวายเงินบำรุงวัด รวมทั้งทรงสนทนาธรรมกับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังโปรดให้ข้าราชบริพารจัดซื้อหนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประวัติพระอัครสาวก และพระอริยสงฆ์มาถวาย

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงยึดในพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทรงพระเมตตากรุณาแก่ราษฎรทั่วไป โดยเฉพาะคนป่วย คนชรา คนพิการ คนปัญญาอ่อนและเด็ก ทรงปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โปรดการทำบุญหรือการสังเคราะห์มาแต่ทรงพระเยาว์ทรงดำรงตำแหน่งประธาน กิตติมศักดิ์ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้นโดยพระราชทรัพย์ริเริ่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรุนแรงและกระทบกับสถานภาพทางครอบครัว มีน้ำพระราชหฤทัยเมตตาห่วงใยบุคคลผู้พิการทั้งทางร่างกายและสมอง มีพระราชดำริว่า ผู้พิการควรได้รับความเอาใจใส่ดูแลได้รับการบำบัดรักษาเมื่อป่วยเจ็บเช่น เดียวกันกับบุคคลทั่วไป และควรได้รับการอบรมให้มีอาชีพตามความถนัด เพื่อจะได้ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้นอกจากนี้ยังทรงไว้ซึ่งมุทิตาธรรม มีพระราชหฤทัยโสมมัสในความสุข ความเจริญและความสำเร็จของอาณาประชาราษฏร์ และทรงส่งเสริมพระราชทานกำลังใจทำความดียิ่งขึ้น ทรงรักษาอุเบกขาธรรมวางพระองค์เป็นกลางไม่ทรงหวาดเกรงภยันตรายต่าง ๆ เมื่อต้องเสด็จพระราชดำเนินไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร ทรงยึดมั่นในเบญจศีล เบญจธรรม อันเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานที่สอนเว้นการทำชั่วประพฤติดีปฏิบัติชอบ มีพระราชศรัทธาอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา นอกจากการบำรุงด้วยพระราชทรัพย์แล้ว ยังทรงช่วยเผยแผ่ธรรมะด้วยวิธีการหลายหลาก เช่น พระราชทานเทปและหนังสือธรรมะแก่ผู้อยู่ในความทุกข์หรือเจ็บป่วย หรือพระราชทานไปยังโรงเรียนเพื่อเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธองค์แก่เยาวชน

นอกจากนี้ ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์หลายด้าน เช่น ทรงถวายปัจจัยแด่พระเถระขั้นผู้ใหญ่ และพระเถระที่ทรงรู้จักเป็นประจำทุกเดือน ทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ ทรงถวายปัจจัยเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือพระราชทานทรัพย์แก่โรงพยาบาลเป็นทุนในการบริการ และอำนวยความสะดวกแกพระสงฆ์ที่มารับการรักษา ตลอดจนมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดภัตตาหารไปถวายพระเถระที่อาพาธเป็นพิเศษ เป็นต้น

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงรับสถาบันแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยทรงเล็งเห็นว่าสถาบันแม่ชีไทยเป็นสถาบันของสตรีกลุ่มใหญ่ที่มุ่งรักษา ศีล บำเพ็ญธรรม และช่วยทำงานให้แก่สังคมในด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก อีกทั้งทรงรับ "มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์" ของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสอนศีลธรรมแก่เยาวชน

นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นในประเทศด้วย เพราะมีพระราชศรัทธาว่า ทุกศาสนาล้วนมีหลักธรรมที่สอนให้คนประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่ดีงามเช่นเดียว กัน มักจะเสด็จพระราชดำเนินหรือโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในงานพิธี ของศาสนาต่าง ๆ โดยมิทรงเลือกว่าเป็นงานพิธีของศาสนาใด ดังเช่นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกรับเสด็จพระสันตปาปา จอนห์น ปอล ที่ 2 ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทย ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วยความเคารพยกย่องอย่างสมพระเกียรติ ยังความชื่นชมยินดีมาสู่คริสตศานิกชนในประเทศไทยเป็นอันมาก

เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีขนมธรรมเนียมแตกต่างออกไปตามหลักปฎิบัติของศาสนา ก้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรเหล่านั้นโดยมิได้เว้น ด้วยทรงถือว่าทุกคนเป็นราษฎรของพระองค์เช่นเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมัสยิดที่อิหม่ามประจำมัสยิดกราบบังคมทูล เชิญเสด็จ และพระราชทานเงินบำรุงมัสยิดนั้น ๆ ในเดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือศีลอด ยังทรงพระกรุณาพระราชทานอินทผลัมแก่อิหท่ามในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

พระราชกรณียกิจในการทะนุบำรุงศาสนาในพระราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ พุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรง ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนตลอดมา ทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น

25/02/2013

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมี เดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศานาพุทธเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ดังกล่าว

พระพุทธเจ้าเมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้

พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา"

พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น

พระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร , การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร และการรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด