พุทธประวัติ ประวัติพระอรหันต์สาวก พระธรรมคำสั่งสอน
Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from พุทธประวัติ ประวัติพระอรหันต์สาวก พระธรรมคำสั่งสอน, Religious organisation, .
๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง
มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
"วันนวมินทรมหาราช"
๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
น้อมรำลึกวันคล้ายวันสวรรคต ครบรอบ ๗ ปี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
“ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา”
๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ วันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร)
"ถวาย ตรีปิฎกอาจารย์ รูปที่ ๒ ของโลก"
#ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นรูปที่ ๒ ของโลก
ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฎกอาจารย์" แด่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต ป.ธ.๙ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
ข่าวมงคลของพระสงฆ์ไทย
สถาบัน นวนาลันทา ประเทศอินเดีย ได้มีมติถวาย ตำแหน่ง "ตรีปิฎกอาจารย์" แก่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต
หมายถึง ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นองค์ที่ ๒ ของ โลก
ส่วนรูปแรก คือ ท่านพระถังซำจั๋ง หรือ พระภิกษุ เสวียนจั้ง (จีน)
เพจ พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
ขอน้อมถวายมุทิตาสักการะในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
มงคลข่าว : พระไพศาลประชาทร วิ.
"พระผู้ทรงตรีปิฎกาจารย์ รูปที่ ๒ ของโลก"
#พระผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นรูปที่ ๒ ของโลก
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต ป.ธ.๙ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป.อ.ประยุตฺโต ป.ธ.๙ นาคหลวง)
ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
นวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ได้ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา)" แด่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
หมายถึง ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นรูปที่ ๒ ของโลก
ส่วนรูปแรก คือ ท่านพระถังซำจั๋ง หรือ พระภิกษุ เสวียนจั้ง (ประเทศจีน)
#สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ #ตรีปิฎกาจารย์
เพจ พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
ขอน้อมกราบถวายมุทิตาสักการะในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
มงคลข่าว : พระไพศาลประชาทร วิ.
น้อมกราบถวายความอาลัย
หลวงปู่แสง ญาณวโร
วัดป่าดงสว่างธรรม จังหวัดยโสธร
มรณภาพแล้วอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๑๓ น. สิริอายุ ๙๙ ปี พรรษา ๗๕
#น้อมส่งองค์หลวงปู่แสงสู่แดนนิพพาน
น้อมกราบถวายความอาลัย
หลวงปู่แสง ญาณวโร
วัดป่าดงสว่างธรรม จังหวัดยโสธร
มรณภาพแล้วอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๑๓ น. สิริอายุ ๙๙ ปี พรรษา ๗๓
#น้อมส่งองค์หลวงปู่แสงสู่แดนนิพพาน
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยปีนี้ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๐ พรรษา
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ สถิตเป็นมิ่งขวัญแห่งปวงชนชาวไทยตราบกาลนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า เพจ พุทธประวัติ ประวัติพระอรหันต์สาวก พระธรรมคำสั่งสอน
"ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา"
เนื่องในมงคลสมัยคล้ายวันประสูติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๕ พรรษา
๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔๓ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ สถิตเป็นมิ่งขวัญแห่งปวงชนชาวไทยตราบกาลนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
วันจักรี ๖ เมษายน
วันที่ระลึกแห่งการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงยกทัพกลับ จากเขมรเพื่อเข้าปราบปรามการจลาจลในกรุงธนบุรี ภายหลังบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว มุขอำมาตย์ราชมนตรีและราษฎรพร้อมใจอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕
ก่อนการเปลี่ยนแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็น เดือนเมษายน ๒๓๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกจึงให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี และถือเป็นจุดสิ้นสุดของกรุงธนบุรี
ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะทรงปราบดาภิเษก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น แม้จะทรงเป็นเสนาบดีที่มีบรรดาศักดิ์สูงสุดในแผ่นดิน คือเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่ก็มิได้ทรงสืบสายพระโลหิตจากพระราชวงศ์ใดทั้งสิ้น
ดังนั้นเมื่อแรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงต้องทรงปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในพระชนมชีพใหม่ จากสามัญชนมาสู่ความเป็นเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พักอาศัย ซึ่งเปลี่ยนจากบ้านหรือจวนมาเป็นพระบรมมหาราชวัง ตำหนักบรรดาพระญาติวงศ์ทั้งหลาย ต่างก็ได้รับสถาปนาให้มีพระอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี การกินอยู่ การพูดจา การวางตัวจึงเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงตระหนักพระทัยดีว่า การอ้างสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์นั้นค่อนข้างยากลำบาก ด้วยเหตุผลสำคัญ ๒ ประการคือ
ประการแรก มิได้ทรงมีสายสัมพันธ์ทางสายพระโลหิตจากพระราชวงศ์ใดๆ ทั้งสิ้น
ประการที่สอง มิได้ทรงอยู่ในฐานะวีรบุรุษผู้แลกเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อบ้านเมือง ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์จึงต้องทรงแสวงหาความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับในหมู่ข้าทหาร ข้าราชบริพาร ตลอดจนราษฎรทั้งปวง
พระองค์ทรงเลือกวิถีทางธรรมะเป็นหลักสำคัญ เพราะทรงมีพระราชดำริว่า หัวใจของราษฎรทุกดวงพันผูกมั่นคงอยู่กับพระพุทธศาสนา จึงทรงเน้นพระราชภารกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ประการหนึ่งคือ จะต้องทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา ทรงเป็นธรรมราชควบคู่ไปกับการปกป้องรักษาอธิปไตยของบ้านเมือง
๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๗ พรรษา
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากภยันตรายใด ๆ ทั้งปวง
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
#ขอน้อมถวายความอาลัย
เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต
(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙)
กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ประธานคณะสนองงานสมเด็จพระสังฆราช
มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๒๒ น. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สิริอายุ ๘๖ ปี ๖๕ พรรษา
น้อมกราบถวายความอาลัย
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙)
อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง
อดีตประธานสมัชชามหาคณิสสร
อดีตประธานอำนวยการโครงการสร้างความปรองดอง
สมานฉันท์ โดยให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล ๕
ได้มรณภาพด้วยอาการอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ สิริอายุ ๙๖ ปี
#น้อมกราบถวายความอาลัย
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙)
อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง
อดีตประธานสมัชชามหาคณิสสร
อดีตประธานอำนวยการโครงการสร้างความปรองดอง
สมานฉันท์ โดยให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล ๕
ได้มรณภาพด้วยอาการอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๕.๔๘ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ ๙๖ ปี พรรษา ๗๖
๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพในราชสกุล “มหิดล” อันเป็นสายหนึ่งในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา อันเป็นที่ซึ่งพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐
พระองค์เป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ มหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (กาลต่อมา คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (กาลต่อมา คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า “เบบี สงขลา” (Baby Songkla)
พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้นพระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๗๐ โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า “Bhumibala Aduladeja” ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล”
ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมาพระองค์เองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกด
พระนามของพระองค์มีความหมายว่า
ภูมิพล = ภูมิ+พล
ภูมิ หมายความว่า “แผ่นดิน”
พล หมายความว่า “พลัง” รวมกันแล้วหมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน”
อดุลยเดช = อดุลย +เดช
อดุลย หมายความว่า “ไม่อาจเทียบได้”
เดช หมายความว่า “อำนาจ”
“ภูมิพลอดุลยเดช” จึงหมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้”
ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
เมื่อปี ๒๔๗๑ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุไม่ถึง ๒ พรรษา
ปี ๒๔๗๕ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๔ พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน ๒๔๗๗ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอลนูแวลเดอลาซุอิสรอม็องด์
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น ”สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช“ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘
เดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นเวลา ๒ เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึง ๒๔๘๘
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (กาลต่อมา คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ซึ่งเป็นธิดาของเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก ในขณะนั้น ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษาและ ๑๕ พรรษาตามลำดับ
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๙๑ ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้าพระองค์เคยชอบพอกับหม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล แต่ไม่ถึงขั้นหมั้นหมายกัน
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ สวรรคต อย่างกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกัน รัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์อัญเชิญ ”สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช“ ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ต่อไป
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวียนมาบรรจบครบ ๘ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวียนมาบรรจบครบ ๘ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
น้อมสำนึก รำลึกในพระเมตตาของพระองค์ท่าน
สงฺขารานํ ขยํ กตฺวา สนฺตคามิ นมามิหํ
#ป๊อปวัดบวร
Website
Opening Hours
Monday | 09:00 - 17:00 |
Tuesday | 09:00 - 17:00 |
Wednesday | 09:00 - 17:00 |
Thursday | 09:00 - 17:00 |
Friday | 09:00 - 17:00 |
Saturday | 06:00 - 23:00 |
Sunday | 06:00 - 23:00 |