RTP Cyber Village ชุมชนมาบชลูด
เพจสำหรับประสานงาน ชุมชนมาบชลูด
5 วิธีระวัง QR code ปลอม ❌
👉1. ก่อนที่เราจะแสกน QR code ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการแก้ไขโค้ด เช่น มีการติดสติกเกอร์ไว้บนโค้ดต้นฉบับหรือไม่
👉2. เมื่อคุณสแกน QR code แล้ว ให้ตรวจสอบ URL หรือชื่อเว็ปไซต์นั้น ๆ ว่าถูกต้องหรือเปล่า
เพรามิจฉาชีพมักจะใช้ชื่อคล้ายๆกันอาจเปลี่ยนตัวสะกดเพียงตัวเดียว
👉3. ก่อนที่เราจะใส่ข้อมูลส่วนตัว ให้ดูดีๆ ว่า อะไรที่เป็นข้อห้ามที่ไม่ควรใส่ลงไปบ้าง
👉4. App ที่เกี่ยวกับการสแกน QR code ก็อันตราย ทางที่ดี ใช้แค่โปรแกรมกล้องที่ให้มากับโทรศัพท์ซึ่งส่วนใหญ่มันสแกนได้ในตัวอยู่แล้ว
👉5. ถ้ามีคนส่ง QR code มาให้คุณ คุณต้องเช็คกับต้นทางถึงรายละเอียดให้มั่นใจอีกครั้ง
เพราะเทคโนโลยีน่ากลัวกว่าที่คิดนะคะ🥰
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
สงสัยเกรงจะตกเป็น เหยื่อ สอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่ www.thaipoliceonline.com
ติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ www.pctpr.police.go.th
#เตือนภัย กลโกงใหม่!
มิจฉาชีพใช้กลลวงแบบใหม่ หลอกทำ "ประกันชีวิต"
👉อ้างโลโก้สมาคม
👉อ้างสถาบันการเงินของรัฐ หลอกให้โอนเงินชำระเบี้ยประกัน
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนนตรี เตือนประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพ หลอกทำ "ประกันชีวิต" โดยเฉพาะการพูดคุยโทรศัพท์ชักชวน สร้างแรงจูงใจให้เข้าใจผิด โดยมักจะอธิบายถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเกินความจริง อ้างตัวเป็น สถาบันการเงินของรัฐ
ทั้งนี้ในปัจจุบันมิจฉาชีพ ได้พัฒนากลโกงที่แยบยลสำหรับการหลอกทำ "ประกันชีวิต" ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ผ่านรูปแบบต่างๆ โดยสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อกรณีที่มีมิจฉาชีพแอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินเพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อหรือเพื่อยืนยันผลการทำธุรกรรมการเงินใด
ซึ่งปัจจุบันสมาคม สถาบันการเงินของรัฐ ไม่มีวัตถุประสงค์และไม่มีนโยบายให้บริการทางการเงินใดๆ กับประชาชนโดยตรง และยืนยันว่าสมาคมสถาบันการเงินของรัฐไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแอบอ้างให้บริการทางการเงินดังกล่าว และขอเตือนให้ผู้ที่ได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพในลักษณะเดียวกันนี้อย่าหลงเชื่อหรือโอนเงินให้อย่างเด็ดขาด
ขอเตือนประชาชนก่อนจะพิจารณาทำ "ประกันชีวิต" ให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ควรตรวจสอบรายชื่อจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือตัวแทนที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งติดต่อกับบริษัทประกันภัยด้วยตนเอง
👉ไม่ควรทำประกันชีวิตผ่านตัวแทนที่ไม่เคยรู้จัก โดยเฉพาะกรณีที่มีการแจกสิ่งของเพื่อจูงใจ หรือมีราคาถูกเป็นพิเศษ เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของ มิจฉาชีพ ได้ ประชาชนควรศึกษาเงื่อนไข ความคุ้มครองก่อนซื้อ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ตรงกับความต้องการ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย อย่ารีบตัดสินใจ
----------------------------------------------------------
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
ปรึกษา เบาะแส สายด่วน☎️ 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
----------------------------------------------------------
สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับ 1 ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน ปล่อยกู้ขั้นต่ำ 5,000 – 300,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาท ผ่านไลน์
อันดับ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดให้ลงทะเบียนฟรี เริ่มลงทุนเพียง 1,000 บาท
อันดับ 3 กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ smart money ให้กู้ยืมผ่านไลน์ 50,000 บาท ผ่อนเดือนละ 826 บาท
อันดับ 4 เพจ Facebook และ Line เชิญชวนลงทุนการเทรดหุ้นตลาดหลักทรัพย์ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน ก.ล.ต.
อันดับ 5 ออสเตรเลียรับสมัครคนทำสวน ที่พักฟรี รายได้สูง 80,000 บาท
อันดับ 6 เรื่อง ผลิตภัณฑ์กระเทียมดำ B-Garlic จบปัญหาความดัน ไขมันในเลือดสูง
อันดับ 7 ผลิตภัณฑ์ LIV.D ช่วยดีท็อกซ์ตับ ขับล้างสารพิษช่วยป้องกันปัญหาไขมันพอกตับและตับอักเสบ
อันดับ 8 ธ. กรุงไทยส่งข้อความเชิญชวนผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ยื่นกู้ 80,000 บาท ผ่านลิงก์
อันดับ 9 บสย. ปล่อยสินเชื่อสู้ภัยโควิด วงเงินสูง 500,000 บาท ไม่ต้องมีคนค้ำ
อันดับ 10 สเปรย์ใบพญายอเข้มข้น ธรรมนิมิตร ช่วยลดอาการคันทุกชนิด
อย่าลืมกดติดตาม
เพจ PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
📌ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว เสี่ยงอะไรบ้าง
1.เสี่ยงถูกขโมยตัวตน หรือสวมรอยเป็นเรา เพื่อไปก่ออาชญากรรม หรือทำเรื่องผิดกฎหมาย
2.เสี่ยงถูกใช้ประโยชน์ โดยที่เราไม่ยินยอม เช่น นำไปใช้โฆษณาทางการตลาด
3.เสี่ยงถูกขายให้บุคคลที่ 3
4.เสี่ยงถูกนำไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญ เช่น การส่ง SMS ก่อกวนมายังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล
5.เสี่ยงถูกติดตาม สะกดรอย สอดแนม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้
📌เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเบื้องต้น เราควรจะทำอย่างไรบ้าง
1.คิดก่อนโพสต์ โดยคิดไว้เสมอว่า “ทุกสิ่งที่เราโพสต์หรือแชร์ไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวอีกต่อไป” คนอื่นสามารถเห็นหรือส่งต่อได้
2.ป้องกันตนเองด้วยการตั้งพาสเวิร์ดที่มั่นคง ปลอดภัย เช่น การใช้ MFA ยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (OTP, PIN) หรือ การใช้ 2FA การยืนยันตัวตน 2 ชั้น
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
สงสัยเกรงจะตกเป็น เหยื่อ สอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/ หรือ
ติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ www.pctpr.police.go.th
🚨ระวัง❗หลอกให้ลงทุน
👉มิจฉาชีพหลอกลงทุนใน "ผ่านหน้าเฟซบุ๊ก" มักอ้างชื่อตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ ดารา นักการเงิน มีข้อเสนอสุดจูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุน เข้าเส้นทางรวยฟ้าผ่า รวยเร็วแบบพลิกฝ่ามือ รับประกันผลตอบแทน และอ้างว่าไม่เสี่ยง ดังนั้นเราต้องมีศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนลงทุนนะคะ👇
✅วิธีตรวจสอบเบื้องต้นนะคะ
1. เครื่องหมายรับรองตัวตน
ตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่แนะนำการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
2. จำนวนผู้กดไลค์ กดติดตามเพจ
3. ดูความโปร่งใสของเพจ ระยะเวลาที่สร้างเพจ การเปลี่ยนชื่อเพจ
=================================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
สงสัยเกรงจะตกเป็น เหยื่อ สอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.com/ หรือ
ติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ www.pctpr.police.go.th
หลอกลงทุนคริปโท สูญเงินล้าน ผู้เสียหายจากการถูกชักชวนลงทุนคริปโทเคอเรนซี หรือสกุลเงินดิจิทัล เข้าร้องทุกข์กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่...
ตามมิจฉาชีพให้ทัน!
อย่าหลงเชื่อเว็บราชการปลอม ล้วงข้อมูลการเงิน
ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพสร้างเว็บไซต์หน่วยงานรัฐ “ระดับกรม”ปลอมเพื่อขโมยข้อมูลหรือดักข้อมูลจากประชาชน แล้วโทรไปหลอกให้โอนเงินและอาจถึงขั้นเข้าทำธุรกรรมในมือถือทั้งหมดแทนเจ้าของ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าทำการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ปลอมแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ จึงขอเตือนประชาชนให้สังเกตชื่อเว็บไซต์ (URL) ให้ดี โดยเว็บไซต์ของกระทรวงและกรมต่างๆ จะลงท้ายด้วย “ .go.th” ไม่ใช่ “.com”
ตัวอย่างเช่น
กรมสรรพากรแจ้งเตือนเว็บไซต์ปลอม ใช้ชื่อ URL ว่า https://afdw7.com และมีปุ่ม “คลิกเพื่อดาวน์โหลด” แตกต่างจากเว็บไซต์จริงของกรมสรรพากร ที่ใช้ชื่อว่า www.rd.go.th
กรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งเตือนเว็บไซต์ปลอม ใช้ชื่อ URL ว่า www. dsi-th.com และหลอกให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ “DSI ระบบรักษาความปลอดภัย” แล้วให้กรอกข้อมูลส่วนตัว รับรหัส OTP ผ่านมือถือ โดยโปรแกรม/แอพพ์นี้จะดักข้อมูลและส่งต่อไปยังมิจฉาชีพ ทำให้สามารถเข้าทำธุรกรรมในมือถือทั้งหมดแทนเจ้าของได้ ซึ่งเว็บไซต์จริง ชื่อว่า www.dsi.go.th
ประชาชนที่เป็นผู้เสียหายถูกหลอกลวงออนไลน์ทางด้านการเงินสามารถแจ้งความผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศูนย์รับแจ้งความออนไลน์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานไปยังโรงพัก พร้อมประสานอายัดบัญชีกับธนาคารทันที หากมีผู้เสียหายหลายราย จะส่งต่อให้ตำรวจไซเบอร์จัดการต่อไป
คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในลักษณะอื่น ก็สามารถแจ้งความผ่านทางออนไลน์ได้เช่นกัน กล่าวคือ การจำหน่ายสิ่งของผิดกฎหมาย หรือหลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การเผยแพร่ข่าวปลอมและความผิดตาม พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กหรือสตรีทางอินเตอร์เน็ต และการค้ามนุษย์ การพนันออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งประชาชนสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1441 หรือ โทร 08-1866-3000 ตลอด 24 ชั่วโมง
เรียน จัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
ด้วยกรมการจัดหางานได้เปลี่ยนแปลงลิงค์ระบบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (4 สัญชาติ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 จากเดิม https://e-workpermit.doe.go.th เปลี่ยนเป็นลิงค์ https://alienfivejuly.doe.go.th/
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว จึงขอความร่วมมือท่านประชาสัมพันธ์แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ/บริษัทนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศทราบโดยทั่วกัน
😠แก๊งคอลเซ็นเตอร์ VS 😢SMS ลวงโลก
ไม่ว่าจะแก๊งไหนก็มิจฉาชีพทั้งนั้น เพื่อนๆ พบเจอแก๊งไหนมากกว่ากัน ลองมาแชร์ประสพการณ์ได้ในคอมเมนต์ เพื่อไม่ให้เพื่อนๆ คนอื่นหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเหล่านี้ได้
และถ้าหากเพื่อนๆ ท่านไหนได้รับความเดือดร้อนหรืออยากแจ้งเบาะแสเพิ่มเติม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน PCT 1599 หรือ บช. สอท. 1441 หรือ เพจตำรวจสอบสวนกลาง
#แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #สอบสวนกลาง #ตำรวจสอบสวนกลาง
🚨 รวมมุกเด็ด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ รู้ให้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ!
… เพราะการถูกหลอกทางโทรศัพท์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคน โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ช่างสรรหาสารพัดวิธีมากมายมาหลอกเหยื่อ ทำให้หลายคนได้ยินแล้วก็ต้องกลัวกันหมด
📞 วันนี้ทางตำรวจสอบสอบสวนกลางจึงรวบรวมเอามุขเด็ดทีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ในการหลอกลวง มาอัปเดตให้ทุกคนได้รู้กัน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งเหล่านี้
📞 1. หลอกว่าโอนเงินผิด
📞 2.อ้างว่าบัญชีเงินฝากถูกอายัด หรือ เป็นหนี้บัตรเครดิต
📞 3.อ้างเป็นตำรวจมีหมายเรียกพัวพันธุรกิจสีเทา
📞 4.พัสดุตรวจพบสิ่งผิดกฎหมาย
และนี่คือมุกเด็ดที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้หลอกเหยื่อ และมักจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหากเรามีสติ รู้ทัน ไม่โอนเงินไปตามที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง เราก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้
หากพบเบาะแสการกระทำความผิดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบ หรือสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 📞 .
#แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ตำรวจสอบสวนกลาง #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หลอกให้สมัครงานออนไลน์ แล้วนำบัญชีธนาคารเราไปเป็นบัญชีม้า
มิจฉาชีพจะรับสมัครงานออนไลน์ อ้างว่าเป็นงานที่รายได้ดี สามารถทำงานจากที่บ้านได้ เป็นตำแหน่งนักบัญชี ทำงานง่ายๆ เพียงรับโอนเงินจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ แล้วโอนไปยังบัญชีที่มิจฉาชีพกำหนด ค่าจ้างจะได้รับส่วนแบ่งตามจำนวนครั้งที่ทำรายการโอนเงินออกจากบัญชี
แต่ที่จริงแล้วเงินที่เข้ามาในบัญชีของเรา คือเงินที่ได้จากการกระทำความผิด ทำให้เจ้าของบัญชีถูกแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากเป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ถูกใช้ในการกระทำความผิดได้ครับ
💸รับจ้างเปิดบัญชี มีโทษทางกฎหมาย
ผู้ใดที่กำลังจะตัดสินใจรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร หรือมอบบัญชีธนาคารของตนเองให้กับผู้อื่น ท่านอาจถูกดำเนินคดีตามฎหมายได้ ถ้าหากบัญชีธนาคารของท่านถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในการกระทำความผิด
🔻ความผิดที่อาจจะถูกดำเนินคดี
- ความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิด
- ความผิดฐานผู้สนับสนุนการกระทำผิด
- ความผิดฐานฟอกเงิน
ในกรณีที่ท่านหลงเชื่อยอมเปิดบัญชีให้กับมิจฉาชีพ ท่านควรรีบติดต่อขอปิดบัญชีธนาคารในทันที
#รับจ้างเปิดบัญชี #สอบสวนกลาง
รวบทันควัน! 'บัญชีม้า' แก๊งคอลฯ เตรียมเผ่นเขมรหนีหมายจับฉ้อโกง เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 65 พ.ต.อ.รุ่ง ทองมนต์ ผกก.ตม.จว.สระแก้ว ได้รับการแจ้งประสานจาก จนท.ชุดสืบสวน สน.ราษฎร์บูรณะ กทม.ว...
📌อ่านรีวิวให้เยอะก่อนซื้อ จะได่ไม่ถูกจกตา‼
👉รีวิวสามารถปลอมได้ แต่ไม่ใช่ทุกรีวิว การอ่านรีวิวหลาย ๆ รีวิวจะช่วยให้มองเห็นความเป็นไปของสินค้ามากยิ่งขึ้น และจะช่วยให้สามารถพิจารณารีวิวจริงและปลอมออกจากกันได้จากประสบการณ์‼
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/
🚨วิธีสังเกต โรแมนซ์สแกม ภัยร้ายไซเบอร์🚨
1.เข้าไปดูโปรไฟล์ว่ามีข้อมูลมากน้อยเพียงใด
2.ดูโปรไฟล์ว่าคนที่คุยด้วยหล่อ รวย เกินจริงหรือไม่
3.คุยสักพักมักจะชอบให้ความหวังอยากส่งของให้
4.มีการสร้างเรื่องราวให้เห็นอกเห็นใจ ทำตัวให้น่าสงสาร
5.สุดท้ายจะหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินให้มิจฉาชีพ แล้วบังคับห้ามบอกเรื่องราวความสัมพันธ์ของคุณกับเขา
พบรักออนไลน์ต้องระวังให้มาก ๆ นะคะ 🥰
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/
“ มีใครแอบเล่นเฟซบุ๊คเราอยู่หรือไม่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ”
🔔 ในปัจจุบันเฟซบุ๊คเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แล้วก็เป็นเป้าหมายของโจรออนไลน์ที่ใช้เฟซบุ๊คมาเป็นเครื่องมือใช้หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ตามที่เราเห็นเป็นข่าวในสื่อต่างๆ อยู่เรื่อยมา
🔔🔔 วันนี้รายการเสร็จโจร กับพี่โจร(กลับใจ) ก็มีจุดสังเกตหรือเป็นจุดเตือนภัยของเราเองเลยก็ว่าได้ในการเล่นเฟซบุ๊ค คือการตรวจสอบว่ามีใครแอบเข้ามาเล่นหรือมาแอบดักเอาข้อมูลสำคัญของเราหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับใคร แต่ถ้าเกิดเป็นปัญหาตามมาก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นเราก็ควรจะรู้เอาไว้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์แล้วกลับไปตรวจสอบเฟซบุ๊คของตัวเองตามขั้นตอนวิธี ที่พี่โจร(กลับใจ) จะพาตรวจสอบตามคลิปดังต่อไปนี้ได้เลยนะคะ
👉 https://youtu.be/t3Q1JXaqBao
ขอให้ปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยความห่วงใยจากพวกเรา PCT POLICE
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/
📌3 ข้อสังเกต มิจฉาชีพปลอมโปรไฟล์ เพื่อหลอกยืมเงิน‼
1️⃣เพิ่มเพื่อใหม่ โดยตั้งชื่อเป็นคนที่เรารู้จัก โดยอ้างว่าสมัครใหม่หรือเผลอลบไปก็แล้วแต่ แต่เป็นโปรไฟล์ที่สร้างขึ้นไม่นาน
2️⃣เมื่อโจรมันเพิ่มเพื่อนใหม่แล้ว มันจะทักแชทมาขอยืมเงิน อ้างโน้นนี่ ว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้โอนเงินทันที และใช้เวลาไม่นานที่จะคืน
3️⃣บัญชีที่โอนไปนั้น จะไม่ใช่ชื่อบัญชีของคนที่รู้จัก จะเป็นชื่อใครก็ไม่รู้ที่ให้โอนเข้าไป
ถ้าใครทักมายืมเงิน เข้า 3 ข้อสังเกตนี้ ระวังไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าจะเป็นโจรออนไลน์ ก่อนโอนเงินให้ใคร อย่าลืมโทรไปเช็กกับคนที่เราจะโอนให้ก่อนนะครับ
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/
🚨เมื่อมิจฉาชีพมาถึงประตูหน้าบ้าน🚨
❌หลอกให้เซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย”❌
📌เหล่ามิจฉาชีพก็มากันเป็นทีม เนียนเป็นผู้คนส่งของ หลอกให้เซ็นรับพัสดุที่อาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมจัดฉากเป็นตำรวจปลอมเข้าตรวจ ดังนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้
วิธีป้องกันง่าย ๆ นะคะ คือ
✅ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้สั่งของ
✅ห้ามเซ็นรับพัสดุใดๆที่ไม่ได้สั่งเด็ดขาด
✅ห้ามรับสิ่งของที่ไม่ได้สั่ง
✅แจ้งว่าต้องการตีกลับพัสดุทันที
==========================
ติดตาม PCT POLICE เพื่อรู้ทันความคิดของโจรออนไลน์
โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/
🔴โจรปลอมเป็นเพื่อน หลอกโอนเงิน รับมืออย่างไร⁉
👉มิจฉาชีพจะเลือกเหยื่อเป็นคนใกล้ชิดของบัญชีไลน์ที่ถูกแฮกหรือแอบปลอมเป็นคนคนนั้น หลังจากนั้นจะปลอมตัวส่งข้อความเพื่อให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนอื่นเพราะว่าบัญชีของตัวเองโอนไม่ได้ มีปัญหาก็ว่ากันไป ถ้าเผลอโอนหละก็ เสร็จโจรแน่นอน
📌วิธีป้องกันแบบง่ายๆเลย คือ โทรเช็กว่าใช่คนรู้จักเราจริงๆไหม ต้องการยืมเงินเราจริงหรือเปล่า หากเช็กแล้วไม่ใช่ ให้แจ้งว่าบัญชีไลน์โดนแฮก และให้ตรวจสอบช่องทาง Social Media อื่นๆด้วยว่าโดนด้วยหรือเปล่า แล้วให้รีบแก้ไขกู้คืนเอาคืนมา
👉แต่ถ้าใครพลาดท่าเสียที โอนเงินไปแล้ว แนะนำให้ไปแจ้งความหลังถูกหลอกโอนเงินไปแล้ว เบื้องต้นให้โทรไปยัง Call Center ของธนาคารปลายทางที่เราโอนเงินไป หลังจากนั้นไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุ หรือโทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000 หรือ แจ้งความออนไลน์ ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.com/