ศ.ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน
ศาสตราจารย์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ตำแหน่งในปัจจุบัน
คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ตำแหน่งในอดีต
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผู้อำนวยการสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รองประธานฝ่ายการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหาร คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแนวคิด “หุ้นส่วนความยั่งยืน” - ThaiPublica
คอลัมน์ "ก้าวอย่างยั่งยืน" ฉบับปฐมฤกษ์ วันที่ 4 ตุลาคม 2565
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
อ่านเพิ่มเติมที่: https://thaipublica.org/2022/10/nida-sustainable-move01/
ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแนวคิด “หุ้นส่วนความยั่งยืน” - ThaiPublica ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแนวคิด “หุ้นส่วนความยั่งยืน”

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการลงจากดอย
"เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการลงจากดอย"
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565
อ่านเพิ่มเติมที่:
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการลงจากดอย “การลงจากดอย” ก็ต้องแก้ไขอคตินี้ เมื่อนักลงทุนตัดสินใจผิดพลาด ก็ต้องปรับทัศนคติในการลงทุน เปลี่ยนพฤติก.....

เนื่องจากมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อผม สรศาสตร์ สุขเจริญสิน รวมถึงใช้ภาพส่วนตัวในการสร้างบัญชี Line ปลอมขึ้น เพื่อชักชวนให้ลงทุนหลากหลายรูปแบบ จึงขอประกาศให้ทราบว่า ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องนี้และบัญชี Line ดังกล่าว ซึ่งเป็นการนำภาพส่วนบุคคลไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยผมได้ดำเนินการแจ้งความกรณีโดนนำข้อมูลไปแอบอ้างเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินคดีกับผู้แอบอ้าง จึงขอให้ทุกท่านระวังการหลอกลวงและพิจารณาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจใดๆ ขอขอบคุณผู้แจ้งข้อมูลและเบาะแสทุกท่านครับ

โครงการซื้อหุ้นคืน ถ้าซื้อหุ้นตามจะได้กำไรหรือไม่?
"โครงการซื้อหุ้นคืน ถ้าซื้อหุ้นตามจะได้กำไรหรือไม่?"
คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 มีนาคม 2565
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ NIDA
อ่านเพิ่มเติมที่:
โครงการซื้อหุ้นคืน ถ้าซื้อหุ้นตามจะได้กำไรหรือไม่? ผู้บริหารอาจใช้วิธีการการซื้อหุ้นคืนในการทำราคาของหลักทรัพย์ผ่านช่องทางการส่งสัญญาณ (Signaling) ให้ผู้ลงทุนเ.....

BOT on the GO EP.8 : หากเราโอนเงินผิดบัญชี หรือมีเงินโอนผิดเข้ามาที่บัญชีเรา ควรทำยังไงดี?
BOT on the GO EP.8 : หากเราโอนเงินผิดบัญชี หรือมีเงินโอนผิดเข้ามาที่บัญชีเรา ควรทำยังไงดี?
Podcast ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า เรื่อง เงินซื้อความสุขได้จริงเหรอ? 💸💰 ลองฟังคำตอบกันดูนะครับ

จุดเปลี่ยนประเทศไทยหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับแผนอนาคตที่ต้องมี
เมื่อวิกฤตโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ แต่เปลี่ยนไปอย่างไร ก็ยังไม่ชัดเจน การเตรียมการเพื่อรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่เห็นชัดเจน ประเทศไทยควรต้องดำเนินการอย่างไร? ติดตามรายละเอียดได้ในบทความ “จุดเปลี่ยนประเทศไทยหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับแผนอนาคตที่ต้องมี” คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ วันที่ 31 ส.ค. 2564 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน
จุดเปลี่ยนประเทศไทยหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับแผนอนาคตที่ต้องมี เมื่อวิกฤตโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ แต่เปลี่ยนไปอย่างไร ก็ยังไม่ชัดเจน การเตรียมการ.....

วัคซีนป้องกันการติดหุ้น IPO
การลงทุนในหุ้น IPO ซึ่งเป็นการเสนอขายต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกนั้น ถ้าถูกจังหวะ ถูกที่ ถูกเวลา สามารถสร้างผลกำไรได้ แต่โอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนก็มีได้เช่นกัน จึงควรศึกษาข้อมูลของหุ้นนั้นอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุน ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น IPO ที่เป็นกระแสร้อนแรงในช่วงนี้ว่าคืออะไร และควรลงทุนอย่างไรได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
“วัคซีนป้องกันการติดหุ้น IPO”
คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ วันที่ 1 มิ.ย. 2564
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน
อ่านเพิ่มเติมที่: https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/654351
วัคซีนป้องกันการติดหุ้น IPO เรื่องหุ้น IPO ที่ร้อนแรงในตลาดหุ้น เป็นกระแสที่นักลงทุนสนใจและหวังทำกำไรจากหุ้นจองเหล่านี้

เงิน การออม และความสุข
เริ่มไตรมาสที่ 2 ของปีแล้ว คุณได้ออมเงินเพื่อความสุขหรือยัง และเงินสามารถนำไปสู่ความสุขที่สุดหรือไม่
ติดตามเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในบทความ "เงิน การออม และความสุข" คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/649142
เงิน การออม และความสุข คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒ...

ภาษีสุดท้าย ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย
เงินได้จากเงินปันผล ที่นักลงทุนจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แล้วกฎหมายอนุญาตให้เลือกไม่รวมคำนวณเป็นเงินได้ตอนยื่นภาษีปลายปีก็ได้ หรือที่เรียกว่า ภาษีสุดท้ายนั้น ทำให้หลายๆ คน มักจะละเลยไป แต่แท้จริงแล้ว เงินปันผลเหล่านั้นยังมีสิ่งที่เรียกว่าเครดิตภาษีเงินปันผลซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนพึงได้
ติดตามเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในบทความ "ภาษีสุดท้าย ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย" คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/646735
ภาษีสุดท้าย ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบ...

เพราะรักลูก จึงลงทุนให้
คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเก็บเงินเพื่อให้ลูก ไม่ว่าจะเพื่อให้ลูกเป็นเงินก้นถุงในการเริ่มต้นชีวิตการทำงาน หรือได้เรียนต่างประเทศโปรดทราบ
ถ้าจะเก็บเงินไว้ที่ธนาคารก็คงได้ดอกเบี้ยต่ำ ถ้าเงินน้อย ฝันนั้นก็คงไม่มีทางเป็นจริงได้ แต่ถ้านำมาลงทุน (โปรดอ่านย่อหน้าสุดท้าย) เพียงเก็บเงินวันละ 200 บาทหรือเดือนละ 6,000 บาท ด้วยอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 10% ต่อปี ผ่านไป 20 ปี อาจมีเงินเก็บรวมผลตอบแทนกว่า 4 ล้านบาท ฝันนั้นก็เป็นจริงได้ เพียงแต่ต้องขยันออมเท่านั้น
เคล็ดลับอยู่ที่การเข้าใจวิธีการลงทุน ว่าขึ้นอยู่กับ 1) ระยะเวลาลงทุนยาวๆ 2) คุณภาพของสินทรัพย์ 3) ช่วงเวลาที่ซื้อ และ 4) การกระจายความเสี่ยงเป็นหลักสำคัญของปรัชญาการลงทุนระยะยาว เช่น การลงทุนในอีทีเอฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ หรือการลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตในระยะยาว (ไม่ใช่หุ้นปั่น) โดยซื้อตอนที่เพิ่งเริ่มฟื้นจากวิกฤต (เช่น หลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งหรือโควิด-19)
Cr. คุยอีก กับอิก
#ลงทุนเพื่อลูก

Welcome to the Goldilocks Economy
David Shulman นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ UCLA Anderson Forecast ผู้เขียนบทความในปี 1992 ชื่อ "The Goldilocks Economy: Keeping the Bears at Bay" ได้กล่าวไว้ว่า Goldilocks Economy คือสภาวะที่เศรษฐกิจร้อนแรงพอที่จะกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจที่ทำกำไรได้ แต่ก็เย็นพอที่จะป้องกันไม่ให้ FED ใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวเพื่อสกัดเฟ้อโดยการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้น ผลบวกจะตกอยู่กับตลาดหุ้นไปเต็มๆ!!!
หากมาพิจารณากับสภาวะเศรษฐกิจในปี 2563 ที่เหลือต่อเนื่องไปยังปี 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจเริ่มจะดีขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง แต่อาจยังไม่ถึงขั้นร้อนแรงจน ธปท. ต้องขึ้นดอกเบี้ย นั่นก็หมายถึง เราอาจได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจ Goldilocks อีกครั้งหนึ่ง ในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะมีโอกาสที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนอยู่มากและมี story ในการฟื้นตัวทั่วทั้งตลาด สภาวะแบบนี้ตลาดหุ้นชอบ หากเป็นจริงแล้ว ผมก็ถือว่าพวกเราจะได้รับของขวัญชิ้นใหญ่ในปีหน้า เตรียมกระสุนกันไว้ให้พร้อมนะครับ
“Kakeibo” เป็นคำที่ใช้เรียกวิธีการใช้จ่ายเงินของคนญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นออมเงินเก่งมาก เป็นเพราะสิ่งนี้...

มะรุมมะตุ้มลงทุนลดหย่อนภาษี
เดือนธันวาแล้วแต่ยังไม่ได้ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเลย ควรซื้ออะไรดีจะได้ลดหย่อนตามสิทธิได้ถูกต้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงทุน ลองดูบทความเรื่อง “มะรุมมะตุ้มลงทุนลดหย่อนภาษี” คอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/639257
มะรุมมะตุ้มลงทุนลดหย่อนภาษี คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...รศ.ดร. ปริยดา สุขเจริญสิน ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนนบริหารศาสตร....

ส่งท้ายวันออมแห่งชาติ 2563/ ทำไมกระปุกต้องเป็นรูปหมู?
หาคำตอบได้ที่นี่
http://investory.set.or.th/news/details/e21493a2-e07d-4087-8f0d-b411d2d5229b?utm_source=facebook&utm_medium=facebook&utm_campaign=facebook&utm_term=facebook&utm_content=facebook&fbclid=iwar0x1-qlvoxqsiaktvafarfbwa2whrwacmoktvc9homvglc7evua8ybap0i

ว่าด้วยการออม EP7 “เงิน การออมและความสุข”
จริงหรือไม่ที่มีเงินมาก ใช้เงินมาก แล้วจะมีความสุขมาก?
วันนี้เป็นวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เป็นวันออมแห่งชาติ ช่วงนี้เลยพูดถึงเรื่องการออมเยอะหน่อยนะครับ ผมจึงอยากจะพูดถึงการออม ว่าเราออมไปเพื่ออะไร? จากที่ได้กล่าวไปใน ว่าด้วยการออม EP ก่อนๆ แล้วว่า การออมเป็นหนทางไปสู่เป้าหมายต่างๆ เช่น การศึกษา ไปเที่ยว หรือการเกษียณ ซึ่งแต่ละเป้าหมายเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้เรามี “ความสุข” ดังนั้น เงินและความสุข ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ผมจึงอยากเล่าให้ฟังถึงทฤษฎีหนึ่งที่เรียกว่า Fulfillment Curve ให้แฟนเพจได้ฟังเนื่องในวันแห่งการออมโลกในวันนี้
ทฤษฏีได้กล่าวไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เงินและความสุขนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีเงินมากก็ใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการและมีความสุขเพิ่มขึ้นจนถึงจุดจุดหนึ่งที่เรียกว่า “ความพอ” หรือ “enough” เมื่อเรามีความรู้สึกต่อการมีเงินมากขึ้นหรือการได้ใช้จ่ายเงินมากขึ้นกลับไม่ได้ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด โดยทฤษฏีได้แบ่งเป็น 4 ช่วงด้วยกัน คือ
1. ช่วง Survival
มีค่าใช้จ่ายระดับพื้นฐานบางอย่างที่เรียกว่า Survival เป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตให้อยู่รอด ตาม Fulfillment Curve การใช้จ่ายก้อนแรกของเราทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการใช้ชีวิต ดังนั้น การใช้จ่ายเงินจึงทำให้ Fulfillment Curve ของเราเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ความสุขเพิ่มมากขึ้นในช่วงแรก
2. ช่วง Comforts
การใช้จ่ายก้อนต่อไปทำให้ชีวิตเราดีขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้น แต่ไม่ได้จำเป็น ในช่วงนี้ของ Fulfillment Curve ระดับความสุขก็เพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าในช่วงแรก
3. ช่วง Luxuries
เมื่อเข้าสู่ระดับ Luxuries การใช้จ่ายเงินเพื่อความหรูหรา ไม่ใช่สิ่งจำเป็นหรือทำให้ชีวิตสะดวกสบายแต่เป็นการใช้จ่ายเพื่อทำให้มีความแตกต่าง มีคุณค่ามากกว่าคนอื่น ซึ่งเกินความจำเป็น แต่ก็มีความสุขมากขึ้นเช่นกัน
4. ช่วง Suboptimal หรือ Extravagances
เมื่อคุณมีความหรูหราในชีวิตถึงจุดหนึ่งแล้ว Fulfillment Curve ระบุว่า ความหรูหรามากเกินไปเริ่มจะเป็นภาระ การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจะทำให้ความสุขของคุณลดลงอย่างแท้จริง
สรุปว่าแนวคิดหลักของ Fulfillment Curve คือ เงินและการใช้จ่ายเงิน จะทำให้เรามีความสุขในช่วงแรก แต่การมีเงินและใช้จ่ายเงินมากเกินไป ก็ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คนเราไม่จำเป็นต้องมีเงินมากมาย เพื่อใช้เงินให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อความสุขจนเกินจำเป็น แต่ต้องมีให้ “เพียงพอ” ชีวิตก็จะสมดุลและมีความสุข

ว่าด้วยเรื่องการออม EP6 การออมต่างจากการลงทุนยังไง?
การออม คือ การเก็บสะสมเงินไว้ใช้ในยามที่เราต้องการ หรือเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน การออมอาจเริ่มต้นจากการเก็บเงินจำนวนเล็กน้อย เช่น การนำเหรียญที่ได้จากการรับทอนเงินหรือเหลือใช้จ่ายมาหยอดกระปุกออมสิน การเก็บก่อนใช้ แต่ส่วนใหญ่ เรามักจะใช้คำว่าการออมกับการฝากเงินในธนาคาร ผ่านบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำของธนาคาร เนื่องจากมีความสะดวกสบายในการฝากและถอนเงิน รวมทั้งยังมีความปลอดภัยในระดับที่สูงอีกด้วย
การลงทุน คือ การนำเงินออมที่มีอยู่มาใช้เป็นทุนในการต่อยอดทำให้เงินนั้นงอกเงยมากขึ้นโดยการสร้างผลกำไร ซึ่งหากการลงทุนประสบความสำเร็จก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของกำไรที่สูงขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม หากการลงทุนนั้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ผู้ลงทุนก็ต้องยอมรับผลขาดทุน หรืออาจสูญเสียเงินต้นไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โอกาสที่สามารถเป็นไปได้ทั้งกำไรและขาดทุนนี้ ก็คือ “ความเสี่ยง” นั่นเอง
การออมและการลงทุนตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินเก็บสะสมเงิน เพื่อใช้ในอนาคตเมื่อต้องการเหมือนกัน นิยามทั้งสองจึงไม่เป็นอิสระต่อกัน แปลว่า บางครั้งอาจแยกการลงทุนออกจากการออมได้ยาก จนหลายคนอาจใช้เหมือนๆ กันได้ แต่การออมจะเน้นที่เก็บไว้ในอนาคต “เมื่อต้องการ”
ความแตกต่างของการออมและการลงทุนที่สำคัญก็คือ เป้าหมาย ที่การออมมุ่งเน้นไปที่การมีเงินไว้เพื่อใช้ในอนาคต แต่อาจไม่ได้มุ่งเน้นที่ความมั่งคั่งหรือหวังในการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นเหมือนกับการลงทุน ดังนั้น การลงทุนจึงมักจะต้องคิดมากกว่าในการเลือก (trade-off) ระดับความเสี่ยงที่ต้องแลกกับผลตอบแทนตามมาด้วยนั่นเอง
หากสนใจรายละเอียด ค้นหาต่อได้ในลิ้งนี้เลยครับhttps://www.bankrate.com/investing/saving-vs-investing/

ว่าด้วยเรื่องการออม EP5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการออม
หลายคนคงมีคำถามว่าเราจะออมกันไปทำไม ?
ใน EP ก่อนหน้านี้ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ต่างๆในชีวิตกันไปแล้วว่าการออมเป็นเครื่องมือในการไปให้ถึงเป้าหมายต่างๆในชีวิตที่คนเราต้องการ ดังนั้น ผลสำเร็จของการออมอาจวัดได้จากโอกาสในการประสบความสำเร็จในแต่ละเป้าหมายที่เราวางแผนเอาไว้ในชีวิต
ในกรณีที่ไม่ได้มีการวางแผนเอาไว้ในชีวิต สำเร็จของการอออมอาจวัดได้ในรูปแบบของยอดเงินเก็บออมที่มีความพอเพียงและมีภูมิต้านทานที่ดีพอสำหรับการใช้ชีวิต ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า
คำถาม ที่น่าสนใจกว่าก็คือแล้วทำอย่างไรเราจึงจะประสบความสำเร็จในการออมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายต่างๆ?
คำตอบก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 กลุ่มคือที่เป็นความรู้กับที่เป็นพฤติกรรม 
ปัจจัยที่เป็นความรู้ มักจะเกี่ยวกับตัวเลข คือ
1. เงินตั้งต้นในการออม
2. จำนวนเงินที่ออมในแต่ละงวด
3. ระยะเวลาที่เก็บออม
4. อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากออมหรือลงทุน
ปัจจัยที่เป็นพฤติกรรม คือ
1. ความอดทน
2. ความประหยัดมัธยัสถ์
3. ความรู้จักพอเพียง
ในบรรดาปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมด ผมคิดว่าตัวที่สำคัญที่สุดก็คือ ระยะเวลาและความอดทน
ดังนั้น การที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องการเงินในอนาคต จึงจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทั้งสองนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “นักรบแห่งการออม” ก็ว่าได้
ว่าด้วยเรื่องการออม EP4 การออมเพื่อความมั่งคั่ง
ผมได้เล่าให้ฟังในครั้งก่อนๆ ใน EP1 และการออมเพื่อความมั่นคง จาก EP2 ที่เป็นการมองในภาพรวมซึ่งเป้าหมายต่างๆ และ EP3 เป็นการเปลี่ยนเป้าหมายในชีวิตที่อยากได้ อยากมีในชีวิต ทั้งเป้าหมายระยะสั้นและเป้าหมายระยะยาวให้เป็นเป้าหมายทางการเงินแล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องออมเพื่อความมั่งคั่ง
เนื่องจากเงินออมเพื่อความมั่งคั่งเป็นการออมเงินเหลือจากการออมเผื่อฉุกเฉินและการออมเพื่อความมั่นคงในชีวิตตามเป้าหมายต่างๆแล้ว การออมเพื่อความมั่งคั่ง จึงเป็นการออมเพื่อแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินธรรมดาแต่อาจต้องแลกด้วยการยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
คำถามคือแล้วถ้าไม่ออมเพื่อความมั่งคั่งต่อจะเป็นอะไรไหม คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ออม หากไม่ต้องการเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นเพื่อแลกกับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น มีความพึงพอใจกับดอกเบี้ยเงินฝากและไม่ได้ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งให้กับตนเองและครอบครัว ก็สามารถออมเงินในผลิตภัณฑ์เงินฝากธรรมดาได้ครับ
แต่ฝากเงินอย่างเดียวก็อาจจะทำให้ผู้ออกติด “กับดักการออม” ในการฝากเงินหรือออมเงินไปเรื่อยๆ ซึ่งนับเป็นการขาดประสิทธิภาพในการบริหารเงินส่วนเกินนี้ได้ เพราะเมื่อได้เผื่อเงินเอาไว้สำรองฉุกเฉินและเพื่อความมั่นคงสำหรับเป้าหมายต่างๆในชีวิตแล้ว ผู้ออมก็มีความสามารถที่จะเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากหากเกิดอะไรผิดพลาดขึ้นยังมีเงินสองก้อนแรกซึ่งจะไม่ทำให้ผู้ออมสูญเสียความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงของตนเองและครอบครัวไปแต่อย่างใด
การแสวงหาประโยชน์ส่วนเพิ่มจากเงินก้อนนี้ จึงนับเป็นการบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ โดยสามารถนำไปลงในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่คาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้นเช่นกันได้ เช่น หุ้นกู้ หรือหุ้นสามัญ จะลงทุนเองหรือผ่านกองทุนรวมก็ได้
อย่างไรก็ตาม บางคนเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงมากขึ้นกว่าเงินฝาก จะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นเสมอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทนะครับ

ช่วงนี้ ตลาดหุ้นตก ทำไงดี?
คำถามนี้ ดูจะเป็นคำถามยอดฮิตในช่วงนี้ ถ้าจะให้ตอบ คงยากที่จะตอบ เพราะ จะทำอะไร ยังไง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีความแตกต่างของนักลงทุนแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น style การลงทุน สถานะของพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน เงินสดในมือ หรือเป้าหมายทางการเงิน เป็นต้น
แต่ในภาพรวมและหากไปมองไกลๆ ในอนาคตแล้ว ประวัติศาสตร์สอนให้รู้ว่า ทุกครั้งที่มีวิกฤติ ย่อมมีโอกาสเสมอ และผู้ชนะในเกมการลงทุนระยะยาว ก็คือ นักลงทุนที่ลงทุนตามลักษณะดังนี้
1. อดทน ลงทุนในระยะยาว
2. ลงทุนในจังหวะที่ได้ของถูก
3. ลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง
4. ลงทุนในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีหรือหุ้นพื้นฐานดีที่เติบโต ไม่ใช่หุ้นเน่าหรือหุ้นปั่น และ
5. มักจะเป็นการลงทุนแบบตั้งรับ (passive investment)
ปล. ถ้าใครยังไม่แน่ใจ ยัง กล้าๆ กลัวๆ ก็อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ก็ได้นะ ยังผันผวนในช่วงสั้นๆ อีกช่วงนึงเลย

เรื่องต้องรู้ในการวางแผนลดหย่อนภาษีเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
เข้าสู่ช่วงปลายปีแล้ว ได้วางแผนจัดการเรื่องลดหย่อนภาษีกันหรือยัง?
ศึกษารายละเอียดค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ในบทความโพสต์ทูเดย์ คอลัมน์ทันเศรษฐกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ปริยดา สุขเจริญสิน คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
"เรื่องต้องรู้ในการวางแผนลดหย่อนภาษีเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย"
ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน น้ำท่วมก็บ่อย และรถก็ติดมาก จนทำให้เกือบลืมไปว่า ตอนนี้ก็เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะต้องจัดการวางแผนภาษีกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งบางคนที่มีการวางแผนภาษีที่ดีจะเริ่มไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่ก็ยังมีคนส่วนมากที่ยังไม่เริ่มเลย จึงทำให้แคมเปญลดหย่อนภาษีนาทีสุดท้ายขายดิบขายดีกันทุกสิ้นปี ซึ่งตามหลักการแล้ว ในเรื่องของการวางแผนภาษีเป็นเรื่องที่ควรจะทำตั้งแต่ต้นปี เพราะในเรื่องของการลงทุนบางอย่างอาจต้องอาศัยจังหวะในการที่จะเข้าลงทุนหรือทยอยการลงทุน จะได้ไม่เข้าข่ายโดนบังคับลงทุนกันในราคาที่เลือกไม่ได้เพราะเวลาหมด หรือจะได้ไม่ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในช่วงเวลาเดียว เพราะอาจทยอยซื้อมาเรื่อย ๆ ได้
สำหรับการวางแผนในการลดหย่อนภาษีนั้น ต้องคอยติดตามประกาศและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรการทางภาษีกันอย่างใกล้ชิด เพราะมีการออกมาตรการใหม่ ๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อยู่ตลอด จึงทำให้ต้องรับทราบข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนแผนระหว่างปีได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีมาตรการที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2563 นี้ก็เป็นปีที่มีกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีชนิดใหม่เกิดขึ้น นั่นก็คือ กองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund หรือ SSF) ซึ่งหลายคนยังสับสนกับกองทุนเพื่อการออมพิเศษ (Super Savings Fund Extra Class หรือ SSF Extra หรือ SSFX) ที่ออกมาพร้อม ๆ กัน แต่มีวัตถุประสงค์พิเศษเพื่อกระตุ้นยอดการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งด้วยระยะเวลาที่จำกัดแค่เฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 ก็จะมีแค่บางคนที่ได้ทำการซื้อกองทุน SSFX นั้นไว้ ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ว่าเงินที่ลงทุนในกองทุน SSFX ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท นั้นเป็นส่วนเพิ่มเติม ไม่มารวมกับยอดเงินลงทุนในกองทุน SSF นั่นคือ ยังสามารถซื้อกองทุน SSF เพิ่มเติมได้อีก ซึ่งปีนี้มีการปรับเป็นร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยยอดซื้อกองทุน SSF จะต้องไปคำนวณรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) ประกันบำนาญ และอื่น ๆ อีก ประเด็นนี้ก็ต้องรู้ เพราะว่าถ้าซื้อเกิน จะกระทบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ
นอกจากนี้ก็ต้องรู้ด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน SSF หรือ SSFX ต่างต้องมีการถือครองเป็นระยะเวลาลงทุนอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันซื้อ ถ้าไม่รู้แล้วคิดว่า 5 ปีหรือ 7 ปีปฏิทิน แล้วขายได้แบบกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-Term Equity Fund หรือ LTF) ที่เคยซื้อในสมัยก่อน ก็พลาดพลั้งโดนคิดบัญชีย้อนหลังอีก นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาให้ดีว่า มีกำลังซื้อเพียงพอหรือไม่? จะไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้เป็นเวลา 10 ปีหรือไม่? ยังคงมีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือไม่? กองทุนที่มีนโยบายแบบไหนที่จะเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของเรา และจะซื้อกองทุนของ บลจ. ไหนดี? เรียกได้ว่าต้องคิดเยอะก่อนจะตัดสินใจลงทุน มากกว่าแค่คิดถึงค่าลดหย่อนภาษีที่จะได้รับ
ในส่วนของกองทุน RMF นั้นก็ยังคงมีอยู่ เงื่อนไขหลัก ๆ ในการลงทุนต่อเนื่อง ถือครองและขายคืนยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการสนับสนุนการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ก็คือ เพื่อให้เรามีเงินออมเก็บไว้ใช้ยามเกษียณนั่นเอง ดังนั้น หากกองทุนภาคบังคับที่เรามีอยู่ไม่เพียงพอก็สามารถที่จะพิจารณากองทุนนี้เพิ่มเติมได้ แต่ก็มีส่วนของกฎเกณฑ์บางอย่างที่ต้องรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการเพิ่มอัตราในการซื้อหน่วยลงทุนเพื่อหักค่าลดหย่อนในปีนี้เป็นร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ยังคงถูกคุมยอดรวมกับค่าลดหย่อนอื่น ๆ ไม่เกิน 500,000 บาทเหมือนเดิม นอกจากนี้ ก็มีเรื่องเงื่อนไขการลงทุนขั้นต่ำที่เปลี่ยนเป็นไม่มีการกำหนดแล้ว ซึ่งการลงทุนในกองทุน RMF นี้นอกเหนือจากที่จะได้ประโยชน์ทางตรงคือ เรื่องการออมเพื่อการเกษียณแล้ว ก็ยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย หรือถ้าใครจะคิดว่าการลดหย่อนภาษีเป็นประโยชน์ทางตรงและการมีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณเป็นทางอ้อมก็ได้ เอาที่สบายใจ
ในส่วนของประกันก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เลยทำให้ภาครัฐส่งเสริมให้วางแผนดูแลสุขภาพและมีประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสวัสดิการขั้นพื้นฐาน จึงเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษีในส่วนของค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท ซึ่งเราก็ต้องรู้ว่า สำหรับคนที่มีเบี้ยประกันชีวิตในส่วนแรก 100,000 บาทเต็มอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ได้ประโยชน์อะไรในแง่ของการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม แต่ก็ทำให้เห็นว่าในเรื่องของการประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน และจากการที่เรามีอายุยืนยาวขึ้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีเงินสำหรับการรักษาสุขภาพในยามชรา โดยที่การทำประกันสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ เพราะหากเกิดป่วยเป็นโรคใดมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด ประกันสุขภาพก็อาจจะไม่คุ้มครอง ดังนั้นแม้ว่าเบี้ยประกันสุขภาพนั้นอาจเปรียบเสมือนเบี้ยทิ้งช่วงที่เรายังแข็งแรง ซึ่งเราน่าจะอยากทิ้ง มากกว่าอยากใช้ แต่ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เราก็ไม่อาจรู้ได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรามีความจำเป็นต้องใช้ ก็จะได้มีประกันบางส่วนช่วยคุ้มครอง ไม่ต้องกังวลมากได้
ในอีกประเด็นที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของปีนี้ ที่ทำให้เราต้องคำนวณภาษีในส่วนของค่าลดหย่อนใหม่คือในเรื่องการออกประกาศของกระทรวงแรงงานที่ลดหย่อนการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ที่ทุก ๆ ปีเราก็จะท่องว่า เราโดนหักเงินสมทบประกันสังคมเดือนละ 750 บาท ก็คือปีละ 9,000 บาท (กรณีมีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป) แต่สำหรับปีนี้ ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากมาตรการเยียวยาโควิดที่ทำให้เราได้ลดยอดเงินสมทบที่หักส่งประกันสังคมในส่วนของลูกจ้างหรือผู้ประกันตนลงจากปกติ 5 % เหลือ 1 % ในช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม แล้วกลับมาเป็น 5 % ใหม่อยู่ 3 เดือน หลังจากนั้นในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนก็ลดลงไปเป็น 2 % แล้วก็จะกลับมาเป็น 5 % อีกในเดือนธันวาคม ดังนั้นสำหรับปี 2563 เงินสมทบประกันสังคมที่เราสามารถนำไปลดภาษีที่สูงที่สุดสำหรับคนที่เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปตลอดปีก็คือ 5,850 บาท ส่วนปีหน้าก็รอติดตามกันต่อไป เพราะในปีนี้แม้จะหักยอดเงินสมทบลงแต่สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนได้รับยังคงเหมือนเดิม
ค่าลดหย่อนพิเศษอื่น ๆ ที่มักจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ก็เป็นอีกกลุ่มที่จะมีออกใหม่ ยกเลิก ปรับเปลี่ยน ข้ามปีบ้าง ไม่ข้ามบ้าง หรือบางครั้งมีลดหย่อนซ้อนลดหย่อนในบางหมวด จึงต้องศึกษารายละเอียดให้ดี ทั้งเงื่อนไขและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลดหย่อน อย่างช่วงปลายปีทุกปี เราก็จะลุ้นกับมาตรการกระตุ้นการบริโภค อย่างที่ผ่านมา ช้อปช่วยชาติ กินเที่ยวช้อป สำหรับปีนี้ก็มีข่าวแว่วมาแล้วว่าจะมีโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งเน้นช้อป เพราะเรื่องกินเที่ยวนั้นมีโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่ภาครัฐให้สิทธิในแง่ของส่วนลดกับประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการแล้ว และน่าจะมีการขยายระยะเวลาถึงมกราคมปีหน้า ดังนั้นโครงการช้อปดีมีคืนจะเน้นการกระตุ้นการบริโภคในสินค้าต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยมาตรการภาษีนี้จะทำให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้ามาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท คาดว่าจะเริ่ม 23 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องรู้อีกว่ามีสินค้าหมวดหมู่ไหนบ้างที่จะเข้าข่ายช้อปดีมีคืนนี้ อย่าลืมศึกษารายละเอียดกันให้ดี จะได้ช้อปดีมีคืนจริง ๆ
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า การวางแผนภาษีที่ดีและจะได้ประโยชน์เต็มที่นั้นควรดำเนินการเริ่มวางแผนตั้งแต่ต้นปี แม้ตอนนี้จะสายไปสำหรับปีนี้แล้ว แต่ถ้าเริ่มตอนนี้ ปีหน้าคงได้เริ่มต้นกันตั้งแต่ต้นปี แต่ถ้าเห็นว่า ตอนนี้จะสิ้นปีแล้ว รอปีหน้าค่อยเริ่มแล้วกัน อาจจะไม่ได้เริ่มอีก และขอฝากอีกประเด็นที่สำคัญคือ แม้จะมีการวางแผนที่ดีและลงมือปฏิบัติตามแผนแล้ว เรายังต้องคอยติดตาม Update ข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีก็เช่นกัน ขอให้ทุกคนดูแลรักษาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางการเงินกันให้ดี
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/635337
เรื่องต้องรู้ในการวางแผนลดหย่อนภาษีเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...รศ.ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) www....

วันนี้อ่านพาดหัวข่าวแล้วสะดุ้ง!
ช่วงนี้ บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ค่อยๆ ทยอยจัดกลยุทธ์ทางการเงินออกมาเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรในช่วงเงินตึงจากสถานการณ์เศรษฐกิจ TRUE ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ต้องใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อสร้างมูลค่าให้กับกิจการ
เป็นธรรมดาของธุรกิจที่ต้องมีการเตรียมเงินไว้เพื่อลงทุนในการขยายธุรกิจเพื่อให้บริการได้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะได้มาจากการกู้/ออกหุ้นกู้ แต่กู้มากไป หรือออกหุ้นกู้สำรองไว้ล่วงหน้านานเกินไป ก็จะมีภาระดอกเบี้ยเกิดขึ้นและอาจทำให้สะเทือนถึงกำไรสุทธิได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้น TRUE เลย ดังนั้น ทางเลือกที่ผู้ถือหุ้นจะได้ประโยชน์มากกว่าคือการขายหน่วยลงทุน DIF ที่ TRUE ถืออยู่ เพราะนอกจากจะได้กำไรจากการขายหน่วยออกไปแล้ว ยังไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วย และไม่เป็นภาระผูกพันทำให้มีช่องว่างในการกู้ในอนาคตอีกด้วย นับเป็นกลยุทธ์ทางการเงินที่เป็นผลดีกับผู้ถือหุ้น ดูจะสอดคล้องกับหลักการสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น
แต่เดี๋ยวก่อน! DIF เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ TRUE ใช้เป็นแหล่งเงินทุนในอดีต และยังถือหน่วยอยู่มากพอสมควร การที่ราคา DIF ลงมาตั้งแต่แถวใกล้ๆ 15 บาท มาจนถึงวันนี้ที่ ราคา 13 บาทกว่าๆ และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตกนั้น ที่แท้ก็เกิดมาจากการปรับการถือหน่วยตามกลยุทธ์ทางการเงินของ TRUE นี่เอง ประเด็นนี้ ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีกับอนาคตที่หากจะต้องขายสินทรัพย์ในรูปกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกในอนาคต จะมีคนกลัวหรือไม่มั่นใจหรือไม่ เพราะเจ็บตัวกับเหตุการณ์ในครั้งนี้โดยไม่รู้ล่วงหน้า อย่าลืมว่า นักลงทุนรายย่อยที่ถือ DIF เค้าอาจไม่ได้ถือหุ้น TRUE ด้วย จึงไม่ได้ประโยชน์จากการปรับการถือครองหน่วยในครั้งนี้ แต่ต้องมองดูราคาล่วงลงด้วยตาปริบๆ ถึงแม้จะไม่กระทบกับปันผลแต่ capital gain ที่หวังไว้ นอกจากจะไม่ได้แล้ว ยังทำให้นักลงทุนรายย่อยไม่สามารถขายเพื่อปรับพอร์ตการลงทุนส่วนตัวได้เลย เพราะหากขายออกตอนนี้ก็คงขาดทุน
ผู้ถือหน่วยเหล่านี้ก็เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยเช่นกัน การตัดสินใจปรับการถือครองหน่วยในครั้งนี้ จึงต้องดำเนินการให้ดี ไม่งั้นอาจกระทบความสามารถในการระดมทุนในอนาคตได้ และเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารการลงทุนว่ามีความจำเป็นในการสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ให้ครบและรอบด้านด้วย เพราะตั้งแต่เริ่มมหกรรมการขายมา นักลงทุนรายย่อยก็ไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย เห็นอีกที ก็เป็นพาดหัวใหญ่แล้ว คือข่าวที่แท้ทรูหรือเปล่านะ?
Cr. ภาพ นสพ. ข่าวหุ้น