ดีพอต D-Pot ปอดดี ลดหอบ ลดเสมหะ ลดอักเสบ สบายปอด
เพื่อสุขภาพปอดที่ดี ปอดแข็งแรง หาย?
ไม่สูบ แค่สูดควันหรืออยู่ใกล้…ก็เสี่ยง!
กว่า 90 % ของผู้ป่วยโรคปอดโดยเฉพาะมะเร็งปอดในปัจจุบันล้วนมีสาเหตุสำคัญมาจากการสูบบุหรี่ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือกว่าร้อยละ 30 ของคนที่เป็นมะเร็งปอดคือคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิด และผู้ที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะทั่วไป เพราะในบุหรี่ 1 มวนมีสารพิษกว่า 60 ชนิดที่เป็นอันตรายกับร่างกาย และสารพิษเหล่านั้นยังสามารถตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่เคยมีคนสูบบุหรี่ได้นานถึง 6 เดือน ไม่จะไม่มีควันแล้วก็ตาม ดังนั้นแม้จะไม่สูบหรี่ก็มีโอกาสเสี่ยงโรคถุงลมปอดโป่งพอง รวมถึงเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบตลอดชีวิต เพราะร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อปอดที่ถูกทำลายจากบุหรี่ได้
ไม่แสดงอาการฉับพลัน...แต่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจ การสูดฝุ่นละอองที่เป็นพิษอาจจะแสดงผลในทันที แต่สำหรับบางคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง การสูดฝุ่นละอองอาจไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันทันที แต่จะไปสมสะอยู่ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคทางสมอง และโรคมะเร็งได้ในระยะยาว
ผิดปกติแบบนี้ พบแพทย์ทันที ก่อน “ปอด” พัง
โดยธรรมชาติแล้วปอดมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ทุกคนจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ไอรักษาไม่หาย หอบเหนื่อย แน่นเจ็บชายโครง เจ็บหน้าอก หายใจแล้วเจ็บ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ปอดของเราอาจถูกโรคร้ายทำลาย จนไม่อาจฟื้นฟูกลับมาได้ดังเดิม “หมั่นตรวจสุขภาพปอดประจำปี ไม่ต้องมีอาการก็ตรวจได้”
No other gift in the world will be more special than the gift of mother.
I am really too glad to have you. Love you lots mom. Wish you a happy Mother’s Day.
ไม่มีของขวัญใดในโลกที่จะพิเศษมากไปกว่าของขวัญจากแม่
ลูกดีใจเหลือเกินที่มีแม่ รักแม่ที่สุด สุขสันต์วันแม่
28 กรกฎาคม 2563
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
#ทรงพระเจริญ
ช่วงนี้ทั้งปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 เรื่องสถานการณ์โรคระบาดสร้างความกังวลให้กับประชาชน เกี่ยวกับ “ปอดอักเสบ” นั้น การไม่ตื่นตระหนกและรับฟังข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือแพทย์ที่มีประสบการณ์ ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และโรคที่เกิดขึ้นได้ เพื่อเป็นการระมัดระวังและป้องกัน ทั้งนี้โรคปอดอักเสบ ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนทำงานได้ไม่ดี ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจอึดอัด หายใจลำบาก มีระดับความรุนแรงตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต
อาการที่ควรสังเกตคือ ไอ มีเสมหะ มีไข้สูง อาจตัวร้อนตลอดเวลา หนาวสั่นมาก หายใจลำบาก หายใจหอบเร็ว อาจเจ็บแปลบหน้าอกเวลาหายใจเข้า อาจไอแรงร้าวไปที่หัวไหล่หรือสีข้าง แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยจะใช้เครื่องตรวจฟังเสียงปอด หลังจากนั้นหากต้องทำการตรวจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจเสมหะ RP33 (Respiratory Pathogen Panel 33) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม โรค หรือไม่ใช่โรค
อาการเหนื่อยง่าย หอบ จุกเสียดหน้าอก บ่อยๆ อาจจะเป็นเรื่องปกติของหลายๆ จะมากน้อยก็แล้วแต่บุคคล ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายหรืออาการป่วยที่เป็นอันตราย อาจจะบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ จนสามารถกลับมาหายใจได้ตามปกติด้วยวิธีต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย ฝึกเทคนิคการหายใจ หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ
สาเหตุการเกิดอาการ
- ภาวะเลือดเป็นกรด ,ช็อก ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นเบาหวาน (แต่ขาดการรักษา) ตกเลือดรุนแรง ท้องเดิน หรืออาเจียนรุนแรง
- โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยมักมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกแรงทำงานหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
- โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดจุกบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่ และ ร้าวขึ้นคอ ขากรรไกร หรือต้นแขน มักพบในผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง คนอ้วน สูบบุหรี่จัด
- สำลักสิ่งแปลกปลอม อาหาร หรือเผลอกลืนเมล็ดผลไม้
อาการเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย
- ชอบถอนหายใจถี่ๆ อาจเป็นเพราะติดการถอนหายใจจากการผ่อนคลายความเครียด หรือ เกิดจากจิตใต้สำนึกจากการทำบ่อยๆ ผู้ป่วยชนิดนี่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ จากการได้รับยาคลาย
- เครียดอ่อนๆ โดยเฉพาะเวลานอน หรือ บางรายอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)
- กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับ (Gastroesophageal Reflux) และ ท้องอืด
ปอดติดเชื้อ อันตรายถึงตาย ถ้าไม่ป้องกันให้ถูกต้อง
อวัยวะปอดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเกิดโรคร้ายได้อย่างโรคปอดติดเชื้อ ซึ่งมีความรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้ วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคปอดติดเชื้อ และการดูแลรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้มาฝากเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน
โรคปอดติดเชื้อหรือที่เรียกว่าโรคปอดบวม เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย และทำให้เกิดอาการติดเชื้อที่ปอด โดยแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้นั้นเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “Streptococcus pneumoniae” (สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี) เมื่อเกิดการติดเชื้อคนไข้จะมีอาการไข้ ไอ หายใจหอบ หรือบางครั้งคนไข้ที่เข้าไปพบแพทย์ด้วยโรคปอดติดเชื้ออาจมีอาการของหัวใจล้มเหลวด้วย การติดเชื้อในปอดมีความรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันรักษาโรคปอดที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ห่างไกลจากโรคปอดติดเชื้อก็คือ “การฉีดวัคซีน” โดยการป้องกันโรคปอดติดเชื้อจากเชื้อไวรัส คนไข้จะต้องได้รับวัคซีนที่ป้องกันไวรัสชนิดที่ชื่อว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคปอดติดเชื้อจากแบคทีเรีย คนไข้จะต้องได้รับวัคซีนที่ป้องกันแบคทีเรียชนิดที่ชื่อว่า Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดมากที่สุด สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดติดเชื้อคือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ จึงต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ
สารสกัด 7. สารสกัดจากบร็อคโคลี่ ช่วยขจัดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อปอดได้อย่างดี
สารสกัด 6. สารสกัดจากเมล็ดลินิน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
สารสกัด 5. สารสกัดจากโสมราชาสมุนไพร ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับสภาวะ และฟื้นฟูให้ร่างกาย
สารสกัด 4.สารสกัดจากแครอท ช่วยป้องกันระบบทางเดินหายใจ
สารสกัด 3.สารสกัดจากแอ๊ปเปิ้ล ช่วยลดหอบหืด เปิดระบบทางเดินหายใจ
สารสกัด 2. สารสกัดจากขิง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ หายใจโล่ง ป้องกันอักเสบ ลดติดเชื้อ
สารสกัด 1. สารสกัดจากกระเทียม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เสริมภูมิต้านทาน ป้องกันเชื้อรา และไวรัสที่ปอด
🙏 เพราะปอดเรา...นั้นสำคัญ มาช่วยกันดูแลปอด ให้ปลอดจากฝุ่นพิษ ไวรัส และมลภาวะรอบตัว
D-POT (ดี-พอต) ผลิตภัณฑ์บำรุงปอด ✔️ ช่วยในการรักษาและป้องกันโรคหวัดต่างๆ
✔️ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
✔️ ช่วยลดอาการที่เป็นผลมาจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
✔️ ช่วยควบคุมการทำงานของอินซูลินในร่างกายได้ดีขึ้น
✔️ ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับโรคต่างๆได้ดีขึ้น
✔️ ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรงยิ่งขึ้น
✔️ ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด
✔️ ช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้อที่ผิดปกติ
✔️ มีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลชีพ รวมถึงแบคทีเรียและเชื้อรา
✔️ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด
✔️ ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด และ ลดการทำลายเซลล์จากการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในเซลล์
D-POT.. ดีต่อ..ปอด.!
หากมีอาการเหล่านี้ ทานกันเถอะ ฟื้นฟูและเพิ่มภูมิ
🔅 มีอาการ ไอเรื้อรัง
🔅 มีปัญหาเรื่อง การหายใจ
🔅 เป็นหอบ เหนื่อยง่าย
🔅 สูบบุหรี่ หรือกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดคนสูบบุหรี่
#ดีต่อปอด หายใจโล่งสดชื่น ขับเสมหะ ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ล้างสารพิษในปอด
ฝุ่น ควันทำลายปอด
แค่ฝุ่นจางๆและควัน ก็ทำให้เสี่ยง “โรคปอด” ได้นะ
มลภาวะทางอากาศหลายอย่างเป็นสิ่งที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา คนส่วนใหญ่จึงละเลยที่จะปกป้องตัวเองจากอันตรายเหล่านี้ จนกระทั่งเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและปอด หรืออาจเพราะมลภาวะทางอากาศหลายชนิดไม่มีกลิ่น จึงทำให้เราไม่ทันระวังและรับสารพิษเหล่านี้เข้าไปกับลมหายใจโดยไม่รู้ตัว
ไม่ใช่แค่ PM 2.5 ที่อันตรายกับทางเดินหายใจ
แม้ว่าร่างกายจะออกแบบมาให้จมูกคอยทำหน้าที่เป็นตัวกรองและดักจับเชื้อโรคที่ปะปนในอากาศที่เราหายใจ แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ก็ยังสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ถึงหลอดลมฝอยขนาดเล็ก และยิ่งหากมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร ก็จะสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด แต่ก็ไม่ใช่แค่ PM 2.5 เท่านั้นที่เราต้องระวัง เพราะในอากาศยังมีมลภาวะอื่นๆ ที่อันตรายไม่แพ้กัน อาทิ
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง เมื่อหายใจเข้าไปจะสามารถสะสมในระบบทางเดินหายใจ เป็น อันตรายต่อสุขภาพ
- ก๊าซโอโซน (O3) ที่ทำให้ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง ก๊าซชนิดนี้จะเข้าไปจับกับเม็ดเลือด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น
- ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) มีผลต่อระบบการมองเห็นและกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้
บุหรี่..ทำลายปอด..
ทุกวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลก กำหนดให้เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ โดยในปี 2562 คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก คือ “บุหรี่เผาปอด”
“ปอด” เป็นด่านแรกที่ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มากที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆ โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ครึ่งหนึ่งเกิดจากโรคปอด คนไทยที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่พบเป็นมะเร็งปอด หรือถุงลมโป่งพอง หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพทั้งผู้สูบและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดควันบุหรี่เข้าไปเพราะควันบุหรี่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิ
"ทาร์" ตัวการทำลายปอด เมื่อสูบบุหรี่สารทาร์ในบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด และรวมตัวกับฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคือง อันเป็นสาเหตุของการไอก่อให้เกิดมะเร็งปอดและโรคถุงลมโป่งพอง
"ไนโตรเจนไดออกไซด์" สาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง โดยจะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม
นอกจากนี้นิโคตินและสารพิษชนิดอื่นๆในควันบุหรี่ยังทำให้เกิดเป็นวัณโรคปอดและโรคร้ายแรงอีกหลายโรค อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และโรคมะเร็งอีกหลายชนิดด้วย
ทั้งนี้ วิธีการป้องกัน “ปอด” ให้มีสุขภาพดี คือ การเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่เข้าไป
ปอดเป็นอวัยวะของระบบหายใจ อยู่ภายในทรวงอกทั้ง 2 ข้าง ปอดข้างขวามีขนาดใหญ่กว่าทางซ้ายเล็กน้อย ข้างขวาแบ่งออกเป็น 3 พู (lobes) ส่วนล่างซ้ายมี 2 พู
⇒ รูปร่างลักษณะของปอด
ปอด มีรูปร่างลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปคล้ายกับต้นไม้หรือพุ่มไม้ เอาลำต้นขึ้นและเอาพุ่มหรือยอดลง มีเยื่อหุ้มปอดบาง ๆ คล้ายเอาถุงพลาสติกมาหุ้มหรือคลุมไว้อีกทอดหนึ่ง หลอดลมใหญ่(trachea) ที่เป็นทางผ่านของอากาศเข้าสู่ปอดเทียบได้กับลำต้นของต้นไม้จากหลอดลมใหญ่นี้ จะแยกเป็น 2 กิ่ง ขวาซ้าย เรียกว่า หลอดลม (bronchus) ไปสู่ปอดแต่ละข้าง กิ่งหรือหลอดลม แต่ละข้างนี้ จะผ่านเยื่อหุ้มปอดไปสู่ปอดและแตกแขนงเล็ก ๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchioles) จนกระทั่งถึง ถุงลมเล็ก ๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายลูกโป่งหรือเป็นพวงคล้ายองุ่น เรียกถุงลมเหล่านี้ว่า “แอลวีโอไล” (alveoli) รอบ ๆ ถุงลมนี้มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ และมีเส้นเลือดฝอยมาสัมผัสมากมาย สำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มาก (มีก๊าซอ๊อกซิเจนน้อย) เรียกว่า เลือดเสีย คือ เลือดที่ยังไม่ได้ไปฟอกที่ปอด จะถูกหัวใจสูบฉีดไปสู่ปอดเพื่อมีการถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกและรับก๊าซอ๊อกซิเจนเข้า กลายเป็นเลือดที่ฟอกแล้วเรียกว่า เลือดดี ก็จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไป
⇒ หน้าที่ปอด
ปอด มีหน้าที่ในการหายใจ เพื่อนำก๊าซออกซิเจนเข้ามา และถ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกไป
คนเราปกติมีการแลกเปลี่ยนก๊าซประมาณวันละ 20 ลูกบาศก์ฟุต หายใจเข้าออกประมาณ 17 ครั้งต่อนาที และสามารถหายใจได้ถี่ถึง 70-80 ครั้งต่อนาที ในกรณีที่กล้ามเนื้อทำงานหนัก เช่น การออกกำลังกายหรือในกรณีที่เป็นปอดบวม
⇒โรคที่เกี่ยวกับปอด มีหลายอย่าง เช่น
วัณโรคปอด (Tuberculosis) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ที.บี. (T.B.)
ปอดบวม (Pneumonia) อาการบวมอย่างรวดเร็วของปอด เนื่องจากสภาพของปอดซึ่งตามปกติมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ยืดหยุ่นได้ จะเปลี่ยนสภาพเป็นก้อนแข็ง เกิดจากสาเหตุหลายประการ โดยมากเกิดจากเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก
นอกจากนี้อาจจะมีการอักเสบที่หลอดลมเรียกว่า หลอดลมอักเสบ(bronchitis) การแพ้ฝุ่นหรือโรคภูมิแพ้ (Hay fever) ทำให้เกิดการเป็นหวัดคัดจมูก เนื่องจากในฝุ่นละอองมีละอองเกสรดอกไม้บางชนิด ฝุ่นนุ่น ขนสัตว์ ไรแดง และอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้ร่างกายเกิดการแพ้ทุกครั้งที่เข้าใกล้สิ่งเหล่านี้ และจะทำให้เกิดการจามติดต่อกันหลายครั้ง แล้วมีอาการน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
อาการไอหรือจามหรือการคัดจมูก แสดงถึงว่า มีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้าสู่ปอด ร่างกายก็จะขจัดสิ่งเหล่านี้ออกด้วยการไอหรือจาม การคัดจมูกเป็นการป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าสู่ปอด อันเป็นการป้องกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว
ถ้ามีการไอ หรือจามหลายวันแล้วยังไม่หาย ควรรีบไปหาหมอ เนื่องจากอาจจะมีเชื้อพวกไวรัส (จุลินทรีย์ขนาดเล็ก) ที่ไม่อาจจะขับออกได้ ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้เยื่อหุ้มปอด หรือถุงน้ำช้ำและฉีกขาดเป็นอันตรายได้
สำหรับคนที่สูบบุหรี่ใหม่ ๆ เพิ่งหัดสูบ จะรู้สึกระคายเคืองทำให้ไอและสำลักควันเพื่อขับสิ่งที่ติดมากับควันบุหรี่ ที่เรียกว่า นิโคติน สังเกตได้ที่มือและฟัน จะมีคราบของนิโคตินติดเป็นสีเหลือง ขัดก็ไม่ค่อยออก เมื่อสูบบุหรี่บ่อยเข้าจนเกิดความเคยชิน จะไม่รู้สึกสำลักหรือไอ ถึงแม้ท่านจะไม่เชื่อว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งที่ปอดได้ แต่การสูบบุหรี่ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซน้อยลง เนื่องจากในควันบุหรี่มีแต่ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เต็มไปหมด ทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง การหายใจจะแรงมาก บางคนหายใจคล้ายคนเป็นหืด เพราะก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอ มีวิธีทดลองง่าย ๆ เกี่ยวกับก๊าซ ออกซิเจนไม่เพียงพอ คือ ในตอนกลางคืนจุดกองไฟเผาขยะหรือไล่ยุงก็ตาม ท่านที่นั่งอยู่รอบ ๆ กองไฟเวลามีควันผ่านมาท่านจะรู้สึกหายใจไม่พอ จนต้องลุกหนีดังนั้น คนเราจึงต้องการอากาศบริสุทธิ์มาก ยิ่งคนที่ทำงานตามโรงงานที่มีควันมาก ๆ หรือคนกรุงเทพฯที่อยู่ในย่านที่มีอากาศเสียจากควันท่อไอเสียรถยนตร์มากมายแล้ว ถึงแม้ท่านจะเป็นคนไม่สูบบุหรี่เลย ก็เท่ากับท่านได้สูบบุหรี่ทุกวัน วันละ 1 ซอง แล้วท่านยังจะเสียเงินเพื่อซื้อบุหรี่สูบอีกไหม อีกหน่อยท่านอาจจะต้องเสียเงินซื้ออากาศบริสุทธิ์ไว้ใช้ในบ้านแน่นอน หรืออย่างน้อยก็เสียเงินไปพักผ่อนตากอากาศตามชายทะเลที่มีอากาศบริสุทธิ์บ่อย ๆ เป็นแน่
Cr : หมอชาวบ้าน
ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด D-POT (ดี-พอต) ฟื้นฟูและบำรุงปอด
D-POT.. ดีต่อ..ปอด.!
หากมีอาการเหล่านี้ ทานกันเถอะ ฟื้นฟูและเพิ่มภูมิ
🔅 มีอาการ ไอเรื้อรัง
🔅 มีปัญหาเรื่อง การหายใจ
🔅 เป็นหอบ เหนื่อยง่าย
🔅 สูบบุหรี่ หรือกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดคนสูบบุหรี่
#ดีต่อปอด หายใจโล่งสดชื่น ขับเสมหะ ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ล้างสารพิษในปอด
โรคปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบ หรือเรียกว่าโรคปอดบวม เป็นโรคติดต่อชนิดเฉียบพลันที่มีการอักเสบของเนื้อปอด หลอดลมขนาดเล็ก หลอดลมฝอยถุงลม
สาเหตุของโรคปอดอักเสบเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด
1. จากเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในปาก จมูก และ คอ
2. โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัด โรคสุกใส และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
การติดต่อสามารถติดต่อได้ 4 ทาง
1. หายใจเอาเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศ
2. สำลักเอาเชื้อโรคที่อยู่บริเวณช่องปากเข้าสู่ปอด
3. แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เป็นโรคตามส่วนต่างๆของร่างกายผ่านมาตามกระแสโลหิตเข้าสู่ถุงลม
4. เชื้อโรคจากการอักเสบที่บริเวณใกล้ๆ ปอด เช่น ตับ หลอดอาหาร แล้วกระจายลุกลามเข้าสู่ปอดโดยตรง
โรคปอดอักเสบสามารถติดต่อได้ตลอดจนกระทั่งเชื้อโรคหมดไปจากน้ำมูกน้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย
เตือนคนอ้วนระวังไขมันอุดตันในปอด ก่อโรคหอบหืด-หายใจลำบาก
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ นอกจากจะเสี่ยงกับภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่า ไขมันส่วนเกินสามารถเข้าไปสะสมตัวในปอด จนเบียดทางเดินหายใจให้ตีบแคบลง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหายใจลำบากและโรคหอบหืดในคนอ้วนได้
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย (UWA) ตีพิมพ์ผลการค้นพบข้างต้นซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของโลกในวารสาร European Respiratory Journal โดยระบุว่ายิ่งคนอ้วนมีดัชนีมวลกาย (BMI) เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบเนื้อเยื่อไขมันในปอดในปริมาณที่สูงขึ้นเท่านั้น
- พบชายไขมันสูงจนเลือดเปลี่ยนเป็นสีขาว แพทย์ต้องรักษาด้วยวิธีโบราณ
- โรคอ้วนทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดมากกว่าสูบบุหรี่
- 5 ปัจจัยส่งผลต่อน้ำหนักตัว
มีการวิเคราะห์ตัวอย่างปอดซึ่งได้จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตไปแล้ว 52 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นของผู้ป่วยโรคหอบหืดซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคที่เป็นอยู่ 16 ราย, เป็นของผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น 21 ราย รวมทั้งปอดของผู้ที่ไม่เป็นโรคหอบหืดอีก 15 ราย
ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่น ๆ อีก
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดฝอยติดอยู่ ดังนั้นเมื่ออากาศผ่านเข้ามาถึงถุงลมจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงซึ่งไหลมาพร้อมกับเลือดภายในหลอดเลือดฝอยมากขึ้น จากนั้นออกชิเจนในอากาศซึ่งมีประมาณมากกว่าประมาณออกซิเจนในเลือด ก็จะซึมผ่านผนังถุงลมและผนังหลอดเลือดฝอยนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และพร้อมกันนั้น คาร์บอนไดออกไชด์ที่เหลือจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และส่งมากับเม็ดเลือดแดงก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกซิเจนร้อยละ 13
สินค้าดูแลสุขภาพของศูนย์เรา D-POT (ดี-พอต) ผลิตภัณฑ์บำรุงปอด
หากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
หากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ หรือปัจจัยอื่น ๆ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน อันได้แก่
อาการแพ้หรือโรคหอบหืด หากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง หรือโรคหอบหืดที่รุนแรงมากขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากภูมิคุ้มกันลดลงมากผิดปกติ จะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายแรงมากขึ้น หรือการติดเชื้อเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้ ซึ่งโรคที่อาจพบได้แก่ ปัญหาทางพันธุกรรมซึ่งพบได้น้อย เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (Severe combined immunodeficiency Disease: SCID) หรือการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นต้น