195/1 ถ.พรหมราช ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000 1. งานบริหารทั่วไป
กำกับ ควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานบริหารทั่วไปของสำนักงาน
งานสารบรรณ (รับ ส่ง โต้ตอบ เก็บ ค้น และพิมพ์)
งานงบประมาณ การเงินและบัญชี พัสดุและการเจ้าหน้าที่
รวบรวมจัดทำสถิติและรายงานที่เกี่ยวข้อง
งานธุรการทั่วไปของสำนักงาน
2. งานบริการประชาชน ให้บริการประชาชนในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 งานตรวจการขนส่งทางน้ำ
พิจารณาการขออนุญาตกระทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
ตรวจปล่อยเรือเดินทะเลที่เข้าออกในเขตท่า
กำหนดที่จอดเรือ การขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและวัตถุน่ากลัวอันตรายในเขตท่า
ตรวจตรา ปราบปราม ควบคุมการเดินเรือและการขนส่งทางน้ำให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
สอบสวนและดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดกฎหมาย
สอบสวนหาสาเหตุกรณีเรือประสบอุบัติเหตุ
สอบความรู้และออกประกาศนียบัตรฝ่ายเดินเรือ
ดูแล แม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งเป็นทางเดินเรือสาธารณะให้อยู่ในสภาพสะดวกและปลอดภัยในการเดินเรือ
ออกหนังสือคนประจำเรือ
งานระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน
2.2 งานตรวจเรือ
ตรวจสภาพเรือเพื่อประกอบการจดทะเบียนเรือไทย ออกใบอนุญาตใช้เรือและใบรับรองต่างๆ
ตรวจความเสียหายของเรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
กำหนด/ให้คำแนะนำ และควบคุมการซ่อมเรือประจำปี
พิจารณากำหนดประเภทการใช้เรือ, เขตการเดินเรือ, จำนวน และชั้นของคนประจำเรือ
พิจารณากำหนดแนวน้ำบรรทุกของเรือ
สอบความรู้ผู้ขอรับประกาศนียบัตรฝ่ายช่างกลเรือ
2.3 งานทะเบียนเรือ
ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
จดทะเบียนเรือไทย
ออกใบอนุญาตใช้เรือ และต่อใบอนุญาตใช้เรือประจำปี
ดำเนินการเกี่ยวกับการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรือ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ ในใบทะเบียนเรือและใบอนุญาต
เปิดเหมือนปกติ
สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอุบลราชธานี โดย ผจภ.7(อบ.) และเจ้าหน้าที่ในสังกัด สวมใส่ผ้าไทยตามวิถีวัฒนธรรมไทยทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ7(อบ.) มอบหมายให้นายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญการ และนางสาวพรรณิภา พยัคฆ์ ตำแหน่งพนักงานขนส่ง ในการเข้าร่วมตรวจสอบสถานที่ขออนุญาตดูดทรายในพื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ได้ตรวจสอบสถานที่ขออนุญาตจำนวน 14 แปลง
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7 (อบ.) มอบหมายให้ ส.ต.ต.พัฒพงษ์ ชาคำรุณ ตำแหน่ง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ ร่วมประชุม กรณีประชาชนในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คัดค้านการดูดทราย ร่วมกับ อำเภอวารินชำราบ เทศบาลตำบลบุ่งไหม และตัวแทนประชาชน ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบุ่งไหม โดยมีนาย อิสระ โสมโสภา ปลัดอาวุโส รักษาราชแทนนายอำเภอวารินชำราบ เป็นประธานที่ประชุม ผลการประชุม มีมติให้ทางเทศบาลตำบลบุงไหม ทำหนังสือ พร้อมรวบรวมข้อเท็จจริง และประชาคมประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับเหตุผลการคัดค้าน ถึง คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทรายจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพิจารณาต่อไป
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 นายชาญยุทธ์ ชื่นตา ผจภ.7(อบ.) ได้มอบหมายให้นายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน พร้อมด้วยนางสาวพรรณิภา พยัคฆ์ พนักงานขนส่ง ร่วมตรวจสอบพื้นที่และระวังชี้แนวเขตพื้นที่ขออนุญาตดูดทรายเพื่อจำหน่าย บริเวณแม่ชี บ้านดอนแก้ว หมู่ 7 ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ราย หจก.ทศทิศการโยธา จากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่บริเวณคุ้งน้ำด้านใน หากทำการจุดลอกตามที่กำหนดจะลดการพังทะลายของตลิ่งคุ้งน้ำด้านนอก เป็นการรักษาสภาพลำน้ำไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง จึงลายมือชื่อรับรองแนวเขตเพื่อดำเนินการตามระเบียบต่อไป
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7 ได้มอบหมายให้ นายชาญยุทธ์ ชื่นตา ผจภ.7(อบ.) เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ ณ.โรงแรมฝ้ายขิด จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาพร้อมกล่าวความเป็นมาโครงการฯ โดยมีนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานฯ ได้มีหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 150 คน ซึ่งโครงการศึกษาฯ กรมการขนส่งทางราง ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นผู้ศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อเสนอต่อ ครม. ซึ่งโครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฯ จะเน้นถึงระบบการขนส่งทางรางที่เชื่อมต่อในหลายด้านไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งเกษตรกรรม แหล่งอุตสาหกรรม และการขนส่งสินค้า ไปยังประเทศ สปป.ลาว ได้ครั้งละมากๆ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7 (อบ.) มอบหมายให้ นายธนะพล ตัณยะกุล ตำแหน่ง นักวิขาการขนส่งชำนาญการ ทำการระวังชี้แนวเขตที่ดินติดต่อลำเซบาย ราย นายหมุน ล้ำเลิศ และผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน จำนวน 12 ไร่ ตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) เลขที่ 125 หมู่ที่ 2 บ้านคำน้อย ต.สร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
ผลการปฏิบัติ : เมื่อทำการดึงระยะจากด้านหน้าที่ดิน(ทางสาธารณะ) จรดด้านหลังที่ดินลำเซบาย ขอบเขตที่ดินมิได้ล่วงล้ำลงไปในที่ชายตลิ่งและลำเซบาย
ต่อมา เวลา 13.30 น. ได้เข้าพบนายช่างรังวัด เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน ลงนามรับรองการระวังชี้แนวเขต และขอรับเอกสาร รว.9 ราย นายสลัด ทองสาร ขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ
วันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) มอบหมายนายธีรนาท บุตรดา เจ้าพนักงานขนส่ง และ น.ส.พรรณิภา พยัคฆ์ เจ้าพนักงานขนส่ง เข้าร่วมประชุมและตรวจสอบสถานที่คลองระบายน้ำโครงการทางแยกต่างระดับแยกดงอู่ผึ้งและแยกวนารมย์ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาระบบระบายน้ำในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างดังกล่าว และเดินสำรวจตรวจสอบดูคลองน้ำตั้งแต่จุดเริ่มโครงการจนถึงจุดระบายน้ำลงแม่น้ำลำคลอง พบสิ่งกีดขวางทางน้ำหลายจุด และในส่วนความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าได้เสนอแนะให้ขออนุญาตตามกฎหมายเจ้าท่าบริเวณจุดระบายน้ำลงลำมูลน้อย แขวงทางหลวงที่ 1 แจ้งว่าก่อนจะตรวจรับงานในครั้งแต่ไปจะดำเนินการแก้ไขจุดระบายน้ำให้แล้วเสร็จและจะเชิญคณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราปราบปราม ตามพรบ.การเดินเรือฯ และประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการเรือโดยสาร แพท่องเที่ยว และประชาชน ไม่ให้กระทำผิดเกี่ยวกับพรบ.การเดินเรือฯ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในเขตพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สรุปผลการปฏิบัติดังนี้
1. ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน ที่ประกอบกิจการร้านอาหารบริเวณริมแม่น้ำโขงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ให้กระทำการใดๆอันเป็นความผิดตามพรบการเดินเรือเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ผลการปฏิบัติผู้ประกอบการร้านอาหารได้รับทราบระเบียบข้อกฎหมายและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
2. ร่วมหารือ กับทาง ตัวแทน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนสิรินธร นายสะท้าน เอติรัตนะ ตำแหน่งหัวหน้า บำรุงรักษาโยธา เกี่ยวกับเส้นทางการล่องแพและกำหนดจุดห้ามจอดแพ บริเวณเขื่อนสิรินธรอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะได้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการล่องแพ เพื่อทราบต่อไป
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 นายชาญยุทธ์ ชื่นตา ผจภ.7(อบ.) ได้เข้าร่วมประชุมสรุปผลการสำรวจและออกแบบทางด้านวิศวกรรมโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 231 กับทางหลวงหมายเลข 226 (แยกคำน้ำแซบ) (สัมมนา ครั้งที่ 3) ณ. โรงแรมสุรีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฯ มีหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุมประมาณ 120 คน ซึ่งโครงการศึกษาดังกล่าว กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ สำรวจและออกแบบในทุกๆด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และลดปัญหาการจราจรที่หนาแน่น การประชุมสัมมนาครั้งนี้ ได้เน้นถึงการออกแบบทางด้านวิศวกรรม เช่น ด้านการจราจร โครงสร้างทาง โครงสร้างสะพาน อุโมงค์ทางลอด ระบบระบายน้ำ และระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้หารือ กรณีที่มีการก่อสร้างอาคารพาดผ่านลำน้ำซึ่งจะต้องมีการระบายน้ำจากโครงการลงสู่คลองคำแสนกวางและไหลลงสู่แม่น้ำมูลที่อยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่า จึงได้เสนอแนะให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการหาแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพลำน้ำ และให้ปฏิบัติตาม ระเบียบของ กรมเจ้าท่าด้วย
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7 (อบ.) ได้มอบหมายให้ นายธนะพล ตัณยะกุล ตำแหน่ง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ และนายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน พร้อมเจ้าหน้าที่ จภ.7(อบ.) รวมทั้งสิ้น 4 นาย ออกตรวจตรา กำกับ ดูแล เข้มงวด กวดขัน และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยเรือ/แพ จุดจอดเรือ และการรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ภายใต้มาตรการควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า (Covid19) ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้
1. ตรวจตราความปลอดภัยแพอาหาร ณ จุดท่องเที่ยวหาดบ้านแก้ง ต.คูซอด อ.เมืองจ.ศรีสะเกษ พบว่า ผู้ประกอบการแพอาหาร จำนวนทั้งสิน 10 ราย มีหนังสือให้จอดแพโดยถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่ขาดต่อายุ มีอุปกรณ์ห่วงชูชีพ เสื้อชูชีพ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ตัวแพและทุ่นอยู่ในสภาพดี แข็งแรง ไม่มีความชำรุดเสียหาย ไม่มีการปล่อยน้ำเสีย ขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำมูลแต่อย่างใด
2. เข้าพบ นายจรูญศักดิ์ ปัชฌาบุตร ตำแหน่ง นายก อบต.คูซอด ณ อบต.คูซอด ต.คูซอด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เพื่อประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำ รณรงค์เกี่ยวกับมาตรการรักษ์น้ำ รักษาสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำ ลำคลอง ด้วยการไม่ทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฎิกูล เคมีภัณฑ์ ลงในแม่น้ำลำคลอง และหารือเกี่ยวกับการติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณจุดท่องเที่ยวหาดบ้านแก้ง ทั้งนี้ได้รับการตอบรับจาก อบต คูซอด เป็นอย่างดี
3. เข้าตรวจสอบแพล่อง จำนวน 3 แพ ได้แก่ แพท่าเขาใหญ่ แพนพนิตย์ และแพศรีบึงบูร ณ บ้านหนองหล่ม หมู่ที่ 7 ต.บึงบูร อ.บึงบูร จ.ศรีสะเกษ พบว่ามีหนังสือรับรองความปลอดภัยแพ ตามประกาศกรมเจ้าท่าที่ 227/2559 จึงได้ประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการแพทั้ง 3 ราย ให้รีบมาดำเนินการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงประเภทของแพล่อง เป็นเรือกลลำน้ำประเภทการใช้กิจการพิเศษ(บรรทุกคนโดยสาร แพกล) ตามประกาศกรมเจ้าท่าที่ 116/2564 ที่ จภ.7 (อบ.) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการแพทั้ง 3 ราย ได้รับทราบประกาศ หลักเกณฑ์ ว่าด้วยแพกล ของกรมเจ้าท่า และยืนยีนจะเข้าไปดำเนินการจดทะเบียนเป็นแพกลให้ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อไป
4. เข้าพบนายขจรศักดิ์ ฯ รอง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง (เขื่อนราษีไศล) เพื่อหารือและขอทราบความชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบของชลประทาน(เขื่อนราษีไศล)
วันที่ 9 ก.พ.2565 ผจภ.7(อบ.) ได้มอบหมายให้ นายธนะพล ตัณยะกุล ตำแหน่ง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผักตบชวาระดับจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งที่ 2/2565 โดยมี นายศิริพันธ์ ข่มด้วง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธาน พร้อมผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ จำนวน 31 ท่าน ณ ห้องประชุมพระมงคลมิ่งเมือง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) มอบหมายให้ นายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขินบริเวณแม่น้ำชี หมู๋ที่ 4 ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ตามโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลชีทวน ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) มอบหมายให้ ส.ต.ต.พัฒพงษ์ ชาคำรุณ ตำแหน่งนักวิชาการขนส่งชำนาญการ ไประวังชี้แนวเขตและรับรองเขตที่ดินกรณีออกโฉนด ตามหลักฐานที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 64 ติดกับ แม่น้ำโขง บริเวณหมู่ 2 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการระวังและรับรองแนวเขตที่ดินที่ติดกับ แม่น้ำโขง แนวหลักหมุดเขตที่ดินไม่ได้ลุกล้ำที่ชายตลิ่งและแม่น้ำโขงแต่อย่างใด
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) ลงพื้นที่ลำโดมใหญ่ บ้านท่าแสนคูณ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี และได้มอบหมายให้ นายธีรนาท บุตรดา เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ 2 นาย ตรวจสอบแปลงดูดทราย เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตขุดลอกร่องน้ำ ประกอบมาตรา 9 จากการตรวจสอบลำโดมตามแผนที่พบว่ามีการกำหนดขอบเขตการขุดลอกขัดเจนตรงตามคำขออนุญาต และสภาพลำน้ำดังกล่าวมีการตื้นเขิน เหมาะสมที่จะทำการขุดลอกร่องน้ำและเป็นการประหยัดงบประมาณรัฐในการขุดลอก และในบริเวณดังกล่าวไม่มีการเดินเรือแต่อย่างใด
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) และนายธีรนาท บุตรดา เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ 2 นาย ได้เข้าพบกับ นายณรงค์ สิมพัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ศรี และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ศรี เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการขุดลอกลำโดมใหญ่ หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ในการแก้ปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำ และเพื่อจัดหาแหล่งน้ำสำรองในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ศรี มีความเห็นว่าเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งหรือหากเกิดเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วง จะดำเนินการขุดลอกลำโดมใหญ่เป็นโครงการเร่งด่วน และ จภ.7(อบ.) ได้ชี้แจงว่า การขุดลอกลำโดมใหญ่เพื่อแก้ปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำเป็นไปตามนโยบายของ คค. และพร้อมให้การสนับสนุน ให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายของกรมเจ้าท่า
เรียน ผจภ.7
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายชาญยุทธ์ ชื่นตา ผจภ.7 (อบ.) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเตรียมความพร้อมของเรือยนต์ และรถยนต์สำนักงานฯ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา อีกทั้งเป็นการป้องกันและลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยดำเนินการรดน้ำต้นไม้ กวาดและล้างพื้นบริเวณโดยรอบสำนักงานฯ พร้อมทั้ง เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาและหมั่นตรวจสอบสภาพรถยนต์และเรือยนต์สำนักงานฯ เช่น เครื่องยนต์ กรองอากาศ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เป็นประจำตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันปริมาณฝุ่นละอองในเขตพื้นที่ จภ.7 (อบ.) ที่วัดได้อยู่ระหว่าง 35 – 48 PPM น้อยกว่าค่ามาตรฐาน คือ 50 PPM ตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) มอบหมายให้ นายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งชพนำนาญงานเข้าร่วมตรวจสอบสถานที่ โครงการขุดลอกเพื่อรักษาสภาพลำน้ำ แม่น้ำชี ม.4 ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ร่วมกับคณะกรรมการขุดลอกเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ.) มอบหมายให้ ส.ต.ต.พัฒพงษ์ ชาคำรุณ ตำแหน่งนักวิชาการขนส่งชำนาญการ ไประวังชี้แนวเขตและรับรองเขตที่ดินกรณีออกโฉนด ตามหลักฐานที่ดิน น.ค.3 เลขที่ 335 ติดกับลำโดมน้อย บริเวณหมู่ 1 ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ผลการระวังและรับรองแนวเขตที่ดินที่ติดกับลำโดมน้อย แนวหลักหมุดเขตที่ดินไม่ได้ลุกล้ำที่ชายตลิ่งและลำโดมน้อยแต่อย่างใด
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ.7(อบ) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดจัดกิจกรรม 5ส. โดยได้ดำเนินการตัดแต่ง กิ่งไม้ ตัดหญ้าบริเวณโดยรอบสำนักงานฯ เพื่อความเป็นระเบียบ เรียบร้อย น่ามอง และเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ผจภ7(อบ.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกดูแลความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มอบหมายให้ส.ต.ต.พัฒพงษ์ ชาคำรุณ ตำแหน่งนักวิชาการขนส่งชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ จภ.7(อบ) ลงพื้นที่อำนวยความสะดวกและตรวจตราดูแลความปลอดภัยทางน้ำบริเวณพื้นที่จุดล่องแพลำโดมน้อย พัทยาน้อย เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่พบว่ามีอุบัติเหตุทางน้ำแต่อย่างใด
วันที่ 31 มกราคม 2565 ผจภ7(อบ.) ได้มอบหมายให้นายทิวากร แถววิชา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือชำนาญการ เข้าร่วมชี้แจงข้อมูลเพื่อพิจารณาบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูลเกิดผลประโยชน์กับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลาจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 31 มกราคม 2565 ผจภ7(อบ.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกดูแลความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มอบหมายให้ส.ต.ต.พัฒพงษ์ ชาคำรุณ ตำแหน่งนักวิชาการขนส่งชำนาญการ และนายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ จภ.7(อบ) ลงพื้นที่อำนวยความสะดวกและตรวจตราดูแลความปลอดภัยทางน้ำบริเวณพื้นที่จุดล่องแพลำโดมน้อย พัทยาน้อย เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่พบว่ามีอุบัติเหตุทางน้ำแต่อย่างใด
วันที่ 30 มกราคม 2565 ผจภ7(อบ.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกดูแลความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มอบหมายให้นายธีรนาท บุตรดา ตำแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ จภ.7(อบ) ลงพื้นที่อำนวยความสะดวกและตรวจตราดูแลความปลอดภัยทางน้ำบริเวณพื้นที่จุดล่องแพลำโดมน้อย พัทยาน้อย เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่พบว่ามีอุบัติเหตุทางน้ำแต่อย่างใด
วันที่ 21 มกราคม 2565 นายชาญยุทธ์ ชื่นตา ผจภ.7(อบ.) ได้ร่วมประชุมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมค้ำคูณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน โดยมีหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมประชุมประมาณ 190 คน เนื้อหารายละเอียดในภาพรวม จะเน้นแนวทางพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะให้หน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชนในหลายๆ ด้านและพัฒนาพื้นที่การเกษตรกรรม เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ขณะนี้ได้มีประชาชนเข้ามายื่นเสนอเข้าร่วมโครงการจำนวน 4,612 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรมรวม 4,770 แปลง รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 31,996 ไร่เศษ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 9 ปี ในระยะแรกจะดำเนินการที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโครงการนำร่องเนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีความต้องการและมีความพร้อมในทุกๆ ด้านมากที่สุด ในการประชุมครั้งนี้ไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ กฎหมายเจ้าท่าแต่อย่างใด
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
"สายตรวจเมืองอุบล รวดเร็ว ดุจสายฟ้า"
เพจที่จะทำให้ท่านมีความสุข สุขภาพแ
สำนักงานจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำ?
ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน บริการด้วยรอยย
ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 กรมส
สำนักงานสัสดีจังหวัดอุบลราชธธานี (ทหาร)
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม | ดีพร้อมเซนเตอร์ 7