สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี (สคร.10) โทร 0 4525 5934 แฟ็กซ์ 0 4525 5188 http://odpc10.ddc.moph.go.th/ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร 045 255 934, 045 243 235, Fax 045 255 188
Website http://odpc10.ddc.moph.go.th/
เปิดเหมือนปกติ
🔴 แนวทางการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเด็กอายุ 5 - น้อยกว่า 12 ปี
#โควิด19
#แนวทางการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
#กรมควบคุมโรค
แนวทางการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
#โควิด19
#แนวทางการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
สปสช. แนะนำขั้นตอนสำหรับประชาชน
ที่ตรวจ ATK แล้วได้ผลติดเชื้อโควิด-19
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ
#โควิด19 #วัคซีนโควิด
#สถานการณ์โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#ไทยรู้สู้โควิด
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลายคนวางแผนเดินทางกลับบ้าน หรือไปเที่ยว อย่างไรก็ตามในภาวะที่ยังมีการระบาดของเชื้อโควิด เราควรสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างก่อนเดินทางเพื่อป้องกันไม่นำพาเชื้อไปติดคนในครอบครัวและคนที่เรารัก
หากมีอาการเหล่านี้? จะเดินทางร่วมกับคนจำนวนมาก ควรทำอย่างไร?
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
#โควิด19
#สสส.
🔴ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ "ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ"
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
#โควิด19
#ขับไม่ดื่มดื่มไม่ขับ
ฉลองสงกรานต์อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องตัวคุณเองและครอบครัวของคุณจาก #โควิด19
ที่มา : องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ
#โควิด19 #วัคซีนโควิด
#สถานการณ์โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#ไทยรู้สู้โควิด
Self Clean Up
เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง ปลอดเชื้อโควิด 19ผ
#โควิด19
#ATK
#PCR
ผู้ปกครองที่พาลูกหลานไปฉีดวัคซีนโควิด เรามีข้อแนะนำดีๆ จากคุณหมอมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์
ข้อแนะนำสำหรับเด็กหลังฉีดวัคซีนโควิด
#ชัวร์โควิดและวัคซีน
สคร.10 อุบลฯ ร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 10 จัดบูธนวัตกรรมผลงานเด่น เวทีครึ่งทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่ภาคอีสาน
วันนี้ 30 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ ฮอล์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน การประชุมติดตามแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่ภาคอีสาน สคร.7,8,9 และ10 ตามแผนยุทธศาสตร์กำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ระหว่างปี 2559-68 ผ่านโครงการถวายเป็นพระราชกุศลฯ กระทรวงสาธารณสุข จัดโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายมอบนโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน การจัดบูธนำเสนอนวัตกรรมและผลงานเด่น
โดยมี นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7, นพ.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9,นพ.ดนัย เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 และ พญ.ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประชุมเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งระดับหน่วยงานส่วนกลาง สคร.และระดับ สสจ.พื้นที่ภาคอีสาน จำนวนทั้งสิ้น 120 คน
แนวปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง โรคโควิด 19
#โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
ไม่เจอ ไม่เท่ากับ ไม่มีหรือไม่ใช่ : วัณโรคปอดชนิดย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ
เคยเขียนเรื่องวัณโรคไปหลายรอบแล้ว ไม่ว่าจะเสมหะเจอเชื้อหรือไม่เจอเชื้อ จะแอบแฝงหรือแสดงตัวตนชัดเจน วันนี้นำภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยรายหนึ่งมาให้ดู เป็นภาพเอ็กซเรย์ปอดก่อนและหลังรักษา ผู้ป่วยมีอาการไข้ต่ำ ๆ ไอมีเสมหะเล็กน้อยสองสัปดาห์ น้ำหนักลด ภาพรังสีเอ็กซเรย์ภาพแรกทางซ้าย มีฝ้าขาวที่ปอดกลีบขวาบน ส่วนภาพขวาเป็นภาพรังสีเอ็กซเรย์หลังจากรักษาครบ 6 เดือน
ผู้ป่วยรายนี้อาการเหมือนการติดเชื้อทางเดินหายใจ เสี่ยงการเกิดวัณโรคแน่เพราะอยู่ในพื้นที่ระบาด คือประเทศไทยนี่แหละพื้นที่ระบาด ยิ่งถ้าอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค หรือที่แออัดมากเช่นเรือนจำ จะยิ่งเพิ่มโอกาสอีก ตรวจเสมหะโดยเก็บถูกต้องเป็นเวลาถึงหกวัน (ปกติเก็บสามวัน) นำมาย้อมหาเชื้อวัณโรคด้วยสีย้อม Acid-Fast แล้วไม่พบเลย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นวัณโรคนะครับ เพียงแค่ 'ตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธีย้อมสีแบบนี้แล้วไม่พบ' เท่านั้น
ความน่าจะเป็นก่อนส่งตรวจย้อมเสมหะ..สูงมาก แล้วเราเลือกวิธีตรวจที่ไม่ไว หากผลออกมาเป็นลบ เราก็ยังต้องคิดถึงอยู่นะครับ แล้วเลือกใช้วิธีการตรวจที่ไวขึ้น
ทำไมไม่ไวล่ะ และถ้าไม่ไวทำไมยังใช้อยู่
ข้อมูลของ American Thoracic Society ระบุความไวของการตรวจเสมหะย้อม AFB อยู่ที่ 38% แต่มีความจำเพาะอยู่ถึง 96% เรียกว่าถ้าตรวจพบโอกาสเป็นโรคสูงมาก แต่ถ้าไม่พบก็ยังปฏิเสธวัณโรคไม่ได้ ต้องตรวจด้วยวิธีอื่นต่อไป
ในอดีต เราไม่มีวิธีตรวจที่แพร่หลายและทันสมัยเราใช้การย้อมเสมหะเป็นหลัก เนื่องจากประเทศเรามีความชุกของวัณโรคสูงมาก ทำให้เกิดปรากฎการณ์ลบปลอม เป็นวัณโรคแต่ตรวจเสมหะเป็นลบมากมาย เราจึงใช้ลักษณะทางคลินิกที่เหมือนวัณโรคและภาพถ่ายเอ็กซเรย์ที่บ่งชี้วัณโรคเป็นตัววินิจฉัย 'วัณโรคปอดชนิดเสมหะไม่เจอเชื้อ' และให้การรักษาด้วยยามาตรฐานปกติและติดตามผล
ถามว่าต้องตรวจเสมหะไหม เวลาติดตามผลในเมื่อตอนแรกไม่เจอ คำตอบคือตรวจครับ เพราะหากเริ่มรักษาแบบไม่เจอเชื้อแล้วติดตามไปเจอเชื้อ อันนี้อาจต้องคิดถึงวัณโรคดื้อยา
แล้วทำไมมันไม่ไว เพราะการตรวจมันมีข้อจำกัดครับ โดยทั่วไปจะต้องมีเชื้อวัณโรคประมาณ 10,000 แท่งต่อเสมหะหนึ่งซีซี จึงจะมีโอกาสตรวจพบ ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อน้อย หรือเสมหะครั้งที่มาส่งบังเอิญมีเชื้อน้อยก็ตรวจไม่พบครับ หรือบางทีดูจากอาการและฟิล์มแล้วน่าจะมีเชื้อเยอะเช่นเป็นโพรงเลย แต่เสมหะกลับไม่พบ อาจเกิดการอุดตันหลอดลมทำให้เสมหะที่มีเชื้อไม่ออกมาก็ได้นะครับ
นอกจากนี้ข้อจำกัดการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็มีข้อจำกัด ตามมาตรฐานจะต้องตรวจ 100 มุมมองกล้องด้วยกำลังขยาย 100 เท่าต่อแผ่นสไลด์ 1 slide จึงถือว่ารายงานการตรวจนั้นได้มาตรฐาน (สมัยผมเป็นนักเรียนแพทย์ ก็ไม่ได้ดูถึง 100 มุมมองภาพ)
ยังไม่นับเทคนิคการย้อมไม่ดี การเก็บเสมหะไม่ถูก สีย้อมหมดอายุ ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงมีความไวไม่สูงครับ และไม่สามารถตัดการวินิจฉัยวัณโรคปอดได้เพียงเพราะตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ
ปัจจุบันเรามีวิธีที่ไวขึ้น ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดได้ดีขึ้น เช่น การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ การเพาะเชื้อในอาหารเพาะเชื้อเหลว หรือการส่องกล้องหลอดลมเข้าไปนำเชื้อมาตรวจ เป็นการเพิ่มความไวในการวินิจฉัยในกรณียังสงสัยโรคแต่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ ซึ่งยังทำได้ไม่กี่ที่และราคายังสูง ดังนั้นการตรวจเสมหะและให้การวินิจฉัยพร้อมรักษาติดตาม 'วัณโรคชนิดเสมหะไม่พบเชื้อ' จึงยังมีความสำคัญมาก
ผู้ป่วยรายนี้ตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ และได้รับการรักษาวัณโรคด้วยยาสูตรมาตรฐานครบถ้วน ตรวจเสมหะซ้ำไม่พบเชื้อ แต่ส่งตรวจหาสารพันธุกรรมของวัณโรคพบเป็นบวกและไม่ดี้อยา เอ็กซเรย์ปอดซ้ำพบฝ้าขาวจางลงมาก ผู้ป่วยอาการปกติและใช้ชีวิตได้ตามปรกติครับ
Photos from Thailand Malaria Elimination's post
Photos from Thailand Malaria Elimination's post
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ (โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์) และกำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ พนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
https://odpc10.ddc.moph.go.th/?p=5696
ประกาศสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับ ประกาศสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู....
Photos from Thailand Malaria Elimination's post
Q&A คลายข้อข้องใจ ❓🔓
ถาม : หากผู้เป็นแม่ติดเชื้อโควิด จะให้ลูกดูดนมจากเต้าได้หรือไม่ ?
ตอบ: ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ลูกติดเชื้อโดย
- สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนและหลังจับตัวลูก
- หลีกเลี่ยงการไอ หรือจาม ขณะให้ลูกดูดนม
- เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัตถุที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- เลือกวิธีปั๊มนมออกมา แล้วให้ญาติหรือพี่เลี้ยงนำไปให้ลูกกิน
ที่มา : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
สคร.10 อุบลฯ ร่วมรณรงค์วันยุติการเลือกปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573
แนวคิดการรณรงค์วันยุติการเลือกปฏิบัติ 1 มีนาคม 2565
‘Remove Laws That Harm, Create Laws That Empower’
“สานพลังทางกฎหมาย สร้างเครือข่าย ยุติการเลือกปฏิบัติ”
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ และประสบความสำเร็จในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และลดการเจ็บป่วยเสียชีวิตจากเอชไอวี แต่หนึ่งในความท้าทายของการดำเนินงานในปัจจุบัน ที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถหยุด หรือยุติปัญหาเอดส์ลงได้ คือ การรังเกียจกีดกันและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีและเพศภาวะที่ยังมีอยู่ในสังคม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเข้าสู่ระบบบริการและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และกลุ่มประชากรหลัก ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ ประเทศไทยมีเป้าหมายจะลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะ ลงอีกร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับผลการส ารวจสุขภาพประชาชนไทย (National Health Examination Survey) เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่พบว่า ประชาชนไทยมีทัศนคติเชิงลบในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงถึง ร้อยละ 59 แต่จากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2562 (MICS) พบว่า ร้อยละ 26.7 ยังมีทัศนคติในการเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพ ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 11 มีประสบการณ์ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีจากสถานบริการสุขภาพ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี เคยตัดสินใจที่จะไม่ไปรับบริการสุขภาพ เนื่องมาจากการตีตราตนเอง ร้อยละ 36 ขณะเดียวกันพบว่าผู้ให้บริการสุขภาพ ในสถานพยาบาล ยังคงสังเกตเห็นบุคลากรด้วยกันมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ ถึงร้อยละ 23 สิทธิที่เกี่ยวกับโรคเอดส์มีสภาพเป็นสิทธิธรรมชาติหรือเป็นสิทธิมนุษยชน และในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองหรือคุ้มครองไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ของไทยในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงการใช้แนวนโยบาย แผนป้องกันควบคุม หรือพยายามนำกฎหมายกฎระเบียบที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ ในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณา“ร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …”เพื่อรับรองสิทธิของบุคคลทุกคนให้ปลอดจากการถูกเลือกปฏิบัติ จากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ เพศสภาพ และการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งส่งเสริมการป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติ และป้องกันไม่ให้การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเกิดขึ้นซ้ำสอง
กรมควบคุมโรค ได้กำหนดมาตรการที่สำคัญในการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ดังนี้
1. มาตรการสร้างความเข้าใจเรื่องการตีตราเพื่อไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในเชิงการป้องกันการละเมิดสิทธิด้านเอดส์ โดยมุ่งเน้นที่การสร้างความเข้าใจเรื่องการตีตราและการเลือกปฏิบัติในทุกระดับ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล ระดับองค์กร/เครือข่าย และระดับสังคม โดยมีกรอบการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพที่ปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก โดยมีการพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้กับผู้ให้บริการในสถานบริการสุขภาพ ที่เรียกว่า 3 x 4 และหลักสูตรโปรแกรมเรียนรู้ เรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลักในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-Learning) ที่บุคลากรสาธารณสุขสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์) ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติได้มากขึ้น ร่วมกับการบูรณาการประเด็นการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติเข้ากับการพัฒนาคุณภาพบริการ (Continuous Quality Improvement: CQI) เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมารับบริการ และบุคลากรไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ
2. มาตรการดูแลคุ้มครองสิทธิเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ มุ่งเน้นให้เกิดกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิระดับจังหวัด และทำให้ผู้ติดเชื้อและกลุ่มประชากรหลักได้รู้ เข้าใจสิทธิของตนเอง รวมถึงการเพิ่มศักยภาพ ให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมคุ้มครองสิทธิ ตลอดจนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสนับสนุน จากกลไกเชิงนโยบาย โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาระบบข้อมูลและกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองการละเมิดสิทธิด้านเอดส์ (Crisis Response System: CRS) ซึ่งเปิดใช้งานในพื้นที่ต้นแบบ 14 จังหวัด เพื่อให้เกิดระบบการจัดการปัญหาการถูกละเมิดสิทธิด้านเอดส์ และการให้ความช่วยเหลือ ที่สะดวก เข้าถึงง่าย มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือได้จริง รวมทั้งสามารถนำข้อมูล มาใช้เพื่อติดตามสถานการณ์ละเมิดสิทธิด้านเอดส์ของประเทศ นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหรือนโยบาย เพื่อลดการรังเกียจกีดกัน การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวกับเอชไอวี และเพศภาวะในปี 2565 นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และแผนของประเทศในการยุติปัญหาเอดส์จึงมีแนวคิด ดังนี้
สานพลังทางกฎหมาย กฏหมาย มีส่วนทั้งส่งเสริมและขจัดความไม่ยุติธรรม ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเอชไอวี สิทธิ ความหลากหลายทางเพศ มากพอที่จะไม่รังเกียจและไม่เลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติกับผู้มีเชื้อและผู้ได้รับผลกระทบ ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการรู้ช่องทางการร้องเรียนและขอความช่วยเหลือการละเมิดสิทธิที่เกี่ยวกับเอชไอวี และความแตกต่างทางเพศ และยาเสพติด เป็นต้น
สร้างเครือข่าย การดำเนินงานเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ต้องมีการทำงานร่วมกัน การทำให้สังคมจะปราศจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทุกระดับ ต้องมีการเปิดใจ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวีหรือเอดส์ว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ประเทศไทยมีแผนการดำเนินงานระดับประเทศที่หน่วยงานภาคีทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ร่วมกันจัดทำและจะร่วมกันดำเนินงานขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี (Thailand Partnership for Zero Discrimination Costed Operational Plan) เช่น ภาคครัวเรือน ภาคสถานที่ทำงาน/สถานประกอบการ ภาคสถานบริการสุขภาพ ภาคสถานศึกษา ภาคบริการด้านยุติธรรม และภาคบริการด้านมนุษยธรรมและภาวะฉุกเฉิน
ยุติการเลือกปฏิบัติการทำให้สังคมจะปราศจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนต้องมีการเปิดใจ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวีหรือเอดส์ว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในปัจจุบัน “เอชไอวีตรวจฟรี รักษาเร็ว หยุดเอดส์ได้” ผู้มีเชื้อเอชไอวีเมื่อได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ จนกดปริมาณเชื้อไวรัสได้ จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป สามารถประกอบอาชีพได้ และเป็นกำลังที่สำคัญของสังคมต่อไป
เนื่องในวันยุติการเลือกปฏิบัติ 1 มีนาคม 2565 นี้ กรมควบคุมโรค ขอเชิญชวนหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกแห่งจัดกิจกรรมรณรงค์วันยุติการเลือกปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงกัน ร่วมสร้างกระแสสังคม กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกคนเปิดใจ ยอมรับ และให้โอกาสผู้มีเชื้อเอชไอวีได้มีสิทธิ มีศักดิ์ศรี และมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่มีกฎหมายที่เอื้อต่อการปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติ มุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ ภายในปี 2573 ภายใต้แนวคิด “Remove Laws That Harm, Create Laws That Empower” “สานพลังทางกฎหมาย สร้างเครือข่าย ยุติการเลือกปฏิบัติ”มุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ ภายในปี 2573
จันทร์ | 08:30 - 04:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
"สายตรวจเมืองอุบล รวดเร็ว ดุจสายฟ้า"
เพจที่จะทำให้ท่านมีความสุข สุขภาพแ
สำนักงานจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำ?
ข้อมูลทางการท่องเที่ยว (เปิดทำการในวันและเวลาราชการ) อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ
ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน บริการด้วยรอยย
ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 กรมส
สำนักงานสัสดีจังหวัดอุบลราชธธานี (ทหาร)
อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
ยินดีให้บริการสอบถามแก่สมาชิก ช.พ.ค.และ ช.พ.ส. ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี