บล็อกส่วนตัว หมอหมิว หมอฟิว - Personal blog of Dr.Mew Dr.Field
เปิดเหมือนปกติ
Photos from โรคในปากอยากบอก's post
รู้หรือไม่หายจากโควิดแล้ว...ทำฟันเมื่อไรดี?
เชื่อว่าต่อจากนี้คุณหมอหลายท่านอาจต้องพบกับคนไข้ที่หายจากโควิดแล้วมาทำฟันด้วย คำถามคือ...แล้วคุณหมอสามารถรักษาคนไข้กลุ่มนี้ได้ตามปกติหรือไม่?
จากแนวทางปัจจุบันก็มีทั้งส่วนที่สนับสนุนให้รอหลังจากหาย โดยนับวันที่มีอาการครั้งแรก 28 วัน จึงจะสามารถทำฟันได้ ในขณะที่ก็มีบางแนวทางที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยให้รอหลังจาก 30 วัน หลังจากตรวจพบผลเป็นลบ และไม่มีอาการจึงจะสามารถทำได้ ซึ่งอย่างหลังอาจเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกแนวทางของ American Society of Anesthesiologists (ASA) ที่รายงานถึงการทำหัตถการที่ไม่เร่งด่วนในคนไข้ที่หายจากโควิด โดยนับจากวันที่วินิจฉัย ซึ่งตรงส่วนนี้งานรักษาของหมอฟันส่วนใหญ่ก็เทียบได้กับหัตถการที่ไม่เร่งด่วน ลุงหมอจึงขอหยิบยกมาเปรียบเทียบ และอ้างถึงว่าควรทำฟันเมื่อไรดีหากใช้ตามแนวทางของ ASA
1. 4 สัปดาห์ในรายที่ไม่มีอาการ หรือในรายที่มีอาการเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจ
2. 6 สัปดาห์ในรายที่มีอาการ เช่น ไอ หายใจลำบาก แต่ไม่ถึงกับต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
3. 8-10 สัปดาห์ในรายที่มีอาการ และมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ และในรายที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล
4. 12 สัปดาห์ในรายที่ต้องรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
ทั้งนี้การทำฟันที่กล่าวถึงหมายถึงงานที่ไม่เร่งด่วนครับ และคาดว่าแนวทางที่กล่าวมานี้คงอาจจะมีการปรับเปลี่ยนกันในอนาคตต่อไป แต่ต่อจากนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญคงต้องถามคนไข้ด้วยทุกครั้งว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่?
Reference:
1. Ali Alharbi, Saad Alharbi, Shahad Alqaidi, Guidelines for dental care provision during the COVID-19 pandemic, The Saudi Dental Journal, Volume 32, Issue 4, 2020, Pages 181-186, ISSN 1013-9052, https://doi.org/10.1016/j.sdentj.2020.04.001.
2. Tarakji, B., & Nassani, M. Z. (2021). Reactivation of COVID-19-14 days from the onset of symptoms may not be enough to allow dental treatment. Oral diseases, 27 Suppl 3, 789–790. https://doi.org/10.1111/odi.13487
3. https://www.asahq.org/about-asa/newsroom/news-releases/2020/12/asa-and-apsf-joint-statement-on-elective-surgery-and-anesthesia-for-patients-after-covid-19-infection
ผังการเลือกเบอร์ clamp
จัดทำโดยกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 5
ฟลูออไรด์ในไทย ปลอดภัยและจำเป็น
ช่วงสองวันที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องอันตรายของฟลูออไรด์ โดยอ้างว่าส่งผลต่อความฉลาด การป่วยมะเร็ง มวลกระดูกบาง ฟันผุกร่อน หินปูนที่ข้อ หรือมีผลกระทั่งถึงการกลายพันธุ์ นอกจากนี้ผู้เผยแพร่ยังกล่าวอ้างว่าบุคลากรการแพทย์แนะนำให้ใช้ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ เพื่อให้เกิดโรคในประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเงินแก่ตนเอง
ข้อมูลชุดนี้ เชื่อถือได้จริงหรือไม่??
ในประเด็นนี้ มีทันตแพทย์หลายท่านได้ออกมาโพสต์ชี้แจง เช่น ทพญ.กมลชนก เดียวสุรินทร์ กรรมการสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ถึงข้อมูลที่เคยเขียนไว้ใน Facebook สมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทยว่า “ยาสีฟันฟลูออไรด์ไม่ได้อันตรายอย่างที่คนแชร์กัน” การเกิดพิษของฟลูออไรด์เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ เกิดแบบเฉียบพลัน และเกิดแบบเรื้อรัง ในกรณีเฉียบพลัน ถ้าเป็นกรณีการเกิดพิษของฟลูออไรด์จากยาสีฟัน จะเป็นอันตรายต่อเมื่อเป็นการผู้ป่วยกินยาสีฟันปริมาณมาก ๆ เข้าไปในคราวเดียว แทนที่จะเป็นการบีบใส่แปรงสีฟันแล้วบ้วนทิ้งหลังแปรงเสร็จ ฉะนั้น การใช้ยาสีฟันแบบปกติ แทบไม่มีโอกาสทำให้เกิดพิษจากฟลูออไรด์
ส่วน ทพ.วัชรพงษ์ ต้นประสงค์ ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก ที่ Tokyo Medical and Dental University ประเทศญี่ปุ่น ได้ชี้แจงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับฟลูออไรด์ดังนี้ คือ ความเป็นพิษจากการใช้ฟลูออไรด์นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการได้รับอันตรายจากฟลูออไรด์ในยาสีฟันนั้นเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากมิได้เป็นการบริโภคยาสีฟันผสมฟลูออไรด์โดยตรง และได้ระบุว่า งานวิจัยของโพสต์ต้นทางมีจุดประสงค์เพื่อดูพยาธิสภาพในสัตว์ทดลอง ผ่านการบริโภคฟลูออไรด์ในน้ำดื่มที่ความเข้มข้น 200 ppm แต่ในชีวิตประจำวันนั้น น้ำดื่มมีสารประกอบฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นราว 1.5 ppm เท่านั้น แตกต่างจากระดับที่อ้างอิงในวิจัยมาก รวมทั้งมีการเปรียบเทียบข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวกับระดับความเข้มข้นของสารประกอบฟลูออไรด์ในยาสีฟันซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อมูล ดังนั้นการอ้างอิงงานวิจัยนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบและเหมาะสม
เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ ทีมประชาสัมพันธ์ได้ส่งโพสต์ทั้งสามชิ้นให้ รศ.ดร.ทพญ.ศิริรักษ์ นครชัย ประธานอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาแล้วได้ให้ความเห็นว่า
“คุณหมอทั้งสองท่านกล่าวไว้ได้ถูกต้องแล้ว ปัจจุบันการป้องกันฟันผุโดยการใช้ฟลูออไรด์รูปแบบต่าง ๆ จะเน้นการสัมผัสของฟลูออไรด์กับผิวฟัน ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานเข้าไป ควรใช้ยาสีฟันตามคำแนะนำทั้งความเข้มข้นของฟลูออไรด์และปริมาณยาสีฟัน ในเด็กโตและผู้ใหญ่โอกาสที่จะกลืนยาสีฟันมีน้อยมากเพราะสามารถควบคุมการบ้วนทิ้งได้ดี ส่วนเด็กเล็กอาจมีโอกาสกลืนมากกว่า แต่ถ้าใช้ปริมาณยาสีฟันตามที่แนะนำ ปริมาณฟลูออไรด์จากยาสีฟันที่กลืนจะน้อยมาก โอกาสเกิดพิษจากฟลูออไรด์จึงน้อยเช่นกัน ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ถ้าใช้ยาสีฟันที่มีความเข้มข้น 1000-1500 ppm ตามปริมาณที่แนะนำคือ ใช้ปริมาณน้อยพอเปียกแปรงสีฟัน การแปรงฟันวันละสองครั้งจะมีปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน ประมาณ 0.2-0.3 mgF ซึ่งไม่เกิน ปริมาณที่ไม่เกิดผลข้างเคียงในวัยนี้คือ 0.4-0.7 mgF ส่วนพิษของฟลูออไรด์ที่เกิดจากดื่มน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีฟลูออไรด์สูงอย่างต่อเนื่องนั้น มีความเป็นไปได้ที่มีบางพื้นที่ของประเทศไทยอาจมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมาก ต้องหลีกเลี่ยงการดื่มนำ้ที่มีฟลูออไรด์สูงเกิน แต่ก็ยังไม่ได้เป็นข้อห้ามการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ถ้าไม่ได้มีการกลืนยาสีฟันเข้าไป การพิจารณาความเป็นพิษของฟลูออไรด์จะดูเพียงความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในสารนั้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูปริมาณของสารที่รับเข้าไปด้วย
ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสามท่านต่างบ่งชี้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลด้านอันตรายของฟลูออไรด์ดังกล่าวนั้นไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ เป็นการบิดเบือนข้อมูลจากงานวิจัยในสัตว์ทดลองมาสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน
สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลวิชาการเชิงลึกติดตามอ่านได้จาก
1.แนวทางการใช้ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก
https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-20190213213340.pdf
2.ปริมาณฟลูออไรด์ที่แนะนำ จากสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย
https://web.facebook.com/452215124942310/photos/a.452617651568724/722136214616865/?type=3&_rdc=1&_rdr
หมายเหตุ: แหล่งอ้างอิงที่ 2 ยังมีข้อจำกัดด้านการอัพเดทปริมาณฟลูออไรด์แนะนำ ในอดีตแนะนำที่ 1000 ppm ปัจจุบันขยับเพดานเป็น 1000 - 1500 ppm แล้ว
ตอบคำถามลูกเพจนะคะ เกี่ยวกับอธิบายขั้นตอนการฟอกสีฟัน ขอบคุณสำหรับคำถามมากๆค่ะ เป็นคำถามที่ดีมากๆเลยนะคะ
จะตอบคำถามลูกเพจทุกข้อ พร้อมเสริมทุกขั้นตอนที่เราจะทำสำหรับการฟอกสีฟันด้วยนะคะ จะได้ครบถ้วนสมบูรณ์
📌ก่อนอื่นเราจะบอกคนไข้ก่อนทำว่า มันจะเสียวฟันหลังทำ จะได้ไม่ตกใจทีหลังนะคะ ควรบอกก่อนทำค่ะ และอาจจะแนะนำให้ใช้ยาสีลดเสียวฟันหลังทำ
และเราจะดูสีฟันคนไข้ก่อนทำว่าสีอะไรเนาะ
You can feel sensitive after having your teeth whitened and it will be gone after a few days. You might need to use anti sensitive toothpaste.
First of all, we’re going to look at the shade of your teeth using this shade guide.(เราก็หยิบ shade guide ขึ้นมาให้คนไข้ดู)
สีฟันคนไข้ก่อนฟอกเป็นสีนี้นะคะ A3 (สมมติ)
The shade of your teeth before having your teeth whitened is A3.
📌จะขัดฟันให้คนไข้นะคะ
I’m going to polish your teeth before starting the teeth whitening process.
📌จะใส่ที่กันแก้มกับปาก
We’re going to place cheek retractors to help keep the lips and cheeks away.
ใช้ we ได้ เพราะบางครั้งเราก็ให้ผู้ช่วยทำให้ 5555
📌จะใส่สำลึกันน้ำลายนะคะ
I’m going to place cotton rolls here to keep the teeth dry and clean.
📌 เราจะบลอคเหงือก เพื่อกันน้ำยาโดนเหงือก
We’re going to apply a gingival/gum barrier to both the upper and lower teeth along the gum line to isolate and protect the gums and keep them clean.
📌จะทาเจลฟอกสีฟันละนะคะ
Now we’re going to apply the whitening gel on your teeth for 15 minutes. And we’re going to repeat this for 3 times.(สมมติว่า3 cycles)
📌ถ้ารู้สึกไม่สบายหรือมีอะไร ให้ยกมือซ้ายบอก
If you feel uncomfortable, please raise your left hand up to let us know
📌เราจะดูดน้ำลายออกให้
We will suck your saliva out for you.
📌อย่าเอาลิ้นมาแตะที่ผิวฟัน ถ้าโดนอาจจะทำให้ลิ้นแสบ/เป็นแผลได้
Please don’t push your tongue against your teeth because the gel on your teeth might irritate your tongue.
📌จะเอาทุกอย่างออกนะคะ
Now, we’re going to remove the gel, the retractors and the cotton off
📌มาดูสีฟันหลังทำกันค่ะ
Let’s take a look at the shade of your teeth after the treatment is done.
Now it’s A1 ! สมมติขาวขึ้นเป็นสี A1
สำหรับ home bleaching เจอกันในโพสต์ถัดไปค่ะ
#ทันตแพทย์ #ทันตกรรม #เรียนภาษาอังกฤษ #ภาษาอังกฤษ
มีอีกแนวทาง ที่หมอศัลย์สามารถช่วยคนไข้ในการเลิกบุหรี่ได้
💟พี่จะแนะนำให้งดการสูบบุหรี่หลังถอนฟัน หรือทำหัตถการทางศัลยกรรมช่องปาก
เนื่องจากสามารถช่วยให้แผลหายเร็วได้จริง ลดการเกิดการอักเสบของกระดูกเบ้าฟัน (dry socket)
💟 งดสูบบุหรี่ ยังเป็นอีกหนึ่งคำแนะนำกรณีทำ sinus precaution ด้วย
💟 มีคนไข้ที่เป็นรอยโรคในช่องปาก รอยโรคขาวแดง พวก dysplasia / lichen planus หรือใดๆ พี่จะซีเรียสมาก กำจัดสิ่งกระตุ้น บางทีนัดมาทุกเดือนและ positive reinforcement เลย 💪🏿💪🏿
---------------------------‐----------------------------------------
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญชวนทันตบุคลากรทุกท่าน มีส่วนร่วมในการช่วยผู้ป่วยในการเลิกยาสูบ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ด้วยเทคนิค 5As และ 5Rs หนังสือเล่มนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาไทยเพื่อเพิ่มการเข้าถึงทันตบุคลากรไทย
ดาวน์โหลดได้ฟรีที่:https://dt.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/2021/12/WHO_Thai_e-book.pdf
Link ข่าวประชาสัมพันธ์ : https://dt.mahidol.ac.th/th/news-20211215-1/
อีกหนึ่งทางเลือก สำหรับใครที่อยากจัดฟันใส ราคา้ล่ๆ 49,000 ไม่จำกัดจำนวนชิ้น (ยังไม่ได้รับผ่อนน้า)
Photos from คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - KKU Dentistry's post
Photos from ห้องฟันรือเสาะ's post
12 ข้อแนะนำดูแลฟันเด็กแรกเกิด ถึง 12 ขวบ😍
1️⃣ ไม่ควรดูดนมจนหลับคาเต้าหรือขวด
2️⃣ ควรให้เลิกดื่มนมมื้อคีก เมื่อลูกอายุ 6-11 เดือน
3️⃣ เลิกนมขวดตอนอายุ 12-18 เดือน ไม่ควรเกิน 2 ขวบ โดยให้ดื่มนมแก้วหรือนมกล่องแทน
4️⃣ เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นจนอายุ 3 ขวบ ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กโดยใส่ยาสีฟันแค่พอเปียกขนแปรงท่านั้น และเช็ดฟองยาสีฟันออกหลังแปรงฟันด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด
5️⃣ เด็กอายุ 3-6 ขวบ ใส่ยาสีฟันเท่าเมล็ดถั่วเขียว ให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเองก่อน และผู้ปกครองช่วยแปรงฟันซ้ำอีกครั้ง
6️⃣ ท่าแปรงฟันให้เด็ก คือ ให้เด็กนั่งหรือนอน โดยหงายศีรษะวางบนตักของผู้ปกครอง และใช้โคมไฟช่วยส่องให้มองเห็นในปาก
7️⃣ เด็กอายุ 6-12 ขวบ สามารถแปรงฟันเองได้
โดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจซ้ำอีกครั้ง
8️⃣ เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป สมารถแปรงฟันเองได้เหมือนผู้ใหญ่
9️⃣ ควรใช้ไหมขัดฟันก่อนแปรงฟัน เพื่อช่วยลดคราบอาหารที่ติดฟันและทำให้พลูออไรด์ในยาสีฟันเข้าสู่ผิวฟันได้ดีขึ้น
🔟 งดรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำหลังแปรงฟันครึ่งชั่วโมง
1️⃣ 1️⃣ หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยวที่เหนียวติดฟัน มีรสหวานจัด เค็มจัดควรเป็นขนมหรือผลไม้ที่มีใยอาหารสูง มีแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ
1️⃣ 2️⃣ ควรพาเด็กพบทันตแพทย์เมื่ออายุ 2-3 ปี และนัดตรวจฟันทุก 6 เดือน
ขอบคุณข้อมูลจาก #โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นะครับ
สุดท้าย อย่าลืมใช้ #ยาสีฟันโฮโฮเอมุ แปรงฟันให้ลูกนะครับ เพราะฟลูออไรด์ 1500ppm ในยาสีฟันโฮโฮเอมุ จะช่วย #ป้องฟันผุ ได้ดียิ่งขึ้น
#ยาสีฟันHOHOEMU #ยาสีฟันเด็กฟลูออไรด์1500ppm
Photos from เลี้ยงลูกตามใจหมอ's post
Photos from อ้าปากกว้าง's post
คำแนะนำหลังถอนฟันและผ่าฟันคุด
Post op instructions
📌กัดผ้าก๊อซแน่นๆนะคะ
- Bite the gauze firmly for 1-2 hours or until the active bleeding stops.
📌กลืนน้ำลายไม่บ้วนเลือดน้ำลาย
- Don’t spit excessively.
- Don’t rinse your mouth vigorously for 1 day.
📌อย่าเอาลิ้นดุนแผล อย่ารบกวนแผล
- Don’t disturb the surgical site or extraction area.
- Don’t explore your wound with your tongue or any objects.
📌อย่าใช้หลอดดูด
- Don’t use a straw.
📌หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
- Avoid physical activities.
📌อย่าดื่มแอลกอฮอล์ อย่าสูบบุหรี่
- Don’t drink alcohol and don’t smoke for 1 day after extraction/surgery.
📌แนะนำประคบเย็นหลังผ่าฟันคุด
- Apply cold/ice pack to the cheek for the first 24 hours after the surgery.
- place/use a cold compress on your face near the extraction site for 20 minutes. Remove for 10 minutes. Repeat.
📌แนะนำประคบอุ่นหลังผ่าฟันคุดหลัง24ชม เพื่อลดบวมและความเขียวช้ำ
- Apply warm compress to the cheek after 24 hours to reduce swelling and bruises.
📌กลับมาตัดไหม
- You need to come back 7 days after extraction/surgery to remove the sutures/stitches.
มีอะไรเพิ่มเติมอีกมั้ยคะ
#ถอนฟัน #ทำฟัน #ทันตแพทย์ #ทันตกรรม
Photos from THAPD for Dentists's post
(electrosurgery) by Dr.Warasit Sanonoy (Field)
จันทร์ | 09:00 - 21:00 |
อังคาร | 09:00 - 21:00 |
พุธ | 09:00 - 21:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 21:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 21:00 |
เสาร์ | 09:00 - 21:00 |
อาทิตย์ | 09:00 - 21:00 |
MISTER DENTIST “จะทำฟันทั้งที นึกถึงเราสิครับ” ทำฟัน จัดฟัน ฟอกสีฟัน รากฟันเทียม อุบลราชธานี
(จัดฟัน ทำฟัน) คลินิกทันตกรรมบ้านฟัน สาขาเมืองอุบลราชธานี
D.I.O. Dental Clinic - ”รากฟันเทียม จัดฟัน สำหรับ (เพื่อ) ทุกคน” หรือ “Implant & braces for everyone”
MISTER DENTIST “จะทำฟันทั้งที นึกถึงเราสิครับ” ทำฟัน จัดฟัน ฟอกสีฟัน รากฟันเทียม
Lifehouse FDC คลินิกจัดฟันอุบลราชธานีเพื่อสุขภาพฟันที่ดีของคนในครอบครัว
ทำฟัน จัดฟัน อุดฟัน ถอนฟัน ฟันปลอม
คลินิกทันตกรรมครบวงจรกว่า 30 สาขาทั่วประเทศ ให้การรักษาด้วยมาตรฐาน LDC Dental
คลินิกทันตกรรมเด็นทัลสเปซ จัดฟันโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง มีทันตแพทย์ทำงานเฉพาะทางทุกด้าน
Dental treatment, ขูด อุด ถอน ผ่าฟันคุด จัดฟัน ทำฟันเทียม รักษารากฟัน
ให้บริการทันตกรรมทั่วไป ทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมสำหรับเด็ก รับปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปาก