จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน / นอก อาคาร จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายใน - ภายนอก อาคาร
เปิดเหมือนปกติ
#อะไรนำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด
ก. ทอง
ข. เงิน
ค. ทองแดง
ง. อลูมิเนียม
.
.
.
.
.
.
.
...หลายๆท่านเข้าใจว่าทอง บ้างท่านบอกเงิน
- ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับ…ค่า electrical resistivity ( ρ ) กันก่อนนะครับ
- สภาพต้านทานไฟฟ้า (อังกฤษ: electrical resistivity) คือปริมาณการวัดของการต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าในวัสดุ ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำบ่งชี้ว่าวัสดุยินยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ง่าย หน่วยในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศของสภาพต้านทานไฟฟ้าคือ โอห์ม เมตร (Ωm) ซึ่งจะแสดงในรูปแบบอักษรกรีกตัว ρ (โร)
- ค่าต้านทานไฟฟ้าของโลหะ (ที่ 20 °C)
1) เงิน-Silver = 1.59×10−8 Ω•m
2) ทองแดง-Cupper = 1.68×10−8 Ω•m
3) ทองคำ-Gold = 2.44×10−8 Ω•m
4) อลูมิเนียม-Aluminium 2.82×10−8 Ω•m
> อ้างอิงจาก วิกิพิเดียร์ http://en.wikipedia.org/wiki/Electrical_resistivity
* จากสูตรคำนวณ ความต้านทานไฟฟ้า
R = ρ l / A
(ที่ท่อง ๆ กันว่า อาร์ เท่ากับ โร แอล /เอ
คุ้น ๆ กันมั้ย ม.3 ก็เรียน…จำได้กันมั้ยเอ๋ย)
* หากธาตุตัวใดมีค่า electrical resistivity ( ρ ) ต่ำก็แสดงว่านำกระแสไฟฟ้าได้ดี
โดยที่
: l คือ ความยาวตัวนำไฟฟ้า
: A คือ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า
: R คือ ความต้านทานทางไฟฟ้า
* ดังนั้นถ้าตัวนำที่เอามาเปรียบเทียบมีขนาดเดียวกัน
* จะได้ว่า R แปรผันตาม ρ เท่านั้น
* วัสดุที่มี ρ ต่ำที่สุด คือ “ เงิน ” จึงมีความต้านทานต่ำสุด และหมายถึงสามารถนำไฟฟ้าได้ดีที่สุด
^ แต่ที่เข้าใจกันว่า ^
Q1) ทำมั้ยในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นำทองมาทำเป็นจุดเชื่อมต่อหรือ พวกหน้าคอนแทคต่างๆ หรือ แม้กระทั่งฝากสายสัญญาณเครื่องเสียง ก็บอกว่าเป็นทองจะนำกระแสไฟฟ้าได้ดีนั้น
คำตอบ
- เพราะเมื่อนำกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโลหะแล้วชุบในบ่อทอง ทองก็จะติดโลหะนั้นมา ซึ่งเงินไม่สามารถทำได้
- และที่เขานิยมเอาทองคำมาเคลือบผิวลายวงจรหรือหน้าสัมผัสแบบไม่มีการอาร์ค ก็เพราะมันไม่เกิดออกไซด์ หรือไม่เป็นสนิม ซึ่งทั้งเงิน ทองแดง และอลูมิเนียม สามารถเกิดออกไซด์ได้ง่าย
- แต่ถ้าหน้าสัมผัสเกิดการอาร์คได้ง่าย เช่นหน้าสัมผัสของรีเลย์ จะใช้ทองคำขาว เพราะนอกจากจะไม่เกิดออกไซด์แล้ว ยังเป็นโลหะที่เกิดการอาร์คน้อยและมีระยะเวลาการอาร์คสั้นมากกว่าตัวนำชนิดอื่น โดยยอมแลกกับค่าความนำไฟฟ้าที่ต่ำลงมา เพราะการอาร์คนั้นนอกจากจะทำให้หน้าสัมผัสเสียหายแล้ว ยังอาจทำให้หน้าสัมผัสละลายติดกันได้ด้วย ซึ่งผลเสียมีมากและอันตรายกว่าการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปเป็นความร้อนจากความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุที่ใช้ทำหน้าสัมผัส
Q2) หลายคนอาจสงสัยว่าทองแดงนำไฟฟ้าดีกว่าอลูมิเนียม แต่ทำไมสายไฟแรงสูงจึงใช้อลูมิเนียม
คำตอบ
- นั่นก็เพราะทองแดงหนักกว่าอลูมิเนียมมาก ถึงแม้ในการรองรับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เท่ากันจะต้องใช้สายอลูมิเนียมที่มีขนาดใหญ่กว่าทองแดงเป็นเท่าตัว แต่น้ำหนักก็ยังน้อยกว่าทองแดงอีก (อลูมิเนียมหนักเพียง 1 ใน 3 ของทองแดงที่ปริมาตรเท่ากัน)
- และหากต้องการให้นำกระแสไฟฟ้าเท่ากัน ราคาอลูมิเนียม จะถูกว่า ทองแดง
สรุปว่า
• โลหะที่นำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 4 อันดับแรก คือ เงิน - ทองแดง - ทอง - อลูมิเนียม
• โลหะที่ราคาแพงเรียงลำดับจากมากไปน้อย 4 อันดับแรก คือ ทอง - เงิน - ทองแดง - อลูมิเนียม
-----------------------------------------------------------------------
เนื้อหาส่วนหนึ่งใน #หลักสูตรเทคนิคการออกแบบงานระบบไฟฟ้าตามแบบฉบับแอดมินห้องไฟฟ้า(ออนไลน์)
รายละเอียดหลักสูตร
https://electricalroomthailand.com/electricaldesignonline/
ตัวอย่างวีดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=-3LPEO_6KAQ&t=1s
หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดโดยการทักมาที่ https://line.me/ti/p/l14uLx9EGy
หรือ Line ID : 0815508587
-----------------------------------------------------------------------
หากพบพายุฝน 📷ลมกระโชก📷แรงพัดต้นไม้ล้มทับสายไฟขาด อาจเกิดอันตรายอย่าเข้าใกล้
Mobile Uploads
ELCB กับ RCBO ต่างกันยังไง?
สายทองแดงตีเกลียว ข้อดีคือนำไฟฟ้าดี แต่ก็แลกกับการผุกร่อนง่าย ถ้าทำสายกราวด์ ใช้แบบตันเส้นเดียวดีกว่าครับ
รู้หรือไม่ ? #สายดิน #สายล่อฟ้า #ไม่จำเป็นต้องเป็นสายตีเกลียว
#สายทองแดง ที่ใช้ในระบบ #ต่อลงดิน มีทั้งแบบตีเกลียวและกลมตัน ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงคุ้นกับการใช้สายทองแดงแบบ #ตีเกลียว ไม่น้อย แล้่วสายแบบ #กลมตัน มีข้อดีกว่าแบบตีเกลียวยังไงบ้าง และยังมีอุปกรณ์หรือวัสดุอื่นๆ อีกไหมที่สามารถใช้แทนได้ วันนี้ Kumwell มีคำตอบให้ครับ
#Kumwell #ป้องกันฟ้าผ่า #ระบบต่อลงดิน #ทองแดง #สายตีเกลียว #สายกลมตัน #CopperTape #Copper
#ไฟเกษตรคืออะไร และคำแนะนำวิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร
" ไฟเกษตรคือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟ เป็นต้น "
โดยมีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ 9 ข้อ ดังนี้
1.ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันตัวตนว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่หวงห้ามใดๆ ของทางราชการ
2.ต้องมีเส้นทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้อย่างสะดวก
3.สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ขอใช้ไฟฟ้าได้
4.ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่ต้องการใช้ไฟฟ้า
5.ต้องระบุแหล่งน้ำที่จะใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า เช่น คลองสาธารณะ คลองชลประทาน แหล่งน้ำใต้ดินในลักษณะต่างๆ
6.ต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินที่ถือครองโดยเอกชนรายใหญ่
7.เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ ต่อ 1 ราย
8.ต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2(ใหม่) โดยจะแจ้งเก็บเงินไปที่มิเตอร์เครื่องที่ 1(เก่า) ทั้งสองมิเตอร์ต้องอยู่ในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าเดียวกัน
9.ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อราย เฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท (PEA. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขยายเขต)
ข้อมูลอ้างอิงจาก : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เอกสารที่ต้องเตรียม
1. ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาโฉนดที่ดิน
4. สำเนาบัตรประชาชน
ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
5(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
15(45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธรรมเนียม 6,450 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธรรมเนียม 21,350 บาท
วิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร (โดยมี 3 ขั้นตอนดังนี้)
1.ขอบ้านเลขที่
การขอไฟฟ้ามาลงที่บ้านของเราที่อยู่ในไร่นั้น จำเป็นที่จะต้องมีบ้านเลขที่ในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ในการขอบ้านเลขที่นั้น ถ้าเป็นพื้นที่ห่างไกลหมู่บ้าน เราจำเป็นที่จะต้องสร้างเพิงพักหรือทำเป็นบ้านถาวรเลยก็ได้ และสิ่งต่อไปที่จะต้องสร้างควบคู่กันกับบ้านนั้นก็คือ ห้องน้ำ เพราะการมีห้องน้ำจะเปรียบเสมือนว่าเราจะมาอยู่ถาวร (ถึงแม้ว่ายังไม่ได้อยู่ถาวรตอนนี้เลยก็ตาม) ฉะนั้นห้องน้ำจึงมีความจำเป็นมากสำหรับใช้ประกอบหลักฐานในการขอบ้านเลขที่
หลังจากที่มีบ้านพัก เพิงที่พัก เราจะต้องถ่ายรูปที่พักและห้องน้ำไปให้อนามัยในพื้นที่มาตรวจพร้อมกับเซ็นต์เอกสารรับรองการเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ จากนั้นก็นำหนังสือไปยื่นกับผู้ใหญ่บ้านหรือผู้รับผิดชอบในการขอบ้านเลขที่ต่อไป จากนั้นให้นำหนังสือรับรองจากผู้ใหญ่บ้านไปยื่นต่อที่อำเภอ เพื่อลงทะเบียนขอสำเนาทะเบียนบ้าน ตอนนี้เราก็จะมีสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบ้านเลขที่เรียบร้อยแล้ว
ข้อควรรู้ !
ในการขอไฟเกษตรต้องดูแนวโน้มในพื้นที่ด้วยว่าจะมีไฟฟ้าเข้ามาด้วยหรือไม่ และต้องมีบ้านอยู่ในโซนเดียวกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป เพื่อขอไฟฟ้า ย้ำอีกครั้ง ว่า 3 หลังขึ้นไปถึงจะมีน้ำหนักในการขอไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ห่างไกลชุมชน แต่ถ้าในพื้นที่มีบ้านหลังเดียวก็สามารถขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ค่าไฟจะสูงกว่าปกติ
2.ยื่นเรื่องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
นำเรื่องไปยื่นกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของแต่ละท่าน อาจเป็น อบต. หรือเทศบาลก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ของเราอยู่ในเขตไหน เจ้าหน้าที่ก็จะให้กรอกเอกสารเพื่อรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านของเราและเพื่อนบ้านไปพร้อมกัน
3.ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าในอำเภอของตนเอง
หลังจากที่ยื่นเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว ก็นำเอกสารไปยื่นไว้ที่การไฟฟ้าในอำเภอของเรา แล้วกรอกเอกสารให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นการยื่นเรื่องไว้รอ และอย่าลืมถามความเป็นไปได้ในการที่จะได้ไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ด้วย แนะนำให้รวมกลุ่มกันมากๆ 3 หลัง 5 หลังหรือมากกว่า จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
https://www.organicfarmthailand.com/what-is-electricity-agricultural/
จากกรณีปลั๊กพ่วง ปลั๊กราง หลายคนยังสงสัยว่า อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องเป็นยังไง ถึงจะผ่านมาตรฐาน วันนี้มีโอกาสได้ทำหัวข้อนี้ เลยมาลงรายละเอียดให้ครับ
สรุปลักษณะสำคัญของปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานตาม มอก.2432-2555 และปลั๊กพ่วงที่หยิบยกได้ที่ดี มีดังนี้
1.เป็นชุดสายพ่วงชนิดแยกเต้ารับได้ ตาม มอก.166-2549 (ในกรณีนี้ ถ้าเต้ารับตัวหนึ่งตัวใดเสีย สามารถซื้อมาเปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งนั้นได้)
2.ตัวเต้ารับจะต้องสอดคล้องกับ มอก.166-2549 ต้องมี L N G และมีม่านนิรภัยปิดที่เต้ารับ และเต้ารับทุกเต้าจะต้องต่อสายดินจริง ห้ามใช้รูสายดินหลอก
3.ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน และห้ามใช้ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้ ซึ่งใช้ได้ 2 แบบ คือ
- อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกินแบบความร้อน (Thermal Circuit Breaker) มาตรฐาน IEC60934
- เครื่องตัดวงจรกระแสไฟฟ้าเหลือ ที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (RCBO) มาตรฐาน IEC 60934
4.แรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 440W และสำหรับการใช้งานทั้งภายในและนอกอาคารนั้น จะรองรับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16A
5.เต้าเสียบ ต้องใช้เป็นแบบ 3 ขากลม (กลมทั้ง 3 ขา) ตามมาตรฐานมอก.166-2549 เท่านั้น
6.สายไฟ ต้องตรงตามมาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ซึ่งจะต้องมีขนาดหน้าตัดสายไฟตามความยาวของสายไฟ และพิกัดกระแสที่กำหนด
7.ถ้ามีอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากข้างต้น เช่น สวิตช์ควบคุม ตัวกรองกระไฟฟ้า หรือตัวป้องกันไฟกระชาก ควรได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย
ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามา น่าจะครอบคลุมเฉพาะการประกอบเพื่อจำหน่าย ดังนั้น สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด จะไม่สามาถจำหน่ายได้ ยกเว้นในกรณีมีสต๊อกคงเหลือ ให้จำหน่ายต่อไปจนหมดได้ แต่ห้ามสั่งเพิ่มครับ
ขอขอบคุณข้อมูล จาก
Home Pro The Power - shorturl.at/erDQ7
Toshino - shorturl.at/EIY28
Plugthai.com - shorturl.at/VX158
เริ่มบังคับใช้กันอย่างเป็นทางการแล้วกับ มอก.2432 ที่กล่าวถึงปลั๊กพ่วงโดยเฉพาะ ซึ่งสรุปคร่าวๆได้ตามนี้
1.ปลั๊กเสียบ ต้องเป็น 3 ขา มอก. เท่านั้น
2.ขนาดสาย ต้องสัมพันธ์กับความยาว และกระแสที่ต้องใช้
3.ต้องมีตัวตัดไฟ(เบรกเกอร์) ห้ามใช้ฟิวส์หลอดแก้ว
4.ปลั๊กรับ ต้องเป็นแบบต่อกราวด์แท้ ห้ามทำกราวด์หลอก
5.ปลั๊กรับ ต้องมีม่านนิรภัย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ-ใช้รางปลั๊ก เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกันนะครับ
มาดู มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555 กำหนดใช้ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ปลั๊กไทยดอทคคอม มาแนะนำการเปลี่ยนแปลงของ มอก.ปลั๊กพ่วง ที่ผู้บริโภทควรรู้กันนะครับ ว่าปลั๊กไฟ,ปลั๊กพ่วง .....
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับช่างไฟว่า ทำไมไขควงลองไฟถึงสว่างได้ทั้งที่ไม่ครบวงจร
เคยสงสัยไหม ทำไมไขควงทดสอบไฟ ถึงยังติด แม้ว่าเราไม่ได้ยืนบนพื้นดิน แม้เรายืนใส่รองเท้าพื้นยางหนาฟ หรือยืนอยู่บนชั้นสูงๆของอาคาร ยื่นอยู่บนพื้นไม้ ฯลฯ มันก็ยังติด มันทำงานอย่างไร ?
เคยสงสัยกันไหมว่า ไฟช๊อต ไฟดูด ต่างกันอย่างไร ควรติดตัวป้องกันไฟดูดไหม เลือกอย่างไร ลองมาอ่านดูครับ บทความยาวหน่อย แต่มีประโยชน์แน่นอน
• ว่าด้วยเรื่องของ Safe-T-Cut
- มีหลายๆ คนถามผมมาเกี่ยวกับเรื่องของ safe t cut ว่าจะติดดีไม่ดี ติดอย่างอื่นได้ไหม ไม่ติดจะเป็นอะไรไหม แล้ว safe t cut ต่างจาก breaker ยังงัย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันซะทีเดียวเลยดีกว่าครับ ทั้งเรื่องของเซฟทีคัท, เบรกเกอร์, สายดินและอุปกรณ์อื่นๆ
- แต่ก่อนจะไปเรื่องของ เซฟทีคัท ผมต้องขออนุญาตินำท่านเข้าสู่และเข้าใจเรื่องของไฟ ไฟ ก่อนนะครับ
ทุกคนคงเคยได้ยินศัพท์เหล่านี้มาแต่อ้อนแต่ออกใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟดูด ไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟช๊อต ไฟลัดวงจร แต่หลายๆ คนก็คงแต่แค่ได้ยินคำพวกนี้ แต่ไม่รู้ว่าความหมายว่ามันหมายถึงอะไร รู้แต่เพียงว่าถ้าเกิดแก่เราแล้ว…บรรลัยเกิด ซี้แหง๋แก๋แน่นอนเท่านั้นเองใช่ไหมครับ
* ในบรรดาศัพท์ที่เกี่ยวกับความบรรลัยทางไฟฟ้าข้างต้นที่ว่ามานั้น ผมขอแยกออกเป็นสองประเภทเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ครับ ก็คือ
1) กระแสไฟในสายไฟมีสูงมากเกิน (อันได้แก่ ไฟช๊อต ไฟเกิน ไฟลัดวงจร ครับ) และ
2) กระแสไฟฟ้ารั่วหายไปจากสายไฟ (อันได้แก่ ไฟรั่ว ไฟดูด ครับ)
- เรามาขยายความต่อดีกว่าครับว่าไอ้ “กระแสไฟฟ้าในสายไฟมีสูงมากเกิน” หมายความว่าอย่างไร และเกิดได้อย่างไรกันครับ
- ลองนึกภาพตามก่อนแบบนี้นะครับ ตอนเรียนวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆ เราเอาสายไฟจิ้มไปที่หลอดไฟข้างหนึ่ง อีกสายหนึ่งก็ออกจากตูดหลอดไฟ กระแสไฟวิ่งเข้าหลอดแล้วก็ออกหลอด หลอดไฟก็สว่างขึ้นมา
หลอดไฟในที่นี้ก็คือความต้านทานชนิดหนึ่งครับ ถ้าจะพูดภาษาวิทย์แบบชาวบ้านๆ ก็คือ มีกระแสไฟวิ่งผ่านตัวต้านทาน ตัวต้านทานก็เกิดปฏิกิริยา เกิดการทำงาน (เช่นหลอดสว่าง เตารีดร้อน มอเตอร์หมุน อะไรก็แล้วแต่)
- ทีนี้ถ้าเราจับปลายสายไฟมาชนกันโดยไม่มีตัวต้านทานมากั้นกลางละครับ จะเกิดอะไรขึ้น…’ไฟก็วิ่งจากสายเข้าสายหนึ่ง ไปออกอีกสายหนึ่งงัย”…ไม่ใช่ครับ มันไม่ง่ายอย่างนั้นนะซิครับ
* ผมจะลองมาทบทวนบทเรียนสมัยเด็กๆ ให้ฟังอีกทีแล้วกันนะครับ
พูดภาษาวิทย์ก็คือ “เมื่อมีความต่างศักดิ์เกิดระหว่างตัวต้านทาน ก็จะเกิดกระแสไฟวิ่ง” (เกิดการทำงานตามมา เช่นหลอดสว่าง เตารีดร้อน มอเตอร์หมุน อะไรก็แล้วแต่)
เป็นไปตามสูตรที่ว่า ความต่างศักดิ์ = กระแสไฟ x ความต้านทาน (V=IxR)
(จริงๆ เป็นสมการของไฟฟ้ากระแสตรงนะครับ ส่วนไฟบ้านที่ใช้กันเป็นไฟกระแสสลับครับ)
* แต่เอาเป็นว่าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ลองใส่ค่าลงไปในสูตรแบบนี้ดูครับ
ไฟบ้านความต่างศักดิ์ 220 โวลท์ หลอดไฟมีความต้านทาน 440 โอห์ม กระแสไฟที่ผ่านเท่าไหร่ครับ ก็เท่ากับ 220/440 = 0.5 แอมป์
* ทีนี้พอเราหยิบเอาปลายสายไฟสองฝั่งมาชนกัน ก็เสมือนกับว่า มีความต่างศักดิ์ที่ยังเท่าเดิม แต่คราวนี้ไม่มีตัวต้านทานแล้ว (ตัวต้านทานเป็น 0) กระแสเป็นเท่าไหร่ครับ ก็เท่ากับ 220/0 = อนันต์
นั่นกำลังหมายความว่า เพียงเสี้ยววินาทีมีกระแสไฟฟ้าวิ่งสูงมากในสายไฟ สิ่งที่เราเห็นตามมาก็คือไฟสปาร์คเปรี๊ยะๆ นั่นเองครับ ถ้าเทียบว่าการที่สายไฟสองเส้นถูกหนูกัดขาดหรือฉนวนเสื่อมสภาพ แล้วมาแตะโดนกัน มันก็คือการทำให้เกิดกระแสที่พุ่งสูงเกิน หรือไฟลัดวงจรนั่นเอง (ไฟจากสายไฟเข้าลัดมาออกที่สายไฟออกก่อนที่จะไปถึงหลอดไฟ)
* จากเหตุการณ์ข้างต้น เกิดศัพท์ขึ้นก็คือ
ไฟช๊อต (การที่ไฟสปาร์คเปรี๊ยะๆ)
ไฟเกิน (ก็คือกระแสไฟวิ่งในสายไฟมากเกิน)
ไฟลัดวงจร (ไฟจากสายไฟเข้าลัดมาออกที่สายไฟออกก่อนที่จะไปถึงตัวต้านทาน)
* พอเข้าใจบ้างไหมครับเกี่ยวกับ “กระแสไฟฟ้าในสายไฟมีสูงมากเกิน”
- ทีนี้เมื่อไฟเกินมากๆ นานๆ เกิดอะไรครับ ก็สายไฟก็ร้อนนะซีครับ ถ้าร้อนจนขนาดฉนวนสายไฟละลาย ไฟก็ลัดวงจรกันไปใหญ่สปาร์คกันไป หรือถ้าร้อนมากไปติดเชื้อไฟก็อาจเกิดตามมาด้วยไฟไหม้บ้านได้ยังไงละครับจากเหตุการณ์ข้างต้น ถ้าไม่อยากให้เกิดไฟเกิน จะทำยังงัยดีละครับ…เราก็ติดอุปกรณ์กันไฟเกินซิครับ
* สมัยก่อนก็ที่ใช้กันที่เรียกกันว่าฟิวส์งัยครับ พอไฟเกินปั๊บ ฟิวส์เองก็รับกระแสไฟไม่ไหว ฟิวส์ก็ขาด วงจรไฟฟ้าก็ตัดขาดไปโดยปริยาย เสร็จแล้วไปซื้อฟิวส์อันใหม่มาเปลี่ยน ปัจจุบันก็พัฒนามาเป็นเสมือนฟิวส์อัตโนมัติ (ภาษาผมเองนะครับ) ควบคู่อยู่ในตัวเบรคเกอร์ พอเกิดไฟเกินในวงจร เบรกเกอร์ตรวจจับได้ก็สับตัวเองทันที…ก็รอดไป พอแก้ไขเสร็จก็ไปสับเบรกเกอร์ขึ้นใหม่ ใช้งานได้ตามเดิมสบายใจเฉิบ (นอกเรื่องนิดนึงครับ เบรคเกอร์ก็คือสะพานไฟ (Cut-out) ทำหน้าที่ตัดไฟ)
- เรามาดูต่อว่าแล้วเจ้า “ไฟฟ้ารั่วหายไปจากสายไฟ” หมายความได้ว่าอย่างไรครับ
ผมขอเริ่มอธิบายแบบชาวบ้านๆ อย่างนี้แล้วกันครับ กระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้ามาในบ้านก็กลับออกไปจากบ้าน กระแสทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกต้องเท่ากันครับ
* สมมติว่าตู้เย็นของเราเสื่อมสภาพสายไฟภายในโดนหนูแทะฉนวนขาดแล้วบังเอิญมาแตะโครงตู้เย็นเข้า ตอนนี้ยังไม่เกิดอะไรครับ เพราะไฟจากนอกบ้าน วิ่งเข้ามาวนเวียนอยู่ในตู้เย็น (รวมถึงโครงตู้เย็น) แล้วก็วิ่งกลับออกไปนอกบ้าน กระแสเข้าบ้านออกบ้านเท่ากันครับ เมื่อไหร่ที่เราไปจับตู้เย็น กระแสไฟก็จะแบ่งมาลงที่ตัวเราแล้ววิ่งลงพื้นลงดินไป ทีนี้แหละครับกระแสที่วิ่งกลับไปออกนอกบ้านก็จะไม่เท่ากับตอนเข้ามาเพราะแบ่งลงตัวเราลงดินไปแล้ว (สมมติว่าไม่มีสายดิน)
- จากที่เล่ามาก็จะเกิดศัพท์ 2 ศัพท์ครับก็คือไฟรั่ว (สายไฟขาดมาแตะโครงตู้เย็น ไฟรั่วลงโครงตู้เย็น) และไฟดูด (กระแสไฟไหลลงตัวเราแล้วลงดิน) มาถึงตอนนี้พอเข้าใจขึ้นมาบ้างไหมครับ
* จากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นถ้าเราไม่อยากโดนไฟดูด เราจึงคิดเครื่องมือมาอันนึงเพื่อวัดความแตกต่างของกระแสไฟที่เข้าและออกจากบ้าน ถ้าไฟเข้าและออกต่างกันเจ้าเครื่องตัวนี้ก็จะตัดไฟในบ้านทั้งหมดทันที เจ้าเครื่องมือตัวนี้มียี้ห้อที่เราคุ้นหูก็คือ “เซฟทีคัท” นั่นเองครับ เจ้าเครื่องตัวนี้สามารถวัดความแตกต่างโดยปรับความแตกต่างได้ตั้งแต่ 5 มิลลิแอมป์ถึง 30 มิลลิแอมป์ (ทำไมต้องลิมิตที่ 30 มิลลิแอมป์ไว้มาว่ากันต่ออีกทีครับหรืออ่านได้ตามลิ้งค์นี้เลยครับ http://www.squarewa.com/2010/สาระน่ารู้เกี่ยวกับสายสาระน่ารู้เกี่ยวกับสาย/
* ดังนั้นเราติด safe t cut ไปทำไมคงจะพอตอบกันได้แล้วใช่ไหมครับ
- ความปวดเศียรเวียนเกล้าเกิดตอนนี้แหละครับ สมมติว่าเครื่องปรับอากาศเราเก่าแล้ว ฝุ่นจับไปหมด พอชื้นเข้าหน่อยโอกาสที่ไฟจะรั่วลงตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ภายในก็มีบ้างโดยที่เราไม่รู้ตัวหรอกครับว่ามันเกิดไฟรั่ว แล้วถ้าเราตั้งไว้ให้มันจับความแตกต่างที่ 5 มิลลิแอมป์ เซฟทีคัทก็ช่างอ่อนไหว sensitive เสียนี่กระไร ตรวจจับเจอแล้วก็ทำการตัดไฟ(ทั้งบ้าน..เพราะคุมเมนเบรคเกอร์)
- เอ๊ะ! เดี๋ยวตัดๆ ตัดบ่อยๆ เข้าเราชักรำคาญ sensitive นักใช่ไหม ก็เลยไปปรับให้จับความแตกต่างเป็น 10…ก็ยังตัด…รำคาญ…ปรับอีกเป็น 15…ก็ยังตัด…รำคาญ…ปรับอีกเป็น 20…จนทีนี้เป็น 30 ก็ยังตัดอยู่ (แต่ถึงตอนนี้ เราเองก็ยังไม่รู้ว่ามีสาเหตุการตัดมาจากไฟรั่วที่แอร์เก่า) ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร ทีนี้ก็เลยปรับไปเป็น bypass ไปซะเลย หรือก็คือต่อไฟเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านเซฟทีคัทแล้ว โอเคครับคราวนี้ไฟในบ้านไม่ตัดแล้ว ไม่รำคาญแล้ว แต่ก็เสมือนว่าเราไม่ได้ติดเซฟทีคัท ไม่ได้ใช้งานมันอยู่ดี มาถึงตรงนี้ก็กลับไปสู่คำถามแรกยอดฮิตที่ว่า “ติดเซฟทีคัทดีหรือเปล่า” ถึงตรงนี้พอนึกภาพออกกันบ้างไหมครับ
- มาถึงตรงนี้ด้วยกิเลสของมนุษย์ก็แน่นอนครับว่าต้องมีคำถามที่ว่า “อยากติดอ่ะ แต่ไม่อยากให้ดับทั้งบ้าน มีทางแก้ไหมครับ”
- คำตอบก็คือว่า มีซิครับ พูดง่ายๆ ก็คือแทนที่จะติดควบคุมวัดความต่างของกระแสทั้งบ้านที่ Main Breaker ก็เลือกติดตัววัดความต่างกระแสที่ตัวควบคุมวงจรย่อย (แต่ละ Breaker) โดยเลือกเป็นวงจรไปที่มันมีความเสี่ยงกับการรั่วของไฟ เช่นเครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน ปลั๊กไฟในห้องน้ำหรือปลั๊กไฟนอกบ้านที่สุ่มเสี่ยงกับการโดนดูด
- แต่อย่างที่ผมบอกเล่าไปข้างต้น เบรคเกอร์ก็คือสะพานไฟ (Cut-out) ทำหน้าที่ตัดไฟครับ เบรคเกอร์ไม่ได้ทำหน้าที่วัดความแตกต่างของกระแสไฟ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเปลี่ยนมาเป็นเบรกเกอร์ชนิดที่วัดความต่างกระแสไฟได้ในตัวด้วย (เบรคเกอร์แบบมีเซฟทีคัทในตัว) ที่เรียกว่า เบรกเกอร์ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ตัดเป็นแค่วงจรๆ ไป อ้อ…ตัว ELCB ก็จะกำหนดค่าความต่างไว้ตายตัวที่ 30 มิลลิแอมป์นะครับ
- อันที่จริงคำว่า “เบรคเกอร์แบบมีเซฟทีคัทในตัว” เป็นภาษาของผมเองนะครับ เพราะจริงๆ แล้วเจ้าเซฟทีคัทต่างหากที่ถือเป็น ELCB ชนิดหนึ่งครับ
- แต่โดยมาตราฐานแล้ว ถ้าเราใช้เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อนที่ผ่านม.อ.ก. (ถ้าไม่ใช่จำพวกเครื่องจากจีนแดงอะไรเทือกนั้น) แล้วนั้นไซร้ ทุกเครื่องจะต้องติด ELCB ในตัวอยู่แล้วครับ (ก็คือไอ้ที่มีปุ่มบนตัวเครื่องให้เรากด TEST ตัวนั้นแหละครับ) ดังนั้นถ้าติด ELCB อีกที่ตู้เมน จะว่าไปก็ซ้ำซ้อนครับ
Cr. ข้อมูลดีๆจาก www.squarewa.com
จันทร์ | 08:00 - 18:30 |
อังคาร | 08:00 - 18:30 |
พุธ | 08:00 - 18:30 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 18:30 |
ศุกร์ | 08:00 - 18:30 |
เสาร์ | 08:00 - 18:30 |
ออกแบบและผลิตสร้างงานตามไอเดียของลูกค้า แกะสลักงานไม้ ของตกแต่งบ้าน พิมพ์เสื้อและแก้ว
อินเตอร์เน็ต เกมส์ออนไลน์ คอมพิวเตอร์เซอร์วิส