บุญญานันท์ ฟาร์ม Boonyanan Farm

พืชผลปลอดภัย หัวใจอินทรีย์ ในแบรนด?

21/06/2024

ความรู้เรื่องข้าวไวแสง

🔴 ระยะเวลาการให้ปุ๋ยข้าวไวแสง หรือบางคนบอก“นาปี”

หลายคนรู้แล้ว แต่ก็มีหลายๆคนมือใหม่ขออนุญาตอธิบาย

“ข้าวไวแสง ข้าวนาปี” แบบไม่ต้องวิชาการใดๆให้ปวดหัว

✅ ข้าวที่ปลูกได้ปีละรอบ

✅ ข้าวที่เริ่มต้นกลมหรือ “ตั้งท้อง” เดือน ”กันยายน“

✅ ข้าวเริ่มเห็นรวงเกือบทั้งทุ่ง เดือน “ตุลาคม”

✅ เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวในเดือน “พฤศจิกายน”

*4 ข้อข้างบน ⬆️ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งมักไม่ใช่ข้าวไวแสง

😀 เกร็ดความรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้เพิ่มเติม 😀

✅ ข้าวไวแสงนิยมปลูกมากที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ

✅ ข้าวไวแสงมีทั้งแบบชลประทาน และแบบรอฝน

✅ ความยากคือฝนไม่มีใส่ปุ๋ยลำบาก

✅ ปีไหนแล้งมากมักตายห่าหมด 😭

🔴 ยกตัวอย่างข้าวไวแสง

- มะลิ105

- ข้าวเหนียว กข6 แบบธรรมดา กข6 แบบต้นเตี้ย

- ข้าวเจ้า กข15

- ข้าวเหนียวน่าน59

- กข51

- กข18

-และอื่นๆอีกมากมาย

*แต่ถ้าได้ชื่ิอว่า “ไวแสง” คือ ปลูกได้ปีละครั้ง จบบ

🔴 มาถึงช่วงการใส่ปุ๋ยจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

ก่อนจะไปแบบต่างๆขออธิบายคำว่า แตกกอ 1 , 2 , 3

แตกกอ 1,2,3 ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน

โดยมีให้เลือกตามความชอบดังนี้

🔴 กลุ่มสูตรสำเร็จราคาสูง

1. 20-8-20 มีสูตรสำเร็จขายตามร้าน*หาง่าย

2. 20-10-20 มีสูตรสำเร็จขายตามร้าน*หายาก

3. 22-7-24 มีสูตรสำเร็จขายตามร้าน*หายาก

4. 27-12-6 มีสูตรสำเร็จขายตามร้าน*หาง่าย

5. 25-7-7 มีสูตรสำเร็จขายตามร้าน*หาง่าย

🔴 แบบผสมเอง

46-0-0 1 กระสอบ ( หาง่าย ) ชอบเขียวนาน 30-0-0 แทน

ผสม 16-20-0 1 กระสอบ ( หาง่าย )

ผสม 0-0-60 1 กระสอบ ( หายาก )

ผสมด้วยอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ต่อ 1

⁉️ สูตรแตกกอ1 แตกกอ2 แตกกอ3 ใช้สูตรเดียวกัน

*หว่านปุ๋ยรอบสุดท้าย....เรียกปุ๋ยรับท้อง อีสานเรียกปุ๋ย

หมาก ปุ๋ยใส่ข้าวมาน ปุ๋ยรับรวง บลาๆ หลากหลาย

🔴 สูตรแนะนำ

1. 15-5-25 ( หาไม่ยาก )

2. 15-5-20 ( ราคาถูก จะมาขายเยอะช่วงปุ๋ยราคาแพง)

3. 15-5-35 ( ดีครับแต่หายาก )

4. ใช้ปุ๋ยแตกกอมารับท้องก็ได้เช่น 20-8-20 , 20-10-20

🔴 ปุ๋ยรับท้องแบบผสมเอง

30-0-0 1 กระสอบ ( หาไม่ยากแล้วสมัยนี้ ) ถ้าไม่มีใช้ 46-0-0 แทน

ผสม 15-15-15 1 กระสอบ ( หาง่าย )

ผสม 0-0-60 1 กระสอบ ( หายาก )

ผสมด้วยอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ต่อ 1

😀 มาเริ่มอธิบายช่วงการใส่ปุ๋ยในแบบต่างๆ 3 แบบ 😀

✅ แบบที่ 1 แบบมาตรฐาน

หว่าน*รอบแรกสูตรแตกกอ1 20-25 กิโล ต่อไร่

เลือกสูตรแตกกอหว่านข้าวอายุ 20-30 วัน หลังหว่านข้าว

⁉️คำถามพบบ่อย *ฝนไม่ตกจะหว่านยังไงนักวิชาเกินนน

ตอบ*งั้นก็รอจนกว่าฝนจะตก ดินมีความชื้นอย่าหว่านตอน

แห้งแล้ง ดินเป็นผง เพราะปุ๋ยจะระเหิดระเหยหมด

⁉️ ถ้าแล้งทำไง *ตัดเข้าโฆษณา... ไรซ์ 3-0-30 พ่นได้แม้

ดินแล้ง ดินไม่มีน้ำ จบ...การโฆษณาสินค้า..

แบบที่ 1 แบบมาตรฐาน จะหว่านปุ๋ยเพียง 2 รอบ

หว่าน*รอบสุดท้ายไม่ควรเกิน 20 กันยายน ของทุกๆปี

✅ แบบที่2 แบบให้น้อยๆแต่บ่อยครั้ง

หว่าน*รอบแรกสูตรแตกกอ1 15 กิโล ต่อไร่ เดือน มิถุนายน

หว่าน*รอบสองสูตรแตกกอ2 15 กิโล ต่อไร่ เดือน กรกฎาคม

หว่าน*รอบสามสูตรแตกกอ3 15 กิโล ต่อไร่ เดือน สิงหาคม

❌ แบบนี้จะไม่หว่านรับท้องและสูตรที่แนะนำ หน้า และท้าย

ควรเท่าๆกัน เช่น 20-8-20, 20-10-20, หว่าน 3 รอบสูตร

เดียวจบซื้อปุ๋ยครั้งเดียว *ปัญหาคือร้านไหนให้เซ็นต์บอกที

✅ แบบที่3 แบบช้าๆแต่ชัวร์

หว่าน*รอบแรกสูตรแตกกอ1 15 กิโล ต่อไร่ เดือน กรกฎาคม

หว่าน*รอบสองสูตรแตกกอ2 15 กิโล ต่อไร่ เดือน สิงหาคม

หว่าน*รอบสุดท้ายใช้สูตรรับท้อง 20-25 กิโล ต่อไร่ หว่าน

ไม่เกิน 20 กันยายน ของทุกปี

😀 สุดท้ายนี้เหมือนเดิมไม่มีถูก ไม่มีผิด ความรู้แค่แนวทาง

ปฎิบัติเห็นจิงคือความจริง เชื่อในตาตัวเอง เชื่อในมือตัวเอง

🙏 ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ขอช่วยกดไลค์ กดแชร์

เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดมิน จังซี่ด้วย ขอบคุณครับผม🙏

11/03/2024

วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?

3. ขากลับเจอฝูงแพะเดินข้ามสะพานพอดี

11/03/2024

วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?

2. ฝูงควายเงินล้าน เดินผ่านหน้านา

11/03/2024

วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?

1. ตอนเช้ามาที่นา เห็นฝูงเป็ดไล่ทุ่ง 1 หมื่นตัว กำลังสนุกสนานในทุ่งนาข้างๆ

13/05/2023

เรื่องของเห็ดโคน และจาวปลวก (comb) ซึ่งเป็นรังเลี้ยงตัวอ่อน และมีเชื้อราและเห็ดโคน

จุลินทรีย์จาวปลวกก็คือเชื้อราเหล่านี้

เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก (Termite mushroom) เป็นเห็ดที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับปลวก (obligate symbiosis) โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

เห็ดโคนจะเจริญเติบโตออกจากรังปลวกหรือจอมปลวก ถ้าพบเห็ดโคนเจริญเติบโตในบริเวณใดก็ตามเมื่อขุดลึกลงในดินจะพบรากเห็ดโคนเจริญมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) เมื่อเห็ดโคนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการสร้างสปอร์บริเวณครีบดอก และในขณะที่ดอกเห็ดบานออกจะปล่อยสปอร์ที่แก่หลุดออกจากดอก ซึ่งจะถูกลมพัดพาไปตกในบริเวณที่เหมาะสม หรือบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมากๆ จะมีกลิ่นดึงดูดปลวกได้เป็นอย่างดี

ปลวกจะกินอินทรียวัตถุเป็นอาหารพร้อมกับคาบบางส่วนเข้าไปในรังปลวกเพื่อเก็บเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน การสร้างรังปลวกจะเริ่มที่ผิวดินก่อน สปอร์ของเห็ดโคนจะเข้าไปในรังปลวกพร้อมกับเจริญเติบโตเป็นเส้นใยอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน จากนั้นเส้นใยของเห็ดโคนก็จะพัฒนาไปเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่บริเวณสวนเห็ดซึ่งอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสมตุ่มดอกจะค่อยๆ พัฒนา และเจริญไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป

การสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb)

ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราจะขับถ่ายมูลออกมาสองชนิดคือ ชนิดแรกเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง และชนิดที่สองเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้อย่างดีแล้วและอยู่ในสภาพเป็นของเหลว

มูลชนิดแรกประกอบด้วยเศษพืช (เศษไม้) ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ปลวกกัดกินเข้าไป และผ่านกระเพาะของปลวกออกมาอย่างรวดเร็ว โดยในขณะที่ผ่านกระเพาะปลวกนั้น เศษพืชถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำย่อย ดังนั้นมูลที่ถ่ายออกมาจึงมีรูปร่างเป็นท่อนกลมสั้นๆ ซึ่งต่อมาจะถูกกราม (mandibles) ของปลวกกัดจนเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วนำไปสร้างเป็นรังเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำมีรูพรุน รูปร่างติดต่อกันเป็นร่างแห ลักษณะของรังเลี้ยงตัวอ่อนมีลวดลายแตกต่างกันบางครั้งสามารถบอกสกุลของปลวกได้ (สุมาลี, 2547)

ในขณะที่ปลวกสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อนนี้เองจะมีราเกิดขึ้น โดยเส้นใยของราจะมารวมตัวกันเป็นก้อนราสีขาวขนาดเล็กมากที่เรียกว่า nodules อยู่บนรังเลี้ยงตัวอ่อนและเป็นอาหารของปลวก แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งปลวกจะกินน้อยลงทำให้ nodules เจริญรวมกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้นและยืดยาวเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน (pseudorhiza) งอกผ่านดินจนทะลุขึ้นเหนือผิวดินกลายเป็นดอกเห็ด

ปลวกเมื่อกินเส้นใยของราเข้าไปแล้วจะถ่ายมูลออกมาเป็นมูลชนิดที่สอง คือเป็นของเหลวซึ่งปลวกนำไปใช้เคลือบผนังด้านในของห้องเห็ด ดังนั้นรังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีน้ำย่อยจากลำไส้ของปลวกผสมอยู่ด้วย น้ำย่อยนี้อาจจะ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เส้นใยของเห็ดโคนเจริญเติบโตดี ส่วนประกอบของรังเลี้ยง ตัวอ่อน (comb) สร้างจากกากอาหารของปลวกนั่นเอง

การเจริญเติบโตของเห็ดโคนจากการศึกษาของ Bels, P.J. and Pataragetvit, S. (1982) แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1

ระยะแรกจะเริ่มต้นภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) ปรากฏกลุ่มของ เส้นใยที่มีลักษณะกลมมีขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วไป เส้นใยมีสีขาวคือกลุ่มของเส้นใยเห็ดโคน จากนั้นเส้นใยจะรวมตัวกันและจะเจริญเป็นปมเล็กๆ (nodules) ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.5-1.5 มม. และบางครั้งจะพบเส้นใยสีเขียวมะกอกซึ่งเป็นกลุ่มเส้นใยของเชื้อรา Xylaria sp. เจริญปะปนอยู่ด้วย บริเวณรังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีตัวอ่อนของปลวกเป็นจำนวนมากกินเส้นใยและตุ่มเห็ดเป็นอาหาร ตัวอ่อนของปลวกจะช่วยกันดูแลและควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นใย ซึ่งเป็นการกระตุ้นหรือช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดโคน และช่วยลดการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา Xylaria sp. ด้วย

ระยะที่ 2

เป็นระยะที่ปลวกกินเส้นใยเห็ดโคนน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพไปสร้างรังใหม่ ทำให้เส้นใยเห็ดโคนเจริญเติบโตเป็นกลุ่มเส้นใยคล้ายกำมะหยี่ สีขาว โดยมีเชื้อราสีเขียวมะกอกของ Xylaria sp. เจริญควบคู่กันไปด้วย ในระยะที่สองนี้เส้นใยเห็ดโคนจะเริ่มพัฒนาไปเป็นส่วนที่คล้ายราก (pseudorhiza) ซึ่งจะเจริญเติบโตไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป มักอยู่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งพบว่าเชื้อรา Xylaria sp. ก็เริ่มพัฒนาเป็นดอกเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กสีดำ แต่ไม่สามารถเจริญผ่านชั้นของดินขึ้นมาได้ จะเกิดได้เฉพาะในรังปลวกเท่านั้น แต่สำหรับเห็ดโคนซึ่งมีหมวกดอกที่แข็งแรงสามารถ เจริญแทงผ่านทะลุชั้นของพื้นดินขึ้นมาได้

ระยะที่ 3

เป็นระยะสุดท้ายซึ่งไม่มีเชื้อเห็ดโคนและไม่มีตัวปลวก รังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีสีเขียวปนดำ และมีเส้นใยของเชื้อรา Xylaria sp. ขึ้นกระจายอยู่ทั่วรังปลวกและบางครั้งอาจโผล่ออกมาจากรังปลวกได้ ในระยะแรกเส้นใยจะมีสีขาวภายหลังจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

นิเวศวิทยาของเห็ดโคน

การแพร่กระจายของชนิดเห็ดโคนจะเกิดควบคู่กันไปกับการกระจายตัวของชนิดปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราที่อาศัยอยู่ร่วมกัน พบขึ้นในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นเท่านั้น เช่น ทวีปแอฟริกา เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนพบอยู่ทางตอนใต้ของจีน ญี่ปุ่น และเกาะไต้หวัน

โดยจะพบเห็ดโคนขึ้นอยู่ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ที่มีปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราสร้างรังอยู่ใต้พื้นดินหรือขึ้นบนจอมปลวก

ในประเทศไทยมีระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเกิดเห็ดโคนเนื่องจากอยู่ในเขตมรสุมที่มีฝนตกชุก และส่วนใหญ่เห็ดโคนมักแพร่กระจายในสภาพนิเวศป่าที่ค่อนข้างโปร่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไผ่ขึ้นอยู่เห็ดโคนจะชอบขึ้น นอกจากนี้ยังพบมีการแพร่กระจายอยู่ในระบบนิเวศของป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ตลอดไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น สวนผลไม้ และสวนป่าสัก เป็นต้น ในประเทศไทยเห็ดโคนจะเริ่มออกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ถ้าฤดูฝนยาวนานกว่าปกติอาจพบเห็ดโคนได้ในเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคม

ทางภาคใต้เห็ดโคนสามารถขึ้นได้สองครั้งต่อปี เห็ดโคนสามารถพบได้ทั้งชนิดที่ขึ้นอยู่บนจอมปลวกและบริเวณพื้นที่รอบๆ จอมปลวก หรือขึ้นกระจายอยู่บริเวณที่ราบหรือเนินบนพื้นดินทั่วไป โดยที่ไม่มีจอมปลวกแต่จะมีรังปลวกอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่มีการปกคลุมด้วยเศษไม้และใบไม้ร่วงหล่นทับถมกันอยู่ โดยทั้งชนิดของเห็ดโคนและช่วงการเกิดดอกเห็ดจะแตกต่างกันออกไปตามสภาวะแวดล้อมในแต่ละพื้นที่

สภาพดินที่พบเห็ดโคนเจริญเติบโตจะเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย และเป็นบริเวณที่มีความชุ่มชื้น อยู่เสมอ ส่วนบนพื้นดินจะปกคลุมด้วยเศษไม้และใบไม้ หรือต้นหญ้าก็ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเกิดเห็ดโคนประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินประมาณ 6.2-6.5 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบริเวณพื้นดินเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และ ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศประมาณ 85-90%

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโคน

บริเวณรังปลวกที่มีเห็ดโคนขึ้นอยู่จะมีความชื้นสูงมาก อุณหภูมิภายในโพรงของรังปลวกประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายนอกรังปลวก ประมาณ 26-27 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 5.0-5.6 และความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศประมาณ 70-80%

ที่มา : เห็ดโคนกับปลวกและการเพาะเลี้ยงเห็ดโคน (2552) โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Photos from บุญญานันท์ ฟาร์ม Boonyanan Farm's post 27/11/2022

บุญญานันท์ฟาร์ม ภาคงานสวน

ปีนี้ปล่อยสวนรกหน่อย แต่ยังคงความเป็นอินทรีย์เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนหลักการ

มะละกอที่เกิดขึ้นเองข้างกองปุ๋ยหมักเศษอาหาร ก็เติบโตงอกงาม 3 ต้น ต้นนึงลูกป้อมดกมาก อีกต้นนึงลูกไม่ดกแต่ยาว ส่วนอีกต้นนึงเตี้ย แคระ

ปุ๋ยหมักเศษอาหารช่วยกำจัดเศษอาหาร ไม่สร้างภาระให้ อบต. จนเกินไป (ทิ้งแต่ขยะแห้ง ส่วนขยะเปียกเอามาทำปุ๋ยหมักทั้งหมด)

แรกๆก็มีปัญหา คือแมลงวันมาตอมเศษอาหาร วางไข่ กลายเป็นหนอน

แต่ธรรมชาติก็ส่งผู้ช่วยมาให้ คือมดแดง ที่พร้อมจะลงมา ”เก็บเกี่ยว” หนอนทุกตัวไปเป็นอาหาร

เป็นสมดุลของธรรมชาติ

ถ้าเรากำจัดมดแดง แมลงวันก็จะเพิ่มจำนวนเป็นพาหะนำเชื้อโรค

หัวใจของเกษตรอินทรีย์ ”รักษาสมดุลธรรมชาติ” ทำเกษตรด้วยการไม่ทำ

สำหรับผู้ที่เคยติดตามบุญญานันท์ฟาร์มภาคงานนา ปีนี้ตอนปลูกข้าว ก็หญ้าท่วมข้าว พอเกี่ยวข้าว (ที่แสนจะน้อยนิดไม่พอกิน) น้ำก็ท่วมนา ท่วมกันทั้งทุ่งบางระกำ

ก็เลยไม่มีผลผลิตออกมาจำหน่ายนะครับ ขอบคุณ FC หลายๆ ท่านที่กรุณาถามถึงข้าวอินทรีย์ของบุญญานันท์ฟาร์มนะครับ

Photos from บุญญานันท์ ฟาร์ม Boonyanan Farm's post 19/03/2022

ปุ๋ยหมัก 101

เรียนวิชานี้ซ้ำมาหลายปี ก็ให้แต่เกรด D กับตัวเอง

สับย่อยเศษพืชจากการถางวัชพืชตัดแต่งกิ่งไม้ในสวน หมักกับปุ๋ยคอกขี้วัว และหมั่นรดน้ำกองปุ๋ยหมักทุกวัน และฉีดน้ำระดับลึกสัปดาห์ละครั้ง

พบจุลินทรีย์สีขาว ที่บางคนเรียกว่าราขาว แต่ที่จริงคือแบคทีเรียแแอคติโนไมซีส (Actimomycetes) ซึ่งช่วยย่อยสลายเศษพืชอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้น

แบคทีเรียชนิดนี้ต้องการออกซิเจน จึงห้ามเหยียบกองปุ๋ยหมักให้แน่น แต่การสับย่อยทำให้เกิดความแน่นพอดีๆที่ช่วยรักษาความชื้นและความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้เชื้อจุลินทรีย์ทำงานได้เต็มที่

วันนี้ลองพลิกกลับกองปุ๋ยหมักอายุ 2 เดือนครึ่ง พบ ”เพื่อนๆ” ที่เข้ามาช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก เช่น หนอนด้วงตั้งแต่ไซส์มักโรนี จนถึงไซส์หัวแม่มือ, แมลงตัวสีดำคล้ายแมลงเหนี่ยง และตัวกะปิ หรือไอโซพอด

ทั้งหมดนี้คือผู้ช่วยย่อยสลายชั้นดีในกองปุ๋ยหมัก

วันนี้พลิกกลับกอง และตักเอาปุ๋ยที่อยู่ก้นกองมาร่อนผ่านตะกร้า เอาไปตากแดดฆ่าเชื้อโรคสัก 2-3 วันก็จะได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์มาใช้งาน

ความพิเศษของปุ๋ยหมักบ้านนี้คือ มีเศษอาหารจากครัวเรือนด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ปุ๋ยนี้ไม่อินทรีย์ 100% เพราะในอาหารที่เรารับประทานก็มีทั้งอินทรีย์และไม่อินทรีย์

ที่ต้องผสมเศษอาหารเพราะต้องการกำจัดเศษอาหารไม่ให้เป็นภาระของชุมชน บางครั้งเทเศษอาหารแล้วแมลงวันมาตอม ก็เททับด้วยปุ๋ยคอกบ้าง ทับด้วยเศษหญ้าบ้าง

แต่ที่น่าประทับใจคือ พอเกิดหนอนแมลงวัน ก็จะมีนักล่า คือมดแดงที่ทำรังอยู่ใกล้ๆ ลงมาคาบหนอนแมลงวันไปกิน นี่คือระบบนิเวศที่ได้สมดุล กองปุ๋ยเศษอาหารจึงไม่เป็นที่เพาะพันธุ์ของแมลงวัน

ถึงจะไม่อินทรีย์ 100% แต่ตอบโจทย์เรื่องการกำจัดเศษอาหารได้ 100%

ที่ผมให้เกรด D กับตัวเองเพราะได้ปุ๋ยหมักก็ถือว่าสอบผ่าน แต่ได้คะแนนไม่เยอะเพราะใช้เวลานานไปหน่อย

มืออาชีพเขาหมักกันเดือนเดียว แต่ผมหมักมา 2 เดือนครึ่ง เพิ่งได้ปุ๋ยมานิดเดียว ส่วนที่เหลือยังต้องหมักต่อไปอีก

สู้ต่อไปครับ เพื่อโลกของเกษตรอินทรีย์

Photos from บุญญานันท์ ฟาร์ม Boonyanan Farm's post 01/12/2021

จากวัชพืชสู่จานอาหาร

ผักโขม (amaranth) เป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งผมไม่รู้ว่ามาเกิดในสวนข้างบ้านตั้งแต่เมื่อไร แรกๆก็ตัดทิ้ง

ต่อมา ลูกๆไปร้านอาหาร ชอบกินผักโขมอบชีส (baked spinach with cheese) ก็เลยมาลองทำกินเองบ้าง

เดี๋ยวนี้ ผักโขมข้างบ้านก็ไม่ต้องตัดทิ้งแล้ว กลายเป็นเมนูอร่อยเสิร์ฟบนโต๊ะ

ถ้าถามว่าคุ้มมั้ยที่มีวัชพืชกินได้มาเกิดอยู่ข้างบ้าน ก็มองได้ 2 แง่ครับ

ถ้าผัดผักกาด ซื้อผักมา 20 บาท เนื้อสัตว์ 20 บาท รวม 40 บาท

แต่ผักโขมอบชีส ค่าผักประหยัดไป 20 บาท เนื้อสัตว์+ไข่ 30 บาท มอสซาเรลลาชีส 45 บาท รวมจานนี้ 95 บาท แต่จ่ายเพียง 75 บาท แต่ถ้าไปกินในร้านอาหาร น่าจะเกิน 200 บาท

ดังนั้น จึงตอบได้ยากครับว่าคุ้มหรือเปล่า แล้วแต่มุมมอง

ขอเสริมความรู้นิดนึงว่า ผักโขม ในภาษาอังกฤษคือ amaranth

แต่คนไทยมักเรียก spinach ว่าผักโขม

อันที่จริง spinach คือผักปวยเล้ง

น่าจะเกิดจากการ์ตูนป๊อปอาย 💪🏋🏼⚓️ แปลคำว่า spinach ว่า ผักโขม มาก่อน

พอมีเมนู baked spinach with cheese หรือ cheesy baked spinach เข้ามาเมืองไทย คนไทยก็เลยเรียกว่าผักโขมอบชีส แทนที่จะเรียกว่า ผักปวยเล้งอบชีส ซึ่งฟังดูเป็นอาหารจีนปนฝรั่ง

แต่ในความเห็นของผม แม้ว่า ผักโขมกับผักปวยเล้งจะเป็นพืชคนละสกุล (genus) กัน แต่รสชาติเมื่ออบชีสแล้ว ไม่แตกต่างกัน

และที่สำคัญคือ ทั้งผักโขมและผักปวยเล้งมีสารออกซาเลตสูงทั้งคู่ ถ้ากินมากๆ ก็อาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้เช่นเดียวกับพืชอีกหลายชนิดเช่น ผักแพว ใบชะพลู ใบยอ (อ่านเพิ่มเติม https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141/)

ดังนั้น ก่อนนำมาปรุงอาหาร ผมจะต้มผักโขมและทิ้งน้ำไปก่อนหนึ่งน้ำ (แม้จะเสียดายวิตามินที่ละลายน้ำไป) เพื่อลดปริมาณออกซาเลตนะครับ

ถ้าผักโขมกินได้...ผักโขมก็ไม่ใช่วัชพืชน่ะสิ 😁😁

11/10/2021

จาวปลวกคือเนอสรีสำหรับอนุบาลตัวอ่อนของปลวก

ดังนั้น เมื่อเราขุดจาวปลวกมาทำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก สิ่งดีๆที่ได้มาคือเชื้อราในจาวปลวกที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายที่ดีเลิศ

แต่ความเสี่ยงที่ติดมาคือไข่หรือตัวอ่อนของปลวกจะขยายพันธ์ุปลวกที่จะมากัดกินบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ไม้

แต่ปลวกไม่กัดรากไม้สดนะครับ สังเกตต้นไม้ที่โดนจอมปลวกหุ้ม ก็ยังอยู่ดี

Photos from บุญญานันท์ ฟาร์ม Boonyanan Farm's post 26/06/2021

บุญญานันท์ ฟาร์ม ยังคงทำข้าวอินทรีย์ต่อไป

ข้าวพันธุ์ กข43 ปลูกมาแล้วประมาณ 2 เดือน แต่ข้าวแตกกอน้อยกว่าหญ้า

มีนกน้อยมาทำรังที่ข้างคันนา

ฟินกันไป 😊

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริการอาหารและเครื่องดื่ม ใน Pitsanulok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?3. ขากลับเจอฝูงแพะเดินข้ามสะพานพอดี
วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?2. ฝูงควายเงินล้าน เดินผ่านหน้านา
วันปศุสัตว์แห่งชาติ หรือเปล่า?1. ตอนเช้ามาที่นา เห็นฝูงเป็ดไล่ทุ่ง 1 หมื่นตัว กำลังสนุกสนานในทุ่งนาข้างๆ
จาวปลวกคือเนอสรีสำหรับอนุบาลตัวอ่อนของปลวก ดังนั้น เมื่อเราขุดจาวปลวกมาทำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก สิ่งดีๆที่ได้มาคือเชื้อราใ...
How did we do organic rice farming? part 2Please follow our BoonyananFarm channel on YouTube very soon.Satit23 Feb 2019
How did we do organic rice farming? part 1Please follow our BoonyananFarm channel on YouTube very soon.Satit23 Feb 2019
ไม่รู้ว่าอะไรทำให้ลูกทั้งสามของเราชอบเล่นดินเล่นโคลนกันขนาดนี้โดยเฉพาะเจ้าวิกเตอร์ลูกชายคนเล็ก ไม่รู้ว่ากินน้ำโคลนไปกี่อ...

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

P5R5+Q9 ตำบล บางระกำ อำเภอ บางระกำ พิษณุโลก (16. 7419030, 100. 1583920)
Pitsanulok
65140

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 20:00
อังคาร 09:00 - 20:00
พุธ 09:00 - 20:00
พฤหัสบดี 09:00 - 20:00
ศุกร์ 09:00 - 20:00
เสาร์ 09:00 - 20:00
อาทิตย์ 09:00 - 20:00

ฟาร์ม อื่นๆใน Pitsanulok (แสดงผลทั้งหมด)
วีรภัทรไก่ชน วีรภัทรไก่ชน
94 หมู่7 บ้านเรียงกระดก อ.บางระกำ
Pitsanulok, 65240

Resortกลางนา โฮมสเตย์ ทะเลหมอก ร่องเขานครชุม Resortกลางนา โฮมสเตย์ ทะเลหมอก ร่องเขานครชุม
บ้านโนนนาซอน
Pitsanulok, 65120

โฮมสเตย์ ร่องเขานครชุม

HOME HUG FARM HOME HUG FARM
หมู่ 9 บ้านแหลมโพธิ์ ต. บ้านกร่าง อ. เมือง
Pitsanulok, 65000

เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนค?