ฟาร์มหอยขม ปลาซิว วิศวกรประมง

ฟาร์มหอยขม ปลาซิว วิศวกรประมง

ความรู้การจัดการฟาร์มเลี้ยงปลาดุก?

Photos from ฟาร์มหอยขม ปลาซิว วิศวกรประมง's post 25/08/2023

ปลาซิวชนิดต่างๆตามธรรมชาติ บางพื้นที่ชื่อเรียกอาจแตกต่างกันไป

25/08/2023

ปลาซิวพันธุ์หนวดยาว หรือปลาซิวนา ทางฟาร์มเราเพาะเลี้ยงบ่อดินแบบธรรมชาติ เตรียมจำหน่ายกับผู้ที่สนใจเร็วๆนี้

30/07/2023
04/08/2022

สุ่มวัดขนาด ชั่งน้ำหนักปลาดุก 2 เดือน

08/07/2020

ช่วงฝนตก เทสค่าน้ำบ่อยหน่อยครับ

06/06/2020

ทดสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำ DO ทดสอบในช่วงก่อนเที่ยง ไตเตรทได้ 8 หยด ได้ค่า DO 4 PPM เพียงพอ ไม่เป็นอัตรายต่อสัตว์น้ำ ถ้าอยากรู้ค่า DO ที่ต่ำที่สุดในช่วงวัน ให้ทดสอบช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นครับ

05/06/2020

โดโลไมท์ ใช้ได้ทั้งการเตรียมบ่อปรับสภาพพื้นบ่อ เตรียมน้ำเพิ่มO2 และใช้คุม ph ในช่วงการเลี้ยง

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 02/06/2020

ตรวจสภาพน้ำดิบก่อนสูบเข้าบ่อเลี้ยงรอบสองของปีนี้ครับ

30/05/2020

การดูแลปลาช่วงฤดูฝน จากกรมประมงครับ

#กรมประมง...เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน 🌧 💦โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

🔹วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับจำหน่ายได้ก่อนฤดูน้ำหลาก
🔹ควรคัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้
🔹ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมหรือน้อยกว่าปกติ เพื่อลดความสูญเสียจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
🔹เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพที่ดี และให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น โปรไบโอติก วิตามินซี วิตามินรวม เป็นต้น
🔹วางแผนจัดการคุณภาพน้ำที่ดี ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำหากสภาพอากาศปิด มีฝนตก ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างฉับพลัน เกษตรกรสามารถป้องกันการตายของสัตว์น้ำได้ โดยการเปิดเครื่องตีน้ำหรือสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ ส่วนกรณีที่ฝนตกหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเฮช, pH) ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีค่าลดลง ควรโรยปูนขาวหรือปูนมาร์ล เพื่อควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง และเติมเกลือแกง เพื่อลดความเครียดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อนอกจากนี้ ควรควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะ หรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
🔹ระหว่างเลี้ยง ควรทำความสะอาดพื้นบ่อ กรณีที่เลี้ยงในกระชังให้ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ เศษอาหาร มูลของเสีย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปรสิตรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ
🔹ปรับปรุงบ่อ, เสริมคันบ่อหรือทำผนังบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆ มาพร้อมจัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไป
🔹ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังหรือเผา
ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยไว้ในบริเวณบ่อหรือกระชังที่เลี้ยง เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว
🔹กรณีเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก

💬สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อย และเกษตรกรควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่
🔸โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เหาปลา และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ อาทิ ว่ายน้ำผิดปกติ หายใจถี่ มีจุดแดงตามผิวลำตัว เป็นต้น สามารถรักษาได้โดยใช้ด่างทับทิม
1-2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน แต่หากเป็นการรักษาปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชัง ให้ใช้ผ้าใบหุ้มกระชังก่อนสาดสารเคมี นอกจากนี้ ยังสามารถแช่ขวดหรือถุงด่างทับทิม หรือถุงเกลือ ไว้ในกระชังเป็นจุด ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณปรสิตที่อยู่ในกระชังและลดความเครียดให้ปลาได้ด้วย
🔸โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่พบในปลา เช่น วิบริโอ สเตรปโตคอคคัส แอโรโมแนส ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียมักจะฉวยโอกาสเข้าไปทำอันตรายปลาเมื่อปลาอ่อนแอ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางกระแสเลือด โดยปลาที่ป่วยจะมีอาการซึม ไม่กินอาหาร มีแผลเลือดออกตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ มีตุ่มฝีที่บริเวณใต้คางและผิวลำตัว ตาขุ่น ตัวด่าง ทยอยตาย กรณีกุ้งให้สังเกตสีตับ เหงือก ผิวตัว ทั้งนี้ หากพบสัตว์น้ำมีอาการดังกล่าว ควรส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดแบคทีเรีย และใช้ยาต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้นๆ
🔸โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบในปลา เช่น เคเฮชวี และทีไอแอลวี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไวรัสอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือ ไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันโดยให้ความสำคัญกับการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและลดช่องทางในการรับเชื้อ
​ 👉ทั้งนี้ เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจาก ทางราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด /สัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร ☎️ 0-2562-0600-15 ©

26/05/2020

ระหว่างรอชลประทานปล่อยน้ำเพื่อจะได้ลงปลารอบที่2ของปีนี้ เลยจัดชุดทดสอบคุณภาพน้ำชุดใหม่มาประจำการครับ

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 30/12/2019

หว่านปูนขาว สารปรับสภาพดิน เตรียมบ่อ ลงลูกปลารอบใหม่ ปี63 เป้าหมายทำรอบเลี้ยงให้ได้ 3 - 4 รอบ

27/12/2019

ดุกบิ๊กอุยสวยๆ ส่งท้ายปี 2 - 3 ตัวโล โบ้ ย่าง

27/12/2019

จับปลาดุกส่งท้ายปีครับ หาทุนกินหมูกระทะปีใหม่

18/10/2019

การใช้พลังงานสัตว์น้ำ
ปลาหรือสัตว์น้ำต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต สืบพันธุ์ และกิจกรรมต่างๆ
พลังงานได้มาจากการสันดาปอาหาร โดยเรียกขบวนการทางชีวเคมีของการใช้พลังงานว่า
Metabolism อัตราการใช้พลังงาน (Metabolic rate) ของปลา หรือสัตว์น้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้
1. ขนาดของสัตว์น้ำหรือปลา ปลาขนาดเล็กต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต
มากกว่าปลาโตเต็มวัย โดยสัตว์น้ำวัยอ่อนต้องการพลังงานสูงกว่าสัตว์น้ำที่โตเต็มวัยเพราะพื้นที่สัมผัส
น้ำของสัตว์น้ำวัยอ่อนมีน้อยกว่าสัตว์น้ำที่โตแล้ว
2. กิจกรรมของสรีระ ความต้องการพลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่หรือว่ายน้ำ ในการ
ต้านทานกระแสน้ำ และทดแทนพลังงานที่สูญเสียไปจากการตกใจ ปริมาณพลังงานต้องมีเพียงพอใน
กิจกกรรมนี้ก่อน แล้วจึงนำพลังงานที่เหลือไปใช้ในการเจริญเติบโต
3. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในความต้องการพลังงาน ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น
ต้องการพลังงานเพื่อรักษาหรือควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ อุณหภูมิในร่างกายขึ้นอยู่กับ
อุณหภูมิของน้ำเป็นหลัก เมื่ออุณหภูมิของน้ำต่ำลง ปลาก็ลดกิจกรรมของตัวเองด้วย เช่น ลดการกิน
อาหาร เกิดอาการเฉื่อย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นปลามีอาการว่องไวขึ้นด้วย
4. ความเครียด ปลาใช้พลังงานเพื่อต่อต้านความเครียด ซึ่งมาจากสภาพแวดล้อม
ได้แก่ ความหนาแน่น การเคลื่อนย้าย อาหารคุณภาพต่ำ น้ำเสีย ความเค็ม ปริมาณออกซิเจน
คาร์บอนไดออกซด์ที่ละลายน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง และอื่นๆ

การหมุนเวียนของแร่ธาตุในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 17/10/2019

เข้าใจการหมุนเวียนแร่ธาตุในบ่อดิน เพื่อป้องกันน้ำเสีย

การหมุนเวียนของแร่ธาตุในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบรรยายพิเศษหัวข้อ "การหมุนเวียนของแร่ธาตุในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ" ในวันที่ 8 ธันวาคม 2558 โดย ดร.สรวิศ เผ่า.....

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 01/10/2019

หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1)

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 24/09/2019

ปรับสภาพน้ำที่มีค่าแอมโมเนียเกินเป็นเวลาสองสัปดาห์ ด้วยน้ำหมัก และ ปุ๋ยโบกาชิ พร้อมควบคุมปริมาณการให้อาหาร ไม่ได้ถ่ายน้ำออก เพิ่มน้ำเข้าเพียงน้ำฝนธรรมชาติ ค่าน้ำลงมาเกือบปกติแล้ว

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 12/09/2019

กำลังหาข้อมูลเตรียมจัดหัวบดโครงไก่ไว้สำหรับบดอาหารสดเลี้ยงปลาดุกไว้ประจำการเพิ่มสักเครื่อง ของเดิมเบอร์ 32 เล็กไปซะแล้ว

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 06/09/2019

งานเข้าครับ บ่อปลาสวายบ่อเล็ก ที่รับเลี้ยงอาหารสดแทนบ่อปลาดุกบ่อใหญ่ ที่เพิ่งจับไป เกิดค่าแอมโมเนียขึ้นสูงครับ NH3/NH4 ขึ้น 5 mg/l คือน้ำเสีย ต้องหยุดให้อาหาร ถ่ายน้ำ แต่ยังดี บ่อใหญ่ลงลูกปลาพอที่จะกินอาหารสดได้แล้ว

23/08/2019

เล่นขี้เลนกันสนุกเลยครับวันนี้

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 23/08/2019

คว่ำบ่อปลาดุกรัสเซีย 15,000 ตัว

23/08/2019

อาทิตย์นี้จับปลาดุกครับ คว่ำบ่อ รอดูว่าจะได้สักกี่ตัน ปล่อย 15,000 ตัว เลี้ยงอาหารสดหกเดือน

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 20/07/2019

วันนี้เป็นนักเคมี ทดสอบคุณภาพน้ำบ่อปลา วัดปริมาณแอมโมเนียที่ละลายในน้ำ NH3/NH4+

23/01/2019

ให้ของหวานปลาดุก หายไปในพริบตา

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 18/01/2019

ตอนบ่ายแดดแรงเด็กๆจะหาที่หลบแดดครับ

Agricultural Weather Stations 17/01/2019

IoT เรื่องที่น่าศึกษาของ Smart Farmer

Agricultural Weather Stations เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีใน SmartCity เพื่อวัดอากาศ สภาพแวดล้อมและคุณภาพของน้ำ.
สถานีวัดนี้ เป็นโซลูชันของ ACER ที่มีการนำไปใช้งานจริงแล้วในประเทศไทย มาดูรายละเอียดคร่าวๆ กัน.
ข้อมูลจาก sensor จะส่งออกทุกๆ 5 นาที ไปยังตัว gateway เพื่อส่งผ่านไปยัง LoRaWAN network server ทั้งนี้สามารถตั้งค่าความถี่ได้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล เราสามารถนำข้อมูลออกมาแสดงผ่านกระดานแสดงผล ตารางข้อมูลได้.
สำหรับระบบที่แสดงตามรูป จะมีแผงโซล่าเซลล์ขนาด 50W ไว้สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อเป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักให้กับบอร์ดควบคุมและเซ็นเซอร์ต่างๆ เซ็นเซอร์จะเป็นเกรดอุตสาหกรรมใช้พอร์ต RS485 ในการเชื่อมต่อสื่อสารกับบอร์ดควบคุม.
การประยุกต์ใช้ เราสามาถนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ เพื่อพยากรณ์แนวโน้มต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น มันเป็นประโยชน์อย่างมาก ที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำเกษตรกรรมยุคใหม่

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 14/01/2019

ติดตั้งสแลนพรางแสง สร้างร่มเงาให้น้องหอยในช่วงบ่ายๆ ที่แดดแรงมากๆ

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 13/01/2019

เมื่อวานก่อน เพิ่มการเลี้ยงหอยขมอีกหนึ่งกระชัง แม่พันธุ์ซื้อจากตลาดสด สี่กิโลกรัม

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 07/01/2019

วันนี้ย้ายหอยขมที่ลองเลี้ยงในกระเป๋า มาทดลองเลี้ยงในกระชังดูบ้างครับ หลังจากจับปลารอบนี้ถ้าเลี้ยงแล้วโอเค จะเพิ่มการเลี้ยงให้มากขึ้นครับ

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 15/12/2018

ปล่อยหอยขมรุ่นทดสอบรุ่นแรก

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 15/12/2018

วัดขนาด ชั่งน้ำหนัก หอยขมสาว ก่อนทดลองปล่อยเลี้ยในถุงเลี้ยง

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 14/12/2018

ถุงเลี้ยงหอยขม V2 เพิ่มพื้นที่เลี้ยง เพิ่มช่องให้อาหาร

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 14/12/2018

เตรียมแม่พันธุ์หอยขม ถุงเลี้ยง และวัสดุยึดเกาะ เพื่อทดลองเลี้ยงหอยขมในถุงผ้าตาข่าย ในบ่อปลาดุก

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 11/12/2018

สวนเกษตรลุงบุญมี ศึกษาดูงาน การเลี้ยงจิ้งหรีด GAP ส่งออก

Photos from ฟาร์มปลาลุงบุญมี's post 11/12/2018

มะละกอฮอลแลนขอบบ่อ ปลอดสาร กินไม่ทันก็แบ่งขายจ้า

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริการอาหารและเครื่องดื่ม ใน Phitsanulok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

เว็บไซต์

ที่อยู่


47 หมู3 ต. พลายชุมพล อ. เมือง จ. พิษณุโลก
Phitsanulok
65000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 06:00
อังคาร 09:00 - 06:00
พุธ 09:00 - 06:00
พฤหัสบดี 09:00 - 06:00
ศุกร์ 09:00 - 06:00
เสาร์ 09:00 - 06:00
อาทิตย์ 09:00 - 06:00

ฟาร์มในเมือง อื่นๆใน Phitsanulok (แสดงผลทั้งหมด)
Papa&Mama Plants Papa&Mama Plants
143/2 ม. 1 (รีสอร์ท Khanchong Kawana)
Phitsanulok, 65160

ไม้ด่าง บอนสี ไม้น้ำ ราคาน่ารักเหมื?

ไพโรจน์ฟาร์มบางแก้วสีขาว-เทาจังหวัดพิษณุโลก ไพโรจน์ฟาร์มบางแก้วสีขาว-เทาจังหวัดพิษณุโลก
หมู่ 6 ต. ปากโทก
Phitsanulok, 65000

สุนัขบางแก้วสีขาว-เทา

ทศฟาร์ม ปลาสวยงาม ทศฟาร์ม ปลาสวยงาม
631 หมู่ 2 ถ. เลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ต. อรัญญิก อ. เมือง จ. พิษณุโลก
Phitsanulok, 65000

ทศฟาร์ม ทุกสิ่งอย่าง เกี่ยวกับปลาสวยงาม ครับ

ธรรศศรัณย์ฟาร์ม พิษณุโลก ธรรศศรัณย์ฟาร์ม พิษณุโลก
ซอย สุเทพ
Phitsanulok, 65000

แหล่งเพาะพันธ์ไก่ชนพม่าลีลา รำวง ม้าล่อ ลีลาสวยงามทุกแข้งที่ยกขึ้นมาต้องหวังผลได้

ไร่เนินเพิ่ม NP Farm ไร่เนินเพิ่ม NP Farm
Noenphoem , Nakhornthai
Phitsanulok, 65120

ไร่เนินเพิ่ม แทนคุณแผ่นดินด้วยเกษต

Yut Sarayut Wajasujakul Yut Sarayut Wajasujakul
Phitsanulok, 65000

ออกกำลังกายตามประสาเด็กๆ

Wattana Farm Grass Phitsanulok - วัฒนาฟาร์ม หญ้าอาหารสัตว์ พิษณุโลก Wattana Farm Grass Phitsanulok - วัฒนาฟาร์ม หญ้าอาหารสัตว์ พิษณุโลก
123/2 หมู่ 8 ต. ท่าทอง
Phitsanulok, 65000

ไร่หญ้า grass การเกษตร จำหน่าย หญ้าแพงโ?

สิงห์โตทองฟาร์มบางแก้ว สิงห์โตทองฟาร์มบางแก้ว
117 วัดจันทร์
Phitsanulok, 65000

1.เพาะพันธุ์และจำหน่ายสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว 2.ปลูกและจำหน่ายผลอินทผลัม