ศูนย์บริการข้อมูลสำหรับนิสิต (Student Services Information Desk: SSiD) ศูนย์บริการข้อมูลสำหรับนิสิต (Student Services Information Desk : SSiD) มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดตั้งเพื่อ เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อบริการนิสิต ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับนิสิต เช่น เรื่องเรียน ส่วนตัว การทำกิจกรรม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อเอื้ออำนวยให้นิสิตใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรได้สะดวก ปลอดภัย และมีความสุขยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนิสิตให้เป็นไปได้มากที่สุด
เปิดเหมือนปกติ
📢📢#ประกาศแจ้งนิสิตทราบ 📣📣
ให้นิสิตหอพักชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 กรอกข้อมูลเพื่อขอรับเงินคืนค่ามัดจำกุญแจห้องพักและค่าประกันความเสียหาย>> ตาม QR Code ในรูป หรือที่ลิ้งค์ https://bit.ly/3sTzwDY เพื่อขอรับเงินดังกล่าวคืน
v
v
📌สามารถกรอกข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. - 5 มิ.ย. 65📌
v
v
👉👉>>ก่อนกรอกข้อมูลนิสิตต้องแน่ใจก่อนว่านิสิตไม่มีสัมภาระในห้องพักและได้ชำระค่าไฟฟ้าหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของนิสิตเรียบร้อยแล้ว
ปีการศึกษา 2565 ยินดีต้อนรับนิสิตทุกชั้นปี
มารู้จักหอพัก NU Dorm กันเถอะๆ >>> สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-5596-1287-90 #NUDorm
#มีข่าวดีสำหรับว่าที่บัญฑิตปี63มาฝากกก~~😁😁
🏛️หอพักนิสิต ม.นเรศวร🏛️ เปิดให้บริการห้องพักชั่วคราว 👨🎓(ช่วงรับปริญญาฯ 27-30 ธ.ค. 64)👩🎓 >>> 👍ราคาถูก ปลอดภัย เดินทางง่าย สะดวกสบาย ไม่แออัด กว้างขวาง 👉👉👉👉>>>สนใจสอบถามรายละเอียดและจองห้องพัก 0-5596-1289 (ในวันและเวลาราชการ)>>>
📌ด่วนๆ นะคะ เพราะห้องพักมีจำนวนจำกัดค่ะ📌😊😊
#NUDorm
Timeline photos
People, Places and Things ...
คู่มือป้องกันการทำร้ายตัวเอง 📕
หนึ่งในปัญหาที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มหนึ่งมักมาเล่าให้จิตแพทย์ฟัง คือ การทำร้ายตนเองเวลามีอารมณ์ดิ่งลง หรือหงุดหงิดมาก ไม่ว่าจะเป็นการตบหน้า จิกตนเอง หรือใช้ของมีคมกรีดข้อมือ กรีดขา ผู้ป่วยมักบอกเล่าว่าเมื่อมีอาการเจ็บทางกายเกิดขึ้น อาการทางด้านอารมณ์ที่ทนได้ยากก็มักจะดีขึ้น
ผู้ป่วยมักไม่ชอบใจเวลาตนเองทำพฤติกรรมเช่นนี้ แต่เมื่อมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าจะจัดการกับอารมณ์อย่างไร บางคนใช้การร้องไห้เป็นการระบายอารมณ์ออก บางคนหันไปดื่มเหล้าหรือใช้ยาเสพติด แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อการจัดการกับอารมณ์ทางลบนั้น หรืออาจมีผลกระทบทางลบตามมาในระยะยาว
วิธีหนึ่งที่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำ คือ การวางแผนหาวิธีใหม่ ๆ (alternatives) ในการจัดการกับอารมณ์ทางลบขณะนั้น ก่อนจะกรีดข้อมือ พยายามทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตาย หรือแม้แต่ใช้สารเสพติด เราสามารถมีทางเลือกอะไรอีกได้บ้าง โดยการช่วยกันวางแผนนี้จะต้องทำล่วงหน้าในช่วงที่ผู้ป่วยอารมณ์สงบดี เพื่อให้มี “คู่มือพร้อมใช้” เตรียมไว้สำหรับเอาไปใช้ได้เลยในภาวะวิกฤตทางอารมณ์ เพราะตอนมีอารมณ์ดิ่งเรามักจะจมกับทะเลอารมณ์นั้นโดยมองไม่เห็นเหล่าห่วงยางซึ่งก็คือสิ่งช่วยเหลือที่ลอยอยู่รอบ ๆ
สำหรับแนวทางวิธีใหม่ ๆ สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ 3 แนวทาง ดังนี้
1. People ผู้ที่เราเชื่อใจได้และเชื่อว่าเขาพร้อมจะคอยรับฟังยามที่เรามีความทุกข์ หลักการสำคัญคือ ให้เขียนระบุชื่อให้จำเพาะเจาะจง ไม่เพียงเขียนแค่ “เพื่อน ๆ” ได้แต่ต้องเขียนระบุตัวบุคคลได้ เช่น ต้น เต้ย ติ๊งต่าง พร้อม contact ที่สามารถติดต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทร LINE หรืออื่น ๆ และจะยิ่งขึ้น หากเจ้าตัวรับทราบว่าเป็นคนสำคัญที่อยู่ในแผนปลอดภัยของเรา
2. Places พื้นที่ปลอดภัย คือ ที่ที่เราไปอยู่แล้วจะสบายใจขึ้นและปลอดภัยจาก “อารมณ์ที่คุมไม่ได้ของเรา” เช่นเดียวกันกับข้อข้างต้น คือต้องระบุให้แน่ชัดว่าเป็นสถานที่ใด เช่น บ้านคุณอา คาเฟ่แมวที่สุขุมวิท
3. Things สิ่งที่สามารถทำ (ด้วยตนเอง) แล้วเคยหรือน่าจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แน่นอนว่า people อาจจะไม่ว่างมารับโทรศัพท์เราได้ตลอดเวลา และบาง places อาจจะไม่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องวางแผนล่วงหน้า สำหรับกิจกรรมที่เราทำได้ด้วยตนเองขณะอยู่ที่พักหรือที่ไหนก็ได้ ใจความสำคัญของกิจกรรมคือ ควรเป็นกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย (หลีกเลี่ยงการนอน หรือนั่งดูทีวี เล่นมือถือเฉย ๆ) โดยระบุให้ชัดเช่นเดียวกับสองข้อข้างต้น เช่น รดน้ำต้นไม้ ระบายสี หรือเล่นเครื่องดนตรี เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจใส่อย่างอื่นที่นึกขึ้นมาได้อีก เช่น การรับประทานยาคลายเครียด หรือ บางคนอาจใส่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ตนเองรักษามาเป็นทางเลือกหนึ่งของสถานที่ปลอดภัยก็ได้
เมื่อวางแผนได้ครบทุกด้านแล้ว ควรพกแผนติดตัวไปด้วยทุกที่ อาจจะเป็นรูปแบบ digital เช่น ทำเป็น info graphic หรือภาพสวย ๆ เซฟไว้ในมือถือ หรือทำเป็น analog เช่น ทำเป็น card ใบเล็ก ๆ พกไว้ในกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น
ตัวอย่าง
เมื่อฉันมีอารมณ์ไม่ดีเอามาก ๆ ฉันจะจัดการกับอารมณ์ของฉัน ดังนี้
1. People
- โทรหาเต้ย: ผ่าน LINE หรือเบอร์ในมือถือ
- โทรหาต้น: ใช้ messenger โทร
- โทรหาแม่: ผ่าน LINE หรือเบอร์ในมือถือ
- สมาคมสะมาริตันส์ เบอร์ 02-7136793
2. Places
- ไปบ้านอาอี้ที่สามย่าน
- ไปคาเฟ่แมวที่สุขุมวิท 56
- ไปสวนรถไฟ
3. Things
- เล่นกีตาร์
- รดน้ำแคคตัส
- ไปฟิตเนสเพื่อวิ่ง
4. ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ฉันจะทานยาคลายเครียด 1 เม็ดแล้วนอน หรือร้องไห้ออกมาดัง ๆ ในห้องคนเดียว หรือไปแผนกฉุกเฉิน/แผนกจิตเวชของโรงพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ
CC Art & Psychology
-หมอธีรยุทธ-
Photos from มหาวิทยาลัยนเรศวร's post
📢📢หอพัก มน. เปิดรับสมัครนิสิตเข้าอยู่หอพักมหาวิทยาลัยนเรศวร และ หอพักในเครือข่าย ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 ดังนี้📣📣
📌1. กำหนดวันรับสมัคร
✔️✔️วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 – 31 มีนาคม 2565
📌2. วิธีการรับสมัคร
สมัครด้วยตนเอง ที่สำนักงานหอพักนิสิต หรือ โทรศัพท์หมายเลข 0-5596-1287 ถึง 90
📌3. กำหนดการพักอาศัย
✔️✔️พฤศจิกายน 2564 – มิถุนายน 2565
4. ค่าใช้จ่าย
®️ 4.1 บำรุงหอพัก
* ห้องปรับอากาศ อัตราภาคเรียนละ 7,800 บาท
* ห้องพัดลม อัตราภาคเรียนละ 6,900 บาท
®️4.2 ค่าประมัดจำกุญแจ จำนวน 100 บาท
®4.3 ค่าประกันของเสียหาย จำนวน 1,000 บาท
❇️❇️>>>หากนิสิตมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามด้วยตนเองได้ที่สำนักงานหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือ โทรศัพท์หมายเลข 0 5596 1287 ถึง 90 ในวัน เวลา ราชการ (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เพราะชีวิตจริงไม่ใช่เทพนิยายที่สวยหรู หลายครั้งเราต้องผ่านวันร้าย ๆ เหตุการณ์ที่ไม่ดี ความสูญเสีย ความเครียดจากการงาน การเงิน สังคมและเรื่องราวอีกมากมายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ... โดยเฉพาะพ่อแม่ที่เพิ่งมีสมาชิกคนใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เราต้องเรียนรู้เขา เขาต้องเรียนรู้เรา ...
อ. ประเสริฐ บอกว่า การอดนอนอย่างน้อย 1 ปี เพื่ออุ้ม-กอด-บอกรัก-ให้นมลูกนั้นคุ้มสุดคุ้ม ... ตัดภาพมาที่คุณแม่ลูกอ่อนที่อายุ 7 วัน หลายคนสภาพคือเหมือน 'หญิงใกล้ตาย' 555 แต่เมื่อตัดภาพมาที่เหล่าคุณแม่ที่ลูกอายุ 1-3 ขวบ คุณจะเห็นกลุ่มคนที่พิสูจน์ให้คุณได้เห็นแล้วว่า "ไม่ได้นอนเต็มอิ่มเป็นปี ก็ไม่เห็นตายนะคะ" (จะช่วยให้สบายใจขึ้นไหมคะ พ่อหมอ)
ไม่เฉพาะครอบครัวที่มีลูกหรอกครับ เราทุกคนย่อมมีความเหนื่อยยากของตนเอง ... แต่คงดี ถ้ามีใครสักคนที่อยู่ 'ตรงนั้น' ข้าง ๆ เราในวันที่เราเหนื่อยล้า คงจะดีถ้ามีอ้อมกอดที่อุ่นกอดเราแน่น ๆ ให้เราได้รู้ว่า 'เราไม่อยู่ตัวคนเดียว' คงจะดี ถ้ามีไหล่ที่มั่นคงให้ได้พิง ตักอุ่น ๆ ให้หนุนนอนในวันที่เหนื่อยล้าจนน้ำตามันไหลออกมาโดยไร้สาเหตุ
ใครสักคน ... ที่รักเรา
วันก่อน พ่อหมอได้อ่านทวิตของคุณแม่คนหนึ่ง ข้อความว่า "ปกติ ตัวเองและแฟนไม่ได้นอนกอดกันตอนกลางคืน เพราะมันร้อนและเราต่างไม่ชอบนอนกอดกันทั้งคู่ แต่เมื่ออาทิตย์ก่อน ฉันเพิ่งเสียลูกไป ใช่ค่ะ ฉันเพิ่งแท้งลูก ... คืนวันนั้น เขาขยับตัวมานอนใกล้ ๆ จนหลังของเขาติดกับฉันแล้วพูดว่า "ผมอยู่ตรงนี้นะ ถ้าเธอจะร้องไห้หรืออยากจะพูดอะไร ขอให้รู้ว่าผมอยู่ตรงนี้นะ"
และนี่แหละที่เรียกว่า "คู่ชีวิต"
เพราะการอยู่ตรงนั้นเพื่อกัน คือ การบอกรักที่ไร้เสียง
และคู่ชีวิตที่ดี คือ คู่ชีวิตที่ไม่ได้นั่งนิ่ง ๆ ในวันที่อีกคนกำลังวุ่นวายเป็นอีเพิ้งอยู่ในบ้าน
ส่วนตัว วันไหนที่พ่อหมอเหนื่อยหรือเครียด แต่บางทีไม่ได้ต้องการพูดบอกระบายออกไปเป็นคำพูด ตอนกลับไปถึงบ้าน ดื่มน้ำเย็น ๆ สักแก้ว นั่งนิ่ง ๆ สักพัก แล้วอ้าแขนออกไปแล้วบอกว่า "เธอ ... มาให้กอดที" ไม่รู้นะ แต่พอได้กอดเมียแน่น ๆ สักพัก ความเหนื่อยและความเครียดมันดีขึ้นได้จริง ๆ โดยไม่ต้องเอ่ยอะไรสักคำ ...
#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ
ปล. เลี้ยงลูกเชิงบวก แบบไม่ต้องบวกกับลูก ปรับพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยหนังสือ #อย่าปล่อยให้พ่อแม่รังแกฉัน และคู่มือการกินของลูกสำหรับพ่อแม่ที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคนี้ สร้างลูกให้กินง่าย และแก้ไขเด็กกินยากที่ทำได้จริงบนโต๊ะอาหารกับหนังสือ #เลี้ยงลูกให้กินง่าย_แก้ไขเด็กกินยาก
สั่งซื้อได้ที่ http://m.me/tamjaimorbooks
และสามารถสั่งซื้อหนังสือของพ่อหมออีก 3 เล่มเพื่อการเลี้ยงลูกอย่างครบวงจร #เลี้ยงลูกทางสายกลาง (การดูแลเด็กเล็ก กิน-อึ-ฉี่-นอน) #เส้นทางสายนมแม่ (เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสุขใจสายกลาง) #เลี้ยงลูกให้ไกลโรค (โรคที่พบบ่อยในเด็ก ยา และการดูแลสุขภาพยามปกติและเจ็บป่วย) ได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำ และตอนนี้สามารถสั่งซื้อได้ง่ายขึ้นโดยตัวเองที่
https://tamjaimorbooks.page365.net/
หรือสั่งได้ผ่านอินบ็อกซ์ตามใจหมอบุ๊คส์ก็ได้ครับ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
รับสมัครเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (เงินรายได้) ตำแหน่ง ครู (ประถมศึกษา) จำนวน 6 อัตรา
1. ครูสังคม 1 อัตรา
2. ครูวิทยาศาสตร์ 1 อัตรา
3. ครูภาษาอังกฤษ 1 อัตรา
4. ครูคณิตศาสตร์ 1 อัตรา
5. ครูภาษาไทย 1 อัตรา
6. ครูพลศึกษา 1 อัตรา
โปรดศึกษารายละเอียดและตรวจสอบคุณสมบัติให้ครบถ้วน
https://www.personnel.nu.ac.th/home/images/data/file/new/work/center/2564/173.pdf
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
(ปฐมวัยและประถมศึกษา)
📞 เบอร์ 0 5596 8867
(ช่วงเวลาติดต่อ 08.30 – 16.30 น.)
FB : https://www.facebook.com/info.nuds/ หรือ http://www.nuds.nu.ac.th/
📝 ส่งใบสมัครได้ตามช่องทาง ดังนี้
1. ส่งใบสมัครด้วยตนเอง (แต่งกายด้วยชุดสุภาพ) ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ชั้น 1 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร (ในวันและเวลาราชการ)
2. ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ ถึง คุณสุภารัตน์ บูรณะกรณ์ (ฝ่ายบุคคล) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ชั้น 1 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ที่ 9 ถนน พิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก 65000
3. ส่งใบสมัครทางอีเมล์ [email protected] โดยให้นำเอกสารตัวจริงมาให้ในวันสอบข้อเขียน
#NUAlumni
#NaresuanUniversity
#กองกิจการนิสิต
#งานศิษย์เก่าสัมพันธ์
#มหาวิทยาลัยนเรศวร
#ข่าวรับสมัครงานมหาวิทยาลัยนเรศวร
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โดย งานศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาคารอเนกประสงค์ 99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. 0-5596-1225
Hypnic Jerk ผวาตกจากที่สูงขณะหลับ คืออะไรและเกิดจากสาเหตุใด ?
คุณเคยมีอาการแบบนี้บ้างไหม หลังจากที่คุณอาบน้ำและกำลังจะเข้านอนเพื่อพักผ่อนหลังจากที่คุณเรียนหรือทำงานงานมาทั้งวัน คุณทิ้งตัวลงไปที่เตียงและทันทีที่คุณหัวถึงหมอนแล้วคุณก็เคลิ้มพร้อมที่จะหลับไหลลงไปได้ทุกเมื่อ แต่ทันใดนั้นเองคุณก็รู้สึกว่าตนเองกำลังตกจากที่สูงหรือลื่นล้มลง จนสะดุ้งตื่นขึ้นมาหรือตกใจหรือขากระตุกจนชี้ขึ้นไปที่เพดานห้อง ก่อนที่จะรู้ตัวว่าเมื่อกี้แค่ฝันไป หลังจากนั้นคุณก็นอนลงไปใหม่ด้วยความขุ่นเคือง
Hypnic jerk
อ้างอิงจาก ดร. Reena Mehra ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติทางการนอนหลับกล่าวว่า อาการเหล่านี้เกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือที่เรียกกันว่าอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ (myoclonus) โดยที่ทางผู้เชี่ยวชาญยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่แน่นอน แต่ก็มีสมมติฐานอยู่หลายประการ
อย่างในทฤษฎีหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า สมองของเรานั้นได้เกิดความเข้าใจผิดในขณะที่กล้ามเนื้อของเรานั้นได้ผ่อนคลายลงก่อนที่จะหลับลงไป มันเป็นเรื่องปรกติที่กล้ามเนื้อของเราจะผ่อนคลายขณะที่กำลังจะหลับ แต่สมองของเรานั้นสับสนว่าเกิดอะไรขึ้น มันคิดว่าในขณะนั้นเรากำลังจะล้มหรือตกจากที่สูง สมองจึงสั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัวเพื่อลองรับแรงกระแทกที่กำลังจะเกิด ก่อนที่คุณจะสะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา
อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า สมองของคุณยังคงตีความว่าร่างกายของคุณตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายเต็มที่แล้ว และเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน สมองของคุณจะส่งสัญญาณ "อรุณสวัสดิ์ (Wake-Up call)" ไปยังกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุให้ร่างกายของคุณกระตุก
แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะอาการนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ หรือส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด
ตัวกระตุ้นที่ทำให้มีโอกาสเกิดอาการ Hypnic jerk
- การออกกำลังกายดึกเกินไป การออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นร่างกาย ดังนั้นการออกกำลังกายดึกเกินไปหรือออกในช่วงใกล้กับเวลาที่จะนอน จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณถูกกระตุ้น ไม่ผ่อนคลายและอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกขณะหลับได้
- สารกระตุ้น สารบางอย่างที่มีฤทธิ์กระตุ้นสมองและร่างกาย เช่น คาเฟอีน นิโคติน หรือยาบางชนิด อาจเป็นสาเหตุทำให้คุณนอนหลับได้ยากหรือนอนหลับไม่
- ความเครียดและความกังวล ความเหล่านี้ที่สะสมอยู่อาจทำให้คุณไม่สามารถผ่อนคลายและนอนหลับได้อย่างสนิท ความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้สมองของคุณตื่นตัวในช่วงเวลานอน และอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกขณะหลับได้
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้อกระตุกขณะหลับได้
Tip&Trick สำหรับผู้ที่ต้องการการนอนหลับที่ดียิ่งขึ้น
• ละสายตาจากแสงสีฟ้าจำพวกโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชม.
• ลดจำนวนสารกระตุ้นจำพวก คาเฟอีน นิโคตินหรือแอลกอฮอล์ลง โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของวัน
• ตรวจสอบคุณภาพอากาศและอุณหภูมิในห้องของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณรู้สึกสบาย
• แบ่งเวลาส่วนหนึ่งมานั้งสมาธิก่อนนอน
• ปิดไฟนอน
อ้างอิง
https://www.sleepfoundation.org/parasomnias/hypnic-jerks
https://www.news24.com/health24/medical/sleep/news/why-do-i-feel-like-im-slipping-or-falling-as-im-about-to-fall-asleep-20200813
https://www.sanook.com/health/21853/
https://kidshealth.org/en/teens/sleep-start.html
Photos from PR Medicine NU คณะแพทยศาสตร์ รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร's post
อ่านจบแล้วส่งคืนหนังสือกันเถอะ
ช่องทางการส่งคืน
1. ทางไปรษณีย์
2. ตู้รับคืนตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย
3. เคาน์เตอร์ ชั้น 1 สำนักหอสมุด หรือห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้บริการ
------------------
* หมายเหตุ หนังสือที่เกินกำหนดส่งทุกรายการ ส่งคืนวันนี้ - 20 พฤศจิกายน 2564 ไม่มีค่าปรับ
มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตใหม่ หลักสูตรใหม่ BME Programs (MEng/PhD) ระดับ ป.โท และ ป.เอก เปิดรับสมัครโดยตรงผ่านคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564
ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรและการรับสมัคร
http://ww2.eng.nu.ac.th/BMENARESUAN/
🎉 ขอเชิญร่วมประกวดรูปภาพทางวิทยาศาสตร์ในโครงการ Wiki Science Competition 2021 🎉
งานประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์นานาชาติที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ จัดขึ้นโดยกลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดียในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและระดับสากล
กติกาเข้าร่วมการแข่งขัน
•ถ่ายหรือสร้างภาพ วีดีโอ แผนภาพ หรือ กราฟ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่ท่านคิดว่าสามารถนำไปเป็นภาพประกอบในบทความทางวิทยาศาสตร์บนสารานุกรมหรือหนังสือพิมพ์ได้
โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 7 หมวดหมู่ ได้แก่
1.บุคคลในวิทยาศาสตร์
2.รูปจากกกล้องจุลทรรศน์
3.สื่อที่ไม่ใช่รูปถ่าย
4.รูปชุด
5.สัตว์ป่ากับธรรมชาติ
6.หมวดหมู่ทั่วไป
7.ดาราศาสตร์
•สามารถอัปโหลดภาพเพื่อเข้าร่วมการประกวดได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2564 โดยใช้บัญชีผู้ใช้วิกิมีเดียที่กดยืนยันอีเมลแล้ว
•สามารถส่งภาพเข้าประกวดได้ไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิได้รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว รางวัลที่เหลือจากความซ้ำซ้อนจะถูกมอบให้แก่เจ้าของภาพที่อยู่ในลำดับถัดไป
•ต้องเผยแพร่ภาพภายใต้สัญญาอนุญาตเสรี หรือเป็นสาธารณสมบัติ ตัวอย่างเช่น สัญญาอนุญาตเสรีของครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน (CC BY-SA)
•ภาพที่ส่งเข้ามาต้องเป็นภาพที่ถูกถ่ายโดยผู้อัปโหลดเองหรือผู้อัปโหลดเป็นผู้แต่ง หากมีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งต้องระบุชื่อผู้แต่งทุกท่าน ในกรณีที่เจ้าของภาพเป็นองค์กรสามารถให้ตัวแทนองค์กรนั้น ๆ เป็นผู้ส่งภาพได้
•ต้องมีคำบรรยายใต้ภาพเชิงวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ หากเป็นไปได้
•อัปโหลดรูปที่มีความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรืออย่างน้อย 2 ล้านพิกเซลเว้นเสียแต่มีข้อจำกัดทางเทคนิค ภาพจะต้องไม่มีลายน้ำ โลโก้ ข้อความหรือรูปที่เพิ่มเข้าไป
📢 ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ : https://commons.wikimedia.org
เวลาเริ่มและสิ้นสุดการแข่งขันระดับชาติไทย : 15 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม 2564
ช่วงคัดเลือกผลงาน : ธันวาคม 2564 - ถึงมกราคม 2565
ประกาศผู้ชนะระดับนานาชาติ : เมษายน 2565
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://commons.m.wikimedia.org/wiki/Commons:Wiki_Science_Competition_2021_in_Thailand
กำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565
TCAS รอบที่ 1 : โครงการพิเศษการรับนิสิตด้วย #Portfolio
รายละเอียดเพิ่มเติม --> https://www.admission.nu.ac.th/undergrad2.php
📌สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานบริการการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์
โทร 0 5596 2052
#HumanNU #HumanNUTcas1/65
#HUmanNUPR
..........................
#คณะมนุษยศาสตร์_มหาวิทยาลัยนเรศวร
#ผู้นำวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ในประชาคมอาเซียน
🌏 : http://www.human.nu.ac.th
🌐 : https://www.facebook.com/HumanitiesNU/
📧 : [email protected]
☎️: 0 5596 2035 , 0 5596 2055
📠: 0 5596 2000
🎥 : Faculty of Humanities NU
https://www.youtube.com/channel/UC0vUb-dnXajyBtq2q6dn8Iw?view_as=subscriber
12 เรื่องที่ควรหยุด (ซะที)
เมื่อ “ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้” และ “แผลใจไม่มีอยู่จริง”
“ทั้งหมดมันเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์ในอดีต”
“มันไม่ใช่ความผิดของคุณ”
“เดี๋ยวทุกอย่างก็ผ่านไป”
แนวคิดเรื่องแผลใจเป็นตัวอย่างแนวคิดที่ได้รับความนิยมมากในวงการจิตวิทยา และเจ้าของแนวคิดนี้ก็คือเจ้าพ่อแห่งวงการจิตวิทยา ซิกมันด์ ฟรอยด์ โดยแนวคิดเรื่องแผลใจได้มองว่า “เหตุการณ์ในอดีต เป็นตัวกำหนดปัจจุบัน” ประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีตจึงกลายเป็นสาเหตุของความทุกข์ในปัจจุบัน ดังนั้นการอธิบายพฤติกรรมที่ผิดปกติของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปมด้อย แผลใจ จึงกลายเป็นเรื่องที่ดูเข้าถึงได้ และหลายคนก็สามารถเข้าใจและยอมรับมันได้อย่างง่ายดาย
มิ้น กลัวการออกไปพูดต่อหน้าคนเยอะๆ เมื่อเขาจำเป็นต้องออกไปพูดก็จะมีอาการทางกาย เช่น ใจสั่น มือสั่น หายใจหอบถี่คล้ายจะเป็นลม ไปจนถึงควบคุมตัวเองไม่ได้ บ่งบอกว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นความผิดปกติทางจิตเวช ถ้าใช้หลักการทางจิตวิเคราะห์ก็อาจสืบสาวได้ว่า มิ้นในวัยเด็กเคยออกไปพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน แต่โดนเพื่อนในห้องแกล้ง โดยการทำให้เขาเกิดความอับอายกับการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้หลังจากนั้นเขาก็ไม่กล้าที่จะพูดต่อหน้าคนจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งสามารถทำการรักษาโดยให้เขาสามารถยอมรับเรื่องราวในอดีต และมองว่ามันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เพื่อให้มิ้นชินกับ “แผลใจ” จนสามารถอยู่ร่วมกับมันได้
โดยแนวคิดนี้เองก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ทว่ากลับมีนักจิตวิทยาคนหนึ่งที่เห็นแย้งกับแนวคิดเรื่องแผลใจอย่างชัดเจน คือนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย อัลเฟรด แอดเลอร์ โดยเขาได้นำเสนอทฤษฎีของตัวเองที่ชื่อว่า “จิตวิทยาปัจเจกบุคคล” ที่มองว่า “ชีวิตของเราไม่ได้ถูกกำหนดโดยประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ถูกกำหนดโดยความหมายที่ตัวเรามอบให้กับประสบการณ์ต่างหาก”
แอดเลอร์ไม่ได้ปฏิเสธว่าเหตุการณ์ที่เลวร้ายในอดีตจะไม่ได้สร้างความเจ็บปวดให้กับตัวเรา แต่แผลใจไม่ได้มีอิทธิพลมากพอที่จะกำหนดชีวิตที่เหลืออยู่ของเราได้ กลับเป็นตัวเราเองด้วยซ้ำ ที่เป็นคนกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างเอง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับ “การที่เราให้ความหมายกับเหตุการณ์ในอดีตอย่างไร” แนวคิดของแอดเลอร์ จึงเป็นการให้ความสำคัญกับ “เป้าหมาย” มากกว่า “เหตุการณ์ในอดีต” ที่เคยเกิดขึ้น
เมื่อนำแนวคิดของแอดเลอร์กลับมาอธิบายพฤติกรรมของมิ้น จึงเป็นการหันกลับไปมองยัง “เป้าหมาย” ของมิ้นที่เกิดจากการ “ไม่อยากออกไปพูดต่อหน้าคนเยอะๆ” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เขาจึงสร้างความหวาดกลัวขึ้นมาเพื่อให้ตัวตนของเขาบรรลุความต้องการนั้น แน่นอนว่ามันอาจจะดูไม่สมเหตุสมผลนัก แต่เมื่อมองลึกลงไปจะพบว่า การออกมาพูดต่อหน้าคนจำนวนมากนั้นไม่เพียงแต่เป็นใช้ความกล้าในการแสดงออก แต่จำเป็นต้องใช้ความกล้าในการรับผิดชอบคำพูดของตนเองเป็นอย่างมาก เพราะทุกคำที่เราออกมาพูดนั้นย่อมมีคนรับรู้ และส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก
การหลีกหนีความรับผิดชอบที่ต้องแบกรับจากการพูดต่อหน้าคนเยอะๆ จึงกลายเป็น “เป้ามาย” ของมิ้นที่ต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งผลลัพธ์ของมันอาจจะไม่เป็นที่พึงพอใจ “บ้าง” แต่ก็ถือว่ามันได้บรรลุเป้าหมายของเขาได้อย่างสมบูรณ์
แน่นอนว่าบนโลกใบนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวอย่างของมิ้น แต่กลับเป็นเราทุกคนบนโลกใบนี้ ที่กำลังใช้ชีวิตเพื่อให้บรรลุ “เป้าหมาย” ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า “มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” แต่อยู่ที่เรา “ให้ความหมายกับมันอย่างไรบ้าง” เพราะเข็มของนาฬิกาไม่มีวันหมุนย้อนกลับ เช่นเดียวกับสายน้ำที่ไม่มีวันไหลย้อนคืน
การที่เรายอมรับว่าอดีตคือตัวกำหนดทุกสิ่ง จึงเปรียบเสมือนการโยนอำนาจในการควบคุมชีวิตตนเองทิ้งไป กลายเป็นความทุกข์ทรมานใจกับการมองโลกที่เป็นของเราแต่กลับไม่สามารถแม้แต่จะควบคุมให้เป็นอย่างที่เราต้องการได้อย่างแท้จริง
ที่มาเนื้อหา : หนังสือกล้าที่จะถูกเกลียด เขียนโดย คิชิมิ อิชิโระ
ที่มารูปภาพ : https://pin.it/623mZqM
หน้าที่ของเราคือการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำงาน
กองการประปา เทศบาลนครพิษณุโลก
คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก http://ldsc.nu.ac.th
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4