สำนักพิมพ์สะพาน
ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านขายของ
67000
ม. 13 ต. บ้านโตก
67000
ความคิดเห็น
ส่วนเล่มเกนชิน....ยัง...ขอภัยค่ะ แต่เหลือตกแต่งแล้ว! ขอออกมาวิ่งเล่นวันเดียวว
สำนักพิมพ์สะพาน
#งานหนังสือ66 #หนังสือยูริ
✅ ทั้งพิสูจน์อักษรใหม่ให้เป๊ะกว่าเดิม และกราฟิกเพิ่มความอิน มาพร้อมโปรโมชั่นลดราคา 15% (เล่มอื่นก็ลดนะ!) ✅
📌 พบกันที่ บูธ N42 Lily house. และบูธ K29 สำนักพิมพ์สะพาน และ CandyPub
📌 ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.- 9 ม.ย.66 ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์✨
🏷️ บูธ K29 สำนักพิมพ์สะพาน
บูธรวมหนังสือGLไทย มีมากมายให้เลือกสรร💖
📖ทดลองอ่านหนังสือของกระต๊อบหมวกแม่มด> https://witchhathut.carrd.co/
*แต่ละบูธจะฝากวางปกแตกต่างกัน เนื่องจากการจัดสรรพื้นที่ จำนวนสต็อกหนังสือ และเรทเนื้อหานะคะ*
🔎 ผังบูธ https://www.thailandbookfair.com/floorplan-bkkibf2023/
++++++
📚 สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 51
วันที่ 30 มี.ค. - 9 เม.ย. 2566
ณ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
Here's the story of the 3 protagonists from the book Lusus Naturae: A Yuri Story by Akil Schmidt. This is most definitely a love story and romance. Not just having a relationship and going the extra mile, but also driven by strong emotions that happen in reality. The story that connects their past and present. There is always a story behind any occurrence that happened in this book.
Let's take a quick peek.
The main protagonist is a young adult named Akil who has fallen in love with a girl she just met. And she wondered why, why is it so hard for her to fall in love with her best friend that she's been with for a long long time. Who has found her, accepted her, and more seriously, loved her. What's with this girl that she just met that she doesn't see in her best friend.
The mood you'll feel in this book is pretty much mixed with sullen emotion, excitement, annoyance, and sadness. Well, there's more, but for you to find out, you might want to start reading this book.
This book is a Yuri Story which involves love triangle, jealousy, romance, love and hatred. The story of the past and present of two protagonist. The contention of truth and lies; love and hate.
https://www.animephantom.com/product-page/buy-the-whole-story-lusus-naturae-a-yuri-story
1.ชาวสีรุ้งเดือดหนักมาก!! เมื่อคำวินิจฉัยของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” แสดงจุดยืนออกมาชัดเจนว่า ไม่ยอมรับ “การสมรสระหว่างเพศที่หลากหลาย” ด้วยข้อความที่รุนแรงต่อความรู้สึกของเพศทางเลือก จนเกิดเป็นแฮชแท็ก #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ ขึ้นมา
2.ประเด็นหลักๆ ที่ถูกวิจารณ์หนักมากคือ การตัดสินโดยอ้างว่า เหตุผลที่ “การสมรสระหว่างชาย-หญิง” ได้รับการสนับสนุนตามหลักกฎหมาย เพราะเป็นไปเพื่อ “การดำรงเผ่าพันธุ์-สืบทอดทายาท”
3.ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมองว่า “คู่ชีวิตเพศที่หลากหลาย” เป็นเพียงการทำตาม “ความรู้สึกพึงพอใจทางเพศ” ที่จะทำให้ “ชายจริง-หญิงแท้” ซึ่งอ้างว่าเป็น “มหาชนคนส่วนใหญ่” ได้รับความเดือดร้อน หากมีการเปลี่ยนแปลงตัวบทกฎหมาย
4.และถ้อยคำในเครื่องหมายคำพูดต่อไปนี้ คือส่วนหนึ่งของ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ที่ผลักให้เกิดไฟลุกท่วมโซเชียลฯ
เพราะกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศมองว่า มันไม่ใช่เหตุผลที่สมเหตุสมผลสำหรับ “การพิจารณาคดี” แต่เป็นเพียงข้ออ้างจาก “อคติทางเพศ” เพื่อต้องการเหยียดแยกเสียมากกว่า
5.“สิ่งที่ไม่เหมือนกันจะปฏิบัติให้เหมือนกันไม่ได้ การปฏิบัติให้ถูกต้องสอดคล้องกับวิถีของธรรมชาติ จะสร้างความเสมอภาคระหว่างชายหญิงได้
มิใช่ถือเอาผู้ที่กำหนดเพศไม่ได้ มารวมกับความเป็นหญิงชายที่แยกกันไว้อย่างชัดเจน การยอมรับสิ่งที่แตกต่างให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่แตกต่าง จึงไม่อาจกระทำได้"
6.“หากวิทยาการก้าวหน้า มีการค้นพบรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่า สัตว์โลกบางประเภทมีพฤติกรรม หรือลักษณะทางชีวภาพแปลกแยกออกไป ก็จัดให้เป็นกลุ่มต่างหาก เพื่อแยกศึกษาต่อไป
เช่นเดียวกับรัฐหรือผู้บัญญัติกฎหมาย พบกลุ่มบุคคลที่มีวิถีทางเพศแตกต่างออกไป รัฐหรือผู้บัญญัติกฎหมายก็สามารถกำหนดการคุ้มครองได้ เป็นการเฉพาะกลุ่ม”
7.“ในเรื่องการสมรสตามจารีตประเพณี วิถีสังคมไทย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติและการตีความกฎหมายของประเทศไทย มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า การสมรสสามารถกระทำได้ เฉพาะชายและหญิงเท่านั้น”
8.“ความหมายของการสมรส หมายถึงการที่ชายและหญิง ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความสมัครใจ มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาเพื่อสืบเผ่าพันธุ์...
เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสถาบันครอบครัว ที่ถือเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม เพื่อผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบทบาทที่เชื่อมโยงกับสถาบันอื่นๆ”
9.“การที่บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อ้างว่าตนมีเสรีภาพในการที่จะอยู่กินกับบุคคลใด ย่อมสามารถขอจดทะเบียนสมรสได้นั้น
เป็นเพียงความรู้สึกและความพึงพอใจทางเพศ ที่วัดจากการแสดงออก หรือบทบาททางเพศที่แสดงออกในลักษณะของความชอบ”
10.“การสมรสในระหว่างบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาจไม่สามารถสร้างความผูกพันอันละเอียดอ่อนดังกล่าวได้”
11.ย้อนกลับไปยัง “ต้นตอของการยื่นฟ้อง” เพื่อพิพากษาในครั้งนี้ เกิดจาก “คู่รักหญิง-หญิง” คู่หนึ่ง ขอจดทะเบียนในวันวาเลนไทน์ปี 63 แต่นายทะเบียนปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า กฎหมายไม่รับรองการจดทะเบียนสมรสเพศเดียวกัน
12.นำมาสู่การยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ แต่กลับถูกปฏิเสธอีก จึงตัดสินใจยื่นคำร้องต่อ “ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง” ให้พิจารณาว่า การกำหนดให้ “สมรสได้เฉพาะชาย-หญิง” นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือเปล่า?
13.ตามรัฐธรรมนูญแล้ว รับรองไว้ว่า “บุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน” ดังนั้น การถูกใครก็ตามทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย “ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เบียดบังสิทธิเสรีภาพ และทำลายความเสมอภาค จึงสามารถโต้แย้งได้
14.เช่นเดียวกับ “คู่รักหญิง-หญิง” เคสนี้ ที่ถูกปฏิเสธไม่ให้จดทะเบียนสมรส เพียงเพราะ “ความแตกต่างเรื่องเพศ” ที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478
15.กระทั่งออกมาเป็นคำวินิจฉัย ให้ชาวโซเชียลฯ ได้รุมวิจารณ์เละถึงความไม่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะกลุ่มกูรูด้านกฎหมายชื่อดัง “iLaw” ที่ถึงกับลุกขึ้นมาเปิด Twitter Spaces ในหัวข้อ “ #สมรสเท่าเทียม : สับแหลกคำวินิจฉัยศาลรธน. ไม่โป๊ะตรงไหนเอาปากกามาวง”
16.ความโป๊ะแรกของศาลรัฐธรรมนูญที่ทาง iLaw สับแหลกไว้คือ การหยิบเอาหลักการเรื่อง “ความเสมอภาค” มาใช้อย่างหลงทิศหลงทาง
โดยอ้างว่าบุคคลที่มีสาระสำคัญไม่เหมือนกัน จะปฏิบัติเหมือนกันไม่ได้ จึงทำให้ปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้เหมือนกับชายจริง-หญิงแท้ไม่ได้
17.ทั้งที่ความจริงแล้ว หลักปฏิบัติเพื่อความเสมอภาคข้อนี้ เหมาะที่จะเอาไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ “กลุ่มผู้พิการ” ให้ถูกปฏิบัติอย่างดูแลเอาใจใส่ และอาจได้รับสิทธิบางอย่างที่มากกว่า เนื่องจากสภาพร่างกายที่แตกต่าง จึงปฏิบัติเหมือนคนทั่วไปไม่ได้
แต่กลับกลายเป็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญกลับหยิบช่องโหว่เหตุผลตรงจุดนั้น มาใช้แบ่งแยก “ชายจริง-หญิงแท้” ออกจาก “กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ”
โดยไม่ได้ให้รายละเอียดลงไปว่า “สาระสำคัญไม่เหมือนกัน” ที่อ้างนั้น ไม่เหมือนกันตรงไหน และควรเลือกปฏิบัติให้แตกต่างยังไง
18.และถ้าจะอ้างว่าแตกต่างตรงที่ความเป็นชาย-หญิงนั้น “ถูกกฎหมายเพราะมีลูกได้” กลุ่ม iLaw ก็มีข้อโต้แย้งอีกว่า ในหลายๆ ครอบครัวก็ไม่ได้ “สมรสเพื่อสร้างทายาท”
แถมยังมีคู่สมรสที่ร่างกายไม่พร้อม มีลูกไม่ได้ แต่ทำไมยังถูกเหมารวมว่า “ถูกกฎหมายเพราะสืบพันธุ์ได้” ตามนิยามนั้นอีก นี่แหละคือความคลุมเครือของเหตุผลที่หยิบมาอ้าง
19.อีกประเด็นเดือดที่ทาง iLaw มองว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำตัวเป็น “คุณพ่อรู้ดี-ทำเกินหน้าที่” คือการวินิจฉัยว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศจะมาจดทะเบียน “เพื่อหวังผลประโยชน์ในสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ” ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคง
ทั้งที่หน้าที่ตรวจสอบการเบิกจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ มีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้อง “เป็นห่วงเป็นใยเกินหน้าที่” อย่างที่แสดงจุดยืน
20.และถ้าในอนาคตมีการแก้กฎหมายให้ “สมรสเท่าเทียม” ได้ การเบิกจ่ายสวัสดิการ รวมถึงค่าพยาบาลต่างๆ ก็ไม่เห็นต้องตรวจสอบจาก “เพศ” แต่แค่เช็กจากสถานะ “คู่สมรส” ก็พอ ดังนั้น การมองใครว่าเป็นเพศไหน จึงไม่ใช่ข้ออ้างของการไม่อนุญาต
21.แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา มีกรณี “สมรสลวง เพื่อหลอกเอาสวัสดิการรัฐ” เกิดขึ้นจริง แต่เกิดกับ “คู่ชายจริง-หญิงแท้” นั่นแหละ จึงไม่ใช่ข้ออ้างที่จะมาโบ้ยพฤติกรรมนี้ว่า จะเกิดใน “คู่หลากหลายทางเพศ”
และถึงมันจะเกิดขึ้นจริงใน “คู่เพศทางเลือก” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มีกลไกการตรวจสอบ เพื่อให้การสมรสนั้น “เป็นโมฆะ” ได้ในภายหลัง
แถมเคสแบบนี้ ก็มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้น การจะเอาส่วนน้อยมาอ้าง เพื่อไม่ให้เกิด “การสมรสของเพศที่หลากหลาย” จึงเป็นเหตุผลที่ฟังเท่าไหร่ก็ฟังไม่ขึ้น
22.อีกจุดที่กระแทกใจชาวสีรุ้งอย่างมาก คือการวินิจฉัยว่า ถ้ามี “คู่สมรสเพศทางเลือก” จะเป็นการ “เพิ่มภาระให้รัฐ” ให้ต้องมานั่งตรวจสอบสิทธิ์
ทำให้กระทบต่อระบบ เกิดความล่าช้า จนเดือดร้อนถึง “ชายจริงหญิงแท้ ซึ่งเป็นมหาชน” ให้ไม่ได้รับความเป็นธรรมไปโดยปริยาย
23.ในทางกลับกัน เวลารัฐกำหนดให้ “เสียภาษี” กลับให้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ได้พิจารณาแยกแยะว่า เป็น “เงินจากเพศไหน” แต่มองแค่หน้า เห็นว่าเป็นคนไทย ก็ต้องเสียภาษีให้อย่างไม่มีข้อแม้
แต่น่าแปลก ที่กฎหมายบางอย่างกลับเอื้อเพียง “คู่สมรสชาย-หญิง” ส่วนถ้าจะโต้แย้งว่า เพราะสร้างทายาทได้ จึงได้รับสิทธิที่แตกต่าง ก็ยังมีคู่สมรสที่เป็นหมัน หรือไม่ต้องการสืบทายาท ที่ได้รับการยกเว้น
ดังนั้น ต้องคิดให้ดี ถ้าจะอ้างเรื่อง “มีลูก” แล้วควรได้รับสวัสดิการมากกว่าคนอื่นๆ และถ้าหาข้อมาโต้แย้งเพิ่มไม่ได้ ก็อาจหมายความว่าไม่ควรแบ่งแยก “คู่สมรสเพศที่หลากหลาย” ด้วยข้ออ้างเรื่อง “สวัสดิการรัฐ”
24.และจากคำวินิจฉัยสะท้อน “การเหยียดเพศทางเลือก” ให้รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามต่อ “ตุลาการชายทั้ง 9 ท่าน” ว่าช่างเหมาะแก่แฮชแท็ก #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ
และเมื่อค้นประวัติ “1 ใน 9” ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญาเพียงหนึ่งเดียว จึงพบข้อมูลน่าตกใจว่า ผู้วินิจฉัยรายดังกล่าวเคยเขียนบทความเรื่อง “กระทำชำเราอย่างไรจึงไม่ผิดกฎหมาย”
25.ในบทความซึ่งเคยตีพิมพ์โดย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครั้งนั้น ตุลาการรายดังกล่าว มีการเล่นมุกตลกเกี่ยวกับ “การข่มขืน” เอาไว้ด้วย ใจความว่า...
“ในทางจิตวิทยาของอาชญากร คนที่ต้องการยกเลิกกฎหมายใด แสดงว่าเขาอยากทำผิดกฎหมายนั้น... ผมเองยังอยากให้ยกเลิกกฎหมาย 'ข่มขืนกระทำชำเรา' เลย!!!”
“เสียดาย ถ้าผมกลับไปเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ได้อีกล่ะก็... ผมจะไล่ปล้ำพวก Woman Lib ทั้งหลายให้อับอาย”
26.ส่งให้เกิดแรงกระเพื่อมลูกใหม่ ตั้งคำถามครั้งใหญ่ว่า สังคมไทยควรให้ “ตุลาการผู้มีแนวคิดส่งเสริมการข่มขืน” ได้ไปต่อในการพิพากษาสูงสุดของประเทศหรือไม่?
โดยล่าสุดมีผู้ตั้งแคมเปญใน change.org เพื่อให้ ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งกรรมการสอบผู้สอนวิชากฎหมายที่มีพฤติกรรมเหยียดเพศ-เล่นมุกข่มขืน รายนี้เรียบร้อยแล้ว
27.แม้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะหักอก “กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ” รุนแรงขนาดไหน แต่ “วาดดาว-ชุมาพร แต่งเกลี้ยง” แม่ทัพกลุ่ม “เฟมินิสต์ปลดแอก” ผู้เคลื่อนไหวรณรงค์เรื่อง LGBTQI ในสังคมไทยมาโดยตลอด อยากให้มองเป็น “เชื้อไฟ”
“ครั้งนี้ถือว่า เป็นการรบกับคนที่เกลียดกลัว คนที่้เกลียดชัง เป็นการสู้รบกับเต่าล้านปีอย่างมีนัยสำคัญ อย่างที่เราไม่เคยได้ลุกขึ้นมาก่อน ในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของ LGBT ในประเทศไทยเลย
ฉะนั้น สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินตีความ เป็นเพียงแค่กระจกที่ทุกคนก็รู้ว่า มีหลายคน โดยเฉพาะ 'คนที่เก่าแก่คร่ำครึ' มองอย่างนี้ แต่พวกเราต้องลุกขึ้นมาต่อสู้”
28.และการต่อสู้ครั้งสำคัญคือ การลงชื่อสนับสนุน “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ภาคประชาชน” ที่ www.support1448.org เพื่อผลักให้ได้เข้าไปพิจารณาในสภา ซึ่งขณะนี้มีผู้สนับสนุนพุ่งไปกว่า “2 แสนรายชื่อ” แล้ว
แต่หัวหอกผู้เคลื่อนไหวเพื่อ #สมรสเท่าเทียม อย่าง “วาดดาว” ก็มองว่ายังไม่เพียงพอ ต่อการสู้รบกับ “กลุ่มอนุรักษ์นิยม” ผู้ต่อต้านเพศทางเลือกมานานแสนนาน จึงอาจต้องอาศัย “การต่อสู้ชูธงรุ้ง” บนท้องถนนควบคู่กันไปด้วย
อย่างที่ ฝรั่งเศส-อเมริกา ทำสำเร็จมาแล้ว จากการรวมกลุ่มแสดงจุดยืนตามมลรัฐต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคที่แท้จริง เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกที่ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ลอยลงมาให้คว้าได้ง่ายๆ โดยไม่มีการประท้วง
29.ทั้งยังทิ้งท้ายฝากกระตุ้นชาว LGBTQI (Le***an, Gay, Bis*xual, Transgender, Q***r และ Inters*x) ไว้ด้วยว่า “การเลือกตั้ง” สมัยหน้า ถ้าหากเห็นว่า ส.ส.-ส.ว.รายไหน-พรรคการเมืองใด ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ ก็ขอให้บอยคอตไปได้เลย
“เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถท้วงติง ทักท้วง และต่อสู้ได้ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายนะคะ มันยาก แต่เราก็คิดว่าเราเองก็ไม่มีทางออกอื่น เราหลังชนฝาที่จะอยู่กับระบบนี้แล้วเหมือนกัน”
เรียบเรียง : fb.com/LIVEstyleofficial
รวมชุดภาพ #สรุปดราม่า “ #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ ผู้เขียนบทความ หนุนข่มขืน?” | fb.com/LIVEstyleofficial/posts/1241824669645607
LIVE Style - ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ ประเด็นสดใหม่เสิร์ฟมุมมอง
#สมรสเท่าเทียม #ศาลรัฐธรรมนูญเหยียดเพศ
iLaw, เฟมินิสต์ปลดแอก, เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย Thai Transgender Alliance-ThaiTGA, ไทpride, SYSI : Society of Young Social Innovators, สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย Rainbow Sky Association of Thailand, Q***r Riot, Swing Thailand, Bangkok Rainbow Organization, LGBT News Thailand, Young Pride Club, Yuri-books, GIRL x GIRL, มนธ.เพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ (for-sogi), ทะลุฟ้า - thalufah
จำหน่านิยายแนวหญิงรักหญิง/Yuri/Lesbian/Girllove ออนไลน์ ไม่ได้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป
สำนักพิมพ์สะพาน ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดพิมพ์วรรณกรรมนวนิยาย เรื่องสั้น-เรื่องยาว เกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางเพศ LGBT และโดยเฉพาะหญิงรักหญิง
เนื่องเพราะงานเขียนแนวนี้เป็นงานที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จัดพิมพ์ และหรือที่จัดพิมพ์ก็มักจะผลิตซ้ำอคติ ต่อบุคคลกลุ่มดังกล่าว
หนังสือนิยายของสำนักพิมพ์สะพาน จึงเน้นที่จะสร้างมุมมองใหม่ๆ
ด้วยหวังว่าหนังสือที่สำนักพิมพ์จัดพิมพ์ออกมาจะเป็นสะพานช่วยเชื่อม ช่วยสร

บทกวีในยามสายวันอาทิตย์😇
My darling
You were never lost
You just, had to find your own way
And, whilst you walked
Upon that lonely, unknown path
I was always there
I was always, right there
Beside you
A little poem by Athey Thompson
Taken from A Little Pocket Book of Poems by Athey Thompson
Photograph taken by Alice Bourton

มีคู่ญญ. (หรือผู้นิยามตัวเองว่าหญิง) อยากแชร์ประสบการณ์ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับความเท่าเทียม อันเนื่องมาจากไม่มีกฎหมายให้จดทะเบียนสมรส สามารถส่งเรื่องราวและภาพถ่ายไปได้ที่เพจมูลนิธิได้เลยนะคะ เพื่อแบ่งปันเรื่องราว
ส่วน #สมรสเท่าเทียม ที่คาดว่าจะได้แน่ๆ ในรบ.นี้ ก็ดูเลือนๆ ลางๆ ซะอย่างนั้น เพราะดูทีมรบ.จะเป็นพรรคที่ไม่ได้โหวตสมรสเท่าเทียมซะส่วนใหญ่ เราต้องใช้เรื่องราวของเราบอกเล่าซ้ำๆ กระทุ้งกันต่อไปค่ะ
ส่งเรื่องราวไปที่เพจมูลนิธิได้เลยนะคะ😇
❤️ E นิยามตัวเองว่าหญิงข้ามเพศ ส่วน Q ชายหนุ่มคู่ชีวิต ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมากว่า 2 ปีแล้ว ทั้งคู่ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ได้รับสิทธิสวัสดิการจากประกันสังคม
❤️ E กับ Q เป็นคู่ชีวิตที่ครอบครัวทั้งสองฝ่ายยอมรับ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ แต่ E กับ Q มีความปรารถนาที่จะสร้างครอบครัวใหม่เหมือนคู่รักต่างเพศทั่วไป E กับ Q จึงเริ่มต้นโดยการออกมาเช่าคอนโดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต่างคนต่างประกอบอาชีพของตนเองและวางแผนเก็บเงินเพื่อจะซื้อที่อยู่อาศัย พร้อมลงทุนทำธุรกิจ ในกิจการที่เป็นของเราทั้งคู่
❤️ การที่เราสองคนมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำให้เราพบว่าเราต้องการสิทธิทางกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันในการก่อตั้งครอบครัว ซึ่งก็คือการจดทะเบียนสมรสแบบที่เท่าเทียมกับคู่ต่างเพศ เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า ถ้าเราสองคนมีทะเบียนสมรส กฎหมายก็จะคุ้มครองเรา และเราก็จะได้รับสิทธิของกันและกันในฐานะคู่สมรส ไม่ต้องมาวิตกกังวลว่าใครจะได้ หรือไม่ได้อะไร เช่นเราจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาลไหม เราทำงานเสียภาษีเราจะนำค่าใช้จ่ายของอีกฝ่ายมาลดหย่อนได้หรือเปล่า ต่างๆ นานา
❤️ แต่เพราะกฎหมายสมรสตีกรอบว่าการสมรสจะต้องเป็นชายหญิงเท่านั้น ดังนั้นหากรัฐมองว่าเราเป็นคนเท่าเทียมจริงๆ ควรแก้กฎหมายสมรสให้ทุกคนได้สิทธิเท่าเทียมกัน เป็นบุคคลกับบุคคล แค่นี้ก็เท่ากันโดยไม่ไปลดทอนสิทธิเดิมของชายหญิงที่มีอยู่แล้วเลย
❤️ เราสองคนขอสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวที่เท่าเทียมกันเพื่อให้คู่ชีวิตหลากหลายทางเพศอีกหลายๆ คู่ มีสิทธิในความเป็นคนที่เท่าเทียมกันจริงๆ เท่านั้นเอง
#สมรสเท่าเทียม #คู่รักหลายหลากเพศ

เหมือนจะเคยเขียนถึง😊
[A Secret Love รักหลบเร้น ความรักของผู้หญิงกับผู้หญิงที่เกิดผิดยุคแต่รักเรานั้นจริงแท้]
A Secret Love รักหลบเร้น เป็นภาพยนต์สารคดีเรื่องราวความรักระหว่าง Pat และ Terry เรื่องราวของหญิงชราวัย 65 ปีสองคน ที่ต้องปิดบังความสัมพันธ์ของพวกเขามากกว่า 50 ปี ความรักของพวกเขาเกิดขึ้นในช่วงปี 1940 ยุคสมัยที่ความรักของคนเพศเดียวกันยังไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นเรื่องยากที่ความสัมพันธ์ของผู้หญิงกับผู้หญิงจะสามารถเปิดเผยออกมาได้ (Natapol,2020) ความรักระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงถูกมองว่าเป็นภัยสังคม น่ารังเกียจ ทำให้มีการบุกบาร์เลสเบี้ยนจากหน่วยศีลธรรมและเยาวชน เลสเบี้ยนหลายคนต้องโดนจับ ตกงาน ถูกตีพิมพ์รายชื่อลงหนังสือเพื่อประจาน ความรุนแรงนี้ทำให้เลสเบี้ยนบางคนถึงกับฆ่าตัวตาย
ช่วงแรกของภาพยนตร์เป็นการเล่าถึงอดีตของ Pat และ Terry เป็นการเล่าเรื่องที่เรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่แสดงให้เห็นถึงการต้องทำตัวให้อยู่ในกรอบที่สังคมกำหนดไว้ Pat และ Terry เป็นชาวแคนาดาได้เข้ามาร่วมทีมเบสบอลในโรงเรียนมัธยมปลายที่สหรัฐอเมริกา All-American Girls Professional Baseball League ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี พวกเขาพบกันจากชมรมเบสบอลและเริ่มมีความรู้สึกดีเกิดต่อกันจนกลายเป็นความรัก
หลังจากเรียนจบพวกเธอทั้งสองอาศัยอยู่ด้วยกัน ทำงานที่เดียวกัน พวกเธอมักจะแต่งกายเรียบร้อยใส่ชุดกระโปรงกับ รองเท้าส้นสูง แต่งหน้าทาปากเสมอ พวกเธอใช้ชีวิตตามบรรทัดฐานของยุคสมัยที่ขีดเส้นให้ผู้หญิงเป็นแค่สิ่งสวยงาม วางรากฐานให้ผู้หญิงต้องทำตาม เช่น ผู้หญิงทุกคนต้องเข้าโรงเรียนฝึกกิริยามารยาท ฝึกเรียนแต่งหน้า เพื่อให้เป็นกุลสตรีในแบบที่สังคมต้องการ และด้วยในยุคนั้นที่สังคมไม่ยอมรับความรักของคนเพศเดียวกัน ทำให้พวกเธอต้องปกปิดความสัมพันธ์ไว้ เพราะกลัวว่าความสัมพันธ์ของพวกเธอจะถูกเปิดเผย ทุกครั้งที่ครอบครัวหรือเพื่อนถามถึงความสัมพันธ์ พวกเธอก็มักจะปฏิเสธเสมอ เพราะการรักเพศเดียวกันในยุคนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
หลังจากที่ Pat และ Terry ได้ลองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันพวกเธอมีความสุข ทำให้พวกเธออยากแต่งงาน ทั้งคู่จึงได้แหกกฎระเบียบทุกอย่างของผู้หญิงยุคนั้นที่สอนให้ผู้หญิงเป็นเพียงกุลสตรีมีหน้าที่ดูแลครอบครัว เช่น พวกเธอเดินไปบนถนนแล้วก็จูบกัน เช่าโรงแรมนอนด้วยกัน เพราะการเช่าโรงแรมนอนด้วยกันของเพศเดียวกันในยุคนั้นเป็นสิ่งที่ผิด พวกเธอทำในสิ่งที่แตกต่างจากยุคสมัยที่คนมองว่าความแตกต่างเป็นเรื่องไม่ดี และเริ่มเปิดเผยความสัมพันธ์ของพวกเธอ Pat และ Terry ตัดสินใจที่จะบอกครอบครัวถึงความสัมพันธ์ แม้ว่ามีความกลัวอยู่มากแต่พวกเธอไม่อยากใช้ชีวิตแบบหลบซ่อนอีกต่อไป
ในปี 2003 ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลงคนในสังคมยอมรับคู่รักเพศเดียวกันมากขึ้นสิทธิแต่งงานของเพศเดียวกันในแคนาดาได้ผ่านกฎหมายสมรส Civil Marriage Act ที่ระบุชัดเจนว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองที่เท่าเทียมกันและผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันของกฎหมายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยนายทะเบียนไม่มีสิทธิปฏิเสธการจดทะเบียนเพราะดุลพินิจของตัวเอง คู่สมรสเพศเดียวที่จดทะเบียนแล้ว มีสิทธิเท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศทุกประการ
หลังจากสิทธิแต่งงานของเพศเดียวกันในแคนาดาผ่านทำให้ Pat และ Terry ย้ายกลับแคนาดาเมื่ออายุ 65 ปี หลังจากที่พวกเธอใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกา ทั้งสองดูแลกันและกันด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ครอบครัวต่างยินดีกับความรักของทั้งคู่โดยการจัดงานแต่งงานให้กับ Pat และ Terry ด้วยความชราและเรื่องสุขภาพทำให้ Pat และ Terry ต้องตัดสินใจกับครอบครัวว่าจะอยู่บ้าน หรือย้ายไปบ้านพักคนชราที่สหรัฐอเมริกา จึงทำให้ Pat และ Terry ทะเลาะกับคนในครอบครัว เนื่องจาก Pat ไม่อยากย้ายที่อยู่ แต่สุขภาพของ Terry เริ่มแย่ลงทุกวัน ทั้งคู่ได้จึงตัดสินใจที่จะไปอยู่บ้านพักคนชราที่สหรัฐอเมริกาตามความต้องการของคนในครอบครัว และได้เปิดใจคุยถึงเรื่องการดูแลสุขภาพของ Pat และ Terry จากปัญหาสุขภาพของ Pat และ Terry ที่เริ่มหนักขึ้นทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจที่จะกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด จนในที่สุด Terry ก็ได้จาก Pat ไปด้วยความสงบ
ช่วงท้ายของภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงการวางแผนดูแลผู้สูงอายุที่เป็น LGBTQ+ เพราะผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศยังไม่ได้รับความเสมอภาคด้านสิทธิและสวัสดิการ เช่น การเข้ารักษาพยาบาล ภาครัฐจึงมีการรับมือและวางแผนนโยบายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ LGBTQ+ เช่น การหาที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ การทำกายภาพบำบัด ให้กับผู้สูงอายุ LGBTQ+ ที่ไม่มีบุตรหลานดูแล การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้สูงอายุ หากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ ไม่ทิ้งเขาไว้อย่างโดดเดี่ยวทำให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกับสังคม และไม่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ทำให้เราเห็นและเข้าใจในความรักมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะความสัมพันธ์ใดก็ตาม การให้ความรัก ความเอาใจใส่ และความอบอุ่น เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้น และชวนคิดว่าหาก Pat และ Terry เกิดในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ พวกเธอจะมีอิสระในการใช้ชีวิตได้มากกว่านี้ สามารถเที่ยวบาร์เลสเบี้ยนได้อย่างเปิดเผย และเลสเบี้ยนหลายคนคงไม่โดนละเมิดสิทธิจากเจ้าหน้าที่รัฐ
เรื่องและภาพโดย: นฤมณ พรมสุวรรณ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน

อาห์.... รักเพื่อคอนเทนต์??? จริงดิ!!🧐
ตกเป็นประเด็นดราม่าอีกครั้งสำหรับ ปั๋น Riety หรือ ปั๋น ดริสา การพจน์ ยูทูบเบอร์คนดังที่ล่าสุดกำลังกลายเป็นกระแสที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลอยู่ในตอนนี้
ซึ่งครั้งนี้ปั๋นตกเป็นประเด็นในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไปจนถึงประเด็นที่เธอนอกใจ วันนี้ #เหมียวนานะ เลยอยากจะมาเล่าเรื่องราวให้อ่านกันเลยค่ะ
🔴การนิยามตนเองว่าเป็น "ไบสเตรท"
เรื่องราวนี้ต้องย้อนกลับไปเล่าตอนปี 2020 ที่ปั๋นออกมาเปิดเผยในรายการของฟ้า ษริกา ถึงอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเป็น "ไบสเตรท (Bi Straight)"
ในความหมายของปั๋นคือเธอเป็นไบเซ็กชวลที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน แต่มีความชอบไปทางผู้ชายที่เป็นเพศตรงข้ามมากกว่า
ตอนนั้นคอมมูนิตี้ LGBTQ+ วิพากษ์วิจารณ์ปั๋นอย่างหนัก เพราะมันเป็นอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่มีอยู่จริง
แถมคำพูดนี้ยังมีแนวโน้มโฮโมโฟเบีย (Homophobia) ที่ไม่อยากเรียกตัวเองว่าเป็น LGBTQ+ อย่างเต็มปาก เพราะไม่อยากเจอแรงต่อต้านเหมือนคนในคอมมูฯ
🔴เปิดตัวคบ "แฟนสาว"
พอมาถึงปลายปี 2022 ปั๋นได้ออกมาเปิดตัวคบกับ ออม พันดาว สาวสวยนอกวงการ ตอนนั้นมีแต่คนเข้ามาแสดงความยินดีและติดตามความน่ารักของคู่นี้ที่เรียกได้ว่าหวานหยดย้อยสุดๆ
นอกจากนี้ปั๋นยังออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และเคยลงสตอรี่อินสตาแกรมว่า
"รณรงค์ใช้คำว่าชายแท้เป็นคำด่า จนกว่าชายแท้ทั้งประเทศจะอกแตกตายค่ะ
ถ้าไม่ไหวกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงก็สำลักความเป็นชายตายไปเลยนะคะ ไม่เคยเห็นจะกล้าจริงซะที"
🔴รักระยะไกล
ไม่นานออมได้ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย และปั๋นก็ตัดสินใจออกเดินทางรอบโลก
ตอนสิ้นเดือนมิถุนายนปั๋นได้ออกมาโพสต์คลิปวิดีโอส่งท้ายเดือน Pride Month ที่เผยให้เห็นความสัมพันธ์น่ารักๆ ของทั้งคู่ แม้ว่าตอนนี้จะเป็นความรักระยะไกลและไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตาม
🔴จุดกระแสปั๋นนอกใจ (?)
ไม่นานมานี้มีบัญชีเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) ได้ออกมาเปิดประเด็นถึงความสัมพันธ์ของปั๋นกับแฟนสาวว่า น่าจะส่อแววเลิกกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีเอ็กซ์ที่ออกมาสรุปสาเหตุของการเลิกราคือปั๋นนอกใจ
บนเอ็กซ์มีการนำสตอรี่ไอจีและคลิปวิดีโอต่างๆ ของปั๋นมาเทียบกับหนุ่มชาวต่างชาติคนหนึ่งที่ดูเหมือนว่าทั้งคู่จะอยู่ที่เดียวกันตลอด
แถมยังมีเอ็กซ์ของออมที่ออกมาโพสต์ว่า "เจอแขกกับงูให้ตีแขกก่อน" ทำให้ข่าวลือนี้ยิ่งกระพือความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก จนเกิดประเด็นดราม่าแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
- มีการตั้งข้อสงสัยว่า ปั๋นนอกใจออมไปหาผู้ชายคนนี้
- ประเด็นดราม่าเรื่องที่เธอเคยออกมาบอกว่าเป็นไบสเตรทถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง
- มีคนมองว่าปั๋นไม่เคยชอบผู้หญิงเลย และเธอมีความสัมพันธ์กับออมเพื่อเป็นคอนเทนต์เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเล่นกับใจคนในคอมมูนิตี้
- เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ปั๋นเคยด่าเหล่าชายแท้ แต่สุดท้ายเธอก็นอกใจผู้หญิงไปคบผู้ชายเสียเอง
- มีการหยิบประเด็นดราม่าอื่นๆ มาพูดถึง ทั้งดราม่าเรื่องออกแบบโลโก้ วิจารณ์งานศิลปะ ไปจนถึงงาน NFT
เรื่องราวทั้งหมดก็มีประมาณนี้แหละค่ะ คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์เพิ่มเติมกันได้นะ
เรียบเรียงโดย #เหมียวนานะ

[ความหวาดกลัวในวัยมัธยม และการคัมเอ้าจากปากตัวเอง]
การคัมเอ้าหรือการยอมรับตัวตน อาจเป็นเรื่องง่ายของบางคน อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน อาจเป็นเรื่องไม่จำเป็นขนาดนั้น หรืออาจเป็นกระทั่งเรื่องที่ถูกทำให้รู้สึกอับอายและหวาดกลัว ฉันมองย้อนกลับไปในวัยมัธยมปลายของตัวเองแล้วก็เริ่มทบทวนสิ่งเหล่านั้นอีกครั้ง
เรื่องน่าจะเริ่มในช่วงวัยมัธยมต้น ในขณะที่เพื่อนสาวในกลุ่มมักจะมีผู้ชายที่แอบชอบ หรือปลื้มรุ่นพี่หล่อๆ ฉันพบกว่าตัวเองแอบปลื้มรุ่นพี่นางรำ ในสมัยนั้น วัฒนธรรมการ ‘ติ่งเกาหลี’ ถือกำเนิดเป็นวาทะเหยียดแฟนคลับเด็กวัยมัธยมที่ชื่นชอบวงไอด้อลเกาหลี แน่นอนว่าฉันเป็นแฟนคลับวงไอด้อลหญิงค่ะ ฉันเทียบเคียงอาการปลื้มรุ่นพี่นางรำคนสวยว่าคงเหมือนติ่งวงไอด้อลหญิงน่ะแหละ มันไม่เหมือนกับการได้ยินข่าวลือว่ารุ่นพี่ผู้หญิงเท่ๆอาจจะคบกับครูสาว นั่นมันผิดแต่ยอมรับเถอะว่าเรื่องแบบนี้เรามักได้ยินกันเสมอๆ ถ้ามันไม่เป็นเรื่องราวใหญ่โต มันจะลอยอยู่ในโรงอาหาร ในเวลาคาบว่าง ในบทสนทนาปากต่อปาก ฉันมีชีวิตวัยรุ่นที่เริ่มสงสัยกับตัวเองว่า การที่เราไม่ชอบใครจนอยากเป็นแฟน หรือไม่มีรุ่นพี่ผู้ชายหล่อๆที่แอบปลื้ม และคิดว่าบางทีเราอาจผิดปกติ
ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวจากม.ต้นขึ้นม.ปลาย ช่วงเวลานั้นกลายเป็นว่าฉันสนิทกับครูสาวท่านหนึ่งด้วยความสนใจหลายอย่างตรงกัน ฉันสูญเสียพี่สาวไป การได้สนิทกับครูสาวทำให้ฉันรู้สึกว่าได้พี่สาวอีกคนมาแทน จังหวะนั้นมีการโยกย้ายครูไปสังกัดโรงเรียนอื่นในเครือขนานใหญ่ ครูสาวก็เป็นหนึ่งในนั้น เรายังคงติดต่อกันทาง msn และพอขึ้นม.สี่ ตัวฉันในตอนนั้นไม่คิดว่าการขับมอเตอร์ไซค์ไปใช้เวลาหลังเลิกเรียนพูดคุยกับครูสาวที่ย้ายโรงเรียนไปนั้นเป็นเรื่องผิดอะไรนักหนา เราไปดูหนังด้วยกัน ไปแฮงค์เอ้าวันเสาร์อาทิตย์ มันเริ่มกินเวลาที่ฉันจะอยู่กับเพื่อน จนกระทั่งเพื่อนสนิทของฉันในเวลานั้นตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ของฉันกับครูสาว
‘ไม่มีอะไร เราแค่สนิทกัน’ ฉันยืนยัน แต่ก็มันเริ่มสั่นคลอนความคิด มันเริ่มทำฉันกลัวเมื่อได้ยินข่าวลือ มีคนเริ่มมาถามว่าฉันเป็นอะไรกับครูสาว เขาว่าฉันกับครูเป็นแฟนกันน่ะจริงหรือ แม้ฉันจะเคยออกตัวเถียงแทนว่าครูมีแฟนเก่าเป็นผู้ชายนะ แต่เมื่อเพื่อนสนิทเริ่มจับตามองว่าการปฏิเสธนัดของฉัน จะหมายความว่าฉันจะไปไหนมาไหนกับครูท่านนั้นแทนพวกเขารึเปล่า ฉันก็เริ่มรู้สึกกลัวขึ้นมา
จากนั้นฉันจึงกลัวการอยู่กับครูสองต่อสอง เมื่อข่าวลือ ฉันจำได้ว่าคำตอบของครูสาวคือการบอกปัดคนที่กล้าเข้ามาถามไปอย่างติดตลกว่า พวกเราเป็นญาติกัน เรื่องมันชักแปลก เมื่อฉันได้รับดอกไม้ในวันวาเลนไทน์ และวันหนึ่งฉันก็สติแตกเข้าจริงๆเมื่อการไปแฮงค์เอ้าในวันเสาร์ถูกเพื่อนตั้งคำถามว่ามันไม่เหมาะสม มันแปลก ครูอาจจะคิดมากกว่าแค่เห็นฉันเป็นน้องสาวหรือนักเรียนคนหนึ่ง วันนั้นเพื่อนกดดันให้ฉันรีบตัดความสัมพันธ์ด้วยความไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมทั้งหมด นั่นเป็นความรู้สึกถูกผิดของเด็กม.ปลายที่ถูกวัดค่า และฉันก็ตัดการติดต่อทุกอย่างด้วยความหวาดกลัว
ฉันกับครูสาวไม่คุยกันอีกเลยนับจากนั้น มันคงจะดีกว่าถ้าฉันได้มีความรักกับเด็กวัยเดียวกัน ฉันโคตรที่จะอยากปกติ แต่เหมือนชีวิตถูกแกล้ง พอขึ้นม.ห้าก็มีรุ่นน้องผู้หญิงมาตามชอบฉันและใช้วิธีดักเจอหน้าตึกทุกวันทำเอาฉันจิตตก และยังมีเหตุการณ์ที่ต้องแกล้งเป็นแฟนกับเพื่อนสนิทเพื่อช่วยกันผู้ชายที่เพื่อนไม่ชอบให้เลิกจีบเธอเสียที(ซึ่งมันได้ผล) ทุกคนจึงเข้าใจว่าฉันเป็นทอมโดยอัตโนมัติ ความเหนื่อยหน่ายน่ารำคาญพาลให้ปิดกั้นหัวใจจนกระทั่งเข้ามหาลัย การได้โฟกัสเรื่องอื่นและใช้เวลาทบทวนกับตัวเอง ทำให้ฉันสบายใจที่จะบอกเพื่อนบางคนว่าฉันชอบผู้หญิงนะ ในตอนนั้นก็ยังไม่สบายใจกับคำว่าเลสเบี้ยนหรือทอมเท่าไหร่หรอก แต่การที่ฉันเริ่มกล้าที่จะบอกคนรอบตัวเมื่อใครถาม ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันโคตรต่างจากตอนที่ถูกคนนั้นคนนี้เรียกว่าทอมหรือเลสเบี้ยน มันราวกับว่าฉันได้รับฟังตัวเองและไม่ก่นด่าการไม่ฟิตอินของตัวเองอีกต่อไปแล้ว
อีกประสบการณ์สำคัญที่อยากจะขอบคุณ ก็คือการเป็นแฟนคลับวงไอด้อลหญิง เพราะในคอมมูนิตี้นั้นมีสาวๆที่เป็นแซฟฟิคอยู่ค่อนข้างเยอะ การชื่นชมผู้หญิงด้วยกันเองมันเป็นเรื่องปกติมากๆในโลกเว็บบอร์ดแฟนคลับ เลยเถิดไปถึงการหัดเขียนแฟนฟิคชั่นแลกกันอ่าน(ปัจจุบันฉันรู้ว่าการจิ้นมันโคตรจะไม่โอเคเพราะเรากำลังพูดถึงการด้วยมองบุคคลที่มีตัวตนจริงๆเป็นความบันเทิงในจินตนาการ) บางครั้งฉันก็มองว่ามันมีส่วนช่วยให้ตัวเองไม่รู้โดดเดี่ยวนอกอินเทอเน็ต การเป็นคนที่ไม่รู้สึกฟิตอินเหมือนคนอื่นในจังหวัดเล็กๆมันยากเอามากๆ เมื่อเวลาผ่านไปและยุคสมัยเปลี่ยนแปลง น้องสาวของฉันคัมเอ้าอย่างชิลๆว่าเป็นไบขณะที่เล่าเรื่องแฟนเก่าสมัยม.ปลาย บางครั้งฉันถึงอิจฉาเด็กเจน Z ที่สามารถเป็นตัวเองได้เพราะความ ‘ปกติ’ ของสังคมพวกเขาได้เปิดกว้างขึ้นกว่ายุคฉันมาก มันทำให้ฉันมีความหวังว่าสังคมของเราจะยังสามารถก้าวหน้าต่อไปในประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ฉันไม่ต้องการย้อนกลับไปหาคำตอบที่คลุมเครือระหว่างตัวเองกับครูสาว แต่ฉันจะมีชีวิตที่สบายใจในการเป็นตัวเอง เป็นชาวแซฟฟิคที่ภูมิใจในความเป็นตัวเอง
เขียนโดย Anonymous
ภาพประกอบโดย ManyMilds
#หญิงรักหญิง #เลสบี้ยน #ความหลากหลายทางเพศ
น่ารักมากอ่ะ คู่ญญ.
https://www.facebook.com/shockerboychannal/videos/813183320012034



drive-in movie night ✨
https://t.ly/WomanLovingWoman

ว้าวววมาก
#หม่อมเป็ดสวรรค์ พีเรียดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของหญิงรักหญิง หรือที่เรียกว่า #เล่นเพื่อน ในยุคสมัยก่อน กำลังจะถูกสร้างเป็นละครพีเรียดทาง
ว่าด้วยเรื่องราวของ หม่อมสุด และหม่อมขำ สองหม่อมห้ามของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพที่มีสัมพันธ์ลึกซึ้งเป็นพิเศษ จนถูกแต่งออกมาเป็นกลอนเพลงยาวเรื่อง “หม่อมเป็ดสวรรค์” ตัวเนื้อหาไม่ได้ไปในทางเชิงลบ และไม่ใช่เชิงบวกมากนัก ไม่มีเนื้อหาดราม่า รันทด ถูกกีดกัน แต่สะท้อนถึงวัฒนธรรม ค่านิยมในยุคนั้น เลยคิดว่าโทนละครอาจจะออกมาในโทนสบายๆ มากกว่าขยี้ดราม่า เป็นอีกเนื้อหา LGBTQ+ ที่ถือเป็นหญิงรักหญิงพีเรียดเต็มๆ เรื่องแรกของไทยเลยก็ว่าได้
หม่อมเป็ดสวรรค์ ถูกคัดเลือกจากการเสนอชื่อเข้ามาผ่านโครงการ Drama Program Commissioning 2566 ถึง 92 เรื่อง จนเหลือ 4 เรื่อง ได้แก่
1.ไอ้สังข์ทอง พี่ไม้พลอง น้องทองใบ และคุณกระต่าย กับการตายของคุณพระ
จากค่าย GMO Film (ผู้จัดซีรีส์วัยรุ่นหลายเรื่องของ GMMTV)
2.หม่อมเป็ดสวรรค์
จากค่าย แม็กซ์ เมจิก เอ็นเตอร์ไพรซ์ (คุณสถาพร นาควิลัยโรจน์ ผู้จัดละครช่อง 8 และอดีตผู้จัดละคร Thai PBS)
3. ท่วงทำนองที่เลือนหาย
จากค่าย SLM Corporation (Goodday Series ผู้จัดละคร สุดร้ายสุดรัก, อ้อมฟ้าโอบดิน ช่อง 3 และ Love Case Scenario ที่จะลงจอช่อง ThaiPBS เร็วๆ นี้)
4. Second Hand ฝันของฉันคือฟันดาบ
จากค่าย D.O.do Multimedia (ผู้จัดละคร ลูกเหล็กเด็กชอบยก, พาย สายน้ำแห่งความฝัน ช่อง Thai PBS)
#หม่อมเป็ดสวรรค์
Cr. https://pantip.com/topic/42044303, https://org.thaipbs.or.th/content/5716

มาเจอกันได้นะคะ
เจอกันพรุ่งนี้นะคะ 4 มิย. บ่ายสองโมงค่ะ มาก่อนก็ได้
ชวนแฟน คนรัก คู่ชีวิต มาเดินในขบวน "สมรสเท่าเทียม" ได้เลยค่ะ สีเขียวค่ะ แต่งชุดแต่งงานในสไตล์ตัวเอง มาเลยค่ะ กับรองเท้าเดินสบายๆ นะคะ #สมรสเท่าเทียม ☺️☺️

ไพรด์เชียงใหม่ค่ะ แซฟฟิกไพรด์ก็มีรวมนะคะ
เจอกัน 28 พค.2566 นี้นะคะ
กำหนดการ #เชียงใหม่ไพรด์2566
17.00 เริ่มตั้งขบวน ที่ พุทธสถาน ตรงข้าม จวนผู้ว่าฯ
18.00 ขบวนเคลื่อน จากถนน ไนท์บาร์ซาร์ ไปยัง ประตูท่าแพ
19.00 -24.00 เริ่มกิจกรรมเฉลิมเฉลองมากมาย
เช่น การแสดง พิธีแต่งงาน การแสดงประวัติศาสตร์ s*x Worker กิจกรรมงานวัด(ปาเป้า โยนห่วง รถไฟราง) พร้อมทั้ง ฉายหนังกลางแปลงตลอดคืน และกิจกรรมบันเทิงอีกมากมาย
Chiang Mai Pride 2023 Schedule
17:00 - Assembly at Chiang Mai Religion Practice Center the opposite side of the Governor's residence
18:00 - Parade starts from Night Bazaar Road to Tha Phae Gate.
19:00 - 24:00 - Various activities will begin, such as cabaret shows, , wedding ceremonies, historical exhibitions, s*x worker activities, temple events (Pa Pao, Yoong Huang, and Railway), along with movie screenings throughout the night, and many other entertainment activities.
"เชียงใหม่จังหวัดเปิดฤดูกาล เทศกาลเฉลิมฉลอง งานPride Month 2023 ของประเทศไทย"'
This year, Chiang Mai is making history as the first city in Thailand to host the "Province Season Opening, Pride Month Celebration 2023 of Thailand"
Save the Date : On May 28, 2023
#สมรสเท่าเทียม #รับรองเพศสภาพ #รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ
+
#ทูตนฤมิต

"Vampires" by Takato Yamamoto

Medusa & her blind lover.
© luoman19921 on Twitter.

ใครอยากมีลูก เกียมตัวววว
Happy to All Mothers!

เกียมชุดกันรึยังคะพวกเธอ
#สมรสเท่าเทียม จะถูกหยิบมาพิจารณาต่อเป็นวาระที่ 2 ภายใน 60 วันเมื่อตั้งรัฐบาล ซึ่งทั้งก้าวไกลและเพื่อไทยต่างก็มีนโนบายนี้ น่าจะผ่าน 3 วาระรวด ไปลุ้นอีกทีที่ ส.ว. มาติดตามกันต่อไปค่ะ🥰🥰🥰

เพื่อนมาถาม ว่าหาหนังอะไรไปฉายแล้วคุยเรื่อง #สมรสเท่าเทียม ที่งานไพรด์เชียงใหม่ดี นี่ก็นึกไม่ออก เพราะว่าไม่ได้ดูหนังญรญ.ใหม่ๆ เท่าไรเลย แต่จู่ๆ ก็นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา เลยไปค้นๆ ดู ปรากฎว่าเขียนลงที่เพจ 1448 นานแระ จนเกือบลืมไปเลยว่าเขียน เป็นหนังญรญ.อีกเรื่องที่ชอบมากๆ เลย ชอบทุกพาร์ทด้วย แต่พาร์ทท้ายชอบน้อยหน่อย☺️
ยังจำหนังเลสเบี้ยนเรื่อง If These Walls Could Talk 2 ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยก็น่าจะได้ราวๆ ว่า ถ้ากำแพงพูดได้อะไรประมาณนี้มากกว่า แต่ว่าชื่อไทยดั๊นชื่อ “ชะตาลิขิตชีวิตตราบาป” ซะงั้น โคตรบาปเลยนะคะ
มันเป็นหนังที่สร้างปี 2000 หรือราวๆ เมื่อ 16-17 ปีก่อนโน้นแน่ะค่ะ เราจำม้วนวิดีโอหนังเรื่องนี้ได้ดี (แต่เสียดายทิ้งไปหมด) และยังจำได้ว่าได้จัดฉายที่ร้านตรงเชิงสะพานหัวช้างให้สาวๆ มาดูกัน
จำได้เพราะเป็นหนังเลสเบี้ยนที่เราชอบมากๆ ทั้งเพลงเปิดเรื่อง Mama I'm Strange ของ Melissa Etheridge ร็อกเกอร์หญิงรุ่นใหญ่ในแวดวงเพลงอเมริกัน แถมยังประกาศตนเป็นคนแรกๆ ว่าเธอเป็นเลสเบี้ยนอีกต่างหาก
แต่ภาคที่เราชอบมากก็ภาคแรกที่เล่าเรื่องของเลสเบี้ยนยุค 1961 นั่นแหละ คือหนังจะใช้สถานที่ที่บ้านหลังเดิม แต่เปลี่ยนยุคสมัยไปเรื่อยๆ คือภาคแรกก็ปี1961 ภาค2 ก็น่าจะราวๆ ปี1972 ยุคฮิปปีว่างั้นเถอะ จนมาถึงยุคมิลเลเนียมปี 2000
นักแสดงของและละยุคก็น่าชมทั้งสิ้นค่ะ แต่ณ ที่นี้เราขอพูดถึงยุคแรก 1961 ที่เราซึ้งกับมันมากๆๆ ก่อนก็แล้วกัน
หนังเปิดเรื่องด้วยการที่ตัวละคร 2 สาว คือ อีดิธ(Vanessa Redgrave) และ แอ็บบี (Marian Seldes) ไปดูหนังด้วยกัน หนังเรื่องนั้นก็คือ The Children's Hour (หนังที่สร้างปี 1961 พอดี) ซึ่งน่าจะเป็นหนังที่พูดถึงความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยนเรื่องแรกๆ เป็นเรื่องของครูสาวสองคน (Audrey Hepburn และ Shirley MacLaine) ที่ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนประจำหญิงล้วนขึ้นมา ภายหลังทั้งสองถูกนักเรียนเจ้าปัญหากล่าวหาว่าเป็นคู่รักกัน ซึ่งชีวิตของทั้งคู่แทบจะตกนรกทั้งเป็น กว่าทุกอย่างจะคลี่คลายได้ หนึ่งในนั้นกลับเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองเพราะทนถูกสังคมประนามไม่ไหว
แน่นอน 2 สาวในเรื่อง จึงไม่สามารถเปิดเผยกับใครได้ว่าพวกเธอเป็นคู่รักกัน แม้จะอยู่ด้วยกันมา 30 ปี แล้วก็เถอะ ดังนั้นพอดูหนังจบเดินออกมาจากโรง ก็เลยมีพวกเด็กผู้ชายมาจีบและพูดจาหยาบโลนด้วย ซึ่งพวกเธอก็ปัดป้องเอาตัวรอดมาได้ แต่เหตุการณ์ที่เป็นจุดใหญ่ที่ทำให้เราซาบซึ้งสะเทือนใจก็ตอนที่แอ็บบีปีนบันไดเอาอาหารไปให้นก และทันไดนั้นบันไดก็ล้มลง และเธอก็บาดเจ็บจนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งอีดิธไม่สามารถเข้าไปเยี่ยมได้ แม้เธอจะนั่งรออยู่ภายในโรงพยาบาลนั้นไม่ได้หลับได้นอนทั้งวันทั้งคืนก็ตาม นั่นก็เพราะว่าทางโรงพยาบาลมีกฎให้เยี่ยมได้เฉพาะญาติเท่านั้น แล้วอีดิธคือใครกัน พวกเธอสองคนรู้กัน ทว่าสังคมไม่ได้รับรู้ความสัมพันธ์ของพวกเธอเลย ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะของพวกเธอ แม้จะอยู่ด้วยกันมา 30 ปีแล้วก็ตาม นั่นก็เพียงเพราะว่า พวกเธอทั้งคู่คือเพศเดียวกัน
จวบจนกระทั่งแอ็บบีจากไป อีดิธก็ไม่สามารถเข้าไปดูใจคนรักของเธอได้ กระทั่งมาถึงวันที่ญาติของแอ็บบีมาที่บ้าน และขอให้เธอย้ายออกไปจากบ้านหลังนี้ (บ้านที่พวกเธออยู่ด้วยกันมา30ปี) มันสะเทือนใจมากๆๆ ดูกี่ครั้งก็น้ำตาร่วงเสมอ
เพราะญาติคนที่ว่านั้น เอาเข้าจริงๆ ก็คือคนแปลกหน้า ถ้าไม่ติดว่ามีกฎหมายสืบสายโลหิต ขณะคนรักของเธอที่อยู่ด้วยกันทุกวัน กลับถูกกันออกไป ไม่ได้รับสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่จะขอเข้าไปดูใจอีกฝ่ายก่อนวาระสุดท้ายก็เถอะ
กฎหมายจำเป็น กฎหมายสำคัญค่ะ และเพราะมันสำคัญ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับมัน ไม่ใช่สักแต่ออกๆ มา แต่บังคับใช้อะไรไม่ได้ เหมือนกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ออกมารัวๆ ช่วงหลังรัฐประหารนี้
ดังนั้นปพพ.1448 จึงสำคัญเพราะมันถูกบังคับใช้มานานแล้ว และใช้ได้จริง สำหรับคู่ชายหญิง หากจะขอแก้เป็นใช้ได้สำหรับทุกคนที่ต้องการจดทะเบียนสมรสจะดีกว่ามั้ยคะ (ถ้าทะเบียนสมรสไม่สำคัญ รักกันด้วยใจ อยากให้ยกเลิกการจะทะเบียนสำหรับทุกเพศไปเลยค่ะ) จะได้เสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงค่ะ

🥰🥰
https://youtu.be/3GlUyqEGZXo
คืนให้ - sarah salola ft. Mean TaitosmitH 「Official MV」 Single : คืนให้ (ps.)Artist : sarah salola ft. Mean TaitosmitH (มีน ไททศมิตร)Label : marr__________________________________________________Executive Produc...

🥰🥰
ทุกคนพร้อมใจกันเรียกแดดดี้เมื่อ “คริสเตน สจ๊วต” (Kristen Stewart) เดินเข้ามาในงานกับลุคผมสั้นและเมคอัพที่มีความหลัว เธอสวมเบลเซอร์ครอปสีขาว จับคู่กับกางเกงซาตินเอวสูง และเนกไทสีดำ ท่ามกลางลุคที่มีแต่โบและไข่มุกเกลื่อนงาน ลุคของคริสเตนได้รับคำชมเยอะมาก ๆ
ว่าด้วยอำนาจของวรรณกรรม☺️☺️

***an Visibility Day

ใครอยากไปเป็นอาสาสมัครงานไพรด์ปีนี้ รีบๆ เลยจ้า
4มิย.เจอกัลลลล☺️
แล้วฉันเลือกอะไรได้มั้ย!?
เลือกได้สิ!
บางกอกไพรด์ 2023 เปิดรับอาสาสมัครแล้ว!
ไม่จำกัดเพศหรือสภาพร่างกาย เพียงอายุ 15 ปีขึ้นไป
สมัครเพื่อเลือกอาสาสมัครที่คุณอยากมีส่วนร่วมได้ที่
https://form.jotform.com/230863083584057
ปีนี้มีอาสาสมัครอะไรบ้างมาดูกัน
1. อาสาสมัครประจำจุดเริ่มขบวน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกในการเข้างาน, การลงทะเบียน, การดูแลบูทกิจกรรมบริเวณหน้าหอศิลป์ คุณจะได้เตรียมความพร้อมและเรียนรู้ไปกับเราก่อนวันเริ่มงานทั้งผ่านทางออนไลน์และลงพื้นที่จริง
2. อาสาสมัครประจำขบวน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกในการเข้าขบวน, ทำกิจกรรมของขบวน, ดูแลอุปกรณ์เช่น ป้าย ธง พร็อบประจำขบวนไปจนสิ้นสุดการเดินขบวน คุณจะได้เตรียมความพร้อมและเรียนรู้ไปกับเราก่อนวันเริ่มงานทั้งผ่านทางออนไลน์และลงพื้นที่จริง
3. อาสาสมัครล่าม
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการทำหน้าที่เป็นล่ามในขบวนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมที่เป็นชาวต่างชาติ เปิดรับทุกภาษา
4. อาสาสมัครระงับเหตุความรุนแรงทางเพศ
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการตรวจสอบและเฝ้าระวังการคุกคาม การล่วงละเมิด การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทุกประเภทในขบวนและยุติสถานการณ์ความรุนแรง จากนั้นประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือการ์ดในการควบคุมตัวผู้กระทำผิดให้ออกจากขบวน คุณจะได้รับการฝึกอบอรมจากองค์กรที่ทำงานเรื่องยุติความรุนแรงทางเพศ มาร่วมเรียนรู้กันได้นะไม่ต้องกังวล
5. อาสาสมัครบัดดี้ผู้พิการ
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบให้กับผู้พิการที่ร่วมขบวน คุณจะได้รับการฝึกอบรมเรียนรู้การอำนวยความสะดวกโดยผู้พิการและองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิผู้พิการ
6. อาสาสมัครประสานงาน
เลือกสมัครเลยถ้าคุณต้องการประสานงานกับขบวนที่สมัครเข้ามาให้สามารถเข้างานได้โดยสะดวก รวมถึงการตรวจสอบและยับยั้งไม่ให้ธุรกิจหรือองค์กรที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าในขบวน หรือที่เรียกว่า Rainbow washing คุณคือ Rainbow Protector ที่จะช่วยดูผลประโยชน์เพื่อชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง
7. อาสาสมัครมอนิเตอร์งานออนไลน์
เลือกสมัครเลย เพราะในวันงานอาจจะมีการขอความช่วยเหลือผ่านทางออนไลน์ เช่น ของหาย พลัดหลงกับเพื่อน ต้องการข้อมูลในการเข้าร่วมขบวน เราอยากขอให้คุณไปช่วยสื่อสารเพื่อให้เขาได้รับความสะดวกหรือช่วยแคปภาพเพื่อส่งต่อให้เราได้ทำงานต่อ สามารถมอนิเตอร์ได้ทุกแพลตฟอร์มทั้ง instagram Facebook Twitter และ Openchat ตามที่สะดวก)
และแน่นอนประชาธิปไตยนอกจากจะให้สิทธิเลือกแล้วสิทธิที่จะไม่เลือกก็ต้องได้รับ หากเข้าไปในแบบฟอร์มรับสมัครคุณสามารถเพิ่มตำแหน่งอาสาสมัครคุณต้องการได้เอง
เปิดรับสมัครจนกว่าจะได้อาสาสมัครเพียงพอ!
มาร่วมเรียนรู้และเดินทางไปกับเรานะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือร่วมเป็นผู้สนับสนุนได้ที่
email: [email protected]
line OA: (มี @)
#บางกอกไพรด2023
ติดตาม Bangkok Pride ได้ทุกช่องทางเพื่อไม่พลาดทุกข่าวสารอัพเดต!
Instagram : .official
Facebook : bangkok pride
Twitter :
Tiktok :
Website : www.bangkokpride.org
Let's Join Line Openchat
Bangkok Pride Community
ช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมสำหรับกิจกรรม Bangkok Pride 2023 ที่จะจัดขึ้นในปีนี้แล้วพบกันจ้า 🏳️🌈🎉
https://t.co/6sYUaGfB9r
graphic designer : Phafun Jantadej
content Editor : Jirajade Wisetdonwail
Photographer : Vichan Poti
photo credit : Mono29 News
━━━━━━━━━━━━━━━
กรุงเทพมหานคร
Swing Thailand
Mono News - ข่าวโมโน

มีประเด็นชายแท้ เลยนึกถึงประเด็นเลสแท้ขึ้นมา
เลสเบี้ยนดาวทอง หรือ ‘Gold Star Le***an’
หมายถึงญรญ.ที่ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมาก่อน ถ้าในกลุ่มชรช. ก็มีคำว่า ‘Platinum Gay’ ค่ะ
คำว่าเลสเบี้ยนดาวทองนั้น บางคนฟังอาจจะรู้สึกภาคภูมิใจในความบริสุทธิ์ผุดผ่องของตัวเอง แต่ในชุมชน LGBTIQAs สากล (ที่ไม่ใช่ไทยๆ) แล้วคำนี้เป็นคำที่ไม่ควรเอามาพูดสักเท่าไร ขุดหลุมฝังมันไปซะได้ก็จะยิ่งดี
ทำไมน่ะหรือเพราะมันเป็นการให้คุณค่าผู้หญิง โดยวัดจากการมีเซ็กซ์และไม่มีเซ็กซ์กับผู้ชายนั่นเอง ใครมีเซ็กซ์กับผู้ชายมาก เป็นหญิงเลว สำส่อน ใครมีน้อยหรือไม่มีเลย กลายเป็นเธอผู้แสนจะดีงาม
ซึ่งมันไม่ใช่ค่ะ คุณค่าของคนคนหนึ่งควรมาจากสิ่งที่เขาเป็นหรือทำต่อตัวเอง/ผู้อื่น/ต่อสังคม ต่อโลก ไม่ใช่วัดจากจำนวนการมีเซ็กซ์กับผู้ชาย
แบบว่าการแสดงความภาคภูมิในในเรื่องเพศของใครคนหนึ่งไม่ควรดึงหรือลดทอนคุณค่าเรื่องเพศของใครอีกคนหนึ่งน่ะค่ะ
สุขสันต์วันอาทิตย์ค่า😊

ชอบคู่นี้อ่ะ น่ารักกกกก ปลูกผักเก่งมากๆๆ ด้วย☺️☺️☺️
ไว้รอบหน้าปลูกเมล่อน จะลองวาดรูปอื่นๆเพิ่มมาให้ชมนะคะ ส่วนความรู้อื่นๆเรื่องเมล่อนก็มีอีกเยอะที่ต้องไปเรียน อิอิ 😝

ดรามาชายแท้ น้องปั๋นใช่มั้ย🧐

เอ้าตกข่าว เขาเลิกกับแฟนญ.แล้วเหรอคะ🧐
แฟนคลับฟินหนักมาก ตัวมัมไม่พูดเยอะ พลอย เฌอมาลย์ โพสต์รูปคู่ หนุ่มโต้ง พร้อมแคปชัน I told the stars about you ???? เพื่อนพ้องในวงการเมนต์แซวสนั่นไอจีไปเลยจ้า
อ่านต่อ : https://ch3plus.com/news/socialnews/morning/344315
#เรื่องเล่าเช้านี้ #ข่าวช่อง3 #ข่าวบันเทิง #พลอยเฌอมาลย์ #โต้งทูพี

ถ้าเป็นญรญ.นี่ก็ไม่อยากจะนึก
ART&CULTURE: ‘ครัว-กระทะร้อน’ คือ ‘นรกของผู้หญิง’ ศิลปินจีนสะท้อนแรงกดดันของสังคมผ่านลายเส้นสุดหลอน
โดยทั่วๆ ไป การทำอาหารและงานในครัวของแต่ละบ้าน มักจะถูกคาดหวังให้เป็นหน้าที่ของ ‘ผู้หญิง’ แต่โลกที่หมุนเวียนผ่านมาจนถึงศตวรรษที่ 21 ทำให้วิธีคิดและการมองบทบาทของ ‘ปัจเจก’ ในแต่ละสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก และผู้หญิงยุคนี้ก็ไม่อยากจะถูกผูกโยงกับงานครัวเสมอไป
จื้อหยู โหยว (ZhiYu You) ศิลปินหญิงชาวจีน ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่สะท้อนความเห็นเรื่องงานครัวผ่านผลงาน Digital Art ที่เต็มไปด้วยการเสียดสีและตลกร้าย เพราะงานในซีรีส์ ‘Hell Scene’ ของเธอ คือภาพผู้หญิงซึ่งถูกทรมานด้วยวิธีการ ทอด ผัด และนึ่ง อยู่ภายในครัวที่เปรียบเสมือนนรกอันร้อนแรง
รูปแบบการนำเสนอผลงานของเธอเป็นภาพวาดดิจิทัลที่จงใจทำให้ดูเหมือนการ์ตูน แต่ลายเส้นกับเนื้อหาจะดูหลอนๆ สะท้อนความทุกข์ทนของผู้หญิงในสังคมจีนซึ่งถูกโยนบทบาททั้งนอกบ้านและในบ้านมาให้ และสำหรับหลายๆ คน นี่คือพันธนาการที่ไม่อาจหนีพ้นได้เลย
“ผลงานในซีรีส์ Hell Scene ของฉันได้แรงบันดาลใจมาจากความเชื่อเรื่องนรกขุมต่างๆ ของศาสนาพุทธในจีนยุคโบราณ แล้วก็จับเอาแนวคิดเรื่องการจองจำผู้หญิงด้วยภาระหน้าที่ต่างๆ ในสมัยโบราณมาเชื่อมโยงกับชีวิตของผู้หญิงในโลกปัจจุบัน ซึ่งพอทำแบบนี้แล้วงานของฉันก็เลยเน้นให้คนเห็นถึงการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องเจอมาตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา”
ศิลปินหญิงวัยยี่สิบปลายๆ อธิบายผลงานของเธอเอาไว้อย่างนั้น ซึ่งถ้าย้อนกลับไปมองสภาพสังคมจีนในยุคหลังปี 2000 ก็พอจะบอกได้ว่าผู้หญิงจีนยุคนี้ต้องแบกรับบทบาทหลายอย่าง แต่ ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ที่เคยเป็น ‘หลักการสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน’ ยุคหลังปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับถูกลดทอนลงไปมาก
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่รวบรวมโดยสถาบันระหว่างประเทศ Lowey Institute ซึ่งเผยแพร่ในวันสตรีสากลเมื่อเดือนมีนาคม 2023 สะท้อนว่าผู้หญิงจีนถูกส่งเสริมให้ทำงานนอกบ้านและเป็นแรงงานยุคหลังปฏิวัติจีน ทำให้ผู้ชายไม่ใช่กำลังหลักในการหารายได้เข้าครอบครัวเพียงฝ่ายเดียว และมีการส่งเสริมผู้หญิงเป็นสมาชิกพรรคเพื่อรับหน้าที่สำคัญต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีบทบาทและมีปากเสียงเพิ่มขึ้นจริงๆ
แต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เคยเป็นหลักการสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายอย่าง รวมถึงนโยบาย ‘ลูกคนเดียว’ ที่เคยบังคับใช้นานหลายสิบปีเพื่อควบคุมจำนวนประชากร และถูกยกเลิกไปอย่างถาวรเมื่อปี 2015 แต่กว่านโยบายนี้จะถูกยกเลิกไป ผู้หญิงจีนจำนวนมากเคยถูกบังคับให้ ‘ทำแท้ง’ เพราะครอบครัวจีนต้องการให้ลูกคนเดียวที่รัฐบาลอนุญาตให้มีได้นั้น ‘เป็นผู้ชาย’ เพื่อจะได้สืบสายสกุลต่อไป ถ้าตรวจพบว่าลูกในท้องเป็นผู้หญิงก็จะถูกครอบครัวกดดันไม่ให้เก็บไว้
และถ้าไปไล่ดูสถิติผู้หญิงจีนที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหรือแวดวงธุรกิจจีนปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีจำนวนน้อยกว่าผู้ชายเกือบครึ่งต่อครึ่ง จนมาถึงยุคที่อัตราการเกิดของประชากรจีนลดลงต่อเนื่อง ผู้หญิงก็ยังคงถูกกดดันให้แต่งงานและ ‘มีลูก’ ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงที่ผู้หญิงจีนจำนวนมากนั้นสามารถที่จะทำงานหาเงินและพึ่งพาตนเองได้ จึงไม่อยากจะรับบทบาทเมียและแม่ (และลูกสะใภ้) ที่มีภาระหน้าที่หนักหน่วงอย่างมาก
ยุคหลังมานี้ หน่วยไซเบอร์ของรัฐบาลจีนจึงมักจะเข้าไปพุ่งเป้าแสดงความเห็นโจมตีในกระทู้หรือฟอรัมที่มีคนพูดถึงแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ (ซึ่งถูกหน่วยไซเบอร์แปะฉลากว่าเป็น ‘เฟมินิสต์’ และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงละทิ้งบทบาทและหน้าที่ของตัวเองไป)
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ศิลปินหญิงเชื้อสายจีนซึ่งมีโอกาสไปเรียนต่อ-เปิดหูเปิดตาในโลกตะวันตกจะเลือกสะท้อนภาพ ‘นรกของผู้หญิง’ ผ่านผลงานของตัวเอง และมีแฟนคลับติดตามในโซเชียลมีเดียไม่น้อยเลย

สั่งซื้อได้เลยค่ะ
เฟมินิสม์เป็นของทุกคน-Feminism is for everybody | feminista ฉันอยากให้พวกเขามีคำตอบต่อคำถามที่ว่า “เฟมินิสม์คืออะไร” โดยไม่ได้มีรากฐานจากความกลัวหรือจาก จินตนาการ...

ขอบคุณนักอ่านทุกๆ คนที่แวะมาอุดหนุนบูธสะพานนะคะ เหนื่อยมากกกก อยากพัก☺️

ขอบคุณนักอ่านทุกคนนะคะ ที่แวะมาอุดหนุนบูธสะพาน☺️

สีสวยจัง ขนมจากคุณนักเขียนเรื่อง “เสด็จแม่เจ้าขา ลูกกลับมาแล้วเจ้าค่ะ” เหมาะกับบูธ LGBT มาก
ธีสิสเกี่ยวกับนิยายหญิงรักหญิง #นิยายยูริ

ความรู้
Sapphic คืออะไร? ชวนทุกคนทำความรู้จักกับคำว่าแซฟฟิค คำว่า Sapphic คืออะไร? ใช่คำใหม่อย่างที่เขาบอกกันไหม ทำไมถึงต้องใช้คำนี้กัน แล้วใช้ยังไง? วันนี้ Sapphicity จะพาทุกคนไ...
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
สำนักพิมพ์สะพาน
สำนักพิมพ์สะพาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 เพื่อจัดพิมพ์วรรณกรรมนวนิยาย เรื่องสั้น-เรื่องยาว เกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางเพศ LGBT และโดยเฉพาะหญิงรักหญิง
เนื่องเพราะงานเขียนแนวนี้เป็นงานที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จัดพิมพ์ และหรือที่จัดพิมพ์ก็มักจะผลิตซ้ำอคติ ต่อบุคคลกลุ่มดังกล่าว
หนังสือนิยายของสำนักพิมพ์สะพาน จึงเน้นที่จะสร้างมุมมองใหม่ๆ
ด้วยหวังว่าหนังสือที่สำนักพิมพ์จัดพิมพ์ออกมาจะเป็นสะพานช่วยเชื่อม ช่วยสร้างให้เกิดความเข้าใจ ระหว่างคนในสังคมที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกันได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะเราเชื่อว่าพลังอำนาจของงานวรรณกรรม น่าจะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมได้บ้างตามสมควร
ทางสำนักพิมพ์ มีความตั้งใจที่จะจัดพิมพ์หนังสือรวมเรื่องสั้น/นวนิยาย ให้ออกมาสม่ำเสมอทุกปีตามกำลังความสามารถที่จะทำได้ ด้วยการจัดพิมพ์แบบ Print on Demand ทีละ 100 เล่ม ซึ่งอาจทำให้หนังสือของเราแพงกว่าหนังสือในระบบการพิมพ์แบบทั่วไป
แต่เราก็เชื่อว่าหนังสือแนวดังกล่าวนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในจำนวนหนังสือนิยายนับหมื่นนับแสนเล่มในตลาด สำหรับคนที่ต้องการในสิ่งที่แตกต่างจากกระแสหลัก ที่อยากอ่านเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกันบ้าง ก็คงมีอีกไม่น้อย
สามารถสั่งซื้อหนังสือนิยายของสะพานได้ทางเพจสะพาน หรือเว็บ les-books.com หรือในงานหนังสือที่ศูนย์สิริกิติ์ ปีละ 2 ครั้ง ที่สะพานไปออกบูธค่ะ
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
Phetchabun
67180