ร้านสบายสบาย นวดเพื่อสุขภาพ&ซาลอน ตลาดมิตรภาพ ปากช่อง

ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก ร้านสบายสบาย นวดเพื่อสุขภาพ&ซาลอน ตลาดมิตรภาพ ปากช่อง, บริการนวด, หลังตลาดสดมิตรภาพ, Pak Chong.

10/09/2017

ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่กลับมาใช้บริการและบอกต่อ ขอบคุณทุกกำลังใจ เราขอสัญญาจะรักษามาตรฐานและจะนำคำติชมไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

Photos from ร้านสบายสบาย นวดเพื่อสุขภาพ&ซาลอน ตลาดมิตรภาพ ปากช่อง's post 25/08/2017

สวัสดีวันศุกร์ เช้านี้อาการที่ปากช่องเย็นสบาย ร้านสบายสบาย พร้อมให้บริการด้วยใจ

Photos from ร้านสบายสบาย นวดเพื่อสุขภาพ&ซาลอน ตลาดมิตรภาพ ปากช่อง's post 22/08/2017

ประคบร้อน (Warm compression) ประคบเย็น (Cold compression)
หลายท่านอาจมีประสบการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเช่น ถูกน้ำร้อนลวก หกล้ม ทำให้เกิดรอยฟกช้ำขี้นบริเวณร่างกาย ข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อที่ใดก็ตาม รวมทั้งแมลงกัดต่อย และมีอาการปวด บวม เกิดขึ้น กรณีเหล่านี้จะเลือกใช้ความร้อนหรือความเย็นมาประคบบริเวณที่มีการบาดเจ็บเกิดขึ้นอย่างไร จึงจะได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ใช้ประคบร้อนหรือประคบเย็นเมื่อใด?
ประคบร้อน
ข้อบ่งชี้ในการเลือกใช้การประคบร้อนหรือใช้การประคบเย็นจะใช้ในกรณีการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง โดยใช้ร่วมกับวิธีรักษาอื่นๆและยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการบาดเจ็บและลักษณะของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นด้วย โดยมีแนวทางการเลือกใช้ความร้อนหรือใช้ความเย็นมาประคบดังนี้
ก. การประคบด้วยความร้อน/ประคบร้อน:
ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดหลัง ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อต่างๆที่เป็นเรื้อรัง การปวดท้องเช่น ปวดประจำเดือน เพราะความร้อนจะช่วยลดอาการปวดข้อและคลายกล้ามเนื้อได้ดี นอกจากนี้หลังบาดเจ็บ 48 ชั่วโมงไปแล้วการใช้ความร้อนประ คบจะช่วยลดการปวดและลดบวมได้ดี
ข. การประคบด้วยความเย็น/ประคบเย็น:
สามารถนำมาใช้ในกรณีต่อไปนี้
ในกรณีที่มีการบาดเจ็บภายใน 24 - 48 ชั่วโมงแรกเช่น หกล้มมีการฟกช้ำ เป็นต้น จะช่วยลดการบวม เลือดออก และอาการปวด
ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหลให้ประคบความเย็นบริเวณหน้าผากหรือสันจมูกเพื่อช่วยให้เลือดกำเดาหยุดไหลได้
ในรายที่มีไข้ ตัวร้อน ควรใช้ความเย็นประคบบริเวณหน้าผากเพื่อช่วยระบายความร้อนจากร่างกาย
ในรายที่มีการอักเสบเฉียบพลันเช่น ปวด บวม แดงร้อน การประคบด้วยความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้
วิธีประคบร้อนวิธีประคบเย็นทำอย่างไร?
วิธีประคบร้อนวิธีประคบเย็นจะเช่นเดียวกัน ต่างกันเฉพาะเรื่องของอุณหภูมิคือ ใช้ความร้อนหรือใช้ความเย็นซึ่งวิธีประคบมีดังนี้
ก.อุปกรณ์: อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบความร้อนความเย็นได้แก่ กระเป๋าน้ำร้อน, กระเป๋าน้ำเย็น, ผ้าหรือถุงสำหรับห่อหุ้มกระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง (กรณีประคบเย็น), หรืออาจเลือกใช้ ถุงร้อน
เย็น (Hot cold pack) ที่มีเจลอยู่ภายในถุงสามารถใช้ได้ทั้งความร้อนและความเย็น
โดยหากต้องการทำให้ร้อน ใส่ถุงร้อน - เย็นนี้ลงในน้ำเดือดนานประมาณ 5 นาที หรือใส่ในไมโคร เวฟ (Microwave) ประมาณ 1 - 2 นาที
หากต้องการใช้ความเย็น นำถุงร้อน - เย็นนี้ไปใส่ช่องแข็ง (Freeze) ของตู้เย็นนานประมาณ 1 ชั่ว โมงก่อนนำมาใช้งาน
หรือหากต้องการใช้ความชื้น ควรเตรียมอ่างน้ำที่ใส่น้ำสะอาด ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 - 2 ผืน
ถ้าประคบร้อน ใช้น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส (Celsius)
หรือกรณีประคบเย็น นำน้ำแข็งใส่อ่างน้ำที่จะใช้ประคบด้วยความเย็น
ข.วิธีประคบร้อนและวิธีปะคบเย็น ควรปฏิบัติดังนี้
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนเพื่อสะดวกในการประคบและให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งการประคบร้อนหรือประคบเย็นอาจทำด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นทำให้ก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือเป็นรายกรณี
วิธีการประคบด้วยความความร้อนหรือด้วยความเย็น “แบบชื้น (Wet compression) ” โดยใช้ผ้าชุบน้ำร้อน/น้ำอุ่น (Wet hot compression หรือ Wet worm compression) หรือน้ำเย็น (Wet cold compression) จากอ่างน้ำที่เตรียมไว้
แต่ถ้าเป็นการใช้ความร้อนประคบแบบแห้ง ใช้เทน้ำร้อนลงในกระเป๋าน้ำร้อนประมาณ ¾ ถุง เอียงกระเป๋าน้ำร้อนไล่ลมออกไปให้หมด ปิดฝากระเป๋าน้ำร้อนให้สนิทป้องกันน้ำร้อนรั่วซึม หากต้องการประคบด้วยความเย็นแบบแห้ง ใช้กระเป๋าน้ำแข็งใส่น้ำแข็งประมาณ ¾ ถุง ปิดฝาให้สนิทป้องกันน้ำรั่วซึม
ทั้งนี้ ควรสวมถุงผ้า/หรือผ้าสะอาดหุ้มกระเป๋าน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำแข็งอีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรให้ความร้อนหรือความเย็นสัมผัสผิวหนังโดยตรง เพราะอาจก่อการบาดเจ็บต่อผิวหนังและอวัยวะที่ต้องประคบได้
วางผ้าชุบน้ำร้อนหรือน้ำเย็น หรือกระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำแข็ง บริเวณที่บาดเจ็บหรือบริเวณที่ต้องการประคบ ใช้เวลาแต่ละครั้งนานประมาณ 5 - 15 นาทีหรือจนอุณหภูมิของน้ำลด ลง จึงเปลี่ยนน้ำเย็นหรือน้ำร้อนอีกครั้ง ใช้เวลารวมทั้งสิ้นในการประคบร้อนหรือประคบเย็นไม่ควรเกิน 20 นาที
หากใช้เวลานานเกินไปในการประคบร้อน จะพบว่าบริเวณผิวหนังที่ถูกประคบจะมีอาการแดง อุ่น อาจเกิดตุ่มน้ำ พอง ปวด
หรือขณะที่ประคบเย็นนานเกินไป ผิวหนังที่ประคบจะเย็น ขาวชืด แสดงถึงว่าผิวหนังบริเวณที่ประคบได้รับความเย็นมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและต่ออวัยวะที่ประ คบ
ดังนั้น ถ้าใช้ระยะเวลาในการประคบที่ไม่เหมาะสม นานเกินไป หรือให้ความร้อนหรือความ เย็นสัมผัสผิวหนังโดยตรง อาจเกิดการการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกประคบจากการใช้ความร้อนหรือความเย็นที่ไม่เหมาะสมได้
ผลของประคบร้อนและประคบเย็นเป็นอย่างไร?
ผลของประคบร้อนและผลของประคบเย็นมีดังนี้
ใช้ความเย็นประคบให้ได้ผลดี: ควรประคบภายใน 24 - 48 ชั่วโมงแรกหลังได้ รับบาดเจ็บ เพราะจะช่วยในการควบคุมการเสียเลือดโดยทำให้หลอดเลือดหดตัว และยังช่วยลดความปวดและลดบวมได้
ใช้ความร้อนประคบให้ได้ผลดี: ควรประคบหลัง 48 ชั่วโมงแรกจากการบาดเจ็บ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพของเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ ความร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มการไหลเวียนเลือด จะสังเกตเห็นว่า บริเวณที่ประคบร้อน ผิวหนังจะมีสีแดงและอุ่น ส่งผลให้ออก ซิเจน เม็ดเลือดขาว และสารต่อต้านเชื้อโรค เคลื่อนเข้ามาที่เนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น ความร้อนทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยขยายตัว จึงทำให้สารน้ำ/ของเหลวที่คั่งอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ซึมผ่านเข้าไปในหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้น จึงช่วยลดอาการบวมได้ ความร้อนยังทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดการหดเกร็ง ระยะเวลาความร้อนที่ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวมากที่สุดประมาณ 20 นาทีของการได้รับความร้อน ดังนั้น การประคบด้วยความร้อนเป็นช่วงๆไม่เกินช่วงละ 20 นาทีจึงช่วยให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
*****ข้อสำคัญ:
ควรระมัดระวังในการใช้ความร้อนดัวย เพราะหากร่างกายสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานๆ ก็จะเกิดผลเสีย ทำลายเซลล์ได้ ทำให้เกิดรอยแดง กดเจ็บ และตุ่มพอง และทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น เกิดการบวมตามมาได้
หากใช้ความเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บนั้นนานเกินไป อาจทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บนั้น ทำให้เกิดเนื้อตาย ปวด บวมได้เช่นกัน
การใช้ระยะเวลาในการประคบแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20 นาที (ประมาณ 5 - 15 นาที) วันละ 3 - 4 ครั้งใน 1 - 2 วันแรก ต่อจากนั้นค่อยๆลดจำนวนครั้งลงเหลือ 1 - 2 ครั้งต่อวัน และเลิกใช้เมื่ออาการต่างๆดีขึ้น แต่ถ้าอาการต่างๆเลวลงควรต้องพบแพทย์/ไปโรงพยา บาลเสมอ หรือถ้ามีการบาดเจ็บรุนแรงตั้งแต่แรกควรต้องรีบไปโรงพยาบาล ไม่ควรเลือก ใช้การประคบ
ข้อดีและข้อเสียของประคบร้อนและประคบเย็นเป็นอย่างไร?
การใช้ความร้อนหรือความเย็นที่มักนิยมใช้ประคบในการลดอาการปวดและบวม มักใช้ “ประคบร้อนหรือประคบเย็นแบบชื้น” โดยมีข้อดีการใช้ความร้อนความเย็นแบบชื้นคือ ทำให้ผิว หนังไม่แห้ง เนื้อเยื่อนุ่ม ขจัดซากหรือเซลล์ที่ตายแล้วออกได้ง่าย ความชื้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายบริเวณที่บาดเจ็บ ความร้อนชื้นจะสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในเนื้อเยื่อได้ลึก และความ ร้อนชื้นไม่ทำให้เหงื่อออกมาก ร่างกายจึงไม่สูญเสียน้ำ
แต่ก็ยังมีข้อเสียของการใช้ความร้อนหรือความเย็นแบบชื้นคือ ความชื้นจะทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ยง่าย อุณหภูมิของความร้อนชื้นจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการระเหยของน้ำ ความร้อนชื้นมีโอกาสเกิดความเสี่ยงจากผิวหนังไหม้ได้ง่ายเพราะความชื้นนำความร้อนได้ดี
ส่วนความร้อนแบบแห้งมักจะใช้ในรายต้องการลดความปวดจากอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การปวดประจำเดือน เพราะทำให้ความร้อนผ่านผิวหนังลงไปถึงอวัยวะภายในได้ดี แต่ข้อ เสียของความร้อนแบบแห้ง ถ้าใช้เวลานานเกินไปอาจทำให้เกิดผิวหนังเป็นตุ่มน้ำพอง
ข้อเสียของประคบเย็นทั้งชนิดชื้นและชนิดแห้งคือ ถ้าใช้ความเย็นจัดหรือน้ำแข็งสัมผัสผิวหนังโดยตรง หรือประคบระยะเวลานานเกินไป หลอดเลือดจะหดตัวมาก เนื้อเยื่อบริเวณประ คบจะขาดเลือด เกิดเนื้อตาย/แผล ปวด และบวม
มีข้อควรระวังในการประคบร้อนหรือประคบเย็นอย่างไร?
มีข้อควรระวังในการประคบร้อนหรือประคบเย็นดังนี้
ไม่ประคบร้อนบริเวณที่มีเลือดออกใหม่ เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายทำให้เลือดออกได้อีกหลังจากเลือดหยุดหรือเลือดออกได้มากขึ้น แต่ควรใช้ประคบเย็นในระยะ 24 - 48 ชั่วโมงแรก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรประคบด้วยความร้อนบริเวณแขน ขา เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เกิดเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรังได้
การประคบเย็นมีโอกาสทำให้เกิดการสั่นของกล้ามเนื้อลาย อาจทำให้เกิดอุณหภูมิร่าง กายสูงขึ้นได้
ไม่ใช้ความเย็นประคบบริเวณมีอาการบวม เพราะความเย็นทำให้การไหลเวียนเลือดมาสู่บริเวณที่บาดเจ็บลดลง น้ำที่คั่งอยู่ระหว่างเซลล์ (กลไกที่ทำให้บวม) ถูกดึงกลับเข้ากระแสเลือดลดลง จึงไม่ช่วยลดบวมและยังอาจทำให้บวมมากขึ้น แต่ความเย็นจะช่วยป้องกันเกิดอา การบวมในระยะแรกของการบาดเจ็บ (ใน 1 - 2 วันแรกของการบาดเจ็บ)
ไม่ประคบร้อนหรือประคบเย็นในบริเวณที่มีแผลเปิด เพราะความเย็นจะลดการไหล เวียนเลือดมาสู่แผล แผลจะหายช้า ส่วนความร้อนจะทำให้เนื้อเยื่อที่เป็นแผลเปิดบาดเจ็บมากขึ้น
ไม่ประคบเย็นในบุคคลที่มีอาการแพ้หรือไวต่อความเย็นมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผื่นแดง ลมพิษ บวม และ/หรืออาจพบความดันโลหิตสูงขึ้นได้
สรุป
การเลือกใช้ประคบร้อนหรือประคบเย็นขึ้นอยู่กับลักษณะการบาดเจ็บและระยะเวลาของการบาดเจ็บ
การประคบเย็นมักใช้ในระยะแรก 24 - 48 ชั่วโมงของการบาดเจ็บ เพื่อช่วยห้ามเลือด ลดการอักเสบ ลดบวม และลดปวด
การประคบร้อนมักใช้ระยะหลังจากบาดเจ็บ (เริ่มประมาณวันที่ 3 ของการบาดเจ็บ) และใช้ในกรณีมีการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยมักใช้ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง
ประโยชน์ของการประคบร้อนหรือประคบเย็นคือ คือ ช่วยลดปวด ลดบวม ในบริเวณที่ได้ รับบาดเจ็บที่ไม่มากไม่รุนแรง
ควรระมัดระวังในการประคบร้อนหรือประคบเย็น เพราะถ้าอุณหภูมิที่ใช้สูงหรือต่ำเกินไป หรือใช้เวลาประคบแต่ละครั้งนานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่ประคบบาดเจ็บมากขึ้น
หากการได้รับบาดเจ็บนั้นมีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิต ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันทีไม่ควรรอด้วยการประคบ
หากหลังประคบร้อนหรือประคบเย็นแล้วอาการเลวลงหรืออาการไม่ดีขึ้น ควรต้องพบแพทย์/รีบไปโรงพยาบาลเสมอ

07/08/2017

อาการของข้อไหล่หลุด
ข้อไหล่หลุด คือ ภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่หลุดออกจากเบ้าไหล่ ซึ่งอาจจะหลุดออกทางด้านหน้า ด้านหลัง หรือหลายทิศทาง ผู้ป่วยที่ข้อไหล่หลุดจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ ในบางรายอาจมีอาการชาแขนจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท
สาเหตุของอาการข้อไหล่หลุดส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือเล่นกีฬา ข้อไหล่ถูกกระแทกอย่างแรง หรือถูกฉุดแขนแรงไป ทำให้หัวกระดูกหลุดออกมานอกเบ้า หรือบางรายเกิดจากพันธุกรรมเอ็นรอบข้อหลวมไป ทำให้ข้อหลุดออกมาได้เช่นกัน มักพบหลุดออกมาอยู่ทางด้านหน้าของร่างกายมากกว่าไปทางหลัง คนไข้จะขยับแขนเคลื่อนไหวไม่ได้ แขนจะอยู่ในท่าที่ผิดปกติ นอนไม่ได้ ปวดมาก
อันตรายจากข้อหลุดจะเคลื่อนไหวไม่ได้เลยหรือเล็กน้อย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เต็มที่ แม้ในกิจวัตรประจำวัน จะอันตรายอย่างมาก หากเกิดอุบัติเหตุหลุดออกมาขณะว่ายน้ำหรือขับรถอยู่ การทำงานในที่สูงบางครั้งจะทำให้ช่วยเหลือตัวเองลำบากมาก
กลุ่มคนไข้ที่มีโอกาสไหล่หลุด
กลุ่มคนไข้ที่มีโอกาสไหล่หลุดคือ คนที่เล่นกีฬาปะทะ ได้แก่ ฟุตบอล รักบี้ หรือนักกีฬาที่ต้องยกแขนเหนือศีรษะ เล่นกีฬา เช่น นักเทนนิส นักว่ายน้ำ นักยิมนาสติก

การรักษาข้อไหล่หลุด
ข้อไหล่หลุดจัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรพึ่งการประคบเย็น โดยใช้น้ำแข็งผสมน้ำห่อผ้ามาประคบครั้งละ 5-10นาที ทุก1-2 ชั่วโมง เป็นเวลา1-2 วัน จะเร่งการสมานตัวของเนื้อเยื่อ และลดปวดได้ ภายหลังจากผู้ป่วยได้ยาระงับปวดแล้วแพทย์จะดึงข้อให้เข้าที่ จากนั้นให้ใส่อุปกรณ์พยุงแขน โดยเฉพาะผู้ที่ข้อหลุดครั้งแรกควรให้ข้อไหล่อยู่นิ่งๆ ประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นให้ทำกายภาพบำบัด และบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่

ข้อไหล่เป็นข้อที่มีโอกาสหลุดสูงที่สุดในร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 45-50 ของอุบัติการณ์ข้อหลุดทั้งหมดในร่างกาย ข้อไหล่หลุดประเภทหลุดเคลื่อนมาทางด้านหน้า (anterior shoulder dislocations) พบได้บ่อยถึงร้อยละ 90 ของข้อไหล่หลุดทั้งหมด โดยสาเหตุหลักคือ อุบัติเหตุ ซึ่งอาจสูงได้ถึงร้อยละ 96 กลไกการเกิดคือ การตกจากที่สูงหรือหัวไหล่อยู่ในท่ากางไหล่และหมุนไหล่ออกอย่างรุนแรง (abducted externally rotated shoulder) อัตราการเกิดข้อไหล่หลุดซ้ำอยู่ที่ร้อยละ 17-1001-4 และพบว่าสูงมากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย

ปัญหาที่พบบ่อยคือ การหลุดซ้ำ เป็นเพราะเส้นเอ็นภายในหัวไหล่มีการฉีกขาด บางรายเพียงถูกกระแทกเบาๆ ขณะโหนรถเมล์ หรือนอนยกแขนก่ายหน้าผาก ข้อไหล่ก็หลุดแล้ว สำหรับผู้ป่วยที่ข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ การผ่าตัดสามารถช่วยได้ โดยแพทย์จะทำการซ่อมเส้นเอ็นที่ฉีกขาดให้ยึดติดกับกระดูกอย่างเดิม เพื่อป้องกันการหลุดซ้ำ

การผ่าตัดรักษาข้อไหล่หลุดทำได้หลายวิธี ในปัจจุบันมีการพัฒนาของเครื่องมือเทคนิคการผ่าตัด การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลดีมาก เพราะข้อไหล่เป็นข้อที่อยู่ลึก การผ่าตัดโดยวิธีเปิดจะต้องแหวกผ่านกล้ามเนื้อหลายชั้น แผลผ่าตัดจะค่อนข้างใหญ่ ส่วนการส่องกล้องจะเป็นการเจาะรู แผลผ่าตัดเล็ก มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ภาวะข้อไหล่หลุดนอกจากจะมีพยาธิสภาพในข้อไหล่ เช่น เยื่อหุ้มข้อยืด หมอนรองเบ้าฉีก ยังพบพยาธิสภาพอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น เยื่อหุ้มข้อฉีกจากกระดูกต้นแขน หมอนรองเบ้าฉีกจากด้านบนและด้านหลัง หรือเอ็นรอบข้อไหล่ฉีกบางส่วน ดังนั้น การรักษาภาวะข้อไหล่หลุดโดยใช้กล้องส่องข้อ จึงมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากการตรวจด้วยกล้องส่องข้อ ทำให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพต่างๆ เหล่านี้ได้ชัดเจน รวมทั้งยังสามารถรักษาโดยการเย็บซ่อมผ่านทางกล้องส่องข้อ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดแบบเปิด อาจจะไม่เห็นพยาธิสภาพดังกล่าว หรือเห็นแต่ไม่สามารถเย็บซ่อมหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากการผ่าตัดแบบเปิด แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดเข้าไปในข้อไหล่ได้ในทิศทางเดียว คือ ด้านหน้าหรือด้านหลัง ฉะนั้น พยาธิสภาพที่เกิดร่วมกัน หากอยู่ด้านตรงข้ามก็จะแก้ไขได้ยาก นอกจากนี้ การใช้กล้องส่องข้อยังมีประโยชน์ในคนไข้ที่ข้อไหล่หลวมและมีอาการปวดร่วมด้วย ไหล่เลื่อนแต่ไม่ถึงกับหลุด เมื่อทำการรักษาโดยกายภาพบำบัดระยะหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น สามารถรักษาโดยใช้กล้องส่องข้อเข้าไปเย็บซ่อมเยื่อหุ้มข้อที่ยืด รวมถึงแก้ไขพยาธิสภาพอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วยได้

ปัจจุบัน การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อได้พัฒนาขึ้นมาก ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นจนใกล้เคียงกับการผ่าตัดแบบเปิด และทำให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว การเคลื่อนไหวของข้อไหล่กลับมาใกล้เคียงปกติ สามารถกลับไปใช้งานหรือเล่นกีฬาได้ดังเดิม โดยมีผลข้างเคียงน้อย จึงมีแนวโน้มว่า ผู้ป่วยข้อไหล่หลุดหรือหลวม จะได้รับการรักษาโดยวิธีการใหม่นี้มากขึ้นกว่าในอดีต การปล่อยให้ข้อไหล่ที่มีพยาธิสภาพไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวกระดูกไหล่ เบ้ากระดูก และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงมากขึ้น คนไข้ดังกล่าวจึงควรได้รับการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ ทั้งนี้ ผลการผ่าตัดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความชำนาญของแพทย์ ความพร้อมของเครื่องมือ และความร่วมมือของคนไข้ด้วย

29/07/2017

นวดแกะเส้น รีด จัดระเบียบเส้นเอ็น แก้อาการ จัดกระดูก ด้วยภูมิปัญญาศาสตร์แพทย์จีนโบราณ

ศาตร์จีนโบราณนี้ เป็นศาสตร์แพทย์จีนโบราณจกรุ่น สู่ รุ่นเป็นการคลายกล้ามเนื้อ และ กระตุ้นระบบการไหลเวียนของ เส้นเอ็น และ เส้นลมปราน ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังบรรเทาอาการปวดเรื้อรังที่เป็นมานานจากการใช้ร่างกายเปลืองอีกด้วยส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพทางกายที่ปราศจากโรค และ สุขภาพทางใจดีขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นศาสตร์ที่ทำให้ผู้ป่วยระบมกล้ามเนื้อน้อยที่สุด

โรคที่บรรเทาได้ในการรักษาด้วยวิธีนี้
1. โรคอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และ เฉียบพลัน
2. ข้อเข่าเสื่อม. ข้อติด. เกาท์. นิ้วล็อค. ตะคริว
3. อาการชา. เกร็งปวดเกร็งกล้ามเนื้อ และ เส้นเอ็น
4. อัมพฤกษ์. อัมพาต.
5. สะบักจม. หัวไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น. คอหันไม่สุด
6. เอ็นตึง. เอ็นขอด. ปวดหลังร้าวลงเอวลงขา
7. ปวดสะโพก. ขาไม่มีกำลัง
8. คอตกหมอน. หันคอไม่ได้. หายใจแน่น
9. วิงเวียนศรีษะ. ไมเกรน. ตาพร่ามัว นอนไม่หลับ
10. ข้อเท้าพลิกแพลง. บวม
11. ออฟฟิตซินโดรม
12. นักกีฬาปวดจากเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ

25/07/2017

สัญญาณที่ร่างกายฟ้องออกมาให้เห็น
หมั่นสังเกตสัญญาณที่ร่างการฟ้องออกมาให้เห็นนะครับ สำคัญมากๆๆๆควร save เก็บไว้ เพราะหากรู้เร็ว ตรวจพบเร็ว ไม่ว่าโรคไหนก็สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาไม่นานค่ะ

23/07/2017

มือชา เท้าชา บ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ...อาการนี้บ่งบอกความผิดปรกติ
อาการ “เหน็บชา” เป็นอาการที่พบได้บ่อยและมีอยู่หลายแบบ บางครั้งก็เป็นอาการชาเป็นครั้งคราวจากการนั่งหรือนอนผิดท่า เผลอทับแขนหรือทับขาตัวเองจนทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก เช่น เป็นเหน็บชาบริเวณเท้าขณะนั่งพับเพียบไหว้พระ เป็นต้น แต่แค่เปลี่ยนท่าทางชั่วครู่ก็หายได้

แต่สำหรับอาการชาของคนบางคนนั้นบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติเกี่ยวกับ “การกดทับของเส้นประสาทบริเวณต่างๆ” ซึ่งอาจเกิดจากอาการหลับลึก เมาสุรา ป่วยหนัก พิการทางสมอง จนเส้นประสาทที่ถูกกดทับช้ำมากจนไม่สามารถฟื้นคืนสภาพปกติภายในเวลาอันสั้น หรืออาจเสียหายถาวรได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษาโดยด่วน หรือได้รับการผ่าตัดโดยทันที

ดังนั้น หากเรารับรู้ถึงลักษณะของอาการชาประเภทต่างๆที่ผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ ก็จะช่วยให้เราสามารถวินิจฉัยโรคของตัวเองได้ในเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาก็จะได้ไม่ตกใจหรือชะล่าใจจนเกินเหตุ มาเริ่มสังเกตกันดีกว่าว่า “อาการชาแบบไหนและบริเวณไหน ที่ต้องระวัง!” ตามมาดูกันค่ะ

1. ชาปลายเท้าและปลายมือเข้าหาลำตัว

เกิดจากปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม อาจเกิดจาก ขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือ บี 12 จากโรค เช่น โรคไต มะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น

2. ชามือ (แต่เท้าไม่ชา)

ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว แต่นิ้วก้อยไม่ชาหรือชาน้อย มักเป็นกลางคืนหรือตอนตื่นนอน ในตอนกลางวันมักชามากในบางท่า เช่น ชูมือ ขี่มอเตอร์ไซค์ ถือโทรศัพท์ หรือใช้มือทำงานหนัก สาเหตุเกิดจากเอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือ ต้องลดงานที่ใช้มือลง เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา บางคนอาจต้องฉีดยาที่ข้อมือ

ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และขอบมือด้านเดียวกัน แต่ไม่เลยเกินข้อมือ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับตรงข้อศอก ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา (ถ้าชาเลยข้อมือขึ้นมาถึงศอก จะเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้า ควรปรึกษาแพทย์)

ชาหลังมือไม่เกินข้อมือ โดยเฉพาะบริเวณง่ามระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ต้นแขน ห้ามนั่งเอาแขนพาดพนักเก้าอี้ (แต่ถ้าชาเลยขึ้นมาถึงแขน เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บบริเวณรักแร้)

ชาเป็นแถบตั้งแต่แขนลงไปถึงนิ้วมือ เกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ควรปรึกษาแพทย์

3. ชาเท้า (แต่มือไม่ชา)

ชาหลังเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณใต้เข่าด้านนอก ให้เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ และห้ามใช้อะไรรองใต้ข้อพับเข่าเวลานอน

ชาฝ่าเท้า เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ตาตุ่มด้านในหรือในอุ้งเท้า ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชาและลดการยืนหรือเดินนานๆ

ชาทั้งเท้า (ข้างใดข้างหนึ่ง) มักชาขึ้นมาถึงใต้เข่า เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บที่สะโพก ควรปรึกษาแพทย์

ชาด้านนอกของต้นขา คล้ายยืนล้วงกระเป๋ากางเกง เส้นประสาทจะถูกกดทับที่ขาหนีบ ควรหลีกเลี่ยงการงอพับบริเวณสะโพก

ชาเป็นแถบจากสะโพกลงไปถึงเท้า เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ควรปรึกษาแพทย์

4. อาการชาอื่นๆ ที่ควรปรึกษาแพทย์

เช่น ชาครึ่งซีก (ซ้ายหรือขวา) ชาครึ่งตัว(บนหรือล่าง) ชาบริเวณใบหน้าและศีรษะ หรือชาเป็นแถบบริเวณอื่นๆ

การทราบรูปแบบของอาการชาหลายๆ ลักษณะเช่นนี้ จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านได้ หากเมื่อใดมีอาการแล้วของให้ตั้งสติ และลองสังเกตตำแหน่งของอาการชาให้อย่างชัดเจนและถูกต้อง อย่างน้อยก็ต้องรับรู้ได้ว่าปวดหรือรู้สึกชาที่ตำแหน่งไหน เพราะจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยได้อย่างถูกต้อง แพทย์ก็จะทราบรายละเอียดและทำการผ่าตัดได้อย่างดี ผู้ป่วยอย่างพวกคุณก็จะได้หายจากอาการป่วยได้ในที่สุดนั่นเอง

22/07/2017

นวด' แก้ปวดหลังกดจุด คลายเส้น ทำได้ด้วยตนเองโดย
คนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ บ่อยครั้งเข้าก็มักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดหลังขึ้นได้ บางคนก็พึ่งยาแผนปัจจุบันที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปมาช่วยรักษาอาการ แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่หันไปใช้บริการ "นวดแผนโบราณ" ซึ่งนอกจากจะนวดเพื่อผ่อนคลายแล้ว ยังมีการนวดเพื่อบำบัดรักษาอาการปวดได้อีกด้วย
'นวด' แก้ปวดหลังกดจุด คลายเส้น ทำได้ด้วยตนเอง
นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยประยุกต์ กลุ่มงานการนวดไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ความรู้เรื่องการนวดเพื่อรักษาอาการปวดหลังว่า โดยทั่วไปอาการปวดที่ต้องนวดบำบัดรักษามี 2 ระบบด้วยกัน คือ ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณที่พบบ่อย คือ คอ บ่า ไหล่ หลัง และปวดข้อ บริเวณที่พบบ่อย คือ ต้นคอ ข้อไหล่ ข้อตะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า
สำหรับอาการปวดหลังนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการนั่งทำงานนาน ๆ แบบไม่ค่อยได้ขยับตัว ก็จะปวดหลังแถวบริเวณบ่า รวมทั้งการนั่งเก้าอี้ที่ไม่สมดุล โยกเยกได้ เพราะเมื่อนั่งทิ้งน้ำหนักไปเต็มที่ร่างกายของเราจะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายจะพยายามปรับให้ตรงจึงต้องมีการดึง ซึ่งการดึง การเกร็งตัวจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ รวมไปถึงอาการปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น มอเตอร์ไซค์ล้ม ตกบันได ก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ทั้งสิ้น
"อาการปวดหลังสามารถรักษาให้หายได้โดยการนวด วิธีแรกสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า นมไม้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดตนเองได้ ท่าที่ใช้นวด คือ ให้นอนหงาย ตะแคงข้างเล็กน้อยแล้วนำนมไม้สอดเข้าไปบริเวณหลังที่ปวดแล้วค่อย ๆ เอนหลังทับนมไม้ จากนั้นชันเข่าข้างที่ปวดหลังขึ้น ทำอย่างนี้ค้างไว้อึดใจหนึ่ง จากนั้นค่อยขยับนมไม้ไปทีละจุด ๆ เหมือนกับการนวดด้วยมือ แต่การนวดด้วยมือที่บริเวณหลังผู้ต้องการนวดไม่สามารถทำได้เอง จำเป็นต้องใช้นมไม้เป็นอุปกรณ์ช่วยนวด ข้อระวังในการใช้นมไม้นวดหลัง คือ อย่าวางนมไม้บริเวณแนวกระดูกสันหลังเพราะอาจทำให้อาการปวดหลังเป็นมากกว่าเดิมเพราะร่างกายจะกดทับลงมาทั้งหมด"
วิธีต่อมาคือ ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์นมไม้ สามารถใช้ลูก ๆ หลาน ๆ อายุไม่เกิน 10 ปี ร่างกายปกติไม่อ้วนเกินไป หรือเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม เพราะถ้าน้ำหนักมากกว่านี้จะทำให้หลังรับน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดมากกว่าเดิมได้ วิธีการนวด คือ ผู้ต้องการนวดนอนคว่ำแล้วให้เด็กขึ้นไปเดินบนแผ่นหลังโดยเดินขนานกับกระดูกสันหลังทั้ง 2 ข้าง เดินขึ้น-ลง สลับกันไป ทำอย่างนี้ประมาณ 10 นาที ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยทำให้เส้นคลายตัว ลดอาการปวดหลังได้
ในกรณีที่มีผู้นวดให้ จะใช้วิธีการนวดแบบราชสำนัก เพราะเป็นวิธีการนวดที่ปลอด ภัย มีจุดกดที่ชัดเจน วิธีการนวดคือ ให้ผู้ต้องการนวดนอนตะแคงแล้วกดจุดกดลงไปที่หลัง ตะโพก และขาด้านใน เป็นจุดหลัก แต่ก่อนที่จะนวดกดจุดเฉพาะ ผู้นวดจะนวดท่าพื้นฐานก่อน
ซึ่งวิธีนวดแบบนี้จะเป็นการคลายกล้ามเนื้อโดยรอบให้เลือดไปเลี้ยงได้ดีขึ้น อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นด้วย เพราะว่าเลือดมีความร้อนส่วนหนึ่ง ความร้อนจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อคลายตัวได้ ประกอบกับเลือดมีสารต่าง ๆ ที่จะไปช่วยย้ายหรือนำของเสียออกมา ถ้ามีการหมุนเวียนเลือดเมื่อไหร่ของเสียก็จะถูกนำออกมา ของดีก็จะเข้าไปแทน ซึ่งการปวด การตึง การขัด ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี ทำให้เกิดอาการปวดขึ้นและจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการรักษาเกิดขึ้น
นอกจากการนวด ควรทำท่าบริหารร่วมด้วย เพื่อให้อาการปวดหายเร็วขึ้น โดยนอนหงายเท้าเหยียดตรงแล้วยกศีรษะขึ้นมองปลายเท้าตัวเองนิ่งไว้อึดใจหนึ่ง ทำอย่างนี้ เช้าเย็น 10 ครั้ง
รวมทั้ง ท่ายืนเขย่ง โดยถ้าปวดหลังบริเวณด้านซ้ายให้ยกขาขวาขึ้นประมาณ 90 องศา แล้วก็ค่อย ๆ เขย่งยกปลายเท้าซ้ายขึ้น ท่านี้ต้องมีที่จับมิเช่นนั้นอาจล้มได้ เขย่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วเอาลง ทำอย่างนี้ 10 ครั้ง เช้า-เย็น ก็จะช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน
อีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นท่าฤาษีดัดตนที่ดัดแปลงมา มีชื่อว่า ชูหัตถ์วาดแขน ท่านี้ก็เป็นอีกท่าหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ วิธีการคือ เริ่มจากการชูมือขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้น ประสานมือโดยให้มือทั้งสองจับกัน ต่อมากางมือทั้งสองข้างออกข้างลำตัว และลดระดับมือลงมาจับที่บริเวณเอว กำมือทั้งสองแล้วค่อย ๆ เอาเข้าหากันนำมาวางไว้บริเวณด้านหลังที่ปวด แล้วกดหรือขยี้ไปที่เอวหรือบริเวณที่ปวด ซึ่งท่านี้จะเป็นการบริหารร่างกายตั้งแต่หัวไหล่ ไปถึงเอว ทำอย่างนี้ประมาณ 5-10 ครั้ง เช้า-เย็น อาการปวดหลังก็จะค่อยดีขึ้นตามลำดับ
การเตรียมตัวก่อนนวด นิเวศน์ กล่าวว่า ห้ามรับประทานอาหารก่อนนวดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพราะเวลานวดจะเพิ่มการไหลเวียนไปที่จุดที่โดนนวด จะทำให้ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อย รวมทั้งหลังนวดไม่ควรดื่มน้ำเย็นหรืออาบน้ำเย็นทันที เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นมีการหด เกร็งตัวถ้าโดนความเย็นมาก ๆ ส่งผลให้อาการปวดหลังกลับมาเป็นอีกได้ ควรรอประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงไปแล้วจึงอาบน้ำได้ และไม่ควรไปยกของหนักหลังนวดใหม่ ๆ เพราะการนวดทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เมื่อไปยกของหนักอาจทำให้กระดูกเคลื่อนที่ได้
เมื่อมีอาการปวดหลัง อย่ารอให้อาการปวดเกิดขึ้นมาก ๆ แล้วค่อยรักษา เพราะอาการปวดหลังหากเป็นไม่มาก สามารถนวดรักษาด้วยตนเองได้

20/07/2017

39 ข้อห้ามและข้อควรระวังก่อนไปนวดแผนไทย
การนวดแผนไทย (Thai Massage) มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตเพื่อผ่อนคลายภาวะความเครียด ภาวะทางจิต บำบัดอาการปวด เจ็บ บวม ขัดยอก การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถือว่าเป็นการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่นิยมทานยาเพื่อรักษาอาการปวด

ในการนวดนั้นมีข้อห้าม และข้อควรระวังอยู่หลายข้อ ใครที่มีโรคประจำตัว หรือชอบการนวดแผนไทย ควรจะศึกษาให้ดีก่อนนะคะ เพราะหากพลาดพลั้งขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาต ร้ายแรงที่สุดก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้

39 ข้อห้าม และข้อควรระวังก่อนนวดแผนไทย

1. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะควบคุมไม่ได้ (Unstable heart disease) ไม่ควรนวด เพราะอาจจะทำให้ช็อคได้

2. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่ควรนวดเพราะจะทำให้เชื้อของมะเร็งเเพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ หากปวดเมื่อยมากจริงๆ ก็สามารถนวดได้เบาๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง

3. ผู้ที่มีปัญหามีลิ่มเลือดในหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานมาเป็นเวลานาน มีไขมัน ในเส้นเลือดสูง อาจจะมีผนังหลอดเลือดที่ขรุขระทำให้เกล็ดเลือดไปเกาะ และจับตัวกลายเป็นลิ่มเลือดได้ ซึ่งพบบ่อยบริเวณกล้ามเนื้อน่อง ทำให้มีอาการปวด และบวมแดง หากนวดแล้วลิ่มเลือดหลุด มักจะเข้าไปอุดเส้นเลือดที่ปอดและเป็นอันตรายต่อชีวิตกล้ามเนื้อช้ำเเละหายยาก

4. ผู้มีภาวะลิ่มเลือดอักเสบและอุดตันด้วยลิ่มเลือด (Thrombophlebitis)

5. ผู้มีความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ (Uncontrollled hypertension) และความดันโลหิตสูง คือ systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 160 mmHg และ/หรือ diastolic 100 mmHg หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ใจสั่น ร่วมด้วย ไม่ควรนวด

6. หากความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดแดงที่ท้องเป็นกระเปาะ ไม่ควรกดท้อง เพราะเสี่ยงต่อการทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้องปริจนมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

7. ผู้เป็นโรคกระดูกพรุนรุนแรง หรือต้องกินยารักษาโรคกระดูกพรุนอยู่

8. ผู้เป็นโรค Multiple myeloma ทำให้กระดูกมีความเปราะบางคล้ายโรคกระดูกพรุน

9. ผู้มีเนื้องอกที่กระดูก หรือมีการติดเชื้อในกระดูก เพราะจะทำให้บริเวณนั้นกระดูกหักง่าย

10. เป็นโรคทางระบบประสาทโดยเฉพาะไขสันหลังที่ยังมีอาการชัดเจน และแย่ลงเรื่อยๆ

11. มีเนื้องอกที่ไขสันหลัง

12. เส้นประสาทไขสันหลังถูกกดทับจากสาเหตุต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังหักยุบตัว เป็นต้น เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายซ้ำซ้อนหนักขึ้นไปได้

13. ผู้เป็นโรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณอื่น และแพร่มาสู่ผู้นวดด้วย

14. มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง (Abdominal aneurism)

15. โรคเลือดชนิดฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

16. ผู้ที่มีภาวะผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เพราะอาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้ำ หรือเป็นก้อนเลือดในกล้ามเนื้อได้

17. เป็นไข้พิษ ไข้กาฬ เช่น อีสุกอีใส งูสวัด

18. ผู้สูงอายุที่ต้องการนวดแผนไทย ควรจะให้ผู้นวดลดระดับน้ำหนักมือลงมากพอสมควร เพราะผู้สูงอายุจะมีร่างกายที่เปราะบาง กระดูกบาง หากกดแรงๆก็ทำให้กระดูกหักได้เช่นกัน

19. ผู้ที่ไม่เคยนวดแผนไทยมาก่อน หรือนวดครั้งแรกๆ กล้ามเนื้ออาจจะเกร็งไม่ผ่อนคลายขณะถูกนวด จึงมักเกิดอาการปวดยอกระบมกล้ามเนื้อ ซึ่งจะหายภายใน 2 – 3 วัน หลังจากนั้นจะกลับรู้สึกสบายหายปวดเมื่อย แต่ถ้าอาการยังมีมากควรจะปรึกษาแพทย์

20. ไม่ควรนวดในขณะที่มีไข้เพราะกล้ามเนื้อจะยอกและระบมได้ง่าย

21. มีอาการปวดมาก บวม แดงร้อนของข้อ ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะทุเลาก่อน

22. หากจะนวดท้อง ควรรับประทานอาหารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 นาที

23. ไม่นวดอย่างรุนแรงหรือนานเกินไป โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ เช่น หน้าหู ใกล้กระดูกไหปลาร้า รักแร้ เพราะอาจเกิดการอักเสบ ฟกช้ำได้

24. ผู้ที่มีภาวะข้อหลวมหรือเคลื่อน เช่น ผู้ป่วยไขข้อรูมาตอยด์ ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน ไหล่หลวม ควรหลีกเลี่ยงการดัด และบีบนวดบริเวณนั้น บริเวณใกล้เคียงสามารถนวดได้ แต่ต้องให้ความระมัดระวัง

25. หากบาดเจ็บกระดูกหัก และกระดูกยังไม่ติดสนิท ไม่ควรนวดเพราะความแข็งแรงอาจจะยังไม่เพียงพอต่อแรงนวด

26. อวัยวะเทียมบริเวณข้อต่อควรหลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง

27. ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก

28. สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรนวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเด็กในครรภ์ยังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ แต่หากมีอาการปวดหลังในช่วงที่เลย 3 เดือนแรก ก็สามารถนวดได้ แต่ด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรนวดบริเวณหน้าท้อง ควรนอนตะแครงนวดห้ามนอนคว่ำ

29. ควรจะได้รับการนวดอย่างเบามือบริเวณศรีษะ กระหม่อม ทัดดอกไม้ (temporal bone) และใบหน้าเพราะมีหลอดเลือดและเส้นประสาทอยู่มาก ไม่ควรดัดหรือดึงที่คอ เพราะอาจทำให้กระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท จนกลายเป็นอัมพาตได้

30. ไม่ควรดัดหลังอย่างรุนแรง อาจทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีเส้นประสาทอยู่ใกล้จะได้รับอันตรายไปด้วย
ไม่นวดบริเวณต่อมไทรอยด์ และไหปลาร้า

31. บริเวณแขน ไหล่ ที่สามารถขยับได้มาก ไม่ควรให้นวดแรง เพราะอาจทำให้หัวไหล่หลุดได้

32. บริเวณรักแร้จะมีต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด เส้นประสาทมาก หากมีอาการเสียวแปล๊บลงแขน ต้องหยุดทันที

33. การเปิดปิดประตูลมไม่ควรกดนานกว่า 45 วินาที และอย่าใช้แรงกดมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดเลือดช้ำอักเสบ รวมทั้งเกิดอาการชาได้ เนื่องจากเส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป

34. ไม่ควรนวดในขณะที่มีไข้ เพราะกล้ามเนื้อจะยอกและระบมได้ง่าย

35. มีอาการปวดมาก บวม แดงร้อนของข้อ ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะทุเลาก่อน เพราะมันอักเสบอยู่เเล้ว ถ้านวดจะทำให้อักเสบมากขึ้น

36. สตรีที่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรนวดเพราะจะทำให้เลือดลมผิดปกติ หรือเกิดการอักเสบบริเวณท้องได้

37. บริเวณที่มีบาดแผลเปิด หรือบริเวณที่แผลเริ่มที่จะผิด

38. หากทานยาเเก้ปวดมาก่อนทำการนวด จะทำให้กล้ามเนื้อชา นวดเเล้วไม่เห็นผล

39. หากนวดเพื่อรักษาอาการปวดก็ไม่ควรที่จะนวดทุกวัน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง อาจจะนวดวันเว้นวัน และเมื่ออาการทุเลาลงก็ค่อยๆทิ้งช่วงห่างขึ้น จนอาการหายก็หยุดนวด
หากเรารู้แล้วว่าเราอยู่ในกลุ่มที่ห้ามไปนวดแผนไทยหรือเปล่า และมีอะไรที่ควรจะระมัดระวังบ้าง คราวนี้เราก็สามารถไปนวดได้อย่างสบายใจแล้วนะคะ

16/07/2017

ประโยชน์ของ
การนวดแผนโบราณ
นวดแผนไทย นวดไทยและ
การนวดเพื่อสุขภาพ
"การนวด" มีมาตั้งแต่โบราณในแทบทุกทวีปของโลก เป็นการบำบัดที่เอาใจใส่ทั้งร่างกายจิตใจและอารมณ์ "ศาสตร์แห่งการนวด" บอกไว้ว่า การนวดที่ดีต้องทำอย่างตั้งใจ มีความรักและเมตตา ใส่จิตใจลงไปในขณะที่นวดด้วยจังหวะและการลงน้ำหนักมือในการนวดจะเป็นไปตามความรู้สึกของผู้นวด ผู้ทำการนวดที่ดีจะมีมืออุ่น แสดงว่ามีพลังงานมาก ภาษาญึ่ปุ่นเรียกว่า "คิ" ความหมายเดียวกับภาษาจีนว่ามีพลัง "ซี่" ถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
ญี่ปุ่นมีการนวดแบบ "ซิตซึ (Shiatsu)" สวีเดนมีการนวดแบบ "สวีดิช" ไทยก็มี "การนวดแผนโบราณ" "ประโยชน์ของการนวด" ไม่ว่าจะเป็นการนวดของไทย ญี่ปุ่น สวีดิช จะมี "ประโยชน์" คล้ายกัน ดังนี้
ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง การไหลเวียนทั่งร่างกายดีขึ้น เลือดสามารถนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี่ยงส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างทั่วถึงระบบขับของเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำเหลือง และหลอดเลือดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สะสมพิษตกค้างไว้มาก สุขภาพก็ดีขึ้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อบริเวณที่ใช้งานหนักจะเกิดการเกร็งตัว และมีสารเคมีคั่งค้างอยู่ ทำให้เลือดมาหล่อเลี่ยงไม่สะดวก เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา การนวดช่วยให้หายปวดเมื่อย เพราะไปคล้ายกล้ามเนื้อที่เกร็งให้ผ่อนคลายลงการนวดเป็นการกระตุ้นให้ระบบน้ำเหลืองทำงานได้ดีอีกด้วย โดยปกติแล้วน้ำเหลืองไหลเวียนดีจากการที่ร่างกายเคลื่อนไหว หรือจากแรงภายนอกมากระตุ้น เมื่อนวดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายก็ถูกกระตุ้นให้ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันและจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ของการนวดแผนโบราณ
จะช่วยให้ระบบของร่างกายทำงานเป็นปกติ
เด็กที่ได้รับการนวด เมื่อถูกสัมผัสอย่างอบอุ่นด้วยการนวด อวัยวะต่าง ๆ ได้มีการเคลื่อนไหว ระบบต่าง ๆ ภายในตัวเขาก็จะทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งระบบย่อยอาหารก็จะดีตามไปด้วย จึงเกิดความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น เพราะกระเพาะอาหาร ลำไส้และอวัยวะส่วนที่ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมมีการเคลื่อนไหวช่วยเรื่องการขับถ่าย ทำให้มีพัฒนาการที่ดี เพราะสุขภาพกายและใจดีขึ้น
การนวด ผิวหนังจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันที่ผิวหนังทำงานผลิตน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงผิวได้ดียิ่งขึ้น น้ำมันบางชนิดที่ใช้นวดบำรุงผิวพรรณได้ด้วย

15/07/2017

ประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า
วิทยาศาสตร์การแพทย์ทางยุโรป อเมริกาและไทย ได้ทำการศึกษาโดยละเอียดในเรื่องของกายวิภาค และพบว่า "ประโยชน์ของการนวดกระตุ้นฝ่าเท้าหรือการกดจุดบริเวณฝ่าเท้า" พบว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้ง กับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเรา และทำให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับได้จริง และนั้นคือประโยชน์อีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเราจะสามารถบำบัดโรค และฟื้นฟูสุขภาพได้เป็นอย่างดี

► ประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้าและการกดจุดฝ่าเท้า

1.สามารถขจัดความกดดันและเมื่อยตึงของกล้ามเนื้อ
2.ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และคลายเครียด
3.เป็นเสมือนการล้างพิษทางผิวหนัง ช่วยกระตุ้นให้เกิด การขับของเสียออกมาทางผิวหนัง
4.ช่วยกระตุ้นให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีไปยังทั่วทุกส่วน
5.กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
6.ปรับความสมดุลให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ
7.เพิ่มพลังงานและสมรรถภาพการทำงานภายในของ อวัยวะต่างๆ
8.กระตุ้นเซลล์ผิวหนัง จึงมีผลให้ผิวพรรณแข็งแรง
เปล่งปลั่งกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ มีผลต่อฮอร์โมนและอารมณ์ของคนเรา
ช่วยให้สมองคลายเครียด ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
9.เพิ่มพลังสมอง แก้ไขปัญหาความจำ
10.มีผลต่อข้อและเอ็นต่าง ๆ ทำให้เคลื่อนไหวดี มีความยืดหยุ่นพอเหมาะ
11.บำบัดหรือบรรเทาความเจ็บไข้ไม่สบายต่าง ๆ
12.ปรับความสมดุลของฮอร์โม

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ การปฏิบัติ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง คลินิก ใน Pak Chong?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

นวด' แก้ปวดหลังกดจุด คลายเส้น ทำได้ด้วยตนเองโดย คนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ บ่อยครั้งเข้าก็มักจะมีอาการปว...

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


หลังตลาดสดมิตรภาพ
Pak Chong
30130

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 20:00
อังคาร 08:00 - 20:00
พุธ 08:00 - 20:00
พฤหัสบดี 08:00 - 20:00
ศุกร์ 08:00 - 20:00
เสาร์ 08:00 - 20:00
อาทิตย์ 08:00 - 20:00
นวด อื่นๆใน Pak Chong (แสดงผลทั้งหมด)
๑ ในล้าน เขาใหญ่ ๑ ในล้าน เขาใหญ่
Pak Chong, 30130

การนวด แก้อาการ ปรับแต่งเส้นลมปราณ ?

๑ ในล้าน นวดศีรษะ ๑ ในล้าน นวดศีรษะ
Pak Chong, 30130

การนวดแก้อาการศีรษะ เพื่อให้เลือดไ

ร้านนวดปากช่อง อัมพรหัตถเวช6 ร้านนวดปากช่อง อัมพรหัตถเวช6
2/3 ถนนเทศบาล10 (บขสเก่าปากช่อง) อำเภอปากช่อง
Pak Chong, 30130

นวดแผนไทย เพื่อสุขภาพ แก้ตามอาการ htt