ดูแลงานผลิตภัณฑ์ทันตสุขภาพ, ฟลูออไ?
เปิดเหมือนปกติ
เชิญน้องๆ ป.4 - ป.6 ร่วมสนุกตอบคำถามรับของที่ระลึก และ ประกวดคลิปวิดิโอ ชิงรางวัลIpad👍
เตือน กินปลาหมึกชอต แบบดิบ ๆ ระวัง “แบคทีเรีย-พยาธิ” แนะใช้ความร้อนให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3BbQJMo
#กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
ย้ำ ยาสีฟันที่อวดอ้างคุณสมบัติช่วยให้ฟันงอกขึ้นมาในช่องปากได้ภายหลังการใช้นั้น ไม่เป็นความจริง พร้อมแนะวิธีการป้องกันการสูญเสียฟันในช่องปากที่ดีที่สุด ด้วยการแปรงฟันตามหลัก 2 - 2 – 2 เพื่อสุขภาวะของฟันและเหงือกที่ดี
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3gfRE4P
#กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
โปรโมทรายการเลิกบุหรี่ดีต่อใจ 04-12-64 รายการเลิกบุหรี่ดีต่อใจ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 06.30- 07.00 น. ทาง ททบ.5
ลีโอ พุฒ ประกาศ "เลิกคบบุหรี่" ถาวร หลังตรวจพบเส้นเลือดหัวใจตีบ 90% ต้องผ่าตัด
เตือนภัย!! สูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพิ่ม 2-3 เท่า
ลีโอ พุฒ นักร้องดังยุค 90 ออกมาแชร์อาการป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ หลังมีอาการแน่นหน้าอกคล้ายกรดไหลย้อน ดูอาการสามวัน อาการไม่ดีขึ้น แน่นหน้าอกเวลาออกแรง อาการปวดร้าวไปรักแร้และแขนซ้าย จึงไปพบแพทย์ ซึ่งต่อมาตรวจพบเส้นเลือดหัวใจตีบกว่า 90% ต้องผ่าตัดทำบอลลูนในเส้นเลือดหัวใจ
“ถ้าผมไม่มารพ. ก็มีโอกาสสูงมากที่จะหลับไปเฉย ๆ จากหัวใจวายเฉียบพลันวันใดวันหนึ่ง เหมือนพกระเบิดเวลาอย่างที่เค้าว่าไว้จริง ๆ………..นี่คงเลิกคบบุหรี่แล้วแน่นอน และจะใช้ชีวิตระมัดระวังขึ้น” ลีโอ พุฒกล่าว
งานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย George Washington ทำการศึกษาพบการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 เท่า
โดยสูบบุหรี่ธรรมดาทุกวัน เสี่ยงเพิ่ม 2.72 เท่า และสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันเสี่ยงเพิ่ม 1.79 เท่า
นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังมีโรคความดันโลหิตสูง (เสี่ยงเพิ่ม 2.32 เท่า) ไขมันในเส้นเลือดสูง (เสี่ยงเพิ่ม 2.36 เท่า) และโรคเบาหวาน (เสี่ยงเพิ่ม 1.77 เท่า)
#บุหรี่ไฟฟ้า101 #ลีโอพุฒ #บุหรี่ไฟฟ้า
อ้างอิง
Facebook: Putthipong Sriwat
Association Between Electronic Cigarette Use and Myocardial Infarction: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30166079/
กักตัว ฟื้นไว ใส่ใจแปรง : คู่มือดูแลสุขภาพและฟัน ระหว่างกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โครงการวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สำนักงานกองท.....
Photos from สมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนเพื่อสังคมประเทศไทย's post
สัญญาณเตือน ลูกคุณกำลังติดบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้ากำลังระบาดอย่างหนัก ในวัยรุ่นอเมริกาที่ไม่สูบบุหรี่มาก่อน
80% ของวัยรุ่นอเมริกาคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีอันตรายมาก ซึ่งความเชื่อนี้อันตราย เพราะสมองที่กำลังพัฒนาของวัยุร่น ทำให้เสพติดนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย ซึ่งเมื่อเสพติดนิโคติน ยากมากที่จะเลิกสูบได้ตลอดชีวิต และเสี่ยงที่จะพัฒนาต่อไปเสพติดบุหรี่ธรรมดา FDA จึงได้เริ่มรณรงค์ให้วัยรุ่น ผู้ปกครอง และสังคม ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2014 เฉพาะปี ค.ศ.2019 FDA ใช้งบประมาณ 60 ล้านดอลลาร์ในการรณรงค์ธีม “the Real Cost” หรือ “ต้นทุนที่แท้จริง” ของการเสพติดนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้า รายงานของนายแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริการะบุว่า “นิโคตินในบุหรี่เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด และการเสพติดนิโคตินมีคุณลักษณะเดียวกันกับการเสพติดเฮโรอิน และโคเคน” Ni****ne Addiction a Report of the US Surgeon General 1988
อ้างอิง : https://www.fda.gov/tobacco-products/youth-and-tobacco/fda-launches-new-campaign-real-cost-youth-e-cigarette-prevention-campaign
ขอบพระคุณ ทพ อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ประธานเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบที่ร่วมคัดค้านครับ
ขอบพระคุณท่านคณบดี รศ ทพญ ดร ชิดชนก ลีธนะกุล
จาก ม สงขลานครินทร์ ที่ร่วมแสดงจุดยืนคัดค้านเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าครับ
ทำชาวโซเชียลงงไปตาม ๆ กัน ตกลงเป็น รมว.ดีอีเอส หรือ สาธารณสุข กันแน่ เมื่อนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่ไม่น่าจะมีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่กลับออกโรงหนุนบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย โดยย้ำว่ากำลังศึกษาข้อกฎหมาย บอกว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ 67 ประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ ปัจจุบันแม้จะรณรงค์ให้เลิกสูบกันแค่ไหน แต่ก็ยังเหลือผู้สูบอีกกว่า 10 ล้านคน หากทำให้ถูกกฎหมายก็จะลดอันตรายกับผู้สูบได้ แถมยังบอกอีกว่าตอนนี้รายได้ของโรงงานยาสูบและผู้ปลูกลดลง ถ้าเอายาสูบในประเทศมาผลิตบุหรี่ไฟฟ้าได้จะสามารถแก้ปัญหาให้กับโรงงานยาสูบและเกษตรกรได้ ถ้าหากเรายังไม่ปรับตัวตามเทคโนโลยีจะเกิดปัญหาภายในประเทศและเสียหายในอนาคตได้
----
หลายคนตั้งข้อสังเกตกับการออกมาเคลื่อนไหวของ รมว.ดีอีเอสในครั้งนี้ บางคนถึงกับคิดว่ามีการเตรียมการอะไรไว้แล้วหรือเปล่า แม้จะอ้างว่าส่งผลดีต่อประชาชนแต่ผลประโยชน์เป็นของใครกันแน่ หรือหากจะแก้ปัญหาจริง ๆ ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างบุหรี่ไฟฟ้า บางคนให้ความคิดเห็นว่าหากช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้จริง ก็ควรมีไว้สำหรับผู้อยากเลิกบุหรี่ โดยให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลีย
----
ด้านฝ่ายรณรงค์ลดปัญหาจากการสูบบุหรี่ก็ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของ รมว.ดีอีเอส เพราะ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนที่จะบอกได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย หรือทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้จริง บางประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายก็เริ่มพบกับปัญหาการสูบรวมถึงจำนวนนักสูบหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น
----
.ที่มา
https://www.thaipost.net/main/detail/118792
🔴 หมอหทัย ฟาด รมว.ดิจิทัล ออกหน้าหนุนขายบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่
นักวิชาการ ชี้ บทบาท ก.ดิจิทัลฯ ควรแก้ปัญหาลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ออกหน้าเชียร์ แนะ ออกระเบียนสำนักนายกฯ คุมข้าราชการปฏิบัติตามอนุสัญญาไม่ยุ่งเกี่ยวบริษัทบุหรี่ ชี้ อันตรายจากบุหรี่ ก่อโรคหัวใจ โรคหอบหืด รวมถึงโรคปอด และโรคมะเร็ง ยังเหมือนเดิมไม่ว่าเป็นบุหรี่อะไร
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิดัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้แสดงความเห็นต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ว่า ควรพิจารณาให้บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไอคอสถูกกฎหมาย จะช่วยลดการขาดทุนของโรงงานยาสูบ เป็นการช่วยเกษตรผู้ปลูกใบยาสูบ จะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น
อ้างว่าบุหรี่ไอคอสมีผลกระทบต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่มวนว่า กฎหมายไทยห้ามการนำเข้า ห้ามขายและให้บริการบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (e-cigarette) โดยถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ได้รับการยืนยันในทางการแพทย์แล้วว่า ทำลายสุขภาพของผู้สูบเป็นอย่างมาก กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน กลุ่มคนทำงานบางส่วน จนกลายเป็นสารเสพติดตัวใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มนักสูบหน้าใหม่มากขึ้น แต่ก็ยังพบการโฆษณา การขายบุหรี่ไฟฟ้าเกลื่อนสื่อออนไลน์และตลาดนัดทั่วไป
นพ.หทัย กล่าวต่อว่า ผลิตภัณฑ์ประเภท heat-not-burn products เช่น บุหรี่ไอคอส เป็นสิ่งที่น่ากังวลเช่นกัน เพราะยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ว่า บุหรี่ประเภทนี้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังพบว่าบุหรี่ประเภทนี้มีทั้งสารนิโคตินจากใบยาสูบและสารเคมีที่เป็นอันตรายสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปด้วย โดยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิดัล ควรฟังข้อมูลความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและนักวิชาการด้านสุขภาพ และควรทำหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาการโฆษณา การขายบุหรี่ไฟฟ้าทางเว็บไซต์และสื่อออนไลน์กับกรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองสุขภาพของเยาวชนและประชาชน จะเหมาะสมกว่าการเสนอความเห็นในเรื่องที่ตนเองมิได้มีหน้าที่รับผิดชอบ
“บริษัทบุหรี่ข้ามชาติพยายามที่จะแทรกแซงกฎหมายและนโยบายควบคุมยาสูบของไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ผ่านนักการเมือง ข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ อยู่เสมอ รัฐบาลจึงควรเสนอให้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อป้องกันในเรื่องนี้ เพราะประเทศไทยยังมิได้ปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (FCTC) มาตรา 5.3 อย่างครบถ้วน” นพ.หทัย กล่าว
ด้าน ดร.สแตนตัน แกลนซ์ (Stanton Glanz, PhD) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและศึกษาด้านการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา กล่าวในการประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (13th Asia Pacific Conference on To***co or Health: APACT 2021 Bangkok) ว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีการพัฒนาไปมาก บางยี่ห้อเป็น liquid e-Cigarette เป็นการนำ “นิโคติน” เข้าสู่ร่างกายผ่านการทำให้เป็นไอแทนการเผาไหม้ มีการพัฒนาสูตรโดยใช้เกลือนิโคติน ซึ่งต่างจากบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ Freebase Ni****ne หรือ นิโคตินบริสุทธิ์ ทำให้มีค่าความเป็นกรดน้อย ผู้สูบสามารถหายใจได้ง่ายขึ้น ไม่แสบคอ นี่คืออีกเหตุผลว่า ทำไมผู้ใช้ใหม่อย่างเด็กๆ ถึงติดบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น รวมถึงยังถูกปรุงแต่งให้มีรสชาติและกลิ่นหลากหลาย ยิ่งทำให้ผู้ใช้จะได้รับสารนิโคตินที่เข้มข้นมาก
“การสูบบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด รวมถึงโรคปอด และโรคมะเร็ง ที่สำคัญบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอันตรายกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิม เพราะมีอานุภาคขนาดเล็กมากที่สามารถ ข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เซลล์ ซึ่งอันตรายมาก ทั้งมีโอกาสที่จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาจำกัดการจำหน่าย หรือเป็นไปได้ที่อาจมีการยกเลิกการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย” ดร.แกลนซ์ กล่าว
▶️ https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6651491
น่าสนใจ!ยุโรปเตรียมแบนบุหรี่มิ้นต์ เหตุเพิ่มนักสูบหน้าใหม่ ยุโรปประกาศเตรียมแบนบุหรี่กลิ่นมิ้นต์ในปี2020 เหตุเป็นปัจจัยให้วัยรุ่นหันมาติดบุหรี่ง่ายขึ้น
กักตัว ฟื้นไว ใส่ใจแปรง : คู่มือดูแลสุขภาพและฟัน ระหว่างกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน รักษาสุขภาพช่องปาก รักษากายใจให้แข็งแรง พร้อมก้าวข้ามวิกฤตการณ์โควิด-19 ไปด้วยกั.....
Photos from Social Marketing Thaihealth by สสส.'s post
จากกรณี "กรมควบคุมมลพิษ" เผยแพร่ข่าว "ทส. ยืนยันห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะพลาสติก พร้อมผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์ขยะพลาสติกในประเทศทั้งหมด ภายในระยะเวลา 5 ปี" เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องการนำขยะพลาสติกเข้ามาในประเทศไทยนั้น คพ. ขอชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนทราบว่า “ขยะพลาสติก” และ “เศษพลาสติก” มีความแตกต่างกัน (อ่านรายละเอียด https://theactive.net/news/20210616-2/)
.
การเผยแพร่ข่าวดังกล่าว เกิดขึ้นหลัง "มูลนิธิบูรณะนิเวศ" (EARTH) ออกแถลงการณ์ เมื่อ 5 มิ.ย. เรียกร้องรัฐบาลไทยเร่งให้สัตยาบันภาคแก้ไขของอนุสัญญาบาเซล เพื่อหยุดยั้งการไหลเข้ามาของขยะจากต่างประเทศ และขอให้ไทยยุตินำเข้าของเสียอันตรายและพลาสติก-ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเด็ดขาด
.
.
กรณีนี้ "สนธิ คชวัฒน์" ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย เห็นว่า ถ้าเป็นขยะพลาสติก อย่างไรก็ต้องห้ามนำเข้า แต่เศษพลาสติก เมื่อนำเข้ามาแล้ว ก็ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจนว่าเอามาทำอะไรบ้าง
.
เพราะประชาชนยังมีความสับสนระหว่างคำว่า “ขยะพลาสติก” กับคำว่า “เศษพลาสติก” ที่สำคัญคือความเชื่อมั่นของประชาชนว่า สิ่งที่นำเข้ามานั้น เป็นเศษพลาสติกจริง ๆ ไม่ใช่การลักลอบนำเข้าขยะพลาสติก ดังนั้น จึงต้องเปิดข้อมูลทั้งหมด
.
“ต้องบอกให้หมด! สั่งเศษขยะพลาสติกเข้ามากี่ตัน เอาไปที่ไหนบ้าง ซึ่งคนที่จะบอกได้ คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ใช่กรมควบคุมมลพิษ”
.
ส่วนประกาศของกรมควบคุมมลพิษ กำหนดนิยามของขยะพลาสติกและเศษพลาสติกที่ออกมาเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น นักวิชาการสิ่งแวดล้อมมองว่า ประชาชนส่วนใหญ่อาจจะไม่เห็นประกาศนี้ เพราะอาจจำกัดอยู่แค่ในการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
.
.
📌 อ่านเนื้อหาทั้งหมด https://theactive.net/news/20210616-2/
.
.
#ขยะพลาสติก #กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยูโร เตรียมยกเลิกตั้งขวด ไฮเนเก้น หน้าผู้เล่นมุสลิมบนโต๊ะแถลงข่าว ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 เตรียมยกเลิกการตั้งขวด ไฮเนเก้น หน้านักเตะที่นับถือศาสนาอิสลามบนโต๊ะแถลง....
WHO ชี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวการก่อโรค NCDs คร่าชีวิตทั่วโลก 40 ล้านคน/ปี สมาคม NCDs จับมือ เครือข่ายงดเหล้า และ สสส. เปิดเสวนาออนไลน์ "NCDs กับนักดื่มหน้าใหม่ ปัญหาท้าทายในยุคสื่อสังคมอ.....
หนังสั้น NONO SAY NO - ยืนยัน มั่นใจ ไม่สูบ โครงการวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบ แผนงานย่อยที่ 1 ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สส...
‘สิงห์อมควัน’มีหนาว! นักวิชาการชี้ช่องกฎหมาย ร้องเรียนปม‘เดือดร้อนรำคาญ’ 24 พ.ย. 2563 ที่โรมแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพฯ มีการจัดสัมมนาเรื่อง “การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี.....
โครงการวิชาชีพทันตแพทย์ต้านภัยยาสูบภายใต้การสนับสนุนของ สสส.จัดทำมิวสิควีดีโอ NoNo No Smoking ขึ้น เพื่อรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปี 2563 https://youtu.be/1lKvtn6fiTc
Photos from หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC's post
มีอะไรอยู่ใน "บุหรี่อิเล็คทรอนิกส์"??? หรือที่นิยมเรียกกันว่า "บุหรี่ไฟฟ้า"
https://www.dailynews.co.th/article/753779
'มีอะไรอยู่ในบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์?' ท่านอาจารย์ นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ มีความกังวลใจว่า ประชาชนคนไทยมีความรู้เท่าทันหรือยังว่า บุหรี่อิเล็กท....
บุหรี่ไฟฟ้า ภัยเงียบปรากฎตัว
กรมควบคุมโรค แถลงเมื่อวานนี้ว่าพบผู้ป่วยปอดอักเสบ จากบุหรี่ไฟฟ้า เป็นรายแรกของประเทศไทย
ในขณะที่ หลายคนเห็นประโยชน์ บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ ช่วยลดผู้สูบบุหรี่ ช่วยลดอันตรายของผู้สูบมือสอง เนื่องจากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะรับสารต่างๆ ในน้ำยาไปคนเดียว
แต่วันนี้ต้องยอมรับว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตราย และอันตราย ได้ปรากฎให้เห็นแล้ว
หลายประเทศมีคำสั่งห้ามจำหน่าย รวมทั้งประเทศที่ผลิตเอง
ในประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้า เป็นของผิดกฎหมายที่ขายกันเกลื่อนบ้าน เกลื่อนเมือง เห็นกันชินตา เหมือนของถูกกฎหมาย ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่แน่ใจว่า เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลย หรือ ผู้จำหน่ายลักลอบจำหน่าย เก่งมาก
แม้จะเป็นการใช้สิทธิส่วนบุคคล ที่พยายามไม่ให้กระทบต่อผู้อื่น แต่เลิกได้เลิกเถอะครับ ทั้งบุหรี่ปกติ และบุหรี่ไฟฟ้า อันตรายทั้งหมด
สุดท้าย อันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้สูบบุหรี่ ก็กระทบผู้อื่น และส่วนรวมอยู่ดี คือทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณในการรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้สูบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
คนในกระทรวงสาธารณสุข ต้องทำเป็นตัวอย่าง
https://www.hfocus.org/content/2019/12/18126
กองทุนบัตรทองปรับระบบการจ่าย เพิ่มเข้าถึงส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กไทย-หญิงตั้งครรภ์
อ่านรายละเอียดข่าว..
http://nhsonews.com/index.php/news/content/676
ที่มา : ศูนย์ข่าวสปสช.
จันทร์ | 08:00 - 16:00 |
อังคาร | 08:00 - 16:00 |
พุธ | 08:00 - 16:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 16:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 16:00 |
เสาร์ | 08:00 - 16:00 |
อาทิตย์ | 08:00 - 16:00 |
ศูนย์รักษาสิวฝ้าและรอยแผลเป็น ด้วยสมุนไพร เชี่ยวชาญการแก้ปัญหาผิวอย่างปลอดภัย โทร:089 6699286
�สกินแคร์เพื่อผิวสวยใส � เต่งตึงได้ไม่ง้อโบท็อกซ์
การท่องเที่ยวและนำชมสถานที่,การท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ,จองทัวร์,จำหน่วยตั่่ว
แอลลี่คลินิก ให้บริการด้านผิวพรรณ ความงาม รวมไปถึงด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-aging)
เจลแอลกอฮอล์ล้างมือฆ่าเชื้อโรค99.99%
MIEKO Collagen เพียว 100% นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ผิวขาวใส ผิวสวย ผิวเด็ก บำรุงกระดูก