โดย นายชาญณรงค์ สุทธิไส ทนายความเมืองน่าน โทร 063790788 รับว่าความทั่วราชอนาจักร ปรึกษากฎหมาย
ผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่คืนรถที่เช่าซื้อ ผิดสัญญาทางแพ่งหรือมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์
สวัสดีครับวันนี้มีกฎหมายสาระดีๆ มาฝากครับ หลายๆท่านคงสงสัยว่า หากทำสัญญาเช่าซื้อรถและต่อมาผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่างวดเป็นเหตุให้บริษัท ไฟแนนซ์ บอกเลิกสัญญาแล้วและผู้เช่าซื้อไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร ขอแยกดังนี้ครับ
1.ภายหลังบริษัทบอกเลิกสัญญาแล้ว และรถอยู่กับผู้เช่าซื้อแต่ผู้เช่าซื้อไม่ส่งคืนรถยนต์เป็นเพียงความผิดทางแพ่งครับเทียบเคียงกับคำพิพากษาดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4256/2534 จำเลยเอารถยนต์ของกลางของผู้เสียหายไปไว้ในครอบครองของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันในการเช่าซื้อซึ่งภริยาจำเลยเช่าซื้อ ไปจากผู้เสียหาย และรถยนต์ของกลางยังคงอยู่ในครอบครองของจำเลยตลอดมา จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและมีหน้าที่ จะต้องส่งคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้เสียหาย การที่จำเลยเอารถยนต์ ของกลางไปขับรับจ้างขนส่งผู้โดยสารในต่างจังหวัด เช่นนี้ ผู้เสียหายชอบที่จะบังคับเอาทางแพ่งได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการเบียดบังทรัพย์อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
2.ในกรณีที่ทำสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผิดสัญญา นำรถไปขาย หรือจำนำไม่มีเจตนาไถ่คืน กรณีนี้มีความผิดอาญาฐานยักยอกครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7727/2544 ที่วินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม 36 งวด หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ คำพิพากษาฎีกาที่6540/2548จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก
3. แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทำสัญญาเช่าซื้อผ่อนชำระมาบ้างแล้วผ่อนต่อไม่ไหว แล้วทำสัญญาตกลงให้ผู้อื่ชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือและส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อไป เป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่เป็นการเบียดบังทรัพย์ที่เช่าซื้อ ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกครับ เทียบเคียงฎีกฎีกาที่ 2716/2554 การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกันต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน 5,000 บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
ทวงหนี้ผิดมีสิทธิติดคุกได้
ปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติการทวงหนี้ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 และจะมีผลใช้บังคับ ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศ กล่าวคือจะมีผลใช้บังคับหลังวันที่ 6 กันยายน 2558 ดังนั้น ผมจะสรุปสาระสำคัญของกฎหมายเรื่องนี้ให้ทราบว่า เจ้าหนี้ และลูกหนี้ มีสิทธิอย่างไรบ้าง และ หากไม่ปฏิบัติตามมีโทษอย่างไรบ้าง
1.เจ้าหนี้ผู้ทวงหนี้หมายถึงใคร กล่าวคือ หมายถึงเจ้าหนี้เป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน เจ้าหนี้อื่นที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในทางปกติทางการค้าไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมาถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ผู้ประกอลธุรกิจทวงหนี้ และผู้ได้รับมอบอำนาจช่วงด้วย
2.ข้อห้ามของผู้ทวงหนี้
2.1 มาตรา 8 วรรคแรก ห้ามมิให้ทวงหนี้กับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคลลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ให้ติดต่อบุคคลอื่นได้เพียงสอบถามสถานที่อยู่ของลูกหนี้เท่านั้น หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำและปรับ
2.2 มาตรา8 อนุมาตรา 3 ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ ที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทวงหนี้ บนซองจดหมายในหนังสือหรือสื่ออื่นใด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำและปรับ
2.3มาตรา11 อนุมาตรา1ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการข่มขู่ ใช้ความรุนแรงหรือกระทำการอื่นใดทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ซื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท
2.4มาตรา11อนุ2 ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่ใช้วาจาหรือภาษา ที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท
2.5 มาตรา11 อนุ 3 ห้ามผู้ทวงถามหนี้เปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้แก่ผู้อื่น เว้นแต่บุคคลอื่นนั้นเป็น สามี ภริยา บุพการี หรือ ผู้สืบสันดาน และบุคคลเหล่านี้ได้สอบถามถึงสาเหตุของการติดต่อ หากฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
2.6มาตรา 12 อนุ 1 ห้ามผู้ทวงหนี้ ทวงถามหนี้อันเป็นเท็จ หรือใช้ข้อความหรือใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสน
2.7มาตรา12 อนุ2ห้ามผู้ทวงหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ โดยแอบอ้างว่าการทวงหนี้นั้นกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย หากฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
2.8มาตรา12อนุ3 ห้ามทวงหนี้ในลักษณะแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในลักษณะแสดงให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือยึดอายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
2.9มาตรา12 อนุ4 ห้ามผู้ทวงหนี้ กระทำการทวงหนี้ที่เป็นเท็จโดยแสดงว่า ตนดำเนินการให้กับ บริษัทเครดิต หรือรับจ้างจากบริษัทเครดิต ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
2.10 มาตรา 13 อนุมาตรา2 ห้ามให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คททั้งที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
3.สิทธิของลูกหนี้ หากลูกหนี้ ถูกทวงถามหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ สามารถดำเนินคกีตามกฎหมายได้ครับ
เห็นมั้ยครับว่าต่อไปนี้การทวงหนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ทวงหนี้แบบผิดๆๆอาจติดคุกได้นะครับ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหนี้แล้วก็ต้องชำระนะครับ สงสารเจ้าหนี้ตาดำๆๆๆ เถอะครับ5555
.....กม.ที่ประกาศในราชกิจฯ ครับ พระราชบัญญัติ 26 ฉบับ ของสนช.ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้ครับ (เดิม 25 ฉบับครับ)
พระราชบัญญัติถวายการรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/1.PDF
พระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/6.PDF
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/14.PDF
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/21.PDF
กม งบประมาณ 58
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/069/1.PDF
พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/079/1.PDF
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/079/4.PDF
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/079/11.PDF
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/079/15.PDF
พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/083/1.PDF
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/083/10.PDF
พระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/083/15.PDF
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/1.PDF
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/4.PDF
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/14.PDF
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/19.PDF
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/31.PDF
พระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/082/1.PDF
พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/082/10.PDF
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี – สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/082/23.PDF
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/082/26.PDF
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/1.PDF
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/special/newrkj.jsp?selectGroup=yes
พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/11.PDF
พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/14.PDF
พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA /PDF/2558/A/003/1.PDF
.....ค่อยๆ พิจารณาเด้อครับ...
Apache Tomcat/6.0.18 - Error report http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA
คู่สมรสนำที่ดินไปขายโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ อีกฝ่ายฟ้องเพิกถอนได้หรือไม่.......
สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดเรื่อง ผัวๆ เมียๆ กันหน่อย ชีวิตคนเราก็แปลกนะครับ เมื่อตอนที่รักกัน จีบกันใหม่ๆ อะไรก็ดีไปหมด เห็นอะไรก็สวยงามไปหมด แต่พอนานๆ เข้าจากวันเป็น เดือน จากเดือนเป็นปี ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป
มีสามีภริยาคู่หนึ่ง ตอนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสกันใหม่ๆ ฝ่ายชายซื้อทรัพย์สินอะไรก็ ให้ใส่ชื่อภริยาหมด ต่อมาอยู่กันมาหลายสิบปี ฝ่ายชายเริ่มไม่ค่อยเข้าบ้าน นานๆ เข้าบ้านที ฝ่ายภริยา ก็ทนไม่ไหว งานนี้ต้องเตรียมตัวไว้ก่อนมีทรัพย์สินเท่าไหร่ขายให้หมด ภริยาจึงขายที่ดินที่ได้มาในระหว่างสมรสให้บุคคลอื่นไป พอฝ่ายสามีรู้เข้าไม่พอใจเป็นอันมาก จึงไปว่าจ้างทนายฟ้องเพิกถอนการขายที่ดิน
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวสามีสามารถฟ้องเพิกถอนได้หรือไม่ ผมจะอธิบายเป็นข้อๆดังนี้ครับ
ข้อที่1.ที่ดินที่ได้มาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรส แม้จะใส่ชื่อคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงคนเดียวก็ตาม ป.พ.พ.มาตรา1474
ข้อ2.การจัดากรสินสมรส เช่นการขายที่ดิน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1476
ข้อ3.การยินยอมให้ขายที่ดิน ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสืออีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1479
ข้อ4.คู่สมรสที่ไม่ได้ยินยอมด้วย มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ เว้นแต่ได้ให้สัตยาบัน หรือบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามป.พ.พ มาตรา.1480
ดังนั้นตามข้อเท็จจริงข้างต้น การที่ภริยานำที่ดินไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีนั้น สามีมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการขายที่ดินได้ครับ แต่หากคนที่ซื้อไปเป็นบุคคลภายนอกซึ่งซื้อที่ดินไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เช่นไม่รู้ว่าที่ดินเป็นสินสมรสและไม่รู้ว่าคนขายมีคู่สมรสและได้จ่ายค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว สามีหมดสิทธิที่จะเพิกถอนได้ครับเพราะกฎหมายเค้าคุ้มครองบุคคลภายนอก แต่หากคนซื้อเป็นคนใกล้ตัวเช่นญาติหรือรู้ว่าคนขาย มีคู่สมรสแล้ว อันนี้คนซื้อก็อ้างว่าสุจริตไม่ได้เช่นกัน ที่ดินต้องถูกเพิกถอนการขายไป
เห็นมั้ยครับว่า สามี ภริยา จะขายทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ไม่ใช่ว่าจะทำได้ตามลำพัง ซะทุกอย่าง และในขณะเดียวกันหากใครจะซื้อที่ดิน ก็ต้องระวังนะครับ ก่อนจะทำสัญญญา ต้องถามคนขายก่อนว่ามีคู่สมรสมั้ย หากมีคู่สมรสก็ให้คู่สมรสของคนขายทำหนังสือยินยอมด้วย จะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต//////
ทนายชาญ
เมื่อได้รับหมายศาลควรทำอย่างไร.....
สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมติดภารกิจเลยไม่ได้เข้ามาอัพเดต เรื่องกฎหมายทั่วไปให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่องหมายศาล ที่เราทุกคนอาจจะต้องพบเจอ ดังนั้นเรามาดูซิครับว่าหมายศาลที่สำคัญมีอะไรบ้าง หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าอะไรคือหมายศาล และเมื่อได้รับหมายศาลแล้วจะต้องทำอย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หมายศาลที่ท่านได้รับนั้นเป็นหมายอะไร และท่านได้รับหมายในฐานะใด จึงขอแยกประเภทของหมายศาลและหน้าที่ของผู้ที่ได้รับหมายให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจดังต่อไปนี้
ประเภทของหมายศาลและหน้าที่ของผู้ที่ได้รับหมาย
หมายศาลนั้นมีหลายประเภท ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งหมายศาลแต่ละประเภทนั้น ก็ก่อให้เกิดหน้าที่ของผู้รับหมายแตกต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงหมายที่สำคัญ ๆ เท่านั้น โดยแยกเป็นหมายในคดีแพ่งและอาญา ดังต่อไปนี้
หมายศาลในคดีแพ่ง ( เฉพาะที่สำคัญ ๆ ) ได้แก่
1.หมายเรียกและคำฟ้อง หรือหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ จากชื่อของหมายก็สามารถให้รู้ได้ว่าหมายดังกล่าวเป็นหมายในคดีแพ่ง ซึ่งหากท่านได้รับหมายดังกล่าวก็หมายความว่าท่านได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว ท่านจึงต้องปฏิบัติดังนี้ คือ
หน้าที่ของผู้ที่ได้รับหมายเรียกดังกล่าวนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ได้บัญญัติเอาไว้ว่า
“เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน”
ดังนั้นท่านที่ได้รับหมายเรียกและคำฟ้องจึงมีหน้าที่ต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย มิฉะนั้นแล้วถือว่าท่านขาดนัดยื่นคำให้การ และจะทำให้ท่านหมดสิทธิในการต่อสู้คดี อันมีผลให้ท่านต้องแพ้คดี หรือต้องรับผิดตามที่โจทก์ได้ฟ้อง ถึงแม้ว่าท่านจะมีข้อต่อสู้อื่นที่ทำให้ท่านไม่ต้องรับผิดก็ตาม
2.หมายเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ (คดีแพ่ง) หรือที่เรียกว่า “คำสั่ง” เรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ (คดีแพ่ง)”
ท่านที่ได้รับหมายดังกล่าว มีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารหรือวัตถุพยานไปยังศาลตามรายการและวันที่ที่ระบุไว้ในหมายดังกล่าว หากท่านไม่ยอมส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุตามคำสั่งเรียกอาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 อันมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในหลังหมายหรือคำสั่งเรียกนั้น จะมีคำเตือนดังกล่าวไว้
อย่างไรก็ดี หากท่านไม่มีเอกสารหรือวัตถุพยานที่ระบุไว้ในคำสั่งเรียกนั้นไว้ในความครอบครอง ท่านก็ไม่ต้องจัดเอกสารหรือวัตถุพยานนั้นไปยังศาลแต่ท่านจะต้องทำหนังสือชี้แจงถึงเหตุดังกล่าวไปยังศาล เพื่อให้ศาลและผู้ขอหมายเรียกพยานได้รับทราบต่อไป แต่หากท่านมีเอกสารหรือวัตถุพยานนั้นในความครอบครองเพียงบางส่วน หรือมีอยู่ทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเรียกแต่ท่านไม่สามารถจัดส่งไปยังศาลได้ทันกำหนดเวลาเพราะเหตุใดก็ตาม ท่านก็ต้องมีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวไปยังศาลเพื่อขออนุญาตศาลจัดส่งเอกสารหรือวัตถุพยานไปยังศาลในคราวอื่นซึ่งหมายความว่าท่านยังคงมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารหรือวัตถุพยานนั้นไปยังศาลอยู่นั้นเอง ซึ่งหากท่านละเลยไม่ดำเนินการใด ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อแก้ไขเหตุขัดข้อง ท่านก็อาจได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 170 เช่นกัน
3.หมายเรียกพยานบุคคล
ท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าว มีหน้าที่ต้องไปศาลตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเพื่อเบิกความเป็นพยานต่อศาล หากขัดขืนไม่ไปศาลตามหมายเรียกดังกล่าว ศาลอาจออกหมายจับเอาตัวกักขังได้ ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 111(2) และอาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 โดยมาตราดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการเบิกความต่อศาลนั้น หากเบิกความเท็จในคดีแพ่งก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 หรือ 180 ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
อย่างไรก็ดี หากท่านมีเหตุขัดข้องไม่สามารถไปศาลตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในหมายท่านก็สามารถทำหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลได้ ซึ่งในกรณีนี้หากผู้ที่ขอหมายเรียกร้องประสงค์จะให้ท่านเบิกความเป็นพยานต่อศาลอีก ก็จะต้องส่งหมายเรียกมายังท่านอีกครั้งหนึ่ง
หากท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าว และท่านอยากทราบว่าท่านจะมีความผิดประการใดหากไม่ไปศาลตามวันและเวลาระบุไว้ในหมาย ท่านก็สามารถพลิกดูคำเตือนพยานซึ่งอยู่ด้านหลังของหมายเรียกดังกล่าวได้
4.หมายบังคับคดี
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีแล้ว และจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ เมื่อจำเลยได้รับหมายบังคับคดีดังกล่าวแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฎิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นโจทก์สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีมาทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ไปได้หรือบังคับการใด ๆ ตามคำพิพากษาต่อไป
หมายในคดีอาญา ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1.หมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง
เมื่อท่านได้นับหมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง สิ่งที่ท่านควรจะทำมีดังนี้
1.1ดูรายละเอียดในหมายก่อนว่า ศาลได้กำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันใด และคำฟ้องมีสาระสำคัญประการใด
1.2หากท่านประสงค์จะขอประนีประนอมกับโจทก์ก็ต้องเจรจากับตัวความซึ่งหากโจทก์ยินยอมตามที่ท่านขอประนีประนอม และยินยอมถอนฟ้องออกไปคดีก็เป็นอันเสร็จสิ้น หมายนัดไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวก็เป็นอันเสร็จสิ้นผลไปทันที
1.3หากท่านประสงค์จะสู้คดี หรือโจทก์ไม่ยินยอมประนีประนอมยอมความด้วยท่านก็ต้องรีบนำคดีไปปรึกษาทนายความที่ท่านเชื่อถือและไว้ใจและทำหนังสือแต่งตั้งทนายความเพื่อให้ทนายความไปทำการซักค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแทนท่าน โดยในวันนัดดังกล่าวท่านไม่จำเป็นต้องไปศาลตามวันที่และเวลาที่ระบุไว้แต่อย่างใด แต่หากท่านจะไปศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องท่านก็เตรียมหลักทรัพย์ไปเพื่อเตรียมประกันตัวในกรณีศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้พิจารณา
2.หมายเรียกจำเลย หมายนี้เป็นหมายของศาลออกเมื่อหลังจากที่ศาลใต่สวนมูลฟ้องแล้ว ศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับรับฟ้องไว้ ศาลก็จะกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อให้จำเลยไปให้การแก้ข้อกล่าวหาในคดี ซึ่งเมื่อท่านได้รับหมายเรียกนี้แล้วในวันนัดท่านจะต้องไปศาล เพื่อให้การแก้ข้อกล่าวหาแห่งคดี หากไม่ไปศาลก็จะออกหมายจับ
3.หมายเรียกพยานบุคคล
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 53 บัญญัติไว้ว่า “หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือ” และมีข้อความดังต่อไปนี้
(1)สถานที่ที่ออกหมาย
(2)วันเดือนปีที่ออกหมาย
(3)ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา
(4)เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา
(5)สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง
(6)ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลงลายมือชื่อและตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย
ท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าว ท่านต้องปฎิบัติเช่นเดียวกับท่านที่ได้รับหมายเรียกพยานบุคคลในคดีแพ่งดังได้กล่าวมาแล้ว
4.หมายเรียกพยานเอกสารหรือวัตถุ (คดีอาญา)
หากท่านได้รับหมายเรียกให้ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุต่อศาลท่านมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารหรือพยานวัตถุไปยังศาลตามวันที่กำหนดไว้ในหมายดังกล่าว หากท่านไม่สามารถจัดส่งให้ได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารหรือพยานวัตถุดังกล่าวอยู่ในความครอบครอง หรือมีเพียงบางส่วนหรือไม่สามารถจัดส่งไปได้ทันเพราะเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านมีหน้าที่ต้องแจ้งไปยังศาล โดยอาจทำเป็นหนังสือไปแถลงต่อศาลด้วยวาจาในวันที่ระบุในหมายเรียกก็ได้
ท่านที่ไม่แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล หรือขัดขืนไม่จัดส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุต่อศาลตามวันที่กำหนดไว้ในหมาย ท่านอาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ท่านที่ได้รับหมายเรียกดังกล่าวสามารถดูคำเตือนด้านหลังหมายว่าจะต้องรับผิดประการใดหากขัดขืนหมายศาลดังกล่าว
5.หมายจับ ค้น
สิ่งที่ท่านควรกระทำเมื่อได้รับหมายค้นและหมายจับ ก็คือ
1.อ่านรายละเอียดในหมายว่า ระบุให้ใคร กระทำการอะไร ที่ไหนเวลาอะไร ใครเป็นผู้ขอให้ออก และออกด้วยสาเหตุใด นอกจากนี้ ต้องดูอีกว่าผู้ใดเป็นผู้ออกหมายและหมายดังกล่าวได้ออกโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
2.หากตรวจดูรายละเอียดในหมายแล้ว เห็นว่าเป็นหมายที่ถูกต้องตามกฎหมายท่านก็ต้องปฎิบัติตามที่ระบุไว้ในหมายดังกล่าว เช่น หากเป็นหมายค้นก็ต้องยอมให้ตรวจค้นได้แต่การตรวจค้นจะต้องกระทำภายในเวลาและสถานที่ที่ระบุไว้ในหมายเท่านั้น และต้องกระทำอย่างเรียบร้อย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ตรวจค้น หากพบว่าการตรวจค้นไม่ชอบ ท่านสามารถดำเนินคดีเอากับผู้ตรวจค้นได้ หากเป็นหมายจับ ท่านก็ต้องถูกจับ และต้องประกันตัวต่อศาลเพื่อต่อสู้คดี หรือเจรจาประนีประนอมยอมความเอากับผู้เสียหายต่อไป
สำหรับหมายขัง จำคุก และปล่อยนั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะกำหนดไว้ในหมายว่าจะดำเนินการเมื่อใด อย่างไร ซึ่งท่านก็ต้องถูกบังคับให้เป็นไปตามนั้น
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญ กำหนดให้หมายจับและหมายค้นนั้นกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกหมายได้เพียงผู้เดียว เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจ ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ว่า
“ในคดีอาญา การจับและคุมขังซึ่งบุคคลใด จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล………..”
“ในคดีอาญา การค้นในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล…”
มาตรา 30 หมายจับ ค้น ขัง จำคุก หรือปล่อย ต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้
(1)สถานที่ที่ออกหมาย
(2)วันเดือนปีที่ออกหมาย
(3)เหตุที่ต้องออกหมาย
(4) (ก)ในกรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะจับ
(ข)ในกรณีออกหมายขัง จำคุก หรือปล่อย ต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกขัง จำคุก หรือปล่อย
(ค)ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้นและชื่อหรือรูปพรรณบุคคลหรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น
(5) (ก)ในกรณีออกหมายจับ หมายขัง หรือหมายค้นให้ระบุความผิด
(ข)ในกรณีออกหมายจำคุก ให้ระบุความผิดและกำหนดโทษตามคำพิพากษา
(ค)ในกรณีออกหมายขังหรือจำคุก ให้ระบุสถานที่ซึ่งจะให้ขังหรือจำคุก
(ง)ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย
(6)ลายมือชื่อ และประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย
ทั้งหมดนี้ คือหมายศาลที่สำคัญ ๆ ซึ่งทุกท่านอาจจะต้องประสบพบเจอด้วยตัวของท่านเอง ท่านต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญก็คือ ไม่มีหมายศาลใดที่ออกโดยปราศจากกฎหมายรองรับ ดังนั้น เมื่อท่านได้รับหมายศาลแล้วควรตั้งสติให้ดี ว่าเป็นหมายใด ท่านจะได้ทราบว่าท่านจะต้องทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นความรับผิดตามกฎหมาย
ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ สำนักงานสัสด?
***ติดต่อสอบถาม*** Tel = 091-850-1051 ; 089-999-1951 ; 066-153-3223 Line id = rin1951 ; bigc-bigc หรือ ทางinbox ได้เลยจร้า