ช่างไฟฟ้ากำลัง วช.สุโขทัย

ช่างไฟฟ้ากำลัง วช.สุโขทัย

ความคิดเห็น

กลุ่มสอบถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการปฎิบัติงานช่างไฟฟ้ากำลัง และถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับช่างไฟฟ้ามือใหม่และนักศึกษาช่างไฟฟ้ากำลังจากวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ https://www.facebook.com/groups/techcian/

จัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์แผนก รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางด้านไฟฟ้า

13/01/2023

อนาโตมี สาย THW

สาย THW หรือ IEC01 เป็นสายยอดนิยมที่ใช้กันเยอะมากในการก่อสร้างของบ้านเรา
เพราะเป็นสายที่ใช้งานได้กว้าง ช่างถนัดใช้ และหาได้ง่าย

-

สายชนิดนี้ ตัวนำจะมีทั้ง แกนทองแดงเดี่ยว และแบบทองแดงหลายเส้นตีเกลียว มีขนาดหน้าตัดหลากหลาย ตั้งแต่ 1.5 ตร.มม. - 400 ตร.มม.
หุ้มด้วยฉนวน PVC สีต่างๆ เพื่อใช้เป็นรหัสสี แยกวงจรหรือชนิดของสายไฟในระบบ

รับแรงดันไฟฟ้าได้ 450-750 โวลท์
ซึ่งทำให้มันสามารถใช้ได้ทั้งกับไฟ ซิงเกิลเฟส
และไฟชนิด ทรีเฟส ( ทำไมไม่เรียกไตรเฟส ? )

-

เพราะสายชนิดนี้เป็นตัวนำ หุ้มด้วยฉนวน 1 ชั้น
การใช้งานจึงถูกวางมาตรฐานให้ใช้โดยการร้อยท่อเท่านั้น ห้ามใช้เดินลอย

ซึ่งในการร้อยท่อนี้ เมื่อต้องมีจุดต่อเชื่อมสาย หรือ แยกสาย ก็จะห้ามทำการเชื่อมและแยกในเส้นท่อ แต่ต้องไปเชื่อม หรือ แยก ในกล่องแยกสาย หรือที่เรียกว่า จังค์ชั่นบ๊อกเท่านั้น

แม้แต่การจะเอาสายนี้ไปเดินในรางเคเบิล ก็ห้ามทำ ยกเว้นสายกราวด์เท่านั้น ที่อนุโลมให้เดินในรางเคเบิลได้

-

สายชนิดนี้ ห้ามฝังดิน แม้แต่เมื่อเอาไปร้อยท่อแล้ว ก็ยังห้ามฝังท่อที่ร้อยสายนั้นลงดินด้วย

-

เวลาเลือกซื้อสายชนิดนี้ ให้โฟกัสไปที่ขนาดของตัวนำ หรือขนาดของเส้นทองแดง

สายที่ดี ตัวนำจะมีขนาดเต็มตามที่ระบุไว้ที่รอบๆฉนวน ถ้าเป็นสายขนาด 2.5 ตร.มม. ก็ควรมีเส้นทองแดงเต็ม 2.5 ตร.มม.

สายที่คุณภาพต่ำๆ จะมีขนาดของตัวนำไม่เต็มตามระบุไว้ ทำให้ตัวสายไม่ได้มีคุณภาพเท่ากับที่ควรจะเป็น

-

ฉนวนที่หุ้มสายอยู่ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องใส่ใจ ฉนวนไม่ควรจะบางเกินไป และควรมีความยืดหยุ่นดี ไม่ฉีกขาด หรือเปราะกรอบแตกง่ายเกินไป เพราะในการร้อยสาย ฉนวนจะต้องเป็นตัวที่รับบทหนัก จากการโดนขูด ข่วน โดนดึงและโดยบิดไปมา หากฉนวนคุณภาพต่ำ ฉนวนอาจะฉีกขาดได้ในขณะทำงาน และการฉีกขาดนี้จะตรวจสอบได้ยาก ทำให้เมื่อใช้งานไปแล้ว อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ภายหลัง

ใยปัจจุบัน การไฟฟ้าได้ระบุสีของฉนวน สำหรับการใช้งานเป็นสายประเภทต่างๆไว้ ซึ่งต้องทำงานตามสีที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ( ดูสีตามภาพประกอบ )

-

เมื่อสายไฟชนิดนี้ ต้องใช้งานโดยการร้อยท่อเท่านั้น โดยท่อที่เอามาร้อยนั้นมันก็มีหลากหลาย ซึ่งเราจะเอาไว้พูดกันตอนอื่น

แต่ตอนนี้ ให้เข้าใจว่า การร้อยท่อตามมาตรฐานนั้น หมายถึง

1. การเอาสายไฟเข้าไปเดินไว้ในท่อ ซึ่งไม่ใช่จะแค่ยัดๆเข้าไปเหมือนข้าวหลาม แต่การร้อยสายในท่อ ต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด ว่าขนาดหน้าตัดท่อแต่ละไซส์ จะสามารถยอมให้ร้อยท่อขนาดหน้าตัดเท่าไหร่ ได้กี่เส้นด้วย

เพราะ ถ้ายัดแน่นไป ก็จะเกิดอันตรายจากความร้อนในสาย ทำให้อุณหภูมิในท่อร้อยสายสูงและอาจจะทำให้ฉนวนเกิดหลอมละลาย และเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

ท่อที่ร้อยสายไฟแล้ว ก็ควรเดินให้เรียบร้อย และยึดเกาะเข้ากับโครงสร้างที่มั่นคงของบ้านเพื่อความปลอดภัยด้วย ไม่ควรวางท่อพาดไปตามยถากรรม เพราะจะทำให้งานออกมาไม่สวยงาม แถมยากต่อการบำรุงรักษาด้วย

2. การต่อเชื่อมสาย หรือ แยกสาย เมื่อมีการใช้สายไฟ ในกรณีที่สายสั้นเกินไป ก็ต้องทำการต่อสาย หรือเมื่อจะแยกวงจรจากสายไฟเส้นเดียว ก็ต้องทำการตัดต่อแยกสาย ไอ้การต่อสายนี้ ถูกกำหนดว่าห้ามทำในเส้นท่อ เพราะ เมื่อเกิดปัญหาเช่น จุดต่อสายหลุด หรือเทปพันสายไฟหลุดจากจุดต่อ จะตรวจหาได้ยาก และ ซ่อมบำรุงยาก

ดังนั้น เมื่อต้องมีการต่อสาย หรือ แยกสาย จะต้องเอาสายเหล่านั้นมาต่อแยกกันในกล่องแยกสาย หรือ จังค์ชั่นบ๊อก โดยขนาดของจังค์ชั่นบ๊อกนี้ ก็จะต้องสัมพันธ์กับจำนวนสายที่ต้องเข้ามาต่อแยกด้วย ไม่ใช่จะยัดกี่วงจรมาต่อแยกก็ได้

3. ในการต่อสาย แยกสาย ควรทำด้วยอุปกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า ไวร์นัท หรือขั้วต่อสายไฟแบบบิดเกลียว ( ชื่อไทยยาวเป็นราชนิกุลเลย )

เพราะตัวนำที่เป็นโลหะ เมื่อเกิดความร้อนจากการนำไฟฟ้า อาจจะเกิดการคลายตัวได้ หากใช้การบิดพันตัวมันเองเข้าด้วยกัน อาจจะเกิดการคลายตัวได้ง่าย และเกิดอันตรายจากการคลายตัวได้ จึงควรใช้ไวร์นัทในการต่อเชื่อม เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ต่อเชื่อมสายโดยเฉพาะ

ช่างหลายคนมีประสบการณ์ว่า ไวร์นัทก็คลายตัวได้เช่นกัน จึงมีช่างที่ใช้ไวร์นัทต่อสายแล้ว ใช้เทปพันสายไฟพันไวร์นัทติดกับสายไฟอีกรอบเพื่อไม่ให้เลื่อนหลุดคลายตัว
-

นี่เป็นข้อมูลของสาย THW ที่ควรรู้
เมื่อรู้แล้ว ก็เอาไปตรวจสอบเสีย
ว่าที่บ้านที่กำลังทำอยู่ หรือ อยู่มานานแล้ว
ได้ทำตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นหรือไม่

ถ้าไปเจอะว่า สายไฟที่บ้าน ไม่ต่างจากขนเพชรในร่มผ้า
อันนี้ก็แนะนำว่าให้โกน เอ้ยยยย ให้รื้อแล้วเรียกช่างไฟดีๆมาทำใหม่ซะ
เพราะไฟฟ้า มันเอาถึงตาย ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ จะ บอก ให่

02/10/2022

📢 ENGY อยากเล่า ⚡
🔌 วิธีเลือกปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟช็อต ⚡
.
1. มีสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555
2. เต้ารับมีตัวปิดช่อง หรือ “ม่านนิรภัย”
3. ควรมีสวิตซ์ปิด-เปิดควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า
4. มีระบบตัดกระแสไฟฟ้าด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์
5. สายไฟต้องเป็นสายกลม มอก. 11-2553 หรือ มอก. 955
6. ขาปลั๊กต้องเป็นชนิดขากลม 3 ขา
7. รางปลั๊ก ควรทำจากวัสดุคุณภาพสูง มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ
.
⚠ ระวัง !
ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันมากเกินไป รวมถึงไม่ใช้ปลั๊กพ่วงต่อพ่วงกันหลายชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมสูง เพราะจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้
.
💡 ถอดปลั๊กพ่วงเมื่อไม่ใช้งาน และเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ช่วยประหยัดไฟฟ้า ปลอดภัย แถมเซฟเงินในกระเป๋า 💰
.
#ปลั๊กพ่วง #เอนจี้อยากเล่า #ใช้ไฟอย่างปลอดภัย #กฟผ

06/07/2022

ขอแสดงความยินดีกับครูทั้งสองท่านนะครับ

🎉 วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ขอแสดงความยินดี และ ยินดีต้อนรับ 🎉
🎉คุณครูพิพักษ์ โพธิ์ธรรม
🎉คุณครูนพพร เมฆเพ็ง
🎉 ได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตำแหน่งครูผู้ช่วย สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย

Photos from เตรียมสอบ นายช่างไฟฟ้า's post 03/06/2022

Photos from เตรียมสอบ นายช่างไฟฟ้า's post

Photos from S.Super Cable's post 19/09/2021

Photos from S.Super Cable's post

11/05/2021

วิศวกรรมไฟฟ้าสำหรับทุกคน (Electrical Engineering for everyone) ตอนที่ 1 👩‍🏫
.
วันนี้มาคุยเรื่อง "คำศัพท์เกี่ยวกับไฟฟ้า ที่เราเจอบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน" กันค่ะ ⚡️💡
.
ทุกคนคงพอจะทราบกันอยู่แล้วว่า G-Cell 🔋 อยู่ภายใต้บริษัท GPSC ⚡️ซึ่งเป็นบริษัทแกนนำทางด้านธุรกิจไฟฟ้าของ กลุ่ม ปตท.
ไหน ๆ ก็เป็นแกนนำด้านไฟฟ้าแล้ว วันนี้แอดจะมาพาคุยกันเกี่ยวกับคำว่า “ไฟฟ้า” แบบพื้น ๆ เลยว่า “ไฟฟ้า” มันมีหน้าตา อุปนิสัย และเคลื่อนไหวเป็นยังไง
.
เรื่องราวเริ่มมาจาก 3 คนด้านล่างนี้
Mr. Alessandro Volta (1745 - 1827) จากประเทศ อิตาลี
Mr. André-Marie Ampère (1775 - 1836) จากประเทศ ฝรั่งเศส
Mr. Georg Simon Ohm (1789 - 1854) จากประเทศ เยอรมนี
.
โดยทั้ง 3 ท่าน คือจุดเริ่มต้นของศาสตร์ด้านไฟฟ้ายุคใหม่ และได้มีการอธิบายเป็นเสียงเดียวว่า🗣…
“ไฟฟ้ามันคือการไหลของอิเล็กตรอน ตามสูตรที่ว่า
Volt (แรงดัน) = Amp (กระแส) x Ohm (ความต้านทาน)”
.
แต่เดี๋ยวก่อนนะ พอพูดมาถึงตรงนี้ เอ๊ะ ‼️ แล้วอิเล็กตรอนคืออะไร❓
… งั้นแอดขอเริ่มอธิบายตั้งแต่ตรงนี้เลยแล้วกัน...
อันดับแรกต้องขอเอ่ยถึง “น้ำ” ให้ฟังก่อนดีกว่า… ใช่… น้ำที่แปลว่า Water💧นั้นแหละ
.
✅ปกติน้ำจะไหลได้ ก็ต้องมีอะไรมาทำให้มันไหล เช่น เราทำให้พื้นเอียง น้ำก็ไหลได้
“ความสูงเอียงของทางน้ำ” ทำให้เกิด “แรงดัน” ให้กระแสน้ำไหล
.
โอเคแล้ว “กระแสน้ำ🌊” จะเร็วหรือช้าเกิดอยู่กับอะไร?
แน่นอน ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของ “แรงดัน” แล้วก็ขึ้นอยู่กับ “ความขรุขระของทางน้ำ”
แอดขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ กัน
อันดับแรกเคยเห็นอุโมงค์น้ำรอระบายกันไหม? ที่มีเศษของสิ่งต่าง ๆ ไปบังทางมันไว้ นั่นแหละอุโมงค์มันขรุขระ ส่งผลให้กระแสน้ำไหลช้า และกลับกัน สำหรับสไลด์เดอร์สวนน้ำที่มีความชัน ลื่นมากๆ และไม่มีสิ่งกีดขวาง กระแสน้ำจึงไหลได้เร็ว
.
✨โอเคพวกเราได้คีย์เวิร์ดกันแล้วเนอะ
“แรงดัน”, “กระแสน้ำ” และ “ความขรุขระของทางน้ำ”
.
เอาแบบสั้น ๆ อีกครั้ง
▪️“แรงดันน้ำ” (ทางน้ำเอียง) มาก ➡️ ไหลเร็ว ➡️ มี “กระแสน้ำ” มาก
▪️“แรงดันน้ำ” (ทางน้ำเอียง) น้อย ➡️ ไหลช้า ➡️ มี “กระแสน้ำ” น้อย
▪️“ความขรุขระของทางน้ำ” มาก ➡️ ไหลช้า ➡️ มี “กระแสน้ำ” น้อย
▪️“ความขรุขระของทางน้ำ” น้อย ➡️ ไหลเร็ว ➡️ มี “กระแสน้ำ” มาก
.
ผสมกันก็ได้นะ
▪️“แรงดันน้ำ” มาก & “ทางขรุขระ” น้อย ➡️ ไหลเร็วสุดๆ ➡️ “กระแสน้ำ” มากสุดๆ
▪️“แรงดันน้ำ” น้อย & “ทางขรุขระ” มาก ➡️ไหลช้าสุดๆ ➡️ “กระแสน้ำ” น้อยสุดๆ
.
กลับมาที่ Volt, Amp, Ohm
มันจะเทียบกันได้พอดีเป๊ะ (!)
Volt คือ “แรงดันไฟฟ้า” = แรงดันน้ำ
Amp คือ “กระแสไฟฟ้า”= กระแสน้ำ
Ohm คือ “ความต้านทานไฟฟ้า” = ความขรุขระของทางน้ำ
.
✨นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม
▪️สายไฟฟ้าฟ้าแรงสูง (แรงดันไฟฟ้ามาก) ถึงส่งกระแสไฟฟ้าได้มาก
เพราะ แรงดันไฟฟ้า มาก (เป็นแสน Volt) ➡️ กระแสไฟฟ้า มาก
▪️ทำไมเราใส่รองเท้ายาง เราถึงไม่โดนกระแสไฟฟ้าช็อต
เพราะรองเท้ายางมีความความต้านทานไฟฟ้า มาก (ฉนวนไฟฟ้า) ➡️ กระแสไฟฟ้า น้อย
▪️ทำไมไม่เคยมีคนโดนไฟดูดจากมือถือ
เพราะ มือถือแรงดันไฟฟ้า น้อย (ไม่กี่สิบ Volt) ➡️ กระแสไฟฟ้า น้อย
ทำไมมีกระแสไฟฟ้าเยอะในสายไฟที่ทำจากโลหะ
เพราะ โลหะมีความความต้านทานไฟฟ้า น้อย (ตัวนำไฟฟ้า)  กระแสไฟฟ้า มาก
.
✍🏻สรุปก็คือ Volt, Amp, Ohm ก็คือคุณลักษณะทางไฟฟ้าพื้นฐานที่จะเป็นตัวบอกว่าไฟฟ้าจะมีพฤติกรรมยังไงนั่นเอง ตั้งแต่สมัยยุค Volt, Amp, Ohm จนถึงปัจจุบันเราก็ยังใช้คุณลักษณะนี้ อธิบายโลกของไฟฟ้าตั้งแต่อุปกรณ์เล็ก ๆ มือถือตัวจิ๋ว แบตเตอรี่ จนถึง ยานยนต์ไฟฟ้า แล้วก็ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เลยทีเดียว⚡️💡
.
วันนี้แอดได้นำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ ที่น่ารู้อีกเรื่องหนึ่งของ “"คำศัพท์เกี่ยวกับไฟฟ้า ที่เราเจอบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน⚡️” มาฝากทุกคน แต่ยังไม่หมดเพียงแค่ 3 คำนี้เท่านั้น ครั้งหน้าแอดจะพาทุกคนไปรู้จักกับ กำลังไฟฟ้า หรือ Watt กันต่อ
.
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร กดแจ้งเตือนไว้รอกันได้เลยค่ะ🧐

.


#แกนนำทางด้านธุรกิจไฟฟ้า #โรงงานไฟฟ้า #ไฟฟ้า #จุดเริ่มต้นไฟฟ้ายุคใหม่
#แรงดันไฟฟ้า #กระแสไฟฟ้า #ความต้านทานไฟฟ้า #กำลังไฟฟ้า #แบตเตอรี่ #ยานยนต์ไฟฟ้า

Photos from เตรียมสอบ นายช่างไฟฟ้า's post 13/04/2021

Photos from เตรียมสอบ นายช่างไฟฟ้า's post

พลังงานแห่งอนาคต : Thailand 2070 เมืองไทยในอีก 50 ปี (28 ก.พ. 64) 07/03/2021

พลังงานแห่งอนาคต : Thailand 2070 เมืองไทยในอีก 50 ปี (28 ก.พ. 64)

พลังงานแห่งอนาคต : Thailand 2070 เมืองไทยในอีก 50 ปี (28 ก.พ. 64) ในอนาคตอันใกล้ พลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำมาใช้โดยไม่มีวันหมด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำ, พลังงา.....

04/03/2021

ใครสนใจสมัครเลยครับ

Timeline photos 16/01/2021

Timeline photos

ชนิดของสายไฟในบ้าน...สายอะไรใช้กับอะไรกันนะ?
.
ดูๆไปในบ้านสายไฟก็เหมือนกันไปหมด แต่แท้จริงแล้วสายไฟแต่ละประเภทนั้นเลือกใช้ต่างกัน ไม่ว่าจะชนิดของสายแต่ประเภท ตำแหน่งที่ควรใช้ และลักษณะการติดตั้ง รู้เอาไว้เผื่อต้องซื้อหามาเปลี่ยนกันได้ในโพสต์นี้เลย
.
อ่านเพิ่ม "ระบบไฟในบ้าน" >>https://bit.ly/30Qywnx
อ่านเพิ่ม "อัพเดทราคาสายไฟ">>https://bit.ly/2N2eEFZ

13/11/2020
15/08/2020

ทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้าแบบไหนเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง

"ทำความรู้จักฟิวส์ (Fuse)" 14/08/2020

"ทำความรู้จักฟิวส์ (Fuse)"

"ทำความรู้จักฟิวส์ (Fuse)"

เนื้อหาโดย ผศ.ดร. ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

[http://eng.rtu.ac.th/ESD/ch6.pdf]

Photos from Phelps Dodge Thailand - สายไฟฟ้า's post 30/07/2020

สายไฟในท้องตลาดมีหลายแบบ จะเลือกใช้งานอย่างไร

29/06/2020

พิกัดกระแสของ circuit breaker

ที่ควรรู้จักมี 3 ตัวคือ

(1) • Ampere Trip (AT) เป็นพิกัดกระแส handle rating ซึ่งบอกให้รู้ว่าสามารถทนกระแสใช้งานในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด มักแสดงค่าไว้ที่ name plate หรือด้ามโยกของเบรคเกอร์ ซึ่งมาตรฐานของ NEC 1990 paragraph240-6 กำหนดดังนี้ 15 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 , 125 , 150 , 175 , 200 , 225 , 250 , 300 , 350 , 400 , 450 , 600 , 700 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 3000 , 4000 , 5000 , 6000 A.
ในกรณีที่ขนาดอุปกรณ์ของผู้ผลิตบางรายไม่มีค่าตรงกับค่าที่กำหนด ก็สามารถเลือกใช้ค่าที่สูงขึ้นไปแทนได้ สิ่งควรรู้เพิ่มเติมก็คือ พิกัดการทนกระแส ของเบรคเกอร์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
o standard circuit breaker ในที่นี้หมายถึงชนิด thermal magnetic ซึ่งถ้านำเอาเบรคเกอร์ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะปลดวงจรที่ 80 % ของพิกัดกระแสเบรคเกอร์
o 100% rated circuit breaker แบบนี้ถ้านำไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะตัดวงจรที่พิกัดกระแสของเบรคเกอร์ แต่จะมีเฉพาะสินค้าของอเมริกาเท่านั้น

(2) • Ampere Frame (AF) พิกัดกระแสโครง ซึ่งหมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรคเกอร์ในรุ่นนั้นๆ Ampere Frame มีประโยชน์คือ สามารถเปลี่ยนพิกัด Ampere Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรคเกอร์ยังคงเท่าเดิม ค่า AF ตามมาตรฐาน NEMA มีดังนี้ 50 , 100 , 225 , 250 , 400 , 600 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 4000 , 5000 AF

(3) • Interrupting Capacity (IC) เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์นั้นๆ โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเป็น KA. ค่า IC จะบอกให้รู้ว่าเบรคเกอร์ที่ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร ณ. จุดนั้นๆ เสียก่อน

ตามมาตรฐาน IEC947-2 แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1) Icu หรือ Icn (Rated short-circuit breaking capacity)
หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์ ตามมาตรฐานแล้วจะระบุเป็นค่า r.m.s ของกระแสไฟสลับ โดยถือว่าส่วนประกอบ transient กระแสตรง (ค่า DC. Transient ) เป็นศูนย์ พิกัดกระแสดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมเรียกว่า ค่า Icu (Rated ultimate s.c. breaking capacity) ส่วนภาคที่อยู่อาศัยเรียกว่า Icn ปกติจะมีหน่วยเป็น KA r.m.s. การทดสอบค่า Icu หรือ Icn ตามมาตรฐาน IEC มี 3 ลักษณะคือ

• Operating sequences(open-close/open) คือการทดสอบการทนกระแสลัดวงจร โดยทำการปิดและเปิดวงจร ของเบรคเกอร์ขณะมีกระแสลัดวงจร

• Current and voltage phase displacement คือการทดสอบการทนกระแสลัดวงจรที่ค่า power factor ต่างๆ กัน ซึ่งพบว่าถ้า power factor = 1 จะปลดวงจรง่ายกว่า และถ้า power factor มีค่าต่ำเท่าใดการปลดวงจรยิ่งทำได้ยากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็น lagging power factor และยิ่งมีกระแสลัดวงจรสูงเท่าใด (อยู่ใกล้ generator หรือหม้อแปลงขนาดใหญ่) ค่า power factor ก็ยิ่งต่ำลง

• Dielectric withstand capability คือการทดสอบความเป็นฉนวนของโครง (case) ของเบรคเกอร์ หลังจากการ short-circuit ไปแล้วว่ายังคงสภาพการเป็นฉนวนอยู่หรือไม่

2) Icm (Rated making capacity)
หมายถึงพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดที่เป็น peak current ที่เบรคเกอร์ สามารถทนได้ และทำการปลดวงจรแบบทันทีทันใด (instantaneous) โดยไม่มีการหน่วงเวลาที่แรงดันพิกัด (rated voltage) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ค่ากระแส peak มีความสัมพันธ์กับค่า Icu ด้วยตัวคูณ (k factor) ซึ่งต่างกันไปตามค่า power factor ของกระแสลัดวงจร ดังนี้

- (Icu) มากกว่า 6KA ถึง 10KA -> (power factor) = 0.5 -> (Icm) = 1.7xIcu

- (Icu) มากกว่า 10KA ถึง 20KA -> (power factor) = 0.3 -> (Icm) = 2xIcu

- (Icu) มากกว่า 20KA ถึง 50KA -> (power factor) = 0.25 -> (Icm) = 2.1xIcu

- (Icu) มากกว่า 50KA -> (power factor) =0.2 -> (Icm) = 2.2xIcu

3) Icw (Rated short-time withstand current)
ค่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของ switchgear แรงต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1. ชนิด A คือระบบ switchgear ที่ไม่มีความต้องการให้มีการหน่วงเวลาในการทำงานของอุปกรณ์ magnetic trip (เป็นการปลดวงจรโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก) ได้แก่ molded case circuit breaker ทั่วไป ดังนั้น molded case CB. จึงไม่มีค่า Icw

2. ชนิด B คือระบบ switchgear ที่สามารถหน่วงเวลาในการปลดวงจรได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำการปลดวงจรเป็นลำดับขั้น (discrimination) ในระบบ โดยเบรคเกอร์ตัวที่อยู่ใกล้กระแสลัดวงจรที่สุดควรปลดวงจรก่อน ดังนั้นตัวที่อยู่ถัดไป (โดยเฉพาะตัว main) ต้องทนกระแสลัดวงจรซึ่งสูงกว่าและเป็นเวลาที่นานกว่าได้ โดยตัวมันเองไม่ปลดวงจรและไม่เสียหาย ค่าพิกัดและกระแสการลัดวงจรสูงสุดที่เบรคเกอร์ทนได้ในกรณีที่ต้องหน่วงเวลาเช่นนี้เรียกว่า short-time withstand current rating (Icw) โดยปกติค่า Icw จะถูกระบุหรือทดสอบกับเบรคเกอร์แบบ electronic trip เช่น Air circuit breaker หรือ molded case ประเภท heavy duty

กล่าวโดยสรุป Icw คือค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดสำหรับเบรคเกอร์ชนิด B ที่สามารถทนได้ทั้งผลทางด้านอุณหภูมิ , ความเค้นและ ความเครียดจากสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น โดยตัวมันเองไม่เสียหายในช่วงเวลาหนึ่ง ตามที่โรงงานผู้ผลิตระบุ

4) Ics (Rated service short short-circuit breaking capacity)
เป็นค่าที่บอกให้รู้ว่าเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่าเดิมหรือไม่โดยเทียบกับค่า Icu โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่า Icu เช่น 25 , 50 , 75 และ 100%
เช่นเบรคเกอร์ตัวหนึ่งระบุค่า Ics = 0.5 Icu หมายความว่าเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจรหลังจากเกิดการลัดวงจรครั้งแรกแล้ว เบรคเกอร์ตัวนั้นจะสามารถทนกระแสลัดวงจร ในครั้งถัดไปได้เท่ากับ 50% ของ Icu

* คัดลอกจากวารสารโอมห์ แมกกาซีน ฉบับที่1 มิถุนายน-สิงหาคม 2000 ในเครือ schneider electric*

ประเภทของตู้คอนซูเมอร์ ( Consumer Unit ) 28/06/2020

ประเภทของตู้คอนซูเมอร์ ( Consumer Unit )

ประเภทของตู้คอนซูเมอร์ ( Consumer Unit ) ตู้คอนซูเมอร์ (Consumer Unit) จะแบ่งตามลักษณะของการติดตั้งครับ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ครับ ประเภทของตู้คอนซูเมอร์ แบ....

18/06/2020

“คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้า”
กดโหลดไฟล์..หนังสือที่ทุกคนต้องมีhttp://www.bangkokcable.com/BCCBrochure/BCC_ElectricDesign-Installation_Guide.pdf
...................................................,,,,................
D.S.D ENGINEERING 1999 CO.,LTD.
79/57 MOO 6 Phan Thai Norasing, Muang Samut Sakhon, Samut Sakhon, 74000
Tax ID : 0745560004468
Tel Office 034-112034 Fax. 034-112034
Email [email protected]
Email [email protected]
ติดต่องาน
Tel. 087-0798420 ดุ๊ค
http://line.me/ti/p/VJQCtTp5Op
🔸รับออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงาน อาคาร
🔸ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ ขยายเขต ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
🔸ประกอบและติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า ตู้ควบคุมเครื่องจักร
🔸ตรวจสอบความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า เซ็นรับรอง

Photos from TNP Automation System Co., Ltd.'s post 23/05/2020

ว่าด้วยเรื่องของเซอร์กิตเบรกเกอร์

Photos from ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)'s post 28/04/2020

Photos from ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)'s post

14/03/2020

Circuit: Power factor

ความหมายของ AT AF เบรคเกอร์ 30/01/2020

ความหมายของ AT AF เบรคเกอร์

AT AF คืออะไร และวิธีการเลือก เบรคเกอร์

ความหมายของ AT AF เบรคเกอร์ การเลือก Spec Breaker ต้องคำนวณมาก่อน

06/06/2017

ปวช.1 ช่างไฟฟ้่าเรียนนอกห้องเรียนแบบบูรณาการ

17/01/2017

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

ขออนุญาตแน่ะนำหนังสือดีๆจากสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย (TEMCA)

ใครสนใจสามารถโหลดแบบฟอร์มการสั่งได้ตามลิงค์นี้เลยครับhttp://www.temcathai.com/download/2016-BookingForm.pdf

01/11/2016

บริษัท เอวีร่า จำกัด

กฎหมายใหม่เดือนตุลาคมนี้ !!
ช่างไฟฟ้าติดตั้งสายไฟตามอาคารต้องมีใบอนุญาติแล้วครับ
กฏหมายประกาศบังคับใช้วันที่ 26 ตุลาคม 2559 นี้
ถ้าช่างไฟฟ้าถ้าไม่มีบัตรประจำตัวจะมีความผิด

ช่างไฟฟ้าภายในอาคารทุกท่านสามารถ เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จากที่นี้เลย

http://www.dsd.go.th/chainat/Region/showhilight/2322

31/07/2016

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

การวัดค่าความต้านทานดินแบบ 3 จุด (The Three-point or Fall of Potential)
โดยอ้างอิงตามมาตรฐานIEEE std 81, IEEE Guide for Measuring Earth Resistivity,
Ground Impedance, and Earth Surface Potential of a Ground System.

Cr.http://www.stabil.co.th/
https://www.facebook.com/StabilSavedFromLightning

20/06/2016

The Windustry

กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ

กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ สั้นๆ ดูเข้าใจง่าย (Credit : ANDRITZ HYDRO)

คลิก http://www.thewindustry.com/vdoclip/detail/3707

08/05/2016

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

การวัดค่าความต้านทานดินแบบ 3 จุด (The Three-point or Fall of Potential)
โดยอ้างอิงตามมาตรฐานIEEE std 81, IEEE Guide for Measuring Earth Resistivity,
Ground Impedance, and Earth Surface Potential of a Ground System.

Cr.http://www.stabil.co.th/
https://www.facebook.com/StabilSavedFromLightning

09/04/2016

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA แนะนำความรู้สำหรับประชาชน
ผ่าน PEA Hero Animation ตอน สายดิน

ผลิตโดย : แผนกผลิตสื่อโสตทัศน์ กองประชาสัมพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ PEA

เผยแพร่ : แผนกฐานข้อมูลประชาสัมพันธ์ กองสื่อสารองค์กร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ PEA

09/04/2016

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

http://eng.rtu.ac.th/ESD/ch10.pdf

15/12/2015

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

• ว่าด้วยเรื่องของ Safe-T-Cut

- มีหลายๆ คนถามผมมาเกี่ยวกับเรื่องของ safe t cut ว่าจะติดดีไม่ดี ติดอย่างอื่นได้ไหม ไม่ติดจะเป็นอะไรไหม แล้ว safe t cut ต่างจาก breaker ยังงัย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันซะทีเดียวเลยดีกว่าครับ ทั้งเรื่องของเซฟทีคัท, เบรกเกอร์, สายดินและอุปกรณ์อื่นๆ

- แต่ก่อนจะไปเรื่องของ เซฟทีคัท ผมต้องขออนุญาตินำท่านเข้าสู่และเข้าใจเรื่องของไฟ ไฟ ก่อนนะครับ
ทุกคนคงเคยได้ยินศัพท์เหล่านี้มาแต่อ้อนแต่ออกใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟดูด ไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟช๊อต ไฟลัดวงจร แต่หลายๆ คนก็คงแต่แค่ได้ยินคำพวกนี้ แต่ไม่รู้ว่าความหมายว่ามันหมายถึงอะไร รู้แต่เพียงว่าถ้าเกิดแก่เราแล้ว…บรรลัยเกิด ซี้แหง๋แก๋แน่นอนเท่านั้นเองใช่ไหมครับ

* ในบรรดาศัพท์ที่เกี่ยวกับความบรรลัยทางไฟฟ้าข้างต้นที่ว่ามานั้น ผมขอแยกออกเป็นสองประเภทเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ครับ ก็คือ
1) กระแสไฟในสายไฟมีสูงมากเกิน (อันได้แก่ ไฟช๊อต ไฟเกิน ไฟลัดวงจร ครับ) และ
2) กระแสไฟฟ้ารั่วหายไปจากสายไฟ (อันได้แก่ ไฟรั่ว ไฟดูด ครับ)

- เรามาขยายความต่อดีกว่าครับว่าไอ้ “กระแสไฟฟ้าในสายไฟมีสูงมากเกิน” หมายความว่าอย่างไร และเกิดได้อย่างไรกันครับ

- ลองนึกภาพตามก่อนแบบนี้นะครับ ตอนเรียนวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆ เราเอาสายไฟจิ้มไปที่หลอดไฟข้างหนึ่ง อีกสายหนึ่งก็ออกจากตูดหลอดไฟ กระแสไฟวิ่งเข้าหลอดแล้วก็ออกหลอด หลอดไฟก็สว่างขึ้นมา
หลอดไฟในที่นี้ก็คือความต้านทานชนิดหนึ่งครับ ถ้าจะพูดภาษาวิทย์แบบชาวบ้านๆ ก็คือ มีกระแสไฟวิ่งผ่านตัวต้านทาน ตัวต้านทานก็เกิดปฏิกิริยา เกิดการทำงาน (เช่นหลอดสว่าง เตารีดร้อน มอเตอร์หมุน อะไรก็แล้วแต่)

- ทีนี้ถ้าเราจับปลายสายไฟมาชนกันโดยไม่มีตัวต้านทานมากั้นกลางละครับ จะเกิดอะไรขึ้น…’ไฟก็วิ่งจากสายเข้าสายหนึ่ง ไปออกอีกสายหนึ่งงัย”…ไม่ใช่ครับ มันไม่ง่ายอย่างนั้นนะซิครับ

* ผมจะลองมาทบทวนบทเรียนสมัยเด็กๆ ให้ฟังอีกทีแล้วกันนะครับ
พูดภาษาวิทย์ก็คือ “เมื่อมีความต่างศักดิ์เกิดระหว่างตัวต้านทาน ก็จะเกิดกระแสไฟวิ่ง” (เกิดการทำงานตามมา เช่นหลอดสว่าง เตารีดร้อน มอเตอร์หมุน อะไรก็แล้วแต่)
เป็นไปตามสูตรที่ว่า ความต่างศักดิ์ = กระแสไฟ x ความต้านทาน (V=IxR)
(จริงๆ เป็นสมการของไฟฟ้ากระแสตรงนะครับ ส่วนไฟบ้านที่ใช้กันเป็นไฟกระแสสลับครับ)

* แต่เอาเป็นว่าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ลองใส่ค่าลงไปในสูตรแบบนี้ดูครับ
ไฟบ้านความต่างศักดิ์ 220 โวลท์ หลอดไฟมีความต้านทาน 440 โอห์ม กระแสไฟที่ผ่านเท่าไหร่ครับ ก็เท่ากับ 220/440 = 0.5 แอมป์

* ทีนี้พอเราหยิบเอาปลายสายไฟสองฝั่งมาชนกัน ก็เสมือนกับว่า มีความต่างศักดิ์ที่ยังเท่าเดิม แต่คราวนี้ไม่มีตัวต้านทานแล้ว (ตัวต้านทานเป็น 0) กระแสเป็นเท่าไหร่ครับ ก็เท่ากับ 220/0 = อนันต์
นั่นกำลังหมายความว่า เพียงเสี้ยววินาทีมีกระแสไฟฟ้าวิ่งสูงมากในสายไฟ สิ่งที่เราเห็นตามมาก็คือไฟสปาร์คเปรี๊ยะๆ นั่นเองครับ ถ้าเทียบว่าการที่สายไฟสองเส้นถูกหนูกัดขาดหรือฉนวนเสื่อมสภาพ แล้วมาแตะโดนกัน มันก็คือการทำให้เกิดกระแสที่พุ่งสูงเกิน หรือไฟลัดวงจรนั่นเอง (ไฟจากสายไฟเข้าลัดมาออกที่สายไฟออกก่อนที่จะไปถึงหลอดไฟ)

* จากเหตุการณ์ข้างต้น เกิดศัพท์ขึ้นก็คือ
ไฟช๊อต (การที่ไฟสปาร์คเปรี๊ยะๆ)
ไฟเกิน (ก็คือกระแสไฟวิ่งในสายไฟมากเกิน)
ไฟลัดวงจร (ไฟจากสายไฟเข้าลัดมาออกที่สายไฟออกก่อนที่จะไปถึงตัวต้านทาน)

* พอเข้าใจบ้างไหมครับเกี่ยวกับ “กระแสไฟฟ้าในสายไฟมีสูงมากเกิน”

- ทีนี้เมื่อไฟเกินมากๆ นานๆ เกิดอะไรครับ ก็สายไฟก็ร้อนนะซีครับ ถ้าร้อนจนขนาดฉนวนสายไฟละลาย ไฟก็ลัดวงจรกันไปใหญ่สปาร์คกันไป หรือถ้าร้อนมากไปติดเชื้อไฟก็อาจเกิดตามมาด้วยไฟไหม้บ้านได้ยังไงละครับจากเหตุการณ์ข้างต้น ถ้าไม่อยากให้เกิดไฟเกิน จะทำยังงัยดีละครับ…เราก็ติดอุปกรณ์กันไฟเกินซิครับ

* สมัยก่อนก็ที่ใช้กันที่เรียกกันว่าฟิวส์งัยครับ พอไฟเกินปั๊บ ฟิวส์เองก็รับกระแสไฟไม่ไหว ฟิวส์ก็ขาด วงจรไฟฟ้าก็ตัดขาดไปโดยปริยาย เสร็จแล้วไปซื้อฟิวส์อันใหม่มาเปลี่ยน ปัจจุบันก็พัฒนามาเป็นเสมือนฟิวส์อัตโนมัติ (ภาษาผมเองนะครับ) ควบคู่อยู่ในตัวเบรคเกอร์ พอเกิดไฟเกินในวงจร เบรกเกอร์ตรวจจับได้ก็สับตัวเองทันที…ก็รอดไป พอแก้ไขเสร็จก็ไปสับเบรกเกอร์ขึ้นใหม่ ใช้งานได้ตามเดิมสบายใจเฉิบ (นอกเรื่องนิดนึงครับ เบรคเกอร์ก็คือสะพานไฟ (Cut-out) ทำหน้าที่ตัดไฟ)

- เรามาดูต่อว่าแล้วเจ้า “ไฟฟ้ารั่วหายไปจากสายไฟ” หมายความได้ว่าอย่างไรครับ
ผมขอเริ่มอธิบายแบบชาวบ้านๆ อย่างนี้แล้วกันครับ กระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้ามาในบ้านก็กลับออกไปจากบ้าน กระแสทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกต้องเท่ากันครับ

* สมมติว่าตู้เย็นของเราเสื่อมสภาพสายไฟภายในโดนหนูแทะฉนวนขาดแล้วบังเอิญมาแตะโครงตู้เย็นเข้า ตอนนี้ยังไม่เกิดอะไรครับ เพราะไฟจากนอกบ้าน วิ่งเข้ามาวนเวียนอยู่ในตู้เย็น (รวมถึงโครงตู้เย็น) แล้วก็วิ่งกลับออกไปนอกบ้าน กระแสเข้าบ้านออกบ้านเท่ากันครับ เมื่อไหร่ที่เราไปจับตู้เย็น กระแสไฟก็จะแบ่งมาลงที่ตัวเราแล้ววิ่งลงพื้นลงดินไป ทีนี้แหละครับกระแสที่วิ่งกลับไปออกนอกบ้านก็จะไม่เท่ากับตอนเข้ามาเพราะแบ่งลงตัวเราลงดินไปแล้ว (สมมติว่าไม่มีสายดิน)

- จากที่เล่ามาก็จะเกิดศัพท์ 2 ศัพท์ครับก็คือไฟรั่ว (สายไฟขาดมาแตะโครงตู้เย็น ไฟรั่วลงโครงตู้เย็น) และไฟดูด (กระแสไฟไหลลงตัวเราแล้วลงดิน) มาถึงตอนนี้พอเข้าใจขึ้นมาบ้างไหมครับ

* จากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นถ้าเราไม่อยากโดนไฟดูด เราจึงคิดเครื่องมือมาอันนึงเพื่อวัดความแตกต่างของกระแสไฟที่เข้าและออกจากบ้าน ถ้าไฟเข้าและออกต่างกันเจ้าเครื่องตัวนี้ก็จะตัดไฟในบ้านทั้งหมดทันที เจ้าเครื่องมือตัวนี้มียี้ห้อที่เราคุ้นหูก็คือ “เซฟทีคัท” นั่นเองครับ เจ้าเครื่องตัวนี้สามารถวัดความแตกต่างโดยปรับความแตกต่างได้ตั้งแต่ 5 มิลลิแอมป์ถึง 30 มิลลิแอมป์ (ทำไมต้องลิมิตที่ 30 มิลลิแอมป์ไว้มาว่ากันต่ออีกทีครับหรืออ่านได้ตามลิ้งค์นี้เลยครับ http://www.squarewa.com/2010/สาระน่ารู้เกี่ยวกับสายสาระน่ารู้เกี่ยวกับสาย/

* ดังนั้นเราติด safe t cut ไปทำไมคงจะพอตอบกันได้แล้วใช่ไหมครับ

- ความปวดเศียรเวียนเกล้าเกิดตอนนี้แหละครับ สมมติว่าเครื่องปรับอากาศเราเก่าแล้ว ฝุ่นจับไปหมด พอชื้นเข้าหน่อยโอกาสที่ไฟจะรั่วลงตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ภายในก็มีบ้างโดยที่เราไม่รู้ตัวหรอกครับว่ามันเกิดไฟรั่ว แล้วถ้าเราตั้งไว้ให้มันจับความแตกต่างที่ 5 มิลลิแอมป์ เซฟทีคัทก็ช่างอ่อนไหว sensitive เสียนี่กระไร ตรวจจับเจอแล้วก็ทำการตัดไฟ(ทั้งบ้าน..เพราะคุมเมนเบรคเกอร์)

- เอ๊ะ! เดี๋ยวตัดๆ ตัดบ่อยๆ เข้าเราชักรำคาญ sensitive นักใช่ไหม ก็เลยไปปรับให้จับความแตกต่างเป็น 10…ก็ยังตัด…รำคาญ…ปรับอีกเป็น 15…ก็ยังตัด…รำคาญ…ปรับอีกเป็น 20…จนทีนี้เป็น 30 ก็ยังตัดอยู่ (แต่ถึงตอนนี้ เราเองก็ยังไม่รู้ว่ามีสาเหตุการตัดมาจากไฟรั่วที่แอร์เก่า) ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร ทีนี้ก็เลยปรับไปเป็น bypass ไปซะเลย หรือก็คือต่อไฟเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านเซฟทีคัทแล้ว โอเคครับคราวนี้ไฟในบ้านไม่ตัดแล้ว ไม่รำคาญแล้ว แต่ก็เสมือนว่าเราไม่ได้ติดเซฟทีคัท ไม่ได้ใช้งานมันอยู่ดี มาถึงตรงนี้ก็กลับไปสู่คำถามแรกยอดฮิตที่ว่า “ติดเซฟทีคัทดีหรือเปล่า” ถึงตรงนี้พอนึกภาพออกกันบ้างไหมครับ

- มาถึงตรงนี้ด้วยกิเลสของมนุษย์ก็แน่นอนครับว่าต้องมีคำถามที่ว่า “อยากติดอ่ะ แต่ไม่อยากให้ดับทั้งบ้าน มีทางแก้ไหมครับ”

- คำตอบก็คือว่า มีซิครับ พูดง่ายๆ ก็คือแทนที่จะติดควบคุมวัดความต่างของกระแสทั้งบ้านที่ Main Breaker ก็เลือกติดตัววัดความต่างกระแสที่ตัวควบคุมวงจรย่อย (แต่ละ Breaker) โดยเลือกเป็นวงจรไปที่มันมีความเสี่ยงกับการรั่วของไฟ เช่นเครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน ปลั๊กไฟในห้องน้ำหรือปลั๊กไฟนอกบ้านที่สุ่มเสี่ยงกับการโดนดูด

- แต่อย่างที่ผมบอกเล่าไปข้างต้น เบรคเกอร์ก็คือสะพานไฟ (Cut-out) ทำหน้าที่ตัดไฟครับ เบรคเกอร์ไม่ได้ทำหน้าที่วัดความแตกต่างของกระแสไฟ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเปลี่ยนมาเป็นเบรกเกอร์ชนิดที่วัดความต่างกระแสไฟได้ในตัวด้วย (เบรคเกอร์แบบมีเซฟทีคัทในตัว) ที่เรียกว่า เบรกเกอร์ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ตัดเป็นแค่วงจรๆ ไป อ้อ…ตัว ELCB ก็จะกำหนดค่าความต่างไว้ตายตัวที่ 30 มิลลิแอมป์นะครับ

- อันที่จริงคำว่า “เบรคเกอร์แบบมีเซฟทีคัทในตัว” เป็นภาษาของผมเองนะครับ เพราะจริงๆ แล้วเจ้าเซฟทีคัทต่างหากที่ถือเป็น ELCB ชนิดหนึ่งครับ

- แต่โดยมาตราฐานแล้ว ถ้าเราใช้เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อนที่ผ่านม.อ.ก. (ถ้าไม่ใช่จำพวกเครื่องจากจีนแดงอะไรเทือกนั้น) แล้วนั้นไซร้ ทุกเครื่องจะต้องติด ELCB ในตัวอยู่แล้วครับ (ก็คือไอ้ที่มีปุ่มบนตัวเครื่องให้เรากด TEST ตัวนั้นแหละครับ) ดังนั้นถ้าติด ELCB อีกที่ตู้เมน จะว่าไปก็ซ้ำซ้อนครับ

Cr. ข้อมูลดีๆจาก www.squarewa.com

01/11/2015

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

มาทำความรู้จักตัวอักษรที่กำกับบอกชื่อเฟสและรหัสสีในละเฟสของระบบไฟฟ้า 3 เฟส ว่าอ้างอิงมาจากมาตรฐานอะไรกันบ้าง แล้วมาตรฐานใหม่อ้างอิงจากมาตรฐานอะไร

สำหรับบ้านเรา มาตรฐาน วสท.(EIT) มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับ ปี พ.ศ. 2556 กำหนดให้ใช้ตาม IEC Standard นะครับ

27/10/2015

วันนี้นำนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาชีพ ณ แผนกช่างไฟฟ้า

17/08/2015

แผนกไฟฟ้า วิทยาลัยสารพัดช่างเข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดภัยใช้ไฟ PEA ระหว่างวันที่ 17-20 ส.ค. 58

04/07/2015

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

ในมิเตอร์แบบเข็ม รุ่น Classic มีสเกลในการวัดหลายค่าเลย แต่ละสเกลใช้วัดอะไรกันบ้าง ลืมกันหรือยังครับ (สเกล 1,2,3,4,5,6 ใช้วัดอะไร?)

หมายเลข 1 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอมห์

หมายเลข 2 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟที่เป็นทั้งกระแสตรง และกระแสสลับ มีค่าตัวเลขระหว่าง 0 – 250

หมายเลข 3 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟแบบกระแสตรง ที่สามารถอ่านได้ทั้งค่าที่เป็นลบ และเป็นบวก มีตัวเลขระหว่าง 0 – 25(+)? และ? 0-25(-)

หมายเลข 4 คือ สเกลการอ่านค่าของอัตราการขยายของทรานซิสเตอร์

หมายเลข 5 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าแรงไฟสำหรับการตรวจเช็คแบตเตอรี่ที่ไม่เกิน 1.5 V.

หมายเลข 6 คือ สเกลสำหรับการอ่านค่าของเสียง มีตัวเลขทางบวก ตั้งแต่ 0 – +(10) dB? และ ทางลบ? 0 – (-10)

14/06/2015

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

Code สีสายไฟใหม่ สำหรับไฟฟ้าแรงดันต่ำ (230/400V) ของเมืองไทยตอนนี้เปลี่ยนใหม่แล้ว ... รู้กันหมดแล้วใช่ไหมครับ

1 เฟส - น้ำตาล (L) , ฟ้า ( N), เขียวแทบเหลือง (G)

3 เฟส - น้ำตาล (L1) , ดำ (L2), เทา (L3), ฟ้า ( N), เขียวแทบเหลือง (G)

ทำไมต้องเปลี่ยนสีและมาตรฐานของสายไฟ
http://www.tisi.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2263:2010-08-16-07-23-58&catid=2:2009-09-29-16-17-21&Itemid=73

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว กับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ วสท.2556

การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11_2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดี่ยวกัน ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยด้วย ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้ แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่ใน กฎหมายบ้างมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้ ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการ ของ วสท. จึงถือโอกาสนี้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้มีมาตรฐานตรงกับมาตรฐานสายไฟใหม่และปรับปรุงเกี่ยวกับการหาขนาดกระแสของสายไฟ ร่วมถึงสายที่ใช้ในวงจรช่วยชีวิต และรายละเอียดปลีกย่อยต่างเพิ่มเติม ร่วมไปในครั้งนี้ด้วย เพื่อคำนึงถึงความปลอภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก นั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556 ครับ

15/08/2014

BANGKOK CABLE มาตรฐานใหม่ มอก. 11-2553

อันนี้มีประโยชน์สำหรับเรานะครับ

คำอธิบายความแตกต่างของมาตรฐานใหม่ ของส่ายไฟฟ้า

21/06/2014

Thailand Power Quality Solutions

ข้อแนะนำการเลือกซื้อเต้ารับ จาก PEA ครับ
หรือบางครั้งหากใช้งานไปนานๆแล้วช่องเสียบหลวม ก็ควรเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ดีก่อนใช้ จะได้ไม่เกิดความเสียหายขึ้นครับ

13/06/2014

Thai PBS

ในช่วงหน้าฝน ควรมีการสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ชำรุด เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
..ไปดูวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อโดนไฟฟ้าดูดกันค่ะ
1. ปลดสวิทซ์ที่จ่ายไฟออก
2. ถ้าหยุดหายใจต้องเป่าปาก
3. ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องนวดหัวใจ
4. ถ้าหายใจไม่ออกและหัวใจหยุดเต้น ต้องเป่าปากสลับกับนวดหัวใจ
(ชม Clip http://bit.ly/1pikVgg)

22/04/2014

ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ ... ทำให้วิศวกรไฟฟ้าตกม้าตายมาหลายคนแล้ว

คำถามหนึ่งที่ผมใช้ทดสอบความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าของวิศวกร (ซึ่งทุกสาขาต้องเรียนอยู่แล้ว) ก็คือให้เขียนแผนผังวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ ผลที่ได้มี 3 ประเภท คือ

1. เขียนได้ (แสดงว่าเขาคนนั้นเข้าใจหรือไม่ก็ใส่ใจทุกสิ่งทุกอย่างในสายอาชีพเขา แต่ก็ต้องถามกันต่อนะว่าแล้วมันทำงานอย่างไร)

2. เขียนไม่ได้ต่อไม่เป็น (ไม่ว่ากันเพราะอาจจะไม่ค่อยได้ทำ หรือไม่ก็คงคิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายเกินไปที่จะเอามาใส่สมอง)

3. จำไม่ได้ครับพี่ แต่ถ้าผมเจออุปกรณ์จริงๆ ผมต่อได้แน่นอนครับ (อ้าวแล้วคนแบบที่ 3 นี้ หมายความว่าอะไร ... มันก็หมายความว่าคุณต่อจากความจำ หรือไม่ก็จะต้องดูวงจรการต่อที่เขียนอยู่บนบัสลาสต์ใช่ไหม)

สรุปผลที่ได้ ทำให้ทราบว่า วิศวกรไฟฟ้าเกือบครึ่งที่เขียนแผนผังวงจรหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างที่ประกอบอยู่ในวงจรนั้นมีหน้าที่หรือการทำงานอย่างไร

"ผมจะบอกเคล็ดวิชาให้นะครับ แล้วคุณจะจำแบบไม่ลืม ให้เอาหลอดไฟเป็นหลักนะครับ แล้วการต่อบัสลาต์ ก็ให้ต่ออนุกรมกับหลอด และสตาร์เตอร์ก็ให้ต่อขนานกับหลอด "

แล้วคำถามต่อไปเกี่ยวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ???
- มันทำงานอย่างไร
- บัสลาสต์ทำหน้าที่อะไร
- สตาร์เตอร์ทำหน้าที่อะไร
- ทำไมถึงเรียกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
- หลอดฟลูออเรสเซนต์กับหลอดนีออนนี้เหมือนกันหรือไม่
- แล้วหากหลอดไม่ติดเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ตัวไหนเสีย
- และหากต้องการต่อคาปาซิเตอร์ในวงจรเพื่อปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ จะต้องต่ออย่างไร

" หลายต่อหลายรายเอาแต่เรียนสูงๆ เรียนแต่เรื่องที่มันดูซับซ้อน ล้ำหน้า ทันสมัย (ที่อาจหาที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในโลกนี้ไม่ได้) พูดจาแต่ละอย่างคนที่ไม่มีความรู้ด้านนั้นก็นึกว่าเป็นคนเก่ง แต่พอเจอเข้ากับเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวันกลับทำอะไรไม่เป็น " ... ไม่ใช่คำพูดแอดมินนะครับ แต่ชอบเลยเอามาแปะไว้ครับ ตรงใจดีครับ

ฝากไว้ให้คิดกันต่อนะครับ เดี๋ยวใครมาถามจะได้ตอบได้อย่างไม่อาย ว่าเรื่องแค่นี้ไม่น่าเอามาถามวิศวกรไฟฟ้าอย่างเราเลย (ถามยากๆกว่านี้ได้ไหม) ^_^

(ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีวงจรสำเร็จรูป หรือพวกหลอด LED กันแล้ว แต่นี้คือพื้นฐาน เพราะที่บ้านผมก็ยังเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ^_^)

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

เก้าอี้ดนตรี

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่


Mueang Sukhothai
64000