เรียนง่าย เข้าใจเร็ว
http://namdinghsai.blogspot.com/ ภาษาไต เรียนง่ายเข้าใจเร็ว เราควรอนุรักษ์ภาษาไตไว้ให้ลูกหลานของเรา ไม่ว่าเราจะไม่ใช่ชาวไตก็ตามเราควรเรียนรู้เอาไว้เพื่อให้เรามองโลกได้กว้างขึ้น ฉะนั้นขอฝาก การเรียนรู้ภาษาไต ให้ชาวเฟสบุ๊คทุกคนช่วยกันสืบสาน ภาษาไต(หลีกไต) และเพื่อให้ได้เผยแพร่ยิ่งๆขึ้นไป ผมก็เป็นลูกชาวไตคนหนึ่งชึ่งผมคิดว่าโลกออนไลน์มีมากขึ้น อยากให้ผู้คนที่สนใจใน การเรียนรู้ภาษาไต ผมจึงไดจัดกลุ่มขึ้นมาเพื่อช่วยเผยแพร่การเรียนรู้ภาษาไตอีกด้านหนึ่ง ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจตรงไหนก็แอดมาได้นะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนได้บอกต่อๆกันสำหรับคนอยากเรียนรู้ภาษาไต ในโลกออนไลน์ก็ได้เปิดสอนแล้ว สำหรับคนที่ไม่มีเวลาเรียนข้างนอกทีเขาเปิดเรียนกันอยู่ แต่ในโลกออนไลน์นี้เรียนได้ตามอัธยาศัยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ขอให้ตั้งใจฝึกฝนก็แล้วกัน สวัสดีครับ(ใหม่สูงข้า)
Email.saoajingn[email protected]
Tel.0904747351 - 0892663418
Name.
เปิดเหมือนปกติ
ၵႂၢမ်းတေႃးလေႃးၼူၵ်ႉၵိုဝ်း
ၼေႃႇတႅၼ်းၶိူဝ်းဝၼ်းမိူဝ်းၼႃႈ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3400822199963051&id=1423920887653202
#จเร รู้จักก่อนเจอ "จเร " ในงาน “การประชุมไทใหญ่ศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 2”
.
จเรคือใคร ใครคือจเร???
.
“จเร” “จะเร” หรือ “เจเล” คือคำเดียวกันที่หมายถึงผู้มีความรู้ความสามารถของชาติพันธุ์ไทใหญ่ ซึ่งเรียกแตกต่างกันตามพื้นที่ที่ต่างกัน โดยอาจารย์ประเสริฐ ประดิษฐ์ ที่ปรึกษาศูนย์ไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า “จเร” มาจากคำว่า “จ่าเย สย่า” ในภาษาพม่า แต่ไทใหญ่นำมาใช้โดยตัดคำว่า “สย่า” ออก เหลือเพียงคำว่า “จ่าเย” และเพี้ยนเป็นคำว่า “จเร” ในภายหลัง เป็นคำที่มีความหมายตรงกับคำว่า “หมอหลูลีก” และ “หมอแต้มลีก” ในภาษาไทใหญ่ ซึ่งปรกติแล้วสังคมไทใหญ่ไม่นิยมใช้คำว่าจเรมากนัก
.
ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ (2559 : 31) กล่าวถึง “จเร” ว่าเป็น ตำแหน่งหรือสถานภาพอย่างหนึ่งในสังคมไทใหญ่ที่เกิดจากการทำหน้าที่ทางพิธีกรรม มักนำมาใช้เป็นคำนำหน้าชื่อ โดยบุคคลที่จะเป็นเป็นจเรได้นั้น ต้องผ่านการบวชเรียน มีความรู้ทางภาษาศาสตร์ และควรมีเสียงที่ไพเราะ สามารถอ่านธรรมซึ่งเป็นทำนองร้อยกรองได้ เช่นเดียวกับบุษกร บิณฑสันต์ และคณะ (2555 : 31-32) ที่กล่าวว่า จเร คือคนที่มีความรู้ประจำชุมชน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการสอนให้อ่านและเขียน มีหน้าที่อ่านหนังสือธรรมะ (ฮอลิก) ให้คนในชุมชนฟัง (ถ่อมลิก) โดยเรื่องที่อ่านส่วนใหญ่เป็นธรรมะ และเรื่องทั่วไป เช่น สุภาษิต คติสอนใจ และเรื่องราวที่สอนให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว
.
ส่วนปรีดาพร ศรีเมือง (2560, 33) กล่าวว่า "จเร" เป็นครูหมอไตประเภทหนึ่ง เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม มีความชำนาญจนสามารถเขียนตำราออกมาสั่งสอนคนรุ่นหลังให้ยึดถือปฏิบัติได้ จเรคือเสมียนในความหมายภาษาไทย ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น จเรลุม(เสมียนศาล) จเรแต้มลิ่ก(เสมียนเขียนหนังสือ) จเรเมือง(อาลักษณ์ในหอเจ้าฟ้า) เป็นต้น
.
เช่นเดียวกับอาทิตย์ แผ่บุญ (2563) ที่ให้ความหมายเจเล (จเร) ว่าคือเสมียนในภาษาไทย โดยเจเล เป็นภาษาพม่า “เจ” แปลว่า หนังสือ หรือ การจดบันทึก ส่วน “เล” แปลว่าคน โดยรวมก็หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในหนึ่งชุมชนจะมีหลายเจเล เช่น เจเลหมู่บ้าน เจเลวัด เป็นต้น
.
คนที่จะเป็นเจเลนั้นต้องได้เรียนหนังสือ และส่วนมากมักจะเป็นผู้ชายที่เคยบวชเรียน โดยตำแหน่งเจเลนี้สามารถเกิดขึ้นได้สองกรณี คือคนในชุมชนยกย่องให้เป็นเพราะเห็นว่ามีความรู้ความสามารถผ่านการบวชเรียน มาก่อน และอีกกรณีคือ มาจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจากคนในครอบครัวเดียวกัน
.
ปัจจุบันผู้ทำหน้าที่จเรมีจำนวนลดลง เพราะความนิยมในการฟังธรรมไทใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการฟังเทศจากพระสงฆ์ ซึ่งรับอิทธิพลจากภาคกลาง ประกอบกับผู้ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทใหญ่โบราณ(ลิกไตเก่า) มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการสู่ระบบการศึกษาแบบแผนปัจจุบัน
.
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีการศึกษาหรือบทความวิชาการที่กล่าวถึงจเรอย่างเฉพาะเจาะจง แต่งานวิจัยหรือบทความหลายฉบับที่ศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทใหญ่มีการกล่าวอ้างถึงจเรในแง่ผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้ให้ข้อมูล จึงอาจกล่าวโดยรวมได้ว่า จเร คือ บุคคลที่มีความรู้รอบด้านทั้งทางโลกและทางธรรม มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ความคิด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และบันทึกประวัติศาสตร์
.
#เจอจเรตัวจริงและรู้จักเส้นทางการเดินทางของพวกเขา ได้ที่งาน "การประชุมไทใหญ่ศึกษานานาชาติครั้งที่ 2"
.
ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวนนักศึกษา และนักวิชาการทุกท่าน ร่วมส่งบทคัดย่อเพื่อนำเสนอในงาน“การประชุมไทใหญ่ศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 2”
.
*** มีการจัดทำเอกสารรายงานการประชุม E-Proceeding
.
ผู้ที่สนใจสามารถส่งบทคัดย่อมาได้ที่ [email protected] ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยมีค่าลงทะเบียน 500 บาท ติดตามรายละเอียดที่ https://www.facebook.com/cesdcmu.2009/photos/a.1423929994318958/3325639687481303/
.
ขอบคุณภาพจาก FB : สถาบันไทใหญ่ วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
เรียนวันละนิด เข้าใจวันละหน่อย ค่อยเป็นค่อยไป
ตัวอย่างหนังสือเรียนที่จะออกใหม่
ตอนนี้ทางแอดมินอยู่ในระหว่างเรียบเรียงหนังสือเรียนอยู่ เพื่อให้ท่านสามารถเรียนได้ด้วยตนเองได้ เรียนง่าย เข้าใจเร็ว
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ ให้กำลังใจแอดมินด้วยนะครับ
คุณอยากเรียนภาษาไทใหญ่หรือไม่?
ၶိူဝ်းၶမ်း လၢင်းၶိူဝ်း
ၸႂ်ႉ Dtac ထူဝ်းမူိဝ်းမူိင်းတႆး၊ မၢၼ်ႈ။
Dtac (Telenor) ထူဝ်းမူိင်းမူိင်းတႆး၊ မၢၼ်ႈ။ ၵႃႈၶၼ်ပေႃးꧦ ၼိုင်ႈမိၼိတ်ႉ(ၼႃးထီး) 1.50 ဝၢတ်ႇ၊ ၵႃႈသႃႇမၵ်းမၼ်း ၼိုင်ႈဢႃးထိတ်ႉ 14 ဝၢတ်ႇ၊ ဢမ်ႇၼၼ်တေဢဝ် ၼိုင်ႈလိူၼ် 29 ဝၢတ်ႇ။
วิธีเขียนพยัญชนะ ภาษาไทใหญ่
รูปเสียงหลักในภาษาไทใหญ่และสระเสียงซ้อน
เข้าฟังเสียงที่ลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลย
https://youtu.be/4I3295zqKgc
วิธีเขียนภาษาไทใหญ่
gaming.youtube.com/X2XOExi4W8s
เรียนภาษาไทใหญ่
พจนานุกรม ไทย ไต มาแล้วครับ ใครสนใจ สามารถโหลดเอาใน เฟสโตร์ ไก้แล้วครับ
Dictionary Thai - Tai ไทย - ไทใหญ่ สามารถโหลดใน Play Store ได้แล้วครับ
บทเรียนที่ 77,78,79,80
บทเรียนที่ 75, 76
บทเรียนที่ 73, 74
บทเรียนที่ 71, 72
บทเรียนที่ 69, 70
บทเรียนที่ 67,68
Mobile Uploads
แอดมินจะพยายามเอามาให้ทุกคนได้เรียนรู้ภาษาไทใหญ่วันละนิดนะครับ
บทเรียนที่ 65,66
บทเรียนที่ 63,64
บทเรียนที่ 61,62
บทเรียนที่ 59,60
บทเรียนที่ 57,58
บทเรียนที่ 55,56
บทเรียนที่ 53,54
บทเรียนที่ 51,52
หมู่บ้านข่อบือคีตั้งอยู่บนดอยแห่งหนึง ในต.ห้วยโป่งอ.เมืองจ.แม่ฮ่องสอน
สินค้าชุมชนและแหล่งท่องเที่่ยว
โรงเรียนบ้านป่าลาน ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน