โรงเรียนเทศบาล๕ (บ้านศรีบุญเรือง)
เปิดเหมือนปกติ
ตารางเปรียบเทียบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่ มีอาการเหมือนหรือแตกต่างกันดังนี้
เด็กเล็ก อายุ 5 - 11 ปี
- เจ็บบริเวณที่ฉีด
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
เด็กวัยรุ่น อายุ 12 - 17 ปี
- เจ็บบริเวณที่ฉีด
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- มีไข้ หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
ผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำในจุดที่ฉีด
- มีไข้ หนาวสั่น
- อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามข้อ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
ซึ่งอาการมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ที่สำคัญคือผู้ที่ฉีดวัคซีนทุกช่วงวัย ควรนั่งพักสังเกตอาการ 30 นาทีแรกหลังฉีดทันที และควรติดตามอาการอย่างต่อเนื่องอีก 30 วัน นอกจากนี้ภายใน 7 วัน หลังจากฉีดวัคซีนควรงดการออกกำลังกายหนักๆ เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น และความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดความกังวลและไม่แน่ใจว่าเป็นอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวัยที่ชอบวิ่งเล่น ปีนป่าย และมักทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ จึงไม่ทันได้ระวังหรือสังเกตอาการตนเองเหมือนผู้ใหญ่
วารสารโรงเรียน ฉบับที่ ๑๙
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
ผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อในระยะเวลาหนึ่ง
และอาจไม่ได้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เช่น
อาศัยร่วมห้องกับผู้ติดเชื้อ
พูดคุยระยะใกล้กับผู้ติดเชื้อ นานกว่า 5 นาที
เคยอยู่กับผู้ติดเชื้อในที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น
รถปรับอากาศ นานเกิน 15 นาที โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
ถ้ามีอาการ ให้ตรวจเอทีเคทันที
ถ้าไม่มีอาการ ควรกักตัว 7 วัน
สังเกตอาการต่ออีก 3 วัน และตรวจในช่วง
3-5 วัน หลังใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
วารสารโรงเรียน ฉบับที่ ๑๘
“กรุงเทพมหานคร” ยังคงใช้ว่า KrungThep Maha Nakhon และ Bangkok ได้เช่นเดิม
ตอนแรกเห็นหลายสำนักข่าวลงว่า ราชบัณฑิตยสภา ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon แอดมินก็เข้าไปอ่านในรายละเอียด รวมถึงไปดูไฟ PDF ว่าเป็นอย่างไร
โดยสรุป ราชบัณฑิตยสภา แก้หลายคำก็คือ เวอร์ชันอัปเดตใหม่นั่นแหละ เช่น มาเลเซีย เมื่อก่อนเราสะกดชื่อเมืองหลวงว่า กัวลาลัมเปอร์ แต่อัปเดตใหม่ เพิ่มการทับศัพท์แบบมลายูมา สะกดว่า กัวลาลุมปูร์, ราชอาณาจักรเนปาล เปลี่ยนเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ตามการปกครองแบบใหม่
ในส่วนของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร มีการเปลี่ยนแปลงจาก Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) คือ เปลี่ยนจาก ; เป็น () เอาคำว่า Bangkok ไปใส่ในวงเล็บ ในเอกสารที่ออกมาใส่หมายเหตุการเปลี่ยนว่า แก้ไขชื่อเมืองหลวง โดยเก็บชื่อเดิมไว้ในวงเล็บ หลายคนก็คงสงสัยและอาจพากันเข้าใจผิด รวมถึงแอดมินด้วย โดยอาจจะเข้าใจผิดไปว่า ราชบัณฑิตยสภา ประกาศเปลี่ยนชื่อ Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon
แต่ล่าสุดเพจทางการของ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ออกมายืนยันแล้วว่า "กรุงเทพมหานคร" ยังคงใช้ว่า KrungThep Maha Nakhon และ Bangkok ได้เช่นเดิม
ไฟล์ กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง 2554 :http://www.acad.sc.chula.ac.th/content/download/file-20141103014809.pdf
ไฟล์ กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง 2565 : https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp?n=g&i=0020000402001002%2F64LBN2407069
ลิงก์เพจราชบัณฑิตยสภา : https://www.facebook.com/100064290805815/posts/320954526724238/?d=n
ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญจะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
ทั้งนี้ ในวันมาฆบูชา ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต"
PM2.5 ผลเสียต่อร่างกาย
+ เฉียบพลัน (ตาอักเสบ,ผื่นคัน,ระบบทางเดินหายใจ)
+ ระยะยาว (เสี่ยงโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง)
PM2.5 ใคร? เสี่ยง
+ เด็ก
+ ผู้สูงอายุ
+ หญิงตั้งครรภ์
+ ผู้มีโรคประจำตัว
+ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
PM2.5 พบมากในช่วง?
+ เดือน ธ.ค.-มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
PM2.5 เกิดจาก?
+การเผาขยะ
+โรงงานอุตสาหกรรม
+ไอเสียรถ
+ก่อสร้าง
ที่มา:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกหนึ่งหรือสองคนชื่อวาเลนตินัส ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่นั้นกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น มีการกำหนดวันวาเลนไทน์ขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนที่สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 จะให้ตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไป (General Roman Calendar) ในปี ค.ศ. 1969
วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนา มาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกันในภายหลังประเพณีการแสดงออกความรักไม่ได้เป็นที่นิยมเพียงแค่ทางฝั่งตะวันตกหากแต่มีการแพร่กระจายความนิยมไปทั่วโลก โดยคนส่วนใหญ่ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันแห่งการแสดงความรักให้กันจนถึงปัจจุบัน โดยบางประเทศมีการฉลองในลักษณะที่คล้ายกันนี้ เช่น ประเทศบราซิลมีการเฉลิมฉลอง "Dia dos Namorados" ในวันที่ 12 มิถุนายน โดยจะมีการมอบของขวัญให้คนที่รัก เช่น ดอกไม้และช็อกโกแลต
วารสารโรงเรียน ฉบับที่ ๑๗
💉💉ศูนย์ฉีดวัคซีนอำเภอเมืองลำปาง ขอเชิญชวนชาวลำปาง ฉีดวัคซีน ✅เข็ม 1 ✅กระตุ้นเข็ม 3 ✅กระตุ้นเข็ม 4 (ห่างจากเข็ม 3 ระยะเวลา 3 เดือน)
โดยผ่านช่องทาง ดังนี้
1. สแกน QR Code "ลำปางพร้อม"http://vcc2.lampanghospital.com/pbbooking/10672
2. ติดต่อศูนย์ฉีดวัคซีนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชน นครลำปาง
3. จองผ่าน Call Center 054-222225
📌สามารถเลือกวัคซีนได้ว่าจะรับ AstraZeneca หรือ Pfizer ( แจกคิวเวลา 07.30 - 14.30 น. )
📌เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ , วันพุธ , วันศุกร์ (ยกเว้นวันอังคาร ,พฤหัสบดี,เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ให้บริการ เวลา 08.00 - 15.00 น.
ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
ฉีดวัคซีนโควิด กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาและเด็ก
(ระหว่าง 28 ก.พ. 64 – 8 ก.พ. 65)
นักเรียน/นักศึกษา 12 – 17 ปี เป้าหมาย 4,754,082 คน
ฉีดเข็ม 1 3,438,195 คน คิดเป็น 72.3 %
ฉีดเข็ม 2 3,320,294 คน คิดเป็น 69.8 %
เด็กอายุ 5 – 11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 คน
ฉีดเข็ม 1 66,165 คน คิดเป็น 1.3 %
ฉีดเข็ม 2 7,328 คน คิดเป็น 0.1 %
ที่มา : ศบค.
วารสารโรงเรียน ฉบับที่ ๑๖
จำนวนนักเรียนที่ประสงค์ฉีดวัคซีน ช่วงอายุ 5 - ไม่เกิน 12 ปี จากจำนวนทั้งหมด 5,254,366 คน ประสงค์ฉีด 3.18 ล้านคน คิดเป็น 61% ไม่ประสงค์ฉีด 2.07 ล้านคน คิดเป็น 39%
แยกเป็นรายภาค
- ภาคเหนือ ประสงค์ฉีด 61% ของภาค
- ภาคอีสาน ประสงค์ฉีด 59% ของภาค
- ภาคตะวันออก ประสงค์ฉีด 62% ของภาค
- ภาคตะวันตก ประสงค์ฉีด 57% ของภาค
- ภาคกลาง ประสงค์ฉีด 66% ของภาค
- ภาคใต้ ประสงค์ฉีด 55% ของภาค
ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565
วัคซีนโควิดเด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ฯ แนะนำอย่างไร
.
ในสถานการณ์ที่การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตายังคงมีอยู่ และมีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้ทบทวนข้อมูลใหม่ด้านระบาดวิทยา ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิดในเด็กและวัยรุ่น มีคำแนะนำใหม่เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 โดยสรุป 2 ประเด็นคือ
.
▪ เด็กและวัยรุ่นเพศชายอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 3-12 สัปดาห์ โดยแนะนำระยะห่าง 8-12 สัปดาห์ เพราะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ระยะเวลาป้องกันนานขึ้น และอาจลดความเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้
▪ เด็กอายุ 5-ไม่เกิน 12 ปี ให้ฉีดวัคซีน Pfizer สูตรสำหรับเด็ก ขนาด 10 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.2 มิลลิลิตร เข้ากล้าม 2 ครั้ง ห่างกัน 3-12 สัปดาห์ โดยระยะห่าง 8-12 สัปดาห์ จะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ เพราะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า
.
ปัจจุบันวัคซีนโควิดที่ อย. รับรองสำหรับเด็กแบ่งเป็น 2 กลุ่มอายุ คือ
.
▪ กลุ่มเด็กอายุ 5-ไม่เกิน 12 ปี มีเพียงยี่ห้อเดียวคือวัคซีน Pfizer ฝาสีส้ม ขนาด 10 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม 2 โดส ห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์
▪ กลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ปีขึ้นไป มี 2 ยี่ห้อคือ วัคซีน Pfizer ฝาสีม่วง ขนาด 30 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม 2 โดส ห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และวัคซีน Moderna ขนาด 100 ไมโครกรัม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการเฉพาะทางด้านเด็กและวัยรุ่น ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ดังนี้
.
▪ เด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer เป็นลำดับแรก เนื่องจากวัคซีน Moderna มีความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสูงกว่า Pfizer 2.6 เท่า หรือมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในอัตรา 8 ใน 1 ล้านโดสเมื่อเทียบกับ Pfizer ทั้งนี้วัคซีนชนิด mRNA มีความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในอัตราที่น้อยมาก
▪ เด็กและวัยรุ่นชายที่แข็งแรงดีอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3-12 สัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน จึงปรับคำแนะนำเดิมซึ่งเคยให้ฉีดเพียง 1 เข็ม และชะลอการฉีดเข็มที่ 2 ไว้ก่อน เป็นให้ฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3-12 สัปดาห์ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเพียงพอ และพบว่าการเว้นระยะห่างของเข็มที่ 2 เป็น 12 สัปดาห์ จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ดังนั้นในพื้นที่ที่มีการระบาดสูงควรให้เว้นระยะห่างแคบกว่าพื้นที่ที่มีการระบาดไม่มาก ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาอาการข้างเคียงลงไปได้ด้วย
▪ เด็กอายุ 5-ไม่เกิน 12 ปี ให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer สูตรสำหรับเด็ก (ฝาสีส้ม) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 21 วัน และไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนสูตรสำหรับผู้ใหญ่ (ฝาสีม่วง) มาแบ่งขนาด 1 ใน 3 เพราะจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างดี มีระบบรองรับและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเหมือนในประเทศอังกฤษ
▪ หากเด็กได้รับวัคซีน Pfizer ฝาสีส้ม (ขนาด 10 ไมโครกรัม) และมีอายุครบ 12 ปีหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ด้วยวัคซีนฝาสีม่วง (ขนาด 30 ไมโครกรัม) อย่างไรก็ตามหากได้รับเข็มที่ 2 ขนาด 10 ไมโครกรัม ก็ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับวัคซีนครบถ้วนและไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำ
สำหรับเด็กที่เคยติดโรคโควิด แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม โดยเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนเมื่อหายดีจากโรคโควิด
▪ ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำในระดับปานกลางถึงรุนแรง ควรพิจารณาฉีดวัคซีนชนิด mRNA อีก 1 เข็ม (รวมเป็นการฉีดวัคซีนปฐมภูมิ 3 เข็ม) โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ภายหลังการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่กำลังได้รับยารักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกภายใน 2 ปีหรือยังได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีระดับ CD4
จันทร์ | 08:00 - 16:00 |
อังคาร | 08:00 - 16:00 |
พุธ | 08:00 - 16:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 16:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 16:00 |
เรียนดี มีวินัย สร้างเสริมพลานามัย เชิดชูคุณธรรม
โรงเรียนบ้านทุ่งกล้วย เครือข่ายแม่
โรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ (ชุมชน 1)
เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัย