สวท.เพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคเหนือ AM 549KHz

สวท.เพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคเหนือ AM 549KHz

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคเหนือ AM 549 KHz.

27/06/2023

รายการข่าวสารล้านนา ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา16.10-17.00 น. ทางคลื่น AM 549 KHz

26/06/2023

รายการข่าวสารล้านนา ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา16.10-17.00 น. ทางคลื่น AM 549 KHz

22/06/2023

รายการเท่าทัน ป้องกันภัย 22 มิ.ย. 2566
#เพราะเรื่องภัยเป็นอะไรที่ใกล้ตัว
#สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัยภาคเหนือ

15/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (78) จ.ตราด (57)
จ.กาญจนบุรี (47) จ.พิษณุโลก (42) จ.เลย (22) จ.พระนครศรีอยุธยา (12)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,874 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,459 ล้าน ลบ.ม. (52%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

+ พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ. แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงาน และกระบี่

+ กองทัพเรือร่วมกับสำนักงานกรุงเทพมหานคร พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือดำเนินการขุดลอกดินเลนท้องคลอง พัฒนาทำความสะอาดกำจัดวัชพืชและขยะสิ่งปฏิกูล กีดขวางทางน้ำในคลอง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดและคัดแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะลงคลอง เพื่อลดมลพิษทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

+ นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่า ปัจจุบันภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติของฤดูฝน 5% โดยขณะนี้ปรากฎการณ์เอนโซยังมีสถานะเป็นกลาง และคาดว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ในช่วงเดือน ก.ค. นี้
ปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวนาปี 2566 ไปแล้วประมาณ 6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นราว 35% ของแผนการเพาะปลูกทั้งหมด และในส่วนของการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังปี 2565/66 ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ขณะนี้มีจำนวน 9 ทุ่ง ที่เก็บเกี่ยวแล้ว 100% โดยเหลือเพียงทุ่งโพธิ์พระยาที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว 80% โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งกรมชลประทานจะติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้มีบางพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือ โดยเน้นย้ำให้มีการติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมรายงานผลการแก้ไขปัญหาให้คณะทำงานฯ ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในระยะยาว เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำในสภาวะเอลนีโญให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมถึง กอนช. จะมีการประชุมเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำเป็นประจำในทุกวันอังคารของสัปดาห์ ตามข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. และจะมีการแถลงข่าวผลการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยจะเริ่มต้นในวันอังคารที่ 20 มิ.ย. นี้

Photos from สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการเรียนรู้และเตือนภัยภาคเหนือ's post 15/06/2023
14/06/2023
14/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.ปัตตานี (80) จ.นครนายก (53) จ.อุบลราชธานี (39) จ.กาญจนบุรี (38) จ.แม่ฮ่องสอน (30) จ.นนทบุรี (25)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,950 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,533 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่บางปะกงค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการ
อันเนื่องมาจากประราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2556 โครงการสายใยรัก บ้านลำพันบอง ต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไทร จ.สุพรรณบุรี และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ บ้านทุ่ง หมู่ที่ 4 ต.ห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง
จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
+พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
+กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พร้อมเน้นย้ำทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดน้ำ
กรมชลประทาน ยืนยันว่าปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปัจจุบัน อยู่ในเกณฑ์เพียงพอสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดฤดูฝนนี้ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมใจกันประหยัดน้ำ โดยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ให้ติดตามสถานการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิด ยึดหลัก 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566
สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่13 มิ.ย. 66 มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 138 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 14%
ของความจุอ่างฯ มีการระบายน้ำ (Outflow) เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ด้านท้ายประมาณวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ได้มีการติดตามปรากฎการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิด มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน
ปี 2566 และปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการทำนาปี ส่วนน้ำ
ที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และเสริมน้ำฝนเพื่อการเกษตรเท่านั้น จากการคาดการณ์ของกรมชลประทาน
โดยใช้ข้อมูลฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรณีใช้ค่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ย คาดว่าปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน 100 % หรือเต็มความจุอ่างฯที่ 960 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอ ต่อความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งปีหน้า

13/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (92) จ.หนองคาย (79) จ.ระนอง (75) จ.เพชรบูรณ์ (36) จ.ปทุมธานี (33) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (23)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,029 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,613 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่กลองค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินงานเครือข่ายการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าน้ำท่วมฉับพลัน-ดินถล่ม (Early Warning) ประจำปีงบประมาณ 2566 ในพื้นที่ชุมชนบ้านอีพุ่งใหญ่ ม.4 ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี พร้อมกับได้สอบถามข้อปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะที่ทางชุมชนต้องการให้ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม เกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ตลอดจนความช่วยเหลือที่ต้องการได้รับหากเกิดภัยพิบัติขึ้น ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดกลับมาวิเคราะห์
เพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ต่อไป
+พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก / ดินถล่ม
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
+พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่เพชรบูรณ์ เร่งรัดการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างฯคลองลำกง พร้อมกำชับทุกหน่วยงานรับมือน้ำท่วม-ฝนทิ้งช่วง
วานนี้ (12 มิ.ย. 66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 และความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่
จ.เพชรบูรณ์ ร่วมกับ นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ต.วังท่าดี อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ พร้อมพบปะส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่
โดยมอบนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วและกำลังจะเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญด้วย ซึ่งอาจทำให้ในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งสถานการณ์อุทกภัยและสภาวะฝนทิ้งช่วง
จึงขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66
อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการเตรียมแหล่งน้ำสำรองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์ให้กับเครือข่าย
ภาคประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนการลงพื้นที่ในวันนี้
ได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง โดยมอบให้กรมชลประทานเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้กว่า 50,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ใน อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ได้แก่ ต.ท่าแดง ต.วังท่าดี ต.วังโบสถ์ ต.บ่อไทย และให้พิจารณาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติด้วย

12/06/2023
12/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (120) จ.ระนอง (88) จ.สกลนคร (88) จ.สุโขทัย (68) จ.กาญจนบุรี (31) และ จ.สระบุรี (18)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,080 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,673 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง และแม่กลองค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พิษณุโลก ตาก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สถกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาการ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และนราธิวาส
+ สทนช. ติดตามความคืบหน้าแผนบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชี พร้อมเน้นย้ำรับมือสถานการณ์เอลนีโญ
เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามความก้าวหน้าผลการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จากผลการศึกษาพบว่า มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งประมาณ 7.47 ล้านไร่เนื่องจากมีปริมาณน้ำเก็บกักรวม 2,478 ล้าน ลบ.ม. มีความต้องการใช้น้ำ 3,370 ล้าน ลบ.ม./ปี ทำให้ขาดแคลนปริมาณน้ำ 504 ล้าน ลบ.ม/ปี ในขณะที่ฤดูฝนมีปริมาณน้ำส่วนเกินที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมประมาณ 440 ล้าน ลบ.ม./ปี ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมากกว่า 1.31 ล้านไร่
ทั้งนี้ มีแผนงานโครงการที่ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งสอดคล้องตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยแบ่งแผนงานการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะกลาง (ปี 2568-2570 และระยะยาว (ปี 2571-2580) จำนวน 2,978 โครงการ โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 1,250 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 998,000 ไร่ ลดปริมาณน้ำหลากได้ 207 ล้าน ลบ.ม. ทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 684,000 ไร่ เติมน้ำให้แหล่งน้ำขนาดเล็กตลอดสองฝั่งลำน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง 1,348 แห่ง รวมทั้งมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 28 แห่ง

11/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ขอนแก่น (94) จ.ระนอง (81) จ.ลำปาง (57) จ.กาญจนบุรี (25) จ.สุพรรณบุรี (18) และ จ.จันทบุรี (18)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,134 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,728 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ดำเนินการโครงการปรับปรุงขยายระบบผลิตน้ำโพธาราม จ.ราชบุรี ตามแผนโครงการปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาสมุทรสาคร–นครปฐม จากเดิม 4,000 เพิ่มเป็น 6,000 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้บริการน้ำประปาในพื้นที่และรองรับการเติบโตของชุมชนเมืองภาคอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี และสมุทรสงคราม
+ วันที่ 9 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.ภาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา
+ สทนช. ร่วมแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ เร่งช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ-พื้นที่อุทกภัย
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 ประชุมเตรียมการประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการและบริหารจัดการลุ่มน้ำบางปะกง กรณีแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปลานิลชลบุรี ลุ่มน้ำบางปะกง โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้ 1)กรมชลประทานดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมสถานีสูบน้ำสาวชะโงกพร้อมท่อลอดและระบบส่งน้ำ พร้อมวางแผนการบริหาร จัดการน้ำบริเวณรอยต่อโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางปะกง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองหลวงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองสียัด โครงการพานทอง(โครงการชลประทานชลบุรี) (พื้นที่แปลงใหญ่ปลานิล) 2) สทนช.ภาค 2 จัดประชุมดำเนินการเชื่อมระบบส่งน้ำบริเวณจุดหน้าวัดเนินตามาก
ต.โคกเพลาะ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ร่วมกับผู้แทนกรมชลประทานองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน และผู้แทนผู้ใช้น้ำในพื้นที่ พร้อมประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบริหารจัดการประตูระบายน้ำบริเวณคลองหลวง (คลองธรรมชาติ)
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 ร่วมประชุมหารือกำหนดแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ ต.ท่าข้าม ต.ทุ่งใหญ่ ต.น้ำน้อย
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อรับทราบถึงสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ โดยปัจจุบันกรมชลประทานอยู่ระหว่างการศึกษาเบื้องต้นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะเสนอโครงการให้มีการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาต่อไป

09/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ระนอง (113) จ.กำแพงเพชร (73) จ.สระแก้ว (46) จ.สกลนคร (36) จ.กาญจนบุรี (31) และจ.สระบุรี (26)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,296 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,883 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

+ วันที่ 9 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และแม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออก จ. ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา

+ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของ "โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศขนาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562" ณ โรงเรียนวัดวรจันทร์ หมู่ที่ 3 ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำที่ กอนช. ได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อชี้เป้าพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนป้องกันและช่วยเหลือประชาชนคู่ขนานไปกับการสร้างการรับรู้ให้กับเครือข่ายภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง และยังต้องดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 อย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วมที่จะมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยด้วยเช่นกัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานดำเนินการดังนี้
• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดติดตามความก้าวหน้าผลการพิจารณาการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายจากการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองโดยเร็ว
• กรมชลประทานร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการใช้น้ำ
• กรมชลประทาน ประชาสัมพันธ์แผนการส่งน้ำ จัดรอบเวรการส่งน้ำ ตามปริมาณน้ำที่ได้รับการจัดสรร เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และใช้น้ำฝนเป็นหลัก ควบคุมพื้นที่การเพาะปลูกให้เป็นไปตามแผน
• กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเตรียมแผนขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วง และใช้รองรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ต่อไป

08/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ (109) จ.ระนอง (102) จ.น่าน (99) จ.ตราด (68) จ.ลพบุรี (55) และ จ.กาญจนบุรี (27)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,340 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,945 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ กรมชลประทาน เร่งส่งรถบรรทุกน้ำ พร้อมเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำและขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสวนทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหา
ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ต.ช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก ต.สวนแตง อ.ละแม และต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
+ วันที่ 9 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.ภาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา
• + เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในเขตพื้นที่มรดกโลก กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสุพร ตรีนรินทร์ รองเลขาธิการ กปร. เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้เน้นย้ำให้พิจารณาประเด็นการพัฒนาที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนการคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องด้วย
• วานนี้ (7 มิ.ย. 66) นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองหมายเลข 3 (คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว) จ.ปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 เพื่อรับทราบแผนการดำเนินงานในพื้นที่คลองหมายเลข 3 ที่ผ่านมา และพิจารณากรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดทำร่างแผนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองหมายเลข 3 จังหวัดปทุมธานี เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในคลองตลอดทั้งสาย ให้สามารถระบายน้ำท่วมขังได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และลดผลกระทบการเดินทางสัญจรของประชาชน

07/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ปราจีนบุรี (212) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (147) จ.ลำปาง (89) จ.อุบลราชธานี (77) จ.ระนอง (74) และ จ.ปทุมธานี (39)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,412 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,022 ล้าน ลบ.ม. (52%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง ตรวจสอบระบบจ่ายไฟฟ้าของระบบสูบน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้องที่อาจเกิดขึ้น ณ สถานีสูบน้ำพระโขนงและสถานีสูบน้ำอุโมงค์พระโขนงและเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้องให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถบริหารจัดการการระบายน้ำในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
+ ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ วันที่ 8 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา
+ วานนี้ (6 มิถุนายน 2566) นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารทรัพยากรน้ำโดยใช้ฝายแกนดินซีเมนต์ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อชุมชน ด้วยฝายแกนดินซีเมนต์ แนวทางการออกแบบฝายแกนดินซีเมนต์และการทดสอบ แนวทางการก่อสร้างและการขออนุมัติ และการวิจัยคุณลักษณะฝายแกนดินซีเมนต์สำหรับการแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งพิจารณาหลักเกณฑ์ฝายแกนดินซีเมนต์ และกรอบระยะเวลาดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินการบริหารทรัพยากรน้ำโดยใช้ฝายแกนดินซีเมนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน สอดคล้องกับหลักวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำในอนาคต สำหรับให้ภาคประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่สนใจได้นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ได้อย่างเหมาะสม อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตในทุกภาคส่วน ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ตามเป้าหมายในแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ต่อไป

06/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักมากบริเวณ จ.แพร่ (143) จ.หนองคาย (87) จ.กระบี่ (78) จ.ตราด (70) จ.กาญจนบุรี (21) จ.พระนครศรีอยุธยา (12)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,495 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,102 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบน้ำบาดาลน้ำดื่มสะอาดบรรจุขวด ขนาด 350 มิลลิลิตร จำนวน 1000 ขวด ให้แก่เทศบาลจอมแจ้ง
ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อนำไปบริการให้กับประชาชน
ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มเร่งด่วน
+ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
วันที่ 7 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา
+กอนช. ติดตามหน่วยงานช่วยเหลือชาวสวนทุเรียน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จากสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ส่งผลกระทบให้สวนทุเรียนที่ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ
กรมชลประทาน ได้นำรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่าย และเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ เข้าไปขุดลอกแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ เพื่อให้ผลผลิตทุเรียนไม่ได้รับความเสียหายในพื้นที่ จ.ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ยังคงดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ได้ส่งรถบรรทุกน้ำไปแล้ว 15 คัน นำน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องเกษตรกร รวมทั้งประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ ยังได้ส่งรถขุด 7 คัน รถบรรทุก รถเทรลเลอร์และรถเครนอย่างละ 2 คัน เพื่อขุดลอกแหล่งน้ำในพื้นที่ 2 จังหวัด เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งมาตรการต่างๆจะดำเนินการไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนออกจำหน่ายได้ โดยผลผลิตไม่ได้รับความเสียหาย ส่วนพื้นที่ จ.เพชรบุรี ได้มีการนำรถแบคโฮ 2 คัน เข้าไปช่วยเหลือสวนทุเรียนที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง ด้วยการขุดลอกตะกอนอ่างเก็บน้ำห้วยเกษม
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อขยายน้ำซึมน้ำซับ ส่งให้ชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าว ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร จนกว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายได้

05/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักมากบริเวณ จ.ศรีสะเกษ (100) จ.เชียงใหม่ (60) จ.ระนอง (54) จ.นครนายก (16)
จ.สระบุรี (10) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (10)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,604 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,206 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ กรมกรมชลประทาน ได้จัดส่งรถบรรทุกน้ำ เข้าไปแจกจ่ายน้ำให้
กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งได้ดำเนินการมา
ตั้งเเต่วันที่ 11 เม.ย. 66 ถึงปัจจุบัน ได้ให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำไปแล้ว จำนวน 79 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 948,000 ลิตร และจะช่วยเหลือไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
+กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 5/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. พบว่าประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 7 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
1. ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จ.ลำพูน
(อ.ทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จ.แพร่ (อ.เด่นชัย) จ.พิจิตร (อ.บางมูลนาก) จ.อุตรดิตถ์ (อ.ฟากท่า) จ.นครสวรรค์ (อ.บรรพตพิสัย) จ.เพชรบูรณ์
(อ.วิเชียรบุรี) จ.อุทัยธานี (อ.หนองขาหย่าง)
2. ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา (อ.บ้านโพธิ์) จ.สระแก้ว (อ.วัฒนานคร) จ.ชลบุรี (อ.พานทอง) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง)
จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จ.ตราด (อ.เกาะกูด
เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่)
3. ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน)
จ.สตูล (อ.ละงู) จ.ยะลา (อ.รามัน)
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำหรือพื้นที่ชุมชนเมือง
ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เตรียมแผนรับสถานการณ์
น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่ง
กีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อม
ให้ความช่วยเหลือได้ทันที

04/06/2023

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ปัตตานี (128) จ.จันทบุรี (108)
จ.เชียงราย (53) จ.นครพนม (51) จ.พระนครศรีอยุธยา (25) และจ.กาญจนบุรี (20)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,705 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,299 ล้าน ลบ.ม. (54%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

+ พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง

+ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอเขาค้อ นำเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกลสูบน้ำจากลำน้ำเข็กเข้าสู่สระประปา หมู่ที่ 10 ตำบลหนองแม่นา จำนวน 2 สระ และขณะนี้ได้ขยายสายสูบน้ำระยะทาง 1,200 เมตร ไปยังสระประปา หมู่ที่ 8 ตำบลหนองแม่นา เดินเครื่องสูบน้ำสูงสุด 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

+ กอนช.ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และได้ประเมินคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนโดยใช้ฝนคาดการณ์ ONEMAP รายเดือนกรณีค่าต่ำสุด เมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ย.66 พบว่า ทุกภาคมีปริมาณน้ำน้อยกว่าน้ำต้นทุน ปี 2565 โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีปริมาณน้ำร้อยละ 60 -70 ส่วนภาคกลาง ร้อยละ 50 และภาคใต้ ร้อยละ 80
กอนช. ยังได้คาดการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงน้อย (ปริมาตรน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บต่ำสุด Lower Rule Curve) พบว่ามีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ อ่างฯ แม่มอก ภาคกลาง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันตก อ่างฯปราณบุรี และภาคตะวันออก อ่างฯ คลองสียัด
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าฤดูฝนปี 2566 จะมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 - 10 และช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรได้
ทั้งนี้ กอนช.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนนี้ และฤดูแล้ง 2566/67 เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริษัท สื่อ ใน Lampang?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

รายการข่าวสารล้านนา 27 มิถุนายน 2566
รายการข่าวสารล้านนา 26 มิถุนายน 2566
รายการข่าวสารล้านนา 16 มีนาคม 2566
👨‍⚖️🇹🇭ครม.เห็นชอบหลักการการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” โดยสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนให้กับมูลนิธิรัฐบุ...
🕵️👮‍♀️กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบแรงงานต่างด้าว “แย่งอาชีพคนไทย”  หาก ประชาชนพบเห็นคนต่างด้าว “ทำงานนอกเหนือสิทธิ” หรือ พบ...
รายการข่าวสารล้านนา 15 มีนาคม 2566
หลอกขายของออนไลน์
🤔🤗🇹🇭ประเทศไทย...ศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอาเซียน🇹🇭
ครม.เห็นชอบลดอัตราค่าไฟฟ้า  ไฟบ้านไม่เกิน 300 หน่วย มกราคม - เมษายน 2566         ช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเปร...
การบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
รายการ ข่าวสารล้านนา วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 ดำเนินรายการโดย ดีเจ ..สุวิภา แปงการิยา
รายการเท่าทัน ป้องกันภัย 10 มี.ค.2566

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

ที่อยู่


224 หมู่ 2 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ต. ปงยางคก อ. ห้างฉัตร
Lampang
52190

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30
สถานีวิทยุ อื่นๆใน Lampang (แสดงผลทั้งหมด)
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง FM 106.50 MHz สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง FM 106.50 MHz
วัดบุญวาทย์วิหาร
Lampang

สถานีวิทยุ FM 106.50 MHz สถานีวิทยุวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ออกอากาศทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 น. - 22.00 น.

Hitzfm Thailand Hitzfm Thailand
1069/6-7 ม. 1 ต. พระบาท
Lampang, 52000

สถานีวิทยุที่มีคนฟังมากที่สุดใน จ.ลำปาง และ จ.ราชบุรี

ลีลาลำปาง FM 101.00 MHz ลีลาลำปาง FM 101.00 MHz
ไฮเวย์ลำปาง-งาว
Lampang, 52000

สื่อโฆษณาครบวงจร 086-429-2159 ห้องบันทึกเสียง ลีลาลำปาง โอ๊กปริญญา โรตีกรอบ

Lpruradio Lpruradio
ลำปาง-แม่ทะ
Lampang, 52100

ราชภัฏเรดิโอ FM 105.5 MHz วิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Lovefm Thailand Lovefm Thailand
1069/6/7
Lampang, 52000

107 Love fm FeelGood "ฟังแล้วรู้สึกดี"

AIR TIME Studio AIR TIME Studio
Lampang, 52000

สถานวิทยุออนไลน์GoodFeelingStation ติดต่อโฆษณา