P2K Samui Law & Business/สำนักงานทนายความ พี
ตำแหน่งใกล้เคียง การปฏิบัติตามกฎหมาย
84320
Bangkok
Bophut, Amphoe Ko Samui
Amphoe Koh Sa-mui 84320
Bangkok
Koh Samui, Surat Thani
Amphoe Koh Sa-mui 84320
Ban Taling Ngam 84140
Suratthani, Amphoe Koh Sa-mui
ต. บ่อผุด อ. เกาะสมุย จ. สุราษฏร์ธานี, Surat Thani
Bophut, Amphoe Koh Sa-mui
Amphoe Koh Sa-mui 84320
Amphoe Ko Samui 84320
Amphoe Koh Sa-mui
ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท เงินทุน
Amphoe Ko Samui 84320
, Amphoe Koh Sa-mui
T. Bophut, Amphoe Koh Sa-mui
Ban Taling Ngam 84330
Chaweng Beach
Thaveeratpakdee Road, Amphoe Koh Sa-mui
ตำแหน่งใกล้เคียง นักบัญชี
Amphoe Koh Sa-mui 84320
Amphoe Koh Sa-mui
- ทนายความเกาะสมุย
- LAWYER KOH SAMUI
- NOTARIAL SERVICES ATTORNEY

สำนักงาน P2K Samui Law & Business หยุด 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 10-17 มกราคม 2566 นะคะ เป็นการหยุดชดเชยปีใหม่สำหรับการทำงานหนักของปี 2565
We are going to vacation 7 days 10-17 Jan 2023😁,for saving power to fight this year and come to help our lovely friends 🥰,see ya 🚗🚗🚗
เลขที่ฎีกา 1212/2536 ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ทั้งสี่นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยาน
เอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้น
เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลย
จะเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการที่เจ้าของที่ดินพิพาทได้มอบการครอบครอง
ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ซื้อแล้ว จึงเป็นการโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้
ซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ทั้งสี่นำพยานบุคคลมาสืบถึงสิทธิดังกล่าวในที่
ดินพิพาทจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94


Notary Service 📄📝

Thanks our nice customer to visiting us for notary service
#public#stamp#attorney#samui

คดีเช่าซื้อ ค้ำประกัน โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิด เป็นเงินจำนวน 1,913,592 บาท คดีเช่นนี้เอ็นดูผู้ค้ำประกัน แต่กฎหมายมีความยุติธรรม ผู้ค้ำประกันจึงรับผิดเพียง 5,600 บาท โดยที่ผู้เช่าซื้อใช้รถฟรีเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี คดีเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นนี้ ควรปรึกษาทนายความ บางเครสอาจไม่ต้องรับผิด บางเครสต้องรับผิดตามความเสียหายจริง
คดีนี้ได้ไปเที่ยวอิสานใต้และได้ช่วยเหลือลูกความด้วย ประสบการณ์ระหว่างทางมีค่ากว่าสิ่งอื่นใด
#สำนักงานทนายความพีทูเคสมุยลอว์แอนด์บิสซิเนส

ฎีกา InTrend ep.60 อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนแล้วแอบขนทรัพย์สินในกิจการที่ทำร่วมกันไปเป็นคว
ฎีกา InTrend ep.60 อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนแล้วแอบขนทรัพย์สินในกิจการที่ทำร่วมกันไปเป็นคว The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรมGuest Host : สรวิศ ลิมปรังษีที่ปรึกษา : อัครพันธ์ สัปปพันธ์, อร....

P2K Samui Law & Business/สำนักงานทนายความ พีทูเค สมุย ลอว์ แอนด์ บิสซิเนส updated their phone number.

ผู้เช่าซื้อทำสัญาเช่าซื้อรถยนต์ก่อนปี 2557 (ก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ) ต่อมาผู้เช่าซื้อไม่สามารถผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาได้ จึงทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จากเดิมผ่อน 72 งวด ขยายเป็น 84 งวด โดยมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และผ่อนเวลาค่าเช่าซื้อดังกล่าว ผู้ค้ำประกันไม่รู้เห็นยินยอมด้วย เช่นนี้จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากภาระหนี้ตามสัญญาหรือไม่ อย่างไร
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2562
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 18 บัญญัติว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสัญญาที่ทำไว้ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่กรณีที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นมีเพียงตามมาตรา 19 ที่บัญญัติถึงกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับว่า สิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามมาตรา 686 ที่แก้ไขเพิ่มเติม กับมาตรา 20 ที่บัญญัติว่า กรณีที่เจ้าหนี้กระทำการใด ๆ นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ที่มีการค้ำประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น ให้ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นตามที่บัญญัติในมาตรา 691 ที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่รวมถึงมาตรา 681/1 ที่กำหนดให้ข้อตกลงที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะไว้ด้วย ดังนั้น ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบกับผู้เช่าซื้ออย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกันจึงยังคงใช้บังคับได้
ข้อความตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่าซื้อไม่มีลักษณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 แสดงออกถึงเจตนาจะให้สัญญาเช่าซื้อเดิมระงับ และจำนวนค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าซื้อคงเหลือจากที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ผ่อนชำระตามสัญญาเดิมและไม่มีการส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนก่อนทำสัญญาใหม่ จึงเป็นเพียงการผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ที่โจทก์ให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดชำระซึ่งเดิมกำหนด 72 งวด เป็น 84 งวด อันมีผลให้ระยะเวลาที่จำเลย 1 ต้องผ่อนชำระค่าเช่าซื้อทอดยาวกว่าเดิม มีลักษณะของการที่เจ้าหนี้ยอมขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีข้อตกลงว่า หากธนาคารได้ผ่อนเวลาชำระหนี้ หรือผ่อนผันการชำระหนี้ ... ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมด้วยทุกครั้งแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติตามมาตรา 700 วรรคหนึ่ง (เดิม) ดังนั้น แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ไม่หลุดพ้นความรับผิด ส่วนความในวรรคสองของมาตรา 700 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) นั้น เมื่อมาตรา 18, 19 และ 20 ไม่ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 700 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย กับทั้งมาตรา 691 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังบัญญัติว่า ข้อตกลงที่เจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำขึ้นภายหลังลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว แม้จะมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการผ่อนเวลาด้วย ดังนั้น การทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเพราะเหตุผ่อนเวลา ส่วนที่สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่าซื้อมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอันมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ค้ำประกันตามมาตรา 691 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติม นั้น ก็มีผลเพียงให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะเท่านั้น ข้อตกลงอื่นสามารถแยกออกจากส่วนที่ไม่เป็นโมฆะได้ตามมาตรา 173 จำเลยที่ 2 จึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว


ฎีกาเล่าเรื่อง 634
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทในขณะเป็นที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง แม้มีข้อกำหนดห้ามโอนตามกฏหมาย ทำให้การโอนตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินเรื่อยมาอันเป็นการยึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครองนับแต่วันครบกำหนดห้ามโอน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินดังกล่าวไปขอออกโฉนดย่อมเป็นการขอออกโฉนดโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อจากจำเลยที่ 1 แม้จะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530 / 2563
โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเนื่องมาจากการซื้อที่ดินพิพาทจาก ห. ตั้งแต่ปี 2533 แล้วและที่ดินพิพาทขณะนั้นเป็นเพียงที่ดินมีสิทธิครอบครองการซื้อขายย่อมสมบูรณ์เพียงมีการส่งมอบการครอบครอง ตามป.พ.พ. มาตรา 1378 แม้ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี ตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12 นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2533 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฏหมาย มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนคือ นับแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นไปซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดิน จึงเป็นการขอออกโฉนดที่ไม่ชอบ ฉะนั้นแม้จะมีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่

#ตั๋วเงิน
#ออกเช็คโดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัท
#กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
📖 คำพิพากษาฎีกาที่ 1736/2564
"จำเลยที่ 1 (บริษัทจำกัด) ตกลงออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้ในวันเดียวกันนั้น ประกอบกับเช็คพิพาทก็ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้านบนซ้ายอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้โจทก์เข้าใจไปได้ว่า การที่จำเลยที่ 3 ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คนั้น เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว แม้ในเช็คดังกล่าวจะไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ แต่กรณีก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 3 ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น อันเป็นการออกเช็คในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่จำเป็นต้องระบุหรือเขียนแถลงว่าเป็นการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ มาตรา 901 อีก เพราะเป็นที่ชัดเจนอยู่ในตัวเช็คนั้นแล้วว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยเป็นผู้กระทำการแทน เมื่อต่อมาเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิดตามเช็คนั้นต่อโจทก์"

#หมิ่นประมาท
#นินทาผ่านไลน์กลุ่ม
#กฎหมายอาญา
.
⚖️ คำพิพากษาฎีกาที่ 1612/2564
“ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่ #จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคล #ซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์นี้เท่านั้น #จึงยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326”

#นิติกรรมอำพราง
#สัญญาซื้อขายอำพรางสัญญาขายฝาก
#กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
.
⚖️ คำพิพากษาฎีกาที่ 2711/2544
“โจทก์จำเลยเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทที่ทำกันไว้ #สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง #ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาขายก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสอง และมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยโจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์”

ฎีกา InTrend ep.38 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้
ฎีกา InTrend ep.38 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้ ฎีกา InTrend ep.38 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่The Host : ก....

Photos from Reab Prosecutor's post

Photos from ฎีกาสายย่อ's post

Photos from สอบผู้ช่วยผู้พิพากษา's post

– LAWYER
– CONSULTION AND LEGAL PROCEEDINGS CIVIL/CRIMINAL
– REGITTTIMATION OF CHILD
– NOTARIAL SERVICES ATTORNEY
– BUSINESS
– CONTRACTS
– ACCOUNTING
– COMPANY REGISTRATION
– REGISTRATION OF LAND
– PROPERTY
– DUE DILIGENCE
– VISA
– WORK PERMIT
– OTHER LEGAL SERVICE
– ทนายความ
– ให้คำปรึกษาและว่าความอรรถคดี ทั้งทางแพ่ง/ทางอาญา
– รับรองบุตร
– บริการรับรองลายมือชื่อ
– ธุรกิจ
– สัญญา
– การบัญชี
– จดทะเบียนบริษัท
– จดทะเบียนที่ดิน
– อสังหาริมทรัพย์
– หนังสือเดินทาง
– ใบอนุญาตทำงาน
– บริการทางกฎหมายอื่นๆ
Tel : +66 (0) 88-999-8559 Thai
+66 (0) 80-696-6657 EN
E-Mail : [email protected]
: [email protected]
ฎีกาที่ 4932/2561 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ชิงทรัพย์
คืนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้เสียหายเจรจาเรื่องหนี้สินกัน แล้วต่อมาจำเลยนำรถยนต์และกุญแจรถยนต์ของผู้เสียหายไป ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจยึดรถยนต์คันดังกล่าวได้จากร้านรับซื้อของเก่า รถยนต์ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการดัดแปลงเปลี่ยนสภาพ แสดงว่าจำเลยต้องการนำรถยนต์ไปเก็บไว้เป็นการประกันหนี้เพื่อให้ผู้เสียหายมาชำระหนี้คืนแก่จำเลย แต่การบังคับชำระหนี้คืนจากลูกหนี้มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนให้ฟ้องร้องดำเนินคดีและบังคับคดีไว้อยู่แล้ว หากจำเลยต้องการบังคับชำระหนี้จากผู้เสียหาย จำเลยย่อมจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่จำเลยนำรถยนต์ของผู้เสียหายไปเพื่อเป็นการ ประกันหนี้โดยพลการเช่นนี้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจใดๆ ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตแล้ว การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
การที่จำเลยตบศีรษะผู้เสียหายนั้น ไม่ได้ตบเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือให้ผู้เสียหายยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือเพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้แต่เป็นการตบศีรษะเพื่อบังคับให้ผู้เสียหายเขียนสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น การตบศีรษะผู้เสียหายกับการเอารถยนต์ผู้เสียหายไปจึงเป็นการกระทำที่แยกขาดจากกัน ไม่ใช่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้สะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป หรือให้ยื่นให้ทรัพย์นั้น หรือเพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ กระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา ๓๓๕ (๑) และทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายกายหรือจิตใจตาม ป.อ.มาตรา ๓๙๑ แยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจกับความผิดฐานลักทรัพย์ต่างเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่าง ซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้โดยละเอียดแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย นอกจากนี้ การกระทำของจำเลยกับพวกยังเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษหลายกรรม และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕
ตามฎีกานี้ ข้อเท็จจริงรถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ฮ. ลิสซิ่ง ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครอง
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๖๗๔/๒๕๕๔(ประชุมใหญ่) แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยกับพวกเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บและบังคับเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเท่าที่คิดว่าพอกับค่าจ้างที่ผู้เสียหายเป็นหนี้พวกจำเลยอยู่เท่านั้น ไม่ได้เอาทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีค่ามากไปด้วยก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริตแล้ว การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการร่วมกันปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๕ ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
มาตรา ๓๓๙ ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(๕) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงสองแสนบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา ๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้ สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึง สามแสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึง ยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ฎีกา InTrend ep.35 ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำแล้วขนไปไว้ที่บ้านจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
ฎีกา InTrend ep.35 ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำแล้วขนไปไว้ที่บ้านจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ฎีกา InTrend ep.35 ตัดต้นไม้ที่ปลูกรุกล้ำแล้วขนไปไว้ที่บ้านจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่The Host : กองสารนิเทศและป....

กฎหมายใกล้ตัว รอบรั้วศาลเยาวชน ep.2 ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย
กฎหมายใกล้ตัว รอบรั้วศาลเยาวชน ep.2 ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย กฎหมายใกล้ตัว รอบรั้วศาลเยาวชน ep.2ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายThe Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาล...
ชักชวนให้เล่นการพนัน

บริการ ด้านกฎหมาย ทนาย เกาะสมุย ยินดีให้บริการ
สนใจติดต่อสอบถาม ข้อมูลตามบัตรด้านล่างได้เลยค่ะ

👉 ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินไป จะผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้หรือไม่??
.
หากเราเป็นเจ้าหนี้ แน่นอนว่าเราต้องการให้ได้รับชำระหนี้ที่ค้างอยู่ แต่การที่จะเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาบังคับชำระหนี้ให้ครบถ้วนก็มักประสบปัญหาอยู่เสมอ การกระทำลักษณะหนึ่งของลูกหนี้คือการที่อาจจะโอนทรัพย์สินของตนไปให้บุคคลอื่น ทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้กับทรัพย์สินนั้นได้ การกระทำทำนองนี้มีปัญหาที่ต้องคิดอยู่เสมอทั้งในฝั่งลูกหนี้และเจ้าหนี้คือจะเข้าข่ายการกระทำความผิดอาญาที่เรียกว่า “โกงเจ้าหนี้” หรือไม่ ปัญหาที่จะนำมาพูดคุยในตอนนี้เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินผืนหนึ่งของตนแล้วนำไปโอนขายต่อให้บุคคลอื่นจะถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือไม่
.
นางไก่เป็นหนี้เงินกู้อยู่กับนางบัวจำนวน 2,000,000 บาท เมื่อนางไก่ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด นางบัวจึงฟ้องนางไก่เป็นจำเลย แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าว นางไก่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนางบัวได้และขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม แต่ปรากฏว่านางไก่ก็ยังไม่ชำระหนี้ตามเงื่อนไขของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอีก นางบัวจึงได้ดำเนินการบังคับคดีและได้ยึดที่ดินผืนหนึ่งของนางไก่ออกขายทอดตลาด แต่ยังได้เงินมาชำระหนี้ไม่ครบถ้วน
.
นอกจากที่ดินผืนดังกล่าว นางไก่ยังมีที่ดินอีกผืนหนึ่ง แต่ที่ดินผืนที่สองนี้ติดจำนองอยู่กับธนาคาร โดยมีวงเงินจำนอง 1,000,000 บาท ต่อมานางไก่ได้ไปขอไถ่ถอนจำนองที่ดินผืนดังกล่าวจากธนาคารโดยชำระหนี้ส่วนที่ค้างจนครบจำนวน 900,000 บาท แล้วจดทะเบียนโอนขายไปให้แก่นางสายในราคา 1,000,000 บาทไปในวันเดียวกันกับที่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองนั้น เมื่อนางบัวทราบเรื่องจึงได้มาฟ้องนางไก่เป็นคดีอาญาอ้างว่าเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เพราะนอกจากที่ดินที่ขายไปแล้ว นางไก่ไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ได้อีกแล้ว
.
ในกรณีที่จะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น หากกล่าวโดยย่อคงจะพอบอกได้ว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปรากฏว่าคนที่เป็นลูกหนี้ได้ย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนไป หรืออาจจะแกล้งเป็นหนี้บางอย่างที่ไม่มีอยู่จริง โดยการกระทำของลูกหนี้รายนั้นต้องทำไปโดยมีเจตนาที่จะให้เจ้าหนี้ของตนไม่ได้รับชำระหนี้ที่มีอยู่ เจ้าหนี้รายดังกล่าวจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลซึ่งก็คือการที่จะไปฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ที่ค้างอยู่นั้น หากปรากฏพฤติการณ์ลักษณะนี้ การกระทำของลูกหนี้รายนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ที่อาจต้องรับโทษทางอาญาได้
.
ความเป็นเจ้าหนี้ของนางบัวในกรณีนี้คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะนางบัวเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีจนกระทั่งมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้นางไก่ชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อตกลงของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว นางบัวจึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
.
ปัญหาที่สำคัญคือ การที่นางไก่ไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายที่ดินผืนดังกล่าวให้นางสายไปนั้นจะถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนคือนางบัวได้รับชำระหนี้หรือไม่
.
หากเป็นทรัพย์สินปกติที่ไม่ได้ติดจำนองแล้วนางไก่โอนขายไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งขายไปในราคาต่ำกว่าราคาในท้องตลาด หรือโอนยกให้ลูกหลานหรือญาติพี่น้องไปเสียเลยอาจจะเห็นได้ไม่ยากว่ากรณีลักษณะดังกล่าวนี้เข้าข่ายที่ส่อไปในทางที่จะเป็นการโกงเจ้าหนี้ได้ไม่ยาก เพราะเมื่อโอนไปแล้วเจ้าหนี้ย่อมจะบังคับชำระหนี้ยึดเอาที่ดินดังกล่าวไปขายทอดตลาดเหมือนที่ดินผืนแรกที่ขายไปแล้วไม่ได้ทันที หากจะทำก็ต้องไปฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนโอนนั้นอีกซึ่งเพิ่มความยุ่งยากและเสียเวลาอีกมาก
.
กรณีที่เป็นจุดสำคัญของคดีนี้คงเป็นการที่ที่ดินผืนที่สองนี้เป็นที่ดินที่นางไก่จดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคาร ซึ่งตามปกติในแนวปฏิบัติธนาคารอาจจะเก็บโฉนดหรือเอกสารสิทธิของที่ดินไว้ที่ธนาคาร การจะไปจดทะเบียนทำนิติกรรมอะไรเกี่ยวกับที่ดินผืนนั้นก็ทำได้ยากโดยสภาพอยู่แล้ว แต่ประการสำคัญคือการที่ที่ดินติดจำนอง แม้นางบัวจะยึดที่ดินผืนนี้ไปขายทอดตลาด ตามกฎหมายแล้วเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ต้องนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จำนองก่อนที่จะชำระให้แก่นางบัวที่เป็นเจ้าหนี้สามัญที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ เมื่อดูจากจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการไถ่ถอนและราคาที่ขายแล้วก็ใกล้เคียงกัน หากขายทอดตลาดก็อาจได้เงินไม่ต่างจากราคานี้เท่าใด สุดท้ายก็คงไม่มีเงินเหลือไปถึงนางบัวอยู่ดี
.
ในการไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนขายในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าทำไปในวันเดียวกันซึ่งก็คงเป็นธุรกรรมปกติที่เงินที่นางไก่ใช้ในการไถ่ถอนจำนองก็คือเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้แก่นางสายนั่นเอง ไม่ใช่เงินที่นางไก่มีอยู่มาก่อนแล้ว ทำให้การจดทะเบียนทั้งไถ่ถอนจำนองและการขายจึงทำไปในคราวเดียวกัน เพราะคนขายก็ย่อมต้องรอให้พร้อมที่จะจดทะเบียนโอนได้ก่อนจึงจะยอมจ่ายเงินให้ จำนวนเงินที่ไถ่ถอนจำนองและราคาขายที่ดินก็เป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ไม่มีข้อเท็จจริงที่บ่งชี้อะไรว่าราคาที่ขายนั้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แม้จะมีส่วนต่างอยู่บ้าง แต่ตามปกติของการซื้อขายก็อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นเช่นการเสียค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมการโอน ด้วยเหตุนี้เอง การไถ่ถอนจำนองและการจดทะเบียนโอนขายในกรณีนี้ของนางไก่จึงเป็นเพียงการขายที่ดินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามปกติ ไม่ถือว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้ที่จะมีความผิดอาญา
.
แม้ในกรณีนี้จะไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้ แต่สำหรับผู้ที่เป็นลูกหนี้ก็คงต้องเป็นข้อที่ต้องระวังเช่นกัน หากรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้กำลังจะดำเนินการบังคับชำระหนี้หรือได้ดำเนินการแล้ว หากไปยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ส่อว่าทำเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ลูกหนี้รายนั้นก็เสี่ยงที่จะถือว่าทำการโกงเจ้าหนี้ที่อาจเป็นเหตุให้ต้องรับโทษทางอาญาก็ได้
.
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6427/2562)
.
▶️ ขอบคุณที่มา ฎีกา InTrend ep.21 กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
Ko Samui
เวลาทำการ
จันทร์ | 09:00 - 05:00 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 09:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 17:00 |
Ko Samui, 84320
- LAWYER - CONSULTION AND LEGAL PROCEEDINGS CIVIL/CRIMINAL - LEGITIMATION OF CHILD - NOTARIAL