Medical Imaging System

Medical Imaging System

DentiiScan: First dental cone-beam CT scanner that has been researched and developed in Thailand by Thai researchers

DentiiScan is the first dental cone-beam CT scanner that has been researched and developed in Thailand by Thai researchers from the National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) and the National Metal and Materials Technology Center (MTEC) under the National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Thailand. DentiiScan provides 3D information of anatomical structures witho

Photos from Medical Imaging System's post 30/10/2024

ความภาคภูมิใจของนักวิจัยไทยในเวทีเทคโนโลยีระดับประเทศ

ในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมล้ำสมัยที่ถูกพัฒนาจากความทุ่มเทของนักวิจัยไทยในงาน Outstanding Technologist Awards & TechInno Forum 2024 ณ โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวทีที่นักวิจัยจากทั่วประเทศได้นำเสนอความสำเร็จของตนต่อสาธารณะ

ภายในงาน เนคเทค ได้นำเสนอเทคโนโลยีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบลำรังสีทรงกรวย (Cone-Beam CT) ซึ่งได้รับรางวัลเทคโนโลยีดีเด่นในปี 2562 เป็นผลลัพธ์ของความมุ่งมั่นของทีมนักวิจัย ประกอบไปด้วย:
DentiiScan 2.0 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรม
MobiiScan เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบพกพา
MiniiScan เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติขนาดเล็ก
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่าง DentiiScan Duo และ DentiiScan Trio ซึ่งเป็นการต่อยอดนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการใช้งานในหลากหลายสาขา และพร้อมตอบโจทย์ความต้องการในวงการแพทย์อย่างครอบคลุม

ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสามารถในการพัฒนาผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม

ในงานนี้ยังได้มีการมอบรางวัลสำคัญให้กับนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น โดย ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2567 จากผลงานวิจัย "กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการนำไปใช้งานในหลายวงการอุตสาหกรรม
อีกทั้ง รศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ยังได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จากผลงาน "เทคโนโลยีการออกแบบอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะเฉพาะบุคคล" ที่มีน้ำหนักเบาและมีความเข้ากันได้ทางชีวกลศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการแพทย์และการรักษาเฉพาะบุคคล

ขอแสดงความยินดีกับนักเทคโนโลยีดีเด่น และ นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2567

Photos from Medical Imaging System's post 11/08/2024

เมื่อวันที่ 19 - 22 มีนาคม 2567 ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ดำเนินการติดตั้งและอบรมการใช้งานเครื่อง DentiiScan Trio ให้กับทันตแพทย์และบุคลากรทางทันตกรรม คลินิก DDS Dental Clinic จังหวัด เชียงใหม่ สุดท้ายนี้ขอให้ทางคลินิกมีลูกค้ามาบริการเยอะๆนะครับ

Photos from Medical Imaging System's post 14/07/2024

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ดำเนินการติดตั้งและอบรมการใช้งานเครื่อง DentiiScan Trio ให้กับทันตแพทย์และบุคลากรทางทันตกรรม ณ โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนชาววังทองและละแวกใกล้เคียงได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเข้าเยี่ยมชมเครื่องและถ่ายรูปร่วมกัน ทีมวิจัยต้องขอขอบคุณทางโรงพยาบาลที่ให้การสนับสนุนผลงานนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย

โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมทางไกลดิจิทัล รพ.สรรพสิทธิประสงค์ สปสช.เขต10อุบลราชธานีเด้อซิ 28/03/2024

https://youtu.be/W6Z0tbLwgLA?si=8b2W0ysgGa9bI2i5

โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมทางไกลดิจิทัล รพ.สรรพสิทธิประสงค์ สปสช.เขต10อุบลราชธานีเด้อซิ โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมทางไกลดิจิทัลเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่10ของรพ.สรรพสิทธิประสงค์ด้วยสิทธ.....

Photos from Medical Imaging System's post 27/03/2024

การติดตั้งเครื่อง DentiiScan Duo และอบรมการใช้งาน โดยทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS), A-MED, เนคเทค, สวทช. ณ โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งเครื่อง DentiiScan Duo นั้นมีขนาดเล็ก เหมาะกับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีพื้นที่จำกัด สามารถใช้ถ่ายทั้งภาพ CT และ Panoramic และที่สำคัญได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยและมาตรฐานต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

Photos from NSTDA - สวทช.'s post 26/03/2024

BCG เครื่องมือแพทย์ มอบเครื่อง DentiiScan Duo ให้ รพ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เพื่อบริการประชาชน

26/03/2024

📢 ข่าวประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ได้รับเกียรติจากศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ระดับสูง, อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและอดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยดร.อดิสร เตือนตรานนท์ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และคณะ มอบเครื่องเดนตีสแกนรุ่นดูโอ (DentiiScan Duo) ตามโครงการสร้างความเชื่อมั่นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติสำหรับงานทันตกรรม “เครื่องเดนตีสแกนรุ่น ดูโอ (DentiiScan Duo)” โดยมี ทพ.ภราดร ชัยเจริญ ทันแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี, นพ.ณัฐกาญจน์์ วิเศษฤทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแหลมสิงห์ และ ทพ.วันชนะ สว่างหล้า ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลแหลมสิงห์ ร่วมรับมอบ นับเป็นก้าวสำคัญในการนำเครื่องมือแพทย์ไทยมาใช้ในการวางแผนการรักษาทางทันตกรรม ต่อยอดสู่การเพิ่มศักยภาพและพัฒนาองค์ความรู้ด้านทันตกรรมของอำเภอแหลมสิงห์ และจังหวัดจันทบุรีต่อไป

Photos from Medical Imaging System's post 23/03/2024

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์(MIS) สุดตื้นตันใจคำชมท่าน รอว. และให้เกียรติมาเยี่ยมชม ผลงานวิจัยของ Lab

21/03/2024

“ศุภมาส” ชื่นชม “DentiiScan” เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติกะโหลกศีรษะและช่องปาก ผลงานวิจัยแนวหน้าของไทย ผู้ป่วยจะได้รับรังสีต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ทั่วไป

“ศุภมาส” ชื่นชม “DentiiScan” เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติกะโหลกศีรษะและช่องปาก ผลงานวิจัยแนวหน้าของไทย ผู้ป่วยจะได้รับรังสีต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ทั่วไป

เมื่อวันที่ 15 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เยี่ยมชมผลงานวิจัยโครงการ “เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบลำรังสีทรงกรวย : DentiiScan” ของ A-MED/NECTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมี น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส และผู้อำนวยการโครงการ ศ.ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) และ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ให้การต้อนรับ ณ อาคารต้นแบบของเนคเทค (NECTEC Pilot Plant) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

โดยเมื่อ รมว.อว. เดินทางไปถึง ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส และผู้อำนวยการโครงการและ ดร.เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี หัวหน้าคณะนักวิจัย ร่วมกันนำเสนอข้อมูลว่า DentiiScan (เดนตีสแกน) เป็นผลงานการคิดค้นและผลิตขึ้นมาโดยนักวิจัยไทย ใช้ประโยชน์ในการถ่ายภาพ 3 มิติของกะโหลกศีรษะและช่องปาก เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมและสุขภาพช่องปาก รวมทั้งการผ่าตัดแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โดยในการทำงานนั้น ผู้ป่วยจะยืนนิ่งอยู่กับที่เพื่อให้ศีรษะของตนอยู่ที่ตำแหน่งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดและหน่วยตรวจรับรังสีเอกซ์ ซึ่งจะหมุนรอบศีรษะผู้ป่วย 1 รอบ จากนั้น อัลกอริทึมในคอมพิวเตอร์จะนำภาพที่บันทึกไว้ทุกองศาไปคำนวณเพื่อแสดงภาพ 3 มิติของผู้ป่วย เนื่องจากรังสีเอกซ์ซึ่งออกจากแหล่งกำเนิดจะพุ่งเป็นกรวย (Cone Beam) ครอบคลุมศีรษะไปยังหน่วยรับรังสี เทคโนโลยีนี้จึงได้ชื่อว่าลำรังสีทรงกรวย ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับรังสีน้อยมาก ต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ทั่วไปถึง 10 เท่า

ศ.ดร.ไพรัช กล่าวต่อว่า ในปี 2566 ได้มีการผลิตรุ่นใหม่ล่าสุดในชื่อ DentiiScan Trio (เดนตีสแกน รุ่นทรีโอ) ซึ่งสามารถทำงานได้ 3 หน้าที่ โดยนอกเหนือจากทำหน้าที่ถ่ายภาพ 3 มิติและ 2 มิติแล้ว ยังให้ภาพเซฟฟาโลเมตริก (Cephalometric Image) ซึ่งเป็นภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยและวางแผนการจัดฟันได้อีกด้วย

“นอกจากเครื่อง DentiiScan แล้วคณะนักวิจัยยังได้คิดค้นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติแบบเคลื่อนย้ายได้เรียกว่า MobiiScan (โมบีสแกน) และเครื่องขนาดเล็กไว้ตรวจหาตำแหน่งหินปูนจากก้อนเนื้อที่ตัดออกมาจากเต้านมเรียกว่า MiniiScan (มินีสแกน) ในยุคดิจิทัลและคลาวด์เป็นที่นิยมแพร่หลายนั้นก็ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการฝังรากฟันเทียมชื่อ DentiPlan (เดนตีแพลน) และซอฟต์แวร์แสดงภาพชื่อ RadiiView (เรดีวิว) ผ่านระบบคลาวด์บนมือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ให้ทันตแพทย์และแพทย์ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา รวมทั้งหากต้องการก็สามารถปรึกษาทางไกลระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย” ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

จากนั้น น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ขอชื่นชมคณะนักวิจัยไทยที่ได้คิดค้นและผลิต DentiiScan นี้ขึ้นมาเพื่อคนไทย ซึ่งปัจจุบัน DentiiScan และห้องประกอบ DentiiScan ได้รับรองมาตรฐานต่าง ๆ และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ ที่สำคัญได้ถูกนำใช้งานในโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 70 แห่ง โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 35,000 คน ทั้งหมดนี้ยืนยันได้ว่า นักวิจัยของไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก และสอดรับกับนโยบาย “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” ของกระทรวง อว. ตนพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้วงการวิทยาศาสตร์และวิจัยของไทยก้าวไปสู่ระดับโลก เพื่อการพึ่งพาตนเองซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุด

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

#ศุภมาสอิศรภักดี
#ผึ้งศุภมาส
#พี่ผึ้งอว

Photos from Medical Imaging System's post 10/12/2023

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 โรงพยาบาลภูเรือ จ.เลย: ผู้แทนกลุ่มธุรกิจ TCP (ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล) และนักวิจัย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) เนคเทค สวทช. ได้ร่วมมอบชุดแปลงสัญญาณเอกซเรย์เป็นดิจิทัล หรือ BodiiRay R (บอดีเรย์ อาร์) ให้กับโรงพยาบาลภูเรือ และ โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย เพื่อให้บริการประชาชน โดยมีนายแพทย์นพปฏล เทียนสว่าง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเรือ และ นายแพทย์พิสุทธิ์ ศรีอินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง เป็นผู้รับมอบ ซึ่งทางกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้บริจาคงบประมาณให้กับ สวทช. ในการผลิต BodiiRay R ได้เล็งเห็นว่า โรงพยาบาลทั้งสองแห่งยังขาดแคลนงบประมาณในการจัดหาระบบถ่ายภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการรังสีวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วย โดยคณะวิจัย สวทช. ได้ติดตั้งและอบรมการใช้งานเครื่อง BodiiRay R ให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลภูเรือและโรงพยาบาลภูกระดึง ระหว่างวันที่ 25 – 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา (ขอขอบคุณกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ใหญ่ใจดี :) )

ชุดแปลงสัญญาณเอกซเรย์เป็นดิจิทัล (BodiiRay R) ได้รับการวิจัยพัฒนาขึ้นมาโดยทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. เพื่อรองรับการปรับปรุงระบบถ่ายภาพรังสีที่มีอยู่เดิมให้เป็นระบบดิจิทัล โดยยังคงสามารถใช้เครื่องเอกซเรย์ที่มีอยู่ได้ เป็นทางเลือกในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการงานรังสีวินิจฉัยภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่ยังคงให้ภาพถ่ายเอกซเรย์ดิจิทัลที่มีคุณภาพมาตรฐาน

#โรงพยาบาลภูกระดึง #โรงพยาบาลภูเรือ

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Khlong Luang?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

เบอร์โทรศัพท์

ที่อยู่


Khlong Luang
12120

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 08:00 - 17:00
พุธ 08:00 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 17:00