TISTR : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ
Pathum Thani, Thanyaburi
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดิมมีชื่อว่า "สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย"(สวป.) ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ "สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2506" และได้เปลี่ยนมาใช้พระราชบัญญัติ "สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ
ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมสัมมนา หัวข้อ “การปรับเปลี่ยนสถานประกอบการสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ และ Digital Transformation” ซึ่งจัดโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) วว. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ Digital Transformation และการบริหารจัดการ carbon footprint เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้สถานประกอบการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงแนะนำด้านงานบริการครบวงจรของ วว. และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้บทบาทภารกิจการดำเนินงานของ ศนพ. วว. โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ ดังนี้ นายทันพงษ์ หาเรือนชีพ ผู้แทนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ผศ. ดร. เดี่ยว กุลพิรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย Digital Transformation มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.ชนากานต์ เพิ่มฉลาด นักวิจัยอาวุโส ศนพ.วว. นอกจากนี้ยังได้จัดงานเสวนาและการถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อ “การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการผลิตของโรงงานและสถานประกอบการ” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ วว. ได้แก่ ดร. พรศักดิ์ ทัศนราพันธ์ ผอ. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสมรรถนะและความปลอดภัย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) และนักวิจัยจาก ศนพ. ได้แก่ นายวิษณุ ปั้นพันธุ์ นักวิจัยอาวุโส นายประพันธ์ ปิยะกุลดำรง นักวิจัยอาวุโส และ ดร. อังคณา เขื่อนเพชร นักวิจัย รวมทั้ง ดร.ณัฐพล อาจหาญ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (ศนย.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง MR 106 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.tistr.or.th/PressCenter/news/12753/
*********************
📍นำเสนอข่าวโดย
กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว.
☎️โทร. 0 2577 9048
📧E-mail : [email protected]
🟩 Line@tistr
🟧 IG : tistr_ig
🟥YouTube : tistr2506
🟪 TIKTOK :
#พลังงาน #สิ่งแวดล้อม #คาร์บอน #อุตสาหกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำโดย ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กลุ่มบริษัท DOW สถาบันพลาสติก จังหวัดระยอง และเทศบาลตำบลบ้านฉาง โดยการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดการฝึกอบรม โครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (MRF Banchang) ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทีมวิจัย วว. ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ร่วมถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลของศูนย์ การใช้งานระบบแอปพลิเคชั่นในการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ การผลิตถ่านจากเปลือกผลไม้ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเปลือกหอย นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรม “ตลาดนัดรีไซเคิล เคลื่อนที่”เพื่อรับซื้อวัสดุรีไซเคิล และทดลองการใช้งานระบบรวบรวมเชื่อมต่อผ่านระบบแอปพลิเคชั่นด้วย
📢 วว.ขอเชิญเที่ยวงาน “อว.แฟร์ : SCI Power for Future Thailand”
ระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
📢 วว. จัดการประชุมเสวนา .. โครงการพัฒนาต้นแบบบัณฑิตปริญญาเอก สมรรถนะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน BCG Economy Model
ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริหาร ในฐานะผู้แทน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ บุคคลและองค์กรดีเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (Princess Health Award) เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2567 จาก นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 4 ดำเนินการคัดเลือกโดย คณะกรรมการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรค (CPPO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องแด่องค์กรสถาบันที่มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดี พัฒนาความก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพงานและมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดโดย สำนักงานเขตสุขภาพเขต 4 เนื่องในการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ สู่การมีสุขภาพดีวิถีใหม่เขตสุขภาพที่ 4 (HI FORUM) ครั้งที่ 2 ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมชลพฤกษ์ รีสอร์ท อ.บ้านนา จ.นครนายก
ทั้งนี้ วว. ตระหนักและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดทำนโยบายการสร้างสุขภาวะองค์กร และนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน แต่ละปีไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานสร้างสุขภาวะในองค์กร เพื่อมาร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนกิจกรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ของ วว. ให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับเครือข่ายพันธมิตรสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชน ผ่านการดำเนินงานหลักโดย ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. ในกรอบเป้าหมายดำเนินงานสำคัญของ วว. คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม นวัตกรรม และขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ ไปใช้ในการสนับสนุนส่งเสริมและร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ BCG ของไทย ให้มีความยั่งยืนและแข่งขันได้ระดับโลก ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคาร Admin วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี ดังนี้
1) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับ ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายณัฐภพ ภูริเดช กรรมการบริษัท วีก้า เวลเนส จำกัด โดยมีระยะเวลาดำเนินงานร่วมกัน 5 ปี เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advance Therapy Medicinal Product, ATMP) และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อสุขภาพของประชากรและธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ขององค์กรและประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพสูงขึ้น รวมทั้งบูรณาการทำงานและลดข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังคน ยกระดับมาตรฐาน ATMP ของไทยให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานของสากล นำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติอย่างแท้จริง
2) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับ นายต่อลาภ ไชยเชาวน์และนางสาวสุวารินทร์ ก้อนทอง กรรมการ บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) นายแพทย์เดโชวัต พรมตาและนางสาวแพร ภัทรสกล กรรมการ บริษัท พรีซิชั่น เอ็กซ์ จำกัด เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร ด้านการแพทย์และสุขภาพ ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยจะเริ่มต้นในการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งผลักดันให้เกิดการบูรณาการส่งเสริมศักยภาพ กระบวนการผลิตและการให้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี
ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ความร่วมมือของ วว. และพันธมิตรทั้ง 4 หน่วยงาน ในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ อีกทั้งยังจะส่งผลดีต่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการนำงานวิจัยพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้ศักยภาพขององค์กรสมดุลยิ่งขึ้น และเป็นส่วนสำคัญร่วมกันในการเติมเต็มการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ทันสมัยของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะฯ มุ่งการวิจัยด้านนวัตกรรมมากขึ้น และมีงานวิจัยที่มีคุณภาพ ดังนั้นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนความมุ่งมั่นดำเนินงานร่วมกันของพันธมิตรในการสร้างประโยชน์และทำให้เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์ เกิดผลผลิตต่อสังคมในวงกว้าง ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น
กรรมการบริษัท วีก้า เวลเนส จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นและพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกส่วนในสังคม เพื่อให้นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความร่วมมือนี้เราจะช่วยเร่งให้เกิดผลงานออกมาเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด
นายต่อลาภ ไชยเชาวน์ กรรมการ บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค ฯ กล่าวว่า มีความยินดียิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีคุณภาพ เชื่อมั่นว่าจะทำให้เกิดงานวิจัย ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์เดโชวัต พรมตา กรรมการ บริษัท พรีซิชั่น เอ็กซ์ฯ กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความยั่งยืนด้าน Medical Hub ของประเทศ สนับสนุนส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจด้านสุขภาพ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับและความยั่งยืนของมาตรฐานคุณภาพ ตามแนวทางองค์การยูเนสโกในพื้นที่สงวนชีวมณฑล มรดกโลก และอุทยานธรณีโลก (Global Geopark) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำไปสู่คุณค่าระดับผู้นำของโลกในลักษณะของดินแดนแห่ง 3 มรดกยูเนสโก หรือ “The UNESCO Triple Heritage” อันจะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และเป็นการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงสถาบันวิจัย ไปร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกในเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้กับท้องถิ่นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โอกาสนี้ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ผู้บริหารกระทรวง อว. รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ดร.สุรชิต แวงโสธรณ์ ผอ.สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมวว. ร่วมเป็นเกียรติและเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
อนึ่ง บันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้ 1) ความร่วมมือในการอนุรักษ์แหล่งและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) การส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ 3) การเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความก้าวหน้าเชิงวิชาการให้เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ 4) การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พื้นที่อุทยานธรณีโลกโคราช หรือปริมณฑล และ 5) ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางพัฒนาโครงการ Health and Medical” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพและการแพทย์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาและการกลั่นกรองโครงการฯ ซึ่งล้วนเป็นโครงการที่ทำประโยชน์ สร้างคุณค่าให้กับสังคมไทย และได้รับการยอมรับในระดับชาติ ดังนี้ ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ผศ.ดร.อุทัย วิชัย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โอกาสนี้ นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) นักวิจัยและบุคลากร วว. เข้าร่วมการประชุมด้วย ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 อาคาร Admin วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต และผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเติมอุตสาหกรรม New S-curve ในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) รองรับการขยายตัวของกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการสุขภาพ โดยมีเป้าหมายในการเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อจัดบริการสุขภาพที่ลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงระบบสุขภาพตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value - Based Economy) สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ด้านการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“วว. เป็นหน่วยวิจัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่า และยกระดับเศรษฐกิจ BCG โดยเฉพาะ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยการ ร่วมขับเคลื่อนการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของประเทศ การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย วว .โดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ ในการจัดทำโครงการฯ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ และสร้างแรงบันดาลใจให้ วว. ได้จัดทำโครงการด้าน Health and Medical ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” ดร.โศรดา วัลภา กล่าว
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ อว.ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ-นครราชสีมา ภายใต้การประชุม ครม.สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2567- 2 กรกฎาคม 2567 ในการนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วยผู้บริหาร อว.และเจ้าหน้าที่ ร่วมติดตามคณะ อาทิ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และกรรมการ กวท. ดร.ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น
สำหรับภารกิจในวันแรก (30 มิ.ย.67) รมว.อว.และคณะ ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อน อววน. เพื่อพัฒนาด้านการเกษตรและแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์) เยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานนิทรรศการที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ได้พัฒนาพื้นที่และสร้างสรรค์นวัตกรรมชุมชน ทั้งนี้ วว. ได้ร่วมนำเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาไม้ดอก ไม้ประดับ (ดอกกระเจียว) และการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรด้วย ววน. ผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) โดยมี ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศนก. ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโส ศนก. และคณะ ร่วมนำเสนองาน รวมทั้งการจัดแสดงผลงานภายใต้โครงการการจัดการขยะชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดย ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะ ณ วัดบางอำพันธ์ บ้านหัวบึง ต.ล้านตาล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ
วว. /พันธมิตร ร่วมดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน
จัด Workshop เทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้แก่ประเทศที่สาม
ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบประกาศนียบัตรและกล่าวปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Renewable Energy Technologies and Knowledge Transfer for Strengthening and achieving ASEAN’s Sustainable Development Goals
ภายใต้การดำเนินโครงการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม The Third Country Training Programme (TCTP) ในกรอบประเด็นเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและการถ่ายทอดความรู้สำหรับการเสริมสร้างและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการไทย-ญี่ปุ่น โดย วว. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ซึ่งได้รับอนุมัติสนับสนุนงบประมาณจาก กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (TICA) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency , JICA) เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานวิจัยแก่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต เซียร์รังสิต
📢 วว.โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ในส่วน ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรม เรื่อง "การสอบเทียบเครื่องวัดความชื้นข้าว"(Moisture rice meter calibration) ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) จ.สมุทรปราการ
📍 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร.086-0410924(กำชัย)
หรือ E-mail:[email protected]
#สอบเทียบ #เครื่องวัด #ความชื้น #ความชื้นข้าว
อ่านฟรี! วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว. ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 นี้ ชวนอ่านบทความที่น่าสนใจก้าวไปพร้อมวิทยาการใหม่ๆ อยู่เสมอ อาทิ
🔹 การประเมิน Carbon Footprint เพื่อการพัฒนา Eco-efficiency
🔹 วว. กับบทบาทภารกิจ International ด้านการต่างประเทศ บทสัมภาษณ์ ดร.บุณณนิดา โสดา ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ วว.
🔹 การพัฒนาตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ และ ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง ตอนที่ 1
🔹 วว. คว้า 8 รางวัล จากผลงานนวัตกรรมจัดการขยะชุมชน และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ณ เวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 49
ดาวน์โหลดและอ่านฟรี ได้ที่
https://www.tistr.or.th/app/serials/stjournal.php?id=3902
วว. มุ่งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ยั่งยืน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 8th STS forum ASEAN-Japan Workshop
ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากร วว. ได้แก่ ดร.บุณณนิดา โสดา ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ (กวส.) ดร.ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ และนางสาวพิมประไพ ศุภรรัตน์ นักวิเทศสัมพันธ์อาวุโส กวส. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 8th STS forum ASEAN-Japan Workshop ซึ่งหน่วยงานของประเทศไทย ได้แก่ กระทรวง อว. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานฝ่ายญี่ปุ่น ได้แก่ Science and Technology in Society forum (STS forum) และ Japan External Trade Organization (JETRO) ร่วมกันจัดขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้นำจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนและญี่ปุ่นเข้าร่วมการประชุม ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว
ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นผู้แทนฝ่ายไทยกล่าวในพิธีเปิดงานร่วมกับผู้แทนจากฝ่ายญี่ปุ่น คือ Prof. KOMIYAMA Hiroshi, ประธาน STS forum นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก H.E. Mr. OTAKA Masato เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. และศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ The 8th STS forum ASEAN-Japan Workshop มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนและญี่ปุ่น พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคไปอีก 50 ปีข้างหน้า ภายใต้ธีม "For the next 50 years of ASEAN-Japan Science and Technology Cooperation" โดยการประชุมมีการเสวนาวิชาการในประเด็นสำคัญ เช่น กลยุทธ์การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับงานวิจัยสีเขียวต่อภาคอุตสาหกรรม และการส่งเสริมผู้ประกอบการ Start-ups
ในโอกาสที่ วว. เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญขององค์กรในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ และผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ผ่านเครือข่ายความร่วมมืือกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสากลของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความร่่วมมือกับหน่วยงานวิจัยและพัฒนา หน่วยงานพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อยกระดับองค์ความรู้ ทักษะบุุคลากร และความพร้อมของ วว. ในงานวิจัย พัฒนา และบริการ ตามแนวทาง เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) หรือ BCG Model และการเป็นผู้ให้บริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างครบวงจร (Total Solutions Provider)
วว. ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล ในหลวงรัชกาลที่ 10
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์กล่าวอาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ในวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567
ณ สตูดิโอ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง 11)
วว./สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง ร่วมพัฒนาองค์ความรู้ วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตรสู่เชิงพาณิชย์
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และนายพลกฤต กฤชไมตรี ผู้อำนวยการ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร” มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในด้านพัฒนาคุณภาพและยืดอายุผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และการพัฒนาเกษตรกร ชุมชน สังคม ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รองรับ Thailand 5.0 สนับสนุนการใช้ประโยชน์ ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด) เพื่อการส่งออก ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง วว. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและยกระดับคุณภาพผลผลิตพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร การพัฒนาทักษะความรู้ให้บุคลากรของสถาบันการศึกษา โดยมีพยานประกอบด้วย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. นายทิฐินันท์ ทุมมา ผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี นางชนากานต์ จิตรมะโน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการวิทยาลัยฯ และนางเรวดี มีสัตย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ วว. โอกาสนี้คณะผู้เข้าร่วมงานได้เยี่ยมชมภารกิจ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ครัวแบ่งปัน วว. โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) และศูนย์บริการนวัตกรรมเวชสำอางแบบครบวงจร (ICOS) ในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ วว. เทคโนธานี
วว. จับมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง บูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรด้วย วทน.
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.อนุรักษ์ กิตติคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat : MRCS) ลงนามประกาศเจตนารมณ์การดำเนินงานร่วมกันในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น โอกาสนี้ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คณะผู้บริหารและบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีด้วย ในวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ณ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสนี้ วว. นำผลงานวิจัยและพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรจัดแสดงนิทรรศการต้อนรับด้วย นอกจากนี้ ผู้ว่าการ วว. และคณะผู้บริหาร บุคลากร นำคณะผู้เข้าร่วมงานเยี่ยมชมภารกิจของสถานีวิจัยลำตะคอง ที่มุ่งวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานวิจัยเพื่อนําไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
วว. ต้อนรับคณะผู้นำด้าน ESG ในโอกาสเยี่ยมชม "ตาลเดี่ยวโมเดล"
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) วว. ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการขยะ “ตาลเดี่ยวโมเดล” ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะสู่พลังงาน สร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ให้แก่ คณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ฟูจิ ซีล แพ็คเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้โครงการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำด้าน ESG สำหรับบุคลากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ESG Leadership Program for SHE Professionals) เมิ่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์เทคโนโลยีการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรตาลเดี่ยว จ.สระบุรี โอกาสนี้ สอ.จิระพงศ์ ทราบพรมราช ผู้แทนจากท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานในครั้งนี้ด้วย
สถานีวิจัยลำตะคอง วว./คูโบต้าอีสานจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ
ว่าที่ร้อยเอก ณัฐพงศ์ ทองดี ปลัดอาวุโสอำเภอปากช่อง เป็นประธานในพิธีเปิด
“งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ” ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย สถานีวิจัยลำตะคอง ร่วมกับบริษัทคูโบต้าอีสาน จำกัด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2567
ณ สถานีวิจัยลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โดยมี นายมนตรี แก้วดวง ผู้อำนวยการ สถานีวิจัยลำตะคอง กล่าวต้อนรับ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงาน เกษตรกร และแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน จำนวน 100 คน
โอกาสนี้ผู้เข้าร่วมงานได้เยี่ยมชมการจัดแสดงรถแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ
ชมการสาธิตรถปลูกผักแบบอัตโนมัติ เครื่องปลูกมันสำปะหลัง การบินโดรนเพื่อหว่านปุ๋ยและพ่นสาร
การปลูกผักในโรงเรือนควบคุมอัตโนมัติ และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบครบวงจร
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกร และประชาชนที่เข้ามาร่วมงาน
📢 วว.ขอเชิญร่วมรับฟังการบรรยาย .. การแนะนำบริการ TISTR Total Solution
ลงทะเบียน แสกน QR Code ได้เลยค่ะ
วว. จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ 📣
หัวข้อ " การพัฒนาวัสดุสำหรับปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ "
ภายใต้โครงการ การเพิ่มศักยภาพในการผลิตและปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG
📌 วันที่ 26 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 – 12.00 น.
ณ วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
(❌ไม่มีการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ❌)
🖊 ลงทะเบียนอบรม 🌷 ได้ที่ https://forms.gle/1EnFSY2mCBdidN
#ปลูก #ไม้ดอก #ไม้ประดับ #วัสดุปลูก #ดินปลูก
📢 วว. ขอเชิญร่วมอบรม Flexible Packaging for Food Safety
ณ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (วว. บางเขน)
#บรรจุภัณฑ์ #หีบห่อ
📢 วว. ขอเชิญร่วมสัมมนา .. Packaging Quality and Cost Saving 📦🏷
#บรรจุภัณฑ์
วว. หารือสภาหอการค้าไทยเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม/วิจัย ชูโครงสร้างพื้นฐาน วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยทีมที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบการส่งเสริมธุรกิจทางการแพทย์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. ได้แก่ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ และ ดร.วริทธิ์ ศรีสุขทวีรัตน์ ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำโดย นางสาวปริม จิตจรุงพร กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและวิจัย ในโอกาสร่วมประชุมหารือการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง วว. กับสภาหอการค้าไทยในอนาคต และศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นกลไกในการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย การเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน Scale up Plant facilities ได้แก่ 1) การให้บริการและการวิจัยและพัฒนาของศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 1) ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโพรไบโอติกและจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจร และ 2) การให้บริการของโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ที่ให้บริการแบบครบวงจร One-Stop-Service ด้วยมาตรฐาน GMP
โอกาสนี้ นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ ดร.พงศธร ประภักรางกูล นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้อำนวยการ กองบริการธุรกิจนวัตกรรม รวมทั้งนักวิจัยและบุคลากร วว. ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและนำคณะฯ เยี่ยมชมด้วย ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ณ อาคาร 60 ปี วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ โดยนำ วทน. เข้าไปแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จครบวงจร (STI for Total Solution) มุ่งบริการด้านการวิจัยและพัฒนาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในระดับ SMEs ผู้ผลิตสินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเกษตรกร ที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องการเพิ่มมูลค่า หรือมีความต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ การรับฟังแนวความคิดของผู้ประกอบการ (idea) การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและแก้ไขปัญหา (prototype & solution) การบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ การขยายขนาดการผลิตจากห้องทดลองสู่ระดับการผลิตจริง (scale up) การพัฒนาระบบบริหารจัดการการผลิตสินค้า (product & management system) ตลอดจนการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ (commercialization) ทั้งการส่งเสริมด้านการตลาดและเชื่อมโยงด้านการเงิน เป็นต้น
นางสาวปริม จิตจรุงพร กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มุ่งเชื่อมโยงความร่วมมือเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยสนับสนุนภาครัฐผลักดัน FTAAP และเร่งขยาย FTA กับต่างชาติให้มากขึ้น พร้อมเร่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศร่วมกับ BOI และ EEC พร้อมผลักดัน Bangkok Goals (เป้าหมายกรุงเทพฯ) ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยจะนำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ภาคเอกชน ระยะ 5 ปี ที่จัดทำร่วมกับกระทรวง อว. เป็นแนวทางขยายผล BCG Model เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ ขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรรม
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
คลองห้า
Khlong Luang
12120
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 99 หมู่ 18 ถ. พหลโยธิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Khlong Luang, 12120
SIIT Library and Information Services Center, Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Khlong Luang, 12120
หลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลย?
112 Thailand Science Park
Khlong Luang, 12120
The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) was established on 16 September 1986, initially as a project under the Office of Permanent Secretary, Ministry of S...
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ ตำบล คลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี
Khlong Luang, 12120
พิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
Student Activity Building
Khlong Luang, 12120
Thammasat University Student Council Rangsit Campus สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เทคโนธานี ต. คลองห้า
Khlong Luang, 12120
พบกับผลงานที่ถ่ายทอดจากจินตนาการ ผ่านเวลากว่า 500 ปี มาสู่สิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคในปัจจุบัน
Khlong Luang, 12120
งานเขียนฝึกมือของ"พบจันทร์" แม่บ้านชุมชนละครมรดกใหม่ แบ่งปันเรื่องเล่าตามวาระ
111 Phahonyothin Road , Klong 1
Khlong Luang, 12120
The largest fully-integrated R&D hub in Thailand
Khlong Luang, 12120
Electrical Metrology Club...National Institute of Metrology (Thailand)
ปทุมธานี
Khlong Luang, 12120
สภ.คลองหลวง หตุด่วน - เหตุร้าย หรือติดต่ราชการ โทรศัพท์ 0-2524-0610-3 โทรสาร 025240367