NECTEC NSTDA

NECTEC also provides a linkage between research communities and industries through the established industrial clusters.

The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) was established on 16 September 1986, initially as a project under the Office of Permanent Secretary, Ministry of Science, Technology and Energy The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) was established on 16 September 1986, initially as a project under the Office of Permanent Secretary, Ministry of Science, Te

04/09/2024

“Intelligent Sensors” เซนเซอร์ที่มีความฉลาดมากขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการเก็บข้อมูล เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ ต่อยอดสู่การพัฒนาได้หลากหลายอุตสาหกรรม
บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์อีสต์ จำกัด (ประเทศไทย) มีเทคโนโลยีล้ำสมัยครอบคลุม ทั้งในส่วน Database, Big Data, AI ที่จะเข้ามาผนวกการทำงานเข้ากับเซนเซอร์ ให้กลายเป็น Intelligent Sensors ทำให้เซนเซอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ตอบกลับเป็นชุดคำสั่ง และทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ ข้อมูลเหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ กลุ่มนักพัฒนาสินค้าบริการ นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน ซึ่ง Intelligent Sensors มีผลเป็นอย่างมากกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศ AMD หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ประเทศไทยได้ใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ และการพัฒนาประเทศ
ในงาน NECTEC-ACE 2024 เปิดโอกาสให้ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักลงทุน นักพัฒนา ผู้ใช้งาน มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้มา Update เทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนใคร เพื่อต่อยอดมุมมอง ต่อยอดโอกาสในการทำธุรกิจ พร้อมโซลูชันจาก AMD ที่พร้อมตอบโจทย์ สนับสนุนผู้ใช้ในทุกกลุ่ม

📌 พบกัน 10 กันยายน 2567
8.30 - 16.30 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์ 4)
ลงทะเบียนร่วมงานได้แล้ววันนี้ที่ -> https://nectec.or.th/ace2024

04/09/2024

✨ บทบาทของ สกสว. และ PMU ในการสนับสนุนการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์

สาระจากเสวนาพิเศษ “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ” งานแถลงข่าวการจัดงาน NECTEC-ACE 2024 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดย รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

🔺[จัดสรรงบประมาณวิจัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ]
ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เซนเซอร์อัจฉริยะ, AI, Big Data, หรือ IoT แน่นอนว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยได้อย่างมหาศาล อย่างไรก็ตามเมื่อนึกถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ การซื้อมาใช้อาจเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว แต่หากประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ตั้งแต่ต้นทางการวิจัยและพัฒนาโดยนักวิจัยไทย และผลิตโดยภาคเอกชนไทยจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนิเวศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับขับเคลื่อน

โครงสร้างระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้มีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณวิจัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด งบประมาณส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรไปยังโครงการวิจัยที่มีความสำคัญและตรงกับความต้องการของประเทศผ่านทางหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง

🔺[สนับสนุนการวิจัยพื้นฐานและเชิงยุทธศาสตร์: รากฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรม]

“แม้ว่าเราจะเน้นที่การวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Research) เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม แต่เราก็ไม่ละทิ้งการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ที่เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ นักวิจัยไทยยังคงได้รับการสนับสนุนให้ทำงานวิจัยเชิงลึกเพื่อเสริมสร้างความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในอนาคต” รศ.ดร.พงศ์พันธ์ อธิบาย

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย คือ การสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สกสว. ได้จัดสรรงบประมาณพิเศษสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาดจริง เพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถแข่งขันได้ในตลาดและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็น รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เข้ากับบริบทของประเทศ นับเป็นการลงทุนที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระยะยาว

🔺[เซนเซอร์อัจฉริยะ: กุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย]
สำหรับงาน NECTEC-ACE 2024 ในธีมเรื่องเซนเซอร์อัจฉริยะ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ของแผนด้านววน. ปี พ.ศ. 2566-2570 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคตโดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ในแผนงานที่ 5 การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์อิเล็กทรอนิคอัจฉริยะรวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตการบริการและการพึ่งพาตนเอง ดร.พงศ์พันธ์ มองว่า เซนเซอร์อัจฉริยะและเทคโนโลยี IoT มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ประเด็นหลัก:

1. การเพิ่มผลผลิตในภาคการผลิต: ปัจจุบันภาคการผลิตของไทยอาจมีผลิตภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคเกษตรและบริการ แต่ยังคงไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีที่ผลิตขึ้นในประเทศมาใช้จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมาก ทำให้ภาคการผลิตสามารถยกระดับผลิตภาพได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม

2. การยกระดับคุณภาพชีวิต: เซนเซอร์และ IoT สามารถนำมาใช้ในหลายส่วนของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนสะดวกขึ้น การมีผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในประเทศจะไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการในประเทศด้วย

3. การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ: การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์และ IoT ในประเทศจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) หรือการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงนวัตกรรมใหม่ แต่เป็นการสนับสนุนการพัฒนาของหลายภาคส่วน ทำให้ประเทศสามารถยกระดับการพัฒนาในทุกมิติได้

ภายในงาน NECTEC-ACE 2024 สกสว. เตรียมพร้อมนำเสนอไฮไลท์เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาจากนักวิจัยไทยที่ได้รับการยอมรับจากภาคเอกชนและมีศักยภาพในการแข่งขันกับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ “อย่างไรก็ตามการสนับสนุนและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในวงกว้างจำเป็นต้องยอมรับว่าแม้เราจะมีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง แต่กระบวนการนำเทคโนโลยีออกจากห้องทดลองไปสู่ตลาดยังคงเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายอยู่มาก งาน NECTEC-ACE 2024 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ภาคเอกชนจะได้มาสัมผัสงานวิจัยจริงที่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจ หรือ บอกโจทย์เพื่อทำงานร่วมกัน แม้ว่าเทคโนโลยีในห้องแล็บอาจจะยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที แต่ภาครัฐพร้อมที่จะยื่นมือช่วยเหลือในการพัฒนา พร้อมกลไกสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อทำให้โครงการ หรือ ผลงานวิจัยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน” รศ.ดร.พงศ์พันธ์ กล่าวทิ้งท้าย
🔥พบกันในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 (NECTEC–ACE 2024)
"เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The Next Era of Thai Intelligent Sensors"

📅วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 08.30 - 16.30
ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
ลงทะเบียนในคอมเม้นต์ ~
#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

Photos from NECTEC NSTDA's post 04/09/2024

✨ 3 เหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดงาน NECTEC-ACE 2024
เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ
10 กันยายนนี้ ! เตรียมตัวพบกับงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 หรือ NECTEC-ACE 2024 มาในธีม “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The next era of Thai intelligent sensors” เจาะลึกเรื่องราวของเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เปรียบเหมือนประสาทสัมผัสในโลกดิจิทัล หัวใจสำคัญของพัฒนา Smart Technology สนับสนุนเทคโนโลยี IoT และเป็นพื้นฐานที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ
พบกับ

🔺 7 Session เวทีนำเสนอความรู้ ความก้าวหน้าการดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะ ทั้งด้านนโยบาย การสนับสนุน โอกาสการลงทุน เพื่อยกระดับ การพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ

🔺40+ Speakers ร่วมเปิดมุมมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนา และประยุกต์ใช้เซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ จากผู้บริหารผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ และเอกชน

🔺50+ Exhibitions สัมผัสผลงานวิจัยพัฒนา นวัตกรรมเซนเซอร์อัจฉริยะ จากเนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานต่อยอดสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคส่วนต่าง ๆ
🗓️ วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 09.00 - 16.30 น.
ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
ลงทะเบียนร่วมงานในคอมเม้นต์~~

#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

03/09/2024

“เซนเซอร์อัจฉริยะ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจอยู่ใกล้มากกว่าที่เราคิด
มาดูโอกาสที่ทุกคน ที่ประเทศ จะสร้างรายได้จากเทคโนโลยีนี้ไปด้วยกัน
บพข. หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หน่วยงานภายใต้กำกับ สอวช. กระทรวง อว. มีหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ เชิญชวนทุกท่านมาเรียนรู้ ทำความรู้จักเทคโนโลยี “เซนเซอร์อัจฉริยะ” มาร่วมออกแบบ คิดค้น และสร้างนวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของคนไทย เพื่อสร้างมูลค่า สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ในงาน NECTEC-ACE 2024 บพข. เตรียมไฮไลท์ผลงานเด่นด้านเซนเซอร์อัจฉริยะจากฝีมือคนไทย อาทิ เซนเซอร์เทระเฮิรตซ์ รับ-ส่งคลื่นความถี่สูง ฯลฯ ที่สำคัญคือ โอกาส และการสนับสนุนทุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ที่พร้อมเปิดให้ทุกคนที่สนใจ อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ จะสร้างรายได้จากเทคโนโลยี “เซนเซอร์อัจฉริยะ” ได้อย่างไร

📌 ห้ามพลาด!!! พบกัน 10 กันยายน 2567
8.30 - 16.30 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์ 4)
ลงทะเบียนร่วมงานได้แล้ววันนี้ที่ -> https://nectec.or.th/ace2024

03/09/2024

🔥พบกับเรื่องราวเซนเซอร์ x ภาคการเกษตรที่งาน NECTEC-ACE 2024 กับ Session "สร้างระบบนิเวศเซนเซอร์ไอโอทีสำหรับภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรดิจิทัล (Building Smart Ecosystems: IoT Sensors in Industry and Agriculture)
"สร้างระบบนิเวศเซนเซอร์ไอโอทีสำหรับภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรดิจิทัล (Building Smart Ecosystems: IoT Sensors in Industry and Agriculture) หัวข้อเสวนาในงาน NECTEC-ACE 2024 งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 ธีม "เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The Next Era of Thai Intelligent Sensors"
เสวนานี้นำเสนอมุมมองและแนวทางในการสร้างระบบนิเวศสำหรับเซนเซอร์ - ไอโอที ที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรซึ่งถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่สามารถรองรับการใช้งานจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรดิจิทัลในอนาคต ทั้งในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวขอข้อมูล การบูรณาข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เชิงลึก การพัฒนามาตรฐาน และการสนับสนุนจากภาครัฐที่จะสามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถของผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเทศ ซึ่งจะเป็นบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเทคโนโลยีเซนเซอร์ - ไอโอทีทั้งภายใน และต่างประเทศได้
พบกับ
🔺ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที (Thai IoT)

🔺คุณพิสิษฐ์ คงฤทธิ์ เจ้าของสุภาภรณ์ฟาร์ม (ฟาร์มเป็ดเนื้อ)

🔺คุณณัฐนันท์ กุลวัฒน์ฐกรณ์ บริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด

🔺ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์ หัวหน้าทีมวิจัยด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ เนคเทค สวทช.

ดำเนินรายการ โดย ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรม
สวทช.
🗓️ วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 14.15 - 16.15 น.
ห้องแซฟไฟร์ 204 ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
🔥ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตของเทคโนโลยีเซนเซอร์ อัจฉริยะในประเทศไทย!
ลงทะเบียน > https://nectec.or.th/ace2024/
#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

02/09/2024

📱 ✨ ประมวลภาพความสนุกสนานและความประทับใจจาก Workshop ครั้งที่ 1 กิจกรรมสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสำหรับกลุ่มเปราะบาง
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดย ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิส์ (ETDA) ได้จัดงาน Workshop ภายใต้หัวข้อ “การสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสำหรับกลุ่มเปราะบาง” เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ณ Living Co-Space กรุงเทพฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจ (Empathy) และความตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มเปราะบางในสังคม เช่น กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ
📌เตรียมพบกับกิจกรรม Workshop ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม นี้

02/09/2024

“เซนเซอร์” เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้ได้ “ข้อมูล”
เซนเซอร์ยุคใหม่ที่มีความฉลาด จะยิ่งทำให้เราได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ ทั้งต่อการพัฒนาประเทศ และธุรกิจ
AIS หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในประเทศไทย จะทำหน้าที่ใน 2 เรื่องหลัก คือ Connect เชื่อมโยงเซนเซอร์ให้เข้ากับการใช้งานที่ต้องการข้อมูล และ Compute นำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์มาประมวลผล และแสดงผลให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการทั้งด้าน Hardware, Platform, Data Analytics และ Network ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อข้อมูลจากเซนเซอร์อัจฉริยะเป็นไปอย่างสะดวกง่ายดาย
ในงาน NECTEC-ACE 2024 AIS เตรียมไฮไลท์มานำเสนอทั้งใน session สัมมนา และบูธนิทรรศการ ท่านจะได้พบกับ 4 โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลข้อมูลจากเซนเซอร์ พร้อมตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ได้แก่
✅ eSIM (embedded + electronic) เชื่อมต่อเซนเซอร์ ส่งข้อมูลไปยังผู้ให้บริการ
✅ 4G Board ที่ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ ส่งสัญญาณเชื่อมต่อการทำงานกับ IoT
✅ Connectivity Platform ที่ใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม
✅ Use Case ตัวอย่างการใช้งานเชื่อมต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ ส่งเข้ามายังแพลตฟอร์มเพื่อการประมวลผล

📌 ห้ามพลาด!!! พบกัน 10 กันยายน 2567
8.30 - 16.30 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์ 4)
ลงทะเบียนร่วมงานได้แล้ววันนี้ที่ -> https://nectec.or.th/ace2024

#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรมใหม่ #เซนเซอร์อัจฉริยะ

02/09/2024

🔥หากคุณกำลังมองหาทิศทางการพัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะ ทำอย่างไรให้งานวิจัยให้ไปสู่ธุรกิจ ต้องไม่พลาดเสวนา "ก้าวสู่อนาคตเซนเซอร์อัจฉริยะไทย: จากงานวิจัยสู่ตลาด"

หัวข้อเสวนา "ก้าวสู่อนาคตเซนเซอร์อัจฉริยะไทย: จากงานวิจัยสู่ตลาด" จะพาคุณสำรวจเส้นทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะในประเทศไทย ตั้งแต่นวัตกรรมที่ล้ำสมัย เช่น โซลูชันประมวลผลข้อมูลเซนเซอร์ขั้นสูง และการออกแบบระบบฝังตัวสำหรับ IoT ไปจนถึงนโยบายที่นำงานวิจัยไปสู่ตลาด รวมถึงบทบาทของเซนเซอร์อัจฉริยะในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาตรฐานและการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรม และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีนี้สู่การใช้งานจริง

ผู้เข้าร่วมจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดล่าสุด เข้าใจบทบาทสำคัญของเซนเซอร์อัจฉริยะในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเห็นถึงโอกาสในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ใครที่ไม่อยากพลาดเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนอนาคตของประเทศไทย ไม่ควรพลาดการเสวนานี้ !
แล้วพบกันในงาน NECTEC-ACE 2024 งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 ธีม "เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The Next Era of Thai Intelligent Sensors"
🗓️ วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 13.00 - 14.30 น.
ห้องแซฟไฟร์ 206 ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
ลงทะเบียน > https://nectec.or.th/ace2024/
พบกับ
🔺 ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

🔺 คุณอมรเทพ ผันสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิว เวฟ ซิสเต็มส์ จำกัด

🔺 คุณธนพร แสงไพฑูรย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีไซน์ เกทเวย์ จำกัด

🔺 รศ.ดร.สุรเมธ เฉลิมวิสุตม์กุล มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

🔺 คุณนิวัฒน์ พันธุศิลปาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

🔺ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ดำเนินรายการ โดย ดร.นพดล นันทวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ เนคเทค สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

31/08/2024

🔥NECTEC-ACE 2024 ชวนทุกท่านร่วมค้นหาคำตอบ การผสานรวมเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและแพลตฟอร์ม จะสามารถผลักดันนวัตกรรม IoT ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร ?
"การเชื่อมโยงข้อมูล: หัวใจสำคัญในการผลักดันนวัตกรรม IoT และการเปลี่ยนผ่านสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ" อีกหนึ่ง Session เนื้อหาสุดเข้มข้นในงาน NECTEC-ACE 2024 งานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 ธีม "เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The Next Era of Thai Intelligent Sensors"
Session นี้นำเสนอเรื่องราวของบทบาทด้านโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบและสร้างโซลูชัน IoT การพัฒนายานยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยี eSIM กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ง่ายขึ้น กลยุทธ์ผู้ให้บริการในการขยายระบบนิเวศ IoT และทิศทางนวัตกรรมด้านโทรคมนาคม ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเสวนาพิเศษ "ฝ่าฟันอุปสรรค สู่ความสำเร็จ: ยกระดับตลาดเซนเซอร์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในไทย" ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแชร์ประสบการณ์จริง พร้อมทั้งโอกาสและความท้าทายในอุตสาหกรรมนี้
พบกับ

🔺คุณภุชงค์ เจริญสุข Enterprise Product Marketing Manager บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

🔺คุณเอกลักษณ์ ประเสริฐแก้ว วิศวกรชำนาญการไอโอที และสมาร์ทโซลูชัน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

🔺ดร.ชานนท์ ตุลาบดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด

🔺คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล เนคเทค สวทช.

ดำเนินรายการ โดย คุณภรณี สุทธิถวิล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
🗓️ พบกัน วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 13.00 - 14.30 น.
ห้องแซฟไฟร์ 204 ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
🔥ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตของเทคโนโลยีเซนเซอร์ อัจฉริยะในประเทศไทย!
ลงทะเบียน > https://nectec.or.th/ace2024/
#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

30/08/2024

🔥 รีบลงทะเบียนก่อนที่นั่งเต็ม! ห้ามพลาด Plenary Session สุดพิเศษเปิดงาน NECTEC-ACE 2024

ชวนทุกท่านร่วม "ยกระดับนิเวศการพัฒนาเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ" กับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้พัฒนาเซนเซอร์ และภาคเอกชน ที่จะมาฉายภาพรวมของระบบนิเวศเซนเซอร์อัจฉริยะ บทบาทและประสบการณ์ พร้อมนำเสนอโอกาสของเซนเซอร์ไทยและทิศทางที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นหนึ่งในระบบนิเวศเซนเซอร์อัจฉริยะของโลก ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 (NECTEC–ACE 2024) "เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The Next Era of Thai Intelligent Sensors"
พบกับ

🔺ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

🔺คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ Head of Enterprise Marketing & SME Business Management บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

🔺คุณวีรวุฒิ วุฒิเลิศอนันต์ ASEAN Solutions Architect บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์ อีสต์ (ไทยแลนด์) จำกัด

🔺ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช.

ดำเนินรายการ โดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ เนคเทค สวทช.
อย่าพลาดโอกาสสำคัญในการเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญที่ขับเคลื่อนวงการเทคโนโลยีเซนเซอร์ประเทศไทยสู่ระดับสากล!
📅 พบกัน วันที่ 10 ก.ย. 67 เวลา 10.45 - 11.30 น.
ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์4)
ลงทะเบียน > https://nectec.or.th/ace2024/
#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

Photos from NECTEC NSTDA's post 27/08/2024

เนคเทค สวทช. และพันธมิตร พร้อมโชว์ศักยภาพ โอกาสและทิศทาง การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซนเซอร์ไทย ในงาน NECTEC–ACE 2024 “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ” 10 กันยายน นี้

27 สิงหาคม 2567: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค สวทช. พร้อมหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการจัดงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเอ็มดี ฟาร์ อีสต์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมแถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 หรือ NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2024 (NECTEC–ACE 2024) ภายใต้แนวคิด “ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า” โดยใช้ชื่อ “The Next Era of Thai Intelligent Sensors: เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ” นำเสนอการพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้ ในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมโชว์ศักยภาพ โอกาส นโยบาย และทิศทางของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเซนเซอร์ จัดขึ้นวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม(ฮอลล์ 4) เมืองทองธานี

ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 17 ของการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค หรือ NECTEC-ACE ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการส่งมอบผลงานวิจัยที่ใช้งานได้จริงให้กับประเทศ ในรูปแบบเวทีนำเสนอผลงานวิจัยการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และสนับสนุนภารกิจของเครือข่ายพันธมิตรในการขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์

ความพิเศษของการจัดงาน NECTEC-ACE คือ การนำเสนอแนวคิดหลักของการจัดงานที่แตกต่างกันออกไปทุกปี โดยในปีนี้นำเสนอเรื่องราวของเทคโนโลยีเซนเซอร์ ที่มีบทบาทสำคัญในยุคดิจิทัลและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับสากลจึงเป็นที่มาของการจัดงาน NECTEC-ACE 2024 ภายใต้แนวคิด The Next Era of Thai Intelligent Sensors เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ ที่เนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 26 หน่วยงาน เตรียมพร้อมนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหลากหลายมิติเกี่ยวข้องกับเซนเซอร์ เซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบสัมมนาวิชาการ การจัดแสดงนิทรรศการเพื่อแสดงศักยภาพของงานวิจัยไทยที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้ตั้งแต่สถานะปัจจุบันของเทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะในไทย งานวิจัยพื้นฐาน ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงโอกาส และความท้าทายในการพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ของไทย ตลอดจนมุมมองด้านการตลาดและการลงทุน ทั้งในมิติของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไป ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม เสริมระบบนิเวศการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเซนเซอร์อัจฉริยะภายในประเทศ ให้พร้อมก้าวสู่ตลาดการแข่งขันในระดับสากล

อ่านต่อ: https://nectec.or.th/.../news.../nectec-ace-2024-press.html
📌ล็อกปฏิทินไว้เลย ! 10 กันยายน 2567
เวลา 08:30 - 16:30 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์ 4)

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและจับจองหัวข้อสัมมนาได้ก่อนใคร > https://nectec.or.th/ace2024

#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

Photos from NECTEC NSTDA's post 27/08/2024

NECTEC x ETDA จัด Workshop ระดมสมองเพื่องานออกแบบแอปฯ ที่ตอบโจทย์ทุกคนในสังคม
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดย ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิส์ (ETDA) ได้จัดงาน Workshop ภายใต้หัวข้อ “การสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสำหรับกลุ่มเปราะบาง” เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ณ Living Co-Space กรุงเทพฯ
กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจ (Empathy) และความตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มเปราะบางในสังคม เช่น กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ นำทีมโดย ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ETDA กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร. ปวรัตน์ นนทศิลป์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) และ ดร.วิศวิน กุญชรทรัพย์ จาก บริษัทเอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด เป็นวิทยากรดำเนินกิจกรรม

โดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ สำหรับกลุ่มหน่วยงานจากองค์กร ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ SME และสำหรับหน่วยงานจากภาครัฐและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน(Developer) นักออกแบบ (Designer) และนักจัดการโครงการ (Product Owner) ร่วมกิจกรรมรวม 100 ​คน
ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย Design Thinking & Critical Thinking ในรูปแบบ Role Play ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในความสำคัญของการออกแบบ อีกทั้งเป็นการรวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ที่คำนึงถึงกลุ่มเปราะบางและความหลากหลายทางสังคม
นอกจากนี้เสริมทัพด้วย ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก (AAT) กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) สวทช. เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำเกี่ยวกับ Workshop และ NEXT Steps ของประเทศไทยเพื่อก้าวเข้าสู่การเท่าเทียมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ NECTEC และ ETDA มีแผนที่จะจัดกิจกรรม Workshop ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่เท่าเทียมและครอบคลุมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับทุกคน

23/08/2024

ห้ามพลาด ! เสวนาพิเศษในเวทีแถลงข่าวจัดงาน NECTEC-ACE 2024 "เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The next era of Thai intelligent sensors"
27 สิงหาคม นี้พบกับ งานแถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 หรือ NECTEC-ACE 2024 ภายใต้แนวคิด“ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า” โดยในปีนี้มุ่งเน้นเทคโนโลยีเซนเซอร์
เปิดเวทีเสวนาพิเศษ “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ” เรียกน้ำย่อยก่อนไปสัมผัสประสบการณ์จริงกับเรื่องราวของเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่งาน “NECTEC-ACE 2024” 10 กันยายนนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองไปพร้อมกับ

• รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

• คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ หัวหน้าส่วนงานการตลาดลูกค้าองค์กรและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

• คุณศศิประภา สุธีรภัทร์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ และคอมเมอร์เชียล บริษัท เอเอ็มดี เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด

• ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.)

ดำเนินรายการ โดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล เนคเทค สวทช.
📌พบกัน 27 สิงหาคม 67 เวลา 15.00 - 16.30 น.
ถ่ายทอดสดทาง Facebook NECTEC NSTDA
✨ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและจับจองหัวข้อสัมมนาได้ก่อนใคร > https://nectec.or.th/ace2024

#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

19/08/2024

✨ NECTEC-ACE 2024 : The next era of Thai intelligent sensors
เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ

10 กันยายนนี้ ! เตรียมตัวพบกับงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 หรือ NECTEC-ACE 2024 มาในธีม “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ - The next era of Thai intelligent sensors” เจาะลึกเรื่องราวของเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เปรียบเหมือนประสาทสัมผัสในโลกดิจิทัล หัวใจสำคัญของพัฒนา Smart Technology สนับสนุนเทคโนโลยี IoT และเป็นพื้นฐานที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ

🔺ห้ามพลาดหัวข้อสัมมนาสุดเข้มข้น เจาะลึกเรื่องราวการพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมสำรวจโอกาส นโยบาย และทิศทางของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเซนเซอร์

🔺 สัมผัสประสบการณ์จริง กับนิทรรศการผลงานวิจัยด้านเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม จากทั้งเนคเทค สวทช. รวมถึงพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน

🔺สร้างโอกาสทางธุรกิจ ร่วมเปิดมุมมองแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ ไปจนถึงการต่อยอดสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี จากผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ และเอกชน

📌ล็อกปฏิทินไว้เลย ! 10 กันยายน 2567
เวลา 08:30 - 16:30 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี (ฮอลล์ 4)

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและจับจองหัวข้อสัมมนาได้ก่อนใคร > https://nectec.or.th/ace2024

📢 ติดตามการถ่ายทอดสดแถลงข่าวการจัดงาน NECTEC-ACE 2024
ในวันที่ 27 สิงหาคม นี้ ที่ Facebook - NECTEC NSTDA

#เทคโนโลยีไทย #นวัตกรรม #เซนเซอร์อัจฉริยะ

18/08/2024

📌18 สิงหาคม #วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศ..............................................
พบกับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด "Future Science Community for All" ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศ เตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต..............................................
📌 สามารถเข้าชมงานฟรี ตั้งแต่วันนี้ - 25 สิงหาคม 2567 เวลา 9.00-19.00 น. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 9-12

Photos from NECTEC NSTDA's post 17/08/2024

เนคเทค x สสว. จัดประชุมแนะนำระบบ Thai SME-GP หนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
16 สิงหาคม 2567 : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดประชุมแนะนำระบบ Thai SME-GP เสริมโอกาสการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มุ่งเน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดย คุณวรพจน์ ประสานพานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสว. กล่าวเปิดงานพร้อมนำเสนอความสำเร็จที่ผ่านมาและแนวทางต่อไปในอนาคตของระบบ Thai SME-GP

จากนั้น เป็นการแนะนำมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมถึงข้อปฏิบัติสำคัญ โดย คุณปรัชญ วิเชียรนพรัตน์ นักวิชาการคลังชำนาญการ จากกรมบัญชีกลาง และแนะนำระบบ Thai SME-GP นำเสนอโดย คุณปรเมษฐ์ ธันวานนท์ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส จากทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. โดยกล่าวถึง ภาพรวมและสถิติการใช้งานระบบ Thai SME-GP ความเกี่ยวข้องระหว่าง SME One ID และ Thai SME-GP ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการพัฒนาระบบ รวมถึงความท้าทายในอนาคต
ในช่วงท้ายการประชุม ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ SME ในอนาคต เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบ THAI SME-GP จัดทำขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภายใต้มาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) เนคเทค สวทช. เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม และมีการใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME ขึ้นทะเบียนแล้ว 163,196 ราย มีจำนวนสินค้าและบริการกว่า 1.2 ล้านรายการ (ข้อมูล ณ 6 ส.ค. 67)

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.thaismegp.com

16/08/2024

ชวนเหล่า UI/UX Designer มาร่วม
Workshop "Design Thinking & Critical Thinking" เรื่อง Mobile App Design for Everyone
วันที่ 22 สิงหาคม 67 นี้ สถานที่ Living Co-Space ติด MRT สุทธิสาร
ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยงานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
ภาคเช้า 8:30 - 12:00 น. สำหรับหน่วยงาน บริษัทเอกชน และ SME
ภาคบ่าย 12:30 - 16:00 น. สำหรับหน่วยงาน ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย

ลงทะเบียนด่วน ! https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf8WpWjPl5rMyx-FW1pi2OZ4MSq7ZtBFYgwZdcJuIoZ-4FjUw/viewform

Photos from NECTEC NSTDA's post 15/08/2024

เนคเทค x พันธมิตร จัดเวิร์กช็อปเทคโนโลยีเชิงแสงด้านการเกษตรและอาหาร
เนคเทค สวทช. ร่วมจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงแสงในด้านการเกษตรและอาหาร” ระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ดร.นพดล นันทวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยสเปกโทรสโกปีและเซ็นเซอร์ เนคเทค สวทช. และ รศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร Chair of IEEE Photonics Society Thailand Chapter ร่วมกล่าวต้อนรับ พร้อมแนะนำวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ Prof. Tawfique Hasan จาก University of Cambridge ผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และมีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้กราฟีนและวัสดุที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อ “Miniaturization of Optical Spectrometers”
นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

- การประยุกต์ใช้แสงทางการเกษตร
โดย ดร.ยุทธนา อินทรวันณี ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค สวทช.
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ในงานด้านการเกษตรและอาหาร
โดย ดร.รุ่งโรจน์ จินตเมธาสวัสดิ์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เนคเทค สวทช.
- Plasmonic sensor for agriculture applications
โดย ดร.มติ ห่อประทุม หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี เนคเทค สวทช.
- การพัฒนาและแผนการให้บริการ ผู้ใช้งานของระบบสเปกโทรสโกปี ตามเวลาย่านเทราเฮิรตซ์ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดย คุณสิริวรรณ ปาเคลือ ห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การใช้ AI กับผลิตผล หลังการเก็บเกี่ยว
โดย รศ.ดร.ศิลา กิตติวัชนะ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การพัฒนาเทคโนโลยีการให้ความร้อน ด้วยคลื่นไมโครเวฟเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร
โดย รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ ศูนย์กลางความรู้การให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเนียอินฟราเรดสเปคโตสโกปีทางด้านการเกษตร
โดย ดร.ปาริชาติ เทียนจุมพล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีในอาหารและผลิตผลทางการเกษตร
โดย คุณจารุรัตน์ เอี่ยมศิริ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
และในวันที่ 14 สิงหาคม ผู้อบรมได้เรียนรู้และปฏิบัติการใช้เครื่องมือทางแสงหลายประเภทโดยกิจกรรมดังกล่าวจะครอบคลุมการฝึกปฏิบัติที่เน้นการใช้งานจริงในภาคการเกษตรและอาหาร อาทิ Terahertz Time-Domain Spectroscopy, Portable Terahertz Imaging Devices, Fourier-Transformed Infrared Spectroscopy, Portable Raman Spectroscopy, Near-Infrared Spectroscopy และ X-Ray CT Scan
กิจกรรมอบรมครั้งนี้จัดโดยความร่วมมือ ระหว่าง เนคเทค ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และ IEEE Photonics Society Thailand Chapter มีผู้สนใจจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนา ร่วมสัมมนาในรูปแบบ Online และ On-site รวมจำนวนกว่า 100 คน

ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ที่มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีเชิงแสงในงานทางด้านการเกษตรและอาหารได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิด อัปเดตเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงแสงในงานที่เกี่ยวข้อง เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ดูเพิ่มเติม https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/2024photonics-agri-food.html

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริษัท วิศวกรรม ใน Khlong Luang?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

“Intelligent Sensors” เซนเซอร์ที่มีความฉลาดมากขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการเก็บข้อมูล เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ ต่อยอดสู่การพัฒ...
“เซนเซอร์อัจฉริยะ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และอาจอยู่ใกล้มากกว่าที่เราคิดมาดูโอกาสที่ทุกคน ที่ประเทศ จะสร้างรายได้จากเทคโนโลย...
📱 ✨ ประมวลภาพความสนุกสนานและความประทับใจจาก Workshop ครั้งที่ 1 กิจกรรมสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการออกแบ...
“เซนเซอร์” เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้ได้ “ข้อมูล”เซนเซอร์ยุคใหม่ที่มีความฉลาด จะยิ่งทำให้เราได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ ทั้งต่อ...
AI Thailand Hackathon 2024
การอัปเดตสุดท้ายของค่ำคืนนี้ #IoTHackathon2024 มาพูดคุยเปิดใจพี่เต้ คุณปิยะวัฒน์ จอมสถาน หัวหน้าโครงการ
6 ชั่วโมงโค้งสุดท้าย #IoTHackathon2024 มาดูกันว่าแต่ละทีมทำภารกิจคืบหน้าแค่ไหนส่งใจเชียร์ทั้ง 9 ทีมให้ถึงฝั่งฝัน พร้อมชี...
✨🔥เครื่องฟิต…แล้วสตาร์ทติดกี่โมง?ติดตามชมบรรยากาศ #Iothackathon2024 กับเวลาที่เหลืออีก 17 ชั่วโมง ผู้แข่งขันไหวไหม บอกมา
วอร์มเครื่อง  IoT Hackathon 2024
Live ! พิธีเปิด IoT Hackathon 2024 ค้นฟ้าคว้าดาวอาชีวะด้าน AIoT
#AIFT2024 ปีนี้เข้มข้น เจาะลึกกว่าเดิม!!
"ต่อกล้าอาชีวะ ปี 2567" ปีนี้มีอะไรเด็ด ต้องฟัง!

เว็บไซต์

ที่อยู่


112 Thailand Science Park
Khlong Luang
12120

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 08:00 - 17:00
พุธ 08:00 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 17:00
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม อื่นๆใน Khlong Luang (แสดงผลทั้งหมด)
Neo Condec Neo Condec
80/353 Phaholyothin Road
Khlong Luang, 12120

Full package construction contractor

GROW Technologies Co.,Ltd GROW Technologies Co.,Ltd
91/49 หมู่ 6 ต. คลองหนึ่ง
Khlong Luang, 12120

บริการงานทางด้านไฟฟ้าและความปลอดภ?

โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการ ไบโอเทค - Bioprocessing Facility - โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการ ไบโอเทค - Bioprocessing Facility -
Biotec Pilot Plant
Khlong Luang, 12120

วิจัยและพัฒนา

SOLAR K TECH CO.,LTD. SOLAR K TECH CO.,LTD.
43 Moo1, Khlong Hok
Khlong Luang, 12120

เราเจ๋งด้านตู้ Kiosk Payment มาก ๆ ไม่อยากตก?

Nixma Nixma
9/79 M. 5 T. Khlong Nueng
Khlong Luang, 12120

NIXMA is a diversified technology group. We are a leader in providing industrial automation solutions to a variety of manufacturing industries worldwide

108engineering.com 108engineering.com
108engineering
Khlong Luang, 12120

www.108engineering.com Engineering Knowledge Sharing. PLC HMI Solidworks Microcontroller

Tep-Tepe : Thammasat International Engineering Programmes Tep-Tepe : Thammasat International Engineering Programmes
โครงการ TEP-TEPE, Faculty Of Engineering, Thammasat University, 99 Moo 18 Phaholyothin Road
Khlong Luang, 12120

Adeqnic Adeqnic
Khlong Luang, 12120

Development team