คลินิกหมอโดมทำฟัน
ตำแหน่งใกล้เคียง ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม
ถนนเจริญสุข
๒๐๑ ถนนบำรุงราษฎร์ ต. ในเมือง อ. เมือง
Beungkhum, Bangkok
ซอย 3 ถ. เทศบาล1 ต. ในเมือง อ. เมือง
62000
Bumrungrad
Wimankhewview, Chanthaburi
กำแพงเพชร
ถนนราชดำเนิน1 ตำบลในเมือง
ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลในเมือง อ, Muang Kam Phaeng Phet
คณะพยาบาลศาสตร์ เลขที่ 69 หมู่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร, Nakhon Chum
หมู่2
62210
Villaggio รังสิตคลอง2 บ้านเลขที่45/4 ซอยรังสิ-นครนายก31 ต. คลองสอง อ. คลองหลวง, Ban Khlong Ha (2)
ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านทำผม
เทศา1 ต. ในเมือง
ถนน เทศบาล
ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร
ถ. วังคาง ต. ในเมือง อ. เมือง จ. กำแพงเพชร ตึกหอพักมาลัยเพลสส
ถ. เทศา 1 ต. ในเมือง อ. เมือง จ. กำ
https://goo. gl/maps/1iGaGMMvHc6iTTsh 8
ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านทำเล็บ
ถนน เทศบาล
ถ. ราษฎ์รวมใจ สี่แยกเส้นตัดใหม่ รพ. กำแพงเพชร เส้นผลิใบหมูกะทะเก่า
ถนนประชาหรรษา ต. ในเมือง อ. เ
Nakhon Ratchasima 30260
62000
ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านเสื้อผ้า
62000
Charoensuk Road
กำแพงเพชร
ถนนบำรุงราษฎร์ ต. ในเมือง อ. เมือง กำแพงเพชร
62000
เจริญสุข
ตำแหน่งใกล้เคียง แท็กซี่
62000
62000
ตำบล นครชุม อำเภอเมืองกำแพงเ
62000
ม. 6 ต. สระแก้ว อ. เมือง จ. กำแพงเพชร
Kam Phaeng Phet 62000
ความคิดเห็น
Mon - Fri. 12.00 - 13.30 น. , 17.00- 20.30 น. Sat - Sun. 09.00 - 19.30 น.

เพื่อสุขภาพฟันที่ดีของเด็กๆไม่เป็นคนที่แบดและไม่แซดบ่อยๆต้องอย่าลืม 2-2-2 กันนะครับ
Cr: หมอพร้อม


เรื่องราวของการดูแลสุขภาพช่องปากในคนไข้จัดฟัน😄
ขอขอบคุณ Page :ฟันดีดี 🙏😄
https://www.facebook.com/1695737337396165/posts/2968551850114701/?d=n
เคล็ด (ไม่) ลับ ฉบับดูแลช่องปากหลังจัดฟัน
.
พึ่งไปจัดฟันมาหมาด ๆ จะดูแลยังไงให้ฟันสะอาด แข็งแรง เป็นระเบียบ และสวยงามไปนาน ๆ 🦷✨แปรงฟันทั่วไปก็น่าจะพอแล้วหรือเปล่า แล้วถ้าอยากกินของอร่อย ๆ มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง จะเป็นอันตรายกับฟันของเราหรือเปล่านะ 🤔
.
วันนี้ #ฟันดีดี จะมาแนะนำเคล็ด (ไม่) ลับ มาบอกให้ทุกคนดูแลช่องปากหลังจากการจัดฟันได้รู้กัน สายจัดฟันไม่ควรพลาดเด็ดขาด ❗
.
แปรงฟันหลังรับประทานอาหารอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 🪥
ด้วยแปรงสีฟันสำหรับคนที่จัดฟันโดยเฉพาะ โดยรูปร่างของขนแปรงนั้นจะมีลักษณะเป็นร่องลึกตรงกลาง แบบ V-Shape เพื่อให้สามารถทำความสะอาดในส่วนของเส้นลวดและที่ยึดฟันได้ทั่วถึง มีขนแปรงนุ่ม สามารถซอกซอนทำความสะอาดได้
.
ใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง 🦷
ช่วยทำความสะอาดในส่วนที่เข้าถึงยาก โดยเฉพาะบริเวณซอกฟันและเหงือก และเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามชอกฟันเหล็กดัดฟัน ไม่ให้เศษอาหารสะสมจนเกิดอาการอักเสบของเหงือก หรือเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ
.
ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 🧴
ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เมื่อนำมาใช้แปรงฟันด้วยสูตร 2-2-2 จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุ และช่วยในการดูแลความสะอาดในช่องปากได้ในระหว่างที่จัดฟัน
.
พบทันตแพทย์เป็นประจำ 👨🔬
พบทันตแพทย์หลังจัดฟันทุกเดือน เพื่อตรวจสอบและปรับอุปกรณ์จัดฟันให้เหมาะสม และตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเหงือกและฟัน รวมทั้งขูดหินปูนและทำความสะอาดช่องปาก หลังจากนั้นหมั่นพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
.
นอกจากนี้หลังจากจัดฟันแล้ว มีพฤติกรรมที่เราต้องคอยระมัดระวังเพื่อไม่ให้ฟันเสียหาย ได้แก่ ❌
.
หลีกเลี่ยงการใช้ฟันเคี้ยวหรือกัดของแข็ง 🧊
ได้แก่ น้ำแข็ง ข้าวโพดคั่ว ถั่วชนิดต่าง ๆ หรือขนมขบเคี้ยวที่มีความเหนียว เช่น หมากฝรั่ง ทอฟฟี่ ลูกกวาด เพราะจะนำไปสู่การเกิดคราบจุลินทรีย์และคือสาเหตุหลักของการทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ยังเสี่ยงทำให้ฟันถูกกระแทกจนอาจเกิดการบิ่น แตก หรือฟันหักได้
.
หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด 🍋
เช่น มะนาว ส้ม หรือการดื่มน้ำอัดลม เพราะจะทำให้น้ำตาลและกรดติดค้างอยู่ในเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งสามารถทำลายกาวที่ยึดที่จัดฟัน และกรดอาจจะทำให้เคลือบฟันสึกได้
.
ใครที่กำลังจัดฟัน ต้องคอยดูแลรักษาฟันที่พึ่งจัดไปเป็นพิเศษ และปฏิบัติตามข้อแนะนำในการดูแลฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มี ‘ฟันดีดี’ อยู่กับเราไปนาน ๆ ทานอะไรก็อร่อยแน่นอน 😁
.
อย่าลืมกดติดตามเพจ #ฟันดีดี เอาไว้ล้วงความลับใหม่ ๆ สนุกสุดฟันไปด้วยกันกับทีมแพทย์และทีมงานฟันดีดีนะจ๊ะ
.
ที่มา : สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย, Smile And Co Dental Clinic, PPTV, IDOL SMILE DENTAL CLINIC, Smile & Shine DENTAL CLINIC The Ivory Dental Clinic

หัวข้อ “ลูกอม ไม่ใช่ยาสีฟัน”
ฝากผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน
https://www.facebook.com/285515698197744/posts/4927793313969936/?d=n
อย่าทำให้สับสน ลูกอม..ไม่ใช่ยาสีฟัน
ตามที่มีการโฆษณาขาย “แปรงสีฟันลูกอม + ยาสีฟันไซรัป” ในสื่อต่าง ๆ นั้น ทางทีมประชาสัมพันธ์ ทันตแพทยสภาได้รับแจ้งจากทันตแพทย์ว่ามีความกังวลต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ว่าอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพช่องปากได้ ภายใต้ความกังวลเดียวกันนี้ สมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทยได้ยกข้อกังวลเรื่องอาจทำให้เด็กเล็กเข้าใจผิด ไปทานยาสีฟันจริงแทนได้ ในประเด็นนี้ รศ.ดร.ทพญ. ศิริรักษ์ นครชัย และทีมคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบของการขายแปรงสีฟันฟันลูกอมและยาสีฟันไซรัปที่อาจเกิดขึ้น
“การผลิตขนมออกมาจำหน่ายในรูปลักษณ์ของแปรงสีฟันและยาสีฟัน โดยเป็นขนมที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ สูงมาก ซึ่งไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพฟันน้ัน จะสร้างความเข้าใจผิดทั้งต่อเด็กว่าขนมดังกล่าวนั้นเป็นของมีประโยชน์ เพราะรูปลักษณ์สินค้าเป็นการเชื่อมโยงกับแปรงสีฟันและยาสีฟันให้เหมือนจริง โดยแปรงสีฟันและยาสีฟันเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและทันตแพทย์แนะนำให้เด็ก ๆ ใช้เป็นประจำเพื่อป้องกันโรคฟันผุ
เรามีความกังวลว่า ขนมรูปลักษณ์นี้อาจสร้างความสับสนให้เด็กเข้าใจว่ายาสีฟันที่ใช้อยู่เป็นประจำเป็นสิ่งที่รับประทานได้ หากบีบยาสีฟันจริงมาใช้แปรงฟันในปริมาณมาก ๆ ก็อาจได้รับผลเสียได้ โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ให้เด็กในปริมาณน้อย ๆ และใช้ผ้าสะอาดเช็ดฟองออก ไม่ควรกลืนหรือกินยาสีฟันเข้าไป”
นอกจากนี้ ทีมคุ้มครองผู้บริโภค ทันตแพทยสภา ได้ตรวจสอบถึงที่มาของสินค้าดังกล่าว พบว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศจีน และมีบริษัทของไทยนำเข้ามาขาย ในส่วนหัวแปรงที่เป็นลูกอม มีส่วนประกอบที่เป็นกลูโคส 93% น้ำตาล 5% และเป็นสารแต่งกลิ่น ใส่สีสังเคราะห์ ส่วนยาสีฟันไซรัปก็มีส่วนประกอบที่เป็น กลูโคสไซรัป 93% น้ำผลไม้ 5% แต่งกลิ่นและแต่งสีสังเคราะห์ ใส่สารควบคุมความเป็นกรด ซึ่งสารทั้งหมดไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใด จึงอยากแจ้งเตือนผู้ปกครองให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะซื้อขนมดังกล่าวให้บุตรหลานของท่าน เพราะทำให้มีความเสี่ยงเกิดที่จะเกิดฟันผุจากน้ำตาล และกรดที่ใส่เพิ่มเข้ามาก็จะทำให้ฟันของเด็กกร่อนได้ ที่สำคัญอีกประการคือ เด็กอาจเกิดความสับสนที่จะบีบยาสีฟันจริงในปริมาณมาก ๆ และกลืนเข้าไปทั้งหมดได้ ซึ่งจะเกิดฟันตกกระในชุดฟันแท้ในอนาคตได้

ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องฟลูออไรต์
Cr. Thai Dental Council
https://www.facebook.com/285515698197744/posts/4907012829381318/?d=n
ฟลูออไรด์ในไทย ปลอดภัยและจำเป็น
ช่วงสองวันที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องอันตรายของฟลูออไรด์ โดยอ้างว่าส่งผลต่อความฉลาด การป่วยมะเร็ง มวลกระดูกบาง ฟันผุกร่อน หินปูนที่ข้อ หรือมีผลกระทั่งถึงการกลายพันธุ์ นอกจากนี้ผู้เผยแพร่ยังกล่าวอ้างว่าบุคลากรการแพทย์แนะนำให้ใช้ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ เพื่อให้เกิดโรคในประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเงินแก่ตนเอง
ข้อมูลชุดนี้ เชื่อถือได้จริงหรือไม่??
ในประเด็นนี้ มีทันตแพทย์หลายท่านได้ออกมาโพสต์ชี้แจง เช่น ทพญ.กมลชนก เดียวสุรินทร์ กรรมการสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ถึงข้อมูลที่เคยเขียนไว้ใน Facebook สมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทยว่า “ยาสีฟันฟลูออไรด์ไม่ได้อันตรายอย่างที่คนแชร์กัน” การเกิดพิษของฟลูออไรด์เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ เกิดแบบเฉียบพลัน และเกิดแบบเรื้อรัง ในกรณีเฉียบพลัน ถ้าเป็นกรณีการเกิดพิษของฟลูออไรด์จากยาสีฟัน จะเป็นอันตรายต่อเมื่อเป็นการผู้ป่วยกินยาสีฟันปริมาณมาก ๆ เข้าไปในคราวเดียว แทนที่จะเป็นการบีบใส่แปรงสีฟันแล้วบ้วนทิ้งหลังแปรงเสร็จ ฉะนั้น การใช้ยาสีฟันแบบปกติ แทบไม่มีโอกาสทำให้เกิดพิษจากฟลูออไรด์
ส่วน ทพ.วัชรพงษ์ ต้นประสงค์ ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก ที่ Tokyo Medical and Dental University ประเทศญี่ปุ่น ได้ชี้แจงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับฟลูออไรด์ดังนี้ คือ ความเป็นพิษจากการใช้ฟลูออไรด์นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการได้รับอันตรายจากฟลูออไรด์ในยาสีฟันนั้นเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากมิได้เป็นการบริโภคยาสีฟันผสมฟลูออไรด์โดยตรง และได้ระบุว่า งานวิจัยของโพสต์ต้นทางมีจุดประสงค์เพื่อดูพยาธิสภาพในสัตว์ทดลอง ผ่านการบริโภคฟลูออไรด์ในน้ำดื่มที่ความเข้มข้น 200 ppm แต่ในชีวิตประจำวันนั้น น้ำดื่มมีสารประกอบฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นราว 1.5 ppm เท่านั้น แตกต่างจากระดับที่อ้างอิงในวิจัยมาก รวมทั้งมีการเปรียบเทียบข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวกับระดับความเข้มข้นของสารประกอบฟลูออไรด์ในยาสีฟันซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อมูล ดังนั้นการอ้างอิงงานวิจัยนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบและเหมาะสม
เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ ทีมประชาสัมพันธ์ได้ส่งโพสต์ทั้งสามชิ้นให้ รศ.ดร.ทพญ.ศิริรักษ์ นครชัย ประธานอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาแล้วได้ให้ความเห็นว่า
“คุณหมอทั้งสองท่านกล่าวไว้ได้ถูกต้องแล้ว ปัจจุบันการป้องกันฟันผุโดยการใช้ฟลูออไรด์รูปแบบต่าง ๆ จะเน้นการสัมผัสของฟลูออไรด์กับผิวฟัน ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานเข้าไป ควรใช้ยาสีฟันตามคำแนะนำทั้งความเข้มข้นของฟลูออไรด์และปริมาณยาสีฟัน ในเด็กโตและผู้ใหญ่โอกาสที่จะกลืนยาสีฟันมีน้อยมากเพราะสามารถควบคุมการบ้วนทิ้งได้ดี ส่วนเด็กเล็กอาจมีโอกาสกลืนมากกว่า แต่ถ้าใช้ปริมาณยาสีฟันตามที่แนะนำ ปริมาณฟลูออไรด์จากยาสีฟันที่กลืนจะน้อยมาก โอกาสเกิดพิษจากฟลูออไรด์จึงน้อยเช่นกัน ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ถ้าใช้ยาสีฟันที่มีความเข้มข้น 1000-1500 ppm ตามปริมาณที่แนะนำคือ ใช้ปริมาณน้อยพอเปียกแปรงสีฟัน การแปรงฟันวันละสองครั้งจะมีปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน ประมาณ 0.2-0.3 mgF ซึ่งไม่เกิน ปริมาณที่ไม่เกิดผลข้างเคียงในวัยนี้คือ 0.4-0.7 mgF ส่วนพิษของฟลูออไรด์ที่เกิดจากดื่มน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีฟลูออไรด์สูงอย่างต่อเนื่องนั้น มีความเป็นไปได้ที่มีบางพื้นที่ของประเทศไทยอาจมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมาก ต้องหลีกเลี่ยงการดื่มนำ้ที่มีฟลูออไรด์สูงเกิน แต่ก็ยังไม่ได้เป็นข้อห้ามการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ถ้าไม่ได้มีการกลืนยาสีฟันเข้าไป การพิจารณาความเป็นพิษของฟลูออไรด์จะดูเพียงความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในสารนั้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูปริมาณของสารที่รับเข้าไปด้วย
ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสามท่านต่างบ่งชี้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลด้านอันตรายของฟลูออไรด์ดังกล่าวนั้นไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ เป็นการบิดเบือนข้อมูลจากงานวิจัยในสัตว์ทดลองมาสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน
สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลวิชาการเชิงลึกติดตามอ่านได้จาก
1.แนวทางการใช้ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-20190213213340.pdf
2.ปริมาณฟลูออไรด์ที่แนะนำ จากสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย
https://web.facebook.com/452215124942310/photos/a.452617651568724/722136214616865/?type=3&_rdc=1&_rdr
หมายเหตุ: แหล่งอ้างอิงที่ 2 ยังมีข้อจำกัดด้านการอัพเดทปริมาณฟลูออไรด์แนะนำ ในอดีตแนะนำที่ 1000 ppm ปัจจุบันขยับเพดานเป็น 1000 - 1500 ppm แล้ว
สุขภาพดี ดูแลเองได้ เรื่องที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย
21 ตุลาคม วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
https://www.facebook.com/anamaidoh/videos/996497910917685/

ความรู้เรื่องฟันเทียม(ฟันปลอม)
Cr.คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.facebook.com/114864605211646/posts/4628003443897717/?d=n

หายจาก COVID-19 จะทำฟันได้เมื่อไหร่
อ่านจากข้อมูลด้านล่างได้เลยนะครับ
ขอขอบคุณ Cr : Page โรคในช่องปากอยากบอก
https://www.facebook.com/100998258758352/posts/194197659438411/?d=n
รู้หรือไม่หายจากโควิดแล้ว...ทำฟันเมื่อไรดี?
เชื่อว่าต่อจากนี้คุณหมอหลายท่านอาจต้องพบกับคนไข้ที่หายจากโควิดแล้วมาทำฟันด้วย คำถามคือ...แล้วคุณหมอสามารถรักษาคนไข้กลุ่มนี้ได้ตามปกติหรือไม่?
จากแนวทางปัจจุบันก็มีทั้งส่วนที่สนับสนุนให้รอหลังจากหาย โดยนับวันที่มีอาการครั้งแรก 28 วัน จึงจะสามารถทำฟันได้ ในขณะที่ก็มีบางแนวทางที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยให้รอหลังจาก 30 วัน หลังจากตรวจพบผลเป็นลบ และไม่มีอาการจึงจะสามารถทำได้ ซึ่งอย่างหลังอาจเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกแนวทางของ American Society of Anesthesiologists (ASA) ที่รายงานถึงการทำหัตถการที่ไม่เร่งด่วนในคนไข้ที่หายจากโควิด โดยนับจากวันที่วินิจฉัย ซึ่งตรงส่วนนี้งานรักษาของหมอฟันส่วนใหญ่ก็เทียบได้กับหัตถการที่ไม่เร่งด่วน ลุงหมอจึงขอหยิบยกมาเปรียบเทียบ และอ้างถึงว่าควรทำฟันเมื่อไรดีหากใช้ตามแนวทางของ ASA
1. 4 สัปดาห์ในรายที่ไม่มีอาการ หรือในรายที่มีอาการเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจ
2. 6 สัปดาห์ในรายที่มีอาการ เช่น ไอ หายใจลำบาก แต่ไม่ถึงกับต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
3. 8-10 สัปดาห์ในรายที่มีอาการ และมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ และในรายที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล
4. 12 สัปดาห์ในรายที่ต้องรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
ทั้งนี้การทำฟันที่กล่าวถึงหมายถึงงานที่ไม่เร่งด่วนครับ และคาดว่าแนวทางที่กล่าวมานี้คงอาจจะมีการปรับเปลี่ยนกันในอนาคตต่อไป แต่ต่อจากนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญคงต้องถามคนไข้ด้วยทุกครั้งว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่?
Reference:
1. Ali Alharbi, Saad Alharbi, Shahad Alqaidi, Guidelines for dental care provision during the COVID-19 pandemic, The Saudi Dental Journal, Volume 32, Issue 4, 2020, Pages 181-186, ISSN 1013-9052, https://doi.org/10.1016/j.sdentj.2020.04.001.
2. Tarakji, B., & Nassani, M. Z. (2021). Reactivation of COVID-19-14 days from the onset of symptoms may not be enough to allow dental treatment. Oral diseases, 27 Suppl 3, 789–790. https://doi.org/10.1111/odi.13487
3. https://www.asahq.org/about-asa/newsroom/news-releases/2020/12/asa-and-apsf-joint-statement-on-elective-surgery-and-anesthesia-for-patients-after-covid-19-infection

แจ้งเพื่อทราบช่วงระหว่างวันที่23-31สิงหาคม2564ทางคลินิกปิดปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในร้าน ทางคลินิกจึงไม่สามารถเปิดทำการได้ถ้าต้องการติดต่อทางคลินิกสามารถติดต่อได้ทางช่องทางดังนี้
โทรศัพท์ 0846881634
Line ID : domedentalclinic
คลินิกจะเปิดดำเนินการอีกครั้งใน วันที่1กันยายน2564 เวลา12.30น
ขอบคุณค่ะ🙏

ข้อมูลชุดตรวจ COVID-19
Cr.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข

ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้วทำฟันได้ไม๊? มีคำตอบ 😄
Cr:ทันตแพทยสภา
https://www.facebook.com/285515698197744/posts/4016590271756916/?d=n
แนวทางการให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19
ปัจจุบัน ประชาชนในประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac และ Astrazeneca เป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆตามแต่ละบริบทและการบริหารจัดการของคณะกรรมการควบคุมโรคติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ โดยเรียงลำดับจากบุคลากรด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 ชนิด และจะมีการฉีดให้แก่ประชาชนทั่วไป อายุ 18-59 ปี เป็นลำดับต่อไป
ซึ่งภายหลังการฉีดวัคซีนได้มีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ดังนี้
1.อาการไม่พึงประสงค์หลังจากการฉีดวัคซีนSinovac
1.1 Immunization Stress-Related Respanse (ISRR) เกิดจากกรณีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการฉีดวัคซีน กลุ่มอาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง ในบุคคลที่ได้รับวัคซีนโควิด -19 ไปแล้ว ซึ่งพบอาการได้หลากหลาย แบ่งเป็น
1.1.1 อาการทั่วไป เช่น เป็นลม ปวดเกร็งท้อง คลื่นไส้ ตาพร่ามัว เหงื่อแตก ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
1.1.2 อาการทางระบบประสาท(Dissociative neurological symptom reaction : DNSR) เช่น อาการอ่อนแรง การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ความผิดปกติของการทรงตัว พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว
1.1.3 อาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง เช่น ชัก ชา แขนขาอ่อนแรง
โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ประมาณ 5-30 นาทีภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในบางรายเกิดหลังจากนั้นหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน อาการดังกล่าวข้างต้นมักจะหายภายใน 1- 3 วัน แต่ในบางรายอาการอาจจะอยู่ได้นานกว่านั้น
1.2 Immunization Related Focal Neurological Syndrome (IRFN) เป็นคำนิยามใหม่ซึ่งเกิดจากการเก็บรวบข้อมูลผู้ฉีดวัคซีน Sinovac ร่วมกับอาการคล้ายอัมพฤกษ์ จากผู้ฉีดวัคซีนใน รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์IRFNประมาณ 1: 3,000(49 Cases:14,954 Doses) ซึ่งพบว่า ผู้ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนนั้น มีอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่(acute sensory symptoms) เช่น ชา อ่อนแรง ปากเบี้ยว และปวดศีรษะมีลักษณะคล้ายกับอาการของผู้ป่วยไมเกรน บางครั้งพบร่วมกับการมองเห็นภาพผิดปกติ ตามัว และยิ่งพบอาการรุนแรงขึ้นได้ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น คนอ้วน(High BMI) และยังพบหลักฐานของความผิดปกติในเนื้อสมองเกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่พบความเสียหายอย่างถาวร จากการตรวจ MRI MRA brain ร่วมกับการตรวจ SPECT(Single-photon emission computed tomography )โดยอาการดังกล่าวมักหายได้เป็นปกติเอง ใน 24-72 ชั่วโมง ทั้งนี้กลไกการเกิดยังไม่ชัดเจน แต่มีความใกล้เคียงกับกลไกการเกิดไมเกรนมากที่สุด ทั้งอาการ transient neurological symptom บางราย มีอาการปวดศีรษะ รวมถึงอาการหิวบ่อยและง่วงนอนซึ่งพบบ่อยใน ผู้ป่วยไมเกรน(Migraine prodrome)
อย่างไรก็ตามอาการไม่พึงประสงค์IRFNยังมีโอกาสเกิดจากทฤษฏีหรือสมมติฐานอื่นๆได้อีกเช่น
1.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดส่วนปลายขนาดเล็กของสมองซึ่งสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดหดเกร็งชั่วคราว( micro-vasospasm)
2.เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งสัมพันธ์กับการได้รับสารก่อภูมิต้านทานมาก่อน
2.อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน Astrazeneca
จากการเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวอังกฤษจำนวน 10.5 ล้านคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนAstrazenecaเข็มที่ 1 โดยสำนักงานสาธารณสุข ประเทศอังกฤษ ได้พบอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน ดังต่อไปนี้
2.1ปวดศีรษะอย่างรุนแรง จากที่ไม่เคยปวดมาก่อนและไม่สามารถบรรเทาอาการปวดด้วยยาแก้ปวดทั่วๆไป
2.2 ปวดศีรษะแบบแปลกๆ ปวดมากขึ้นเวลาก้มหรือนอนราบ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตามัว รู้สึกอ่อนแรง ง่วงซึม พูดจาลำบากกว่าปรกติ หรือชัก
2.3 พบเลือดออกเป็นจุด หรือมีรอยช้ำที่หาสาเหตุไม่ได้ บริเวณร่างกาย
2.4 ปวดท้อง, ขาบวม, ปวดแน่นหน้าอก หรือหายใจถี่ shortness of breathe
หากพบว่ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ติดต่อกัน 4 วัน ภายใน 28 วันหลังจากฉีดวัคซีนAstrazeneca แนะนำให้พบแพทย์เพื่อส่งตรวจภาวะลิ่มเลือดอุดตัน(Blood clotting)อย่างเร่งด่วน และมีการรายงานในประชากรชาวเอเชียจะพบอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนได้น้อยกว่า ประชากรชาวยุโรป ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีน Astrazeneca ยังมีปริมาณน้อยอยู่
อย่างไรก็ตามอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังมีโอกาสเกิดจากทฤษฏีหรือสมมติฐานอื่นๆได้อีกหลากหลายกลไก เช่น micro-vasospasm หรือ immune activation เป็นต้น รวมถึงวัคซีนโควิด-19ทางเลือกอื่นๆที่กำลังอยู่ในขั้นตอนจัดหาวัคซีนเข้ามาใช้ในประเทศไทย ก็สามารถพบอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนได้เช่นกัน ทั้งยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยและรายงานผลต่อไป
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการรักษาทางทันตกรรม ทันตแพทยสภาจึงเสนอแนวทางการให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
1. ซักประวัติการได้รับการฉีดวัคซีน และให้ผู้ป่วยแสดง บันทึกการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ทันตแพทย์
2.ซักประวัติอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนโควิด-19
2.1. หากซักประวัติพบว่าผู้ป่วยปฏิเสธอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถทำการรักษาทางทันตกรรมทุกชนิดได้ ภายใต้เงื่อนไขประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉินในแต่ละพื้นที่
2.2. หากซักประวัติพบว่าผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์แนะนำให้เลื่อนหัตถการทันตกรรมออกไปก่อน โดยรอให้ไม่ปรากฏอาการไม่พึงประสงค์ แล้วจึงสามารถทำการรักษาทางทันตกรรมได้ ภายใต้เงื่อนไขของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในแต่ละพื้นที่
3. กรณี ทันตกรรมเร่งด่วน(urgent)และทันตกรรมฉุกเฉิน(Emergency)ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่http://dentalcouncil.or.th/images/uploads/file/2ET1R2JTE9HMF02W.pdf
คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ ทันตแพทยสภา วาระที่ 9
15 มิถุนายน 2564
ที่มา :
1.คณะผู้เชี่ยวชาญเหตุการณ์ภายหลังได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค สถาบันประสาทวิทยา และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.//( 2564).//แนวทางปฏิบัติสำหรับอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรค กรณีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการฉีดวัคซีน กลุ่มอาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จากhttps://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640430093047AM_แนวทางอาการไม่พึงประสงค์%20ISRR_25Apr2021.pdf
2. อ.นพ. พงศ์ภัทร์ วรสายัณห์,ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ , ศ.นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.//(2564).//COVID-19 Education Series:Neurological complication after covid vaccination: Fact or Friction.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จาก/ https://www.facebook.com/watch/?v=782666945779587
3. Public Health England.//(2564).//Blood Clotting following COVID-19 Vaccination Information for Health Professionals.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จากhttps://assets.publishing.service.gov.uk/
government/uploads/system/uploads/
attachment_data/file/984404/
PHE_COVID-19_AZ_vaccine_and_blood
_clots_factsheet_7May2021.pdf
4.The COLLEGE of PODIATRY.//(2564).//COVID-19 Vaccine and Local anesthetic.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จากhttps://cop.org.uk/news-and-features/covid-19/covid-19-vaccine-and-local-anaesthetic
5.Centers for Disease Control and Prevention.//(2564).//COVID-19 Vaccination and Other Medical Procedures | CDC.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564 ,/จากhttps://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect/other-procedures.html
6.Royal College of Surgeons UK.//(2564).// "Vaccinated patients guidance — Royal College of Surgeons" .//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จาก https://www.rcseng.ac.uk/coronavirus/vaccinated-patients-guidance/
7.Connie Lin et al. Pediatric Anesthesia.//(2564).//Implications of anesthesia and vaccination .//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จากhttps://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33540468/
8. คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.//(2564).//คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนและคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการให้วัคซีน.//สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564,/จาก/https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/12/1620107182946.pdf

ความรู้เรื่อง”ฟันปลอม”
Cr:gsk

คำแนะนำ ช่วงการระบาด COVID-19
Cr: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สุขสันต์วันตรุษจีน 2021🇨🇳

การแปรงฟันสำหรับคนไข้จัดฟัน. ดูแลสุขภาพฟันและเหงือกให้แข็งแรง การเคลื่อนของฟันจะทำได้ดีและลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนนะครับ
ขอบคุณ Page:ใกล้หมอฟัน

ฟันยังดี-กลิ่นปาก-04
สาระดีๆเรื่องกลิ่นปาก
Cr.กรมอนามัย
Cr. รศ.ทพ.สรสัณห์ รังสิยานนท์
https://www.youtube.com/watch?v=G2rKcK_WQCY&feature=youtu.be

ทำฟันช่วงนี้อาจจะกังวลเรามาเน้นการป้องกันและดูแล ที่บ้านกัน
Cr.คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Cr.ทันตแพทยสภา

ทันตแพทย์จิตอาสาเพื่อคนไทย❤️🇹🇭

Photos from คลินิกหมอโดมทำฟัน's post
เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการ Social Distancing และการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ของประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทางคลินิกหมอโดมทำฟันจำเป็นต้องหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่ในข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปิดการให้บริการ แต่เราหวังว่าเราจะเป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสังคมที่จะช่วยให้ประเทศชาติของเรากลับมามีรอยยิ้มที่สดใสเหมือนเดิมอีกครั้ง
ทางคลินิกหมอโดมทำฟันขอแสดงความร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งด้วยการหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นคนไข้ของเราทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจและกลับมาเจอกันอีกครั้งในเวลาอันใกล้นี้
ระหว่างนี้ถ้าคิดถึงกันหรือต้องการติดต่อกับเราสามารถติดต่อได้ทางช่องทางต่อไปนี้
โทรศัพท์ 084-6881634
page : คลินิกหมอโดมทำฟัน
Line ID : domedentalclinic

การดูแลฟันปลอมชนิดถอดได้
Cr.Dent CMU
https://www.facebook.com/465585700243632/posts/1727628207372702?d=n&sfns=mo

แนะนำสำหรับผู้สูงอายุทุกท่าน
Cr. Dent CMU
🧓👵การบริหารใบหน้าและช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำลายและทำให้กลืนอาหารได้ดีขึ้น
โดย คลินิกส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขณะนี้ใช้สิทธิประกันสังคมที่คลินิกหมอโดมทำฟันได้แล้วนะครับ😃

สำหรับผู้ปกครองทุกท่านครับ
Cr.ฟันน้ำนม
ในอดีตแนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรก เลือกใช้ฟลูออไรด์ 500 หรือ 1000 ppm ก็ได้ โดยใช้ปริมาณที่ต่างกันตามความเข้มข้น แต่ในเด็ก 6 ขวบขึ้นไปให้ใช้ 1000 ppm
ปัจจุบันทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ออกแนวทางใหม่เมื่อปี 2560
✅ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรก
📌เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ใช้นิดเดียวแค่พอเปียกขนแปรง หรือเท่าเม็ดข้าวสาร
📌เด็กอายุ 3-6 ขวบ บีบตามแนวขวางของหน้าแปรง หรือเท่ากับเม็ดถั่วลันเตา เม็ดข้าวโพด
📌เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป บีบเต็มแปรง
หมอตุ๊กตา 💕
Workpoint Entertainment
ด้วยความห่วงใย
Cr: Infectious ง่ายนิดเดียว
กระทรวงสาธารณสุข🇹🇭
ทุกๆ 1 ชั่วโมง มีคนไทย 6 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

วันนี้จะขอ Share เรื่องราวดีๆ ที่คุณแม่แสดงถึงความรักให้กับลูก โดยเก็บฟันน้ำนมทุกซี่ของลูกเพื่อสิ่งนี้
ขอขอบคุณ Page Doctor กล้วย ครับ ที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ🙏🏼😄
https://www.facebook.com/485862641599902/posts/957020324484129/
#เรื่องน่ารักๆของคุณแม่...❤️❤️❤️
คำกล่าวที่ว่า #แม่ทำได้ทุกอย่างเพื่อลูก...เป็นเรื่องจริง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องฟัน
คุณแม่ ปอ พุงหมี หลังไมค์มาถามว่า เรียงฟันลูกผิดมั้ย Doctorกล้วย ดูแล้วขอบอกว่าคุณแม่น่ารักจัง ไล่เก็บฟันน้ำนมลูกชายไว้ทุกซี่ ที่หายไปสองซี่สงสัยลูกคุณแม่กินลงไปตอนนอนหลับ เลยหาไม่เจอ55
คุณแม่ปอ พุงหมี บอกว่าอยากให้ลูกรักและดูแลฟันเธอเลยเก็บฟันไว้ จดวันที่ฟันหลุดไว้ทุกซี่ อย่างละเอียด พอฟันลูกหลุดหมด คุณแม่ก็หาดินเบามาปั้นเป็นเหงือกแล้วเอาฟันมาเรียง ถามว่าเก็บไว้ทำไม คุณแม่ตอบว่า #เก็บไว้ให้ลูกดูว่าฟันเขาได้รับการดูแลที่ดีมาตลอด คุณแม่ปอ พุงหมี เล่าต่อว่า เธอดูแลฟันลูกอย่างดีพบทันตแพทย์ตั้งแต่เล็กๆจนปัจจุบัน ลูกฟันดีมากไม่ผุเลย
#เรื่องเล็กๆที่แม่ทำให้ลูก...น่ารักและยิ่งใหญ่เสมอ
ขอบคุณ..คุณแม่ปอ พุงหมี ที่ถ่ายทอดเรื่องราวให้ Doctorกล้วยมาเล่าให้แม่ท่านอื่นได้ฟัง...ขอให้คุณแม่ปอ ไร้พุง นะครับ555

คลินิกหมอโดมทำฟัน

ข่าวจากทันตแพทยสภา ด้วยความห่วงใยประชาชน แจ้งข่าวเตือนเรื่อง
สินค้าอันตรายลวดดัดฟันแฟชั่น "เป็นสินค้าห้ามขาย"
https://www.facebook.com/thaidentalcouncil/posts/1432460063503296
สินค้าอันตรายลวดดัดฟันแฟชั่น "เป็นสินค้าห้ามขาย"

วันนี้เราจะมาคุยกันในหัวข้อว่า" X- ray ก่อนการถอนฟันสำคัญไฉน? "👨⚕️
ภาพที่เห็นเป็นการถอนฟันที่สามารถเอาฟันออกได้ทั้งหมด เป็นการถอนฟันด้วยวิธีปกติ ไม่ต้องกรอกระดูก
เห็นแล้วรู้สึกน่ากลัวใช่ไหมครับ ถ้าคนไข้ไม่ยอมx-rayผมคงต้องกรอกระดูกคนไข้และต้องนั่งแคะนั่งงัดแน่ๆ😅ผมถึงอยากบอกว่า
การ X-ray เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้หมอฟันทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยกับคนไข้
ถ้าครั้งต่อไปคุณหมอฟันจะขอ X-ray ก่อนการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด ก็อย่าดื้อกับคุณหมอกันนะครับ😊
ภาพที่เห็นเป็นภาพฟันและรากที่ผมถอนออกมาจริงไม่ได้ตัดแต่งอะไรเลยนะครับอาจจะดูน่ากลัวไปสักนิด 😅ก็ต้องขออภัยครับ สุดท้ายนี้ผมก็อยากบอกทุกคนว่า เราควรเน้น การป้องกันและดูแลสุขภาพฟันจะดีที่สุดครับ ด้วยความห่วงใย❤️ หมอโดม
The Thai Red Cross Society
ขอ Share เรื่องดีๆ สำหรับคนในบ้านที่เรารัก
https://www.facebook.com/ThaiRedCross/videos/1667533646613625/
อุบัติเหตุภายในบ้านเป็นเรื่องใกล้ตัว ....ทุกท่านสามารถเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและปลอดภัยก่อนนำส่งโรงพยาบาลด้วยคลิปวิดีโอนี้ค่ะ #รู้ปฐมพยาบาลทุกบ้านปลอดภัย
สำนักข่าวไทย
เรื่องฟันคุด ดูแล้วเข้าใจง่าย. หลังจากดูแล้ว หาเวลาพบทันตแพทย์ใกล้บ้านด้วยนะครับ ด้วยความห่วงใย
ขอขอบคุณสำนักข่าวไทย. รายการชัวร์ก่อนแชร์
https://www.facebook.com/tnamcot/videos/1213838408720296/
#ชัวร์ก่อนแชร์ : จะผ่าฟันคุด ต้องรอให้เห็นฟันขึ้นก่อน จริงหรือ?
บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันคุดที่ว่า ถ้าจะทำการรักษาควรรอให้ฟันขึ้นให้เห็นเป็นฟันคุดอย่างชัดเจนก่อน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจาก #ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
• อ่านข่าวเพิ่มเติม : tnamcot.com
• เฟซบุ๊ก : fb.com/tnamcot
• ยูทูบ : youtube.com/tnamcot
• แอดไลน์ : line.me/R/ti/p/%40tnamcot
• ทวิตเตอร์ : twitter.com/tnamcot
• อินสตาแกรม : instagram.com/tnamcot
• ช่อง 9 MCOT HD กดเลข 30

เชือกถักเป็นรูปโบว์กับดอกไม้น้องผู้ช่วยที่คลินิกทำด้วยใจถวายในหลวงรัชกาลที่9

คลินิกหมอโดมทำฟัน's cover photo

คลินิกหมอโดมทำฟัน

คลินิกหมอโดมทำฟัน's cover photo

" ฟันคุด. ฟันฝัง "
หลายคนคงตั้งคำถามกับตัวเอง หรือกับคนใกล้ชิดว่า "เรา/คนใกล้ชิดจะมีฟันคุด ฟันฝังไม๊?"
การตรวจมักต้องพบคุณหมอฟันเพื่อตรวจสุขภาพฟัน (ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่) คุณหมอฟันจะทำการตรวจ ประเมิน และอาจทำการเอ็กซเรย์ฟันทุกซี่และกระดูกขากรรไกรเพื่อตรวจ. เดี๋ยวนี้การเอ็กซเรย์ไม่น่ากลัวนะครับ การเอ็กซเรย์ปัจจุบันเป็นระบบดิจิตอลทำได้ง่ายรวดเร็ว. ปริมาณรังสีน้อย. ตรวจให้ละเอียดจะช่วยให้การตรวจมีความแม่นยำมากขึ้น.
รูปที่นำมาจากInternet เป็นฟันคุดฟันฝัง ที่ทำให้เกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรเรา. ถ้าตรวจพบได้เร็วก็จะสามารถรักษาได้เร็วด้วยนะครับ. อย่าลืมไปตรวจสุขภาพฟันกับคุณหมอฟันใกล้บ้านนะครับ. ด้วยความห่วงใย

ผมสร้างเพจขึ้นมาครึ่งค่อนปีแล้วแต่ผมยังไม่เคยแนะนำตัวผมเลยใช่ไหมครับ😊ต้องอภัยเป็นอย่างยิ่งครับเนื่องด้วยผมมีทั้งงานราษฎรงานหลวงชีวิตผมเลยอาจจะวุ่นวายไปสักนิด☺️แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้วผมขออนุญาตแนะนำตัวอย่างเป็นทางการก่อนเลยนะครับผมชื่อ วาทยุทธ กุลสุ ชื่อเล่นว่าโดมครับ ชื่อคลินิกผมมาจากชื่อเล่นผมเองภรรยาผมเป็นคนตั้งชื่อเธอบอกว่าอ่านง่ายและจำง่ายด้วยเธอจบบริหารผมเลยเอาๆเชื่อๆ😍ถึงแม้ว่าเมื่อ15ปีที่แล้วผู้ใหญ่อย่างแม่ๆผมอาจจะไม่ค่อยคุ้นชินกับการเอาชื่อเล่นมาตั้งเป็นชื่อคลินิกก็ตาม😅ผมเป็นทันตแพทย์เฉพาะด้านศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Oral Maxillofacial Surgery ผมรับราชการมาจะ20ปีแล้วแต่ผมยังหนุ่มอยู่นะครับ555 งานที่ผมทำที่โรงพยาบาลกำแพงเพชรก็เป็นงานเกี่ยวกับการผ่าตัด ทันตแพทย์อย่างผมต้องเข้าห้องผ่าตัด ต้องไปดูคนไข้ตามตึกรักษากับเขาด้วยนะครับ😁มาถึงตรงนี้งงไหมครับว่าทันตแพทย์บ้าอะไรไปเข้าห้องผ่าตัดเหมือนแพทย์เขาด้วย555ไม่แปลกครับคนไข้ผมยังงงว่าเวลานัดมาดูอาการทำไมนัดที่แผนกทันตกรรม😂มาถึงตรงนี้ใครอย่างรู้จักผมมากขึ้นกว่านี้ก็ตามเพจกันเยอะๆครับ🤔แต่ถึงแม้จะไม่เยอะผมก็จะกลับมาเขียนต่อครับ555หวังว่าทุกคนจะมีความสุขกับวันอาทิตย์นะครับ😊
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
ถนน เทศา 1
Kamphaeng Phet
62000
เวลาทำการ
จันทร์ | 12:00 - 13:00 |
17:00 - 20:30 | |
อังคาร | 12:00 - 13:00 |
17:00 - 20:30 | |
พุธ | 12:00 - 13:00 |
17:00 - 20:30 | |
พฤหัสบดี | 12:00 - 13:00 |
17:00 - 20:30 | |
ศุกร์ | 12:00 - 13:00 |
17:00 - 20:30 | |
เสาร์ | 09:00 - 19:30 |
อาทิตย์ | 09:00 - 19:30 |
42 ม. 5 ต. ท่าขุราม อ. เมือง
Kamphaeng Phet, 62000
บริการด้านที่นอนป้องกันแผลกดทับ - ท?
๒๐๑ ถนนบำรุงราษฎร์ ต. ในเมือง
Kamphaeng Phet, 62000
ตรวจรักษาโรคกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ เ?