อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เปิดเหมือนปกติ
วันอังคารที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๑๕ น. คณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๔๒ เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนางสาววิรงณ์รอง เกตุทิม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
กระเบื้องเชิงชาย ลายเทพนม เมืองกำแพงเพชร
..
กระเบื้องเชิงชายหรือที่เรียกว่ากระเบื้องหน้าอุด คือกระเบื้องมุงหลังคาแถวล่างสุดของหลังคาแต่ละตับ ส่วนใหญ่ทำเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ทำหน้าที่กันฝน และสัตว์เข้าไปตามแนวกระเบื้อง
..
เทพนม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ ซึ่งลายเทพนมบนกระเบื้องเชิงชายนั้นมักพบในลักษณะโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม หันพระพักตร์ตรง ประนมพระหัตถ์เสมอพระอุระ นอกจากนี้ยังพบลายเทพนมในงานศิลปกรรมอื่น เช่น
..
งานจิตรกรรม ทำลายเทพนมในพุ่มข้าวบิณฑ์บริเวณหน้าต่างอุโบสถ วัดดวงแข กรุงเทพฯ
งานประดับสถาปัตยกรรม พบบริเวณหน้าบัน บันแถลง ประตู หน้าต่างของโบราณสถาน เช่น ลายปูนปั้นรูปเทพนมประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพนม พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชร
ลายเทพนมบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์
..
การนำกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมมาประดับหลังคาเหนือที่ประดิษฐานรูปพระพุทธเจ้านั้น สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงการสักการะพระพุทธเจ้าของเหล่าเทพ หรือเป็นการสื่อถึงเทพประทับในวิมาน โดยแผ่นกระเบื้องเชิงชายเปรียบเสมือนซุ้มวิมานขององค์เทพ หรืออาจเป็นความหมายทางบุคลาธิษฐานในการเปรียบเทียบมนุษย์กับบัวสี่เหล่าของพระพุทธองค์ อันเป็นการแทนภาพของผู้ที่บรรลุโพธิญาณขั้นต้นที่หลุดพ้นจากโคลนตมใต้พื้นน้ำ
..
จากการศึกษากระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาประเภทลายเทพนม ของ นายประทีป เพ็งตะโก สันนิษฐานว่า กระเบื้องเชิงชายลายเทพนมนั้นปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นตลอดจนถึงอยุธยาตอนปลาย ลักษณะสำคัญคือ เทพนมอยู่เหนือดอกบัวในลักษณะผุด หรือถือกำเนิดจากดอกบัว ในระยะแรกสันนิษฐานว่ามีการทำรูปดอกบัวใต้รูปเทพนมมีก้านมารองรับ จากการพบลวดลายปูนปั้นลักษณะคล้ายคลึงกันประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ส่วนรูปดอกบัวรองรับรูปเทพนมลักษณะแบบไม่มีก้านนั้น เริ่มจากดอกตูม แล้วคลี่คลายมาเป็นดอกบาน รวมถึงมงกุฎแบบมีปุ่มแหลมเหนือกรอบกระบังหน้านิยมทำร่วมกันในสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนกลีบบัวที่กลายเป็นลายพันธุ์พฤกษาอยู่ในราวสมัยอยุธยาตอนกลางและปรับเปลี่ยนเป็นลายกระหนกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ โดยลายกระหนกใต้เทพนมนั้นมักทำเป็นกระหนกสามตัวสะบัดพลิ้ว หรือทำลายอย่างอื่นแทนที่รูปดอกบัว ส่วนลักษณะมงกุฎแบบทรงเครื่องใหญ่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓
..
การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบเทียบ (Relative Dating) สันนิษฐานว่าลวดลายในกระเบื้องเชิงชายที่พบจากการขุดแต่งวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชรนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระเบื้องเชิงชายที่พบในโบราณสถานของเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยอ้างอิงภาพเปรียบเทียบลายกระเบื้องเชิงชายจากการศึกษาของ นายประทีป เพ็งตะโก ได้แก่
..
กระเบื้องเชิงชายลายเทพนม (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) ลักษณะทรงสามเหลี่ยมมีหยักที่ขอบนอก ปรากฏรูปเทพนมอยู่เหนือดอกบัว ทำเส้นนูนล้อกับทรงกระเบื้องล้อมรอบเทพนมจำนวนสองเส้น มงกุฎมีการซ้อนชั้นอย่างเรียบ ปลายแหลมสูง สวมกระบังหน้า ดอกบัวรองรับเทพนมไม่มีก้าน กลีบดอกบัวมีลักษณะเรียว และเริ่มมีลักษณะเปลี่ยนเป็นลายกนกบริเวณส่วนปลายกลีบ จากการขุดแต่งวัดช้างรอบ พบกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมลักษณะคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดธรรมมิกราช วัดพลับพลาชัย และวัดสุวรรณาวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
..
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐.
ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๐.
ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท โอสถสภาจำกัด, ๒๕๓๙.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
วันศุกร์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านคลองแขยง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๒๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒.เวลา ๑๑.๓๐ น. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคลังจังหวัดกำแพงเพชร และสำนักงานคลังจังหวัดสุโขทัย จำนวน ๑๗ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนางสาวจินต์จุฑา เขนย ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันพุธที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านยางคอยเกลือ จังหวัดพิจิตร จำนวน ๓๔ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๘.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านคลองสุขใจ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๒ คน โดยมีนางจันทร์เพ็ญ มีรอด ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านวังน้ำขาว จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๐๔ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๓. เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะอาจารย์และนิสิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๕ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดบ่อแร่ (วิจิตรราษฎร์บำรุง) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๓๒ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๑๐.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านสุขขุม (อนุสรณ์พลยงค์) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร
.
ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ พื้นที่ปราสาทพระราชวังในสมัยก่อน หรือแม้กระทั่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบันก็มักจะมีองครักษ์ หรือทหารยามคอยเฝ้าระวังรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้เพื่อไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะศาสนสถาน
.
ทวารบาลในศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย เมื่ออาณาจักรเขมรแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย รวมไปถึงการรับเอารูปแบบของประติมากรรมทวารบาล โดยในศิลปะเขมรมักปรากฏทวารบาลเป็นคู่ อยู่หน้าประตูทางเข้าหลักของเทวาลัย ประตูฝั่งขวาจะเป็นที่สถิตของนนทิหรือนนทิเกศวร เทพบุตรซึ่งเป็นบริวารเอกแห่งพระศิวะ ผู้มีใบหน้ายิ้ม เปี่ยมด้วยความเมตตา ส่วนประตูฝั่งซ้ายเป็นที่สถิตของกาลหรือมหากาล ซึ่งเป็นภาคหนึ่งที่โหดร้ายของพระศิวะ หรือบางตำรากล่าวว่ามหากาลคือพระกาฬ เทพแห่งกาลเวลาผู้กลืนกินทุกอย่าง จึงแสดงออกในรูปที่ดุร้าย มีเขี้ยว และมีใบหน้าที่แสยะยิ้มน่ากลัว เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าทุกทิศของปรางค์ประธาน ปรากฏหลุมสำหรับติดตั้งประติมากรรมขนาบอยู่สองข้างสำหรับประติมากรรมทวารบาล ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทพเจ้า ดังที่พบประติมากรรมจำลองบริเวณประตูทางเข้าด้านทิศใต้ของปรางค์ประธาน เป็นประติมากรรมลอยตัวรูปบุคคล มีลักษณะแสดงความเมตตากรุณา น่าจะเป็นประติมากรรมรูปนนทิเกศวร ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างศาสนสถานปราสาทพนมรุ้งเนื่องในไศวนิกาย
.
ความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลที่ประดับเพื่อสื่อถึงความหมายในการปกป้องศาสนสถานที่เมืองกำแพงเพชร ปรากฏประติมากรรมทวารบาลในบริเวณทางเข้าศาสนสถานทั้งที่เป็นรูปบุคคลและรูปสัตว์ โดยที่วัดช้างรอบ ด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธานบริเวณเชิงบันไดเพื่อขึ้นสู่ลานประทักษิณ พบร่องรอยประติมากรรมทวารบาลรูปบุคคล มีลักษณะของโกลนศิลาแลงเป็นเค้าโครงบุคคลแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจนที่สามารถบ่งบอกได้ว่าโกลนศิลาแลงดังกล่าวเป็นทวารบาลรูปเทพหรืออสูร และยังพบโกลนศิลาแลงรูปสิงห์ตั้งอยู่ด้านหน้าทวารบาลรูปบุคคลและทำหน้าที่เป็นทวารบาลเช่นเดียวกัน รูปแบบดังกล่าวยังปรากฏที่วัดสิงห์โบราณสถานวัดสิงห์ แต่พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ นอกจากนี้ที่วัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย บริเวณซุ้มประตูด้านทิศใต้ทางเข้าของกลุ่มเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ปรากฏโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และยังปรากฏชิ้นส่วนปูนปั้นที่สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูปสิงห์ทำหน้าที่เป็นทวารบาลของศาสนสถานแห่งดังกล่าวด้วย
.
นอกจากการประดับประติมากรรมทวารบาลแบบลอยตัวบริเวณทางเข้าศาสนสถานแล้ว ยังพบการทำรูปทวารบาลสำหรับประจำบนบานประตูและบานหน้าต่าง ซึ่งมีทั้งที่จำหลักลงบนไม้และชนิดที่เป็นงานเขียนสี นิยมเป็นภาพเทวดาแต่งกายตามขนบนิยมอย่างไทย
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาหลายแห่งยังคงสืบต่อคติความเชื่อเรื่องทวารบาลต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของทวารบาลที่ในอดีตมักจะปรากฏเฉพาะเทพ อสูร หรือสัตว์ในนิยายเท่านั้น แต่บางพื้นที่ยังพบการทำทวารบาลให้กลายเป็นบุคคลใส่เครื่องแบบทหารถืออาวุธ เช่นที่พบบริเวณหน้าประตูทางเข้าวิหารของวัดโพธิ์ชัยศรี (วัดหลวงพ่อนาค) อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
.
จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบรูปแบบของทวารบาลที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่วัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามการปรากฏลักษณะของทวารบาลบริเวณประตูทางเข้าศาสนสถานหรือสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างสะท้อนความเชื่อเรื่องการปกป้องคุ้มครองสถานที่แห่งดังกล่าว ด้วยรูปแบบประติมานวิทยาที่แสดงถึงความมีพลังอำนาจจากอสูร เทวดา สัตว์ในเทพนิยาย และทหาร
...
..
.
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๔๖.
กรมศิลปากร. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. ๒๕๔๓.
ศุภรัตน์ เรืองโชติ. ประติมากรรมยักษ์ทวารบาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบและคติการสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๐)
ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕)
ปัทมา สาคร. ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓)
วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๒๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๔ (บ้านใหม่ศรีอุบล) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๘๓ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันอังคารที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๘.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านถนนน้อย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒๒ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๔ คน โดยมีนางสาวพัชราภรณ์ โพธิ์ไกร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๒๓๐ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๓. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านวังโขน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๗๔ คน โดยมีนางจันทร์เพ็ญ มีรอด ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๗๑ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๕๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองหัววัว จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๔๕ คน โดยมีนางจันทร์เพ็ญ มีรอด ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๙.๑๕ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านไร่ลำปาง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๒ คน โดยมีนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๓. เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะเจ้าหน้าที่จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย จำนวน ๕ คน โดยมีนางสาวพัชราภรณ์ โพธิ์ไกร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๔. เวลา ๑๑.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านแก้วสุวรรณ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๓๗ คน โดยมีนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
นาค : เครื่องประดับสถาปัตยกรรมที่เมืองกำแพงเพชร
.
นาค เป็นหนึ่งในสัตว์ที่นิยมนำมาประดับสถาปัตยกรรมที่พบทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย คำว่า “นาค” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง สัตว์ในนิยายโบราณ รูปร่างคล้ายงูแต่หัวมีหงอน ความเชื่อเกี่ยวกับนาคในสังคมตะวันออกเรื่องราวของนาคหรืองูใหญ่มีหงอนซึ่งมีอิทธิฤทธิ์นั้นมีปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนที่เป็นเรื่องราวของนาคที่ปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูกล่าวได้ว่า นาคมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือเหล่าเทพในศาสนาฮินดูหลายองค์ เช่น นาคเป็นสายยัญชโยปวีตของพระอิศวร นาคเป็นแท่นบรรทมของพระนารายณ์ เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ของนาคกับศาสนาพุทธนั้น มีที่มาจากเรื่องราวในพุทธประวัติตอนที่เกี่ยวข้องกับนาค เช่น พญานาคราชหรือพญามุจลินทร์นาคราชแผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า
.
ทั้งนี้ยังปรากฏข้อความในไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไทย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย มีข้อความเกี่ยวกับนาคใน ทุติยกัณฑ์ ติรัจฉานภูมิ ความว่า “แลสัตว์อันเกิดในติรัจฉาภูมินั้น ลางคาบเป็นด้วยอัณฑชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยชลามพุชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยสังเสทชโยนิ ลางคาบเป็นด้วยอุปปาติกโยนิ แต่สิ่งอันเกิดดั่งนี้ชื่อติรัจฉาน มีอาทิคือว่าครุฑแลนาคสิงห์ช้างม้าวัวควายเนื้อถึก...แต่ฝูงดังนั้นเรียกชื่อว่าติรัจฉาน...ในใต้เขาพระหิมพานต์กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์เป็นเมืองแห่งนาคราชจำพวกหนึ่งอยู่แห่งนั้น...”
.
ความเชื่อของนาคที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธจึงสะท้อนออกมาในรูปแบบของศิลปกรรมเนื่องในศาสนาดังที่พบส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมไทยและเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ทำเป็นราวบันไดทางขึ้นโบสถ์หรือวิหาร ทำเป็นคันทวย นำมาตกแต่งปั้นลม โบสถ์ วิหาร โดยทำเป็นนาคลำยองหรือนาคสะดุ้ง เป็นต้น
.
โบราณสถานที่เมืองกำแพงเพชรบางแห่ง ยังคงปรากฏร่องรอยการนำนาคมาใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์สิงห์ล้อม ที่โบราณสถานวัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ทรงระฆังบริเวณฐานประดับด้วยประติมากรรมสิงห์ปูนปั้น ถัดขึ้นเป็นก่อนเป็นชุดบัวถลาเพื่อรองรับองค์ระฆังเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๖ ซุ้ม บริเวณซุ้มด้านทิศใต้ของเจดีย์ ยังคงพบร่องรอยการประดับนาคปูนปั้นบริเวณซุ้มดังกล่าว มีลักษณะเป็นประติมากรรมปูนปั้นนาคสามเศียร
.
โบราณสถานวัดสิงห์ ไม่ปรากฏร่องรอยนาคที่ใช้ในการประดับศาสนสถานในปัจจุบันแล้ว แต่ในภาพถ่ายปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ที่โบราณสถานวัดสิงห์บริเวณฐานด้านหน้าอุโบสถ และจากการดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ พบโกลนศิลาแลงรูปนาค มีลักษณะเป็นนาคห้าเศียรแบ่งได้สองแบบ คือ นาคห้าเศียรมีหงอนด้านบน และนาคห้าเศียรแผ่แม่เบี้ยไม่มีหงอน มีลักษณะของที่โกลนที่ด้านล่างทำเป็นเดือย เพื่อสวมกับแท่นรองรับ
.
อาคารเนื่องในพุทธศาสนาของประเทศไทยที่ปรากฏตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีการประดับสถาปัตยกรรมด้วยสัตว์หิมพานต์หรือสัตวในนิยายโบราณ หรือลวดลายอันเป็นมงคลต่าง ๆ เพื่อแสดงนัยยะสำคัญของการอำนวยพรให้แก่ผู้เข้ามาสักการะศาสนสถาน การนำประติมากรรมนาคมาประดับศาสนสถานเนื่องศาสนาพุทธที่เมืองกำแพงเพชรสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับนาคที่ปรากฏมาแล้วตั้งแต่อดีต
.......................................
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖.
กรมศิลปากร. สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา – กรุงธนบุรี เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. “มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท” ใน วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย, ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม – เมษายน ๒๕๕๙.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
อนันต์ ชูโชติ. รายงานการขุดแต่งโบราณสถานวัดสิงห์. ม.ป.ท. ,๒๕๒๕.
จันทร์ | 08:00 - 16:30 |
อังคาร | 08:00 - 16:30 |
พุธ | 08:00 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:00 - 16:30 |
เสาร์ | 08:00 - 16:30 |
อาทิตย์ | 08:00 - 16:30 |
รถตู้ท่องเที่ยวกำแพงเพชร, รถตู้เช่ากำแพงเพชร, รถตู้กำแพงเพชร
บริการห้องพัก รายวัน รายเดือน อาหารเครื่องดื่ม
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
รับทัศนศึกษาจากโรงเรียนต่างๆ ในราคาพิเศษ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 081-5322344
ป้าสมปอง ศาลาเรือนไทย และ บ้านน๊อกดาวเป็นไม้เก่าคะ
We assist Thai national for visa procurement to Europe, United States and others.