หมอหมู พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ FP
หน้านี้ เอาไว้แบ่งปันความรู้สุขภาพ นะครับ จากบล็อกผม ..http://cmu2807.bloggang.com

ลองอ่านดูก่อน แล้วพาคุณแม่ไปตรวจกับหมอกระดูกและข้อ อีกครั้งนะครับ เพราะแต่ละวิธีมีขัอดีขัอเสีย ผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ข้อเข่าเสื่อม ยาฉีดเข่า: น้ำไขข้อเทียม ยาสเตียรอยด์ เกล็ดเลือด (PRP) สเต็มเซลล์ (อัปเดต ราชวิทยาลัยออร์โธฯ มค2568) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16
ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ “ฉีดยาเข้าข้อเข่า” อยากสอบถามคน ที่เคยการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ “ฉีดยาเข้าข้อเข่า” ว่าผลเป็นยังไง ถ้าเทียบกับ ต้องผ่....

๑. เดาว่า น่าจะเป็นโรคเกาต์
๒. แนะนำพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อเนื่อง
เกาต์ ( gout )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-03-2008&group=5&gblog=8
ใครมีวิธีรักษา หรือสถานที่รักษา กรดยูริคสูง ช่วยแนะนำหน่อยครับ น้ำหนัก 120 กก สูง 185 ซม. วัดค่ายูริค 11.7 อาการที่พบประจำ - มีการ อักเสบข้อนิ้วมือบ้าง (จะเป็นเวลาหักนิ้วมือบ่อย) (จ.....

จากข้อมูลที่มี .. เดา ว่า ... เน้นย้ำ อีกทีว่า " เดา " ..
๑. สองเดือน กระดูกงอกใหม่ .. แสดงว่า กระดูกเริ่มติดแล้ว
๒. หมอ แนะนำให้ผ่าตัดใส่เหลืก .. แสดงว่า น่าจะมีปัญหา กระดูกผิดปกติ เช่น คด เอียง สั้น ฯลฯ
๓. ปล่อยไว้ กระดูกก็น่าจะติดได้เอง แต่ กระดูกน่าจะผิดรูป ใช้งานได้ แต่ ไม่ปกติ
๔. แนะนำไปตรวจกับหมอกระดูกอีกสักคนสองคนว่า คิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วค่อยตัดสินใจ .. อย่าเชื่อหมอที่ไม่ได้เห็นไม่ได้ตรวจผู้ป่วย (แบบผม)
แถม ..
กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=6&gblog=1
กระดูกหัก ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=6&gblog=2
กระดูกหักเมื่อไรจะหาย https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-01-2008&group=6&gblog=4
กระดูกสันหลังมือหัก 2เดือนแล้ว งอกใหม่แล้วถ้าปล่อยไว้จะหายเป็นปกติมั้ยครับ หมอบอกให้ผ่าตัดใส่เหล็ก แต่ผมกลัวว่าจะใช้งานมือไม่ได้เหมือนปกติ อยากทราบว่าถ้าปล่อยไว้จะกลับไปปกติมั้....

อืมมมมมม
▪️ออกมาแล้วจ้า ให้ประกันตัวเรียบร้อยด้วยวงเงิu 4หมื่น
คดีแพ่งอยากได้ก็ฟ้องเอง ดูทรงแล้วคงได้ไม่มากแน่ๆ ต่อไปเตรียมเจออีกแน่ เพราะsาคาไม่แพงมากในการก่อเหตุ🙄

ยาวหน่อย อ่านเถอะดี คัุมค่า กับเวลาที่เสียไป ..
อ่านจบแล้ว ย้อนกลับมามองบ้านเรา 🤔🤔🤔
ต่อเรื่องลีกวนยูนะ หวังว่าคงไม่เบื่อเสียก่อน
ชาวโลกบูชาระบอบประชาธิปไตย "มันเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด" หรือ "เลวน้อยที่สุด"
ลีกวนยูขออนุญาตเห็นต่าง
ลีกวนยูบอกว่า “หนึ่งคนหนึ่งเสียงเลือกตั้งเป็นรูปแบบรัฐบาลที่ยากที่สุด บางครั้งบางคราวผลอาจผิดพลาดได้ บางทีประชาชนก็อาจโลเล พวกเขาเบื่อหน่ายกับการพัฒนาแบบเรียบ ๆ และมั่นคง และในช่วงอารมณ์บ้า ๆ ก็โหวตให้มีการเปลี่ยนแปลง แค่เพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง...
“ในประเทศใหม่ ๆ ประชาธิปไตยจะทำงานได้ผล และสร้างผลลัพธ์ ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่าประชาชนต้องฉลาดพอที่จะเลือกรัฐบาลแบบนั้น รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจะดีได้ก็ดีเท่ากับประชาชนที่เลือกพวกนั้นเข้ามา...
เขาบอกว่่า “ตรงกันข้ามกับที่นักวิจารณ์การเมืองของสหรัฐฯพูด ผมไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยจำเป็นว่าจะนำไปสู่การพัฒนา ผมเชื่อว่าสิ่งที่ประเทศหนึ่งจำเป็นต้องใช้พัฒนาคือวินัยมากกว่าประชาธิปไตย"
ทำไม?
เพราะ “ความเบ่งบานของประชาธิปไตยนำไปสู่การไร้วินัยและภาวะไร้ระเบียบซึ่งเป็นศัตรูของการพัฒนา บททดสอบสูงสุดในคุณค่าของระบบการเมืองคือมันจะช่วยสังคมสร้างภาวะที่พัฒนามาตรฐานการครองชีพของคนส่วนใหญ่หรือเปล่า บวกกับการให้สิทธิอิสรภาพส่วนตัวสูงสุดให้เข้ากันกับอิสรภาพของคนอื่น ๆ ในสังคม มันไม่มีรัฐบาลไหนให้มีการเล่นเกมอย่างยุติธรรม ที่ช่วยฝ่ายตรงข้ามชนะโหวตหรอก...
“จุดอ่อนของประชาธิปไตยคือ การทึกทักเอาว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน และมีความสามารถช่วยสังคมส่วนรวมได้เท่ากัน เป็นความคิดที่มีจุดด้อย”
ลีกวนยูเห็นว่ามุมมองของตะวันตกที่ว่า “Democracy is destiny.” (ประชาธิปไตยคือชะตาลิขิต)ไม่น่าดีเท่า “Culture is destiny.” (วัฒนธรรมคือชะตาลิขิต)
นักข่าวถามลีกวนยูในวัย 85 ว่า “สิ่งหนึ่งที่คุณต่อต้านคือการที่สหรัฐฯพยายามเผยแพร่ประชาธิปไตยให้โลก นโยบายของ บิล คลินตัน หรือนโยบาย Freedom ของ จอร์จ บุช คุณต่อต้านอะไรหรือ?”
“ผมไม่คิดว่ามันทำได้ ผมเป็น Social Darwinist”
“คนแข็งแรงที่สุดอยู่รอด?”
“ไม่ใช่ การอยู่รอดต้องการให้คุณสามารถเปลี่ยน ถ้าคุณไม่เปลี่ยน คุณจะไม่มีความสำคัญ แล้วสูญพันธุ์”
“คุณเห็นสหรัฐฯเผยแพร่ประชาธิปไตยไปทั่วโลก...”
“แล้วพวกคุณทำสำเร็จไหมล่ะ? พวกคุณไปช่วยไฮติสร้างประเทศ... มันทำไม่ได้ (undoable)”
เมื่อประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช บุกอิรัก โค่นจอมเผด็จการ ซัดดัม ฮุสเซน แล้วประกาศว่า จะไปสร้างประชาธิปไตยในอิรัก ลีกวนยูกลั้นลมหายใจ คิดในใจว่ามันคือสัญญาณของความโอหังชัด ๆ ลีกวนยูคิดกับตัวเอง นี่คือประเทศที่มีสังคมอายุสี่พันปี ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสังคมที่มีประวัติศาสตร์แค่ 400 ปี สหรัฐฯยกเลิกตำรวจอิรัก สร้างรัฐบาลใหม่จากศูนย์ และอบรมคนให้มีสำนึกประชาธิปไตย
ผลลัพธ์คือหายนะ
เขาเปรียบเทียบว่า เมื่อญี่ปุ่นครองสิงคโปร์ ก็ยังคงตำรวจไว้ เพราะมีความจำเป็นที่จะดูแลปกครองสังคม
ปัญหาของอเมริกาคือ ไปที่ไหนพร้อมความเชื่อมั่นว่ามีอำนาจเปลี่ยนระบบได้
ลีกวนยูบอกว่า พวกเขาผิดเสมอ พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้
ลีกวนยูรับรู้และเห็นความจำเป็นของบทบาทสหรัฐฯในโลก แต่เขาก็เห็นว่าสหรัฐฯควรระวังจุดยืน ไม่ใช่มองตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เขาว่าสหรัฐฯไม่ควรปิดทางใครจนไม่มีทางออก เช่น นโยบาย oil embargo ต่อญี่ปุ่นในปี 1941 ห้ามการส่งออกเชื้อเพลิงไปญี่ปุ่น ขณะที่น้ำมัน 80 เปอร์เซ็นต์ของญี่ปุ่นมาจากสหรัฐฯ มันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ญี่ปุ่นก่อสงคราม โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์
ลีกวนยูบอกว่าญี่ปุ่นไม่ใช่ชาติที่ยอมจำนนต่อโชคชะตา เมื่อถูกบีบมาก ๆ ก็เลือกสู้จนตัวตาย ญี่ปุ่นเดี่ยว ๆ ไม่เท่าไร แต่รวมกลุ่มแล้วน่ากลัวที่สุด
เขาบอกว่านี่มิได้บอกว่าใครผิดใครถูก แค่บอกว่า ในเกมการเมืองโลกต้องเปิดทางให้เจรจาบ้าง
ลีกวนยูว่า สหรัฐฯมีเทคโนโลยีสูงกว่าชาติอื่น นำหน้ายุโรป 10 ปี นำหน้าญี่ปุ่น 15 ปี ขณะที่ชาติอื่นกำลังงมกับเทคโนโลยีนั้น สหรัฐฯคิดอันใหม่แล้ว แต่นั่นไม่ได้แปลว่าชาติอื่นจะตามไม่ทัน จะตามทัน อาจไม่ใช่วันนี้ ดังนั้นสหรัฐฯควรลดความโอหังลงบ้าง มองชาติอื่นเป็นพันธมิตร ไม่ใช่ศัตรู
หรือ co-exist ด้วยกัน
.....................
จาก สร้างชาติจากศูนย์ / วินทร์ เลียววาริณ
สารคดีเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของลีกวนยู รัฐบุรุษผู้สร้างชาติสิงคโปร์จากศูนย์ ที่เหมาะสำหรับผู้นำองค์กร ผู้บริการ นักการเมือง
21 เรื่อง ราคา 300 บาท = เรื่องละ 14.2 บาท (ไม่คิดค่าส่ง)
หนังสือหมดเมื่อไร จะไม่ตีพิมพ์ใหม่แล้ว
(ซื้อเดี่ยว) เว็บ https://www.winbookclub.com/store/detail/248/สร้างชาติจากศูนย์
Shopee https://shopee.co.th/product/90206829/29061345680/
โปรโมชั่นรวม 3 เล่ม
เว็บ https://www.winbookclub.com/store/detail/249/S12%20:%20ลีกวนยู%20+%20ไอน์สไตน์%20+%20หิน%2015%20ก้อน
Shopee https://shopee.co.th/product/90206829/29311345988/
ทำไมควรซื้อหนังสือเล่มนี้: https://www.facebook.com/photo/?fbid=1207283390760350&set=a.208269707328395

สู่ สุคติ
อนุโมทนาบุญ ด้วยครับ

วิชาการ ล้วนๆ

เผื่อมีคนสนใจ ...
เรื่องเก่า เล่าใหม่ วนไป วนไป ..😮💨😮💨😮💨
[📍 SUMMARY : อย่าประชดว่า ไม่เต็มใจทำก็ลาออกไป!! เพราะทุกวันนี้พยาบาลลาออกมากกว่าเข้า ถมเท่าไหร่ก็ไม่พอ โรงพยาบาลรัฐขาดแคลนพยาบาลหนักมากกว่าแสนอัตรา เพราะรักษาคนทำงานไว้ไม่ได้หนีไปเอกชนหมด ทำงานเกินคนปกติถึง 60 ชม./สัปดาห์ เจอคนไข้-ญาติ-องค์กร Toxic ไม่ได้บรรจุ ค่าตอบแทนต่ำ]
แม้ใครจะอวยยศว่าระบบสาธารณสุขของไทย เข้าถึงง่ายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และชื่นชมแซ่ซ้องกันไปทั่วหล้า แต่หารู้ไม่ว่าภายใต้คำชื่นชมนั้นเก็บซ่อนความขมขื่นของบุคลากรทางการแพทย์เอาไว้จนล้นอก แม้จะตะโกนเสียงดังเพื่อป่าวร้องว่า พวกเขาไม่ไหวกันแล้วแค่ไหน ก็มักจบลงด้วยการที่จะต้องเลือกเสียสละ ทั้งร่างกาย สุขภาพ หรือแม้แต่ชีวิตและจิตวิญญาณ
ทุกคนต่างทราบว่าทุกวันนี้บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะกับหน่วยงานของรัฐขาดแคลนในระดับวิกฤติ ไม่ใช่แค่แพทย์เท่านั้นที่แห่ลาออกไปจากโรงพยาบาลของรัฐไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน หรือเปิดคลินิกของตัวเอง
พยาบาลซึ่งเปรียบเสมือนกับคู่พระคู่นางของแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างพึ่งพาอาศัยกันในโรงพยาบาล ต่างก็ขาดแคลนอย่างหนักมาหลายปี และมีแต่ผู้ที่จะลาออกจากการเป็นพยาบาลของรัฐ ไปอยู่เอกชนมากกว่าเข้าใหม่
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ปัจจุบันพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข (พยาบาลของรัฐ) ทั่วประเทศมี 109,942 อัตรา จากที่ต้องมีจริงๆ คือ 172,457 อัตรา ซึ่งยังขาดอยู่ 62,515 อัตรา
แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งประเทศจะต้องมีพยบาลถึง 333,745 คน จากขณะนี้มีประมาณ 209,187 คน เพื่อรองรับพลเมืองมากกว่า 60 ล้านคน ซึ่งนั้นเท่ากับว่า อัตราพยบาลขาดแคลนสูงกว่าแสนคน โดยพยาบาล 1 คน จะต้องดูแลคนไข้ถึง 250 คน หรือมากกว่านั้นในแต่ละวัน
ส่วนชั่วโมงการทำงานในปัจจุบันสภาการพยาบาลกำหนดเวลาทำงาน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 8 ชั่วโมงต่อการทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ แต่อันที่จริงแล้วพยาบาลไทยต้องทำงานหนักเฉลี่ยถึง 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ซึ่งถือว่าหนักหน่วงมากสำหรับมนุษย์วัยทำงานคนหนึ่ง ที่ต้องรับมือกับคนไข้นับร้อยนับพันคน ต่างคนต่างปัญหา ต่างความต้องการ รวมทั้งญาติของคนไข้ที่มาสารพัดอารมณ์อีกด้วย
ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาพยาบาล 109 แห่ง ซึ่งในแต่ละปีจะรับนักศึกษาพยาบาลประมาณ 12,000 คน แต่นั่นก็ยังไม่อาจทดแทนช่องว่างความต้องการบุคคลากรได้ แม้กระทรวงสาธารณะสุขจะพยายามผลักดันให้มีการผลิตพยาบาลออกมาให้ถึง 15,000 คน ต่อปีก็ตาม แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าในแต่ละปีจะผลิตได้กี่คน แต่อยู่ที่การรักษาบุคลากรวิชาชีพให้อยู่ระบบอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นเหมือนกับถังน้ำที่รั่วตลอดเวลา เติมน้ำลงไปเท่าไหร่ก็ไม่มีทางเต็ม
การลาออกของพยบาลของรัฐมีปัจจัยที่หลากหลายตามแต่ละบุคคล แต่ที่เป็นปัจจัยหลักๆ มีด้วยกัน 3 สาเหตุ คือ
1. ปริมาณงานที่รับผิดชอบมากเกินกว่าที่จะรับไหว อย่างที่กล่าวไปคือ พยาบาล 1 คน ต้องดูแลคนไข้ขั้นต่ำ 250++ คนหรือมากกว่านั้น ซึ่งนั่นทำให้ชั่วโมงการทำงานต่อวันมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในระยะยาว ผลที่ตามมาคือสุขภาพที่ย่ำแย่ซึ่งส่งผลร้ายในระยะยาวมากกว่าผลดี การควงกะอดนอน 48 ชั่วโมงแทบจะเป็นเรื่องปกติที่ไม่ควรจะปกติ ซึ่งนั่นส่งผลต่อทั้งประสิทธิภาพการทำงาน และอารมณ์ของผู้ปฎิบัติหน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้มักถูกละเลยและไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ ทั้งจากในองค์กรที่เป็นต้นสังกัด หรือจากหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพ
2. การไม่ถูกบรรจุราชการ เชื่อว่าคนนอกวิชาชีพเกือบ 100% เข้าใจว่าการเรียนจบพยาบาลและทำงานในโรงพยบาลของรัฐ จะต้องได้รับการบรรจุฯ แล้วแน่นอน ซึ่งปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น พยาบาลที่เรียนจบมาอย่างยากลำบากในปัจจุบันแทบไม่ได้รับการบรรจุเลยมาหลายปีแล้ว และมีสถานะเป็นเพียงลูกจ้างของโรงพยาบาลเท่านั้น ปัญหาคือการเป็นลูกจ้างของหน่วยงานรัฐนั้นค่าตอบแทนก็น้อย งานก็หนัก และไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ที่ผ่านมาเมื่อพยาบาลจบใหม่เข้ามาทำงานได้ 1-2 ปี ก็จะลาออกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมาก เพราะค่าตอบแทนที่คุ้มค่าและมีภาระงานที่แตกต่างกันมากราวฟ้ากับเหวกับสถานพยาบาลของรัฐ ดังนั้นคนทำงานหนักไม่พอ ยังค่าตอบแทนไม่สมดุลกับแรงที่ทุ่มลงไป การลาออกเพื่อไปสู่สิ่งใหม่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าจึงเป็นคำตอบของคนทำงาน รวมทั้งพยาบาลเช่นกัน
3. การมองไม่เห็นแสงสว่างในอาชีพ ทั้งความก้าวหน้าและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะการทำงานในทุกๆ อาชีพผู้คนต่างมองว่าในเมื่อตัวเองทำงานในอาชีพนี้อยู่ไปสักระยะ การเติบโตในตำแหน่งงานจะเดินหน้าไปต่ออย่างไร อาชีพพยาบาลที่เอาแค่งานที่ต้องรับผิดชอบประจำในการดูแลคนไข้ก็หนักหนาสาหัสแล้ว ยังต้องหน้าที่อื่นๆ เช่น ทั้งงานเอกสาร งานบริการ ทำหัตถการให้กับผู้ป่วยตามแพทย์สั่ง ดูแลผู้ป่วยแต่ละคนจนกว่าแพทย์จะตรวจเสร็จ บางวันหากผู้ป่วยมีจำนวนมากต้องดูแลผู้ป่วยจนหมดจึงจะได้พัก อาจทำให้พวกเธอฉุกคิดได้ว่าจะต้องอยู่ในลูปนี้ไปอีกนานแค่ไหน และเมื่อไม่ได้ถูกบรรจุราชการด้วยแล้ว การเติบโตในอาชีพยิ่งเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อชีวิตไม่เห็นทางเดินข้างหน้า การลาออกเพื่อไปอยู่สถานพยาบาลเอกชน หรือเปลี่ยนสายอาชีพไปยังอาชีพที่มีโอกาสก้าวหน้า เติบโต และมีค่าตอบแทนรวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าจึงเป็นคำตอบของเหล่านางพยาบาลเช่นกัน
นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาการทำงานที่เป็นพิษ องค์กรไม่ปกป้องรักษาคนทำงานเอาไว้เมื่อเกิดการคุกคามจากภายนอก ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ไม่ได้รับการแก้ไข และทำให้เกิดการบันทอนกำลังใจคนทำงานในทุกๆ วัน จนสุดท้ายเมื่อทนกับสภาพที่ต้องเจอไม่ไหว ก็ทำให้ต้องลงเอยด้วยการลาออกในที่สุด
การรักษาบุคลากรทางการแพทย์ในระบบไม่ว่าจะตำแหน่งใดๆ ก็ตามเอาไว้ไม่ได้ ไม่ใช่แค่เป็นปัญหาว่าจะมีคนทำงานไม่เพียงพอ แต่มันกำลังสั่นคลอนระบบสาธารณสุขของชาติที่แสนภูมิอกภูมิใจหนักหนาว่าการไปโรงพยาบาลในไทยนั้นง่ายแสนง่าย สิทธิการเข้าถึงการรักษาแทบจะฟรี การที่ประชาชนได้รับการสปอยด์จากของถูกและของฟรีจนไม่เห็นคุณค่า ก็ทำให้ปัญหานี้สั่งสมหนักจนอาจจะล้มทั้งระบบซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชนทุกคน และถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยา สิ่งที่จะตามมาคือปัญหาในเชิงสังคมที่จะกระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฉะนั้น เวลาไม่พอใจในการทำงานของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข อย่าพูดจากระแทกแดกดันว่า “ไม่พอใจทำงานก็ลาออกไป” เพราะพวกเขาออกจริง และมีที่ไปต่อ เพราะโรงพยาบาลเอกชนพร้อมรับช้อนซื้อตัวทันที แต่คนที่จะรับเคราะห์คือประชาชนที่ออกปากไล่นั่นแหละ ดังที่เห็นว่าทำไมโรงพยาบาลรัฐคนไข้ล้น และหมอหรือพยาบาลทำงานไม่ทัน เพราะคนทำงานให้นั้นแทบไม่เหลือแล้วนั่นเอง

เผื่อมีคนสนใจ ...

ยาวหน่อย อ่านเถอะดี คัุมค่า กับเวลาที่เสียไป ..
เมื่อรับย้ายเคสเข้า ward ประคับประคอง
ตอนที่ 1 - คนไข้จะดีขึ้นบ้างไหมหมอ
Step 1 ทบทวน perception and ACP
(แม้ว่าจะทำ ACP มาก่อนรับย้ายมาแล้ว)
แอ๊ดรับย้ายคนไข้มาที่ ward ประคับประคอง
ผู้ป่วยชาย สูงอายุ 7X ปี หลอดเลือดสมองอุดตัน
PPS 20 BP 96/70 RR 8 หายใจช้า ความดันเริ่มตก
เป็นธรรมดาเมื่อก่อนย้ายรับย้ายจากฝั่งอายุรกรรมหรือศัลยกรรม
แพทย์พยาบาล pc จะได้คุยกับญาติที่ใกล้ชิด อยู่วงใน ตัดสินใจได้
แต่เมื่อย้ายมา ward pc
ที่เปิดโอกาสให้ญาติได้เยี่ยมตลอดเวลา
ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าเยี่ยม
และเปิดโอกาสให้นอนเฝ้าอยู่เคียงข้างคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราก็จะเจอเครือญาติอีกหลายคน
หรือญาติทางไกล
ที่อาจจะไม่รู้หรือเข้าใจสถานการณ์ของคนไข้
ขณะกำลัง round ญาติส่งสายตาอยากสอบถาม
หมอ pc - ขอหมอประเมินคนไข้ก่อนนะครับ เดี๋ยวหมอจะได้มาคุยกับญาติๆ
(ก่อนจะคุยกับญาติที่ข้างเตียงก็ต้องดูประวัติ review film CT brain,review lab ปัจจุบัน เพื่อจะได้สื่อสารสถานการณ์ของคนไข้ในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง)
หมอ pc - "มีคำถามอะไรจะถามหมอไหมครับ"
(ถ้าไม่มีเวลา ก็มุ่งไปที่ caregiver's most comcern หรือ caregiver agenda ได้เลย ไม่ต้องอารัมภบทกันเยอะ)
ญาติ - "คนไข้เขาจะดีขึ้นไหมหมอ"
(ญาติยังมีหวังว่าจะดีขึ้นจากการเห็นคนไข้เหมือนคนนอนหลับ)
หมอ pc - "หมอก็อยากให้คนไข้ดีขึ้นเหมือนกัน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่คนไข้ไม่รู้สึกตัว ก็น่าจะเป็นไปได้ยากครับ
แต่ก่อนที่เราจะไปกันต่ออย่างไร
หมอจะขอถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของคนไข้ก่อนนะครับ
เหมือนเราจะเดินทาง ถ้าเราเข้าใจไม่ตรงกัน
คนนึงเข้าใจว่าอยู่โคราช
คนนึงเข้าใจว่าอยู่ขอนแก่น
อีกคน เข้าใจว่าอยู่อุดร
ก็จะทำให้มีการตัดสินใจที่แตกต่างกัน"
(ใช้การเปรียบเทียบหรือ metaphor
ให้ญาติเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
และเราต้องแจ้งว่าทำไมต้องทบทวน
เพราะญาติบางคนจะหงุดหงิดที่ต้องมาตอบสถานการณ์เดิมที่เคยพูดคุยมาแล้ว)
ญาติคนไข้พยักหน้าเข้าใจ
หมอ pc - "ขออนุญาตถามอีกรอบนะครับ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ทางญาติๆทราบไหมครับว่า คุณxx เป็นโรคอะไรถึงต้องมานอนรพ."
ญาติ 1 - "ไม่รู้เลยหมอ"
(อาจจะไม่รู้จริงๆ หรือตอบว่าไม่รู้ เพื่อรอดูคำตอบของหมอแต่ละคนจะพูดตรงกันไหม)
ญาติ 2 - "พ่อเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตันครับ"
หมอ pc - "เคยเห็นฟิล์มเอกซ์เรย์สมองหรือยังครับ"
ญาติ - "ไม่เคยเห็นครับ"
(ญาติส่วนหนึ่งอาจจะเคยเห็น แต่ส่วนใหญ่จะไม่เคยเห็น)
หมอ pc เอาภาพ film CT brain ที่ print เอาไว้ให้ญาติได้ดูและอธิบาย
- "ญาติเห็นไหมครับว่า
สมองส่วนที่ตายจะดำกว่าปกติซึ่งของคนไข้ดำไปเลยครึ่งหนึ่ง
แสดงว่าสมองตายไปครึ่งนึงเลย"
(ภาพเดียวอธิบายสถานการณ์ของคนไข้ได้ดีกว่าคำอธิบายนับร้อยคำ)
ญาติ - "โอ้โห เยอะขนาดนั้นเลยเหรอครับ
มิน่าแกถึงไม่ตื่นเลย
แต่สมองที่เหลือ มันไม่ทำงานแล้วเหรอครับ"
หมอ pc - "สมองคนเราทำหน้าที่ควบคุมทุกอย่าง
ตั้งแต่เคลื่อนไหว พูดคุยรับรู้ กลืนอาหาร
แม้กระทั่งการหายใจ ถ้าสมองตายไปครึ่งนึง
ก็เหมือนกับเราอยู่ในหอผู้ป่วยนี้
แล้วไฟดับไปครึ่งห้อง หมอก็จะทำงานไม่ได้ สมองก็เช่นเดียวกัน
พอสมองตายไปครึ่งนึง นอกจากจะขยับไม่ได้
ยังส่งผลต่อการรับรู้ ทำให้ไม่รู้สึกตัวไปด้วย
พอไม่รู้ตัวก็สื่อสารไม่ได้ และกินอาหารเองไม่ได้
เสี่ยงที่จะสำลักอาหารหรือขับเสมหะเองไม่ได้
และตอนนี้แม้แต่สั่งการให้หายใจเองก็ลำบากมากขึ้น สังเกตดูนะครับว่าคนไข้หายใจช้าลงมาก
จนบางครั้งมีหยุดหายใจด้วย"
ญาติ - "แล้วแกจะไม่ดีขึ้นเลยเหรอครับ"
(caregiver's most concern อีกครั้ง ย้ำรอบที่สอง)
หมอ pc - "หมอก็อยากให้คุณxx ดีขึ้นนะครับ
แต่ถ้าเราหวังว่าจะดีขึ้น
ก็ต้องเปลี่ยนใจใส่ท่อช่วยหายใจ
และต้องผ่าตัดที่คอเปิดทางเดินหายใจ
เพื่อรอวันเวลาที่คนไข้จะฟื้นตัว
ซึ่งการฟื้นตัวต้องใช้ระยะเวลานานเป็นหลายเดือน
และคนไข้มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวมาช่วยเหลือตนเองลำบาก
หมอคิดว่าคนไข้ต้องพึงพาผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
เป็นผู้ป่วยติดเตียง"
ญาติเริ่มถกเถียงกัน - "หรือเราจะกลับไปใส่ท่อ เจาะคอ ใครจะเป็นคนดูแล"
หมอ pc - "ทางญาติจะเปลี่ยนใจไปสู้ต่อก็ไม่ผิดนะครับ แต่ถ้าจะสู้ต่อ
หมอแนะนำไปให้สุดทางนะครับ
คือ ผ่าตัดเจาะคอแล้วต้องคิดเพิ่มด้วยว่า
ใครจะเป็นผู้ดูแลในระยะยาวด้วยนะครับ
เหมือนกับคนไข้กลับไปเป็นเด็กทารกที่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอด 24 ชั่วโมง
เราไม่สามารถให้อาหารตอนเช้า
แล้วเย็นค่อยกลับมาดูได้
ถ้าผ่าตัดเจาะคอแล้วไม่มีผู้ดูแลต่อ
คนไข้ก็จะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนจากการไม่มีผู้ดูแล เช่นสำลักติดเชื้อในปอด แผลกดทับได้"
ญาติเริ่มพูดคุยกันเรื่องข้อจำกัดของการดูแล -ผู้ดูแล(ภรรยา)สูงอายุ ต้องทำมาหากิน
หมอ pc - "หมอให้หลักคิดในการตัดสินใจดังนี้นะครับ
1. คนไข้เคยบอกญาติไว้ก่อนไหมครับ ว่าถ้าไม่รู้สึกตัว ใกล้เสียชีวิต จะใส่ท่อช่วยหายใจไหม จะเจาะคอไหม หรือ
2.ถ้าคนไข้ไม่เคยบอก ในฐานะที่เราเป็นญาติใกล้ชิดน่าจะรู้นิสัยใจคอ ความชอบของคนไข้ น่าจะเลือกอะไร หรือถ้าสมมติคนไข้มานั่งฟังด้วยกันตอนนี้ คุณxx จะเลือกแบบไหน"
ญาติ - "แกเคยบอกไว้นะครับว่า
อย่าเอาท่อมาใส่คอกัน อย่าเจาะคอ
ถ้าแกจะตายก็ปล่อยแกไป อย่ายื้อแกให้ทรมาน"
ญาติส่วนนึงก็ส่งเสียงสนับสนุน - ใช่ๆ แกเคยพูดเอาไว้
(Living will ที่บอกกล่าวกับญาติทีเล่นทีจริงสำคัญยิ่งกว่าลายลักษณ์อักษร)
ญาติ - "งั้นหมอ ขอดูแลตรงนี้ต่อครับ
ดูแลแบบประคับประคอง ไม่กลับไปสู้ต่อ ขอแกไม่ทรมาน
แต่จะดูแลยังไง ไม่รักษา ไม่ทำอะไรต่อแล้วใช่ไหมครับคุณหมอ"
จะเป็นไงต่อ ติดตามตอนต่อไป
ตอน 2 ward ประคับประคองคืออะไร
#ยืนยงฟาร์มวัว
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ติดต่อ การปฏิบัติ
เว็บไซต์
ที่อยู่
Kamphaeng Phet
62000
เวลาทำการ
จันทร์ | 09:00 - 17:00 |
18:00 - 19:00 | |
อังคาร | 09:00 - 12:00 |
18:00 - 20:00 | |
พุธ | 09:00 - 12:00 |
18:00 - 20:00 | |
พฤหัสบดี | 09:00 - 12:00 |
18:00 - 20:00 | |
ศุกร์ | 09:00 - 12:00 |
18:00 - 20:00 | |
เสาร์ | 09:00 - 12:00 |
18:00 - 20:00 | |
อาทิตย์ | 09:00 - 12:00 |