วิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จ
ตำแหน่งใกล้เคียง บริการขนส่ง
หมู่ 2 ตำบลโคกเริงรมย์, Amphoe Bamnet Narong
หมู่ที่ 19 ต. บ้านเพชร, Ban Phet
H No 84 Sukhumvit Soi-20 Sukhumvit Road Klongtoey
Bangpaki, Bangkok
ตำแหน่งใกล้เคียง แท็กซี่
หมู่ 10 ต. โคกเริงรมย์ อ. บำเหน, Amphoe Bamnet Narong
การท่องเที่ยวชุมชนดำเนินสะดวก

พรุ่งนี้ 10 ตค. ชาวชมรมวัดโชติฯ ไปร่วมออกบู้ธเครื่องดื่มงานกฐินสามัคคีวัดโชติฯ

#ขอเชิญมาเที่ยวชมบรรยากาศสองฟากฝั่งคลองที่ดำเนินสะดวก ยังคงเป็นธรรมชาติในวิถีคลองวิถีไทย

Photos from Anthony Aung's post
นในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระกฐินต้น ณ วัดโชติทายการาม

คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน โดยในสมัยโบราณการคมนาคมขนส่งทั่วไป จะใช้ทางบก ใช้สัตว์หรือเกวียน ท้องที่อำเภอดำเนินสะดวกในสมัยก่อนเป็นที่ไร่ เรียกกันว่าโคกไผ่ (ตำบลดอนไผ่ในปัจจุบัน) ไม่มีคลองมากมายเหมือนเช่นในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นของคลองดำเนินสะดวกเริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างพระนครกับสมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวก แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก[1] โดยอาศัยแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีนเป็นสื่อกลางในการขุดคลองเชื่อม
ในปีขาล อัฐศก จ.ศ.1228 ร.ศ.85 ตรงกับปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลอง[1] ที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม[2] โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ชาวบ้าน และชาวจีนร่วมกันขุด โดยใช้กำลังของคนล้วนๆ ใช้วิธีขุดระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง ให้น้ำเซาะดินที่ไม่ได้ขุดพังไปเอง เมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว จึงนำแผนขึ้นทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “ คลองดำเนินสะดวก ” และได้ทำพิธีเปิดใช้คลองนี้เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ จ.ศ.1230 ร.ศ.87 ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 [3]
หลังจากนั้นมา ตลิ่งก็ถูกน้ำกัดเซาะ ซึ่งเป็นผลจากคลื่นเรือประเภทต่างๆ ทำให้คลองขยายกว้างเป็น 10 วาถึง 20 วา[1] ด้วยขนาดและความยาวของคลอง ประกอบกับเป็นคลองตัดตรงไปยังหลายพื้นที่ ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่และชาวบ้านมากมายมาจับจองที่ดินซึ่งรกร้าง พร้อมขุดคลองซอยแยกเข้าสู่พื้นที่ของตน พื้นที่รกร้างเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรือกสวนไร่นาในเวลาต่อมา
แต่เดิมในบริเวณนี้มีคลองบางยางเป็นคลองธรรมชาติแยกจากแม่น้ำท่าจีน มีความยาว 3.8 กิโลเมตร เมื่อเริ่มขุดคลองดำเนินสะดวกจึงขุดต่อจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้าหากเริ่มนับตั้งแต่แม่น้ำท่าจีนจะมีความยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)
ตลอดความยาวของคลองจะมีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 10 x 10 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน ทุก ๆ 100 เส้น ปักไว้ 1 ต้น ทางฝั่งใต้ของคลอง เริ่มจากตำบลสวนส้ม เป็นหลักที่ 0 ถึงหลักที่ 8 ที่แม่น้ำแม่กลอง แต่ละหลัก จะเขียนเลขไทย โรมัน จีน เป็นสีแดงบอกเลขไว้ทุกหลัก อยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว 5 หลัก หลักที่ 5 ถึงหลักที่ 7 อยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และหลักสุดท้าย หลักที่ 8 อยู่ในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม[8] หลักคลองมีไว้เพื่อบอกที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้คนริมคลอง คลองดำเนินสะดวกมีทั้งหมด 9 หลัก ยังคงปรากฏให้เห็นครบทั้งหมดถึงปัจจุบัน [9] ดังนี้
หลักที่ 0 ตั้งอยู่เลยประตูน้ำบางยางออกไป 55 เส้น สลักเป็นเลขไทยเท่านั้น ระยะทางในช่วงนี้มักจะเรียกกันว่าปากคลองบางยาง
หลักที่ 1 อยู่ในเขตคลองบางยางเดิม จุดเริ่มต้นจากประตูน้ำบางยาง นับเป็นระยะทางได้ 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 8x8 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดินริมคลองดำเนินสะดวก สูงจากพื้นดินขึ้นไป 1 วา สลักเลข 1 เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบ จากประตูน้ำบางยางซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นคลองดำเนินสะดวกที่อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน จนถึงเสาหินเลขที่ 1 เรียกว่าหลักหนึ่ง อยู่ในเขตตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยทั่วไปมักเรียกว่า คลองบางยาง
หลักที่ 2 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 1 ไปอีก 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 2 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก เรียกว่าหลักสอง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
หลักที่ 3 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 2 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 3 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 2 ถึงเสาหินเลข 3 เรียกว่าหลักสาม ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างร้านอาหารศรีสุวรรณ กับ ธนาคารกรุงเทพ สาขาหลักสาม [10] อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
หลักที่ 4 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 3 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 4 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บบริเวณข้างวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 3 ถึงเสาหินเลข 4 เรียกว่าหลักสี่ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกชุมชนตนเองตามหมายเลขเสาหิน เช่น ชาวหลักสี่ ชื่อโรงเรียนหรือวัด ก็มักจะเรียกตามไปด้วย เช่น โรงเรียนหลักสี่ราษฎร์สโมสร หรือวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร [11] ซึ่งมีหลวงพ่อโตที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก
วัดปราสาทสิทธิ์
หลักที่ 5 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 4 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 5 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 4 ถึงเสาหินเลข 5 เรียกว่าหลักห้า ซึ่งอยู่ในเขตระหว่างอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับตำบลปราสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีชาวบ้านอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกตนเองว่า ชาวหลักห้า และมักเรียกชื่อโรงเรียนหรือวัด ตามหลักเขตดังกล่าวไปด้วย เช่น วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์นั่นเอง ซึ่งมีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไป ชาวไทย ชาวลาว และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก จะมีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ทางเรือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในคลองดำเนินสะดวกได้สักการบูชาเป็นประจำทุกปี
ความยาวและหลักเขต
หลักที่ 6 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 5 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 6 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บริเวณตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 5 ถึงเสาหินเลข 6 เรียกว่าหลักหก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
หลักที่ 7 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 6 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 7 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บริเวณตำบลศรีสุราษฎร์ พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 6 ถึงเสาหินเลข 7 เรียกว่าหลักเจ็ด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
หลักที่ 8 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 7 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ปลายคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 7 ถึงเสาหินเลข 8 เรียกว่าหลักแปด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กับอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
จากเสาหินหมายเลข 8 มีระยะทางของคลองดำเนินสะดวกอีกประมาณ 40 เส้น จึงจะถึงประตูน้ำบางนกแขวก ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านมักเรียกว่าคลองบางนกแขวก [1]
การคมนาคมขนส่ง
หลังจากที่เปิดใช้คลองดำเนินสะดวกแล้ว คลองก็เต็มไปด้วยเรือนานาชนิดที่สัญจรไปมาไม่เว้นแม้แต่เวลากลางคืน ปี พ.ศ. 2472 กรมชลประทานได้ก่อสร้างประตูน้ำบางยาง ในอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และประตูน้ำบางนกแขวก ในอ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม[5] จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2กองทัพญี่ปุ่นใช้คลองดำเนินสะดวกลำเลียงขนส่งอาหารและอาวุธต่างๆไปยังจังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายประตูน้ำทั้งสอง เพื่อตัดเส้นทางของญี่ปุ่นลง หลังสงครามสิ้นสุด กรมชลประทานได้ซ่อมแซมประตูน้ำทั้งสองขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2489 และได้พบลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่บริเวณก้นคลอง จำนวน 3 ลูก และขณะนำดินระเบิดออกจากลูกระเบิดได้เกิดระเบิดขึ้น 1 ลูก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน[6] ประตูน้ำ ทั้ง 2 แห่งกว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน และยังสามารถกั้นน้ำเค็มที่จะทำลายผลผลิตของชาวบ้านได้อีกด้วย
นับแต่นั้นมาคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุดของชาวบ้าน มีคลองซอย มากกว่า 200 สาย[7] ลำคลองต่างๆแทบจะไม่เคยว่างเว้นจากเรือที่สัญจรไปมาอย่างไม่ขาดสาย กระทั่งระยะหลังมีการตัดถนนใหม่ๆ มากมาย ย่นระยะทางให้สั้นลงและเข้าถึงทุกที่ ชาวบ้านจึงหันมาใช้ถนนแทน
งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก ใช้งบประมาณ 1,400 ชั่ง เป็นเงิน 112,000 บาท โดยเป็นทรัพย์สินของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 400 ชั่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จำนวน 1,000 ชั่ง [4] และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ รัชกาลที่ 4 จึงทรงอนุญาตให้ท่านและคนในสายสกุลบุนนาคเข้าจับจองที่ดิน 2 ฝั่งคลอง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังได้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งเป็นอนุสรณ์ชื่อว่า วัดปราสาทสิทธิ์ธิดาราม หรือวัดปราสาทสิทธิ์ กับปราสาทหลังเล็กๆริมคลอง [1]วัดนี้ถือเป็นวัดแรกริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ปัจจุบันตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางความยาวของคลอง ในเขตตำบลปราสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ในสมัยโบราณตลาดน้ำจะมีเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 เดือน ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวกจึงเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกคือ **ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดพลี เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง นัดศาลาแดง หรือนัดหลักแปด เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดงเป็นที่พักคนงาน[12] ต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง (นัดปากคลองมีวัน 1 6 และ 11 ค่ำ นัดดำเนินสะดวกมีวัน 2 7 และ 12 ค่ำ) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งนี้อีกด้วย [13] ในช่วงปี พ.ศ. 2500 ตลาดน้ำขยายพื้นที่กินบริเวณตั้งแต่ปากคลองลัดพลี ไปตามคลองดำเนินสะดวกยาวหลายกิโลเมตร ในสมัยนั้นตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีอยู่ 3 จุด คือ ที่ปากคลองลัดพลี ปากคลองโพธิ์หัก หรือคลองบัวงาม และที่ปากคลองศรีสุราษฎร์ [14] และยังทำให้เกิดตลาดน้ำใหม่สร้างเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างคลองต้นเข็ม หลังจากนั้นมาตลาดน้ำที่มีมาแต่เดิมก็ถูกลดความสำคัญลงไป เหลือเพียงตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น ตลาดน้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่[15] อยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำคลองต้นเข็ม ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก ตลาดน้ำที่สำคัญในคลองดำเนินสะดวกได้แก่
**หมายเหตุ : ถามคนเก่าคนแก่ บอกว่าตลาดนัดเก่ากว่าตลาดนัดคลองลัดพลี คือ ตลาดนัดคลองทองหลาง
Credit : https://th.wikipedia.org/wiki/คลองดำเนินสะดวก

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย
นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post

Photos from เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีต's post

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post
2018 คลองดำเนินสะดวก 150 ปี
YouTube

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post

สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” นี้ เป็นเส้นทางการ
สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” นี้ เป็นเส้นทางการ หน้าแรก ทั่วไป สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” นี้ เป็นเส้นทางการท่อ.....

จากวันที่รัฐบาลขับเคลื่อนโมเดลคลองนำร่องแรก ผ่านมาถึงชุมชนได้เรียนรู้เกือบขวบปีที่ผ่านมา บัดนี้สี่ชุมชนพร้อมแล้วสำหรับให้บริการการท่องเที่ยวชุมนในแนวคิดวิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน...มาเที่ยวแบบ...มาแล้ว...ว้าว...เบิกบาน สวยงาม มีเสน่ห์ ที่สำคัญคุ้มค่าไม่แพง...ทุกอย่างสมเหตุสมผล...สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน เศรษฐกิจไทยยั่งยืน สนใจติดต่อ One stop service สี่ชุมชน 081-684 6383
ประวัติศาสตร์ที่อยากลืม แต่ต้องจำ! วิกฤติ ร.ศ.๑๑๒ หมาป่ากับลูกแกะที่ปากอ่าวเจ้าพระยา!!
ประวัติศาสตร์ที่อยากลืม แต่ต้องจำ! วิกฤติ ร.ศ.๑๑๒ หมาป่ากับลูกแกะที่ปากอ่าวเจ้าพระยา!! เหตุการณ์ที่ปากอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นับเป็นเหตุการณ์แห่งคว....
อยากได้นครวัดก็เอาไป เอาคนไทยคืนมา! ร.๕ ยอมสละ ๓๐,๐๐๐ ตร.กม. แลกเมืองตราด!!
อยากได้นครวัดก็เอาไป เอาคนไทยคืนมา! ร.๕ ยอมสละ ๓๐,๐๐๐ ตร.กม. แลกเมืองตราด!! หลังเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ที่ปากอ่าวเจ้าพระยาแล้ว ฝรั่งเศสก็เข้ายึดจันทบุรี โดยอ้างว่าเพื่อให้ไทยปฏิบัติตามส...

สารคดี เสด็จประพาสต้น ตอนที่ 3 ร ศ ๑๒๓ ประพาสต้น ราชบุรี
สารคดี เสด็จประพาสต้น ตอนที่ 3 ร ศ ๑๒๓ ประพาสต้น ราชบุรี เสด็จประพาสต้น เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออก....

รอบทิศถิ่นไทย ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก เก่าแก่กว่า 100 ปี ข่าวค่ำ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 #NBT2HD
รอบทิศถิ่นไทย ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก เก่าแก่กว่า 100 ปี ข่าวค่ำ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 #NBT2HD พาไปท่องเที่ยวกันต่อ ที่ตลาดน้ำเก่าแก่กว่า 100 ปี ต้นกำเนิดของตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นตลาดน้ำแห่งแรกของจัง....

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post
จังหวัดราชบุรีฟื้นวิถีคลองวิถีไทย ดำเนินสะดวก

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post

Photos from Anthony Aung's post

อยากมีโมเมนต์ และสัมผัสวิถีแห่งความสุขริมคลอง อย่าลืมนึกถึงการท่องเที่ยวชุมชนดำเนินสะดวก #วิถีคลองวิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน #บ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก #สวนเกษตรแม่ทองหยิบ #ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก... สนใจเส้นทางล่องเรือสุดว้าววนี้ ฝากข้อความนัดหมายกันไว้สิครับ
มาเที่ยวแบบมาถึงดำเนินสะดวก...เริ่มตามรอยเสด็จแรกและชมพิพิธภัณฑ์ที่วัดโชติทายการาม และสุดว้าวกับการท่องเรือเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก....Have a nice day #วิถีคลองวิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน

“ ลุงตู่” เยือนดำเนินสะดวกเกษตรกรแห่ให้กำลังใจ ลั่นขออยู่เคียงข้างลุงตู่
“ ลุงตู่” เยือนดำเนินสะดวกเกษตรกรแห่ให้กำลังใจ ลั่นขออยู่เคียงข้างลุงตู่ ราชบุรี - นายกรัฐมนตรีออกเยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก ด้านเกษตรกรแห่ให้กำลังใจพร.....
วันนี้่เรามีนัดกันนะ...สุขสันต์วันลอยกระทง...เช้ารับลุงตู่ ค่ำมาร่วมสืบสานประเพณีวันลอยกระทง ร่วมสนุกแบบบ้านเราที่ #วัดโชติทายการาม #ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวัดโชติทายการาม

วิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน updated their address.
วิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน updated their address.

วิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน updated their address.
วิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน updated their address.
จังหวัดราชบุรีฟื้นวิถีคลองวิถีไทย ดำเนินสะดวก
ว้าวๆๆๆ ชุมชนดำเนินสะดวกได้มีโอกาสต้อนรับซุป'ตาร์ระดับโลก...น่ารัก เรียบง่าย มีน้ำใจ รักษ์ชุมชน...ไปชมภาพประทับใจกับเส้นทางสุดว้าว #วิถีคลองวิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน กันครับ

Photos from ตลาดน้ำวัดโชติฯ's post
[Live] 06.30 - 07.30 น. #วันใหม่วาไรตี้ (23 ต.ค. 62)
ติดตามย้อนหลัง.....
รายการ วันใหม่วาไรตี้ ทางช่องไทยพีบีเอส ช่วง วาไรตี้วันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่ออกอากาศ วันที่ 23 ต.ค. 62 เวลา 6.30-7.30 น. โดยจะเริ่มพาตามรอยเสด็จแรกที่วัดโชติทายการาม แล้วไปตามรอยเสด็จที่สองบ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก จากนั้นไปชมวิถีไทยวิถีเกษตร ที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก และสวนเกษตรแม่ทองหยิบ ในธีมวิถีคลองวิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน👍🏻👍🏻
#วิถีคลองวิถีไทยตามรอยเสด็จคลองดำเนิน
#ตลาดน้ำวัดโชติฯ
#บ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก
#สวนเกษตรแม่ทองหยิบ
#ตลาดน้ำหล่าตั๊กลัก #ฮกหลีคาเฟ่
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
3 ม. 1 ต. ดำเนินสะดวก อ. ดำเนินสะด
Damnoen Saduak
70130
ท่าเรือโค้ก2
Damnoen Saduak, 70130
ติดต่อเรือนำเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก : ท่าเรือโค้ก 2 โทร. 083-0909-802 โทร. 089-7466-870