สนง.กฎหมาย จิณณะ นาคสุขุม
ตำแหน่งใกล้เคียง การปฏิบัติตามกฎหมาย
50000
ถนนวิชยานนท์
ถ. ราชภาคินัย ต. ศรีภูมิ
ถนนเวียงแก้ว ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
สำนักงานใหญ่ เลขที่ ๒๒ อาคารเค ซอยสุขุมวิท ๓๕ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา, Bangkok
Chang Wat
50100
ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท เงินทุน
San Kamphaeng 50130
50000
ซอย 1 ต. ช้างม่อย หน้าวัดชมพู��Big Market
50300
ตำแหน่งใกล้เคียง นักบัญชี
ถ. รัตนโกสินทร์ ซอย
โครงการสีวลี สันกำแพง 99/83 ถ. เชียงใหม่/สันกำแพง หมู่ 3 ต. สันกลาง อ. สันกำแพง
โครงการอรสิรินบิสซิเนสเซ็นเตอร์ 1 หมู่ 6 ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่
50000
ความคิดเห็น
ให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 32 ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ “ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปโพสต์ภาพคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยที่ไม่มีข้อความเชิญชวน อวดอ้างชักจูงใจ ก็จะไม่เป็นความผิด แต่ดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก อาจทำให้คนหันมาสนใจสินค้า มีผลเป็นการโน้มน้าวหรือชักจูงใจคนไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม จึงไม่สามารถทำได้”

เงินตราไม่ใช้สิ่งของ ตาม พ.ร.บ. เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3623/2564


🚐 จุดจบสายซ่า ขับรถปาดหน้าแล้วเบรคและจอดเพื่อหวังว่าให้เขาชนท้าย ศาลสั่งยึดรถยนต์ท่านนะครับ🚌
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 7741/2560
“การที่จำเลยขับรถตู้ของกลางไปตามถนนสาธารณะ เมือถึง บริเวณที่เกิดเหตุ จำเลยขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวในลักษณะ กีดขวางการจราจร และไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ด้วยการขับรถแซงรถอื่นทางด้านซ้ายแล้วประกบรถอื่นที่แล่น อยู่บนถนนดังกล่าวทางด้านซ้ายในลักษณะเบียดประชิด เมื่อผ่านพ้นไปได้ จำเลยห้ามล้อรถทันทีในลักษณะประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน จากนั้นจำเลยเปลี่ยนซ่องเดินรถ เช้าไปในช่องทางเดินรถของรถอื่นซึ่งขับอยู่ในระยะกระชั้นชิด และห้ามล้อ ในทันทีในลักษณะกีดขวางการจราจร จนรถยนต์ของ ส. ผู้เสียหาย ที่แล่นอยู่ในช่องเดินรถเดียวกันทางด้านหลังของรถที่จำเลยขับไม่สามารถ แล่นตรงไปช้างหน้าตามปกติได้ จำเลยกระทำการดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น จากนั้นจำเลยใช้สิ่งเทียมอาวุธ ปีนที่จำเลยมีและถือในมือโดยเปิดเผยเดินตรงมายังรถยนต์ของผู้เสียหาย ซึ่งไม่สามารถแล่นต่อไปได้จากการที่จำเลยขับรถกีดขวางและต้องจอด อยู่บนทางสาธารณะช่องเดินรถ แล้วจำเลยพูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่า “เดี๋ยวโป้ง” ซึ่งหมายความว่า จะใช้วัตถุที่ถือมาในมือยิงประทุษร้าย ผู้เสียหายให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหาย เกิดความกลัวและความตกใจ เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์ของจำเลย โดยตลอดแล้ว นอกจากสิ่งเทียมอาวุธปีนซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงแล้ว การที่จำเลยขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้เสียหายหรือผู้อื่น เป็นการกระทำที่สร้างความวุ่นวายและตระหนกตกใจขึ้นในที่สาธารณะ และอาจทำให้สุจริตชนได้รับอันตรายจากการกระทำของจำเลยได้
รถตู้ของกลางที่จำเลยใช้เป็นยานพาหนะจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด โดยตรงเช่นกันประกอบกับการกระทำของจำเลยนับว่าเป็นการกระทำที่ไม่นำพา ต่อกฎหมายบ้านเมือง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุสมควรให้ริบรถตู้ของกลาง”
ที่มา สำนักงานศาลยุติธรรม

สิทธิ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯกับสิทธิตาม พ.รบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เป็นคนละสิทธิกัน จะใช้สิทธิใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกา 2040/2539
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย เป็นสิทธิตา พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ด้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณี
ตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้ง 2 ทาง และ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีก จำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการเเพทย์จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 272/2565
มติที่ประชุมใหญ่ ของศาลฎีกา ที่มีความเห็นเกี่ยวกับ กฎหมายยาเสพติด

วันนี้วันครู มีคำพิพากษา น่าสนใจ 1 เรื่องเกี่ยวกับ ฉ้อโกง ครับ คำพิพากษา ฎีกาที่ 9948/2555 โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนกับบริษัท อ. เพื่อดำเนินกิจการของโรงเรียน อันมีโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เป็นหุ้นส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้ในกระบวนการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 วรรคหนึ่ง โจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ขณะเกิดเหตุแม้จำเลยไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนและไม่มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนโดยตรงก็ตาม แต่จำเลยเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายผู้สอน นักเรียนสามารถฝากเงินแก่จำเลยให้นำไปชำระแก่โรงเรียนได้โดยถือเสมือนหนึ่งว่านักเรียนชำระเงินให้แก่โรงเรียนแล้ว และจำเลยมีหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายการเงิน ถือได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายโดยปริยายจากโรงเรียนให้มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนแทนโรงเรียนได้ ซึ่งเมื่อจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากนักเรียนแล้ว เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ไม่ได้เป็นของนักเรียนอีกต่อไป นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลย จึงมิใช่ผู้เสียหายผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนั้นแม้ก่อนโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในคดีนี้ นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกง และถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากโรงเรียนออกใบรับรองผลการเรียนให้ไปแล้วก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่านักเรียนดังกล่าวเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหายักยอกตามฟ้องนี้ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในส่วนนี้จึงยังไม่ระงับไป เพราะมิใช่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายและเปลี่ยนข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2555)

🚗กรณี ผ่อนรถยนต์ไม่ไหวแล้วนำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ และไฟแนนซ์ยินดีรับรถยนต์คืน ถือว่าทั้งสองฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย ผู้เช่าซื้อ ไม่ต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่าง🚕คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2330/2558
สัญญาเช่าซื้อข้อ 12 กำหนดว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อได้กลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อและ/หรือบอกเลิกสัญญาได้ทันที ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 2 โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินการตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 3 และงวดที่ 4 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามข้อสัญญานี้ หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ไม่ถือเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา และยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีผลผูกพันอยู่ การที่ ช. ผู้รับจ้างในการติดตามรถที่เช่าซื้อรถของโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อคืน คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าขาดราคาส่วนที่ขายทรัพย์ที่เช่าซื้อไป หรือราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาข้อ 15 ซึ่งระงับไปแล้วไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 50,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 260,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้พิพากษาตามศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องหักต้นเงิน 50,987.20 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระแก่โจทก์ออก ที่จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 260,987.20 บาท เป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่จำเลยทั้งสี่🚎
ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

เมื่อที่ดินซึ่งมิใช่โฉนดที่ดิน ถูกแย่งการครอบครอง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 มีสารสำคัญดังนี้ "ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5697/2553
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป และมาตรา 1375 วรรคสอง การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้แย่งการครอบครองก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ครอบครองว่า ตนไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ดังนั้น การที่ก่อนปี 2539 ระหว่างแนวเขตที่ดินพิพาทมีการปลูกต้นยูคาลิปตัสและนาย จ. บอกฝ่ายจำเลยให้รื้อถอนต้นยูคาลิปตัสกับรั้วลวดหนามออก ไม่ใช่การบอกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครอง แต่เมื่อประมาณกลางเดือนมกราคม 2541 จำเลยทั้งสองได้ทำรั้วลวดหนามอ้างว่าทำขึ้นทดแทนรั้วเดิมซึ่งทรุดโทรมไปแล้วและโจทก์เห็นว่ารั้วดังกล่าวสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จึงมีการเจรจากับจำเลยทั้งสองให้รื้อรั้วออกไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม ต่อมาโจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมกราคม 2541 แล้วว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 จึงเป็นการฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์และต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์...

เมื่อรถยนต์สูญหาย สัญญาเช่าซื้อ ระงับ คือสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน
🙌ป.พ.พ.มาตรา 567 ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมดไซร้ ท่านว่าสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไปด้วย
🙌ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยตาม คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5819/2550 เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปนับแต่วันที่รถยนต์สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อว่าในกรณีที่รถยนต์นั้นสูญหายผู้เช่าจะยอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินจำนวนเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงจะชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์กรณีนี้ไว้ด้วย อันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ส่วนค่าขาดประโยชน์นั้นเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2564
ฑีฆายุกา โหตุ นาถปรมราชินี
ถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ทรงพระเกษมสำราญมีพลานามัย สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นพระมิ่งขวัญพสกนิกรปวงชนชาวไทยตลอดกาลตลอดไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นายจิณณะ นาคสุขุม

7 สิงหาคม วันรพี
“เอ็งกินเหล้า เมายา ไม่ว่าหรอก
แต่อย่าออก นอกทางไป ให้เสียผล
จงอย่ากิน สินบาท คาดสินบน
เรามันชน ชั้นปัญญา ตุลาการ”

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

😊ผู้ค้ำประกันตาย ขณะที่ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ตกทอดกับทายาทผู้ตายครับ😊
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1268/2555
ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600

ว่าด้วยเรื่อง "แจ้งตวามเท็จ" ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137 "ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตาม 172 "ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 173 "ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 “ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ” และ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541 "การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และ 174 นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่ แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลย โดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จดังกล่าว"
#ข้อความที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานอันจะเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้นั้น จึงต้องพิจารณาจาก “ข้อเท็จจริง” เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย
จากหนังสือคำอธิบาย ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ ได้อธิบายไว้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของความผิดฐานนี้คือ “ข้อความอันเป็นเท็จ” ซึ่งหมายความว่า เป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบันที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง กล่าวคือข้อความนั้นจะต้องเป็นข้อจริงเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่เกี่ยวกับเรื่องในอนาคต

😀 ก่อนตาย ผู้ตายเป็นบุตรนอกสมรสของบิดา ซึ่งบิดาอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับมารดาผู้ตาย ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย บิดาและมารดา จดทะเบียนสมรสกัน
ผู้ตายย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่วันที่ผู้ตายเกิดแล้ว และบิดาก็มีสิทธิเรียกค่ขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูจากผู้กระทำละเมิดหรือบริษัทประกันภัยได้ แล้วแต่กรณี ..😀
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6436/2562
ขณะเกิดเหตุละเมิด จ. ผู้ตาย เป็นบุตรนอกสมรสของผู้คัดค้านซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ค. มารดาของผู้ตาย หลังจาก จ. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย เป็นผลให้ จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านกับมารดาของผู้ตาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวมีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด ดังนั้น แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ขณะนั้น จ. มีอายุ 21 ปีเศษ และถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านและ ค. บิดามารดาของ จ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ย่อมมีผลให้ จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ จ. เกิด คือตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2537 จ. จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานับแต่นั้น การทำละเมิดเป็นเหตุให้ จ. ถึงแก่ความตายย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาขาดไร้อุปการะ การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดที่ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
😀 ที่มา เพจศาลฎีกา

🤭ปัญหามีอยู่ว่า โจทก์(ผู้เสียหาย) จำเลยที่ 1 (ผู้กระทำละเมิด) และจำเลยที่ 2 (ผู้รับประกันภัย) โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้หรือไม่ ตามแนวคำพิพากษานี้ท่านว่ามีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ครับ
😊คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2558 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นผู้เอาประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกรวมถึงความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยและทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้นคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่..." มีความหมายว่าบุคคลผู้ต้องเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่ตนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบฐานละเมิด คือจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ และมาตรา 877 บัญญัติว่า "ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) เพื่อจำนวนวินาศภัยแท้จริง..." คำว่า "วินาศภัยอันเกิดขึ้นและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" จึงหมายความว่า เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ ส่วนผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนในหนี้ละเมิดทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 438 กรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้ละเมิดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ระงับเกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เป็นเรื่องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับในส่วนที่เหลือ😀

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2563 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองผู้ประสบภัยซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และยังหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วยกรณีบังคับให้เจ้าของรถ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียสำหรับผู้ประสบภัย ม.4 จ่ายทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าเกิดจากความผิดของผู้ใด
เมื่อบริษัทประกันจ่ายไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่ เอาจากบุคคลภายนอก หรือเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ หากเกิดเพราะความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ม.31

หากว่าชีวิตมีโอกาสได้ทำเพื่อประชาชน จงทำเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้เป็นปกติสุข

🚗 เมื่อรถยนต์เราถังน้ำมันรถมีรอยรั่วซึม เมื่อเอาไปซ่อมที่อู่ ต้องแจ้งอู่ด้วยว่ามีน้ำมันอยู่ด้วย เมื่อถังน้ำมันระเบิด เราจะมีความผิดตามกฎหมาย ครับ
👍 คำพิพากษาฎีกาที่ 12114/2556
การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้นเพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 🚗 ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา 🚍

“ดุลพินิจ” คำว่า ดุลพินิจ
(อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล กับคำว่า พินิจ. ดุล แปลว่า เท่ากัน เสมอกัน เท่าเทียมกัน. พินิจ แปลว่า การพิจารณา
ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควร การพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน
เช่น ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ โทษจะหนักเบาเพียงใดก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาล การตรวจข้อสอบอัตนัยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตรวจ การอนุมัติงบประมาณในวงเงินที่จำกัด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน
คำว่า ดุลพินิจ ออกเสียงว่า ดุน-พิ -นิด ตามระบบเสียงของภาษาไทย หรือ ดุน-ละ -พิ-นิด ตามลักษณะของคำสมาส. คำว่า ดุลพินิจ ใช้ว่า ดุลยพินิจ (อ่านว่า ดุน-ยะ-พิ-นิด) ก็ได้
ที่มา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ฎีกา สั้นๆ ได้ใจความ ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2520
🙅♂️ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับในระยะกระชั้นชิด เป็นความประมาทของผู้ตายเอง จำเลยไม่อาจห้ามล้อหยุดได้ทันสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ ไม่ใช่เกิดจากความประมาทของจำเลย🙅♂️ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

🙅♂️พนักงานสอบสวนยึดรถบรรทุกและข้าวสารไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีอาญา เมื่อข้าวสารหาย ใครรับผิดชอบ🙇♂️ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้แล้วครับ🙅♂️
🙅♂️คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2549
รถบรรทุกและข้าวสารบนรถบรรทุกของโจทก์ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีอาญาโดยจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ดูแลรักษารถบรรทุกและข้าวสารของกลางไว้ระหว่างสอบสวนโดยต้องใช้ความระมัดระวังดูแลเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเอง เฉพาะอย่างยิ่งมีข้าวสารบรรจุกระสอบถึง 200 กระสอบ มูลค่าหลายแสนบาทบรรทุกอยู่บนรถจะต้องระมัดระวังยิ่งขึ้นมิให้สูญหายหรือได้รับความเสียหาย การที่จำเลยที่ 3 นำรถบรรทุกไปจอดในรั้วของสถานีตำรวจได้ เป็นเพียงการนำรถบรรทุกไปจอดไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการดูแลรักษาทรัพย์สิน แม้จะได้เก็บกุญแจรถไว้ แล้วเอาโซ่และกุญแจล็อกระหว่างพวงมาลัยกับคลัตซ์และได้ตรวจดูบ่อยๆ แต่การจอดรถบรรทุกไว้ข้างถนนโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควรย่อมเปิดโอกาสให้คนร้ายลักรถบรรทุกและข้าวสารไปได้โดยง่าย จำเลยที่ 3 จึงมิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลรถบรรทุกและข้าวสารเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถบรรทุกและข้าวสารสูญหายไปถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3🙅♂️ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

🌼 การแชตหรือส่งข้อความขอยืนเงิน ถือว่าเป็นการทำสัญญาการกู้ยืมเงินแล้ว🌸
ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้แล้ว
🌻 คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556
เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน 🌼
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ในมาตรา 7,8 และ 9
🌼 เก็บหลักฐานดังต่อไปนี้
1)หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่านแชต หรือกล่องข้อความออนไลน์
2)หลักฐานบัญชีของผู้กู้ยืมเงิน
3)หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ แอปพลิเคชันของธนาคาร
ในกรณี หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยัน และอธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน🌼

🙋♂️ตอนมีให้เพื่อนยืม ถึงเวลาเพื่อนไม่คืน แล้วไปโพสต์ ข้อความในเฟสบุ๊ค ประชดประชันเพราะความเครียดออกสื่อเลย ประมาณว่า หนี้ไม่ต้องเอามาคืนยกหนี้ทั้งหมดให้เลย หนี้ที่มีอยู่กลายเป็นหนี้สูญเลยนะ เพราะถือว่าเราเจตนาที่จะปลดหนี้หรือยกหนี้ให้กับเขาแล้ว 🙋♂️ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ไว้แล้ว
🙅♂️คำพิพากษาฎีกาที่ 6757/2560
ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทาง เฟสบุ๊ค มีใจความว่า “เงินทั้งหมดจำนวน 670,000 บาทนั้น จำเลยไม่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์แล้ว และไม่ต้องส่งดอกเบี้ยอะไรมาให้อีก โจทก์ยกให้ทั้งหมด จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว” การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ. ศ. 2544 มาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 7 ได้บัญญัติว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และมาตรา 8 บัญญัติว่าภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ดังนั้นข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทาง เฟสบุ๊ค แม้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความของโจทก์ทาง เฟสบุ๊ค ก็จะปรากฏชื่อของผู้ส่งด้วยและโจทก์เองก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทาง เฟสบุ๊ค ถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมจึงระงับ ฝ่ายโจทก์ไม่อาจยกเหตุว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยแต่ได้กระทำไปเพราะความเครียดและต้องการประชดประชันจำเลยขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกไปตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายในของโจทก์🙇♂️ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

มีผู้ถามมาว่า 🙇♂️คนตายทำไมต้องชันสูตรพลิกศพ
การชันสูตรพลิกศพ ตามกฎหมายไทยนั้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพเว้นแต่ตายโดยประหารชีวิตตามกฎหมาย
การตายโดยผิดธรรมชาติ มี 5 ลักษณะ ดังนี้
1) การฆ่าตัวตาย
2) การถูกผู้อื่นทำให้ตาย
3) การถูกสัตว์ทำร้ายตาย
4) การตายโดยอุบัติเหตุ
5) การตายโดยยังมิปรากฏเหตุ🙋♂️

🙋♂️ล้อรถยนต์หลุดจากรถยนต์ ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ 🙋♂️และบริษัทประภันภัยจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ 🙅♂️
🙅♂️คำพิพากษาฎีกาที่ 3471/2529 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วม ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท🙅♂️ที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

🚘 ท่านอย่าเอามือไปตบรถยนต์และเตะของคนอื่นนะครับ เพราะอาจจะโดนปืนตบใบหน้าและการใช้ปืนตบใบหน้าท่านนั้น เป็นเหตุบันดาลโทสะได้🚗 ศาลฎีกา ได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้ว🚙
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2559 การที่ผู้เสียหายใช้มือตบที่ฝากระโปรงรถและเตะไปที่ล้อรถกระบะของจำเลย อันเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ของจำเลยนั้น ย่อมทำให้จำเลยโกรธเคืองและเกิดโทสะถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหวอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนตบที่บริเวณใบหน้าของผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72🏎ที่มา เนติบัณฑิตยสภา
🎤คำว่า”บันดาลโทสะ” ⚖️ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

🙅♂️ลูกจ้างระบายความคับแค้นใจเกี่ยวกับบริษัท ผ่านเฟสบุ๊ค นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย🙅♂️
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยประเด็นนี้ไว้แล้ว
🙋♂️ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560
เฟชบุ๊คเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟชบุ๊คได้ และมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟชบุ๊ก แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจของโจทก์ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และจำเลยกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน ทั้งโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของจำเลย ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์🙇♂️

ในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากรถ 🙅♂️สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นตามกฎหมายต่างฉบับหรือคนละฉบับกัน ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ 😷คำพิพากษาฎีกาที่ 2110/2551 สิทธิในการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 เป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเพื่อเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นโดยเจ้าของรถต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและต้องเสียเบี้ยประกัน กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย ส่วนสิทธิของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เกิดจากการเป็นผู้ประกันตนและออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 46 สิทธิของผู้ประสบภัยและสิทธิของผู้ประกันตนจึงเป็นสิทธิตามกฎหมายต่างฉบับ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยและกองทุนประกันสังคมก็แตกต่างกัน การก่อให้เกิดสิทธิจากเบี้ยประกันภัยกับเงินสมทบและการจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิได้รับแตกต่างกันไปตามกฎหมายแต่ละฉบับ กฎหมายทั้งสองฉบับไม่มีบทบัญญัติมิให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายอื่นแล้วมารับค่าเสียหายเบื้องต้นหรือประโยชน์ทดแทนอีก
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุถูกรถจักรยานยนต์ชน เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. อันเป็นสถานพยาบาลที่จำเลยกำหนด แม้โรงพยาบาล ม. เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นค่าเสียหายเท่าที่จ่ายจริงจากบริษัท ว.ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. ได้รับจึงเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 แต่จำเลยยังมิได้ให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นค่าบริการทางการแพทย์ (ค่ารักษาพยาบาล) จากกองทุนประกันสังคม ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 58, 59 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โจทก์🙇♂️

😀 คำพิพากษาฎีกา ที่ 5865/2545 เจ้าของรถที่จะต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 26 หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23(1) ไว้เท่านั้น แต่จำเลยเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยจากรถยนต์ของผู้อื่นที่ทำให้จำเลยได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงมิใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 23(1) กรมการประกันภัยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้จ่ายให้จำเลยไปคืนให้แก่โจทก์
🙇♂️เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันทีจากบริษัทประกันภัย หรือ สํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แล้วให้บริษัทหรือสํานักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถ🙋♂️ที่มา เนติบัณฑิตสภา
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
Chiang Mai
50210
189/1 หมู่ที่1 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai, 50300
สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ (สาขาเชียงใหม่) ศิวาลัยวิลเลจ 3 เลขที่ 104/266
Chiang Mai, 50130
รับปรึกษาปัญหากฎหมาย พูดคุยเกี่ยวก
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai, 50300
ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของ?
โครงการทรีบูติคอเวนิว ต. ท่าศาลา
Chiang Mai, 50000
ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี รับว่าความทั
111/262 M. 5 T. Meaheai Mouang
Chiang Mai, 50100
‘Victor Juris’ providing high standard legal services through a modern and trustworthy.
186/17 ม. 6 ต. หนองหาร อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
Chiang Mai, 50290
ปรึกษากฎหมายเบื้องต้นฟรี คดีครอบครัว มรดก กู้ยืม ร่างสัญญา รับว่าความ คดีแพ่ง อาญา
199/332 ม. 2 หมู่บ้านสวนนนทร ซ. 7/2 ต. หนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
Chiang Mai, 50210
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน (Center for Protection and Revival of Local Community Rights)
The Palm Garden 8
Chiang Mai, 50230
บริษัทTK LAW บริการงานด้านกฎหมาย ว่าคว?
588/19 ถ. เจริญเมือง(อยู่หัวมุมสี่แยกหนองประทีป) ต. ท่าศาลา อ. เมือง จ. เชียงใหม่ โทร. 063 6273416
Chiang Mai, 50000
สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรีทนายความ
45/52 ถนนต้นขาม2 ตำบลท่าศาลา
Chiang Mai, 50000
ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย คดีเเพ่ง คดีอาญา