สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่
กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี
โครงการขยายงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2502 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำหรับภาคเหนือ มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2503 เรียกชื่อสมัยนั้น ว่า สำนักงานประชาสัมพันธ์เขตลำปาง
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "กองประชาสัมพันธ์เขตลำปาง" ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแบ่งส่วนราชการ กรมประชาส

กต. แถลง ผิดหวังกัมพูชาไม่ร่วมมือกับไทยแก้ไขปัญหา แต่ยังนำพื้นที่ 4 จุดเข้าสู่ศาลโลก ขาดความตั้งใจจริงในการใช้กลไกทวิภาคีต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี
กระทรวงการต่างประเทศ แถลงผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา Joint Boundary Commission (JBC) ครั้งที่ 6 จัดขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ฝ่ายไทยมีนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศด้านเขตแดนเป็นประธานคณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทย ด้านฝ่ายกัมพูชามีนายลำ เจีย รัฐมนตรีรับผิดชอบสำนักงานเลขาธิการกิจการชายแดนแห่งชาติกัมพูชา เป็นประธานคณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายกัมพูชา โดยคณะกรรมาธิการเขตแดนประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ
การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 13 ปี หลังจากการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อปี 2555 ที่กรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายร่วมกันหารืออย่างกว้างขวางซึ่งในประเด็นการดำเนินงานด้านเทคนิคภายใต้กรอบกลไก JBC นำไปสู่ความคืบหน้าสำคัญ ได้แก่
(1) รับรองผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Technical Sub-Committee (JTSC)) ครั้งที่ 4 (14 กรกฎาคม 2567) ณ เมืองเสียมราฐ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันต่อตำแหน่งที่ตั้งของหลักเขตถึง 45 หลัก และเห็นชอบให้นำเทคโนโลยี LiDAR มาใช้ในการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศเพื่อความรวดเร็วในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
(2) เห็นชอบให้มีการแก้ไขแผนแม่บทว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี 2546 (TOR 2003) เพื่อนำเทคโนโลยี LiDAR มาใช้ในการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
(3) เห็นชอบการส่งชุดสำรวจร่วมไปลงสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ระหว่างหลักเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันในพื้นที่ที่ใช้ลำน้ำ หรือเส้นตรงเป็นเส้นเขตแดน โดยมอบหมายให้ JTSC ไปหารือและจัดทำข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Instruction: TI) ร่วมกันต่อไป
(4) เห็นชอบให้มีการจัดทำข้อกำหนดทางเทคนิคการเดินสำรวจในพื้นที่ตอนที่ 6 (จากเขาสัตตะโสม จนถึงหลักเขตแดนที่ 1 ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ) ซึ่งเป็นประเด็นคงค้างมาตั้งแต่ปี 2554 โดยมอบหมาย JTSC จัดทำข้อกำหนดทางเทคนิคการเดินสำรวจ ไปพร้อม ๆ กับการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อเสนอต่อ JBC ต่อไป
อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยแสดงความผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อการที่ฝ่ายกัมพูชายังไม่ยอมร่วมมือกับไทยในการแก้ไขปัญหาเฉพาะและลดความตึงเครียดระหว่างกัน แต่ยังเดินหน้านำเรื่องพื้นที่ 4 จุด (พื้นที่ช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย) ไปสู่การพิจารณาของ ICJ ซึ่งสะท้อนว่าฝ่ายกัมพูชาขาดความตั้งใจจริงในการใช้กลไกทวิภาคีต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี
ในการนี้ ประธานฝ่ายไทยได้ย้ำท่าทีไทยตอบโต้ทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา (ซึ่งได้บันทึกแนบไว้ในเอกสารผลลัพธ์ Agreed Minutes ของการประชุมครั้งนี้) ดังนี้
1. การดำเนินการของไทยเป็นไปโดยความจำเป็นตามหลักการป้องกันตัวจากการที่ถูกฝ่ายกัมพูชาโจมตีก่อน และเป็นไปอย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
2. ไทยแสดงความผิดหวังที่ฝ่ายกัมพูชาเลือกที่จะปิดประตูการเจรจาอย่างสันติใน 4 พื้นที่ โดยท่าทีของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด ได้เน้นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาระหว่างกันแบบทวิภาคี และบทบาทที่สำคัญของ JBC ในการทำให้มีเขตแดนชัดเจนระหว่างกัน เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย
3. ไทยย้ำถึงความสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องยึดมั่น MOU 2543 (ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เห็นชอบร่วมกับไทย) โดยไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเขตแดน ไม่รุกล้ำเขตแดนระหว่างกัน และทั้งสองฝ่ายจะต้องใช้ความอดกลั้นเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย
4. ทั้งสองฝ่ายจะต้องหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดและขัดแย้งในวงกว้าง และย้ำถึงความสำคัญของการใช้กลไกความร่วมมือทวิภาคีอื่น ๆ ในการช่วยแก้ปัญหาด้วย เช่น GBC, RBC การประชุมผู้ว่าจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อให้แนวชายแดนมีความสงบเป็นปกติ และอำนวยความสะดวกการเดินทางของคนและขนส่งสินค้า ซึ่งฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธที่จะหารือในประเด็นนี้
ทั้งนี้ การประชุมมิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของ ICJ และมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200000 คณะกรรมการปักปันสยาม - อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด การประชุมในครั้งนี้เป็นการหารือในประเด็นเทคนิคในการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2 ของการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามแผนแม่บทฯ
ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา สมัยพิเศษ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนกันยายน 2568

ชาวกัมพูชาจำนวนมาก รอข้ามแดนกลับประเทศ พบบางส่วนมีสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวติดมาด้วย
16 มิ.ย. 2568 เวลา 08.00 น. ทางการไทย เปิดประตูด่านข้ามแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ แต่ทางฝั่งกัมพูชายังไม่ได้มีการเปิดด่านพร้อมกับเวลาไทย ทางฝั่งกัมพูชาจะเริ่มเปิดประตูหน้าด่านในเวลา 09.00 น.
ทำให้ขณะนี้มีชาวกัมพูชามารอที่ประตูหน้าด่านจำนวนมากแต่ที่น่าสังเกต คือ รถเข็นมีสิ่งของจำพวก กระเป๋าเสื้อผ้า ลัง ตู้เย็น พัดลม และอื่นๆ ติดมาด้วย
สอบถามชาวกัมพูชาได้ความว่า สิ่งของบางส่วนนำกลับมาให้ญาติ เพื่อใช้ที่บ้านและยังต้องการกลับไปทำงานในฝั่งไทย แต่หากสถานการณ์ชายแดนไม่ปกติหรือมีการปิดด่าน ก็จำเป็นที่จะต้องอยู่ฝั่งกัมพูชาไปก่อน
สิ่งสำคัญ คือ ไม่อยากให้ให้มีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในชายแดน เพราะกระทบ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้ง 2 ประเทศ
16 มิ.ย. 68 ภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนอง 60% มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์

กระทรวงการต่างประเทศ สรุปรายละเอียด การประชุม JBC เป็นไปอย่างราบรื่นและฉันมิตร ชี้ แสดงความคืบหน้าในการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งมีความยาวทั้งหมดประมาณ 800 กิโลเมตร เตรียมจัดประชุมอีกครั้งที่ประเทศไทย ก.ย. นี้
วันนี้ (15 มิ.ย. 68) กระทรวงการต่างประเทศ สรุปรายละเอียดในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 หรือ The Sixth Meeting of The Cambodian-Thai Joint Commission on Demarcation for Land Boundary (JBC) ดังนี้
“เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2568 เอกอัครราชทูตประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ฝ่ายไทย และนายฬำ เจีย รัฐมนตรีรับผิดชอบกิจการชายแดนและหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการกิจการชายแดนแห่งชาติกัมพูชา ประธานร่วมฝ่ายกัมพูชา เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 (JBC) และลงนามบันทึกการประชุมร่วมกัน ที่กรุงพนมเปญ
การหารือเป็นไปอย่างราบรื่นและฉันมิตร ทั้งสองฝ่ายกล่าวขอบคุณที่การประชุมสำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเน้นย้ำความสำคัญและประสิทธิภาพของ JBC ซึ่งเป็นกลไกทวิภาคีหลักในการเจรจาเขตแดนระหว่างสองประเทศ การประชุมครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญที่แสดงความคืบหน้าในการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งมีความยาวทั้งหมดประมาณ 800 กิโลเมตร และมีส่วนช่วยลดความตึงเครียดบริเวณชายแดน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีภารกิจที่ต้องหารือและดำเนินการร่วมกันต่อไป โดยฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JBC สมัยพิเศษครั้งต่อไปในเดือนกันยายนนี้
ปัจจุบัน ไทยกับกัมพูชามีกลไกความร่วมมือในประเด็นชายแดนร่วมกัน 3 ระดับหลัก ได้แก่ (1) JBC ซึ่งเป็นกลไกทวิภาคีที่สำคัญในการหารือกันทางเทคนิคและข้อกฎหมายระหว่างประเทศ (2) คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ซึ่งเป็นกลไกทวิภาคีระดับสูงด้านความมั่นคง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชาเป็นประธานร่วม เพื่อหารือในการกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือและการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ และ (3) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) ซึ่งเป็นกลไกระดับทวิภาคีของฝ่ายทหาร เพื่อหารือในระดับพื้นที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การพัฒนา ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบริเวณชายแดนร่วมกัน โดยประธานร่วมเป็นระดับแม่ทัพภาคหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่ตำบลอุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2568) นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ต่อเนื่องจากจุดแรก ณ ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน มา ณ สำนักงานตลาด สาขาลำพูน ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมี นายบูรณิศ ยุกตะนันทน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาด กล่าวต้อนรับ และรายงานผลการดำเนินงานขององค์การตลาด สาขาลำพูน จากนั้น ได้รับฟังการนำเสนอเรื่อง การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ตำบลอุโมงค์ จากนายขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ การกระจายสินค้าทางการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดลำพูน จากบริษัทประชารัฐสามัคคี จังหวัดลำพูน และ รับฟังการนำเสนอ เรื่อง ตลาดต้นแบบศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพชุมชน เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง จากนายณรงค์ สมทราย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลุก ตำบลเหมืองง่า
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ได้ไปยัง ศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพชุมชน ชั้น 2 องค์การตลาด สาขาลำพูน เพื่อเยี่ยมชมศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพชุมชน ชมการสาธิตวิธีการตรวจสารตกค้างในผักและผลไม้ โดยประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลอุโมงค์ และนักวิทยาศาสตร์ จากนั้น ได้มอบนโยบายและเยี่ยมชมห้องเย็น ณ บริเวณ ชั้น 1 องค์การตลาด สาขาลำพูน โดยรับฟังการนำเสนอแผนการปรับปรุงห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้าทางการเกษตรโดย นายสุฤษฎิ์ วิพรหมชัย เลขาธิการหอการค้าจังหวัดลำพูน ปิดท้าย ณ บริเวณตลาดป่าเห็ว เพื่อเยี่ยมชมสินค้าจากผู้ประกอบการค้าในตลาดป่าเห็ว องค์การตลาด สาขาลำพูน
การลงพื้นที่จังหวัดลำพูนในครั้งนี้ เป็นการตรวจราชการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย อีกทั้ง เป็นการลงพื้นที่เพื่อพบปะ รับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน เพื่อนำไปเป็นแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน รับฟังแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน พร้อมขอให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังอุทกภัยตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อน
วันนี้(วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2568) 15.30 น. ณ สำนักงานตลาด สาขาลำพูน ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวถึงการเยียวยาพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำพูน โดยได้รับทราบว่าประชาชนยังไม่ได้รับค่าล้างโคลนจากการประสบอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา จึงได้มีการสอบถามไปยังนายวิวัฒน์ อินไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ขณะนี้ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งมาว่า กรมบัญชีกลางได้อนุมัติเงินช่วยเหลือค่าล้างโคลนมาให้จังหวัดลำพูนแล้ว กว่า 50 ล้านบาท หากได้รับเงินดังกล่าวมาแล้ว จะได้ดำเนินการแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยและได้ลงทะเบียนไว้ต่อไป
ด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขอให้ทางจังหวัดดำเนินการจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือตรงนี้ให้ทั่วถึงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนแนวทางการแก้ไขในระยะยาวนั้น ได้รับทราบว่าทางจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการร่วมประชุมหารือกันป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำปิงของทั้ง 2 จังหวัดแล้ว โดยให้กรมเจ้าท่าสำรวจออกแบบแก้ไขปัญหาน้ำปิงเออล้นตลิ่งและส่งผลกระทบทั้งจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ส่วนในปีนี้ ขอให้แจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดอุทกภัยขึ้นซ้ำอีกเช่นครั้งที่ผ่านมา

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อตรวจราชการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน
วันนี้(วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2568) เวลา 14.00 น. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อตรวจราชการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน (ลำพูนไหมไทย) ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน โดยมีนายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายโยธิน ประสงค์ความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน คณะผู้บริหารจังหวัดลำพูน นายอำเภอ และหัวหน้าคณะทำงทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล เทศบาลในพื้นพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน ให้การต้อนรับคณะ
เมื่อคณะเดินมางมาถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้กล่าวแนะนำตัว แนะนำหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลในเมือง มอบของที่ระลึกให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชม จุดที่ 1 กลุ่มสตรีนวดสมุนไพร (ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ) จุดที่ 2 การสาธิตการทอผ้าไหมลำพูน (ผู้ประกอบการ OTOP) จุดที่ 3 กลุ่มสตรีทำโคมล้านนา (ผลิตภัณฑ์โคมล้านนา) จุดที่ 4 กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลประตูป่า (ผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าฝ้าย) จุดที่ 5 ศูนย์จัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยกดอกลำพูน จากนั้น เดินทางไปยัง จุดที่ 6 พบปะหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลเทศบาลในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน มีสมาชิกสตรี จำนวน 20 คน ให้การบรรยายและตอบข้อซักถาม และได้บันทึกภาพร่วมกัน ก่อนออกเดินทางไปยังองค์การตลาด ต.อุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ต่อไป

"รับน้องสร้างสรรค์" อบจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ ม.ราชภัฎเชียงใหม่ จัดรับน้องแบบสร้างสรรค์ สอน CPR ให้น้องใหม่ เปลี่ยนกิจกรรมรับน้องเป็นการให้ชีวิต
วันนี้ (14 มิ.ย. 68) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (CPR) แก่นักศึกษาใหม่ ต้อนรับเปิดเทอมด้วยกิจกรรมรับน้องสุดสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่แค่สนุก แต่ “ให้ชีวิต” ได้จริง เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะในการช่วยชีวิตเบื้องต้นในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยที่มีอาการช็อกหมดสติเฉียบพลัน
กิจกรรมนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ที่สะท้อนถึงความห่วงใยต่อสังคม พร้อมยกระดับให้เชียงใหม่เป็น “เมืองแห่งความปลอดภัย” เพราะยิ่งมีคนรู้วิธีทำ CPR มากเท่าไร โอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบเหตุฉุกเฉินก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นายแพทย์ธีรพัฒน์ ตันพิริยะกุล รองนายก อบจ เชียงใหม่
กล่าวว่า “วันนี้เราไม่ได้แค่สอน CPR แต่เรากำลังสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางความปลอดภัย และส่งต่อการรับน้องที่มีคุณค่า สร้างประโยชน์ได้จริง”

จุดผ่านแดนบ้านผักกาด จ.จันทบุรี คนผ่านปกติ ห้ามรถขนผลผลิตทางการเกษตรเข้า-ออก
สถานการณ์วันที่ 15 มิ.ย. 68 การข้ามผ่านแดน ของชาวกัมพูชา ที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่ามีชาวกัมพูชาผ่านแดนเข้าออกกันตลอดทั้งวัน ช่วงเวลาตั้งแต่ 08:00 - 16:00 น. ตามเวลาปรับเปิด - ปิดด่านใหม่ เนื่องจากยังมีแรงงานชาวกัมพูชาบางส่วน ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ชาวกัมพูชาบางรายขนข้าวของเครื่องใช้ เพื่อไปฝากให้ญาตินำกลับบ้าน ส่วนตนเองยังคงกลับมาทำงานที่ประเทศไทย บางรายมีการขนย้าย เครื่องซักผ้า พัดลม หม้อหุงข้าว เพื่อกลับไปตั้งหลักที่บ้าน
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่บริเวณหน้าด่าน ทราบว่าที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรีหลังจากตรวจสถานการณ์ จะมีแรงงานชาวกัมพูชาเดินทางเฉลี่ย 400 - 600 คนต่อวัน เพื่อข้ามไปมาและกลับบ้าน แต่จะให้ใช้วิธีเดินเท้าแบกสิ่งของ หรือใช้รถเข็นเข็นข้ามผ่านแดน ส่วนรถบรรทุก หรือรถที่ต้องใช้ขนส่งผลผลิตทางการเกษตร ทางกัมพูชายังไม่อนุญาต ให้ผ่านข้ามไป เช่นเดียวกับฝั่งไทย ที่มีการงัดมาตรการไม่รับหรือให้นำเข้ามาใช้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ให้รถที่บรรทุกผลผลิตทางการเกษตร เข้ามาประเทศไทยเช่นกัน
วันที่ 15 มิ.ย. 68 ภาคเหนือมีฝน 70% มีฝนตกหนักบางแห่งที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก

สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอให้พี่น้องคนไทยในอิหร่าน-อิสราเอลทุกท่านติดตามข่าวสารจากทางการและสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
เว็บไซต์
ที่อยู่
49 ถนนประชาสัมพันธ์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดChiang Mai
Chiang Mai
50100