ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR

ความคิดเห็น

*Thai below

Watch the “Dreamers of the Deep South” video and see Thailand’s Deep South from new perspectives. This video features beautiful ways of living and pluralism in culturally diverse communities, presenting how people in the communities live "TODAY" and dream for their "FUTURE."

Through the USAID Together project, we work to catalyze collaborative partnerships between local civil society organizations and media organizations in Thailand to develop and disseminate creative, evidence-based media coverage on key issues in Thailand’s Deep South.

Dreamers of the Deep South นำเสนอเรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยด้วยมุมมองใหม่ โดยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตอันงดงามและความเป็นพหุนิยมในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การดำรงชีวิตของคนในชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ในปัจจุบัน และภาพอนาคตที่พวกเขาวาดฝันไว้

องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ดำเนินงานผ่านโครงการ USAID Together ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรสื่อในประเทศไทย เพื่อพัฒนาและเผยแพร่สื่อที่สร้างสรรค์และมีข้อมูลรองรับในประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย

DAI Global Love Frankie THE PEN กลุ่มลูกเหรียง ผู้หญิง ภาคประชาสังคม Patani Forum - ปาตานีฟอรั่ม Muslim attorney centre foundation มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR THE STANDARD The MATTER สภาประชาสังคมชายแดนใต้ สำนักข่าวปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน Melayu Living Digital4Peace ดิจิทัลเพื่อสันติภาพ Patani Artspace
Recently, USAID and DAI Global brought together local civil society organization (CSO) partners under the USAID Together project to identify opportunities for collaboration on issues of common interest.

Through the project, we collaborate with CSOs to improve their ability to advocate for public interests and work with the Royal Thai Government to develop solutions to common challenges in Thailand.

Photos: USAID Together

Love Frankie THE PEN กลุ่มลูกเหรียง CIVIC WOMEN Patani Forum - ปาตานีฟอรั่ม Muslim attorney centre foundation มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR THE STANDARD The MATTER สำนักข่าวปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน สภาประชาสังคมชายแดนใต้
📌วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564
เวลา 13.00 – 15.00 น.
📢 ชวนรับฟัง เวทีสาธารณะ “ประชาชนเป็นเจ้าของแร่ การบริหารจัดการแร่ต้องมาจากประชาชน”ปัญหาการบังคับใช้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560”
🔴รับชมทาง Live Facebook : มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
O บำเพ็ญ ไชยรักษ์ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
O อับดุลกอฟฟาร์ หลีเยาว์ กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง
O แววรินทร์ บัวเงิน กลุ่มรักษ์บ้านแหง
O ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ นักวิชาการอิสระ
O เอกชัย อิสระทะ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
O จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM)
ดำเนินรายการโดย วิภาพร วัฒนวิทย์ ผู้ประกาศข่าว ThaiPBS
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่ในประเทศไทย ตลอดจนภาคประชาสังคมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้ร่วมกันติดตามปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นตอนการทำเหมืองแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 อนุบัญญัติต่าง ๆ ที่ออกตามความพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมถึงนโยบายการบริหารจัดการแร่ ซึ่งพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก โดยเฉพาะยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และได้มีข้อเสนอในระดับนโยบายให้ยกเลิกแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 – 2564 และดำเนินการจัดทำใหม่โดยกำหนดเขตแหล่งเพื่อการทำเหมืองให้สอดคล้องกับมาตรา 17 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 โดยจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีข้อเสนอในการแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่และในทางปฏิบัติแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่นำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและไม่มีการชี้แจงข้อมูลใด ๆ แก่เครือข่ายฯ
จึงต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนปัญหาการบังคับใช้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 โดยภาคประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงในพื้นที่ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และนักกฎหมาย เพื่อเสนอแนวทางต่อการจัดทำร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และการแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อเสนอของเครือข่ายฯ ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มาตรฐานในการทำเหมืองแร่ของประเทศไทยมีมาตรฐานที่สูงขึ้น และสามารถปกป้องประชาชนจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ร่วมจัดโดย
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW
Community Resource Centre Foundation - มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
The Reporters
Backpack Journalist X Decode
สื่อเถื่อน ข่าว
ใบแจ้งข่าว
17 องค์กรส่งข้อเสนอเรื่องสิทธิในที่ดินต่อคณะกรรมการยูเอ็น
ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เน้นเรื่องความชอบธรรมด้านสิทธิในที่ดินของชนเผ่าชาติพันธุ์ทั้งในพื้นที่ป่าและทะเล

กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมประเทศไทยจำนวน 17 องค์กร ได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อร่างความเห็นทั่วไปที่ 26 (2564) ว่าด้วยเรื่องสิทธิในที่ดิน ให้กับคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

โดยความเห็นในเอกสารฉบับนี้ได้ถูกรวบรวมโดยจากการแลกเปลี่ยนพูดคุยในการสัมมนาหัวข้อ “สิทธิในที่ดิน : หลักสากลและสถานการณ์ในประเทศไทย” ในรูปแบบออนไลน์ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ระหว่างภาคประชาสังคมในประเทศไทยจำนวน 17 องค์กร ภายใต้การสนับสนุนของ ดร. เสรี นนทสูติ ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการประสานงานและการสนับสนุนข้อมูลโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล

ข้อเสนอแนะต่อร่างความเห็นทั่วไปที่ 26 ฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม การปรึกษาหารือ และความโปร่งใส 2. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับพันธกรณีของรัฐภาคีภายใต้ ICESCR ที่เกี่ยวกับที่ดินตามหลักการเคารพ 3. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับพันธกรณีของรัฐภาคีภายใต้ ICESCR ที่เกี่ยวกับที่ดินตามหลักการคุ้มครอง 4.พันธกรณีข้ามพรมแดน 5.ประเด็นจำเพาะ และ 6.การเยียวยา

“ปัญหาที่ดินที่สำคัญคือการรับรองการใช้สิทธิในที่ดินอย่างชอบธรรมของคนกลุ่มต่างๆซึ่งรวมถึงชนเผ่าและชนกลุ่มนัอยทั้งในพื้นที่ป่าและทะเลซี่งเป็นประเด็นหลักในร่าง General comment ที่จัดส่งให้คณะกรรมการสหประชาชาติด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ฉบับนี้” ดร.เสรี นนทสูติ ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กล่าว

อ่านเอกสารฉบับเต็มทั้งภาษาไทยและอังกฤษได้ที่ https://bit.ly/2TGgR0P

องค์กรที่ร่วมลงนาม
1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
2. มูลนิธิชุมชนไท
3. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR
4. @ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5. @มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
6. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
7. @คณะติดตามการลงทุนและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน
8. @มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
9. @กลุ่ม the Mekong Butterfly
10. @มูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย
11. @กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
12. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW
13. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
14. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC
15. @สมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน
16. @มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
17. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
ศาลลำปางยกฟ้องหญิงเหยื่อทวงคืนผืนป่า ชี้ ทำกินมาก่อน-ได้รับการคุ้มครองตามนโยบายโฉนดชุมชน
ศาลจังหวัดลำปางยกฟ้องนางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง หรือ นางแสงเดือน ตินยอด เหยื่อทวงคืนผืนป่า อ.งาว จ.ลำปาง ชี้ มีหลักฐานการทำกินมาก่อนตามภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 และได้รับการคุ้มครองเพราะมีการจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชนซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล
วันนี้ (18 ธันวาคม 2562) ศาลลำปางมีนัดอ่านคำพิพากษากรณีนางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง หรือ นางแสงเดือน ตินยอด หญิงวัย 52 ปี ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำปาง ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและมีอาวุธไว้ในครอบครอง โดยมีชาวบ้านจากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ร่วมให้กำลังใจ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทุกคดี และยังไม่ต้องย้ายออกจากพื้นที่จนกว่ากรมป่าไม้จะสามารถพิสูจน์ได้ว่านางแสงเดือนไม่เข้าข่ายการคุ้มครองตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ดีใจมากเลย กินไม่ได้นอนไม่หลับมาหลายเดือน สู้มาตลอดค่ะ เราทำกินในที่ดินตรงนั้น ขาดรายได้มาหลายปี แต่วันนี้เห็นพี่น้องมาให้กำลังใจ มีคนให้กำลังใจในเฟซบุ๊ก อยากจะบอกรัฐบาลว่าอย่าดำเนินการกับคนจนแบบสองมาตรฐานแบบนี้เลย เราทุกข์อยู่แล้ว จนอยู่แล้ว ก็ยิ่งจนลงไปอีก นโยบายเขามาไม่เคยถามชุมชนเลย” นางวันหนึ่งกล่าวน้ำตาคลอหลังรับฟังคำพิพากษา
จากคำพิพากษา สรุปได้ว่า จำเลยขาดเจตนา การเข้าไปทำกินของจำเลยมีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2545 อยู่ในกลุ่มประชาชนที่ได้รับการผ่อนผันตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 และพยานของรัฐทุกปากให้การว่าพื้นที่ตรงนี้มีการทำประโยชน์มาก่อนจริง เข้าหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ไม่ผิดอาญา เมื่อไม่ผิดคดีอาญา จึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายคดีแพ่งกว่า 1 ล้านบาท ในข้อหาทำให้โลกร้อน ส่วนคดีอาวุธปืน สืบได้ว่ากระท่อมนั้นเป็นที่เปิดโล่ง ซึ่งจำเลยใช้ประโยชน์เพียงชั่วคราว มีคนผ่านไปผ่านมาตลอด ใครก็สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และไม่มีการตรวจลายนิ้วมือ ไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นของจำเลยจริง ให้ยกประโยชน์ให้จำเลย
ส่วนประเด็นว่าต้องออกจากที่ดินหรือไม่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิ์ โดยการที่จะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือออกจากพื้นที่นั้นต้องให้กรมป่าไม้พิสูจน์สิทธิ์ตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 ก่อน หากเข้าข่ายได้รับการคุ้มครองก็ไม่ต้องออกจากพื้นที่ แต่หากไม่ได้รับการคุ้มครองให้จำเลยย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 60 วันนับจากวันที่การพิสูจน์สิทธิ์เสร็จสิ้น
นอกจากนั้น ศาลยังวินิจฉัยว่า การดำเนินการตามนโยบายโฉนดชุมชนของชุมชนบ้านแม่กวักตั้งแต่ปี 2556 นั้น เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 จึงเป็นนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจยึดพื้นที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ปฏิบัติตามดุลยพินิจของตัวเอง
นางแสงเดือน ตินยอด ถูกอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทดำเนินการให้ตัดฟันยางพาราสองครั้ง คือในปี 2556 และ 2558 ตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ภายหลังได้รับการพิสูจน์ว่าพื้นที่ทำกิน 12 ไร่ของตนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานฯ เมื่อลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจึงถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่งแจ้งความดำเนินคดีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 แม้มีคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 คุ้มครอง และพิสูจน์ได้ว่าทำกินในพื้นที่มาก่อน
ทั้งนี้ มีผู้ร่วมลงนามสนับสนุนนางแสงเดือนผ่านเพจเฟซบุ๊กของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ 271 คน และเนื่องจากคดีความยังไม่สิ้นสุด สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนามสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) จะผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมต่อนางแสงเดือนและเหยื่อทวงคืนผืนป่าทุกกรณีอย่างถึงที่สุดต่อไป

แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
กรณีนางแสงเดือนโดนคดี “ทวงคืนผืนป่า” รัฐต้องคืนความเป็นธรรมและต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ตามที่นางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่ง เข้าแจ้งดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ หรืออาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต” นับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 อันเป็นผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช. แม้นางแสงเดือนจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่บุกรุกและเป็นผู้ยากไร้ แต่ก็ยังถูกดำเนินคดีทำให้ได้ความทุกข์อย่างหนักนั้น
สหพันธ์เกษตรกรกรเหนือ (สกน.) เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นรังแกคนยากจน รัฐไม่รับข้อฟังเท็จจจริงที่ปรากฏในพื้นที่ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน อันส่งผลให้ผู้หญิงคนจนคนหนึ่ง ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ต้องเป็นหนี้และขาดรายได้จากสวนยางตั้งแต่ปี 2556 นับเป็นค่าเสียโอกาสจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อจิตใจของนางแสงเดือนและครอบครัว ถึงขั้นต้องหย่าร้าง กล่าวได้ว่า นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ตามแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกาศว่า ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้คนทั้งประเทศ โดยจะไม่ให้กระทบต่อคนจนผู้ยากไร้นั้น ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เห็นได้จากการตั้งแต่เริ่มต้นมีนโยบายทวงคืนผืนป่าเมื่อปี 2557 มีการแจ้งคดีบุกรุกป่าไม่ต่ำกว่า 46,000 คดี โดยไม่มีครั้งใดเลยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจำแนกตัวเลขว่า มีนายทุนถูกดำเนินคดีเท่าไร เพราะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ประจักษ์ชัดแล้วว่ามีแต่คนจนผู้ยากไร้และไม่มีที่ทำกินเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีอย่างรวดเร็ว โดยที่พื้นที่ป่าก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น
กรณีนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ซึ่งได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการอำนวยความยุติธรรมจนถึงที่สุด ดังที่คนไทยคนหนึ่งพึงจะได้รับ และจะเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐมองเห็นคนจนเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนคนไทยที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันจริงหรือไม่ การทำลายชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำกินโดยสุจริตหวังสร้างอนาคตที่ดีให้ครอบครัวจนชีวิตเกือบล่มสลายรัฐจะเยียวยาเธออย่างไร
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)” และประชาชนที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการต่อสู้ของนางแสงเดือน ตินยอด หรือ นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ขอประกาศ ณ ที่แห่งนี้ว่า เราคนจนทั้งผองจะไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง และให้ความลำเอียงแห่งรัฐมาทำร้ายเราอีกต่อไป เราพร้อมที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังเช่นกรณีนางแสงเดือน ฯ ได้แสดงให้ประชาชนทั้งหลายได้ประจักษ์แล้วว่า นโยบายทวงคืนผืนป่า มีไว้เพื่อรังแกคนจน เอื้อนายทุนและนักการเมืองอย่างชัดเจน เราจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องและสร้างบรรทัดฐานในสังคมที่เป็นธรรม และไม่ให้เกิดการดำเนินการสองมาตรฐานกับประชาชนในสังคมไทยอีกต่อไป
เชื่อมั่นและศรัทธาในพลังประชาชน
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
ณ หน้าศาลจังหวัดลำปาง / วันที่ 18 ธันวาคม 2562

ขอบคุณ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR , สกน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ , ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน (Center for Protection and Revival of Local Community Rights)

องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมและผลักดันให้หลักการสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความเท่าเทียม

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 09/08/2023

เช้าวันที่ 9 สิงหาคม เนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก กลุ่มชาติพันธุ์ปลดแอกและกลุ่มตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองได้แสดงข้อเรียกร้องผ่านการแสดงเชิงสัญลักษณ์ตามจุดสำคัญต่างๆในตัวเมืองเชียงใหม่ เพื่อสะท้อนปัญหาและผลกระทบที่ชนเผ่าพื้นเมืองต้องเผชิญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆที่ไม่เท่าเทียม การส่งต่อภาพมายาคติที่นำไปสู่การกดทับและการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการไม่ถูกยอมรับจากรัฐไทยทำให้รัฐไม่สร้างการรับรู้ต่อประชาชนในประเทศเกี่ยวกับการมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมือง

โดยข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้

1.กฎหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพ และคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ถือเป็นนโยบายขั้นแรกที่ทุกภาพส่วนต้องร่วมผลักดันให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยโดยเร่งด่วน

2.ต้องปลดแอกมรดกสงครามเย็นออกจากนโยบายและกฎหมายทั้งหมด อาทิ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า นโยบายคณะกรรมการป่าไม้แห่งชาติ รวมถึงพระราชบัญญัติสัญชาติ

3.รัฐไทยและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องรับผิดชอบต่อทุกการกระทำ การผลิตซ้ำมายาคติเชิงลบ ทุกการกดขี่ ทุกโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างน้อยคือการขอโทษกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยความจริงใจ และการร่วมผลักดันให้เกิดปฏิบัติการตามข้อ 1 และ 2




#วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก
#ชาติพันธุ์ก็คือคน

07/08/2023

งานเสวนารื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง

วันที่ 9 สิงหาคม 2566
ห้องประชุม ธนี พหลโยธิน อาคาร 1 ชั้น 1
คณะสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา 12:30-17:30 น.

🔴กล่าวเปิดและกล่าวความสำคัญ
ของวันชนเผ่าพื้นเมืองสากล นายสุมิตรชัย หัตถสาร
ผู้อำานวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

🔴งานเสวนารื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง
ผู้ร่วมเสวนา

• ผศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• อาจารย์นเรศ สงเคราะห์สุข ผู้ทรงคุณวุฒิทีมภาคเหนือตะวัน

• วงเดือน ประกอบกิจ (อดีตสหาย)

• ผู้ดำเนินรายการ ลิขิต พิมานพนา ชาติพันธุ์ปลดแอก

🔴วงแลกเปลี่ยนจากผู้ร่วมกิจกรรม

🔴Action และอ่านแถลงการณ์

#วันชนเผ่าพื้นเมือง

🌷🦋งานเสวนารื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง
วันที่ 9 สิงหาคม 2566
ห้องประชุม ธนี พหลโยธิน อาคาร 1 ชั้น 1
คณะสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา 12:30-17:30 น.

🔴กล่าวเปิดและกล่าวความสำคัญ
ของวันชนเผ่าพื้นเมืองสากล นายสุมิตรชัย หัตถสาร
ผู้อำานวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

🔴งานเสวนารื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง
ผู้ร่วมเสวนา

• ผศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• อาจารย์นเรศ สงเคราะห์สุข ผู้ทรงคุณวุฒิทีมภาคเหนือตะวัน

• วงเดือน ประกอบกิจ (อดีตสหาย)

• ผู้ดำเนินรายการ ลิขิต พิมานพนา ชาติพันธุ์ปลดแอก

🔴วงแลกเปลี่ยนจากผู้ร่วมกิจกรรม

🔴Action และอ่านแถลงการณ์

06/08/2023

เชิญชวนร่วมงาน
รื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง
วันที่ 9 สิงหาคม 2566
ห้องประชุม ธนี พหลโยธิน อาคาร 1 ชั้น 1
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เชิญชวนร่วมงาน
รื้อประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
จากชาวเขาสู่ชนเผ่าพื้นเมือง
วันที่ 9 สิงหาคม 2566
ห้องประชุม ธนี พหลโยธิน อาคาร 1 ชั้น 1
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวลา 12:30 - 17:30 น.

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 17/07/2023

เช้าวันจันทร์ที่แสนสดชื่น ณ หมู่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

หมอกสีขาวบริสุทธิ์ที่ลอยปกคลุมทั่วหมู่บ้านกับต้นไม้สีเขียวที่มองไปทางไหนก็สบายตา เป็นภาพบรรยากาศที่ชาวบ้านในพื้นที่คุ้นชินและพบเห็นได้ปกติในช่วงฤดูฝน

ชาวบ้านกะเบอะดินมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ดำรงชีวิตโดยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้ดินและน้ำในการทำการเกษตร ​ มีการใช้ป่าในการทำไร่หมุนเวียน หาของป่า และมีการอนุรักษ์ป่าตามพิธีกรรมความเชื่อของชุมชนในพื้นที่ ที่เรียกว่า ”ป่าจิตวิญญาณ”

แต่…..พื้นที่ที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป หากเกิด “โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย” ครอบคลุมพื้นที่ 284 ไร่ 30 ตารางวา โดยห่างจากชุมชนกะเบอะดินเพียงรัศมี 1 กิโลเมตร และบริเวณเหมืองยังทับพื้นที่ทำกิน สายน้ำและป่าไม้ของชาวบ้าน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำเหมืองถ่านหินจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาฝุ่นควันและปัญหาคุณภาพอากาศ ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีการดำเนินโครงการ แต่ใน2-3ปีที่ผ่านมาชาวในหมู่บ้านและชาวบ้านในอำเภออมก๋อยต่างก็ประสบปัญหาฝุ่นควันมาโดยตลอด หากเกิดเหมืองถ่านหินในพื้นที่ ผลกระทบที่จะตามมาก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ฉะนั้นเราจะยอมให้หมอกสีขาวบริสุทธิ์กลายเป็นฝุ่น จริงๆหรือ?



#กะเบอะดินแมแฮแบ
#เหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย
#กะเบอะดินไม่เอาเหมืองแร่

13/07/2023

ส.ส. และ ส.ว. ต้องเคารพเจตจำนงของประชาชน "โหวตนายกรัฐมนตรีจากเสียงข้างมากของประชาชน" นำประเทศไทยกลับมาสู่เส้นทางประชาธิปไตยที่แท้จริง


#เคารพผลการเลือกตั้งของประชาชน

12/07/2023

12 ก.ค. 2566 ชาวปกาเกอะญอบ้านหนองม่วน ม.4 ต.แม่นาจาง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายอำเภอแม่ลาน้อย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ลาน้อย ซึ่งสุรศักดิ์ ริยะนา ปลัดอำเภอ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอแม่ลาน้อย เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียน และหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ แม่ลาน้อย ณ หน่วยป้องกันฯ โดยมี สมเพชร วงค์ษา หัวหน้าชุดพนักงานตรวจป่าไม้แม่ลาน้อย มส.4 เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียน

ตัวแทนชาวบ้านได้เรียกร้องให้ยุติการดำเนินโครงการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) หลังพบความพยายามของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าไปดำเนินการชี้แจงโครงการดังกล่าวและสำรวจพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งพบว่ามีหลักเกณฑ์หลายประการของ คทช. ที่กระทบกับวิถีของกลุ่มชาติพันธุ์

ข้อเรียกร้องต่อนายอำเภอแม่ลาน้อย ในฐานะประธาน คทช. อำเภอ และหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ แม่ลาน้อย
1. ให้ยุติการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 รวมถึงโครงการปลูกป่า ในพื้นที่บ้านหนองม่วน ม. 4 ต.แม่นาจาง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
2. การดำเนินการใดๆ ในพื้นที่ต้องคำนึงถึงมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เป็นสำคัญ

พัชรพร โชคนที คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านหนองม่วน กล่าวว่า อยากให้หน่อยงานที่รับเรื่องร้องเรียนดำเนินการยุติการเข้าร่วม คทช. ในพื้นที่ชุมชน อยากให้หน่วยงานใส่ใจผลกระทบที่ชาวบ้านต้องเจอ เพราะชุมชนได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากพื้นที่ชุมชนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 1 และ 2
นอกจากนั้นที่ผ่านมาชุมชนไม่ค่อยรับรู้ข่าวสาร ทำให้การตัดสินใจอาจจะผิดพลาดได้ในหลายพื้นที่ที่พี่น้องไม่รู้ถึงผลกระทบ แต่พอได้รับรู้เงื่อนไขของ คทช. ชุมชนก็กังวลใจถึงที่ดิน ที่อยู่อาศัย ผลกระทบถึงลูกหลานในอนาคต จึงยืนยันปฏิเสธ คทช.


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02HxqafcHbn1Y9j3Pj8Lh3KLQC3PHgL5Zv5CE3PoVpP47Ry8HX4Z5rfBGrPcCV6NMbl&id=100064321257045&mibextid=qC1gEa

ภาพ : มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
เรื่อง : มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 24/06/2023

เมื่อเย็นของวันนี้คณะก่อการล้านนาใหม่และเครือข่ายได้จัดงาน “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายการกระจายอำนาจ”

มีการตั้งขบวนแห่บริเวณลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยและทำพิธีสืบชะตาประชาธิปไตย กระจายอำนาจรัฐธรรมนูญประชาชน

ต่อมาได้มีการเคลื่อนขบวนไปยังลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ท่ามกลางสายฝนที่กระหน่ำลงมาให้ชุ่มช่ำ

หลังจากที่ขบวนเคลื่อนมาถึงบริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีการเปิดงานด้วยชุดการแสดงวัฒนธรรมล้านนาและการปักไม้ค้ำ ต่อมาได้มีตัวแทนอ่านคำประกาศของคณะราษฎรและคำประกาศของคณะก่อการล้านนาใหม่ เพื่อเป็นหมุดหมายสำคัญในการเรียกร้องการกระจายอำนาจให้กับประชาชน

24/06/2023

วันนี้ !! 24 มิถุนายน 2566 แห่ไม้ก้ำ ประชาธิปไตย
ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ
สถานที่ เริ่มต้น ลานอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย – อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ (ระยะทาง 5.4 กิโลเมตร)
15.00​ เริ่มพิธีการสักการะครูบาศรีวิชัย
15.30​ เริ่มเคลื่อนขบวนรถ โดยมีรถไม้ก้ำนำขบวน
17.00​ ถึงลานสามกษัตริย์ โดยมีชุดการแสดงวัฒนธรรมล้านนาต้อนรับ (กลองสะบัดชัย-ฟ้อน)
17.15​ ประกาศคณะราษฎร
17.20​ ไม้ก้ำลงตั้งกลางลาน (ฝั่งอนุสาวรีย์)
17.30​ คำประกาศคณะก่อการล้านนา
แล้วพบกัน

#แห่ไม้ก้ำ
#คณะก่อการล้านนา

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 24/06/2023

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566ที่ผ่านมา คณะก่อการล้านนาใหม่ ร่วมกับ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.ภคเหนือ) , ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) และชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ ( CAN) ได้จัดงานเสวนา วาระรัฐธรรมนูญ – การกระจายอำนาจ แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายการกระจายอำนาจ

ภายในงานมีการจำลองการลงประชามติโดยประชาชนเพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกระจายอำนาจ โดยมีกล่องประชามติที่ตั้งอยู่กลางหลังห้อง

งานเริ่มด้วยการอ่านบทกวีและขับร้องเพลง โดย ฮวกและชวดจากวงสุดสะแนน

ต่อมาได้มีการกล่าวถึงเจตณารมณ์ในการจัดงานวันนี้ โดยสุมิตชัย หัตถสาร (CPCR) โดยกล่าว “หลังจากมีการจัดการเลือกตั้งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าประชาชนได้เทคะแนนเลือกฝ่ายประชาธิปไตยอย่างท้วมท้น จึงเปิดศักราชหลังการเลือกตั้งครั้งใหญ่จัดกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยในเรื่องของรัฐธรรมนูญและการกระจายอำนาจ เป็นการเคลื่อนไหวด้วยสันติและปราศจากควารุนแรง ใช้ไม้ค้ำเป็นสัญลักษณ์แทนประชาชนที่จะร่วมมือกันค้ำจุนประชาธิปไตย เพื่อยืนยันว่าประชาชนจะไม่ยอมสูญเสียประชาธิปไตยอีกแล้ว”

อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์พิเศษด้านการเมืองและกฎหมาย หนึ่งในคณะผู้เชิญชวนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ขึ้นกล่าวปาฐกถาในประเด็นภาพรวมการกระจายอำนาจ

อาจารย์ชำนาญกล่าวว่าการปกครองท้องถิ่นเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น เมื่อช่วงที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงมีการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองท้องถิ่น ขยายพื้นที่ของท้องถิ่นลงไปถึงชุมชนระดับตำบลคือ อบต. เพิ่มหน้าที่ กระจายอำนาจด้านการเงิน การคลัง งบประมาณ และการจัดเก็บภาษีต่างๆมากขึ้น และเพิ่มมิติใหม่ในการควบคุมตัวผู้บริหารท้องถิ่นโดยประชาชน ด้วยการเข้าชื่อเสนอ ข้อบังคับท้องถิ่น และเข้าชื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้ด้วย ซึ่งเมื่อมีการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ

โดยได้ทิ้งท้ายไว้ว่า“การกระจายอำนาจเป็นวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีรัฐ หรือประเทศไหน ที่เจริญรุ่งเรืองหรือเข้มแข็งได้โดยปราศจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประเทศไทยเองไม่เดินหน้าไปไหนสักทีเพราะท้องถิ่นไม่เจริญ ท้องถิ่นเราไม่เข็มแข็ง เราถูกตัดอำนาจโดยการรัฐประหารทำให้ประเทศเราเดินถอยหลัง ถ้าหากไม่มีการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม ปี 2557 เชียงใหม่เราเองอาจจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว”

ต่อมาได้มีวงเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนในหัวข้อ การต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ล้านนากับอำนาจส่วนกลาง การหวาดกลัวของรัฐไทยที่มามายาวนานจนถึงปัจจุบัน โดย นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ และ อาจารย์ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้

และต่อด้วยวงเสวนา ขบวนการเคลื่อนไหวจังหวัดจัดการตนเอง โดย นายชัชวาล ทองดีเลิศ ,สุรีรัตน์ ตรีมรรคา และอาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง

ปิดท้ายงานด้วยการกล่าวเชิญชวนเข้าร่วมงาน “แห่ไม้ก้ำ ประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2566

22/06/2023

งานเสวนาวาระรัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ
“แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ”
วันที่ 23 มิถุนายน เวลา : 12.30 – 17.00 น.
สถานที่ : โรงแรมไอบิส ชั้น 8
12.30​ ลงทะเบียน
13.20​ อ่านกวี ฮวกชวด-สุดสะแนน
13.30​ ปาฐกถาภาพรวมการกระจายอำนาจ: อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง
14.00​ การต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ล้านนากับอำนาจส่วนกลาง
Moderator: ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์
Speaker:
1. พริษฐ์ ชิวารักษ์
2. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
15.30​ พักเบรก 20 นาที
15.50​ ขบวนการเคลื่อนไหวจังหวัดจัดการตนเอง
Moderator: ณัฐกร วิทิตานนท์
Speaker:
1. ชัชวาล​ ทองดีเลิศ
2. สุรีรัตน์​ ตรีมรรคา
3. ชำนาญ​ จันทร์เรือง
17.30​ กล่าวปิดด้วยการชวนไปงาน “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ” วันที่ถัดไป

#แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย
#งานเสวนา

22/06/2023

งานเสวนาวาระรัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ
“แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ”
วันที่ 23 มิถุนายน เวลา : 12.30 – 17.00 น.
ณ โรงแรม ibis Styles ห้องประชุม 4 ชั้น 8

งานเสวนาวาระรัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ
“แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ”
วันที่ 23 มิถุนายน เวลา : 12.30 – 17.00 น.
สถานที่ : โรงแรมไอบิส ชั้น 8
12.30​ ลงทะเบียน
13.20​ อ่านกวี ฮวกชวด-สุดสะแนน
13.30​ ปาฐกถาภาพรวมการกระจายอำนาจ: อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง
14.00​ การต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ล้านนากับอำนาจส่วนกลาง
Moderator: ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์
Speaker:
1. พริษฐ์ ชิวารักษ์
2. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
15.30​ พักเบรก 20 นาที
15.50​ ขบวนการเคลื่อนไหวจังหวัดจัดการตนเอง
Moderator: ณัฐกร วิทิตานนท์
Speaker:
1. ชัชวาล​ ทองดีเลิศ
2. สุรีรัตน์​ ตรีมรรคา
3. ชำนาญ​ จันทร์เรือง
17.30​ กล่าวปิดด้วยการชวนไปงาน “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ” วันที่ถัดไป

#แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตย
#งานเสวนา

05/06/2023

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมาชาวบ้านแม่สะเรียง ผู้นำชุมชนและนักเรียนหลายชีวิตได้เดินขบวนมุ่งหน้าไปยังที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการยื่นขอประทานบัตรเหมืองแร่ต่อนายอำเภอแม่สะเรียง

เนื่องจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ปิดประกาศคำขอประทานบัตรเหมืองแร่ตามที่ทางบริษัทเชียงใหม่โรงโม่หินได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชาวบ้านได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ การเกิดปัญหามลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียงจากการระเบิด อีกทั้งอุบัติเหตุจากการจราจรที่จะเพิ่มขึ้น และปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน รวมถึงนักเรียนในพื้นที่อีกด้วย

ดังนั้นการรวมตัวคัดค้านครั้งนี้ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนของชาวบ้านในพื้นที่ว่า ❌ไม่ต้องการเหมืองแร่❌

#เหมืองแร่แม่สะเรียง

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 23/05/2023

ย้อนดูนโยบายที่ดิน-ป่าไม้ ของพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล

หลังจากเสร็จสิ้นช่วงเวลาการเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งและได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับอีก 7 พรรค ได้แก่ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเป็นธรรม และพลังสังคมใหม่

วันนี้ CPCR อยากชวนย้อนดูนโยบายที่ดิน-ป่าไม้ ของทั้ง 8 พรรคการเมืองที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาล ว่ามีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร และเพื่อเป็นการตอกย้ำว่านโยบายหาเสียงเหล่านี้จะต้องมีการนำไปปฏิบัติใช้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่ดิน-ป่าไม้ให้ประชาชนในอนาคต

#นโยบายที่ดินป่าไม้



อ้างอิง
https://www.moveforwardparty.org/article/policies/17234/
https://greennews.agency/?p=34544
https://ptp.or.th/
https://thaisangthai.org/
https://www.onlb.go.th/about/featured-articles/5132-a5132
https://www.thaipbs.or.th/news/content/327932
https://fairpartyofficial.com/

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 19/05/2023

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้เป็นเจ้าของแร่และองค์กรภาคประชาสังคม ได้เข้าร่วม การประชุมนำเสนอผลการวิจัยและรับฟังความคิดเห็นโครงการวิจัยธุรกิจเหมืองทองคำกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน : ปัญหาและแนวทางแก้ไขในอนาคต กรณีตัวอย่างจังหวัดจันทบุรี

ภายใต้โครงการการประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน หัวข้อ “จากบทเรียนเชิงพื้นที่สู่การจัดทำข้อเสนอแนะทางกฎหมายและการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ในภาพรวม”
โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอมเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายผู้เป็นเจ้าของเหมืองแร่มากกว่า 10 พื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยในกระบวนการการประชุมได้มีการนำเสนอสภาพปัญหาและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น
- ความไม่โปร่งใสในกระบวนการจัดทำเหมืองแร่ในขั้นตอนต่างๆ
- ผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ที่ส่งผลต่อ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพ และการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนและได้สร้างความเสียหายมหาศาลโดยปราศจากการเยียวยา
- ปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีในแม่น้ำและในพืชผัก นำมาสู่การสูญเสียชีวิต
- การละเมิดสิทธิชุมชนและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
- การขอประทานบัตรทับพื้นที่วัฒนธรรม พื้นที่จิตวิญญาณ และพื้นที่ที่มีโบราณวัตถุ
- การละเมิดสิทธิโดยการข่มขู่ คุกคาม และการทำร้ายร่างกายในบางพื้นที่
และปัญหาและผลกระทบอื่นๆอีกมากมาย

นอกจากการนำเสนอปัญหาและผลกระทบข้างต้นแล้ว ตัวแทนผู้เข้าร่วมและองค์กรภาคีเครือข่ายได้มีการ วิเคราะห์และนำเสนอประเด็นปัญหาร่วมเกี่ยวกับปัญหาด้านกฎหมาย นโยบาย การบริหารจัดการแร่ ไม่ว่าจะเป็น
- ประเด็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ตาม พรบ.แร่ มาตรา 17 วรรค 4 เนื่องจากคำว่า “ป่าน้ำซับซึม” มีนิยามเดียวกันทั่วประเทศ แต่ในความเป็นจริง“ป่าน้ำซับซึม”ของแต่ละภูมิภาคไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้เป็นเจ้าของแร่ต้องเป็นคนให้คำนิยาม
- การดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจพื้นที่หรือเกณฑ์การประเมินต่างๆมีเฉพาะนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่ไม่รู้จักพื้นที่ ชาวบ้านในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการ ดังนั้นควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการสำรวจพื้นที่และกระบวนการอื่นๆทุกขั้นตอนเพราะชาวบ้านถือเป็นคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่ที่สุด
- ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย นโยบายแร่ ไม่ว่าจะเป็นแผนแม่บทแร่ พรบ.แร่ หรืออื่นๆ ที่ไม่มีความเป็นธรรมกับชาวบ้านและนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน

และช่วงท้ายของการประชุมได้มีการหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน รวมถึงบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่จะช่วยดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบต่างๆของเครือข่ายผู้เป็นเจ้าของแร่ โดยได้ข้อสรุปว่า
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จะตรวจสอบการละเมิดสิทธิรายกรณีตามที่ได้มีการร้องเข้ามา
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จะดำเนินจัดการประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและศูนย์ราชการเพื่อนำมาพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและกฎหมายที่จะมีการเสนอต่อรัฐบาล
3. ด้านการขับเคลื่อนพลักดันแก้ไขกฎหมายและนโยบายแร่จะมีการจัดตั้งคณะทำงาน

12/05/2023

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) ร่วมกับ ​ EarthRights International จัดทำหนังสือเล่มเล็ก 5 เล่ม เกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมและการคุกคามทางศาลต่อนักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (CRIMINALIZATION AND JUDICIAL HARASSMENT OF EARTH RIGHTS DEFENDERS IN THAILAND) รวมถึงวิธีที่นักปกป้องสิทธิสามารถบรรเทาและตอบสนองต่อภัยคุกคามในการเคลื่อนไหวของพวกเขา ตลอดจนวิธีที่พวกเขา สามารถดูแลความเป็นอยู่ของตนเองได้

หนังสือเล่มเล็กทั้ง 5 เล่ม ประกอบด้วย
เล่มที่ 1: สิทธิของคุณในฐานะนักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมhttps://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/1-Your-Rights.pdf
เล่มที่ 2: การทำให้นักปกป้องสิทธิฯตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมhttps://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/2-Harassment-of-Earth-Rights-Defenders.pdf
เล่มที่ 3 สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาhttps://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/3-Defendants-Rights-in-Criminal-Proceedings.pdf
เล่มที่ 4: การประเมินและการจัดการภัยคุกคามและความเสี่ยงhttps://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/4-Threats-and-Risks-Assessment-and-Management.pdf
เล่มที่ 5: สุขภาวะและการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทางจิตสังคมแก่นักปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยhttps://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/5-Wellbeing-and-Psychosocial-Interventions-for-Earth-Rights-Defenders-in-Thailand.pdf

พวกเราหวังว่าหนังสือเล่มเล็กทั้งห้าเล่มนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นที่สนใจต่อนักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน นักรณรงค์ นักจัดชุมชน และผู้พิทักษ์สิทธิแผ่นดินอื่นๆ ในประเทศไทย

สามารถอ่านและดาวน์โหลดได้ที่
https://earthrights.org/publication/criminalization-and-judicial-harassment-of-earth-rights-defenders-in-thailand/

Timeline photos 09/05/2023

วันที่ 14 พฤษภาคม นี้ ขอแรงพี่น้องทุกหน่วยเลือกตั้ง ร่วมเป็นอาสาจับตาคะแนนเลือกตั้งการนับคะแนนและการรายงานผลคะแนน โดยดำเนินคู่ขนานไปกับการทำงานของ กกต. เพื่อปกป้องทุกคะแนนเสียงให้ถูกนับอย่างถูกต้อง

จากบทเรียนความวุ่นวายในการรายงานผลคะแนนการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มาจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ และความผิดพลาดในการจัด #เลือกตั้งล่วงหน้า ในปี 2566 ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากต้องจัดตั้งระบบอาสาสมัครเพื่อจับตาการเลือกตั้ง การนับคะแนนและการรายงานผลคะแนน คู่ขนานไปกับการทำงานของ กกต. เพื่อปกป้องทุกคะแนนเสียงให้ถูกนับอย่างถูกต้อง ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566

สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาจับตาการเลือกตั้ง สามารถเลือกสมัครเป็นอาสาสมัครเพื่อจับตาการเลือกตั้งในปี 2566 ได้สามระดับ แต่ละคนสามารถเลือกทำได้ทุกระดับ โดยสามารถสมัครเพื่อทำไปพร้อมๆ กันทุกระดับก็ได้ หรือจะเลือกทำตามที่ถนัดก็ได้ ดังนี้

1. อาสาสมัครจับตาการเลือกตั้งแบบ "เต็มวัน"

กิจกรรมนี้ริเริ่มโดยองค์กรสังเกตการณ์ภาคประชาชนหรือ We Watch โดยต้องการรับสมัครอาสาสมัครเพื่อสังเกตการณ์การจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 แบบ "เต็มวัน" ตั้งแต่เริ่มก่อนเปิดหน่วยตอนเช้า ระหว่างการลงคะแนนของประชาชน จนกระทั่งปิดหน่วยและนับคะแนน

ระหว่างการเปิดหน่วยก็ต้องสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ กปน. เปิดหน่วยตรงเวลาหรือไม่ ติดเอกสารแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนครบหรือไม่ จัดสถานที่ให้การลงคะแนนเป็นความลับหรือไม่ ฯลฯ ระหว่างการลงคะแนนของประชาชนก็ต้องสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ กปน. ตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกต้องหรือไม่ มีบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปแทรกแซงการทำงานของ กปน. หรือไม่ มีความผิดปกติหรือความรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ และเมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว ก็ต้องสังเกตว่า กระบวนการนับคะแนนถูกต้องหรือไม่ หีบเลือกตั้งที่เปิดมานับคะแนนถูกแทรกแซงหรือไม่ การนับคะแนนเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่ และถ่ายภาพกระดาษขีดคะแนนสุดท้ายไว้เพื่อยืนยันความถูกต้อง

สำหรับผู้ที่สนใจและพร้อมปฏิบัติงานเต็มวัน สมัครเป็นอาสาสมัครได้ทาง electionwatchth.org ระบบนี้ต้องสมัครล่วงหน้าด่วนๆ เพราะต้องอบรมเตรียมความพร้อมกันก่อนลงสนาม

2. อาสารายงานคะแนนต่อคะแนนแบบ 'Quick Count'

กิจกรรมนี้ริเริ่มโดยสมาคมวิชาชีพด้านสื่อมวลชนหลายแห่ง ใช้ชื่อว่า The Watcher ซึ่งเล็งเห็นปัญหาว่า คะแนนที่ กกต. ส่งให้สื่อมวลชนอาจมีความล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง และกว่าที่ กกต. จะเริ่มส่งคะแนนให้ก็เป็นเวลา 18.30 น. เป็นต้นไป จึงต้องการคะแนนแบบเรียลไทม์ที่เชื่อถือได้ มารายงานผ่านสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ เพื่อส่งผลไปสู่สายตาประชาชนโดยเร็วที่สุดหลังปิดหีบเลือกตั้ง

กิจกรรมนี้ต้องการรับอาสาสมัครไปเฝ้าดูการนับคะแนนหน้าหน่วยเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มนับคะแนน และต้องการให้อาสาสมัครรายงานคะแนนแบบ Quick Count หรือรายงานสดคะแนนต่อคะแนน เมื่อ กปน. ขานหมายเลขที่ได้รับคะแนนแต่ละหมายเลข ก็รายงานเข้าระบบแอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะทันที คะแนนที่รายงานก็จะถูกนำไปเผยแพร่บนสื่อต่างๆ ให้ประชาชนทางบ้านทราบผลกันแบบสดๆ ลุ้นไปพร้อมการขานคะแนนแต่ละหน่วย และเมื่อแต่ละหน่วยนับคะแนนเสร็จ อาสาสมัครก็มีหน้าที่ถ่ายภาพกระดาษขีดคะแนนสรุปผลสุดท้าย แล้วส่งเข้ามายังระบบส่วนกลาง

สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยนับคะแนนแบบ Quick Count จะได้รับของที่ระลึกจากแอปพลิเคชั่น D-Vote เป็น NFT หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Digital Coupon สำหรับใช้จ่ายซื้อสินค้าได้มูลค่า 300-500 บาท ซึ่งคนที่สมัครเป็นอาสาระบบนี้จะต้องลงทะเบียนล่วงหน้าเข้าระบบ เพื่อทำการยืนยันตัวตน และเรียนรู้วิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่นสำหรับการรายงานคะแนนแบบ Quick Count โดยสามารถสมัครได้ทาง เว็บไซต์ที่จัดทำโดยสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน https://reporter.election.in.th/register?refCode=aTSzKRQF4mDWAQw6TieCej&openExternalBrowser=1

3. อาสาจับตาคะแนน

กิจกรรมนี้เรียกว่า Vote62 ริเริ่มโดย Opendream, Rocket Media Lab และ iLaw โดยเริ่มชวนอาสาสมัครจับตาการนับคะแนนมาตั้งแต่ปี 2562 และทำต่อเนื่องมาในการเลือกตั้งท้องถิ่น การเลือกตั้งซ่อม จนถึงการเลือกตั้งในปี 2566 ซึ่งเชิญชวนให้ทุกคนออกจากบ้านไปดูการนับคะแนนของ กปน. ที่หน้าหน่วยเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ตรวจสอบว่าการขานคะแนน การขีดคะแนน และการรวมผลคะแนนถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าถูกต้องแล้วก็ถ่ายภาพกระดานขีดคะแนนทุกแผ่น ส่งเข้ามายังเว็บไซต์ Vote62.com และกรอกคะแนนจากภาพที่เห็นให้เป็นตัวเลขดิจิทัลเพื่อนำไปรวมผลคะแนน

ในระบบของ Vote62 จะมีระบบการประมวลผลตัวอักษรจากภาพถ่าย หรือ OCR ที่จะช่วยอ่านผลคะแนนจากภาพที่อาสาสมัครส่งมา เปรียบเทียบกับตัวเลขที่กรอกเข้ามาในระบบเพื่อป้องกันความผิดพลาดอีกชั้นหนึ่ง หากตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง ก็จะนำผลลัพธ์ดังกล่าวรายงานต่อสาธารณะ และเก็บรูปภาพทั้งหมดไว้บนเว็บไซต์ เพื่อการตรวจสอบกับผลคะแนนที่ กกต. ประกาศออกมาว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่

สำหรับผู้ที่พร้อมไปจับตาการนับคะแนนหลังปิดหีบ จะสมัครล่วงหน้าก็ได้ทาง vote62.com หรือถ้าไม่สมัครก็สามารถไปปฏิบัติงานได้เองเลย สะดวกที่ไหน ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่นได้เลย

Photos from ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น - CPCR's post 05/05/2023

“วันนี้ขออนุญาตพูดแทนคนกลุ่มนี้ ​ พี่น้องที่อยู่ในภาคเหนือที่รัฐบาลไทยเคยเรียกว่า “ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย ชาวไทยภูเขา” ปัจจุบันราชการอาจจะระบุให้เขาเป็นชาติพันธุ์ จริงๆเขานิยามตัวเองว่าเป็น "ชนเผ่าพื้นเมือง" ซึ่งได้รับการยอมรับจากกลไกระหว่างประเทศ ที่ผ่านมาทำไมเรายังปลูกฝังเรื่องสิทธิมนุษยชนลงมาในสังคมไทยไม่ได้ รัฐประหารที่ผ่านมาทำให้สิทธิมนุษยชนหลุดหาย ถดถอย พูดง่ายๆคือ เราไม่เคยนำหลักสิทธิมนุษยชนมาบังคับใช้ในประเทศไทยอย่างจริงจัง คณะกรรมการหลายองค์กรของอนุสัญญาต่างๆตั้งคำถามกับรัฐบาลไทยตลอดว่าทำไมไม่ยอมรับเอาเนื้อหากติการะหว่างประเทศมาอยู่ในรัฐธรรมนูญไทย หรือระบุในรัฐธรรมนูญไทยว่าให้ยอมรับเอาหลักสิทธิมนุษยชนมาบังคับใช้ในประเทศไทยที่มีประเด็นที่พูดถึงเรื่องชนเผ่าพื้นเมือง คณะกรรมการกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งคณะกรรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เคยขอให้รัฐบาลไทยยอมรับความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้มีสิทธิทางวัฒนธรรมต่างๆตามมา สิทธิอื่นๆที่เป็นสิทธิตามหลักสากล ประเทศไทยไม่เคยยอมรับเรื่องนี้และประกาศในเวทีโลกว่าประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อที่จะปฏิเสธสิทธิเหล่านี้ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ผมเลยอยากถามว่า หลังจากเลือกตั้งครั้งนี้ แค่กลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ทุกพรรคการเมืองจะมีนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยอย่างไร?”

ทนายสุมิตรชัย หัตถสาร ได้ตั้งคำถามต่อพรรคการเมืองในเวที "วาระนโยบาย ประชาสังคม สิทธิมนุษยชนและการเลือกตั้ง ปี 2566: เพราะประเด็นสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ต้องถูกมองเห็น” เมื่อวันที่ ​ 29 เมษายน 2566 ณ ลานประตูท่าแพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีตัวแทนพรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาไทย พรรคพลังสยาม พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคสามัญชนเข้าร่วม

🗣️วัชรกรณ์ กันธิ ผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 8 พรรคประชาไทย :
เมื่อกี้ได้ยินแล้วตกใจ มีด้วยเหรอ? มีด้วยเหรอในที่นี้ก็หมายความว่า ยังมีการไม่ยอมรับเรื่องชนเผ่าด้วยเหรอ อันนี้งงนะครับ เพราะไม่เคยทราบข้อมูลนี้มาก่อนเลย หรือว่าเราอาจจะไม่เคยรับทราบหรือรับรู้เรื่องราวของการไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้ ผมกลับมองว่าคนทุกๆคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ ไม่มีใครที่อยากจะตกอยู่ในสภาพแบบนั้น ผมทำงานที่อมก๋อยมาอยู่ 2 ปี ก็เห็นเขาปกติทุกอย่างครับ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเหมือนคนปกติ แต่เมื่อได้ทราบข้อมูลเมื่อกี้จากคนที่ตั้งคำถามขึ้นมา รู้สึกว่าเรื่องนี้น่าค้นหา เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ควรที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกต่อไปครับ ทุกคนที่เกิดในแผ่นดินไทย ควรที่จะได้รับสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการครับ เพราะฉะนั้นทุกคนมีสิทธิที่จะภูมิใจและมีสิทธิเข้าถึงกฎหมายในความคุ้มครองทางด้านกฎหมายเท่าเทียมกัน ถ้าบุญมีได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น พร้อมลุยครับ

🗣️ทรงธรรม โรจนเครือวัลย์ หัวหน้าพรรคพลังสยาม :
หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ ไทยเราก็เซ็นรับรองเรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาก็คือทางปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเราจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร พวกเราต้องช่วยกัน โดยนักการเมือง คนรุ่นใหม่ ช่วยกันเสนอความคิดเห็นเรื่องนี้ ให้กลุ่มที่มีอำนาจเข้าใจระบบ หลักประชาธิปไตย ไม่ว่าการแสดงออก การกระทำต่างๆตามหลักสิทธิมนุษยชน และก็กฎหมาย บางมาตรา บางข้อ บางประเด็น ที่มันไม่สอดคล้องก็ต้องแก้ไข ต้องเสนอรวมกัน ให้ตัวแทนที่อยู่ในสภาช่วยกันฉายปัญหาให้เห็น เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมากขึ้น อันนี้ก็คือปัญหาหลักที่จะต้องช่วยกัน ถ้าเรามีตัวแทนไปอยู่ในสภาเยอะๆและช่วยกันตรงนี้ ผมว่าสถานการณ์บ้านเมืองมันจะเป็นหลักประชาธิปไตยมากขึ้น

🗣️วิภาพรรณ วงษ์สว่าง ผู้สมัครส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 พรรคไทยสร้างไทย :
ทุกครั้งที่มาเวทีสิทธิมนุษยชน เรามาคุยกันเรื่องสิ่งที่มันควรจะเป็นอยู่แล้วมันไม่เป็นสักที สิทธิในการเป็นพลเมืองคนหนึ่ง เรายังต้องมาพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นคนที่ไหน ซึ่งกระบวนการนี้ รัฐมีเครื่องมือทุกอย่างแต่ให้เราวิ่งเต้นดำเนินการ รวบรวมข้อมูล ลงจากพื้นที่ห่างไกลเข้ามาขอให้เขาพิสูจน์เราหน่อย ดังนั้นแล้ว หนึ่งคือต้องมีการเร่งรัดให้กระบวนการเดินตรวจสำรวจซากมันเกิดขึ้นได้จริงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในนโยบาย อย่างที่สองก็คือว่าเราต้องมีการทบทวนให้ชนเผ่าพื้นเมืองได้เข้าถึงโอกาสต่างๆแบบคนในที่ราบ ถนนมีหรือยัง น้ำ ไฟ ประปา โอกาสต่างๆในการที่จะเข้าถึงการศึกษา ต้องผลักให้ไม่มีการเลือกปฏิบัติกับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง และอย่างสุดท้าย บางส่วนที่มีที่
สปก.อยู่แล้ว เราจะผลักดันให้ที่สปก.ไม่ได้มีแค่ถือไว้และแค่อนุญาตให้ทำมาหากิน แต่ทำอย่างไรให้สิ่งนี้กลายเป็นหลักค้ำประกัน หลักในการต่อยอดชีวิต หลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจ สุดท้ายคือต้องไม่มีการคอรัปชั่นในกระบวนการทั้งหมดที่ได้กล่าวมา มิเช่นนั้นแล้ว เราเรียกร้องมันก็ไม่เกิด ก็ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงสนับสนุนประเด็นนี้ให้ได้สิทธิค่ะ

🗣️ลักษณารีย์ ดวงตาดำ โฆษกพรรคสามัญชน :
เห็นด้วยมากๆเลยนะคะ สิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำ ไฟ ที่อยู่อาศัยนะคะ ปัจจุบันชนเผ่าพื้นเมืองยังไม่ได้รับปัจจัยต่างๆเท่ากับคนในที่ราบหรือว่าคนเมือง เรื่องสิทธิในที่อยู่อาศัย พรรคสามัญชนของเราอยากจะขอเสนอนโยบายยกเลิกกฎหมายทวงคืนผืนป่าในสมัย คสช. กฎหมายทวงคืนผืนป่านำมาซึ่งการยึด แย่ง ไล่ที่ ของชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งๆที่เขาอยู่ทำกินที่นี่มาก่อนหลายชั่วอายุคนและก็นำมาซึ่งคดีที่ทำให้เกิดการอุ้มหาย เกิดการทำร้ายอีกมากมายที่พี่น้องชนเผ่าของเราได้รับ ต่อมาสิทธิในการได้รับสวัสดิการและการรับรองสถานะบุคคล รัฐจะต้องทำงานเชิงรุกในการให้สถานะบุคคลกับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทุกคน เขาจำเป็นที่จะต้องได้รับสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ เข้าถึงสิทธิประโยชน์ทุกอย่างเหมือนกับคนไทยค่ะ ต่อมาคือเรื่องของสิทธิในการประกอบอาชีพและการข้ามแดน เราอาจจะยังไม่ทราบว่าพี่น้องชนเผ่าไม่สามารถข้ามแดนเพื่อไปทำงานหรือไปมีชีวิตที่ดีกว่าในประเทศอื่นๆได้ ทั้งๆที่เขาอาจจะมีทักษะหรือว่าฝีมือที่อาจจะสามารถต่อยอดในคุณภาพชีวิตของเขาหรือสามารถยกระดับชุมชนเขาได้ ตรงนี้พรรคสามัญชนขอเสนอเป็นนโยบายเพื่อแก้ไขและก็ฝากไว้ค่ะ

🗣️จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ผู้สมัครส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 พรรคเพื่อไทย:
ในส่วนของสิทธิมนุษยชนของพี่น้องชาติพันธุ์ พรรคเพื่อไทยยืนยันในการ
ผลักดันกฎหมาย ซึ่งเราพลักดันมาแล้ว 1 ครั้งในสมัยประชุมที่ผ่านมาแต่โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาตีตก คือกฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองชาติพันธุ์ กฎหมายนี้จะยืนยันในอัตลักษณ์ ยืนยันที่จะเข้าไปสนับสนุนในภารกิจ กิจกรรม ความเป็นวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ทั้งหมด เราจะมีนโยบายในการผลักดันเรื่องของสัญชาติ วันนี้เห็นได้ชัดครับ เชียงใหม่ถูกปรับเขตเลือกตั้งลดลงเหลือ 10 เขต เพราะอะไรครับ เพราะว่าพี่น้องชาติพันธุ์จำนวนมากไม่ได้รับสิทธิเหมือนคนไทยปกติ เขาไม่ได้สิทธิในการเลือกตั้ง แล้วคุณก็ไปมองว่าเขาไม่สามารถเลือกตั้งได้เพราะไม่นับเป็นประชากรของไทย ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก พรรคเพื่อไทยเรายืนยันในสิทธิของพี่น้องชาติพันธุ์ ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใดก็ตาม ท่านมีสิทธิเท่าเทียมคนอื่นๆที่ยืนอยู่นั่งอยู่ในประเทศไทยทุกคน ทุกประการ มีพื้นที่อย่างเช่นอำเภอกัลยาณิวัฒนามีแต่พี่น้องปกาเกอะญอ อยู่ข้างบนนั้นเนี่ย เราจะทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เราจะเอาการศึกษาที่ดีไปให้เนี่ย มันติดขัดในกระบวนการของรัฐทุกประการ วันนี้เราบอกว่าจะทำถนนขึ้นไปบนพื้นที่สูง ติดป่าไม้ อุทยานไม่อนุญาต ขยายพื้นที่เป็น 6 เมตรทำไม่ได้ แล้วคนเขาไม่ได้เลือกเกิดบนนั้นนะครับ เขาเกิดด้วยบรรพบุรุษ เขาอยู่ตรงนั้นอยู่แล้วแล้วป่ามาวงพื้นที่เขาทีหลัง เพราะฉะนั้นเราจะมอบสิทธิเหล่านี้ให้พี่น้องประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม อันนี้พรรคเพื่อไทยเรายืนยันในสิทธิครับ

🗣️พุธิตา ชัยอนันต์ ผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 4 พรรคก้าวไกล :
เห็นด้วยกับการที่จะต้องคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองหรือว่าพี่น้องชาติพันธุ์ สำหรับเขต 4 เชียงใหม่ที่จีนเป็นผู้สมัครอยู่นะคะ เป็นเขตที่อยู่ใกล้เมืองมากเลย แต่เรื่องการเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำ ไฟฟ้า ถนน ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ที่มีพี่น้องชาติพันธุ์อาศัยอยู่ นี่คือปัญหาทัศนคติของรัฐที่เราจะต้องแก้ไข สำหรับพรรคก้าวไกลเรามีนโยบายที่จะคุ้มครองและปกป้องส่งเสริมสิทธิต่างๆของกพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง
หนึ่งคือการปลดล็อคที่ดินทำกิน สองคือการให้สัญชาติ การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆอย่างเท่าเทียมเหมือนกับคนไทยทุกคน เหมือนคนที่พูดภาษาไทย ทุกวันนี้พอเราไปพูดกับท้องถิ่น ไปพูดกับใครก็ตามว่าพื้นที่ตรงนี้ทำไมไม่มีถนนหนทาง สิ่งที่เขาตอบกลับมาคือไม่มีงบประมาณพียงพอ ทำไมตรงที่คนเมืองอยู่ถึงได้ถนนหนทางที่ดี เข้าถึงน้ำประปา ไฟฟ้า แต่ทำไมคนที่เป็นชนเผ่ากลับไม่สามารถเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ หลายคนลงมาจากเชียงราย ลงมาจากแม่ฮ่องสอน เพื่อการศึกษาของลูกหลาน เพื่อการมาหาอาชีพ เพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัวของเขา แต่เมื่อลงมาถึงในเมืองแล้ว
กลับได้รับการเลือกปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องแก้ไข ถ้าพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาลเราจะแก้ไขสิ่งเหล่านี้ทันที

🗣️จักรวาลธวัฒน์ วรรณาวงค์ ผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ :
ผมได้ไปเวทีก่อนหน้านี้เป็นเวทีของพี่น้องสภาชนเผ่าพื้นเมืองที่มีการสัมมนาและมีการผลักดันพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสภาชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เองก็สนับสนุน เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ พรบ.ฉบับนี้จะเป็นหลักประกันในเรื่องของสิทธิของพี่น้องชนเผ่า ทางผู้บริหารหรือผู้นำของสภาชนเผ่าก็ได้ไปพบกับผู้บริหารพรรคและได้มีการพูดคุยกัน ตกลงกันในเรื่องของหลักการว่าร่างพระราชบัญญัติที่เราจะช่วยกันสนับสนุนเนี่ยจะต้องมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องของสภาชนเผ่าเองหรือว่านักวิชาการ ตลอดจนในส่วนของนักสิทธิมนุษยชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆด้วย แต่สิ่งที่เป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดที่พี่น้องชนเผ่าได้ดำรงอยู่มาโดยตลอดในเรื่องของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั่นคือเรื่องของสิทธิชุมชน เพราะที่ผ่านมา พี่น้องชนเผ่า อยู่กับดิน น้ำ ป่า อยู่กับภูเขา ต้นไม้มาโดยตลอด และมีส่วนในการรักษาสภาพแวดล้อม แต่พอการจัดการภาครัฐเข้าไป ก็จะมองว่าพี่น้องชนเผ่านั้นเป็นคนแปลกแยก เพราะฉะนั้นหลักการที่สำคัญที่สุดคือเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพลักดันร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองให้ผ่านการเห็นชอบในรัฐบาลสมัยหน้า ทุกพรรคการเมืองต้องช่วยกันครับ

#เลือกตั้ง2566
#นโยบายชนเผ่าพื้นเมือง

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

คลินิกกฎหมายบ้านห้วยมะกอก ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดเเม่ฮ่องสอน
เวทีอบรมแกนนำเครือข่ายลีซูเรื่องพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า.วันที่ 18 กันยายน 2564ณ ...
แนะนำองค์กรCPCR
Community Paralegal

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


199/332 ม. 2 หมู่บ้านสวนนนทร ซ. 7/2 ต. หนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
Chiang Mai
50210

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

Law Firms อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย Nakornping Inter Law สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย Nakornping Inter Law
189/1 หมู่ที่1 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai, 50300

สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ
สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ (สาขาเชียงใหม่) ศิวาลัยวิลเลจ 3 เลขที่ 104/266
Chiang Mai, 50130

รับปรึกษาปัญหากฎหมาย พูดคุยเกี่ยวก

ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai, 50300

ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของ?

อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนายความ อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนายความ
โครงการทรีบูติคอเวนิว ต. ท่าศาลา
Chiang Mai, 50000

ปรึกษา​ปัญหากฎหมายฟรี รับว่าความทั

VJ Thailawfirm VJ Thailawfirm
111/262 M. 5 T. Meaheai Mouang
Chiang Mai, 50100

‘Victor Juris’ providing high standard legal services through a modern and trustworthy.

รับปรึกษากฎหมายเชียงใหม่ กชพรทนายความ รับปรึกษากฎหมายเชียงใหม่ กชพรทนายความ
186/17 ม. 6 ต. หนองหาร อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
Chiang Mai, 50290

ปรึกษากฎหมายเบื้องต้นฟรี คดีครอบครัว มรดก กู้ยืม ร่างสัญญา รับว่าความ คดีแพ่ง อาญา

บริษัทกฏหมาย BY ทนายปรัชญา บริษัทกฏหมาย BY ทนายปรัชญา
The Palm Garden 8
Chiang Mai, 50230

บริษัทTK LAW บริการงานด้านกฎหมาย ว่าคว?

สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรีทนายความ ทนายความจังหวัดเชียงใหม่ Notary Public สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรีทนายความ ทนายความจังหวัดเชียงใหม่ Notary Public
588/19 ถ. เจริญเมือง(อยู่หัวมุมสี่แยกหนองประทีป) ต. ท่าศาลา อ. เมือง จ. เชียงใหม่ โทร. 063 6273416
Chiang Mai, 50000

สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรีทนายความ

สำนักงานกฎหมายพรทิพย์ สำนักงานกฎหมายพรทิพย์
79/3 ถ. ราชมรรคา ต. พระสิงห์
Chiang Mai, 50200

http://pornthip-interlaw.com/

สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความเชียงใหม่ สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความเชียงใหม่
Chiang Mai, 50000

ให้บริการปรึกษาและว่าความอรรถคดีท?

สนง.กฎหมาย จิณณะ นาคสุขุม สนง.กฎหมาย จิณณะ นาคสุขุม
Chiang Mai, 50210

ให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร