Omthong Audit and Law

Omthong Audit and Law

ตำแหน่งใกล้เคียง การปฏิบัติตามกฎหมาย

Chiang Mai Netitam Law Office
Chiang Mai Netitam Law Office
อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนา
อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนา
โครงการทรีบูติคอเวนิว ต. ท่าศาลา
Pitak Prayoch Law office
Pitak Prayoch Law office
Montfort Road
สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรี
สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรี
ถ. เจริญเมือง ต. ท่าศาลา อ. เมือง จ. เชียงใหม่ โทร. 063
ศูนย์ถ่ายทอดบรรยายเนติบัณฑ
ศูนย์ถ่ายทอดบรรยายเนติบัณฑ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยาพ
CM Legal & Business Co., Ltd.
CM Legal & Business Co., Ltd.
Mahidol Road, Muang Chiang Mai
สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความ
สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความ
50000
ICO International Group & LAW-Businesses Counselor
ICO International Group & LAW-Businesses Counselor
หมู่ 2 ตำบลสันพระเนตร อำเภอสันทราย
สำนักงานสิงห์โตทนายความ
สำนักงานสิงห์โตทนายความ
ถนนศรีลานนา ตำบลป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Clyde International Law Office
Clyde International Law Office
Mahidol Road, Muang Chiang Mai
Legally Married in Thailand
Legally Married in Thailand
Head Office 61-65 Wualai Road, Muang Chiang Mai
สำนักงานกฎหมายพรทิพย์
สำนักงานกฎหมายพรทิพย์
ถ. ราชมรรคา ต. พระสิงห์
XS & JK Real Estate
XS & JK Real Estate
Muang Chiang Mai 50100

Omthong Audit and Law เป็นสำนักงานกฎหมายธุรกิจ Inter Lawyer, Law Firm, Business Law, Franchise, Counsault

16/03/2023

Q&A : รายงานแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เปิดเผยได้หรือไม่?
https://justicechannel.org/lawget/lawget237
.
ประวัติการรักษาเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาลจะเปิดเผยข้อมูลได้ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยเจ้าของข้อมูลก่อน หากผู้ติดต่อขอเปิดเผยข้อมูลไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย โรงพยาบาลสามารถปฏิเสธเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ ตาม มาตรา 7, พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ว่า ข้อมูลสุขภาพของบุคคลเป็นความลับ ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ผู้ป่วยจะขอประวัติของตัวเอง

กรณีเจ้าของข้อมูลเสียชีวิตและได้ทำประกันชีวิตไว้ เงื่อนไขค่าสินไหมทดแทนของบริษัทต้องนำประวัติการรักษาพยาบาลของคนไข้ที่เสียชีวิตไปแสดงเพื่อรับผลประโยชน์ ทายาทสามารถยื่นอุทธรณ์กับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาใช้สิทธิ์ตามกฎหมายได้
.
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ 2540 มาตรา 15 (5), 35, 37
https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=302231&ext=pdf

รายละเอียดเพิ่มเติม: สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
โทร. 0 2283 4000 ต่อ 17 หรือเว็บไซต์ http://www.oic.go.th/

#ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล #รายงานแพทย์ #กฎหมาย #สำนักงานกิจการยุติธรรม

16/03/2023

ไปบรรยายให้สหภาพแรงงานมา มีคดีที่น่าสนใจอยากนำมาเล่าให้ฟังต่อ

ปกติการปิดงานหรือนัดหยุดงานจะต้องเกิดขึ้นหลังผ่านกระบวนการยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ย และการไกล่เกลี่ยนั้นไม่สำเร็จจนเกิด "ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้" ก็อาจเข้าสู่การปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น(มาตรา ๒๓, ๒๔, ๒๕)

ก) เป็นกิจการที่ทำสาธารณะประโยชน์ หรือ
ข) รัฐมนตรีใช้ดุลพินิจว่าเป็นกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์
ค) มีสถานการณ์พิเศษ​คือ (ก) ประกาศใช้กฎอัยการศึก (ข) ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจฯ (ค) ประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในชั้นการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ อาจเกิดจากการนัดไกล่เกลี่ยหลายครั้ง (แม้เกิน ๕ วัน พนักงานประนอมข้อพิพาทก็มีอำนาจไกล่เกลี่ย) กระทั่งครั้งหลังสุดหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มา ก็ถือได้ว่าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ และมีการขอปิดงานหรือนัดหยุดงานได้

เคยมีคดีที่สหภาพรงงานแจ้งข้อเรียกร้อง โดยนายจ้างกับสหภาพแรงงานเจรจาข้อเรียกร้องกันแต่ตกลงกันไม่ได้ จนเกิดเป็น "ข้อพิพาทแรงงาน" ซึ่งพนักงานประนอมข้อพิพาทเข้าไกล่เกลี่ยหลายครั้ง

ปรากฎว่าในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๔ นายจ้างตกลงตามข้อเรียกร้องบางข้อของสหภาพแรงงาน (แต่ฝ่ายลูกจ้างยังไม่ลงนามตามที่นายจ้างยินยอม) และมีการนัดไกล่เกลี่ยกันอีกในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๕ แต่รอบนี่ผู้แทนนายจ้างไม่มา จึงไม่มีการเจรจากัน แต่วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๔ นี้ผู้แทนสหภาพแรงงานได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนนายจ้างได้ยินยอมตกลงไว้เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๔ ในภายหลังนั้น ก็ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงของฝ่ายโจทก์ซึ่งสิ้นผลไปแล้วกลับมามีผลผูกพันฝ่ายโจทก์ได้อีก

ข้อสังเกต
๑) การลงชื่อของผู้แทนฝ่ายสหภาพ กระทำในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ซึ่งไม่มีผลเพราะข้อตกลงดังกล่าวหากจะให้มีผลต้องตกลงยินยอมกันในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๔ คือในวันไกล่เกลี่ย และวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ก็จะถือว่าเป็นวันไกล่เกลี่ยไม่ได้เพราะฝ่ายนายจ้างไม่มา

๒) กรณีนี้ฝ่ายนายจ้างแจ้งปิดงานครบ ๒๔ ชั่วโมงตามมาตรา ๓๔ วรรคท้าย พรบ. แรงงานสัมพันธ์ฯ หรือไม่นั้นก็ต้องตีประเด็นที่ว่ากรณีนี้มีการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ จนทำให้ "ข้อพิพาทแรงงาน" กลายเป็น "ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้" แล้วหรือไม่ ซึ่งในคดีนี้ต้องถือว่าพนักงานประนอมข้อพิพาทเจรจาเกิน ๕ วันตามกฎหมายแล้ว แต่ไม่สำเร็จ นายจ้างจึงปิดงานได้เพราะเป็น "ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้" แล้ว และการแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานและฝ่ายลูกจ้างในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๔ แล้วปิดงานในวันที่ ๓๐ และ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔ ก็ถือว่าเกิน ๒๔ ชั่วโมงแล้ว

ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547

16/03/2023

ทำงานเอื้อประโยชน์แก่คู่ค้านายจ้าง เป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงเลิกจ้างได้

"พฤติกรรมของลูกจ้าง" ที่ไม่พึงประสงค์มักจะนำไปสู่การเลิกจ้างได้ในฐานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

ซึ่งการจะพิจารณาว่าอะไรเป็นร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงอาจพิจารณาได้ ดังนี้
๑) พิจารณาจากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่ากำหนดไว้อย่างไร
๒) ตำแหน่งหน้าที่ที่ทำงานอยู่ว่ามีปัจจัยที่นำไปสู่การทำผิดวินัยร้ายแรงได้หรือไม่
๓) ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำผิดของลูกจ้าง
๔) ความเสียหายที่เกิดกับนายจ้างว่ามีมากน้อยเพียงใด

ส่วนรายละเอียดลึกๆ จะพิจารณาแต่ละข้ออย่างไร เดือนหน้าจะมีการจัดอบรมหัวข้อนี้

กรณีที่ลูกจ้างต้องติดต่อประสานงานกับคู่ค้าของนายจ้างไม่ว่าจะในฐานะเจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง หรือฝ่ายขาย หรือผู้ควบคุมงาน อาจมีโอกาสเอื้อประโยชน์กับคู่ค้าได้ เช่น จัดทำราคาให้นายจ้างจ่ายแพงขึ้น แต่คู่ค้า(แอบ) จ่ายเงินให้แก่พนักงานผู้นั้น หรือเป็นผู้ตรวจรับงานทั้ง ๆ ที่งานยังไม่เรียบร้อยหรือตรวจรับงานง่ายขึ้น แต่รับผลประโยชน์จากคู่ค้า

พฤติการณ์เช่นนี้ ถ้าเป็นข้าราชการก็อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลอาญาทุจริตติดคุกกันไป

แต่ภาคเอกชนไม่มีโทษจำคุก เพียงแค่เลิกจ้างแล้วจบกัน ซึ่งเคยมีคดีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นวิศวกรอาวุโสฝ่ายบริการหลังขายมีพฤติการณ์เอื้อประโยชน์แก่ผู้รับเหมาก่อสร้าง และประพฤติตนเสมือนหนึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อรับงานของนายจ้างเสียเอง ทั้ง ๆ ที่ตนเองมีหน้าที่ต้องควบคุมผู้รับเหมาก่อสร้างให้ปฎิบัติงานตามสัญญาจ้างรับเหมา

โดยพฤติกรรมคือลูกจ้างรู้ดีว่าผู้รับเหมาที่แท้จริงคือ นาย ศ. แต่ใช้ชื่อน้องสาวคือ นางสาว ว.​ มารับงานแทน นอกจากนั้นยังมีพฤติการณ์ช่วยอำนวยความสดวกให้แก่ผู้รับเหมารายนี้ เช่น ควบคุมงานก่อสร้างแทน หรือจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ช่างแทนผู้รับเหมา นอกจากนั้นยังมีการทวงค่าจ้างจากบริษัทนายจ้างแทนผู้รับเหมา

การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และยินยอมให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์ใด ๆ จากนายจ้างอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานที่ร้ายแรง นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะทุจริต และฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ตามมาตรา ๑๑๙(๑) (๔) อีกทั้งยังเป็ฯการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ฯ​ตามมาตรา ๔๙

ข้อสังเกต

เรื่องนี้ศาลอ้างว่ากระทำผิดจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป จึงน่าสงสัยว่าแล้วนายจ้างยังต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา ๑๗ วรรค ๒ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาในเรื่องนี้ ปัญหาน่าจะเกิดขึ้นจากการไม่นำหลักนิติวิธีที่ว่า "กฎหมายทั่วไปไม่ยกเว้นกฎหมายเฉพาะ" หมายความว่ามีกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว แต่ศาลกลับไปนำกฎหมายทั่วไปมาใช้ และการปรับบทกฎหมายไม่ได้อ้างกฎหมายเฉพาะคือมาตรา ๑๗ วรรคท้าย

อย่างไรก็ตาม การปรับบท ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ ในคำพิพากษาเรื่องนี้ก็ไม่ได้ผิดเพราะมาตรา ๑๔ กำหนดให้นายจ้างต้องปฎิบัติตามหน้าที่ใน ป.พ.พ. ด้วย ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าวซึ่งก็คือไม่ต้องทำหน้าที่ตาม ป.พ.พ. ก็ถูกต้อง เพียงแต่การวินิจฉัยซึ่งอ้าง ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ น่าจะต้องผ่านมาตรา ๑๔ มาก่อนโดยมีคำว่าทำนองว่า "...ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ ประกอบมาตรา ๑๔ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ..."

16/03/2023

ใช้ตำแหน่งที่ใหญ่กว่ามารังแก... มาอ่านกันว่าเจอแบบนี้มีกฎหมายอะไรคุ้มครองผู้น้อยแบบเราๆบ้าง ?

ก่อนอื่นมารู้จักพฤติกรรม ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อยกันว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร.... พฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Power Harassment หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็หมายถึง การข่มเหงรังแกในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การกลั่นแกล้ง การทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่สบายใจ โดยใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ในการงานเป็นเครื่องมือ มีผลให้ผู้ถูกกระทำทำงานด้วยความลำบากกาย ลำบากใจ ถูกมองด้วยสายตาไม่ดีจากผู้ร่วมงานคนอื่น

การดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอาญา ตามมาตรา 397 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการทำในลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง เป็นการกระทำโดยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท”

ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งหมายถึงความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่แม้ผู้กระทำความผิดเองหากกระทำไปโดยไม่เจตนาก็ยังต้องรับโทษ ความผิดลหุโทษนี้เน้นการป้องกันและระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลมิให้ลุกลาม ไม่ให้เกิดการใช้สิทธิของตนที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อป้องปราบมิให้ความผิดอาญาขยายหนักเกินเหตุจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างบังคับให้ทำงานนอกเหนือลักษณะงานและเวลาทำงาน เป็นเรื่องปกติที่ลูกจ้างจะถูกไล่ออกหรือได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหากพวกเขาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง แม้จะไม่มีเหตุอันสมควรสำหรับคำสั่งดังกล่าว มีสถานการณ์ที่ลูกจ้างได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เกินขอบเขตของสิ่งที่เหมาะสมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง บุคคลที่มีอำนาจไม่ควรได้รับอนุญาตให้ใช้อำนาจในลักษณะการกลั่นแกล้งหรือการเลือกปฏิบัติ สิ่งนี้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่มีความสุขและไม่ปลอดภัย ไม่เพียงแต่สำหรับผู้ที่ถูกคุกคามแต่สำหรับลูกจ้างทั้งหมดด้วย

แน่นอนว่าข้อกฎหมายดังกล่าว มีบัญญัติไว้นานแล้วแต่ในทางปฏิบัติลูกจ้างอาจจะมีอำนาจต่อรองน้อยประกอบกับเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายคนเลือกที่จะอดทน... แต่อย่างไรก็ตาม นายจ้างเองก็จำเป็นต้องดูข้อกฎหมายเรามีไว้และอบรมผู้บังคับบัญชาทุกหน่วยงานเพื่อให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ในองค์กร เพราะ หาซื้อลูกจ้างคนไหนเอาจริงขึ้นมาแน่นอนว่าหัวหน้างานคนดังกล่าวก็ต้องได้รับ กับคนที่ตนเองทำและชื่อเสียงองค์กรก็ต้องเสียไปอีกด้วย

#ค่าชดเชยรายได้ #ค่าจ้าง #ประกันสังคม #ค่าแรงขั้นต่ำ #เงิน #ออฟฟิศ #ความลับ #ฝึกงาน #เงินเดือน #เลิกจ้าง #วิทยากรPDPA #หนังสือPDPA #บริษัท #นายจ้าง #กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #วิทยากรอารมณ์ดี #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน

15/03/2023

#กฎหมายใหม่ 51.2 ผ่อนรถต่อไม่ไหว ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ https://justicechannel.org/new-laws/newlaw51-2
.
การค้างชำระค่างวดรถ 3 งวดติดกัน และได้รับหนังสือแจ้งจากไฟแนนซ์ให้ชำระค่างวดที่ค้างไว้ อย่างน้อย 30 วัน (รวมเวลาประมาณ 4 เดือน ก่อนถูกยึดรถ) มี 3 ทางเลือกก่อนรถถูกยึด คือ
.
1. ปรับโครงสร้างหนี้ขอปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือผ่อนชำระ แบบขั้นบันได

2. รีไฟแนนซ์ใหม่ ขอสินเชื่อก้อนใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิมหรือลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น

3. เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อโอนสิทธิ์หรือการเปลี่ยนสัญญารถ ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรง รับหน้าที่ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ครอบครองและใช้รถที่เช่าซื้อ
.
ถ้าไม่ชำระค่างวดที่ค้าง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ "ส่งหนังสือขอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" และติดตาม "ยึดรถ" คืนได้
.
ขั้นตอนติดตาม"ยึดรถ" ของไฟแนนซ์

#ถ้าไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์
1.ไฟแนนซ์ฟ้องคดีแพ่ง
- มีหมายศาลให้ผู้เช่าซื้อไปไกล่เกลี่ยในศาล ต้องไปตามวัน เวลาที่ศาลระบุในคำฟ้อง เพราะจะมีโอกาสขอผ่อนชำระได้ และขอให้ศาลลดหนี้ให้ได้
- ไม่ได้รับหมายศาล แต่มีหนังสือให้นำเงินไปชำระหนี้และมีคำบังคับจากศาลพิพากษาให้นำรถไปคืนหรือชำระราคารถ ผู้เช่าซื้อควรขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล
- ได้รับหมายศาล แต่ไม่ไปตามที่ศาลนัด จะทำให้เสียสิทธิการเจรจาหรือไฟแนนซ์อาจเรียกราคาสูงกว่าความเป็นจริงและศาลพิพากษาตามไฟแนนซ์ร้องขอ โดยผู้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน

2.ไฟแนนซ์ฟ้องคดีอาญา
- มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไฟแนนซ์ฟ้องคดีหรือแจ้งความภายใน 3 เดือน หากมีรถคืนควรรีบคืนทันที เพื่อให้ไฟแนนซ์ถอนแจ้งความ แต่หากไม่มีรถคืนอาจมีความผิด ต้องติดตามหารถให้เจอและแจ้งไฟแนนซ์ให้ยึดรถ หรือเจรจาขอผ่อนจ่าย
.
#ไฟแนนซ์ยึดรถไปแล้ว
1.ใช้สิทธิ/โอนสิทธิซื้อรถได้
- มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้ "ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ"ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อก่อน ภายใน 20 วัน
- ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อ “ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ”
- ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันโอนสิทธิซื้อ "ให้บุคคลภายนอกได้"
2.ได้รับแจ้งวันขายทอดตลาด
- มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันประมูลหรือวันขายทอดตลาด
- ห้ามปรับลดราคายกเว้นมีหนังสือแจ้งราคาที่จะปรับลดให้ทราบก่อน
- ห้ามผู้ให้เช่าซื้อเข้าสู้ราคาในการประมูลหรือขายทอดตลาด
.
#รับคืนหรือชดใช้หนี้ส่วนต่าง
- ถ้าขายได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อต้อง "คืนเงินส่วนที่เกิน" ให้แก่ผู้เช่าซื้อ
- ถ้าขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้อง "รับผิดในส่วนที่ขาด"
.
หากผู้เช่าซื้อถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบธุรกิจ ขอรับคำปรึกษาได้ทาง สายด่วน 1166 หรือร้องทุกข์ ผ่านแอปพลิเคชัน OCPB Connect หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
.
#อ้างอิง
1. ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/139D245S0000000002600.pdf

2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขพิ่มเติม (มาตรา 35 ทวิ) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A434/%A434-20-9999-update.htm

3. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 (มาตรา 3, 4, 5) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A434/%A434-2a-2542-a003.htm

15/03/2023

ทำสัญญาเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงเพื่อเจตนาไม่ให้ได้ค่าชดเชย

ตามกฎหมายกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยในลักษณะที่ยิ่งทำงานนานจะยิ่งได้ค่าชดเชยมากขึ้น นายจ้างบางคนจึงใช้วิธีทำสัญญาหลายฉบับเป็นช่วง ๆ โดยทำหลายช่วงเพื่อให้ระยะเวลาในการทำงานไม่ต่อเนื่องกันทำให้สิทธิได้รับค่าชดเชยสั้นลง

บางคนลึกล้ำกว่านั้น โดยใช้วิธีให้สมัครทำงานใหม่เลยทุกปี โดยต้องสัมภาษณ์ทำนองเป็นพนักงานใหม่ แต่ทุกอย่างย่อมทิ้งร่องรอย....

....และร่องรอยนั้นเรียกว่าพยานหลักฐานว่านายจ้างมีเจตนาที่จะทำให้สัญญาแต่ละช่วงไม่ต่อเนื่องกัน และกฎหมายในมาตรา ๒๐ ก็กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าให้นำระยะเวลาที่นายจ้างเจตนาที่จะให้ระยะเวลาไม่ต่อเนื่องกันนั้นมารวมเข้ากัน

ซึ่งเคยมีคดีที่ศาลสัญญาระหว่างที่นายจ้างกับลูกจ้างทำไว้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๘ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓ แต่มีการแบ่งทำสัญญาเป็นช่วงสั้น ๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ถือว่าโจทก์มีเจตนา ไม่ให้นางสาว ส. ลูกจ้างของโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องนับระยะเวลาการทํางานทุกช่วง เข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างน้ันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๐ และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับนางสาว ส. ไม่ปรากฏว่าเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่ งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวท่ีมีกําหนดการสิ้นสุด หรืองานท่ี เป็นไปตามฤดูกาลโดยจ้างในช่วงฤดูกาลนั้นจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม และวรรคสุดท้าย ท่ีโจทก์ซ่ึงเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เม่ือรวมระยะเวลาทํางานทุกช่วงเข้าด้วยกันแล้ว

ที่มา: คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๒๑/๒๕๔๕

15/03/2023

ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้เตือนครบ 3 ครั้งจึงเลิกจ้างได้ แต่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้แค่ 2 ครั้ง นายจ้างจึงเลิกจ้างเมื่อทำผิดซ้ำใบเตือน 2 ครั้ง ทำได้จริงหรอ?

ตามกฎหมายแรงงานไม่จำเป็นให้นายจ้างต้องออกใบเตือนครบ 3 ครั้งก็เลิกจ้างได้ เพราะกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ว่า ถ้าลูกจ้างทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของนายจ้าง และนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือ แล้วภายใน 1 ปี ลูกจ้างก็ยังทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับที่ได้เตือนมาแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้เลย เพราะลูกจ้างทำผิดซ้ำ” และเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

แต่!!! ถ้าบริษัทมีระเบียบ ข้อบังคับกำหนดการทำผิดวินัยของลูกจ้างในบางเรื่อง บางกรณีไว้ว่าลูกจ้างทำผิด กี่ครั้งจึงจะออกคำเตือน และทำผิดในเรื่องที่เคยเตือนกี่ครั้งแล้วมาถึงจะเลิกจ้างเพราะทำผิดซ้ำหนังสือเตือน

ตัวอย่างเช่น ภายในบริษัทระบุไว้ว่า จะตักเตือนกี่ครั้งถึงจะเลิกจ้าง เช่น จะเตือน 3 ครั้ง 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง หากตักเตือนยังไม่ครบตามระบุแล้วบริษัทเลิกจ้างเสียก่อน เช่น บริษัทระบุว่าจะตักเตือน 3 ครั้ง แต่เลิกจ้างตั้งแต่การเตือนครั้งที่ 2 นายจ้างอาจต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน

กรณีเช่นนี้ นายจ้างก็ต้องปฏิบัติหรือทำตามกฎระเบียบที่ตนสร้างขึ้นมาจะข้ามขั้นตอนการลงโทษโดยการเลิกจ้างทันทีไม่ได้ ตามฎีกาที่ 7786/2556 ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างด้วย

ดังนั้น นายจ้าง หรือ HR ก่อนออกใบเตือนหรือเลิกจ้างลูกจ้างต้องตรวจสอบข้อบังคับของบริษัทด้วยนะคะ ว่ามีการกำหนดไว้แตกต่างจากกฎหมายแรงงานรึไม่ เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยนะคะ

ติดต่องาน [email protected]

#หนังสือเตือน #หนังสือ #เลิกจ้าง #ค่าชดเชยรายได้ #ค่าจ้าง #เงินเดือน #เลิกจ้าง #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ไล่ออก #แรงงาน

14/03/2023

การทำแบบประเมินกฎหมายยอมรับให้ประเมินหัวข้ออะไรได้บ้าง

กำลังเตรียมเอกสารบรรยายกฎหมายกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เห็นว่าหัวข้อนี้ดี เลยขอนำมาเล่าให้ฟังโดยทั่วกัน

ตามกฎหมายไม่มีการบังคับให้นายจ้างต้องทำแบบสอบถามเพื่อประเมินในการปฎิบัติงานโดยตรง และหากพนักงานทำงานบกพร่อง ผิดพลาดหรือเป็นการทำงานไม่มีประสิทธิภาพก็อาจถูกเลิกจ้างได้ ไม่จำเป็นว่าต้องมีแบบประเมินเสมอไป(คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๘๓๐/๒๕๖๔) เพียงแต่อาจต้องหยิบยกเอาหลักฐานอื่นขึ้นมากล่าวอ้าง เช่น อ้างว่าเอกสารบรรยายลักษณะงาน (Job description) ที่อธิบายถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ ขอบเขตและคุณสมบัติของตำแหน่งนั้นเป็นอย่างไร และลูกจ้างได้ทราบแล้วแต่ไม่อาจปฎิบัติงานได้

แต่หากต้องการให้การทำงานมีมาตรฐานและสามารถอ้างอิงในทางกฎหมายได้ ไม่ถูกโต้แย้งว่าอยู่ในดุลพินิจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ก็ควรทำแบบประเมินซึ่งหากต้องการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับย้าย หรือเลิกจ้างลูกจ้าง หรือการให้เงินพิเศษที่ต้องใช้ผลการประเมิน(คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๗/๒๕๖๔)ก็จะลดข้อโต้แย้งลงได้

สำหรับหัวข้อการประเมินส่วนใหญ่ ที่ใช้ประเมินการทดลองงาน หรือประเมินระหว่างการปฎิบัติงาน โดยเป็นหัวข้อที่ศาลยอมรับในหัวข้อการประเมิน เช่น
ก) ความรู้ความสามารถ
ข) ทักษะการปฎิบัติงาน
ค) ทัศนะคติในการทำงาน
ง) ปฎิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
จ) ผลการปฎิบัติงาน

ซึ่งจากหัวข้อดังกล่าวเป็นการประเมินไปที่ ก) ตัวลูกจ้างโดยเฉพาะ ข) ตัวลูกจ้างกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงผู้บังคับบัญชา และ ค) ตัวลูกจ้างกับองค์กร

ในการประเมินหากมีการการวัดผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือนับได้เชิงรูปธรรมก็จะเป็นธรรมมากกว่าการพิจารณาเชิงนามธรรม เช่น การประเมินเพื่อจ่ายโบนัส อาจใช้เกณฑ์วันขาด ลา มาสายมาประกอบ เป็นต้น

ส่วนที่เหลือไว้เจอกันในวันอบรมฯ บ้าง นอกจากนั้นจะเอาไปเขียนลงในหนังสือกฎหมายกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฉบับพิมพ์ใหม่ที่มีบทใหม่ว่าด้วยการประเมินเพิ่มเข้ามา

14/03/2023

กิ๊กหัวหน้า...ผลการประเมินดี แถมโอทีล้นหลาม...

ความรักไม่ใช่เรื่องแปลก แต่จะรู้สึกแปลก ถ้าเป็นความรักของคนในองค์กร เพราะในทางการบริหารงานบุคคลถือว่าคนรักไม่ว่าจะในฐานะแฟน ฐานะสามีภรรยา หรือคนที่มีพฤติกรรมชู้สาวกันย่อมมีความ "เอนเอียง" ตามกฎหมายเรียกว่าเป็น "ผู้มีส่วนได้เสีย" โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บริหาร หรือหัวหน้างานแล้วต้องทำการประเมิน หรือเป็นกรรมการสอบสวน หรือเป็นผู้อนุมัติการทำงานล่วงเวลา(โอที) หรือความลับในการทำงานจะรั่วไหลได้ เช่น ภรรยาทำเอกสารการประเมินพนักงาน พอเล่าให้สามีฟังความลับก็อาจรั่วไหล

หลายที่จึงมีกติกาไม่รับคนที่เป็นสามี หรือภรรยามาทำงานที่เดียวกัน หรือห้ามพนักงานแต่งงานกันเอง ซึ่งหากประกาศออกมาแน่นอนว่าระเบียบแบบนี้อาจขัดต่อหลักการในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ดังนั้น หลายองค์กรจึงไม่ประกาศออกมาเป็นทางการ

เรื่องที่ว่ามาไม่ได้คิดไปเองเพราะเคยมีคดีที่หัวหน้างานที่ประเมินมีพฤติกรรมชู้สาวกับผู้ถูกประเมิน อันทำให้เกิดความสงสัยในผลการประเมินว่ามีการเอื้อประโยชน์มากกว่าพนักงานคนอื่นหรือไม่ ส่งผลต่อการแตกความสามัคคีและกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้

โดยพฤติการณ์แห่งคดีมีมีว่าลูกจ้างมีพฤติกรรมชู้สาวกับหัวหน้างานของตนเป็นเหตุให้ลูกจ้างคนอื่นต่างสงสัยว่าได้รับผลการประเมินผลการปฎิบัติงานระดับบวก ทำให้ผู้บริหารเรียกพบลูกจ้างและหัวหน้างานเพื่อสอบถาม ซึ่งต่อมามีการเลิกจ้างเนื่องจากมูลเหตุดังกล่าวเพราะนายจ้างไม่อาจไว้วางใจทำงานต่อไปได้อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อระบบบริหารงานบุคคลของนายจ้างจนขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อนร่วมงานต่างก็ระแวงสงสัยว่าหัวหน้างานเอื้อประโยชน์ การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

โดยสรุป คิดว่าความรักเป็นเรื่องที่ดี และรักกันได้เพียงแต่ต้องระวังเรื่องการมีส่วนได้เสีย(มากกว่าการได้เสีย) และหาวิธีป้องกัน เช่น อาจขอย้ายไปแผนกอื่น หรือสาขาอื่น หรือหากต้องประเมินหรือเป็นกรรมการสอบสวน ก็ต้องแสดงเจตนาสละสิทธิหรืองดออกเสียง
ที่มา: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๘๖/๒๕๖๑

14/03/2023

ลูกจ้างทำผิดครั้งแรกต้องเตือนด้วยวาจาก่อนเท่านั้น จริงหรือไม่?

ยังมีนายจ้างหลายๆ บริษัทยังเข้าใจว่าการเตือนครั้งที่ 1 ต้องตักเตือนด้วยวาจา แล้วครั้งที่ 2 ต่อไปจึงจะแจ้งเป็นใบเตือนได้ เป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เพราะการเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อลูกจ้างทำผิดต้องเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรคือการทำเป็นหนังสือ และภายใน 1 ปี ลูกจ้างทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับที่ได้เตือนมาแล้ว นายจ้างก็เลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำผิดซ้ำได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

ดังนั้น การเตือนด้วยวาจาจึงไม่ถือว่าเป็นการเตือนตามกฎหมายแรงงาน หากนายจ้างอ้างในใบเตือนครั้งที่ 2 ว่า “ลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนที่ได้ตักเตือนด้วยวาจาครั้งที่ 1 ไปแล้ว” และนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงทำไม่ได้!!! ผิดกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องตามกฎหมายให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนะคะ

และหากนายจ้างท่านใดยังเข้าใจผิด ต้องแก้ไขปรับปรุงทำให้ถูกต้องตามกฎหมายนะคะ

ติดต่องาน [email protected]

#ค่าชดเชยรายได้ #ค่าจ้าง #ฝึกอบรม #ค่าแรงขั้นต่ำ #เงิน #เลิกจ้าง #เงินเดือน #หนังสือPDPA #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #วิทยากรอารมณ์ดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #แรงงาน

13/03/2023

นายจ้างออกระเบียบว่าให้พักงานจนกว่าจะสอบสวนเสร็จได้หรือไม่

"การสอบสวน" ซักถามเพื่อรวบรวมหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความผิด ซึ่งเป็นกระบวนการที่นายจ้างกำหนดไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะกล่าวหาหรือสรุปว่าใครผิดจะต้องผ่านขั้นตอนการสอบสวนเสียก่อน

และในระหว่างการสอบสวนนายจ้างอาจกำหนดให้พักงาน ซึ่งการพักงานระหว่างการสอบสวนต้องถือว่าลูกจ้างยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ กฎหมาย(มาตรา ๑๑๖) จึงกำหนดให้การพักงานระหว่างการสอบสวนทำได้ไม่เกิน ๗ วัน และต้องจ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง

การที่นายจ้างกำหนดระยะเวลาการสอบสวนมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นระเบียบที่ขัดต่อกฎหมายมีผลเป็นโมฆะ

มีปัญหาว่าพักงานเกิน ๗ วัน ค่าจ้างจะหักได้เกินร้อยละ ๕๐ หรือไม่

เคยมีคดีที่นายจ้างกำหนดการพักงานเกิน ๗ วันซึ่งขัดต่อมาตรา ๑๑๖ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน ถือว่าเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิพักงานเกิน ๗ วัน โดยระยะเวลาที่สั่งพักงานเกิน ๗ วันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนแก่ลูกจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๖๕๙ - ๑๔๖๖๐/๒๕๕๗)

ข้อสังเกต
นอกจากค่าจ้างเต็มจำนวนแล้วนายจ้างน่าจะต้องรับผิดในดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปีอีกด้วย

13/03/2023

ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ยื่นหนังสือลาออกล่วงหน้า ๓๐ วันตามสัญญา ค่าเสียหายพิจารณาจากอะไร

[ท่านที่ลงทะเบียนอบรม กฎหมายกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไว้ กรุณาคอนเฟิร์มด้วยนะครับ]

โดยปกตินายจ้างมักจะกำหนดไว้ในสัญญาว่าหากลูกจ้างประสงค์จะลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัท จะต้องยื่นเป็นหนังสือลาออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เพราะจะสอดคล้องกับมาตรา ๑๗ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ

นอกจากนั้น จะมีข้อกำหนดให้สะสางการงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย และส่งมอบงาให้แก่บริษัท

หากไม่ดำเนินการตามข้อตกลง ๒ ประการนี้บริษัทจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพราะถือเป็นการผิดสัญญา โดยอาจกำหนดให้รับผิดในค่าเสียหายไม่ต่ำกว่าจำนวนเงิน ๒ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อเดือน

การตกลงเรียกค่าเสียหายเอาไว้ล่วงหน้าแบบนี้ในทางกฎหมายเรียกว่า "เบี้ยปรับ" ซึ่งสามารถกำหนดได้ตาม ปพพ. มาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการลงโทษลูกจ้างที่ไม่ปฎิบัติตามสัญญา

เมื่อเป็นเบี้ยปรับ กฎหมายก็กำหนดหลักการว่าหากมีการกำหนดไว้สูงเกินไป "ก็เป็นอำนาจศาลที่จะลดลงได้" แต่การลดต้อง "เป็นจำนวนพอสมควร" และปัญหาก็จะอยู่ตรงคำว่า "พอสมควร" ว่ามีหลักการคิดอย่างไร ซึ่งพอสรุปหลักการได้ดังนี้

๑) พอสมควรหรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาในเชิงทรัพย์สิน หรือเงินเพียงอย่างเดียว นั่นหมายความว่าแม้จะกำหนดว่านายจ้างเรียกเงินได้ ๒ เท่าแต่การคิดก็ไม่ใช่ดูว่าเสียหายและคิดคำนวณออกมาเป็นเงินได้กี่บาทเพียงอย่างเดียว ต้องดูอย่างอื่นด้วย

๒) ต้องพิจารณามูลเหตุแห่งการผิดสัญญาของลูกจ้างด้วยว่าเป็นการจงใจกระทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเอง อันเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายคือนายจ้างด้วยหรือไม่

กรณีนี้ ฝ่ายลูกจ้างหากแม้จะลาออกโดยไม่เป็นไปตามสัญญา เช่น สอบได้งานราชการและมีการเรียกบรรจุด่วน หากจัดการเคลียร์งาน ส่งมอบงาน หรือทำงานที่คั่งค้างให้เรียบร้อย ก็อาจต่อสู้ได้ว่า "ไม่จงใจ" ทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง

๓) การลดเบี้ยปรับเป็นดุลพินิจของศาล แต่เป็นดุลพินิจที่มีหลักการตามที่กล่าวในข้อต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ นี้ ดังนั้นศาลไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด หมายความว่าแม้กฎหมายจะให้อำนาจศาลลดเบี้ยปรับลง แต่จะงดจ่ายเสียทั้งหมดไม่ได้

๔) ต้องพิจารณาความจำเป็นในการทำสัญญา ความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่การงานประกอบด้วย ถ้าเป็นหน้าที่การงานที่สำคัญการลาออกโดยไม่เป็นไปตามสัญญาศาลก็อาจกำหนดเบี้ยปรับสูงได้

ที่มา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 15/2563

13/03/2023

อกหัก ขอลาป่วยได้หรือไม่

ก่อนจะพูดกฎหมายไทย ขอเล่าเรื่องในประเทศจีนก่อน โดยมีบริษัทในเมื่องเซี่ยงไฮ้ กำหนดให้ลูกจ้างลางานเพื่อไปรักษาแผนใจได้ โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ลาเพราะ "อกหัก"

โดยฝ่ายบุคคลจะทำการตรวจสอบว่าอกหักจริงหรือไม่ หากพบว่าอกหักจริงพนักงานสามารถ "ลาออกหัก" ได้ปีละ ๒ วัน

แต่ถ้าหย่ากับสามีหรือภรรยา ให้ "ลาหย่า" ไปนอนทำใจได้ ๓ วัน

บริษัทให้เหตุผลว่าการที่พนักงานเศร้าโศกเสียใจให้ลาไปพักผ่อนทำใจ ดีกว่าให้แบกความเศร้ามาทำงาน (ที่มา: ข่าวเดลินิวส์)

สำหรับประเทศไทย "อกหัก" หากส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจอย่างรุนแรง จนกระทั่งป่วยทางจิตก็ลาป่วยได้(ถ้าให้ดีควรมีใบรับรองแพทย์) เพราะกฎหมายมาตรา ๓๒ ให้ถือว่า "ล่าป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง" ในทางกลับกันหากไม่กระทบต่อจิตใจถึงขนาดป่วยทางจิตก็ไม่อาจลาป่วยได้

อย่างไรก็ตาม นักรักผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายอาจใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี (หรือลาพักร้อน) ได้

เพราะการใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกฎหมายมาตรา ๓๐ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้มีสิทธิหยุดปีละ ๖ วันนั้น ลูกจ้างจะลาไปทำอะไรก็ได้ จะลาไปเที่ยว หรือลาไปนอนรักษาแผลใจ หรือนอนคิดถึงใครสักคนก็ถือเป็นสิทธิของลูกจ้าง

อย่างไรก็ตาม การขอใช้สิทธิหยุดอาจต้องแจ้งให้นายจ้างทราบก่อนตามที่ระบุในข้อบังคับการทำงาน(มาตรา ๑๐๘(๒)) หากยื่นแล้วหยุดโดยบริษัทยังไม่อนุมัติอาจส่งผลให้ถูกเลิกจ้างได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๘๔/๒๕๒๕, ๑๖๙/๒๕๒๗)

13/03/2023

ถูกตำรวจจับมาทำงานไม่ได้เกิน ๓ วัน นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

ขอนำประเด็นที่บรรยายหัวข้อการเลิกจ้าง เมื่อเดือนที่แล้วมาเล่าให้ฟัง โดยมาตรา ๑๑๙(๕) การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาทำงาน ๓ วันติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม ต้องไม่มีเหตุอันสมควร

คำว่า "ต้องไม่มีเหตุอันสมควร" ส่งผลในทางปฎิบัติให้ฝ่ายบุคคลหรือนายจ้างที่จะเลิกจ้างใครต้องมี "สอบสวนหรือสอบข้อเท็จจริง" เบื้องต้นเสียก่อนว่าการละทิ้งหน้าที่นั้นมีเหตุอันสมควรหรือไม่ เช่น ลางานไปเที่ยวเกาหลี 6 วัน แต่ครบกำหนดแล้วยังไม่กลับมา หากถูก ตม. เกาหลีกักตัว ต้องถือว่ามีเหตุอันสมควร หรือถูกเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขกักตัวเพื่อตรวจโรคระบาด

หรือแม้แต่กรณีเล่นการพนันซึ่งมีความผิดตาม พรบ.การพนันฯ และถูกตำรวจจับ การถูกตำรวจจับถือว่ามีเหตุอันสมควร นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

โดยคดีนี้ลูกจ้างฟ้องว่าทำงานตําแหน่งพนักงานฝ่ายผลิต ต่อมานายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยมิได้กระทําความผิด นายจ้างให้การว่าลูกจ้างขาดงานวันที่ ๙-๑๐ มกราคม ๒๕๕๑ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ นายจ้างออกหนังสือเตือน

ต่อมาวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ ลูกจ้างละทิ้งหน้าท่ีอีก นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะทําผิดซ้ำคําเตือน

แต่ที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เพราะเหตุวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ เนื่องจากลูกจ้างและนาย ย. พนักงานนายจ้างถูกตํารวจจับกุมและควบคุมตัวข้อหาเล่นการพนันปั่นแปะ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๑ ตํารวจนัดไปที่ศาลเพื่อชําระค่าปรับ

นายจ้างมิได้ลงโทษนาย ย. เพราะนาย ย. โทรศัพท์ไปลางานแล้ว แสดงว่านายจ้างมิได้ถือเอาเหตุขาดงานแต่ถือเอาการแจ้งการลางานตามท่ีกําหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน เป็นสาระสําคัญ การที่ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ ๙ และวันท่ี ๑๐ สืบเนื่องจากลูกจ้างถูกตํารวจจับและควบคุมตัว จึงไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าท่ี นายจ้างจึงลงโทษลูกจ้างด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือตามข้อบังคับฯ ไม่ได้ เมื่อการออกหนังสือเตือนเป็นไปโดยไม่ชอบ การลงโทษอีกครั้งเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ จึงไม่ใช่การกระทําผิดซ้ำคําเตือน ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๗๘/๒๕๕๗

13/03/2023

ตกลงจ้างกัน ๑ ปี และมีเงื่อนไขการทดลองงาน ๙๐ วัน หากไม่ผ่านการทดลองงาน ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ให้ทำงานครบ ๑ ปีได้หรือไม่

น่าคิดว่านายจ้างตกลงกันเป็นมั่นเป็นเหมาะ ทำเป็นหนังสืออย่างดีว่าจะจ้างกัน ๑ ปี แต่มีกำหนดระยะเวลาทดลองงานและต้องผ่านการทดลองงานด้วย

เมื่อทำการประเมินการทดลองงาน นายจ้างเห็นว่าไม่ผ่านการทดลองงานจึงเลิกจ้าง แบบนี้เท่ากับว่าไม่จ้างตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ๑ ปี จะต้องจ่ายค่าเสียหายหรือไม่

เคยมีคดีที่สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีกําหนดระยะเวลา ทดลองงาน ๙๐ วัน อันเป็นข้อกําหนดที่เกิดจากความสมัครใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะมีกําหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอนแล้วมีกําหนด ๑ ปี ก็ไม่ทําให้ข้อตกลงเรื่องระยะเวลาทดลองงานสิ้นผลไป การทดลองงานก็เพื่อ

คัดหาลูกจ้างท่ีเหมาะสมแก่งานของนายจ้าง หากผลการทดลองงานเป็นที่พอใจนายจ้างก็ให้ลูกจ้างทํางาน ต่อไปหากไม่เป็นที่พอใจนายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างที่อยู่ในระหว่างทดลองงานนั้นได้ ซึ่งตามสัญญาจ้างก็กําหนดให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้หากไม่ผ่านทดลองงาน

ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าในการประเมินผลการทํางานของลูกจ้างทดลองงานจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างต้องปฏิบัติผิดข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน หรือฝ่าฝืนข้อบังคับฯ กรณีร้ายแรงก่อนนายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้

คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าในระยะทดลองงานลูกจ้างไม่ได้อุทิศเวลาในการปฏิบัติงาน อย่างเต็มที่ มิได้ปฏิบัติงานด้วยความซื้อสัตย์สุจริตขาดความเอาใจใส่รับผิดชอบต่องาน ทั้งไม่มีความสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงานและฝ่าฝืนข้อบังคับฯ จนทําให้นายจ้างเห็นว่าลูกจ้างไม่มีความเหมาะสมที่จะทํางานกับนายจ้าง และเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุไม่ผ่านทดลองงาน

คดีนี้ศาลยังวางหลักการเรื่องการทดลองงานไว้อย่างน่าสนใจว่า "การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องปกติในการบริหารงานบุคคล ท่ีนายจ้างย่อมมีสิทธิคัดสรรแรงงานที่มีคุณภาพที่สุดแก่กิจการที่นายจ้างมีอํานาจกระทําได้โดยชอบ โดยไม่จําต้องรอจนครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างตามท่ีลูกจ้างกล่าวอ้าง

คําพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษที่ ๕๙๓/๒๕๖๓

13/03/2023

ลูกจ้างขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง

ลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนด
กล่าวคือ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
แต่ลูกจ้างกลับละเลยขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ด้วยความเร็วเกินกว่าข้อบังคับของนายจ้างกำหนดไว้

คดีนี้ศาลพิจารณาว่า แม้ข้อบังคับเกี่ยวการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดเป็นความผิดร้ายแรงไว้

แต่การที่ลูกจ้างละเลยขับรถเกินกว่าอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 และมาตรา 67 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2522 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 ( 2 ) นั้น เป็นการอันมีโทษทางอาญาจึงถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
(คำพิพากษาฎีกาที่ 16305/2557)

ติดต่องาน [email protected]

#พนักงานขับรถ #ประกันสังคม #ค่าแรงขั้นต่ำ #เงิน #ออฟฟิศ #เงินเดือน #เลิกจ้าง #วิทยากรPDPA #หนังสือPDPA #นายจ้าง #กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #ค่าชดเชย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #กฎหมายแรงงาน #ไล่ออก #ลาออก #แรงงาน

13/03/2023

เงินตามกฎหมายแรงงานที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างมีอะไรบ้าง และต้องจ่ายภายในกี่วัน

เมื่อมีการเลิกจ้าง สิ่งที่นายจ้างต้องทำคือ จ่ายเงินค่าจ้างคงค้างหรือเงินอื่นๆ ให้แก่ลูกจ้างจนกว่าจะครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม เงินที่กฎหมายแรงงานกำหนดมีหลายประเภทมาก วันนี้เลยจะมาสรุปให้ฟังว่า เงินแต่ละประเภทมีกำหนดการจ่ายอย่างไรบ้าง
นายจ้างจะได้ไม่สับสนและจ่ายเงินส่วนนี้ให้แก่ลูกจ้างได้อย่างถูกต้อง

1. ประเภทเงินที่ต้องจ่ายในวันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชยมาตรา 118, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชยพิเศษมาตรา 120,121 และ 122 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ

2. ประเภทเงินที่ต้องจ่ายภายใน 3 วันนับแต่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด (แต่ถ้าลูกจ้างลาออกเอง ไม่ได้เป็นการเลิกจ้างก็รอรอบกำหนดวันจ่ายเงินเดือนตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจ่ายก่อนรอบก็ได้)

3. ประเภทของเงินที่ต้องจ่ายและคืนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชยกรณีย้ายสถานประกอบการ และการคืนหลักประกัน

หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างสามารถไปแจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ได้เลย เดี๋ยวเค้าจะจัดการเรียกให้นายจ้างจ่ายให้เอง นอกจากนี้นายจ้างยังต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และมีโทษตามมาตรา 144 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ด้วย คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และสุดท้าย คือ หากนายจ้างที่กระทำผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการอาจต้องร่วมรับโทษมาตรา 144 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ด้วย

เพราะฉะนั้นอยากขอเตือนให้นายจ้างระวังให้ดีและปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วนนะคะ

ติดต่องาน [email protected]

#ค่าชดเชยรายได้ #ค่าจ้าง #ประกันสังคม #ค่าแรงขั้นต่ำ #เงิน #เงินเดือน #เลิกจ้าง #นายจ้าง #ค่าชดเชย #วิทยากรอารมณ์ดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #ไล่ออก #แรงงาน

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


91/216 หมู่ที่4 ต. ท่าศาลา
Chiang Mai
<<NOT-APPLICABLE>>

Law Firms อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย Nakornping สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย Nakornping
189/1 หมู่ที่1 ตำบลช้างเผือก อำเ
Chiang Mai, 50300

สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ
สำนักงานอดิศักดิ์ทนายความ (ส
Chiang Mai, 50130

รับปรึกษาปัญหากฎหมาย พูดคุยเกี่ยวก

Chiang Mai Law Firm and Real Estate Co., Ltd. Chiang Mai Law Firm and Real Estate Co., Ltd.
167/5 Moo 7 T. Sanpuloei
Chiang Mai, 50220

Development Sales and marketing Brokerage Property management Real estate lending assistant Professi

ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณ
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภ
Chiang Mai, 50300

ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของ?

อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนา อธิป ทนายเชียงใหม่ และทีมทนา
โครงการทรีบูติคอเวนิว ต. ท่า
Chiang Mai, 50000

ปรึกษา​ปัญหากฎหมายฟรี รับว่าความทั

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิ
199/332 ม. 2 หมู่บ้านสวนนนทร ซ. 7/2 ต. ห
Chiang Mai, 50210

ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้?

บริษัทกฏหมาย BY ทนายปรัชญา บริษัทกฏหมาย BY ทนายปรัชญา
The Palm Garden 8
Chiang Mai, 50230

บริษัทTK LAW บริการงานด้านกฎหมาย ว่าคว?

สำนักงาน นพนภัส ทนายความเชีย สำนักงาน นพนภัส ทนายความเชีย
227/74 หมู่ 7 ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอ
Chiang Mai, 50300

ทนายความเชียงใหม่/ทนายเชียงใหม่ รั?

สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรี สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรี
588/19 ถ. เจริญเมือง(อยู่หัวมุมสี
Chiang Mai, 50000

สำนักงานกฎหมายอภิรักษ์เสรีทนายความ

สำนักงานกฎหมายพรทิพย์ สำนักงานกฎหมายพรทิพย์
79/3 ถ. ราชมรรคา ต. พระสิงห์
Chiang Mai, 50200

http://pornthip-interlaw.com/

สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความ สำนักกฎหมาย นิติรัฐ ทนายความ
Chiang Mai, 50000

ให้บริการปรึกษาและว่าความอรรถคดีท?

สนง.กฎหมาย จิณณะ นาคสุขุม สนง.กฎหมาย จิณณะ นาคสุขุม
12 ซอย 1 ถนนพัฒนาช้างเผือก ตำบล
Chiang Mai, 50300

ให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและรับว่าความ?