ManeyMoney
"Wealth Care Companion : เพื่อนร่วมทางการเงิน"
5 คำแนะนำยอดแย่
"ด้านการเงิน"
ที่คุณ "ห้ามทำตาม"
ถ้าไม่อยาก "ลำบาก" ไปทั้งชีวิต (ในคอมเม้นต์)
"ให้เรื่องเงิน เป็นเรื่องง่าย" กับ Financial Consultation Services บริการให้คำปรึกษาในการวางแผนที่ครอบคลุมทุกมิติด้านการเงินส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น
▪︎ วางแผนงบประมาณ-สภาพคล่อง
▪︎ วางแผนจัดการหนี้สิน
▪︎ วางแผนใช้จ่าย (รายการใหญ่) เช่น ซื้อบ้าน, รถ, การศึกษาบุตร
▪︎ วางแผนประกัน (จัดการความเสี่ยง)
▪︎ วางแผนเกษียณ
▪︎ วางแผนภาษี
▪︎ แนะนำการลงทุน
▪︎ วางแผนมรดกและแผนการเงินอื่นๆ
ลงทะเบียน & จองคิวล่วงหน้า
▶️ Click ลิงก์
Financial Consultation Services : บริการให้คำปรึกษาวางแผนการเงิน "ให้เรื่องเงิน เป็นเรื่องง่าย" กับ Financial Consultation Services บริการให้คำปรึกษาในการวางแผนที่ครอบคลุมทุกมิติด้านการเงิน.....
Investment Portfolio / พอร์ตการลงทุน /
หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “พอร์ต” คือ การสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินหลาย ๆ ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของหลักทรัพย์ และสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามที่คาดหวัง
พอร์ตการลงทุนที่ดี ต้องกระจายความเสี่ยงได้อย่างสมดุล ไม่ใช้เงินจำนวนมากลงทุนในสินทรัพย์เดียวจนหมด แต่ก็ต้องไม่หลากหลายหรือกระจายจนเกินไป เพราะจะทำให้ติดตามดูแลยาก รวมทั้ง ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแผนลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ได้ และ มีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมาย โดยนักลงทุนคนหนึ่งอาจมีหลายพอร์ตตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนในเงินก้อนนั้น ซึ่งแต่ละคนอาจจัดสัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้
#การปรับพอร์ตการลงทุน
เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์เติบโตไม่เท่ากัน สินทรัพย์ที่โตเร็วจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนโดยรวมของพอร์ตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงของพอร์ตเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว การปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุนจึงทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่า พอร์ตลงทุนจะยังตอบโจทย์เป้าหมายในอนาคต แถมยังอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดย “การปรับสมดุลของพอร์ตลงทุน” (Portfolio Rebalancing) จะเป็นการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์หลักที่เราวางแผนลงทุนในระยะยาว ให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนที่เราตั้งใจไว้ในตอนแรก โดยการขายสินทรัพย์ที่มีน้ำหนักเกินสัดส่วนที่กำหนด และซื้อสินทรัพย์ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าที่เรากำหนด เพื่อทำให้พอร์ตกลับมามีความสมดุลเหมือนเดิม
( รับชมย้อนหลัง ข้ามไปนาทีที่ 10 ได้เลยนะคะ )
- ทำไมเราต้อง Concern กับอนาคตการเงินที่ยังมาไม่ถึง ?
- 5 Keywords สำคัญที่ต้องรู้ เพื่อ RIRE RICH ให้เป๊ะปัง
- อยากเริ่มแพลนเรื่องเงินเกษียณตั้งแต่วันนี้ต้องทำยังไง ?
- Retire Rich vs Retire Young
- Q&A ถาม-ตอบ
Investment Consultant (IC) / ผู้แนะนำการลงทุน /
= เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือให้คำแนะนำเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เช่น หุ้น พันธบัตร กองทุนรวม หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยไม่มีการวางแผนหรือการวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คำแนะนำ
#การลงทุน #ศัพท์น่ารู้ #วางแผนการเงิน #การเงินพื้นฐาน #การเงินส่วนบุคคล
Investment / การลงทุน /
= การทำให้เงินสดหรือทรัพย์สินที่มีอยู่งอกเงยขึ้นและสร้างผลตอบแทนกลับมาให้กับผู้ลงทุน
การที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้นด้วยเช่นกัน ยิ่งหากต้องการได้ผลกำไรสูงมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการลงทุนก็ยิ่งสูงตามไปด้วย แต่หากต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่กระทบต่อเงินต้น ก็หมายความว่าโอกาสที่จะทำกำไรก็อาจน้อยกว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงนั่นเอง
โดยปัจจุบัน การลงทุนมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบและหลากหลายความเสี่ยง ทำให้การจะตัดสินใจเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้ นอกจากจะต้องพิจารณาถึงผลตอบแทนแล้ว อย่าลืมนำความเสี่ยงที่สามารถรับได้มาพิจารณาร่วมด้วย ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปข้อดีของการลงทุนได้ดังนี้
● มีโอกาสทำกำไรและสร้างผลตอบแทนได้สูง หากลงทุนด้วยความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาที่ถูกต้อง
● การลงทุนหลายรูปแบบสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ เช่น การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
● การลงทุนบางประเภทจะช่วยให้คุณมีอำนาจการบริหารจัดการสินทรัพย์ได้ด้วยตนเอง เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า หรือซื้อมาเพื่อขายไป
● สามารถต่อยอดเป็นอาชีพหลักได้ แม้ว่าจะหยุดทำงาน แต่สินทรัพย์ที่ลงทุนไว้ก็ยังคงสร้างรายได้ให้คุณได้อย่างต่อเนื่อง (Passive Income)
Financial Advisor / ที่ปรึกษาการเงิน /
= มืออาชีพที่ให้คำปรึกษาในการบริหารเงินของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิต การบริหารเงินนี้รวมไปถึงการให้คำแนะนำเรื่อง
▪︎ การเก็บออม
▪︎ การทำประกัน
▪︎ การวางแผนการศึกษาบุตร
▪︎ วางแผนเกษียณ รวมไปถึงแนะนำการลงทุนในหุ้น กองทุน อสังหาฯ ฯลฯ เพื่อให้เงินเก็บของลูกค้างอกเงยด้วย
Financial Literacy / ความฉลาดทางการเงิน /
= ความรู้ ความเข้าใจทางด้านการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการเรื่องเงินในชีวิตประจำวันได้ ประกอบด้วย
📍การจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย
📍การลงทุน
📍การกู้ยืมเงิน
📍ภาษี
📍การบริหารการเงินส่วนบุคคล
โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ
1️⃣ Financial Knowledge : ความรู้ทางการเงิน
2️⃣ Financial Attitude : ทัศนคติทางการเงิน
3️⃣ Financial Behavior : พฤติกรรมทางการเงิน
▪︎ การมีความรู้ในเรื่องการเงิน จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้การเงินมั่นคงขึ้น โดยในภาพรวมการมีความรู้ในเรื่องการเงินมีประโยชน์ดังนี้
▪︎ ทำให้การตัดสินใจในการทำธุรกรรมทางการเงินดีขึ้น
▪︎ บริหารเงินและบริหารหนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
▪︎ เป็นเครื่องมือให้สามารถไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
▪︎ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำหรือก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น
▪︎ ลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางด้านการเงิน
▪︎ จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล
#ศัพท์การเงินน่ารู้ #ความฉลาดทางการเงิน
เฉลย Mini Quiz การเงินเมื่อคืนนะคะ ตอบข้อ B : Bankruptcy การล้มละลาย (เหตุผลในคอมเม้นต์)
#การเงินวันละตอน วันนี้มานี่มันนี่อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก .. "งบการเงินส่วนบุคคล"
Personal Financial Statement
และมี mini quiz มาให้เล่นกันค่ะ #ตอบคำถามในคอมเม้นต์ ระดับความยาก ⭐️⭐️⭐️/5 ดาว 🤭
1️⃣ งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
🟩 รายได้
▪︎ Active Income รายได้จากการทำงาน
▪︎ Passive Income รายได้จากสินทรัพย์
🟥 ค่าใช้จ่าย
▪︎ Fixed Expenses ค่าใช้จ่ายคงที่
▪︎ Variable Expenses ค่าใช้จ่ายผันแปร
🟨 เงินออม-ลงทุน
▪︎ Savings & Investment เงินออม-ลงทุน
สภาพคล่อง
[ 🟩 - 🟥 = เงินเกิน >> ต่อยอด >> 🟨 >> 🟪 ]
[ 🟩 - 🟥 = เงินขาด >> กู้ยืม >> ⬛️ ]
2️⃣ งบดุลส่วนบุคคล
🟪 สินทรัพย์
▪︎ Liquid Assets สินทรัพย์สภาพคล่อง
▪︎ Investment Assets สินทรัพย์เพื่อการลงทุน
▪︎ Personal Assets สินทรัพย์ส่วนตัว
⬛️ หนี้สิน
▪︎ Short-Term Debts หนี้สินระยะสั้น
▪︎ Long-Term Debts หนี้สินระยะยาว
ความมั่งคั่งสุทธิ
[ 🟪 - ⬛️ = เป็นบวก >> สะสมความมั่งคั่ง ]
[ 🟪 - ⬛️ = ติดลบ >> นำไปสู่ >> ______? ]
#ศัพท์การเงินน่ารู้ #งบการเงินส่วนบุคคล
Personal Financial Statement
/ งบการเงินส่วนบุคคล /
= รายงานแสดงข้อมูลทางการเงินของบุคคล ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนทางการเงิน เพราะจะช่วยให้เราทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริง สามารถประเมินสถานการณ์การเงินในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งงบการเงินส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น
1️⃣ งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
2️⃣ งบดุลส่วนบุคคล
#ศัพท์การเงินน่ารู้ #งบการเงินส่วนบุคคล
Debts / หนี้สิน /
= ภาระผูกพันในปัจจุบันที่จะต้องชำระ ซึ่งอาจจ่ายในรูปแบบของเงินสด สินทรัพย์ หรือบริการ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1️⃣ Short-Term Debts : หนี้สินกู้ยืมระยะสั้น
= หนี้สินกู้ยืมที่ต้องผ่อนชำระคืน 12 เดือนขึ้นไป
#ศัพท์การเงินน่ารู้ #หนี้สิน #งบการเงินส่วนบุคคล #งบดุลส่วนบุคคล
ASSETS / สินทรัพย์ /
= ทรัพยากรที่มีมูลค่าทางการเงินอยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคล
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1️⃣ Liquid Assets : สินทรัพย์สภาพคล่อง
= ทรัพย์สินเพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
2️⃣ Investment Assets : สินทรัพย์เพื่อการลงทุน
= ทรัพย์สินเพื่อสะสมมูลค่า & สร้างผลตอบแทน
3️⃣ Personal Assets : สินทรัพย์ส่วนตัว
= ทรัพย์สินเพื่อการใช้งาน
#ศัพท์การเงินน่ารู้ #สินทรัพย์ #งบการเงินส่วนบุคคล #งบดุลส่วนบุคคล
Personal Balance Sheet / งบดุลส่วนบุคคล /
= รายงานที่แสดงสถานะความมั่งคั่งทางการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทำให้ทราบว่าเรามีสินทรัพย์และหนี้สินจำนวนเท่าใด และสรุปแล้วเรามีความมั่งคั่งสุทธิมากน้อยเพียงใด ผ่านสมการง่าย ๆ ดังนี้
สินทรัพย์ - หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Wealth)
Personal Income and Expense Statement
/ งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล /
= รายงานสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราอย่างชัดเจน ผ่านสมการง่าย ๆ ดังนี้
เงินคงเหลือ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย
(บ่งบอก "สภาพคล่อง")
- เมื่อไหร่ที่ รายได้ > รายจ่าย เราก็จะมีเงินเหลือ หรือที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดเป็นบวก (Positive Cash Flow)
- เมื่อไหร่ที่ รายได้ < รายจ่าย เราก็มีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินพอสำหรับค่าใช้จ่าย หรือ ที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดติดลบ (Negative Cash Flow)
#การเงิน #ศัพท์การเงินน่ารู้
3 เทคนิคจับผิด Money Scammer ลงทุนง่าย ได้เงินไว มีจริงรึเปล่า ?
#การเงินการลงทุน #ธนาคาร #เรียนฟรี #วางแผนเกษียณ
Variable Expenses / ค่าใช้จ่ายผันแปร /
= ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นรายจ่ายที่สามารถควบคุมได้ เช่น
ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัว(ข้าวของเครื่องใช้)
FIXED EXPENSES / รายจ่ายคงที่ /
= ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาระการเงินที่มี หรือสร้างไว้ก่อนหน้า รู้แน่นอนว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ เป็นค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้ โดยปกติต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนหรือทุกปี
เช่น
- ค่าใช้จ่ายประจำ : ภาษี ค่าเช่า(บ้าน/รถยนต์) ค่าน้ำ อินเตอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ผูกเป็นรายเดือน
- เงินผ่อนชำระคืนหนี้ : เงินผ่อนบ้าน เงินผ่อนรถยนต์ เงินผ่อนชำระคืนหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด ผ่อนของ หนี้นอกระบบ
- ค่าใช้จ่ายอุปการะคนในครอบครัว : เงินส่งให้พ่อแม่
- ค่าใช้จ่ายรายปี : เงินส่งเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่อทะเบียนรถยนต์ เงินชำระคืนหนี้ กยศ.
กรณีค่าใช้จ่ายที่เป็นรายปี อาจวางแผนในการชำระ โดยการนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวหาร 12 แล้ววางแผนเก็บเงินชำระคืนในช่อง "เงินออม" ในแต่ละเดือนเพื่อสะสมไว้ชำระเมื่อถึงกำหนด
[ Online Class ] Wealth in Action
Click ดูลิงก์รายละเอียด & สำรองที่นั่งออนไลน์
📍https://landing.hellomuch.com/news/wealth-in-action-online-session
🗓 ประเดิมคลาสแรกวันอาทิตย์นี้ มาเรียนเป็นคู่กรอกรหัส OLWCOUPLE จ่ายถูกลง 🔖
#วางแผนการเงิน #กิจกรรมเรียนรู้การเงิน #เรียนออนไลน์ #การเงิน #การลงทุน
ACCESSIBLE INCOME
/ เงินได้พึงประเมิน /
= เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เราต้องเสียภาษีตามที่กฎหมาย
กำหนด ยกเว้นว่าจะมีการระบุไว้ว่าเป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี
โดยเงินได้พึงประเมิน สามารถแบ่งได้เป็น 8 ประเภท
[ ประเภทที่ 1️⃣ : เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน ]
เป็นเงินได้ที่อยู่ในรูปแบบเงินเดือน หรือเงินประจำ รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ
เช่น โบนัส เบี้ยเลี้ยง หรือเงินค่าที่พักที่ได้รับจากนายจ้าง โดยเงินได้ก้อนนี้ จะถูกนำไปหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
[ ประเภทที่ 2️⃣ : เงินที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับจ้างทำงาน ]
เช่น ค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าตอบแทนต่าง ๆ
ที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายกับลูกน้อง
โดยหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เช่นเดียวกับเงินได้ประเภทที่ 1
**อย่างไรก็ดี หากเรามีเงินได้ทั้งจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 จะต้องนำมาคิดรวมกัน และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ซึ่งไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น
[ ประเภทที่ 3️⃣ : เงินจากค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ]
โดยหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
นอกจากนี้ยังรวมเงินที่ได้จากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น และคำพิพากษาของศาล
อย่างไรก็ตาม เงินที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้
[ ประเภทที่ 4️⃣ : เงินที่ได้ในรูปของดอกเบี้ยและเงินปันผล ]
ซึ่งกำไรที่ได้จากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน โดยเงินได้ประเภทนี้ ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้เลย แต่ยังมีดอกเบี้ยบางประเภทที่ไม่ต้องยื่นภาษี เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน
หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ออมทรัพย์
[ ประเภทที่ 5️⃣ : เงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่าง ๆ ]
รวมถึงเงินที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนโดยหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 10-30% ของเงินได้ หรือหักตามจริง
[ ประเภทที่ 6️⃣ : เงินที่ได้จากวิชาชีพอิสระ ]
ประกอบไปด้วย 6 อาชีพ
ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี และประณีตศิลปกรรม
โดยการประกอบโรคศิลปะ สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ หรือหักตามจริง ขณะที่อาชีพอื่น ๆ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้เพียง 30% ของรายได้ หรือหักตามจริง
[ ประเภทที่ 7️⃣ : เงินที่ได้จากการรับเหมา ซึ่งต้องรวมทั้งค่าแรงและเงินค่าของ ]
โดยนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริงก็ได้
หากเป็นการรับเหมาเฉพาะค่าแรง แต่ลูกค้าซื้อวัสดุและอุปกรณ์เอง จะไม่ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 7 แต่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 เพราะเป็นการว่าจ้างธรรมดา
[ ประเภทที่ 8️⃣ : เงินได้อื่น ๆ ]
ที่ไม่ใช่เงินได้ประเภทที่ 1 ถึง 7 และไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
เช่น เงินจากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ โดยหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40-60% ของเงินได้ หรือหักตามจริง
#ศัพท์การเงินน่ารู้
[เชียงใหม่] มาเรียนวางแผนการเงิน จ่ายหลักร้อย เสริมไอเดียความมั่งคั่งหลักล้านกันเถอะ
PASSIVE INCOME / รายได้จากสินทรัพย์-การลงทุน
= ค่าตอบแทนที่เก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ ซ้ำๆ จากทำงานครั้งเดียว / ชั่วระยะเวลานึงเพื่อสร้างระบบ หรือ สะสมสินทรัพย์เพื่อการลงทุน
เช่น เงินปันผลจากหุ้นฯ / กองทุน ธุรกิจที่มีระบบ อสังหาฯให้เช่า ค่าลิขสิทธิ์จากการขายทรัพย์สินทางปัญญา
#ศัพท์การเงินน่ารู้
ACTIVE INCOME / รายได้จากการทำงาน /
= ผลตอบแทนจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ รายได้จากการลงแรงกาย ลงเวลา กล่าวง่าย ๆ คือเป็นรายได้ที่มาจากการประกอบอาชีพนั่นเอง
เช่น รายได้จากเงินเดือน ค่าจ้างทำงาน คอมมิชชั่น ธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ
#ศัพท์การเงินน่ารู้
เตรียมพบกับ
"ศัพท์การเงินน่ารู้"
วันละคำ 📖✏️
#มานี่มันนี่
CELEBRATE Pride Month ด้วยหัวข้อ "เงินทองต้องวางแผน" สำหรับ LGBTQIA+ 🏳️🌈 #วางแผนการเงิน +
คืนนี้ 2 ทุ่มครึ่งพบกันผ่าน LIVE : CELEBRATE
Pride Month ด้วยหัวข้อ
"เงินทองต้องวางแผน"
สำหรับ LGBTQIA+ 🏳️🌈
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
Chiang Mai
50130
106/2 ม. 7 ต. ไชยสถาน อ. สารภี จ. Chiang Mai
Chiang Mai, 50140
บริการให้คำปรึกษาวางแผนประกันชีวิ?
Chiang Mai, 50290
ที่ปรึกษาประกันชีวิต สุขภาพ สะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี และประกันควบการลงทุน
ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่/ลำปาง
Chiang Mai, 50300
ที่ปรึกษาด้านการเงินและประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชดเชยรายได้ ประกันอุบัติเหตุ ประกันลดหย่อนภาษี
อาคาร ICON IT ชั้น 7 เลขที่ 29 ถ. หัสดิเสวี ต. ศรีภูมิ อ. เมือง
Chiang Mai, 50200
ให้คำปรึกษาด้านการการวางแผนภาษี ประกันลดหย่อนภาษี ประกันคีย์แมน
Chiang Mai, 50290
คีน แอคเคาท์ติ้ง ให้บริการด้านบัญชีครบวงจร ทำบัญชีรายเดือน-รายปี ตรวจสอบบัญชี ภาษี บุคคล และนิติบุคคล
มหิดล
Chiang Mai, 50000
ประกันมรดก ประกันสุขภาพ เงินออม วางแผนเกษียณ
ซุปเปอร์ไฮเวย์ Chiang Mai
Chiang Mai, 50000
เปลี่ยนเงินหลัก10ให้เป็นหลักแสนกัน?
C. I Tower, Bunrueang Rit Road, Suthep, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai 50100
Chiang Mai, 50230
✨OF THE Year ภาคประเทศไทย 2023✨ MDRT2023-2025 วางแผนเกษียน และการลงทุน เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพเด็ก