ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มช

ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มช

การบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข่าวสารข้อมูล องค์ความรู้ด้านการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน

27/12/2024

📢📢📢🚨 ปิ๊งป่อง! น้องฟ้าใสมาแล้ว 🐘
น้องฟ้าใสขอเชิญชวนทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับฤดูกาลฝุ่นควัน PM2.5 ที่กำลังจะมาถึง เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน มาดูแลตัวเองให้พร้อมรับมือฝุ่นกันเถอะค่ะ

น้องฟ้าใสมีหลักสูตรอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศที่น่าสนใจมานำเสนอ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจองค์ประกอบของมลพิษทางอากาศและเตรียมตัวป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

🔸 สามารถรับชมวิดีโอความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศได้ที่
🔸YouTube Channel:
🔸https://cmu.to/CMUSmokeHazeCourseVideo
หลักสูตรการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มาร่วมกันเตรียมความพร้อมและป้องกันตนเองจากฝุ่นควัน PM2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของเราทุกคนค่ะ

และอย่าลืมมมมม เพิ่มน้องฟ้าใสเป็นเพื่อน ใน Line Official Account นะคะ 💙 ซึ่งน้องฟ้าใสปรับโฉมใหม่ ไฉไลกว่าเดิม!

ดูค่าฝุ่นง่าย เพียงกด Share Location
📲 กดแชร์ แล้วชวนคนที่คุณรักมาเป็นเพื่อนกับน้องฟ้าใสตอนนี้!
👉 เพิ่มเพื่อนเลย คลิกที่นี่! https://cmu.to/aircmu
🌟 อย่าปล่อยให้ฝุ่นมาทำร้ายเรา
มาเป็นเพื่อนกับน้องฟ้าใส แล้วเราจะสู้ฝุ่นไปด้วยกัน! ❤️
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

24/12/2024

🎄 ปิ๊งป่อง! 🚨
ช่วงนี้ PM2.5 กำลังพุ่งปรี๊ด! มาดูแลตัวเองให้พร้อมรับมือฝุ่นกันเถอะค่ะ

🌟 คริสต์มาส ปีใหม่ หรือทุกช่วงฤดูฝุ่นน้องฟ้าใสพร้อมอยู่เคียงข้างคุณเสมอ!

💙 น้องฟ้าใสมาพร้อมโฉมใหม่ ไฉไลกว่าเดิม!

ดูค่าฝุ่นง่าย เพียงกด Share Location
📲 กดแชร์ แล้วชวนคนที่คุณรักมาเป็นเพื่อนกับน้องฟ้าใสตอนนี้!
👉 เพิ่มเพื่อนเลย คลิกที่นี่! https://cmu.to/aircmu

💙 สิ่งที่เพื่อนๆ จะได้รับข้อมูลจากน้องฟ้าใส:
- ข้อมูล ค่าฝุ่น PM2.5 ใกล้ตัวคุณ
- ห้องปลอดฝุ่น ที่ใกล้คุณที่สุด
- พยากรณ์ค่าฝุ่นล่วงหน้า 3 วัน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม
- จุดความร้อน (Hotspot) ที่ต้องระวัง
- และ ข่าวสารดีๆ อีกเพียบ!

🌟 อย่าปล่อยให้ฝุ่นมาทำร้ายเรา
มาเป็นเพื่อนกับน้องฟ้าใส แล้วเราจะสู้ฝุ่นไปด้วยกัน! ❤️
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
Environmental Science Research Center #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มชทูเดย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University

Photos from RCCES CMU's post 24/12/2024

👤ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ ได้รับเกียรติเข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล (FireD)

🔸เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี 2567 เวลา 09:00 น. ผศ.ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (RCCES) 🌏 อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ได้รับเกียรติเข้าร่วมเป็นวิทยากรใน การอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ เกี่ยวกับการใช้งานระบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล (FireD) การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบ FireD ซึ่งสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลผ่าน เว็บแอปพลิเคชัน โมบายแอปพลิเคชัน และ Line OA โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมสามารถใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลงทะเบียนผู้ใช้งาน บันทึกคำร้อง สรุปรายงานคำร้อง และการติดตามสถานะต่าง ๆ

🔹ผศ.ดร. ชาคริต ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบดังกล่าวในการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล ลดปัญหาการเผาที่ขาดการควบคุม ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และมลพิษทางอากาศ

🔹การอบรมครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนืออย่างยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมสร้างความร่วมมือและประสิทธิภาพในทุกมิติ

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิทยากร ิทยากร2568, ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

24/12/2024

💐 ✨คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ💐✨
✨🔸รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ 🔸✨ Somporn Chantara
ประธานคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "ช้างทองคำ" 🐘✨
🔸รางวัลนักวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2567

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ่าว ่าว2568

Photos from Uniserv CMU's post 24/12/2024

👤คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมประชุมเพื่อระดมสมองและจัดทำแผนงานวิจัยภายใต้กลุ่ม "CMU Consortium: Climate Crisis/Carbon Neutrality"

🔸เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมพระยาศรีวิสารวาจา สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 🔸สำนักงานบริหารงานวิจัย (สบว.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมนักวิจัยแกนนำในเครือข่าย เพื่อระดมสมองและวางแผนการดำเนินงานภายใต้กลุ่ม "CMU Consortium: Climate Crisis/Carbon Neutrality" โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมดังกล่าว ซึ่งการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นวิจัยและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) และ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

ประเด็นสำคัญที่หารือในที่ประชุม:
🔹การจัดตั้งกลุ่มวิจัยย่อยในเครือข่าย (Sub-Consortium) เช่น
PM2.5, Water Management, Carbon Neutrality
🔹ทิศทางและแผนงานในการขับเคลื่อนเครือข่าย
🔹การหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
🔹การแต่งตั้ง Sub-Consortium Manager เพื่อดูแลกลุ่มวิจัยย่อย
การประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา เพื่อผลักดันการวิจัยและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคและประเทศอย่างยั่งยืน
#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ่าว ่าว2568

Photos from ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มช's post 21/12/2024

👤ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นวิทยากรให้องค์ความรู้มลพิษทางอากาศและ“ไลเคน”ภายในค่ายวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen Science Camp)

🔸ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2567
📍ณ โรงเรียนชุมชนบ้านเฟือยลุง ตำบลและอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

🔹ได้จัดกิจกรรม ค่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science Camp) ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร อาทิ ThaiPBS, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถาบันพัฒนาระบบประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (CHIA), ห้องเรียนสุดขอบฟ้า รวมถึงครูแกนนำจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ (สพม.เชียงใหม่) และศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 (สพป.น่าน เขต 2)

🔸กิจกรรมดังกล่าวนายสมศักดิ์ จิตตรง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านเฟือยลุง ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์และความสำคัญของการจัดค่ายครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการนำความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ

🔹กิจกรรมที่สำคัญในค่าย ได้แก่:
• วันที่ 20 ธันวาคม 2567: ทีมงานจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดฐานความรู้เรื่อง “NO₂ Test Kits” เพื่อแสดงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ
• วันที่ 21 ธันวาคม 2567: ทีมงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดฐานความรู้เรื่อง “ไลเคน” ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพอากาศในธรรมชาติ

🔸กิจกรรมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศแก่ครูและนักเรียนในพื้นที่อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวม 17 โรงเรียน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 100 คน

🔺รายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วม:
1. โรงเรียนเวียงสอง
2. โรงเรียนบ้านแพะกลาง
3. โรงเรียนชุมชนบ้านเฟือยลุง
4. โรงเรียนบ้านน้ำเลียง
5. โรงเรียนบ้านปางแก
6. โรงเรียนบ้านปอน
7. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 98
8. โรงเรียนบ้านน้ำลาด
9. โรงเรียนบ้านบวกหญ้า
10. โรงเรียนบ้านทุ่งช้าง
11. โรงเรียนบ้านน้ำสอด
12. โรงเรียนบ้านเพียงหลวง 7
13. โรงเรียนบ้านเปียงซ้อ
14. โรงเรียนบ้านมณีพฤกษ์
15. โรงเรียนบ้านปางหก
16. โรงเรียนบ้านน้ำพิ
17. โรงเรียนบ้านห้วยฟอง

ภายในงานดังกล่าวได้มีการจัดนิทรรศการให้องค์ความรู้มลพิษทางอากาศและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

การจัดค่ายครั้งนี้ไม่เพียงช่วยพัฒนาทักษะและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เข้าร่วม แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างยั่งยืน
#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิทยากร ิทยากร2568, ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

20/12/2024

📡🛰️ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดแสดงให้เห็น จุดความร้อน (Hotspot) และหมอกควันที่ปกคลุมพื้นที่ประเทศไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สัญญาณเตือนถึงการเริ่มต้นของฤดูฝุ่นที่กำลังจะมาถึง

จุดความร้อน 🔥 (Hotspot) คืออะไร?

จุดความร้อน 🔥 หรือ Hotspot หมายถึงพื้นที่ที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติบนพื้นผิวโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไฟ โดยดาวเทียมใช้เซนเซอร์ตรวจจับ รังสีอินฟาเรด หรือ รังสีความร้อน ที่เกิดจากการเผาไหม้ จากนั้นจึงประมวลผลและแสดงผลในรูปแบบของจุดสีแดง กระจายตัวตามพื้นที่ต่าง ๆ ข้อมูลดังกล่าวได้จากเซนเซอร์ MODIS และ VIIRS ที่มีความแม่นยำสูง

🔹การรายงานภาพถ่ายและแหล่งข้อมูล
ภาพถ่ายจาก Dynamic Imagery VIIRS NOAA-20 และข้อมูลจาก NASA: Fire Information for Resource Management System (FIRMS) ช่วยให้เราทราบสถานการณ์ไฟป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

🔺 แหล่งความรู้เพิ่มเติม
🔸องค์ความรู้การรายงานสถานการณ์จุดความร้อน (Fire Hotspot)และการอ่านค่าพิกัดตําแหน่งทางภูมิศาสตร์ในระดับพื้นที่ ดูได้ที่ https://cmu.to/FireHotspot
และ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับถ่ายภาพตรวจจับความร้อน สนับสนุนการป้องกันและควบคุมไฟป่าระดับพื้นที่ ดูได้ที่
https://cmu.to/ThermalimagingUAV
🔸รับชมองค์ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศเพิ่มเติมได้ที่
🔸YouTube Channel:
🔸https://cmu.to/CMUSmokeHazeCourseVideo

😷ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เราควรเริ่มเตรียมตัวและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองและไฟป่า เพื่อปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเราในฤดูฝุ่นที่จะมาถึงนี้ 💨

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

Photos from Environmental Science Research Center  #ESRC's post 20/12/2024

📸ภาพบรรยากาศ ✨
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์
👤รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานหมอกควัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (AcAir CMU) และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ESRC) เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการ The Symposium on Climate Change And Environmental Materials ภายใต้หัวข้อ Seasonal Trends in Climate and Air Pollution: Insinghts from Chiang Mai, Thailand และได้ร่วมต้อนรับคณะวิทยากรจาก College of Natural Sciences, Pusan National University (PNU) ประเทศเกาหลีใต้

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิทยากร ิทยากร2568, ่าว ่าว2568

Photos from PR Chiangmai's post 19/12/2024

👤รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานหมอกควัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (AcAir CMU) ในฐานะตัวแทนภาควิชาการ เข้าร่วมงานเสวนาสาธารณะ Local Forum: ฟังเสียงประเทศไทย จัดโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ภายใต้หัวข้อ “อนาคตคนในวังวนฝุ่นกับความหวังกฎหมายอากาศสะอาด”

🔸เวทีดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างบทสนทนาเชิงสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือและทั่วประเทศ พร้อมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ

🔹ในงานเสวนาดังกล่าวความท้าทายและเป้าหมายของจังหวัดเชียงใหม่
👤นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงบริบทปัญหาและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยย้ำถึงความสำคัญของร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาด และการทำงานร่วมกันของ “ทีมเชียงใหม่” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน

🔸บทบาทของภาควิชาการ
ดร.สมพร จันทระ ได้เน้นย้ำบทบาทของงานวิจัยและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้ฐานข้อมูลและการบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคเอกชน

🔹การสร้าง Citizen Dialogues
งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทั้งในพื้นที่และช่องทางออนไลน์ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกระบวนการ Deliberative Dialogue เพื่อรวบรวมมุมมองและข้อเสนอแนะจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

🔸ผู้เข้าร่วมและเครือข่ายสำคัญในภาคส่วนต่างๆ
1. อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผอ.ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ
2. ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด
3. ผู้แทนจาก อบจ. และ อปท. จังหวัดเชียงใหม่
4. ผู้แทนจากสภาลมหายใจภาคเหนือ
5. ผู้แทนจากสำนักป้องกันและควบคุมไฟป่า
6. ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ รวมถึงภาคการท่องเที่ยว อาสาสมัคร และประชาชนในพื้นที่
📍เป้าหมายและผลลัพธ์
เวทีนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายประเด็นสำคัญจากงานวิจัยในพื้นที่สู่การปฏิบัติจริง โดยมุ่งผลักดันร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยั่งยืนให้กับประชาชนทั่วประเทศ

🔺งานเสวนานี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากทั้งผู้เข้าร่วมในพื้นที่และผู้ชมออนไลน์ และแสดงถึงความร่วมมือที่เข้มแข็งจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับประเทศ.

Cr.ข้อมูลจาก PRเชียงใหม่และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai PBS โดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะได้ผลิตและเผยแพร่เนื้อหารายการข่าวพลเมือง อนาคตประเทศไทย คุณเล่าเราขยาย และรายการฟังเสียงประเทศไทย

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ่าว ่าว2568

19/12/2024

🐘☁️น้องฟ้าใส ชวนชาวเชียงใหม่ขับเคลื่อนมาตรการอากาศสะอาด ปี 2568 ขอความร่วมมือหยุดเผา สร้างอากาศสะอาด เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

🎯จังหวัดเชียงใหม่ขับเคลื่อนมาตรการอากาศสะอาด เชียงใหม่ปี 2568 ‼️ภายใต้แนวคิดร่วมมือกันเพื่อสร้างอากาศสะอาด Collaboration to create clean air ‼️

👉ประกอบด้วย 3 มาตรการ

📍การป้องกันและลดภาวะจากแหล่งกำเนิด

📍ป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพ

📍การบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน
บูรณาการงาน งบ ระบบ คน

❤️ขอความร่วมมือหยุดเผา สร้างอากาศสะอาด เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวเชียงใหม่อย่างยั่งยืน❤️

19/12/2024

📢📢📢 🐘☁️น้องฟ้าใสๆๆๆมีข่าวดีมาบอก

🐘☁️น้องฟ้าใสหาคนมาร่วมทีม AcAir CMU ต้องการคนมาร่วมงานด้วยกัน
🔹เปิดรับสมัคร พนักงานมหาวิทยาลัย (พนักงานส่วนงาน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔸สังกัด สำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔸ในตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป
จำนวน 2 ตำแหน่ง
อ่านประกาศเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้
1. https://hr.oop.cmu.ac.th/recruitment/view-WVdaa2RBPT0-TVRJMg
2. https://hr.oop.cmu.ac.th/recruitment/view-WVdaa2RBPT0-TVRJMQ

ใครสนใจกดสมัครเข้ามาร่วมทีมกันได้ค่ะ https://hr.oop.cmu.ac.th/recruitment/

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาลมหายใจเชียงใหม่The North องศาเหนือThailand Can เครือข่ายอากาศสะอาดWEVO สื่ออาสาUniserv CMUฮักเน่อ เชียงใหม่

Timeline photos 19/12/2024

📣💐✨คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2567 ได้แก่
✨🔹รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

✨🔹อาจารย์ดร.ณัตติพร ยะบึง คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตลอดจนขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่นท่านอื่นๆทุกท่าน ประจำปี 2567
โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะได้เข้ารับการประกาศเกียรติคุณในงานประชุมบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567 ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567

💎อ่านประกาศ https://www.science.cmu.ac.th/2022/news-detail.php?id=5163
cr.Faculty of Science, Chiang Mai University

18/12/2024

📢 #ฟังเสียงประเทศ Local Forum : อนาคตคนในวังวน #ฝุ่น กับความหวังกฎหมายอากาศสะอาด

💨แม้ว่าจะเหมือนเป็นช่วงสั้น ๆ ของ #ฤดูฝุ่น แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าวนลูปทุกปี นับถอยหลังเค้าท์ดาวฤดูฝุ่น ปี 2568 ที่ใกล้จะมาถึง ในขณะเดียวกันนับถอยหลังที่เรากำลังจะมีกฏหมายอากาศสะอาด... แล้วอากาศจะสะอาดขึ้นจริงไหม ?
ฟังด้วยหัวใจที่เปิดรับ แลกเปลี่ยน ด้วยข้อมูลที่รอบด้าน และออกแบบภาพความเป็นไปได้ร่วมกัน
🗓️วันพุธ ที่ 18 ธันวาคม 2567
🔹เวลา 12.30 -16.30 น.
📍ชั้น 4 ห้อง 1401 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชมสดผ่าน live The North องศาเหนือ

Photos from ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มช's post 17/12/2024

📸ภาพบรรยากาศ✨
เชียงใหม่ เปิดศูนย์บัญชาการฯ เตรียมรับมือไฟป่า ปี 2568 พร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5

🔸พิธีเปิดศูนย์บัญชาการและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2568จัดขึ้นที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน พร้อมเปิดศูนย์บัญชาการ War Room เพื่อบริหารสถานการณ์ไฟป่าและมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีการมอบเครื่องมือและอุปกรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดับไฟป่า

🔸โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจาก ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร. นพ. พงษ์รักษ์ ศรับัณฑิตมงคล ลงนามความร่วมมือ และร่วมการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาด เล็ก PM2.5 แบบบูรณาการ จังหวัดเชียงใหม่

🔸ในงานประชุมดังกล่าวนี้มีคณะทำงานด้านวิชาการการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมดังต่อไปนี้
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ACAIR CMU) และหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (UNISERV)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมแกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (RCCES)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พลภัทร เหมวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🔹สำหรับปี 2568 จังหวัดเชียงใหม่จะขับเคลื่อน “มาตรการอากาศสะอาดเชียงใหม่” (Collaboration to Create Clean Air) ผ่าน 4 แนวทางสำคัญ ได้แก่
1. การป้องกันและลดการเกิดไฟป่าและมลพิษที่ต้นทาง
2. การลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน
3. การบริหารจัดการและสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน
4. การสร้างความยั่งยืนในการจัดการไฟป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดเชียงใหม่พร้อมเดินหน้าประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และไฟป่าอย่างจริงจัง หวังสร้างคุณภาพอากาศที่ดีและยั่งยืนให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ่าว ่าว2568

17/12/2024

"16 ล้านชีวิตใน 10 ปี! มลพิษทางอากาศ คร่าชีวิตคนอินเดียเฉลี่ย ล้านคนต่อปี—แล้วคนไทยล่ะ?"

🌍 ผลการศึกษาล่าสุดเผย PM2.5 ฆาตกรเงียบที่คร่าชีวิตคนอินเดียกว่า 16 ล้านคนใน 10 ปี! แค่ฝุ่นเพิ่มขึ้น 10 หน่วย ก็ทำให้ความเสี่ยงตายเพิ่มขึ้นถึง 8.6% นี่คือภัยที่เรามองไม่เห็น แต่กำลังอยู่รอบตัวเรา

😷 แล้วภาคเหนือของไทยล่ะ? ช่วงฤดูแล้ง ฝุ่น PM2.5 ปกคลุมหนาแน่นจากการเผา และไฟป่า จนหายใจไม่ออก! โรคปอด หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งกำลังรอคุณอยู่ หากเรายังนิ่งเฉย

🚨 ถึงเวลาแล้วที่เราต้องร่วมมือกัน ลดฝุ่นพิษ สร้างอากาศสะอาด และผลักดันมาตรการเข้มงวด เพราะอากาศดีไม่ใช่สิทธิ์ แต่คือชีวิตของพวกเราทุกคน

ภายใน 10 ปี อินเดียมีคนเสียชีวิต 16 ล้านคนจากมลพิษอากาศ การศึกษาใหม่เน้นย้ำปัญหาอากาศสกปรกที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ในะยะยาว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศบังคับใช้กฎระเบียบคุณภาพอากาศให้เข้มงวดขึ้น
โรงเรียนหลายแห่งในนิวเดลีต้องหยุดทำการในช่วงฤดูหนาวเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์เนื่องจากคุณภาพอากาศเลวร้ายอย่างยิ่ง ทั้งจากการเผาพืชผลทางการเกษตร การจราจร อุตสาหกรรม และการเผาขยะ ทำให้เกิดหมอกควันหนาปกคลุมบ้านเมืองจนแทบจะหายใจไม่ออก
ในช่วงเวลาเดียวกันโรงพยาบาลก็ต้องรับมือกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจจำนวนมากขึ้นซึ่งเป็นปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้นช่วงสัมผัสฝุ่นหนัก ๆ อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นเผยให้เห็นว่า ฝุ่นฆาตกรเงียบเหล่านี้ติดตามวนเวียนในชีวิตเราเป็นเวลานานและทำให้เราเสียชีวิตลงในภายในจำนวนหลายสิบล้านคน
“ผมและเพื่อนร่วมงานต้องการตรวจสอบว่าการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างไร ในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดและมีมลพิษสูงที่สุดในโลก ซึ่งก็คืออินเดีย แต่สิ่งที่เราเห็นนั้นน่าตกใจมาก” Petter Ljungman รองศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาจากสถาบัน Karolinska กล่าว
ในการศึกษาที่เผยแพร่บนวารสาร The Lancet: Planetary Health ซึ่งได้ศึกษาอัตรการเสียชีวิตในเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย 10 แห่งโดยพบว่า มลพิษทางอากาศเป็นแหล่งมลพิษที่ชาวเมืองสัมผัสมากที่สุด และเมื่อมนุษย์สัมผัสมันอย่างยาวนาน แทบทุกเคสก็จะไปสิ้นสุดตรงจุดเดียวกันนั่นคือการเสียชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเชื่อมโยงจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างปี 2009 ถึง 2015 จาก 655 เขตในอินเดียเข้ากับข้อมูลด้านมลพิษทางอากาศ จากดาวเทียมและการใช้ที่ดิน ข้อมูลชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 หน่วยต่อปีมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น 8.6% ทั่วอินเดีย
โดยรวมแล้วในระยะ 10 ปีที่ศึกษามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 16 ล้านคนที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศ หรือเฉลี่ยเกินล้านคนต่อปี ทั้งหมดนี้มีสาเหตุจากคุณภาพอากาศที่สูงกว่าระดับที่ WHO (องค์การอนามัยโลก) กำหนดถึง 8 เท่า
“ดังนั้นการเสียชีวิตจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในอินเดียจึงเป็นภัยความเสี่ยงที่คุกคามชาวอินเดียทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองเท่านั้น” Ljungman กล่าว “ผลการศึกษาของเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามลพิษทางอากศในอินเดียได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งรายวันและรายปีอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก”
ผู้วิจัยยังระบุอีกว่าเมื่อเทียบกันแล้ว กฎระเบียบด้านคุณภาพที่เข้มงวดของยุโรปและอเมริกาเหนือได้มีส่วนช่วยให้ประชาชนของตนเองมีสุขภาพดีขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง ดังนั้นนี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีที่รัฐบาลสามารถช่วยได้ เพื่อประโยชน์ของชาวเมืองไม่ว่าจะเป็นใคร
“และเนื่องจากมลพิษทางอากาศส่วนใหญ่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มันจึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศด้วยเช่นกัน” Ljungman ทิ้งท้าย
ที่มา
https://www.thelancet.com/journals/lanplh/article/PIIS2542-5196(24)00248-1/fulltext
https://news.ki.se/air-pollution-in-india-linked-to-millions-of-deaths
https://phys.org/news/2024-12-air-pollution-contributed-million-deaths.html
Photo: PTI

Photos from ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มช's post 16/12/2024

📸 ภาพบรรยากาศ✨
🔸ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นาคเสน อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาความสำเร็จด้านการจัดการและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ

🔹จัดโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาความสำเร็จด้านการจัดการและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ” เพื่อส่งเสริมศักยภาพและความรู้แก่ชุมชนในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Environmental Science Research Center และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นาคเสน อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Faculty of Public Health Chiang Mai University ร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดง นิทรรศการนวัตกรรม ที่น่าสนใจ ได้แก่
🔺 มุ้งสู้ฝุ่น นวัตกรรมป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ช่วยลดการสัมผัสฝุ่น PM2.5 ภายในที่พักอาศัย
🔺เครื่องฟอกอากาศ Eco นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพสูง ช่วยลดปริมาณฝุ่นและมลพิษทางอากาศ

📍การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเชียงใหม่ ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และชุมชน เพื่อร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิทยากร ิทยากร2568, ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

Photos from RCCES CMU's post 12/12/2024

👤ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมแกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (RCCES) เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานแอปพลิเคชันการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล (FireD) และแอปพลิเคชันรายงานสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ (CM PM2.5) จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

🔸เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ผศ.ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมแกควันภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (RCCES) เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานแอปพลิเคชันการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล (FireD) และแอปพลิเคชันรายงานสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ (CM PM2.5) จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันรายงานสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ (CM PM2.5) และการใช้ระบบลงทะเบียนเพื่อขอจัดการเชื้อเพลิง ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โมบายแอปพลิเคชัน และ Line OA ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล (FireD) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน ในการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ลดความหนาแน่นของการเผาที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และมลพิษทางอากาศ
📍เณ ห้องคุ้มคำหลวง ชั้น 2 ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

#คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #ศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิทยากร ิทยากร2568, ักสูตร ักสูตร2568, ่าว ่าว2568

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัย ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

💐 ✨คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ขอแสดงความยินดีกับ💐✨✨🔸รองศาสตราจา...
ภาพบรรยากาศถนนเรียบเส้นน้ำปิงยามเย็นวันนี้ จังหวัดเชียงใหม่  หลังประสบอุทกภัยน้ำท่วม 💦 ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมมาถึงมลพิษทา...
มาพบความสดใสของเด็กๆต้นกล้าท้าหมอกควัน🌱และน้องฟ้าใสกันได้นะคะ
วิดีโอองค์ความรู้ ✨AQSEA✨ - PART 1/2 -🔸โครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia” (AQSEA) การส...
วิดีโอองค์ความรู้ ✨AQSEA✨ - PART 2/2 -🔸โครงการ “Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia” (AQSEA) การส...
🌱วีดีโอ Highlight ค่ายเยาวชนต้นกล้าท้าหมอกควัน : Smogathon ปีที่ 7 ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งก...
น้องฟ้าใส พาดู ภาพรวม ภาพถ่ายดาวเทียมแสดง จุดความร้อน (HOTSPOT) และ หมอกควัน ที่ปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและประเทศใกล้เคียง ...
ทุกคนน !! วันนี้น้องฟ้าใสพาส่อง ภาพรวมฝุ่น PM2.5  วันที่ 3 เมษายน 67วันนี้อากาศไม่ดีอย่างมากเลยค่ะ ท้องฟ้าสีเทาหม่นๆมาก ...
ฮาโหลลล !! วันนี้น้องฟ้าใสพาส่อง ภาพรวมฝุ่น PM2.5  วันที่ 1 เมษายน 67วันนี้อากาศไม่ดีนะคะ ท้องฟ้าสีเทาหม่นๆยังคงอยู่ มอง...
ฮาโหลลล !! วันนี้น้องฟ้าใสพาส่อง ภาพรวมฝุ่น PM2.5  วันที่ 25 มีนาคม 67 วันนี้อากาศไม่ดีแล้วนะคะ ท้องฟ้าสีเทาหม่นๆยังคงอย...
Workshop AQSEA Test

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน มหาวิทยาลัยChiang Mai
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30