Chubb Northern Financial Planner

Chubb Northern Financial Planner

A little progress each day adds up to big results

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 09/11/2022

เย็นนี้ 19.00-21.00 เติมความรู้เรื่องการเงินใน Facebook lives ( QR code)

- อยากได้ดอกเบี้ยบ้านถูกต้องเตรียมตัวอย่างไร
- แก้หนี้บัตรเครดิตในงาน Money expo
- กองทุนกับประกันบำนาญควรวางแผนภาษีอย่างไร ซื้อแบบไหน
- ข่าวสารคปภ.
- ทำอย่างไรให้ติด MDRT ( ยอดขาย 1.8 ล้าน) ในเวลา 6 เดือน

เพราะการเงินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

15/12/2021

สรุปลดหย่อนภาษีปี 2564 โค้งสุดท้ายกันละนะคะ

ลดหย่อตเป็นสิทธิ์ ไม่ใช่ก็หมดไปนะค่าา
ใครสนใจจะซื้อประกันหรือกองทุนปรึกษาได้ค่ะ

13/12/2021

สำหรับท่านที่สนใจอาชีพนักวางแผนทางการเงิน
เหลือเวลาอีก (3) วันเท่านั้น ที่จะได้ราคาพิเศษ 45,000
อย่าพลาดกันนะค่ะ

06/12/2021

ราคาพิเศษ 45,000 บาท
สำหรับผู้ที่สมัครและชำระก่อนวันที่ 15 ธันวาคมนี้เท่านั้น ห้ามพลาด!

05/12/2021

5 ธันวาคม 2564

วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนถาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นผลอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ทีมงาน Ultimate Wealth Advisory (UWA)

03/12/2021

ทุกคนอยากร่ำรวย อยากมีเงินเยอะๆด้วยกันทั้งนั้น
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสมหวัง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีเงินเหมือนคนอื่นไม่ได้
การจะมีเงินเราต้องหาเงินเก่งและมีความรู้ทางด้านการเงิน..

สิ่งแรกที่เราควรจะมีคือทัศนคติที่ดีต่อเงิน และการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง เพราะถ้ามันไม่ถูกต้องแม้เราจะหาเงินมาง่ายหรือเยอะเท่าไหร่
เราก็อาจรักษาเอาไว้ไม่ได้

AChFP , FChFP หลักสูตรที่วางรากฐานของการวางแผนการเงินที่สำคัญเพื่อคุณสามารถนำไปวางแผนการเงิน ให้กับผู้รับคำปรึกษาหรือตัวเองได้อย่างถูกต้อง

AChFP เป็นก้าวแรกที่จะทำให้ตัวคุณเดินทางไปสู่การเป็นนักวางแผนมืออาชีพ
FChFP เป็นหลักสูตรนักวางแผนการเงินมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินทั่วเอเชียแปซิฟิค

ทั้งสองหลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณเป็นมืออาชีพในการวางแผนการเงินรอบด้าน
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นจากก้าวเล็กๆบนทิศทางที่ถูกต้อง

12 มกราคมนี้ ห้ามพลาด!

# สามารถนำไปลดชั่วโมงการต่อใบอนุญาตกับ คปภ. ได้
# เรียนท่ามกลางบรรยากาศในฤดูหนาว อาหารเนื้อสัตว์อะไรการดูแลใกล้ชิดจากพี่เลี้ยง
# scan QR Code เพ่่อสมัครเรียนได้ละยคะ

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 18/11/2021

เพราะการวางแผนภาษีไม่ใช่เรื่องยาก

พบกับ การวางแผนภาษีสำหรับตัวแทนและบุคคลทั่วไป กับ THAIFA Chiangmai FB Live #3

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564

✌️ มา Update ข่าวสาร กับ คปภ. +App ใหม่ที่จะทำให้ข้อมูลกรมธรรม์คุณ ครบ จบ ในที่เดียว
☺️ Sharing จากนศ. FChFP กับการวางแผนให้บุคลากรทางการแพทย์ ใช้จริง ผลลัพธ์จริง MDRT 3 ปีซ้อน
🥰 ช่วง**ใครๆก็ทำได้ .. เทคนิคง่ายๆในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา** ที่คุณจะทำเองหรือเอาไปวางแผนได้ทันที
❤️ ช่วง**สารพันปัญหาภาษีกับตัวแทนที่รายได้เกิน 1,800,000 บาท**
😘 ช่วง ถามมา-ตอบไป ตามใจคนฟัง

แล้วพบกัน เวลา 19.00 น.-21.00 น.

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 09/11/2021

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เปิด open ทั้งตัวแทนประกันชีวิต ลูกค้า และผู้สนใจทั่วไป

✌️ มา Update ข่าวสาร กับ คปภ. +App ใหม่ที่จะทำให้ข้อมูลกรมธรรม์คุณ ครบ จบ ในที่เดียว
☺️ Sharing จากนศ. FChFP กับการวางแผนให้บุคลากรทางการแพทย์ ใช้จริง ผลลัพธ์จริง กับ MDRT 3 ปีซ้อน
🥰 ช่วง**ใครๆก็ทำได้ .. เทคนิคง่ายๆในการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา** ที่คุณจะทำเองหรือเอาไปวางแผนได้ทันที
❤️ ช่วง**สารพันปัญหาภาษีกับตัวแทนที่รายได้เกิน 1,800,000 บาท**
😘 ช่วง ถามมา-ตอบไป ตามใจคนฟัง

แล้วพบกัน เวลา 19.00 น.-21.00 น.

ฟรี ทั้ง 2 งาน

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 04/11/2021

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหานี้

🥰 จำไม่ได้ว่าซื้อกรมธรรม์ประกันภัยประกันชีวิตของบริษัทอะไรไปบ้าง
🥰 จำไม่ได้ว่าซื้อประกันโควิดไว้กี่ฉบับกับที่ไหนบ้าง
🥰 จำไม่ได้ว่าซื้อประกันพ่วงบัตรเครดิตอะไรไปบ้าง ผลประโยชน์คืออะไร
🥰 จำไม่ได้ว่า ประกันรถ ประกันบ้านหมดเมื่อไร

ถึงเวลาหมดปัญหากับเรื่องพวกนี้แล้วคะ

คปภ.เปิดตัว Super App ปลดล็อคประกันภัย เชื่อมทุกบริการ ครบ จบใน App เดียว
สามารถลงทะเบียนตามรายละเอียดในรูปแนบได้เลยค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ

UWA

Photos from THAIFA Chiangmai's post 25/10/2021

“Facebook..Live..กับ..THAIFA เชียงใหม่”
🕵‍♂️ ในวันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 19.00 - 21.00 น. พบกับ Update ข่าวสารจากท่าน ผอ.คปภ.ภาค 1 เชียงใหม่ คุณกาญจนา ศรีคราม
🥰 ช่วงที่ 2 Sharing from FChFP จากหนุ่มสาวที่ปรึกษาการเงิน Gen Y ในหัวข้อ "การทำการตลาดแบบ High Net Worth และวางแผนการเงิน Wealth Management Gen Y"
🙂 ปิดท้าย ด้วยหัวข้อ New Health Standard ไปต่อหรือพอแค่นี้ พร้อมถามตอบ จากคณะวิทยากรของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน จ.เชียงใหม่
✅ เหมาะทั้งประชาชนทั่วไปและผู้ที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน,ตัวแทนประกันชีวิตทุกคนครับ

https://www.facebook.com/323235141451001/posts/1314709952303510/

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 14/10/2021

วันนี้เรายังอยู่ในเรื่องภาษีกันนะคะ
เราทราบแล้วว่ารายได้แต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร..
งั้นวันนี้เรามาวางแผนเรื่องค่าลดหย่อนกันค่ะ

ค่าลดหย่อน ( Allowances)
คือจำนวนเงินที่ให้หักออกจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีตามสถานะของผู้เสียภาษี
แบ่งได้ 7 ประเภท
1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิต
3. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อบ้านที่อยู่อาศัย
5. เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดารวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้
7. การหักลดหย่อนเงินบริจาค

ส่วนวงเงินที่ สามารถเอาไปลดหย่อนได้ ดูตามรูปแนบได้เลยค่ะ

ง่ายไปกว่านั้นให้เราวางแผนให้คุณสิคะ

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 12/10/2021

วันนี้เรามารูจัก
เงินได้พึงประเมิน (Assessable Income) กันนะคะ

ม.39 คำนิยามของเงินได้พึงประเมิน (ลักษณะเงินได้พึงประเมิน)ได้แก่

1. เงินสดหรือตราสาร (เช่น ตั๋วเงิน เช็ค ดร๊าฟท์)
2. ทรัพย์สินที่อาจคิดคำนวณเป็นเงิน (เช่น อาหาร เสื้อผ้าที่ได้รับแทนค่าจ้าง)
3. ประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ (เช่น ค่าเช่าที่นายจ้างจ่ายแทน)
4. ค่าภาษีที่ผู้จ่ายหรือผู้อื่นออกแทนไม่ว่าในทอดใด
5. เครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากนิติบุคคลไทย

หมายเหตุ ข้อ 2 และ 3 ให้ถือราคาในวันที่ได้มา

ทำไมเราต้องรู้จักเงินได้พึงประเมิน

เพราะการวางแผนภาษีเริ่มที่เงินได้นะคะ

มาตรา 40 แห่ง ป.ร.ก. คือประเภทของเงินได้พึงประเมินซึ่งแบ่งได้ 8 ประเภท รวมถึง ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนไม่ว่าในทอดใด

เรามารู้จักเงินได้พึงประเมินตาม ป.ร.ก.กันคะ

ม.40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน Hire of Service
ม.40(2) เงินได้จากผลงานของการจ้าง Hire of Work
ม.40(3) เงินได้ประเภทค่าสิทธิ Royalty
ม.40(4) เงินได้ที่เกิดจากการลงทุน Income from Investment)
ม.40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน Leases
ม.40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ Liberal Prefession
ม.40(7) เงินได้จากการรับเหมา Contract of Work
ม. 40(8) เงินได้อื่นๆ Others Income

ในส่วนของการคำนวณหาเงินได้สุทธิก็ไม่ยากนะคะ
หลักการก็คือ
เอาเงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อนก็จะเหลือเงินได้สุทธิ
เราเสียภาษีจากเงินได้สุทธิ
แล้วก็ค่อยมาดูฐานภาษีกันคะ

ถ้าตัวเลขมันปวดหัว ให้ UWA วางแผนให้คุณซิคะ

Credit รูป TAXBugnoms

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 29/09/2021

วันนี้เรามานั่งคิดกันเล่นๆนะคะ ถ้าคุณอยู่ในหมู่บ้านที่มีทั้งหมด 1,000 หลังคาเรือน ทุกๆปีจะมีคนในหมู่บ้านซึ่งอาจจะเป็นคนของครอบครัวเรา เป็นมะเร็งโดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1 ล้านบาท ถ้าให้คุณเลือก ระหว่าง
- ครอบครัวคุณต้องค่อยๆเก็บเงินให้ได้ปีละ 1 ล้านบาทเพราะไม่รู้ว่าเหตุนั้นจะเกิดกับเราเมื่อไหร่
- กับอีกวิธีนึง เอาเงินไปลงกองกลางของหมู่บ้าน ครอบครัวละ 1,000 บาท หากครอบครัวใดมีคนเป็นมะเร็งก็เอากองกลางไปใช้ก่อน ถ้าเป็นคุณคุณเลือกวิธีไหนคะ

นั่นเป็นเหตุผล ว่าทำไมการวางแผนทางการเงิน จึงต้องมีประกันสุขภาพร่วมด้วยเสมอ
เพราะการใช้เงินก้อนเล็กปกป้องเงินก้อนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายโอนความเสี่ยงที่มูลค่าความเสียหายสูงให้บริษัทประกันรับผิดชอบ

เชื่อว่าช่วงนี้ ทุกท่าน คงได้ยินคำว่า New Standard health อยู่บ้าง

สำหรับผู้มีประกันสุขภาพแบบเดิมหลังจากวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 อาจมีประเด็นสงสัยว่า จะทำอย่างไรดีระหว่างการต่ออายุกรมธรรม์ประกันสุขภาพแบบเดิม หรือควรซื้อประกันสุขภาพที่อ้างอิงตามมาตรฐานการประกันสุขภาพใหม่

ประเด็นที่ควรพิจารณาประกอบการตัดสินใจตามรายละเอียดมีดังนี้

• หากประเมินแล้วพบว่าประกันสุขภาพแบบเดิมมีความคุ้มครองที่ครอบคลุม และมีระดับการจ่ายเบี้ยประกันที่เหมาะสมแล้ว ให้ถือประกันสุขภาพแบบเดิมต่อไป เพราะประกันสุขภาพแบบ New Health Standard จะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าแบบเดิม (เนื่องจากมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่า) และส่งผลให้เบี้ยประกันตอนที่อายุมากขึ้นแพงกว่ามาก

• หากประเมินแล้วพบว่าประกันสุขภาพแบบเดิมมีความคุ้มครองที่ยังไม่ครอบคลุม สามารถซื้อประกันสุขภาพแบบ New Health Standard เพิ่มเติมได้ โดยต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันที่เหมาะสมประกอบด้วย

• หากต้องการประกันสุขภาพแบบ New Health Standard แต่มีข้อจำกัดเรื่องความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน และกำลังพิจารณาว่าจะปิดประกันสุขภาพแบบเดิมหรือไม่ มีข้อควรพิจารณาดังนี้

• ประกันสุขภาพแบบเดิมนั้นทำก่อนปี 2552 หรือไม่ เพราะประกันสุขภาพที่ทำก่อนปี 2552 จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีทั้งจำนวน แต่ปัจจุบันเราสามารถนำประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี ซึ่งหากปิดกรมธรรม์ที่ทำก่อนปี 2552 ไป จะเสียสิทธิลดหย่อนภาษีนี้ไปทันที

• ระยะเวลารอคอยที่อาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งหากอยากให้มีความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ควรทำประกันสุขภาพแบบใหม่ก่อน อย่างน้อยให้เลยระยะเวลารอคอยที่นานที่สุด คือ 120 วัน เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับความคุ้มครองอย่าง 100% จึงดำเนินการยกเลิกฉบับเก่า ดังนั้นต้องคำนวณระยะเวลารอคอยให้ดี

• ข้อควรระวังที่สำคัญมากๆ คือ หากมีโรคประจำตัวไปแล้ว ไม่ควรยกเลิกประกันสุขภาพแบบเดิมเนื่องจากประกันสุขภาพ (ไม่ว่าจะแบบเดิมหรือแบบมาตรฐานใหม่) จะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป ก็คือ แบบประกันสุขภาพแบบ New Health Standard ที่แต่ละบริษัทประกันจะออกมานั้น จะมีความคุ้มครองและเบี้ยประกันเป็นอย่างไร
ซึ่งประกันสุขภาพที่จะขายใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ต้องเข้าหลักเกณฑ์ New Health Standard ทั้งหมด ส่วนคนที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว คงต้องพิจารณาว่าจะถือกรมธรรม์แบบเก่าต่อไป หรือจะซื้อฉบับใหม่ และนโยบายบริษัทประกันแต่ละที่จะต่างกันอย่างไร เพื่อประกอบการตัดสินใจ

Credit # นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®
Credit # สมาคมนักวางแผนทางการเงิน

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 28/09/2021

ใกล้ถึงสิ้นปีแล้ว เพื่อนๆเป็นอย่างไรกันบ้างคะ
ช่วงใกล้สิ้นปีมักจะเป็นเวลาของการบริหารจัดการด้านภาษี ที่เราคงต้องเริ่มวางแผนกันแล้วนะคะ

วันนี้ เรามาทำความรู้จัก 2 กองทุนรวมคู่แฝดที่ใช้ลดหย่อนภาษีกันหน่อยดีกว่า

1. กองทุนรวมเพื่อการออม … SSF … ย่อมาจาก Super Saving Fund เป็นกองทุนน้องใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เมื่อตอนปี 2563 ซึ่งเน้นการออมระยะยาวและเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ที่หมดอายุไปเทื่อปี 2562 ( รายละเอียดตามรูปแนบ)
ลักษณะเด่นคือ - ระยะเวลาลงทุนแค่ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ดังนั้น อายุน้อยรายได้เยอะ ก็ลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆคะ
- ไม่มีขั้นต่ำ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่อง


2.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ … RMF … ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ
ลักษณะเด่นคือ - ระยะเวลาลงทุน 5 ปี + อายุ 55 และสามารถนำไปได้ลดหย่อนได้ถึง 30%ของรายได้ (แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ(รายละเอียดตามรูปแนบ)

แต่ๆๆๆ....อย่าลืมนะคะ นับว่า RMF,SSF,PVD,กบข.,ประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาทจ้าา

สอบถามเพิ่มเติมโดยการ direct message มาได้เลยนะคะ ทาง admin จะทยอยตอบให้คะ

by Nichy
by Amm UWA
รูปภาพจาก PVD , บล๊อกภาษีข้างถนน

18/08/2021

คอร์สการวางแผนทางการเงินฉบับพื้นฐาน ปกติ ราคา 3,500 บาท

ครั้งนี้ จัด online
เข้มข้นกว่าเดิม
เพิ่มเติมคือ เสริมความรู้ในการทำงานยุคใหม่ โดยมืออาชีพระดับ inter. น้องดรีม หัวฟูดูประกัน

กับราคาเพียง 1,000 บาท สำหรับสมาชิกสมาคม

พิเศษไปอีก early bird เพียง 800 บาท
ราคานี้ บอกได้เลยว่า #ใครไว #ใครได้
เพราะรับเพียง 80 คนเท่านั้น
(ตอนนี้สมัครเข้ามาเกินครึ่งแล้ว)

เรามีทีมงานกว่า 10 คนช่วยดูแลคนที่มาเรียนในคอร์สนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า จบไปแล้ว ทำงานเป็น

Note: สำหรับคนที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก THAIFA จ่ายเพียง 2,070 บาท (early bird 1,870) จะได้รับสิทธิเป็นสมาชิกสมาคมฯ 2 ปีด้วยคะ เหมาะกับทุกคนที่สนใจการดงินเบื้องต้นนะคะ

สมัครได้ที่นี่คะ
shorturl.at/gkyK6

06/08/2021

ยังไงล่ะเนี่ย
ลูกค้าที่มี (money bag) เงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท .... สามารถ กระจายเงินมาลงทุนใน "กองทุนรวม" ได้นะคะ

กองทุนรวม จดแยกเป็น นิติบุคคล
( #)ไม่มี limit การลงทุนของแต่ละนักลงทุน
( #)มี กลต. และ ตลาดหลักทรัพย์ ในการดูแลควบคุม
( #)มีหลากหลายนโยบายการลงทุน

(*) กรณี ลูกค้ารับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ ก็สามารถกองทุนกลุ่มตราสารหนี้ (กำไรไม่ต้องเสียภาษี)ได้

แต่ถ้าต้องการเป้าหมายที่ชัดเจน เอื้อมถึง อาจต้องใช้เครื่องมือในการฝากหลายแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ ปรึกษาเรา เพื่อการวางแผนที่ครอบคลุม

05/08/2021

ประกาศแล้วนะคะ ไม่เลื่อนแล้วนะค่าาา


Wealth Advisory

28/07/2021

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศร ราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ทีมงาน UG Wealth Advisory

22/07/2021

ในสถานการณ์ที่ทุกอย่างไม่ได้ดังใจ
- ไม่มีความแน่นอน
-ไม่รู้ว่าควรจะพักหนี้ดีหรือไม่ ทำยังไง
- ครองแผ่นดิน
- ประกันสุขภาพที่มีอยู่เวลาเจอ Covid ต้องเบิกอย่างไรถ้าต้อง Home isolate ที่บ้าน
- เกิดประกัน Covid ไม่จ่ายต้องคุยกับใคร
- วัคซีนยังไม่ได้ฉีด ควรใช้ทรัพยากรที่อยู่ดูแลตัวเองอย่างไร

ศุกร์นี้เรามีคำตอบ..พบกับนักวางแผนทางการเงินชั้นนำ ประธานสมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนาและผู้อำนวยการ สำนักงาน คปภ.

พบกัยทาง FB Live : THAIFA Chiangmai
เวลา 19.00-21.00 น.
สมาคม THAIFA รวมลังสู้ COVID

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 04/05/2021

วันนี้เรามารู้จักวัคซีนแต่ละยี่ห้อกันนะคะ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโครงการวัคซีนทางเลือกกันคะ

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 19/04/2021

วันนี้เรามารู้จักคำศัพท์ใหม่ๆในสถานการณ์ปัจจุบันกันคะ นั่นก็คือคำว่า **Hospitel กับ โรงพยาบาลสนาม** ว่าแตกต่างกันอย่างไร พร้อมดูแนวทางปฏิบัติเวลาตรวจเจอ covid 19 กันคะ
ตอนนี้ เชียงใหม่ Hospitel แล้วนะคะ

ขอให้ทุกคนปลอดภัย เราจะผ่านมันไปในเร็ววัน ..
ที่สำคัญ ..เตรียมวางแผนการเงินให้ดีนะคะ เพราะสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน

19/02/2021

วันนี้มาถึงอุปนิสัยสุดท้ายแล้ว
เป็นนิสัยของเศรษฐีตัวจริงที่ใช้กัน
คือเศรษฐีที่มีความสุข
เขามีเงินมากมายรู้จักวิธีในการหาเงิน
เงินที่เขาหาใช้ยังไงก็ไม่หมด
และพร้อมกันนั้นเขาก็ยังช่วยให้คนรอบข้างมีเงิน
และมีความสุขไปด้วย
ผลก็คือมันทำให้ชีวิตเขามีความสุขและมั่งคั่งมากขึ้น
เขาใช้เงินเพื่อความสุขตัวเองและคนรอบข้าง
เขาจึงหลุดพ้นจากความกังวลเรื่องเงิน
และยังช่วยให้คนอื่นหลุดพ้นจากความกังวลไปด้วย
นี่แหละเศรษฐีตัวจริง

Credit # กฤษณ์ ปิติมานะอารี
With

#ยิ่งให้ยิ่งได้รับ

18/02/2021

มาถึงอุปนิสัย
คือคนเสพติดการหาเงิน
คนประเภทนี้มีความสุขที่สุดคือการหาเงิน
มันจะได้มามากหรือมาน้อยก็ไม่สนใจ
สมองของเขาคิดแต่วิธีหาคน
มันทำให้เขาไม่สนใจเรื่องการใช้เงินเท่าไหร่
สมาธิความมุ่งมั่นมุ่งไปที่หาเงินเป็นหลัก
คนแบบนี้มีอุปสรรคมากมายแค่ไหนก็ทำ
อะไรเขาไม่ให้หาเงินไม่ได้
เขาพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตัวเองได้เสมอ
เขาไม่กลัวลำบากกลัวแต่ไม่ได้หาเงิน
คิดว่าเราคงเคยเจอคนกลุ่มนี้แน่นอน
อุปนิสัยนี้เป็นหนึ่งในนิสัยคนรวย
แต่เป็นคนมีความสุขได้ตอนหาเงินตอนอื่นเฉยๆ
ต่อให้เงินในบัญชีมากเท่าไหร่เขาก็ไม่หยุด
Credit # กฤษณ์ ปิติมานะอารี

17/02/2021

คนประเภทที่6 เกี่ยวการใช้เงิน
เราเรียกคนกลุ่มนี้ว่าคนสมถะ
เขาเป็นที่ไม่ชอบอยู่ใกล้เงิน
เขาเป็นคนที่เชื่อว่าเงินเป็นสิ่งไม่สำคัญ
เขาเป็นคนที่ไม่ชอบใช้เงินซื้อของ
ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย
มองว่าเงินเป็นสิ่งที่ไม่ดีใครอยู่ใกล้จะมีปัญหา
ดังนั้นเขาพยายามที่จะไม่จับต้องเงิน
ที่สำคัญเขาไม่สนใจว่าจะมีเงินเยอะ
เพราะเขาไม่ต้องการอะไรใหม่
ขอมีชีวิตแบบเรียบง่ายไปเรื่อยๆเป็นพอ

Credit #กฤษณ์ ปิติมานะอารี

16/02/2021

มาถึงกลุ่มที่6ของจริตเกี่ยวกับเงิน
ที่ผ่านมา5กลุ่มเราคงมองเห็นบางอย่าง
กลุ่มนี้ส่วนตัวคิดว่ามีมากเหมือนกัน
เขาเรียกกลุ่มที่ไม่สนใจเงิน
คนกลุ่มมี Passionกับงานที่ตัวเองทำ
ตั้งใจสนใจงานตัวเองไม่มองว่า
ทำแล้วจะได้เงินเท่าไหร่
คนกลุ่มนี้ทรงพลังเสมอเวลาทำงาน
เขามีความเชื่อว่าเวลาทำงานสำเร็จ
เงินทองมันมาของมันเองของให้ทำให้ดี
คนกลุ่มนี้จะผ่านพ้นช่วงที่เศรษฐกิจอาจจะไม่ดี
ช่วงขาลงเพราะเขาไม่สนใจเขาสนใจ
แค่อยากทำงานให้ดีที่สุด
คนกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีความสุข
เมื่อเกี่ยวข้องกับเงิน จริงเ
มั้ย ลองมาคิดกัน
Credit #กฤษณ์ ปิติมานะอารี

15/02/2021

พฤติกรรมคนเกี่ยวกับการเงินประเภทที่ห้า
จากคนใช้เงินมือเติบ คนขี้เหนียว
คนที่ขี้เหนียวแต่ก็มือเติบ
โดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู
เกิดขึ้นจากพ่อและแม่หรือแรงกดดันตอนเด็ก
มาสู่คนที่ขี้กังวล คนประเภทมักมีความกังวล
เกี่ยวกับเงินที่เขาหามาได้อยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือกลัวว่ามันจะหายไปจากเขา
ชีวิตเขาเหล่านี้ย่อมต้องน่าสงสาร
คือไม่ว่าจะมีเงินแค่ไหนก็ยังกังวลว่าไม่พอ
เขาเหล่านี้กังวลเสมอเรื่องทุกเรื่องเกี่ยวกับเงิน
ได้มามากก็กังวลได้มาน้อยก็ยิ่งกังวล
เงินที่กองอยู่มากมายก็ยังกังวล
ดูแลหาความสุขไม่ได้เลย
เรารู้จักคนแบบนี้ไหม อาจจะบอกว่า
เป็นประเภทปู่โสมเฝ้าทรัพย์เปล่าไม่รู้

Crefit # กฤษณ์ ปิติมานะอารี

14/02/2021

วันนี้มาถึงคนประเภทที่สี่แล้วจากเก้าประเภท
ประเภทที่สี่เราหลายคนก็อาจจะรู้จักบ้าง
คือคนที่มีนิสัยชอบออมเงินเก็บเงิน
คนพวกนี้มักถูกปลูกฝังจากพ่อแม่ตั้งแต่เล็ก
ให้เก็บเงินตั้งแต่อายุน้อยแต่ไม่ความรู้เรื่องการเงิน
เงินทั้งหมดที่เก็บส่วนใหญ่ไว้กับธนาคาร
เขาเฝ้ามองเงินที่เก็บไม่สนใจการเติบโต
คนแบบนี้ดีไหมเป็นคนเก็บเงินเป็น
แต่จัดการวางเงินไม่เป็นกลัวความเสี่ยง
กลัวเงินที่เก็บลดลง
เชื่อว่าเรามีคนที่เรารู้จักแบบนี้
หรือว่าบางที่เราอาจจะเป็นคนแบบนี้
ถ้าเราเจอคนแบบนี้หรือเราเป็น
เราต้องให้คนที่เป็นมืออาชีพมาดูแลแนะนำ
เพื่อทำให้เงินที่เราเก็บมาอย่างดียังเติบโต
Credit #กฤษณ์ ปิติมานะอารี

13/02/2021

วันนี้เรามาดูแบบที่ 3 กัน เราบอกไปแล้วสองแบบ คือพวกมือเติบและพวกงก
วันนี้จะมาถึงอีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่แปลก
เราเรียกว่าคนขี้เหนียวแต่มือเติบ
เป็นคนที่ผสมผสานสำหรับคนกลุ่มที่หนึ่งกับสอง
คนเรานี้จะ งก กับทุกเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ
แต่พร้อมจะจ่ายเงินมากมายกับสิ่งที่ตัวเองชอบ
คนเหล่านี้จะไม่ยอมจ่ายกับเรื่องทุกเรื่อง
แต่ถ้าเขาเจอของที่ชอบแล้วละก้อตัวใครตัวมัน
เขาจะเงินทั้งหมดที่มีแบบไม่สติจ่ายแบบหมดหน้าตัก
พฤติกรรมคนเราเหล่านี้ถ้าบทจะจ่ายไม่มียั้ง
แต่ถ้าเรื่องที่ไม่ชอบอย่างหวังที่จะมีการจ่าย
เราเคยเจอคนแบบนี้ไหมขี้เหนียวสุดๆแต่มือเติบ

Credit #กฤษณ์ ปิติมานะอารี

11/02/2021

วันนี้เราจะมากล่าวถึงคนประเภทที่สอง

คนประเภทนี้เขาเรียกกันว่าคนงก
ใครก็ตามที่ใช้ชีวิตหรือคบหาคนกลุ่มนี้
รับรองว่าเราจะรู้สึกข้างในลึกที่ไม่ค่อยพอใจ
คนพวกนี้ไม่ว่าจะมีเงินมากแค่ไหน
เขาจะมีวันยอมจ่ายเงินเด็ดยกเว้นเราคิดว่าโคตรคุ้ม
เขาไม่สนใจความรู้สึกของทุกคนว่าคิดยังไง
ถ้าเขาจะจ่ายอะไรเขาต้องได้มากกว่าจ่ายมาก
ใครได้คนแบบนี้เป็นเพื่อนต้องทำใจ
ใครมีพ่อแม่เป็นแบบนี้ต้องทำใจ
และโดยส่วนใหญ่ลูกๆก็จะได้อิทธิพลจากเรื่องนี้
ดังนั้นถ้าเพื่อนเราเป็นคนงก สันนิษฐานว่า
พ่อแม่เขานั้นแหละงกแน่นอน
ใครไปเยี่ยมบ้านเพื่อนที่พ่อแม่ งก ต้องทำใจ
เพราะบางครั้งน้ำเปล่าก็ไม่ได้กิน5555
จงเรียนรู้นิสัยคนแบบนี้เราจะได้ทำใจได้

Credit #กฤษณ์ ปิติมานะอารี

10/02/2021

เรื่องของวิธีการใช้เงิน

คนมี 9 ประเภท
ประเภทที่หนึ่งเราเรียกว่า คนมือเติบ
คนพวกนี้ใช้เงินซื้อความบันเทิง
ไม่ว่าเขาจะมีเงินหรือไม่มีเงินก็ตาม
พวกนี้ใช้เงินซื้อหมดไปการซื้อของ
ที่เขาซื้อไม่ใช่มันจำเป็นมันชอบมากมาย
แต่รู้สึกแค่ตื้นเต้นตอนที่ซื้อเท่านั้น
กลับบ้านบางครั้งเขาแทบไม่เคยเปิดดูเลย
คนพวกนี้เงินอยู่ใกล้จะรู้สึกร้อนอยากใช้ตลอดเวลา
ถ้าท่านเป็นคนแบบนี้ขอบอกว่าท่านจบละ
ยกเว้นท่านมีเงินเหลือมากๆๆๆๆๆจริงๆๆๆ
คนแบบนี้ดูน่าอิจฉาเพราะเขาซื้อของโดยไม่สนใจ
ว่าราคานั้นมันเท่าไหร่กูจะซื้อก็แค่นั้นเป็นพอ
เราคงเคยเห็นมาบ้าง
Credit # กฤษณ์ ปิติมานะอารี

พรุ่งนี้มาดูประเภทที่ 2 กันคะ

29/01/2021

ขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับ 3 ท่านทีมงาน UWA
ที่จบหลักสูตร ความรู้มาตรฐานสากลสำหรับนักวางแผนทางการเงิน
Fellow Chartered Finnancial Practitioner 2020 หรือ FChFP 2020

- คุณณิชพัณณ์ โสภณไชยพัชร์
- คุณอภิชญา อินสุวรรณ
- คุณไอรินทร์ กังวาลจิรพัฒน์

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 28/01/2021

วันนี้เรามารู้จักวิธียื่นภาษีออนไลน์กันนะคะ

ก่อนอื่น เตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นให้พร้อม
- หลักฐานแสดงการมีรายได้ ซึ่งสำหรับคนที่รับเงินเดือนจากบริษัท จะต้องใช้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ “50 ทวิ”
- เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีส่วนตัว เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย. 03) ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย. 04) ข้อมูลประกันสังคม และหลักฐานการบริจาคหรือซื้อกองทุนต่างๆ ที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ https://www.rd.go.th/publish/index.html

2. คลิกที่ “ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91”

3. เข้าสู่ระบบด้วย หมายเลขผู้ใช้ 13 หลัก และ รหัสผ่านที่เคยตั้งไว้

3.1 สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีเป็นครั้งแรก ให้คลิก “ลงทะเบียนที่นี่” โดยสามารถอ่านขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อยืนภาษีออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

3.2 ส่วนคนที่เคยลงทะเบียนไปแล้ว แต่ลืมรหัสผ่าน สามารถอ่านขั้นตอนการแก้ปัญหาได้ที่ลิ้งค์นี้

เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อย
หน้าแรก จะปรากฏข้อมูลที่เคยลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด หากต้องการแก้ไขให้กด “เปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ผู้มีเงินได้” หรือ”แก้ไขที่อยู่” หากถูกต้องให้กด “ทำรายการต่อไป”

5. เมื่อมาถึง “หน้าหลัก” ให้เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้ สถานะการยื่นแบบ และข้อมูลคู่สมรส (ถ้ามี) เมื่อเสร็จแล้วให้กด “ทำรายการต่อไป”

6. หน้า “เลือกเงินได้/ลดหย่อน” เลือกรายการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากเป็นพนักงานบริษัทที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลียง หรือโบนัส ให้เลือก มาตรา 40(1) ที่ช่องแรก ( สามารถดูทวิ 50 ได้ว่ารายได้เราเป็นรายได้ประเภทไหน)
ในส่วนของค่าลดหย่อน ให้เลือกตามรายการตามที่เกิดขึ้นในปี 2563 เช่น เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบริจาค หรือในกรณีที่ซื้อกองทุน SSF,SSFX หรือ RMF เมื่อเลือกครบแล้วให้กด “ทำรายการต่อไป”

7. หน้า “บันทึกเงินได้” ให้กรอกข้อมูลตาม หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ส่วนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ให้ดูจากใน 50 ทวิ ในส่วนตัวเลขของบริษัทซึ่งเป็นนายจ้าง หากมีการเปลี่ยนงานระหว่างปีให้เลือกใช้ตัวเลขของบริษัทที่เป็นผู้จ่ายเงินมากที่สุด เมื่อกรอกครบแล้วให้กด “ทำรายการต่อไป”

8. หน้า “บันทึกลดหย่อน” ให้กรอกตัวเลขตามรายการที่ได้เลือกไว้ให้ครบทุกช่อง จากนั้นกด “ทำรายการต่อไป”

9. หน้า “คำนวณภาษี” จะแสดง จำนวนภาษีทั้งหมด โดยจำนวนภาษีที่ “ชำระเพิ่มเติม” หรือ “ชำระไว้เกิน” ว่ามีอยู่เท่าไหร่

9.1 ด้านล่างของแบบฟอร์ม สามารถเลือกบริจาคให้พรรคการเมืองที่ต้องการ
หรือขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวดๆได้หากต้องการ เมื่อเลือกครบแล้ว
ให้กดทำรายการต่อไป

9.2 ในกรณีที่ได้ชำระภาษีไว้เกิน หากเลือกช่อง
"มีความประสงค์ขอคืนเงินภาษี"
ระบบจะขึ้นข้อความเพิ่มเติมพร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับการคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์

10. หน้า “ยืนยันการยื่นแบบ” ตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง หากต้องการแก้ไขให้กด “ล้างข้อความ” หากต้องการยืนยันให้กด “ยืนยันการยื่นแบบ” จากนั้นจึงเลือกช่องทางเพื่อทำธุรกรรมการเงินที่ต้องการ

11. เมื่อยืนยันแล้ว ระบบจะแจ้งว่ากรมสรรพากรได้รับการยื่นแบบเรียบร้อย สามารถเลือก “พิมพ์แบบ” เพื่อเซฟไฟล์ PDF ไว้เป็นหลักฐาน หรือเลือก “เลือกนําส่งเอกสารขอคืนภาษี” ในกรณีขอภาษีคืน เพื่อทำการอัพโหลดเอกสารทีต้องการนําส่งในหน้าถัดไป

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 26/01/2021

ในช่วงของเทศกาลยื่นภาษี วันนี้เรามาดูเรื่องเครดิตภาษีเงินปันผลกันค่ะ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตลอดปี 2563 เราได้ปันผลมาเท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่ ควรเครดิตภาษีเงินปันผลคืนหรือไม่

ใครจะไปจำได้ใช่ไหมคะ เพราะเวลาได้ปันผลมาก็ทยอยๆส่งมา..
ง่ายมากค่ะ..วันนี้ทางเพจมีวิธีการที่จะทำให้คุณรู้ว่า ปันผลที่คุณได้รับทั้งปีเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่และภาษีที่โดนหักไปเท่าไหร่เพื่อเอาไปวางแผนภาษีว่าควรเครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่

1. เข้าเวปไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ ตามรูปเลยคะ แล้วมองหา Investor Portal กันคะ
2. ท่านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกสมัครสมาชิกก่อนนะคะ ไม่ยากเลยค่ะ
3. หลังจากนั้นก็เข้าสู่ระบบนะคะ
4. ไปคลิ๊กที่ Download
5. เลือกปีภาษีที่ต้องการ
6. เลือกสำหรับยื่นแบบภาษีทางอินเตอร์เน็ตแล้วกด download
7. กด ok
8. เวลายื่นภาษีจะอยู่ในมาตรา 40 (2)(ข)
9. กด ตรงหัวข้อ บันทึก/แก้ไข เงินปันผล/ กองทุนรวม
10 . เลือกประสงค์อัพโหลดข้อมูลจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ TSD
11. รายการทั้งหมดจะอัพโหลดมาให้เราดูว่าทั้งปีมีรายละเอียดอะไรบ้าง

ไม่ยากใช่มั้ยคะ สามารถดูรูปที่แนบประกอบไปด้วยเลยคะ

แล้วพรุ่งนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าเราจะเปรียบเทียบยังไง ควรเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเปล่าแบบง่ายๆ สไตล์ UWA คะ

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 18/01/2021

เพราะเพจเรามุ่งหวังที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่คนเชียงใหม่
เรามุ่งมั่น ตั้งใจ ให้คนเชียงใหม่ได้รับการวางแผนทางการเงินที่มีคุณภาพ

ขอแสดงความยินดีกับทีมงาน UWA ทั้ง 2 ท่าน ที่ได้คุณวุฒิ AFPT™

- คุณณิชพัณณ์ โสภณไชยพัชร์
- คุณอภิชญา อินสุวรรณ

สำหรับการเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ปรึกษาการเงินด้านการประกันชีวิต ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ซึ่งคุณวุฒิ AFPT™เป็นคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคมนักวางแผนการเงิน (TFPA)

#ใช้ชีวิตให้เพลิดเพลิน เรื่องการเงินให้เราดูแล

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 12/01/2021

อีก 1 ความรู้ที่นักวางแผนการเงินทุกคนควรทราบ

การลงทุนที่ดีที่สุด คือการลงทุนในความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ที่ผ่านมา มีทั้งเจ้าของธุรกิจที่อยากทำประกันคีย์แมน แต่ไม่รู้จะหาตัวแทนที่เชี่ยวชาญด้านนี้จากที่ไหน เพราะกลัวว่า ทำไปแล้ว จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

มีเจ้าของกิจการหลายที่ อยากจะบริหารค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุด แต่ก็ไม่รู้จะไปใช้บริการจากใคร

รวมถึงมีตัวแทนประกันชีวิตจำนวนมาก ที่มุ่งเข้าสู่ตลาดนิติบุคคล
เบื้องต้นเป็นการนำเสนอประกันคีย์แมน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางภาษีต่อธุรกิจ

แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สมบูรณ์แบบ

รวมไปถึงเรื่องการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารค่าใช้จ่าย, ปัญหาเงินกู้ยืมกรรมการ, ปัญหากำไรสะสมบวม ซึ่งเรื่องพวกนี้ล้วนแต่จะกลายเป็นประเด็นทางภาษีในอนาคต

จะหาเรียนแต่ละหลักสูตร ก็ไม่ค่อยมีคนเปิดสอน
แถมเปิดสอนแต่ละคอร์ส ก็เป็นคอร์สแยกแต่ละส่วนอีก

จึงเป็นที่มาของหลักสูตรนี้ ซึ่งรวมเอา 3 ประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเป็นหลักสูตรเดียวกัน
ตัดหัวข้อที่ซ้ำซ้อนกันออกไป คงไว้แต่ประเด็นสำคัญๆ ที่นำไปใช้ได้จริง

และยังร้อยเรียงให้เห็นเป็นภาพใหญ่ เพื่อให้สามารถเข้าไปวางแผนให้กับเจ้าของกิจการได้อย่างสมบูรณ์

จากเดิมต้องจ่ายเงินหลักหมื่น

แต่ช่วงเปิดตัว คิดราคาพิเศษ เพียง 5,900 บาทเท่านั้น

ใครตัดสินใจเร็ว ก็ได้โอกาสนี้ไป

You pay price.....you get value ^_^

มานพ รัตนะ
081-595-5931

หรือสอบถามเพิ่มเติมทาง inbox page
UWA

15/12/2020

โค้งสุดท้ายสำหรับลดหย่อนภาษีปี2563
มาวางแผนภาษีกับ UWA สิค่ะ

สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี2563

05/12/2020

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและทีมงาน UG Wealth Advisory

04/12/2020

วันนี้มารู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันค่ะ สำหรับใครที่ทำงานบริษัทเอกชน มีการลงทุนที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund or PVD)

เพื่อให้พอเห็นภาพ ลองยกตัวอย่าง ง่ายๆ ที่อาจจะคุ้นเหมือนเจอกันตัวทุกๆ เดือน ก็คือ
สมมติเงินเดือนเรามี 100% กองทุนนี้จะหักเงินเราไปลงทุนเลยตั้งแต่ก่อนจ่ายเงินเดือนให้ บางบริษัทอาจจะหัก 5% บางบริษัท 10% คือหักไปก่อนตั้งแต่แรก เรียกว่าเอาไปตั้งแต่ก่อนเราจะเห็นเงินเดือน เรียกว่าเป็นการลงทุนที่ดีก็ได้ เพราะเรา “จ่ายให้ตัวเองก่อนโดยอัตโนมัติทันที”

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund or PVD) คืออะไร และมีเพื่ออะไร ?

👉กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างใช้จ่ายตอนเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง

👉เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมาจาก:
1. ลูกจ้างหรือสมาชิก ซึ่งถูกหักเงินส่วนหนึ่งจากค่าจ้างเข้ากองทุนเป็นรายเดือน หรือที่เรียกกันว่า “เงินสะสม”
2. นายจ้าง ซึ่งจะจ่ายเงินอีกส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน นอกเหนือจากการจ่ายเงินค่าจ้างประจำให้แก่ลูกจ้าง โดยเงินส่วนนี้จะเรียกกันว่า “เงินสมทบ”
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการที่จะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือตามนโยบายการลงทุน โดยกองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้างและบริษัทจัดการโดยเด็ดขาด ‼️

และจะต้องนำไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ลูกจ้างหรือสมาชิกจึงสามารถมั่นใจได้ว่าแม้นายจ้างหรือบริษัทจัดการจะปิดกิจการลง เงินจำนวนนี้ก็ยังถือเป็นของลูกจ้างหรือสมาชิกทั้งหมดโดยไม่ผูกพันธ์กับภาระหนี้สินใดๆ ของบริษัทนายจ้าง

👉เงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. เงินสะสม คือ เงินที่เรา(พนักงาน)จ่ายเข้ากองทุน
2. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสะสมไปลงทุน
3. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง(บริษัท)จ่ายเข้ากองทุน
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสมทบไปลงทุน

👉พลังของเงินสมทบจากนายจ้าง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดเท่าที่มีในทุกสินทรัพย์แล้ว เพราะ “มันมีคนทบทวีเงินออมของเราเพิ่มให้ด้วย” เช่น คุณหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5 บาท ถ้าบริษัทสมทบให้ 100% บริษัทจะใส่เงินให้มาอีก 5 บาท ทำให้เงินที่เราจะได้ลงทุนรวมแล้วคือ 10 บาท แถมยังสามารถนำเอา 5 บาทที่ว่าไปหักลดหย่อนภาษีได้อีก

พยายามลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยหักเงินให้เต็มตามอัตราสมทบและเลือกแผนที่มีนโยบายลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเรา

ในปัจจุบันนั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ถูกปรับปรุงด้วยกฎหมายใหม่ อนุญาตให้ลูกจ้างสามารถหักเงินได้มากกว่าที่นายจ้างสมทบ เช่น เราสามารถเลือกว่าจะหักเงิน 5-7-9-11-13-15% ของเงินเดือนก็ได้ แม้นโยบายของบริษัทที่เราทำงานจะสมทบเงินให้แค่ 5% ก็ตาม

แต่การสมทบเงินของนายจ้างก็ยังอยู่ตามที่บริษัทหรือนายจ้างกำหนดอยู่ เช่น แม้เราจะสะสม 15% นายจ้างก็จะจ่ายเงินให้ 5-10% สมทบตามอายุงาน เพียงแต่กฎหมายปรับใหม่ให้ดีกว่าแต่ก่อน เพราะเดิมนั้นลูกจ้างจะหักเงินเกินกว่าที่นายจ้างสมทบไม่ได้

👉ผลตอบแทนจากการลงทุน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของบางบริษัท ฯ เป็นแบบ Employee’s Choice พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ว่าจะ ให้มีสัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนเท่าไหร่บ้าง เช่น รับความเสี่ยงได้น้อย ก็อาจจะเลือกแผนที่ปลอดภัยหน่อย อย่างแผน เลือกลงทุนในหุ้น 20% ที่เหลือ 80% จะลงทุนในตราสารมีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้

ในทางกลับกัน หากรับความเสี่ยงได้สูง (คนที่อายุยังน้อย หรือว่าคนที่เน้นลงทุนระยะยาว เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงมากขึ้น) ก็สามารถเลือกสัดส่วนการลงทุนแบบหุ้น 50-60% ขึ้นไปได้

หลายคนไม่รู้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถืออยู่นั้น ปรับสัดส่วนการลงทุนได้ระหว่างทาง หรือไม่ได้สนใจ แต่แผนที่แตกต่างทำให้ผลลัพธ์แตกต่างมากทีเดียว
ดังนั้น ถึงจะหักเงินเดือนเท่าๆ เพื่อนร่วมงานทุกๆ เดือน แต่การที่เราเลือกแผนลงทุนที่ต่าง ผลตอบแทนตอนจบอาจจะห่างกันแบบไม่เห็นฝุ่นเลยก็ได้

👉สิทธิประโยชน์ทางภาษี
เงินส่วนที่โดนหักไปลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เราสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ รัฐเข้ามาส่งเสริมในส่วนนี้เพื่อจะทำให้คนลงทุนระยะยาว

ถ้าเราลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปเรื่อย ๆ จนอายุ 55 ปี โดยไม่มีการขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมา ภาระภาษีจะไม่เข้ามายุ่งกับเราแล้ว และเมื่อครบเงื่อนไขที่อายุ 55 ปีแล้ว เงินก้อนนี้ซึ่งเราจะได้รับก็ยังยกเว้นภาษีเงินได้ให้อีกด้วย

เริ่มออมให้ไว ออมให้นาน สะสมให้มาก เข้าใจสิทธิ์ PVD โอกาสมีเงินล้านเป็นไปได้ไม่ยาก



Cr : www.thunkhaochannel.com

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 20/11/2020

ตอนนี้จะบอกว่าเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายดีคะที่คนไทยติดอันดับ 3 ของเอเชีย ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
หลังเกษียณ ยังต้องใช้ชีวิตไปอีกอย่างน้อย 20 ปี

เรามาสมมติกันเล่นๆนะคะ หลังเกษียณใช้เงินเดือนละ 15,000 บาท= 180,000/ปี และต้องอยู่อีก 20 ปี เท่ากับว่าตอนอายุ 60 ขั้นต่ำที่ต้องเตรียมคือ 3,600,000 บาท

แต่...แต่..แต่..และแต่ โลกนี้มีคำว่าอัตราเงินเฟ้อนะคะ เช่น ถ้าเราคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 2.5%

เงิน 3,600,000 อีก 10 มีค่า = 4,608,304 บาท
เงิน 3,600,000 อีก 20 มีค่า = 5,899,019 บาท

อันนี้คือคิดแบบง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปีนะคะ ถ้าคุณไม่วางแผนคุณต้องเก็บเงินให้ได้ 5-6 ล้านพื่อใช้ตอนเกษียณ แต่ถ้าคุณวางแผนคุณอาจเก็บแค่ 3 ล้านในวันนี้เพื่อให้มีใช้ 6 ล้านในวันข้างหน้า...ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ

Photos from Chubb Northern Financial Planner's post 20/11/2020

ธปท. ออกแนวปฏิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้เพื่อลดหนี้เสียและลดภาระหนี้ของประชาชน

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยใน 3 เรื่อง คือ

1. การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น

2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ "อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%" เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งต่างจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง เช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15% หรือบางกรณีสูงถึง 18% หรือ 22% ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ (affordability risk) ได้ ดังนั้น การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น การฟ้องร้องดำเนินคดีจะลดลง

3. การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ "ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก" เพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPL รวมทั้งช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่อง และยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น

ประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ยกเว้นเรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงินต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี สำหรับการใช้ฐานของงวดที่ผิดนัดชำระหนี้จริงมาคำนวณ ธปท. ได้มีหนังสือเวียนไปก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 ผู้ให้บริการทางการเงินได้ปรับมาใช้เกณฑ์ใหม่ในการคำนวณแล้ว ซึ่งประชาชนและธุรกิจ SMEs จะได้รับสิทธิตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนดเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องติดต่อสาขาของผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อแก้ไขสัญญาแต่อย่างใด

สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสมควร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ลูกหนี้จำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด 19 หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม สามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213

"ถ้าจะให้สรุปว่าคนไทยได้อะไรจากประกาศฉบับนี้? ประกาศฉบับนี้จะนำไปสู่เปลี่ยนแปลงใหญ่ในแนวปฏิบัติเรื่องการชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดหนี้เสียของระบบการเงินโดยรวม และช่วยให้ลูกหนี้ที่ไม่ตั้งใจจะผิดนัดชำระหนี้ให้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ เนื่องจากดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะไม่สูงเกินสมควร จนทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ รวมทั้งจะสร้างแรงจูงใจในระบบการเงินให้สมดุลมากขึ้น และจะช่วยลดจำนวนการฟ้องร้องดำเนินคดี นอกจากนี้ การปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้คำนวณจากฐานของงวดที่ผิดนัดจริง ก็จะช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของไทยในภาพรวมด้วย" นางธัญญนิตย์ กล่าวทิ้งท้าย

Cr.ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง นักบัญชี ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

อยากให้ทุกคนรู้จักการวางแผนทางการเงิน
แล้วเราก็มาถึง EP สุดท้าย ของภาคแรกกันแล้วนะคะแน่นอนคะ อันสุดท้าย ไม่ใช่แค่เรื่องเกษียณ แต่ยังรวมถึงวิธีคิดแบบคนมั่งคั่ง...
ปฐมบทภาคต่อ EP2 จริงหรือที่ข้าราชการ พึ่งแค่บำนาญอย่างเดียวก็พอ อีก 1 อาชีพยอดฮิต ที่ทุกคนอยากเป็นขอบคุณแขกรับเชิญ รองศา...
คุณรู้จัก wealth กันหรือยังคะ ?   ?

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

มหิดล
Chiang Mai
50000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00
เสาร์ 09:00 - 12:00

การวางแผนทางการเงิน อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)
วางแผนทางการเงิน กับ Samsung Life lnsurnce วางแผนทางการเงิน กับ Samsung Life lnsurnce
29 ตึก Lion LT ชั้น 7
Chiang Mai, 50200

ให้คำปรึกษาและบริการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิต ประกันภัย นักวางแผนทางการเงิน ประกันชีวิต ประกันภัย นักวางแผนทางการเงิน
Chiang Mai

วางแผนประกันและให้คำปรึกษาด้านการเงิน

เอกวัชร ประกันชีวิต Samsung เอกวัชร ประกันชีวิต Samsung
ตึก Icon IT ชั้น 7
Chiang Mai, 50200

ให้คำปรึกษาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการออม กับ บริษัท ซัมซุงประกันชีวิต

ผอ.ดร.เวย์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต ผอ.ดร.เวย์ ที่ปรึกษาประกันชีวิต
เมือง
Chiang Mai, 50000

ผมผู้อำนวยการ ดร.เวย์ ธนันท์ชากฤต รัตนกิตติโรจน์ ยินดีให้คำปรึกษาครับ

How to ประกัน - ประกันชีวิตและสุขภาพเหมาจ่าย - online How to ประกัน - ประกันชีวิตและสุขภาพเหมาจ่าย - online
Chiang Mai, 50300

เรื่องประกันให้หมวยดูแลสิค่ะ

บอสเมืองไทยประกันชีวิต บอสเมืองไทยประกันชีวิต
ซุปเปอร์ไฮเวย์, หนองป่าครั่ง, หมู่ที่ 4
Chiang Mai, 50000

รับปรึกษาประกันทุกรูปแบบครับผม

ครอบคลุมแบบประกัน by.narin AIA ครอบคลุมแบบประกัน by.narin AIA
Chiang Mai, 50300

ประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ

เรียมพร้อมก่อนสอบ CFP เรียมพร้อมก่อนสอบ CFP
Chiang Mai, 50000

รับติวเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ CFP

EngiTrade EngiTrade
Chiang Mai

Forex

ประกันชีวิตที่ดี by K'J ประกันชีวิตที่ดี by K'J
ไอคอน ไอที เชียงใหม่, เลขที่ 29 ถนนหัสดิเสวี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
Chiang Mai, 50200

ซัมซุงประกันชีวิต แบบประกันที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย

เพจประกัน คุณแนน เพจประกัน คุณแนน
Chiang Mai

รับออกแบบประกันชีวิต และวางแผนภาษีส่วนบุคคล จากตัวแทนมืออาชีพจากประสบการณ์มากกว่า 14 ปี

ดวงอาทิตย์ทางการเงิน-The Sun of The Future ดวงอาทิตย์ทางการเงิน-The Sun of The Future
Chiang Mai, 50300

เอาจริงๆ เรื่องการเงินควรสอนตั้งแต่ในโรงเรียน