AC Energy Guard
ตำแหน่งใกล้เคียง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
28/1 Moo 6, Ban Na Dan, Amphoe Khanom, Khanom
1 ซอยเจริญกรุง34 ถ.เจริญกรุง, Bang Rak
919/119, 919/615-621 Jewelry Trade Center Bld., 52nd Fl., Silom Rd.,
ถนนสี่พระยา
281/19-23 3F-6F, NST One Building, Silom Rd, Bangrak
ดาวคะนอง
สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ (ใต้สะพานตากสิน ถนนเจริญนคร)
กรมเจ้าท่า 1278 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์
16 ถ.วิภาวดี-รังสิต ลาดยาว จตุจ
10500
666 Charoen Nakhon Road, Klong San
160/794 Silom Road Suriwong Bangrak
ITF-Tower Building. 1st Floor, Silom Road,
ITF-Tower Building. 4th Floor, Silom Road, Suriyawong Bangrak,
164 Soi Sathorn11 Rd.Sathorn
โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน
โดย โรงเรียนอัสสัมชัญ
"AC ENERGY GUARD"
"AC Energy Guard"
เป็นเพจที่จัดทำโดยกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ มีจุดมุ่งหมายหลักคือปลูกฝังจิตสำนึกการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน
โดยเพจนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ทั้งเรื่องของการประหยัดพลังงานไฟฟ้า สถาณการณ์โลกร้อน สิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลือง เรื่องราวของ Climate Change รวมไปถึงข่าวสารในแวดวงของการนำพลัง

“สานต่อ การรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม “
วันที่ 12 มิถุนายน ชมรม AC Energy Guard ประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
ช่วยกันประหยัดทีละนิด เพื่อชีวิตในภายภาคหน้า

ช่วยกันประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ จะได้มีใช้ได้ตลอดไปนะครับ 😆

ร่วมด้วยช่วยกัน ให้มีน้ำใช้ตลอดไปครับ

แนวปฏิบัติด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ลดการใช้พลังงานช่วยกันประหยัดนะครับ

เพิ่มเติม คณะนักเรียน ทีม AC Energy Guard ได้จัดฐานกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานขึ้น ให้กับนักเรียนและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มาร่วมทำกิจกรรม ตอบปัญหา และรับของรางวัลมากมายในวันกีฬาสี AC Games โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งมีฐานทั้งหมด 3 ฐาน ได้แก่
1. ฐานคาร์บอนฟุทปรินท์
2. ฐานบิงโกประหยัดพลังงาน
3. ฐานย่อยสลายขยะ

คณะนักเรียนทีม AC Energy Guard ได้ร่วมเดินขบวนพาเหรดรณรงค์ประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เนื่องในวันกีฬาสี AC Games โรงเรียนอัสสัมชัญ

คณะนักเรียน ทีม AC Energy Guard ได้จัดฐานกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานขึ้น ให้กับนักเรียนและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มาร่วมทำกิจกรรม ตอบปัญหา และรับของรางวัลมากมายในวันกีฬาสี AC Games โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งมีฐานทั้งหมด 3 ฐาน ได้แก่
1. ฐานคาร์บอนฟรุ๊ตปริ้นท์
2. ฐานบิงโกประหยัดพลังงาน
3. ฐานย่อยสลายขยะ

วันที่ 6 กันยายน 2560 เวลา 8.00 น.
ตัวแทนทีมพลังงาน พูดรณรงค์หน้าเสาธงเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และวิธีช่วยกันแก้ไข
"โลกจะน่าอยู่ ถ้าทุกคนช่วยกันดูแลโลก"

วันที่ 31 สิงหาคม ทีมงาน AC Energy Guard ติดสติ๊กเกอร์รณรงค์การปิดไฟปิดแอร์เมื่อไม่ใช้ ที่ตึก ฟ.ฮีแลร์

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 ทีมคณะกรรมการทำงานเกี่ยวกับพลังงาน ประชุมร่วมกับสภานักเรียน เกี่ยวกับการทำกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ทีมงาน AC Energy Guard ร่วมกันจัดฐานรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานให้กับนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้คุณค่าของพลังงาน

คณะทำงานทีมพลังงาน AC Energy Guard ทั้งคณะครูและนักเรียนจัดฐานรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนในการประหยัดพลังงานและตระหนักในการใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีฐานกิจกรรมทั้งหมด 4 ฐานประกอบด้วย
1. การคำนวณคาร์บอนฟรุ๊ตปริ้น
2.การแยกขยะ
3. นานเท่าไหร่ถึงจะย่อยสลาย
4. บิงโกประหยัดพลังงาน

เมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม ตัวแทนนักเรียนชมรม AC Energy Guard พูดหน้าเสาธงให้ความรู้เกี่ยวกับ รอยเท้าคาร์บอน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
รอยเท้าคาร์บอน หรือ carbon footprint
รอยเท้าคาร์บอน หรือ carbon footprint เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สร้างขึ้นมาจากกิจกรรมนั้นๆ โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกการทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง
รวมถึงการใช้พลังงานในครัวเรือนและยานพาหนะ
ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณเรือกกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่กระบวนได้มาซึ่งวัตถุดิบ การเพาะปลูก การแปรรูป การขนส่ง การใช้งาน รวมไปถึงกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งาน เรียกได้ว่าตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
กินอย่างไร สไตล์ Low carbon
1. กินใกล้บ้าน กินในท้องถิ่น กินร้านค้าใกล้บ้าน กินของที่ผลิตในประเทศ
2. กินให้หมด ช่วยลดขยะ แม่ค้าจ๋าเยอะไป หนูกินไม่หมด ร้านค้าใช้วัตถุดิบมีคุณภาพและไม่เหลือทิ้ง
3. กินตามฤดูกาล เลือกกินผักผลไม้ตามฤดูกาล ร้านค้า ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล เพื่อลดค่าใช้จ่าย
คาร์บอนไดออกไซด์ตัวการใหญ่ทำลายชั้นบรรยากาศ เราจะช่วยได้อย่างไร มาดูกันครับ
1. เลือกใช้หลอดไฟที่มีค่า lumens/watt สูงและมีอายุการใช้งานยาวนาน
2. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สัญลักษณ์ Energy Star
3. เลือกใช้อุปกรณ์การใช้น้ำ ที่มีสัญลักษณ์ watersavers หรือฉลากเขียว
4. เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่าย ลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ใบตอง ไม้ไผ่ ก้านมะพร้าว บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย
5. เพิ่มทางเลือกในการเดินทางแต่ละครั้ง เช่น เดินเท้า จักรยาน รถโดยสารสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ

คณะกรรมการทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและภาระหน้าที่ในการจัดทำเอกสารและการทำกิจกรรมเพื่อเข้าร่วมประเมินโครงการ สถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560

นักเรียนคนใดอยากเป็นเจ้าของเสื้อสวยๆตัวนี้ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราครับ AC ENERGY GUARD รับจำนวนจำกัดแค่ 20 คนเท่านั้นครับ เก่งคอม เก่งเทคโนโลยี ทำกิจกรรม มาไวๆๆเลยครับ
สนใจลงชื่อได้ที่ มิสจันทร์เพ็ญ มิสจารุตา ห้องพักครูเคมี
มิสศศิธร ห้องพักครู ม.4
มิสวิมลรัตน์ มิสนิรมล ห้องพักครู ม.3
ม.สมพงศ์ ห้องพักครู ม.1

China Just Built A 250-Acre Solar Farm Shaped Like A Giant Panda
China Just Built A 250-Acre Solar Farm Shaped Like A Giant Panda Most solar farms align their solar arrays in rows and columns to form a grid. A new solar power plant in Datong, China, however, decided to have a little f

Okja (โอคจ้า): ความไม่โอเคจ้าของอุตสาหกรรมปศุสัตว์
Okja (โอคจ้า): ความไม่โอเคจ้าของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูพุง กับ Okja ภาพยนตร์ในแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Netflix ที่เล่าเรื่องโหดของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ผ่านหมูยักษ์น่าหยิก

Timeline photos
'เทสโก้โลตัส' ประกาศเลิกทิ้งอาหารที่ยังกินได้
ปรุงให้ผู้ด้อยโอกาส - จัดระบบบริจาคคนยากไร้
--------------------------------------
เทสโก้ โลตัส ประกาศเลิกทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ ของสดขายไม่หมด มอบผู้ยากไร้-ใช้ประโยชน์ ตั้งเป้า 23 สาขาหลักก่อนขยายทั่วประเทศ เผยข้อมูลอาหารโลก 1 ใน 3 ถูกทิ้งลงถัง
เทสโก้ โลตัส เปิดตัวโครงการ "กินได้ ไม่ทิ้งกัน" เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2560 โดยประกาศเจตนารมณ์ไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ พร้อมเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายแรกในประเทศไทย ที่จะบริจาคอาหารสดที่จำหน่ายไม่หมดให้ผู้ยากไร้ทุกวัน ตั้งเป้าเริ่มต้นจากไฮเปอร์มาร์เก็ต 23 สาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อนขยายสู่ทุกสาขาใหญ่ทั่วประเทศในอนาคต เพื่อจุดกระแสลดวิกฤติขยะที่มาจากอาหาร (Food Waste) ลดการสูญเสียและทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
มร.จอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส เปิดเผยว่า การตระหนักถึงความรับผิดชอบและบทบาทของเทสโก้ โลตัส ที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่มาจากอาหาร จึงได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำลดการทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ โดยเทสโก้ในสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้นำร่องโครงการ ประกาศว่าภายในปี 2560 ร้านค้าของเทสโก้ในสหราชอาณาจักรทุกสาขาจะไม่ทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ พร้อมบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดให้กับองค์กรการกุศลและกลุ่มชุมชนกว่า 5,000 องค์กร เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารให้กับผู้ยากไร้
"สำหรับประเทศไทย เทสโก้ โลตัส ภูมิใจที่จะเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายแรกที่ประกาศเจตนารมณ์นี้ ภายใต้โครงการกินได้ ไม่ทิ้งกัน พร้อมรณรงค์ให้ลูกค้า พนักงาน และประชาชน ร่วมกันบริโภคอาหารอย่างรับผิดชอบ ทั้งนี้เราได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดให้กับผู้ยากไร้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา อาทิ ข้าวสาร ผักและผลไม้สด อาหารแห้ง ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนเป็นมื้ออาหารให้ผู้ด้อยโอกาสถึงเกือบ 1 ล้านมื้อ" มร. คริสตี้ กล่าว
นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการ แผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาพบว่าการลด Food Waste สามารถบริหารจัดการได้เป็น 3 ช่วง เริ่มตั้งแต่การรับซื้อผลผลิตโดยตรงระหว่างเกษตรกรกับโทสโก้ โลตัส ช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกตรงตามความต้องการของตลาด ลดปัญหาผลผลิตล้นจนกลายเป็นขยะ นอกจากนี้ยังร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างทาง
สำหรับสินค้าภายในร้าน เทสโก้ โลตัส ได้ดูแลการจัดเก็บอาหารสดอย่างเหมาะสมเพื่อลดการสูญเสีย ณ จุดขาย โดยสินค้าที่ไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์แต่ยังรับประทานได้จะถูกนำมาลดราคา ซึ่งนอกจากจะช่วยลดขยะแล้วยังช่วยลดค่าครองชีพของลูกค้าได้อีกด้วย แต่หากยังคงมีสินค้าที่จำหน่ายไม่หมด พนักงานจะทำการคัดแยกสินค้าที่ยังคงอยู่ในสภาพดีเพื่อบริจาคให้กับมูลนิธิและองค์กรการกุศลพันธมิตร เพื่อนำไปปรุงเป็นมื้ออาหารให้กับผู้ยากไร้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้วจะถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพต่อไป
"จากการเริ่มทำมาประมาณ 3 ปี ตอนนี้เรามีพันธมิตรมากมาย อาทิ มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิไทยฮาร์เวสต์ เอสโอเอส หรือออลไทยแท็กซี่ ที่ช่วยส่งต่ออาหารทานได้เหล่านี้ไปถึงมือผู้ยากไร้ หรือแม้แต่มูลนิธิเดอะวอยซ์ ในส่วนของอาหารสัตว์ เป็นต้น โดยเราเชื่อมั่นว่าภายปีนี้จะไม่มีการทิ้งอาหารที่ทานได้ในไฮเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 23 สาขา หลังจากนั้นจึงต่อยอดไปยังสโตร์ใหญ่อีกกว่า 150 แห่ง ให้แต่ละสาขาผนึกกับองค์กรการกุศลบริเวณใกล้เคียง ทำให้ทางสาขามีโอกาสใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้นอีกด้วย" นายชาคริต กล่าว
Mushtaq Ahmed Memon ผู้แทนจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลกในแต่ละปี หรือประมาณ 1.3 พันล้านตัน จะกลายเป็น Food Waste และถูกปล่อยให้เน่าเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3.3 พันล้านตันต่อปี ขณะที่อาหารเหล่านี้มีมูลค่ารวมกันกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเพียงพอนำไปเลี้ยงดูผู้คนที่หิวโหยได้มากถึง 870 ล้านคน ขณะเดียวกันทั่วโลกก็มีผู้คนมากถึง 671 ล้านคนที่มีสภาวะอ้วนเกินไป
"เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ข้อที่ 12.3 ตั้งเป้าลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวให้ได้ภายในปี 2573 ซึ่งความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะทำให้เราสามารถบรรลุตามเป้าหมายนี้ได้" Mushtaq กล่าว
น.ส.วานิช สาวาโย ผู้อำนวยการส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี 2559 พบว่ามีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นราว 27 ล้านตันต่อปี โดยในจำนวนนี้ 64% เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยเศษไม้ใบหญ้า ตลอดจนขยะอาหารที่เกิดจากการทิ้งอาหารที่บริโภคได้แต่เป็นส่วนเกินหรือเสียหาย อย่างไรก็ตาม คพ.ได้มีนโยบายที่สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมาย 12.3 ซึ่งก็ต้องพึ่งพาทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
ผศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงติดอันดับ 3 ของโลก โดยทรัพยากรกว่า 99% อยู่ในมือคนเพียง 1% ซึ่งภาพปัญหาหนึ่งที่คนไทยยังอาจมองไม่เห็น คือเราใช้ชีวิตกินทิ้งกินขว้างอย่างมาก เช่น การไปกินบุฟเฟ่ต์แล้วตักมาเยอะจนเหลือทิ้ง หรือการซื้ออาหารเข้าบ้านจำนวนมากแต่ปล่อยทิ้งเป็นของเสีย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดดีมานด์เทียมและเกิดการผลิตที่มากเกินความจำเป็น ดังนั้นเราจึงอาจมีส่วนช่วยโดยเริ่มจากตัวเองก่อนด้วยการบริโภคอย่างเหมาะสม
--------------------------------------
https://greennews.agency/?p=14380

วันที่ 29 มิถุนายน ตัวแทนครูทีมพลังงานเข้าร่วมในงานพิธีปิด โครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน
กิจกรรมที่ทีมงานจะจัดในปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย
1.สายตรวจพลังงาน
2. ประกวดการลดค่าไฟ
3. ทำโปสเตอร์รณรงค์พลังงาน
4. ปลูกป่า
5. ไปรณรงค์ในพื้นที่ข้างเคียง
6. มีป้ายรณรงค์ตอนพูดหน้าเสาธง
7. จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ค่าน้ำค่าไฟ
8. ทำสติ้กเกอร์ติดที่บันได และห้องต่างๆในโรงเรียน
สนใจสมัครเป็นทีมงาน. อย่ารอช้า

วันนี้ตัวแทนชมรม AC Energy Guard พูดหน้าเสาธงเพื่อเชิญชวนชาวอัสสัมชัญทุกท่านให้ช่วยกันประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน โดยทำได้ง่ายๆดังนี้ครับ
1. ปิดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำหลังเลิกงานหรือวันหยุด
2. ปิดไฟ ในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน หรือไม่อยู่ในห้องเรียน
3. คอมพิวเตอร์ ปิดเครื่องหลังเลิกงานพร้อมทั้งถอดปลั๊กออกด้วย
4. ปิดจอคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง เนื่องจากจอภาพใช้ไฟฟ้ากว่าร้อยละ 70 ของคอมพิวเตอร์
5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
6. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาเกินไป จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก
7. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่า กระดาษแต่ละแผ่นย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป
8. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟ ตรงบริเวณใกล้สวิทช์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว
9. ให้ความร่วมมือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่รณรงค์ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน

ประสบการณ์จากการเรียนรู้ มาร่วมงานกันนะครับ
มันเปลืองน้ำมัน อย่าขับไกล

ถ้าคุณมีพลังบวกกับ รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์พลังงาน เชิญคุณมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับทีมเรา AC ENERGY GUARD แค่คุณถ่ายรูปสวย. หรือ เก่งคอม หรือ ออกแบบ หรือ ทำกิจกรรม มาเลยๆๆๆๆๆๆ
The Edible Plastic Bottle

The World's Snowiest Place Is Starting to Melt
The World's Snowiest Place Is Starting to Melt The region has long received up to 125 feet (38 meters) of snow a year.
Wins for the planet - March 2017
This Eco Food Wrap Is Perfect For People Who Love The Environment

เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน ๒๔๖๐
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะครู นักเรียน AC Energy Guard และ AC World Care

Timeline photos
เปิดรายงานเทรนด์โลกเลิกใช้ ‘ถ่านหิน’
2 ปี ปลดระวาง 120 โรง – ‘แบงก์อินเดีย’ ไม่ปล่อยกู้
--------------------------------------
3 องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมยักษ์ใหญ่ เปิดรายงานเผยผลสำรวจ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ทั่วโลก พบเทรนด์ก่อสร้างลดลง 62% ระบุเพียง 2 ปี มีโรงไฟฟ้าปลดระวางถ่านหินแล้วกว่า 64 กิกะวัตต์
เซียร่าคลับ (Sierra Club) กรีนพีซ (Greenpeace) และโคลสวอร์ม (CoalSwarm) 3 องค์กรใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกันเปิดเผยผลสำรวจประจำปีฉบับที่ 3 ว่าด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก ซึ่งอยู่ภายในรายงาน “Boom and Bust 2017: Tracking The Global Coal Plant Pipeline” เมื่อวันที่ 27 มี.ค.2560
ตอนหนึ่งของรายงาน ระบุว่า สถานการณ์การใช้เชื้อเพลิงถ่านหินของโลกกำลังลดลง โดยพบว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างลดลง 62% กิจกรรมก่อนดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกลดลง 48% และโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่ได้รับอนุญาตในประเทศจีนมีจำนวนลดลงถึง 85%
นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิตรวมกันกว่า 64 กิกะวัตต์ หรือเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ถึง 120 โรง โดยส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งการชะลอโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก และการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินเก่าที่มีมากขึ้น จะนำไปสู่โอกาสที่เป็นไปได้ของการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส เทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนามีปริมาณลดลงอย่างมากในปี 2559 อันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการจำกัดการขยายตัวโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ของรัฐบาลจีน และการตัดงบประมาณสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของธนาคารอินเดีย ส่งผลให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศจีนและอินเดียต้องหยุดชะงักกว่า 100 โครงการ
เท็ด เนซ ผู้อำนวยการโคลสวอร์ม กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องปกติที่จะเห็นการหยุดชะงักโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายพื้นที่ แต่รัฐบาลกลางของจีนและธนาคารในอินเดียต่างตระหนักแล้วว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มากเกินไปนั้นทำให้สูญเสียทรัพยากรอย่างมาก ขณะเดียวกันการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดจะสร้างผลดีด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางสภาพภูมิอากาศ และการจ้างงาน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ไม่อาจหยุดลงได้
นิโคล จิโอ ผู้ประสานงานรณรงค์อาวุโสฝ่ายงานรณรงค์ด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ เซียร่าคลับ กล่าวว่า การขยายตัวของพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และการลดลงของแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าถ่านหินไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ยังทำให้เห็นว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นที่ต้องการของนักลงทุน แม้จะมีวาทะของโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถยุติแนวโน้มขาลงของถ่านหินในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกได้
ด้าน ลอรี มิลลิเวียทา ผู้ประสานงานรณรงค์อาวุโสด้านถ่านหินและมลพิษทางอากาศ กรีนพีซ กล่าวว่า ในปี 2559 จีนได้หยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ หลังจากที่มีการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน และมีพลังงานเพิ่มเติมจากแหล่งเชื้อเพลิงอื่นที่ไม่ใช่ฟอสซิลตั้งแต่ปี 2556 ขณะที่ประเทศเบลเยียม และมณฑลออนแทริโอ ประเทศแคนาดานั้น ไม่มีไฟฟ้าที่ผลิตมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว ส่วนประเทศในกลุ่ม G8 ก็ได้ประกาศขีดเส้นตายที่จะลดละเลิกถ่านหิน
อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ยังได้ระบุเพิ่มเติมถึงประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เวียดนาม และตุรกี ว่าเป็นประเทศที่ยังห่างไกลจากการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ และประเทศดังกล่าวยังเดินหน้าผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับดังกล่าวได้ทางhttp://endcoal.org/wp-content/uploads/2017/03/BoomBust2017-English-Final.pdf
--------------------------------------
https://greennews.agency/?p=13670

วันนี้ 20.30 - 21.30 น. ร่วมกันปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน โครงการ 60+ Earth Hour 2017
วันนี้ 20.30 - 21.30 น. ร่วมกันปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน โครงการ 60+ Earth Hour 2017

นาซาเผยน้ำแข็งในอาร์กติกและแอนตาร์กติกามีระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปี!
นาซาเผยน้ำแข็งในอาร์กติกและแอนตาร์กติกามีระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปี! เป็นที่ชัดเจนว่าทุกวันนี้สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการทางธรรมชาติและด้วยน้ำมือมนุษย์ แต่ดูเหมือนว่าปัจจัยส่วนหลังจะมีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันมากกว่า ซึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เห็นชัดสุดคงจะหนีไม่พ้นภาวะโลกร้อน

France becomes first country to ban all plastic cups and plates to save environment
France becomes first country to ban all plastic cups and plates to save environment France has passed a new law to ensure all plastic cups, cutlery and plates can be composted and are made of biologically-sourced materials. The law, which comes into effect in 2020, is part of the Energy Transition for Green Growth – an ambitious plan that aims to allow France to make a more effecti...
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
เว็บไซต์
ที่อยู่
Bangkok
10500
77 Nakornsawan Rd. Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100
Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife through outreach and education. Thank you for the support!
IGES Regional Centre, 604, SG Tower, 6th Floor, 161/1 Soi Mahadlek Luang 3, Rajdamri Rd, Patumwan
Bangkok, 10330
Network for Integrated Planning and Sustainable Development Strategies in Asia&Pacific
Bangkok, 10110
The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business and Biodiversity platform.
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ซอย
Bangkok, 10220
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพจของคนรักษ์โลกรักษ์เพื่อนร่วมโลก
77 Nakornsawan Rd. Wat Sommanat
Bangkok, 10100
Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FREC) Bangkok is home to eight non-governmental organizations that run programs fo...
Chulalongkorn University
Bangkok, 10330
เพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Action For Climate Empowerment Thailand, National Focal Point, 49 Rama 6 Soi 30, Phayathai
Bangkok, 10400
Action for Climate Empowerment Thailand National Focal Point under UNFCCC
ชั้น 3 อาคารจุลจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Bangkok, 10330
ชีวิตสัมพันธ์ มีคน มีต้นไม้ มีสัตว์ป่า อนุรักษ์ คือ หน้าที่ของทุกคน :)
357/16 ซอยนวมินทร์ 111, แขวงนวมินทร์, เขตบึงกุ่ม
Bangkok, 10230
28 ปีแห่งการร่วมช่วยชีวิตสัตว์ป่า สัตว์ทะเลและผืนป่าไทย 28 years of rescuing Thai wild animals
สุขุมวิท 50 แยกสวัสดี 4
Bangkok, 10260
Friends of BCS work hand in hand to conserve and restore natural habitats such as mangroves, seagrass meadows, and salt marshes in order to grow ‘forests in the sea’ that provide a...
10/109 Floor 8, Trendy Office Building, Sukhumvit Soi 13, Wattana, Klong Toei Nu
Bangkok, 10110
SLP Environmental is an award winning ASEAN Environmental Consultancy providing Environmental, Health & Safety Management & Assessment Services across Asia