Greenpeace Thailand
ตำแหน่งใกล้เคียง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ, กรุงเทพมหานคร
พหลโยธิน
ปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมด้วยสันติวิธี
กฎ กติกา การโพสต์ข้อความและแสดงความคิดเห็นบนเฟสบุ๊ค
1. การโพสต์เขียนข้อความหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ขอความกรุณาให้เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น และการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น โดยไม่มีข้อความหมิ่นเหม่ พาดพิง หรือกระทบต่อบุคคลอื่น รวมถึงสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
2. กรุณาโพสต์ข้อความของท่านโดยใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด เพ้อเ
ชวนร่วมงานครบรอบการต่อสู้ 5 ปี ของคนอมก๋อย “โลกเย็นที่เป็นธรรม” 5 ปีแห่งการต่อสู้ของคนอมก๋อย สู่ข้อท้าทายในวิกฤตโลกเดือด
เมื่อการไม่สยบยอมให้เกิดเหมืองถ่านหินของหมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้เป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชุมชนผู้นำนักปกป้องสิทธิกว่า 5 ปี ที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจนายทุนให้เข้ามาทำลายทรัพยากรธรรมชาติและลดทอนคุณค่าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองได้อีกต่อไปแล้วเจอกัน!
🗓️ วันที่ 7 ธันวาคม 2567
⏰ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
📍 คริสตจักรกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
ในงานนี้จะเปิดเผยให้รู้ว่าอะไรคือความท้าทายที่พี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองต้องเผชิญ ใครคือผู้ถือครองอำนาจที่สร้างวาทะกรรมและโยนความผิดว่าโลกเดือดเกิดจากฝีมือของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ในขณะที่ระบบธรรมาภิบาลโลก และการเจรจาพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพกลับล้มเหลวที่จะปกป้องวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปาะบาง ผลจากความอยุติธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเป็นระบบจากการเพิกเฉยของรัฐและบริษัทที่มีอำนาจ คุกคามสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชนโดยตรงจนก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนร้ายแรง
การต่อสู้ของพี่น้อง อมก๋อยเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ขบวนการต่อสู้โดยการนำของชุมชนจะต้องถูกเล่าขานเป็นตำนานให้รุ่นต่อรุ่นได้ภูมิใจว่านี่คือการไม่สยบยอมต่อกลุ่มผู้ถือครองอำนาจ เพราะประชาชนต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
📼 กิจกรรมนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง >> Greenpeace Thailand กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์ และ R2S
#ปลดระวางถ่านหิน #นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
💰 การเก็บภาษีเล็กน้อยจากบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซรายใหญ่สุดแค่ 7 แห่ง สามารถทำให้กองทุนเพื่อการชดเชยค่าความสูญเสียและความเสียหายขององค์การสหประชาชาติเติบโตขึ้นมากว่า 2,000 % ⛽🔥🌎
ขณะที่การเจรจา COP29 ในปีนี้มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการสนับสนุนเงินเข้าสู่กองทุน Loss and Damage Fund รวมทั้งเงื่อนไข กฎเกณฑ์ที่ว่า ใครจะเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน และกฎเกณฑ์การเข้าถึงเงินทุนนี้ กรีนพีซ และ Stamp Out Poverty จึงเผยแพร่ผลวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นว่าการเก็บภาษีเพียงเล็กน้อยจากบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซรายใหญ่สุดเพียง 7 แห่ง สามารถทำให้กองทุนเพื่อการชดเชยค่าความสูญเสียและความเสียหายขององค์การสหประชาชาติเติบโตขึ้นมากว่า 2,000 % และสามารถช่วยเหลือค่าใช้จ่ายหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วได้
🖊️ มีไฮไลท์สำคัญของผลวิเคราะห์ ดังนี้
🔸การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิล ของ ExxonMobil ในปี 2566 สามารถจ่ายค่าความเสียหายจากพายุเฮอริเคนเบอริล ได้ถึงครึ่งหนึ่งจากค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
🔸การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิลจาก เชลล์ (Shell) ในปี 2566 สามารถจ่ายค่าความเสียหายจากพายุเฮอริเคนคาริน่า ได้เกือบทั้งหมด
🔸การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิลจากโททาลเอนเนอร์ยีส์ (TotalEnergies) ในปี 2566 สามารถจ่ายความเสียหายจากน้ำท่วมในเคนยาปี 2567 ได้มากถึง 30 ครั้ง
✊ กรีนพีซ สากล และ Stamp Out Poverty เรียกร้องให้มีการเก็บภาษีระยะยาวจากอุตสาหกรรมขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเพิ่มอัตราภาษีทุกปี รวมกับภาษีจากกำไรส่วนเกิน และการจัดเก็บภาษีอื่น ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://act.gp/TaxBigOil-Grow-LossAndDamageFund
🌏 จับประเด็นน่าสนใจหลังตัวแทนรัฐบาลไทยไป COP29 💰🌳
การแถลงจุดยืนของไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
🔸การย้ำเตือนกับผู้เข้าร่วมประชุมว่า แม้ว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโลกเดือดมากที่สุดแม้ว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 1% ของทั้งโลก อย่างไรก็ตาม ไทยจะมุ่งมั่นเดินตามแผนเพื่อนำไทยสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่า 270 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2035 ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนการลงทุนสีเขียว รวมถึงเร่งเพิ่มการดูดกลับของภาคป่าไม้ให้ได้ 120 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2037
🔸เน้นย้ำถึงความสำคัญที่การประชุมครั้งนี้จะได้ข้อตกลงในการระดมเงินทุนตามเป้าหมายกองทุนสนับสนุนด้านการเงิน หรือ the New Collective Quantified Goal : NCQG โดยตกลงที่จะเพิ่มจำนวนเงินในกองทุนสาธารณะเพื่อเป็นทุนสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัว รับมือ และยังเป็นเงินชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหาย
สิ่งที่น่าจับตามองในการแถลงจุดยืนเกี่ยวกับการกู้วิกฤตโลกเดือดครั้งนี้ คือ แผนการดำเนินการของไทยเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตที่เครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมจำนวนมากในไทยต่างตั้งคำถามว่าจะเป็นการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้จริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงการฟอกเขียวให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศ เพราะที่ผ่านมา นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลไทยยังคงเอื้อประโยชน์ให้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมฟอสซิล อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติเดินหน้าก่อวิกฤตโลกเดือดผ่านการฟอกเขียว ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
ยังมีประเด็นเกี่ยวกับกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย ที่ไทยเองก็คาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ว่าจะมีผลลัพธ์ด้านเป้าหมายทางการเงินในกองทุนเพื่อนำไปฟื้นฟูประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ซึ่งหลังจากจบการประชุมเจรจาแล้ว การแถลงข่าวผลการประชุม COP29 จะเกิดขึ้น 4 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะชี้ชัดว่าทั่วโลกจะพร้อมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อต่อกรกับวิกฤตโลกเดือดอย่างจริงจังและจริงใจหรือไม่
จับตาการประชุม COP29 ร่วมกับกรีนพีซ >> https://act.gp/Greenpeace-COP29
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่โปร่งใสและเปิดเผยต่อสาธารณะในการต่อกรกับฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
การที่ผืนป่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นและในแปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีสัดส่วนของจุดความร้อนเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (corn traceability) ของกลุ่มบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมนั้นมีความโปร่งใสตรวจสอบได้และเปิดให้สาธารณะชนเข้าถึงข้อมูลมากน้อยเพียงใด
ในการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ฟ้าใสอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กรีนพีซ ประเทศไทยมีข้อเสนอเชิงนโยบายดังต่อไปนี้
1. กำหนดให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับอย่างเคร่งครัดและโปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทานในประเทศและข้ามพรมแดนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและเนื้อสัตว์ โดยที่สาธารณะและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับได้
2. กำหนดให้มีการเอาผิดบริษัทอุตสาหกรรมผู้ก่อมลพิษหากในห่วงโซ่อุปทานของตนเชื่อมโยงกับการก่อมลพิษทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและรวมถึงธุรกิจข้ามแดนที่ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลกลับมายังประเทศไทย ซึ่งมาตรการเอาผิดผู้ก่อมลพิษนั้นไม่ควรจำกัดที่เกษตรกร หรือชุมชนผู้พึ่งพิงป่าผู้ใช้ไฟ แต่ควรเป็นการเอาผิดบริษัทอุตสาหกรรมที่ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต้นทางวัตถุดิบในพื้นที่แปลงเกษตรระดับอุตสาหกรรม
3. กำหนดมาตรการเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางวิถีชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตจากฝุ่นพิษที่มีที่มาจากการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและธุรกิจข้ามแดน โดยบริษัทอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการก่อฝุ่นพิษจำเป็นจะต้องเป็นผู้ชดใช้และเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
4. ลดพื้นที่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ เพราะนอกจากผลตอบแทนจะต่ำกว่าการผลิตรูปแบบอื่นหลายเท่าตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นวงกว้าง โดยที่ผู้ได้ประโยชน์จากระบบการผลิตเหล่านี้กลับไม่ใช่เกษตรกรรายย่อย แต่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
5. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาคภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนและเกษตรกรรมยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นธรรมระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับผู้ประกอบการ
อ่านจดหมายเปิดผนึกฉบับเต็ม >> https://act.gp/4eDSdBd
สุดสัปดาห์นี้ ใครยังไม่มีแพลนไปไหน ไปดูนิทรรศการกันไหม?🙆🏻♀️💖
พบกับนิทรรศการที่จะทำให้คุณรู้ว่า เนื้อสัตว์ น้ำท่วม ฝุ่นพิษภาคเหนือและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกี่ยวโยงกันอย่างไร
พิเศษ! ทุกเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่ 2 พ.ย. - 15 ธ.ค. 67 ชมงานนิทรรศการ “เนื้อสัตว์ น้ำท่วม ฝุ่นพิษภาคเหนือ วิกฤตโลกเดือด เกี่ยวกันอย่างไร” แบบมีไกด์พาชมให้คุณเข้าใจประเด็นนี้แบบสนุกๆลงลึกทุกประเด็น พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องอุตสาหกรรมอาหารและภาวะโลกเดือด
วันละ 2 รอบต่อวัน
รอบที่ 1 : 14.00-15.00 น.
รอบที่ 2 : 15.00-16.00 น.
📌 BACC pop⋅up, ห้องนิทรรศการ 2
ชั้น 3 แมด, มันมัน ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ลงทะเบียนได้ที่ >> https://forms.gle/AdjuS8oXR5p9CxNo6
สัปดาห์แรกผ่านไป ความคืบหน้า COP29 เป็นยังไงบ้าง 🤔 วันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังกัน
เราขอสรุปแยกเป็น 3 ประเด็น คือ
🔸ประเด็นกองทุนด้านสภาพภูมิอากาศและความรับผิดชอบของผู้ก่อวิกฤตโลกเดือด
🔸ประเด็นการปลดระวางเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องมาจากการประชุม COP28
🔸ประเด็นการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
อ่านรายละเอียดได้ตามภาพด้านล่าง 🌳
อย่างไรก็ตาม การประชุมในสัปดาห์แรกเป็นไปค่อนข้างยากลำบากเพราะในปีนี้โลกของเราเต็มไปด้วยประเด็นความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นสงครามหรือประเด็นความขัดแย้งด้านการเมือง อย่างไรก็ตามเราจะยังจับตาการประชุมครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ ปัจจุบันเราเห็นภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น และสำหรับบางคนมันกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวและอีกหลายคนต้องกลายเป็นผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินถล่ม คลื่นความร้อนรุนแรง และพายุไต้ฝุ่น
ร่วมจับตาการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศโลก COP29 >> https://act.gp/Greenpeace-COP29
A new documentary features firsthand accounts from affected communities, sharing their personal experiences and struggles and impacts on livelihood. It tells a story of the devastating impact of years
“ป้าจะพูดความจริงเพื่อสู้กับกลุ่มคนที่เห็นแก่ตัว และทำลายสิ่งแวดล้อม และอ้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อเอาเปรียบประชาชนด้วยกัน”
รอยยิ้มของพยุง มีสบาย หรือเรารู้จักกันในนามว่า “ป้าพยุง” ผู้เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่ได้เริ่มเดินทางต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมมายาวนานกว่า 30 ปี เธอได้เติบโตและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวที่ตำบลบ้านเเลง อ.เมือง จ.ระยอง ที่ล้อมรอบไปด้วยอุตสาหกรรมหนักและโรงไฟฟ้าฟอสซิลที่ดูเหมือนจะเป็นชะตากรรมที่คนระยองจะต้องอยู่ท่ามกลางมลพิษที่หนักขึ้นทุกวัน การเดินทางเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีของป้าพยุงจึงนำพาเรามาพบเธอในครั้งนี้
อ่านบทความรัฐบาลต้องหยุดอ้างความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อความมั่งคั่งของคนแค่บางกลุ่ม >> https://act.gp/EnergyJustice-Interview
#คนและสังคม #ค่าไฟ #เชื้อเพลิงฟอสซิล #ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
COP29 กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์🔥 อย่างก๊าซมีเทน
ผ่านไปแล้วครึ่งทางกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ที่เมืองบากู อาเซอร์ไบจาน ตลอดปีนี้โลกของเราต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงทั้งจากพายุเฮอร์ริเคนไปจนถึงคลื่นความร้อน ภัยแล้งและน้ำท่วมรุนแรงฉับพลัน เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเช่นนี้กำลังกระทบชุมชนท้องถิ่น วิถีชีวิตและชีวิตประชาชนทั่วโลก ดังนั้นการลงมือกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศในระดับโลกนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมาก
ผู้นำระดับโลกกำลังรวมตัวที่ COP29 ในขณะเดียวกันตัวแทนจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็ไปรวมตัวกันมากเป็นปรากฎการณ์ แต่เรายังมีความหวังทางสภาพภูมิอากาศหากผู้นำระดับโลกตกลงร่วมกันในการมีเจตนารมณ์และลงมือเปลี่ยนแปลงเพื่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเรายังไม่เห็นการลงมืออย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ต้นทางของบริษัทอุตสาหกรรม
ความหวังของการต่อกรกับวิกฤตโลกเดือดคือ การลดการปล่อยก๊าซมีเทนของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม โดยมีเทนนั้นเป็นก๊าซที่ก่อความร้อนได้เร็วกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า รายงานของกรีนพีซ นอร์ดิก คาดการณ์ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในปริมาณกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม อุณหภูมิโลกสามารถลดลงได้ 0.12 องศาเซลเซียสภายในปี 2593 การลดการผลิตของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนมลงจะช่วยลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลงได้ร้อยละ 37
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องผลักดัน สนับสนุนการลงทุน และมาตรการที่นำเราไปสู่เส้นทางการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ เส้นทางที่จะช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดในภาคอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร โดยการลดการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเกินจำเป็น รัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือเกษตรกรและแรงงานในการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมจะเป็นตัวแปรสำคัญที่กู้โลกเดือด และเป็นก้าวสำคัญที่เป็นความหวังที่เราต้องการเห็นจากผู้นำระดับโลกที่ COP29
------------
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซมีเทน จะกู้โลกเดือดได้อย่างไร
👉 https://act.gp/methane-report-briefing
#ภาวะโลกเดือด #วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
English version below.
งานเป็นรูปแบบสองภาษา ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ !!!
ชวนรับชม WEBINAR (Online) ในหัวข้อชะตากรรมระยอง: ชีวิตผู้คนกับศูนย์กลางเชื้อเพลิงฟอสซิลของปรเทศไทย
กรีนพีซ ประเทศไทยร่วมกับ CEED - Center for Energy, Ecology and Development เปิดตัวสารคดีเล่าเรื่องราวชะตากรรมชีวิตผู้คนท่ามกลางเชื่อเพลิงฟอสซิลโดยนำเสนอเรื่องราวจากประสบการณ์ตรงของชุมชนที่ได้รับผลกระทบต่อวิถีชีวิต ผลกระทบต่อสุขภาพ อันส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนในด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ส่งผลมายาวนานหลายปี
🗓️ 19 พ.ย. 2567
⏰ 14.00 น. เป็นต้นไป
🎦 ZOOM Webinar Online
ลงทะเบียนรับชมได้ที่นี่ https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_6wkWbHTxS1eap5F7lwAcsQ
------------------------------------------
WEBINAR (Online) : Tragedy in Rayong: Life in Thailand’s fossil fuel hub
Greenpeace Thailand, in collaboration with the Center for Energy, Ecology, and Development (CEED), has launched a documentary highlighting the struggles of people living amidst the fossil fuel industry. The film showcases firsthand accounts from communities deeply affected in terms of their way of life, health, and livelihoods. These impacts have led to a prolonged human rights crisis, particularly concerning economic, social, and cultural rights.
🗓️ 19 November 2024
⏰2.00 - 3.30 PM.
🌐 Bilingual; TH - ENG
via Zoom. Please register here: https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_6wkWbHTxS1eap5F7lwAcsQ
#ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
ที่ผ่านมาในการประชุม COP แต่ละครั้งจะโฟกัสไปแต่ละประเด็นแตกต่างกันออกไป โดยประเทศเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนดประเด็นในการเจรจา
การประชุม COP29 นี้ จะเป็นการประชุมในประเด็น ‘การเงิน’ เป็นหลัก ซึ่งข้อเจรจาตกลงจะต้องไปให้ถึงเป้าหมายการเงินด้านสภาพภูมิอากาศ หรือในชื่อแผน the New Collective Quantified Goal (NCQG)
เรามาดูกันว่าแล้วกรีนพีซอยากเห็นผลลัพธ์แบบไหนจากการประชุมนี้ ที่จะช่วยกู้วิกฤตโลกเดือดได้จริง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม COP29 ครั้งนี้
https://act.gp/WhatWe-should-know-COP29
#วิกฤตสภาพภูมิอากาศ #ภาวะโลกเดือด
สุดช็อก! กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายลงไปจำนวนมาก 😱❄️☀️🌡️
โปรเจคนี้เป็นการถ่ายภาพเปรียบเทียบกับภาพในอดีตจากคลังในสถาบันขั้วโลกของนอร์เวย์ (the Norwegian Polar Institutes) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วทำให้เห็นถึงปริมาณที่น้ำแข็งละลายลงไปมาก
ภาพชุดนี้ถูกถ่ายโดย ช่างภาพ Christian Åslund ชาวสวีเดน โดยเริ่มร่วมงานกับเราตั้งแต่ปี 2541 ในภูมิภาคอาร์กติกและแอนตาร์กติก นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกันในภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมในอีกหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น ฟูกุชิมะ ญี่ปุ่น ยูเครน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน
“ผมมีโอกาสถ่ายภาพธารน้ำแข็งหลากหลายแห่ง ทำให้เราเห็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแบบเดียวกันนั่นคือกำแพงธารน้ำแข็งเหล่านี้หายไปทั้งหมดแล้ว และธารน้ำแข็งก็ละลายจนไม่เหลืออะไรเลย ภาพถ่ายเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสภาพภูมิอากาศโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง อาร์กติกคือตัวชี้วัดด้านสภาพภูมิอากาศของเรา อีกทั้งยังเป็นจุดที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตในมหาสมุทรมาบรรจบกัน อีกทั้งยังเป็นที่ที่เราจะมองเห็นผลกระทบของวิกฤตต่าง ๆ เป็นที่แรกและชัดเจนที่สุด”
© Christian Åslund /Norwegian Polar Institute / Greenpeace
เพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเจคภาพชุดนี้ https://act.gp/Arctic-Glaciers-images
----------
ร่วมจับตาการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศโลก COP29 >> https://act.gp/Greenpeace-COP29
“ไม่มีสิ่งใด ที่ถูกทิ้ง แล้วหายไปถาวร"
เมื่อเราทิ้งอะไรไป มันจะยังคงอยู่ที่ไหนสักแห่ง และถ้ายิ่งเป็นพลาสติกมันจะยังคงอยู่ไปอีกหลายร้อยปี! แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ บริษัทที่สร้างมลพิษกำลังวางแผนเพิ่มการผลิตพลาสติกขึ้นอีก 3 เท่าภายในปี พ.ศ.2593!
🛑 ถึงเวลาแล้วที่เราต้อง “ปิดก๊อกวงจรมลพิษพลาสติกนี้” 🚰
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลก ที่เกาหลีใต้ พวกเราต้องเรียกร้องให้ตัวแทนเจรจาแต่ละประเทศ เป็นผู้นำในการผลักดันสนธิสัญญาที่เข้มแข็ง เพื่อลดเพดานการผลิตพลาสติกและยุติมลพิษพลาสติก เพื่อคน เพื่อโลก และเพื่อสภาพภูมิอากาศของเรา
ร่วมส่งเสียงให้ถึงเวทีการเจรจานี้ไปกับเรา!
https://www.greenpeace.org/PlasticsTreaty
-
🎨.tv
160 องค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐบาลไทยสนับสนุน“สนธิสัญญาพลาสติกโลก” ควบคุมการผลิต-ยุติมลพิษพลาสติกตลอดวงจรชีวิต
โค้งสุดท้ายสำหรับเวทีเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลกครั้งที่ 5 (Global Plastic Treaty - INC5) กำลังจะเกิดขึ้น ในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) การเจรจาครั้งนี้ถือได้ว่าสำคัญมาก เพราะเป็นการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตราการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะมีการประชุมและเจรจาครั้งสุดท้าย เพื่อให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลก ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกในระดับโลกร่วมกันของทุกประเทศ
พวกเราในฐานะภาคประชาสังคมจึงจำเป็นต้องจับตามองการเจรจา และส่งเสียงไปถึงคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาลให้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ โดยการ
1) ให้ความสำคัญกับมาตรการการลดการผลิตพลาสติก
2) การลดและยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายบางชนิดในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนานาชนิด
3) มาตรการด้านความโปร่งใสในการให้ข้อมูลแก่สาธารณะ
4) การกำหนดเป้าหมายเพื่อลดหรือยกเลิกการผลิตบรรจุภัณฑ์บางประเภทที่หลีกเลี่ยงได้
5) การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบรองรับการใช้ซ้ำและการเติม
มลพิษจากพลาสติกตลอดวงจรชีวิต ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิและสุขภาพของมนุษย์ การลดการผลิตพลาสติกจึงเป็นทางออกที่สำคัญต่อการยุติมลพิษพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง
ร่วมเป็นอีกหนึ่งเสียงให้รัฐบาลไทยและทั่วโลก จัดทำสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิและสุขภาพของมนุษย์เป็นหลัก อนาคตปลอดมลพิษพลาสติกจะเป็นจริงได้ ต้องเริ่มจากการลดการผลิตพลาสติกให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนและยกเลิกการใช้พลาสติกที่เป็นปัญหาและไม่จำเป็น รวมไปถึงสารเคมีอันตราย
อ่านเพิ่มเติม >> https://act.gp/4fJMfzF
แถลงการณ์ >> https://act.gp/4hO6fTC
#ยุติมลพิษพลาสติก #ลดพลาสติกลดโลกเดือด
โค้งสุดท้ายสำหรับเวทีเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลกครั้งที่ 5 (Global Plastic Treaty - INC5) กำลังจะเกิดขึ้น ในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) การเจรจาครั้งนี้ถือได้ว่าสำคัญมาก เพราะเป็นการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตราการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล จะมีการประชุมและเจรจาครั้งสุดท้าย เพื่อให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลก ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกในระดับโลกร่วมกันของทุกประเทศ
พวกเราในฐานะภาคประชาสังคมจึงจำเป็นต้องจับตามองการเจรจา และส่งเสียงไปถึงคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาลให้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ โดยการ
1) ให้ความสำคัญกับมาตรการการลดการผลิตพลาสติก
2) การลดและยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายบางชนิดในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนานาชนิด
3) มาตรการด้านความโปร่งใสในการให้ข้อมูลแก่สาธารณะ
4) การกำหนดเป้าหมายเพื่อลดหรือยกเลิกการผลิตบรรจุภัณฑ์บางประเภทที่หลีกเลี่ยงได้
5) การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบรองรับการใช้ซ้ำและการเติม
มลพิษจากพลาสติกตลอดวงจรชีวิต ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิและสุขภาพของมนุษย์ การลดการผลิตพลาสติกจึงเป็นทางออกที่สำคัญต่อการยุติมลพิษพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง
ร่วมเป็นอีกหนึ่งเสียงให้รัฐบาลไทยและทั่วโลก จัดทำสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิและสุขภาพของมนุษย์เป็นหลัก อนาคตปลอดมลพิษพลาสติกจะเป็นจริงได้ ต้องเริ่มจากการลดการผลิตพลาสติกให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนและยกเลิกการใช้พลาสติกที่เป็นปัญหาและไม่จำเป็น รวมไปถึงสารเคมีอันตราย
มาร่วมยุติมลพิษพลาสติกกับเรา!
#ยุติมลพิษพลาสติก #ลดพลาสติกลดโลกเดือด
ปี 2567 เป็นอีกปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติรุนแรงจากภาวะโลกเดือด พายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมรุนแรงฉับพลันเป็นสัญญาณให้โลกจะต้องกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน
การประชุม COP29 ที่เมืองบากู อาเซอร์ไบจาน จะต้องเป็นการประชุมที่บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายทางการเงินในกองทุนเพื่อชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหาย เพื่อเป็นกองทุนรับมือและสนับสนุนให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ก่อมลพิษน้อยที่สุดแต่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้ฟื้นฟูและยังเป็นทุนให้กับกลุ่มประเทศเหล่านี้ในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่า
📣 กรีนพีซมีข้อเรียกร้องในการประชุมครั้งนี้
🟢 เป้าหมายเงินสนับสนุนในกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย โดยตกลงที่จะเพิ่มจำนวนเงินในกองทุนสาธารณะเพื่อเป็นทุนสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัว รับมือ และยังเป็นเงินชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายที่อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งผู้ก่อมลพิษหลักเหล่านี้จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน
🟢 เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด นำข้อตกลงจาก COP28 เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาปฏิบัติ รวมทั้งยังต้องรวมแผนการดำเนินงานของแต่ละประเทศที่จะต้องดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันกับแผนการชะลอไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2573 และ 2578
🟢 ปฏิเสธการฟอกเขียว ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ไร้ประสิทธิภาพของการชดเชยคาร์บอนและตลาดคาร์บอน เพื่อปกป้องและปล่อยให้ระบบนิเวศที่กักเก็บคาร์บอนกลับมามีความสมบูรณ์
ติดตามความคืบหน้าของการประชุม COP29 ไปพร้อมกับเราและร่วมเรียกร้องให้ผู้นำโลกต้องมุ่งมั่นกู้วิกฤตโลกเดือดอย่างจริงจัง ✊🌏🌡️🔥
🌡️ https://act.gp/Greenpeace-COP29
#ภาวะโลกเดือด
พวกเราต้องการ สนธิสัญญาพลาสติกที่มุ่งมั่น ที่มีผลบังคับใช้ และลดการผลิตพลาสติกอย่างจริงจัง! 💪
อีกไม่กี่สัปดาห์ คณะผู้แทนเจรจาแต่ละประเทศจะมาร่วมตัวกันที่ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในเวทีเจรจารอบที่ 5 ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายของ #สนธิสัญญาพลาสติกโลก
📣 นี่คือเหตุผลว่าทำไมในวันที่ 24 พฤศจิกายน เราจึงต้องแสดงพลังจากผู้คนทั่วโลกที่สนับสนุนให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง เพื่อยุติมลพิษพลาสติก!
พวกเราเรียกร้องให้คณะผู้แทนเจรจาแต่ละประเทศเป็นผู้นำผลักดันสนธิสัญญาที่จะ
✅ ลดเพดานการผลิตพลาสติกลง!
✅ สนับสนุนลงทุนในระบบใช้ซ้ำและระบบเติม!
✅ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตมลพิษพลาสติก!
ร่วมส่งเสียงไปกับเราให้ถึงเวทีการเจรจานี้!
https://www.greenpeace.org/PlasticsTreaty
🎨.tv
#บทความนี้เขียนจากเนื้อหาในงาน “โค้งสุดท้ายสู่สนธิสัญญาพลาสติกโลก: การผลิตและบริโภคพลาสติกที่ยั่งยืนของไทยควรเป็นอย่างไร?” EP.2สะท้อนความพยายามของไทยในการจัดทำสนธิสัญญาพลาสติกโลก ซึ่งมีเป้าหมายลดผลกระทบของพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอหลายมุมมองและแผนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การรีไซเคิล และการใช้ซ้ำ (ด้านล่างเป็นการสรุปสั้นๆ สามารถอ่านเนื้อหาเต็มได้ในบทความ)
#ข้อเสนอหลักของภาคประชาสังคม
1. ลดการผลิตพลาสติกให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนต่อการบริโภคและสิ่งแวดล้อม ยกเลิกการผลิตและการใช้พลาสติกที่เป็นปัญหา จัดการได้ยาก และสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ได้
2. กำหนดให้มีการเลิกใช้สารเคมีอันตรายตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก พิจารณาการใช้สารเคมีทดแทนที่ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
3. กำหนดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการลดการใช้พลาสติก การใช้ซ้ำ การเติม การซ่อมแซม ที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย และเข้าถึงได้โดยมนุษย์ทุกคน
#มุมมองจากภาครัฐและนักวิชาการ
ต้องมีการนำหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) มาใช้ในการร่างกฎหมายที่บังคับใช้ได้ เพื่อให้ภาคเอกชนรับผิดชอบขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตน
#มุมมองจากภาคเอกชน
ต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและแบรนด์สินค้า เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่รองรับการรีไซเคิล พร้อมทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการหมุนเวียนพลาสติก รวมถึงการส่งเสริมระบบจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดเก็บขยะพลาสติกจากซาเล้งและโรงเรียนเพื่อสร้างวัฒนธรรมการจัดการขยะที่ดี
#ความท้าทายที่สำคัญ
1. ความโปร่งใสในการสำแดงข้อมูลสารเคมีและชนิดพลาสติกให้ผู้บริโภครับทราบ
2. การควบคุมสารเติมแต่งที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น สารเคมีรบกวนต่อมไร้ท่อและโลหะหนักที่พบในผลิตภัณฑ์บางชนิด
3. การจัดการขยะพลาสติกที่ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งยังต้องการระบบรองรับที่ดีกว่าในปัจจุบัน
ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวทางระดับโลกเพื่อให้การผลิตและการบริโภคพลาสติกมีความยั่งยืน
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >> https://act.gp/plastics-treaty-how-can-we-produce-and-consume-plastics-sustainably
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
1371 แคปปิตอล แมนชั่น ชั้น 1 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท
Bangkok
10400
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:30 - 17:30 |
อังคาร | 08:30 - 17:30 |
พุธ | 08:30 - 17:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 17:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 17:30 |
10/1, Soi Kasemsan2, Rama 1 Road , Wangmai, Pathumwan
Bangkok, 10330
พื้นที่สำหรับผู้ที่สนใจสืบค้นข้อมูลด้านผ้า การออกแบบ และศิลปะร่วมสมัย
Bangkok, 10230
Culture Network Foundation (CNF) is a not-for-profit organisation run by a small local Thais family
3rd Floor, Junlajakkrapong Building, Chulalongkorn University
Bangkok, 10330
ชมรมวรรณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Pen Club
888/998 เขตบางบอน แขวงบางบอน
Bangkok, 10150
ถ้าท่านทำตามใจชอบ ต้องดูให้ดีเสียก่อนว่า กิเลสชอบ หรือธรรมะชอบ
44/10 เขต คลองสาน แขวง คลองสาน
Bangkok, 10600
The Sisters of Love for 6 Months