Dharmniti Law Office Co.,Ltd. บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

Dharmniti Law Office Co.,Ltd. บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

ความคิดเห็น

📌 DLO Representatives Meet Dr. Yousef Abdullah Al-Hamoudi.
Read more : https://www.thailandlawoffice.com/news-and-updates/1683
🙏 Follow us Dharmniti Law Office Co.,Ltd.
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#สำนักกฎหมายธรรมนิติ
📌 “ความสุขในการทำงานและการจัดการความเครียด”
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dlo.co.th/news/in-the-news/7010
🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
📌 Tax Judgment EP8 Dividend
Q : Is the money derived from the dissolution of a limited partnership that the partner received deemed as a dividend or share of profits and is the partner entitled to claim it as a tax credit?
A : No, such money is not deemed as a dividend or share of profits that can be claimed as a tax credit in accordance with Section 40 (4) (b) of the Thai Revenue Code (“TRC”), in conjunction with Section 47 Bis of the TRC. Instead, only the portion that exceeds the capital deemed as a benefit that the partner received in accordance with Section 40 (4) (f) of the TRC.
📌 Supreme Court Judgment No. 13935/2555 The TRC does not prescribe a specific definition of dividend and share of profits, hence its definition shall be determined based on Section 1084 of the Civil and Commercial Code. Since the money that the Plaintiff received upon the dissolution registration of the limited partnership is the profit incurred during the liquidation; therefore, it is not a dividend, which is an assessable income under Section 40 (4) (f) of the TRC. Instead, only the portion that exceeds the capital value that the partner invested is considered a benefit that the partner received from the dissolution of a limited partnership that is an assessable income in accordance with Section 40 (4) (f) of the TRC. Accordingly, the Plaintiff is not entitled to receive a tax credit in accordance with Section 47 Bis of the TRC.

🙏 Follow us Dharmniti Law Office Co.,Ltd.
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#สำนักกฎหมายธรรมนิติ
📌 ถอดคำพิพากษาภาษี EP8 เงินปันผล
ถาม : เงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการเลิกกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร และผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถนำมาเครดิตภาษีได้หรือไม่ ?
ตอบ : ไม่ได้ เพราะเงินจำนวนดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่จะนำมาเครดิตภาษี เงินปันผลได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ประกอบมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถือเป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับเฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าทุน ตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
📌 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13935/2555 ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1084 เมื่อเงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นกำไรที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชี จึงมิใช่เงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกัน เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์ลงทุน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#เงินปันผล #คำพิพากษาภาษี #สำนักกฎหมายธรรมนิติ
📌 ว่าด้วยเรื่องของตู้ (แบ่ง) ปัน (ความ) สุข ในสำนักกฎหมายธรรมนิติ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dlo.co.th/other-articles/6911
🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
📌 การสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “โอกาสการขยายการระดมทุนในตลาด IPO, Live Exchange”

อ่านเพิ่มเติม https://www.dlo.co.th/news/6893

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
📌 สำนักกฎหมายธรรมนิติ ได้รับเกียรติในการบรรยายผ่านระบบออนไลน์ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรบริษัทในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ

สำนักกฎหมายธรรมนิติ ได้รับเกียรติจาก ดร.ดวงใจ สินธุสังข์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายการบริหารทรัพยากรบุคคลกลาง บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ให้จัดบรรยายแก่พนักงานบริษัทในเครือฯ โดยระบบออนไลน์ ในหัวข้อ "รวมมิตรประเด็นฮิต เรื่อง มรดก" โดย คุณวันวิสา ศิลาทอง กรรมการบริหาร บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม Tele Health Center โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dlo.co.th/news/in-the-news/6881

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/

#มรดก #พินัยกรรม #สละมรดก #ตัดสิทธิ์รับมรดก #ทายาท #ผู้จัดการมรดก #หลักกฎหมาย #สำนักกฎหมายธรรมนิติ
📌 In Thailand it is not necessary for an employment contract to be signed between an employer and an employee in order for a legally recognized employment relationship to be formed. Indeed, such legal relationship can be created by the actions of the parties when a person performs work for another party and such party pays wage in return for such work. Even though the parties don’t enter into a signed employment contract, the legal relationship between them is still governed by applicable Thai law including the Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) and the Civil and Commercial Code (especially sections 575-586 Hire of Services). If the parties wish to have more comprehensive legal protections apart from those provided under the law then it is advisable that they ensure that a suitably drafted employment contract is made. When using an employment agreement, the writer advises that it would be better to customize their employment contracts so that different levels and types of staff have different employment contracts which better suit roles and which provide more effective protections for the employer. This article shall cover various types of employment contract clauses and discuss what clauses should be used in various types of contracts.

Read more : https://www.thailandlawoffice.com/legal-articles/1666

🙏 Follow us Dharmniti Law Office Co.,Ltd.
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/

#สำนักกฎหมายธรรมนิติ
บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด รับสมัครงานตำแหน่ง "ที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความ"

#รับสมัครงาน #ทนายความ #ที่ปรึกษากฎหมาย #กฎหมาย #หางานกฎหมาย #หางาน #ร่วมงานกับเรา #สำนักกฎหมายธรรมนิติ
บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด รับสมัครงานตำแหน่ง "นักกฎหมาย"

#รับสมัครงาน #นักกฎหมาย #กฎหมาย #หางานกฎหมาย #หางาน #ร่วมงานกับเรา #สำนักกฎหมายธรรมนิติ

สำนักกฎหมายธรรมนิติ ให้บริการและคำ

บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Dharmniti Law Office Co., Ltd.

บริษัทในกลุ่มธรรมนิติ โดยมีบริษัทในเครือรวม 10 บริษัท
- บริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) : www.dharmniti.co.th
- บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด : www.dlo.co.th
- บริษัท ธรรมนิติอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด : www.dlo.co.th
- บริษัท ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร จำกัด : www.dha.co.th
- บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด : www.daa.co.th
- บริษัท ตร

Photos from Dharmniti Law Office Co.,Ltd. บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด's post 22/08/2023

📌 โครงการศาลจำลอง เพื่อทดสอบความรู้ของผู้ช่วยนักกฎหมายธรรมนิติในปี พ.ศ. 2566

📌สำนักคดี บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด ได้จัดศาลจำลองขึ้น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อทดสอบความรู้ ความสามารถ การแก้ปัญหาในศาล และเตรียมความพร้อมของผู้ช่วยนักกฎหมาย เพื่อก้าวขึ้นสู่ทนายความประจำ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dlo.co.th/news/7933

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#สำนักกฎหมายธรรมนิติ #ศาลจำลอง #กฎหมาย #กฎหมายไทย

เปิด 113 รายชื่อ รัฐหรือภาคีที่เป็นคู่สัญญาตามความตกลงพหุภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี 22/08/2023

📌 เปิด 113 รายชื่อ รัฐหรือภาคีที่เป็นคู่สัญญาตามความตกลงพหุภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dlo.co.th/news/press-releases/7927

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#สำนักกฎหมายธรรมนิติ #คู่สัญญา #การแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงิน #พหุภาคี #กฎหมาย #กฎหมายไทย #ภาษี

เปิด 113 รายชื่อ รัฐหรือภาคีที่เป็นคู่สัญญาตามความตกลงพหุภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี สำนักกฎหมายธรรมนิติ เปิด 113 รายชื่อ รัฐหรือภาคีที่เป็นคู่สัญญาตามความตกลงพหุภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบั.....

21/08/2023

📌ถอดคำพิพากษาภาษี ep.16 ภาษีกรมสรรพากร ประเภทภาษีเงินได้
ถาม: การที่ลูกจ้างได้รับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant) จากนายจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายจ้าง ต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

ตอบ: ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant) คือ ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ ตามราคาใช้สิทธิ จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ และภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการที่ลูกจ้างได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นก็ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติ

ดังนั้นใบสําคัญแสดงสิทธิฯ จึงถือเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน อันถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมาตรา 40 (1) ลูกจ้างจึงต้องนำเงินได้พึงประเมินในส่วนนี้มาเสียภาษีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15360/2557 การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจากบริษัท ช. ซึ่งเป็นนายจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายจ้าง ถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 เพราะใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับจากนายจ้างซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12847/2557 จำเลยได้ขอคืนภาษีโดยอ้างว่าชำระไว้เกิน เพราะใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นบริษัท ช. ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษี และเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับคืนภาษีจึงคืนเงินภาษีให้ ต่อมาโจทก์ตรวจสอบเห็นว่า ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี จึงแจ้งให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีที่ได้รับคืนไปแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาเงินค่าภาษีอากรที่มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีกรมสรรพากร #ประเภทภาษีเงินได้ #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #กฎหมาย

26/06/2023

📌ถอดคำพิพากษาภาษี ep.15 ภาษีกรมสรรพากร ประเภทภาษีเงินได้

ถาม: กรณีผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในขณะที่จ่ายเงินได้ จะต้องรับผิดหรือไม่

ตอบ: ผู้จ่ายเงินได้จะต้องร่วมกันรับผิดกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 และต้องรับผิดในเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่ง แต่ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518 แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6105/2534 โจทก์รับซื้อข้าวโพดและข้าว ซึ่งเป็นพืชผลในทางการเกษตร การที่โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าทางการเกษตร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้หักและนำส่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มจนกว่าโจทก์จะชำระภาษีในส่วนนี้เสร็จ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย หรือนำส่งตามมาตรา 27

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีกรมสรรพากร #ประเภทภาษีเงินได้ #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #กฎหมาย

26/05/2023

📌ถอดคำพิพากษาภาษี ep.14 ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถาม: กรณีบริษัทขายสินค้าไปยังต่างประเทศ จะต้องนำค่าระวางและค่าประกันภัยในการส่งออกสินค้ามารวมเป็นราคาสินค้าตามราคาตลาด ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ตรี หรือไม่

ตอบ: ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี กำหนดให้ การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ถือว่าเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น ซึ่งตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัท มิได้กำหนดให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัท ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัทจะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา หรือบริษัทในเครือเดียวกัน ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี กำหนดให้การที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประมวลรัษฎากรกำหนดให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ และไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากรบัญญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยรวมเข้าไม่ได้

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีเงินได้นิติบุคคล #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #กฎหมาย

จดหมายข่าวภาษีสำนักกฎหมายธรรมนิติ เดือนพฤษภาคม 2566 19/05/2023

จดหมายข่าวภาษีสำนักกฎหมายธรรมนิติ เดือนพฤษภาคม 2566

📍 กฎหมายใหม่ล่าสุด
1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการขายคาร์บอนเครดิตในประเทศ
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล สำหรับการบริจาคเงินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมป่าไม้

📍 ข่าวภาษี

-

📍 อ่านเพิ่มเติม : https://www.dlo.co.th/news/newsletter/7757
🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#กฎหมายใหม่ล่าสุด #ข่าวภาษี #จดหมายข่าว #จดหมายข่าวภาษีอากร #ข่าว #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #ข่าววันนี้ #กฎหมาย #ยกเว้น #ยกเว้นภาษี #กฎหมายใหม่ #ธรรมนิติ #ยกเว้นภาษีเงินได้ #ภาษีนิติบุคคล #บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

จดหมายข่าวภาษีสำนักกฎหมายธรรมนิติ เดือนพฤษภาคม 2566 สำนักกฎหมายธรรมนิติ จดหมายข่าวภาษีสำนักกฎหมายธรรมนิติ เดือนพฤษภาคม 2566 จดหมายข่าวภาษีอากร

03/05/2023

📌 ถอดคำพิพากษาภาษี ep.13 ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ถาม : ค่าโดยสารรถแท็กซี่ รถขนส่งสาธารณะ หรือรถขนส่งอื่น ๆ ที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำค่าโดยสารดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายได้ หากได้จัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีซึ่งต้องมีคำอธิบายรายการ (รายละเอียดของรายจ่าย) วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี) และลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ เพื่อพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้รับ จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2565 โดยปกติผู้ให้บริการรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้างจะไม่มีการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้รับบริการ โจทก์จึงไม่อาจมีใบเสร็จรับเงินค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์มาแสดงได้ แต่การที่โจทก์เพียงแต่จัดทำยอดรวมสรุปค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยไม่ปรากฎรายละเอียดของรายจ่าย ประกอบกับประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดว่า เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องมี 1. คำอธิบายรายการ 2. วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี) และ 3. ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ดังนั้น ค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้างที่โจทก์อ้างว่าผู้ให้บริการไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ จึงต้องมีการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์เพียงแต่จัดทำยอดรวมสรุปค่าใช้จ่ายซึ่งไม่ปรากฎรายละเอียดตามข้อกำหนดข้างต้น จึงทำให้ค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18)

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/

#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีเงินได้นิติบุคคล #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #กฎหมาย

Photos from Paisal Puechmongkol's post 22/04/2023
10/04/2023

📍บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด 📍 ประกาศปิดทำการเนื่องในวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 เม.ย. 66 - 15 เม.ย. 66 และเปิดทำการตามปกติในวันที่ 17 เม.ย. 66

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#วันหยุด #วันสงกราน #เทศกาลสงกรานต์ #สำนักกฎหมายธรรมนิติ

05/04/2023

📍 บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด 📍ประกาศปิดทำการเนื่องในวันหยุดวันจักรี ในวันที่ 6 เม.ย.66 และเปิดทำการตามปกติในวันที่ 7 เม.ย.66

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#วันหยุด #วันจักรี #สำนักกฎหมายธรรมนิติ

24/03/2023

📌 ถอดคำพิพากษาภาษี EP 12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถาม : ผู้ประกอบการแม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้หรือไม่

ตอบ : ไม่ได้ เพราะผู้ที่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีได้ คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม แต่หากยังไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษี และหากฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ตามมาตรา 86 มาตรา 86/13 และมาตรา 88/1 แห่งประมวลรัษฎากร

📌 คำพิพากษาฎีกาที่ 1499/2542 ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ทั้งนี้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 และมาตรา 86/13 ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และหากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ อีกทั้งบริษัท พ. เป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #ล้มละลาย #กฎหมาย

23/03/2023

📍"ประกาศรายชื่อ" ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการฝึกงาน ประจำปี 2566

1. นายอิทธิธรณ์ อร่ามกุล

2. นายตุลธร เลิศไกร

3. นางสาวนัทธมน ถามุลตรี

4. นางสาวชนากานต์ พุ่มทองตรู

5. นางสาวณัฏฐวรรณ ศรีจันทร์ดี

6. นางสาวนัศริน ยูซุบ

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#นักศึกษา #นักศึกษาฝึกงาน #ปี2566 #สำนักกฎหมายธรรมนิติ

20/02/2023

📌 ถอดคำพิพากษาภาษี EP 11 ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ถาม : กรณีบริษัทถูกเวนคืนที่ดินที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่

ตอบ : ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะการถูกเวนคืนที่ดินไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของบริษัท แต่เป็นการโอนเนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ดังนั้น การที่บริษัทยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรอันจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541

📌 คำพิพากษาฎีกาที่ 6693/2559 การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลโอนที่ดินให้กรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/1 (4) แต่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากที่ดินและอาคารที่พิพาทไม่ได้มีไว้เพื่อขาย แต่มีไว้เพื่อประกอบกิจการเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานของโจทก์ ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนั้น การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ จึงไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2 (6) ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541

📌 หมายเหตุ : เดิม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติให้การขายหรือการถูกเวนคืนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ อย่างไรก็ดี แม้จะยังไม่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 อันเป็นฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบัน แต่หากพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2552 ศาลฎีกาก็ยังคงวินิจฉัยไปในลักษณะเช่นเดียวกันว่า การถูกเวนคืนที่ดินถือเป็นการโอนที่ดินโดยไม่สมัครใจ ดังนั้น เมื่อผู้โอนไม่ได้มีเจตนาที่จะโอน จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ และไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

🙏 ฝากกดติดตามแฟนเพจ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
Facebook : https://www.facebook.com/DharmnitiLawOffice/
Website TH : https://www.dlo.co.th/
Website EN : https://www.thailandlawoffice.com/
#คำพิพากษาภาษี #คำพิพากษา #ภาษี #ภาษีธุรกิจเฉพาะ #ที่ดิน #อสังหาริมทรัพย์ #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #ล้มละลาย #กฎหมาย

17/02/2023

📌บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด📌

รับสมัครงานในตำเเหน่ง "เจ้าหน้าที่งานธุรการ / เลขานุการ (สำนักกฎหมายภาษี)"

คุณสมบัติ
☑️ เพศหญิง อายุ 22 ปีขึ้นไป
☑️ วุฒิการศึกษาระดับ ปวส. ขึ้นไป สาขาเลขานุการ สาขาบัญชี-การเงิน หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง
☑️ สามารถใช้โปรแกรม Microsoft office ได้เป็นอย่างดี
☑️ บุคลิกภาพดี มนุษยสัมพันธ์ดี
☑️ มีทักษะในการประสานงาน ละเอียด รอบคอบ เเละสื่อสารกับบุคคลอื่นเป็นอย่างดี
☑️ มีประสบการณ์ด้านเลขานุการ หรือสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะพิจารณาเป็นพิเศษ

📥 ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://www.dlo.co.th/about/job-opportunities หรือส่ง Resume มาที่ [email protected]

☎️ โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-6809-781 ฝ่ายบุคคล (คุณวัชระ)

#รับสมัครงาน #เจ้าหน้าที่งานธุรการ #เลขานุการ #สำนักกฎหมายภาษี #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #ว่างงาน #ธุรการ #งานเอกสาร #งานกฎหมาย

17/02/2023

📌บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด📌

รับสมัครงานในตำเเหน่ง "นักกฎหมาย (ทนายความคดีเเพ่ง อาญา)"

คุณสมบัติ
☑️ เพศชาย อายุ 24 ขึ้นไป
☑️ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์
☑️ มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และมีประสบการณ์ว่าความในศาล 1-3 ปีขึ้นไป
☑️ สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการได้เป็นอย่างดี
☑️ สามารถใช้โปรแกรม Microsoft office ได้เป็นอย่างดี
☑️ หากมีประสบการณ์ว่าความในคดีชำนัญพิเศษ หรือสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนได้ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

📥 ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://www.dlo.co.th/about/job-opportunities หรือส่ง Resume มาที่ [email protected]

☎️ โทรสอบถามเพิ่มเติม 02-6809-781 ฝ่ายบุคคล (คุณวัชระ)

#รับสมัครงาน #นักกฎหมาย #หางานกรุงเทพ #ทนายความ #ทนาย #ว่าความ #ว่างงาน #หางาน #คดีแพ่ง #คดีอาญา #ทนายความคดีเเพ่ง #ทนายความคดีอาญา #สำนักกฎหมายธรรมนิติ #งานกฎหมาย

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

เพลงประจำบริษัท ธรรมนิติคู่ไทย

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


2/2 ชั้น 2 อาคารภักดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
Bangkok
10330

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 17:30
อังคาร 08:30 - 17:30
พุธ 08:30 - 17:30
พฤหัสบดี 08:30 - 17:30
ศุกร์ 08:30 - 17:30

Law Firms อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
ทนายวิรัช ที่ปรึกษา กฎหมาย Notary Public ทนายวิรัช ที่ปรึกษา กฎหมาย Notary Public
Bangkok, 10120

สัมภาษณ์ /รีวิวสินค้า ลงโฆษณา หรือ งานกฎหมาย ติดต่อ 081-258-5681

LS Horizon LS Horizon
14th Floor, GPF Witthayu Tower A 93/1 Wireless Road, Lumpini, Phatum Wan
Bangkok, 10330

LS Horizon Limited is a regional law firm established since 2000 with offices in Thailand and Lao PDR

JJHYEHlovers JJHYEHlovers
Bangkok

http://jjhyehlovers.com/2008 http://twitter.com/jjhyehlovers

ทนายคลายทุกข์ ทนายคลายทุกข์
194 รามอินทรา52/1 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว
Bangkok, 10230

ประธานเครือข่าย ทนายคลายทุกข์ วิทยากรฝึกอบรม กฎหมาย/ทวงหนี้ คอลัมนิสต์โพสทูเดย์ Cop magazine

ทนายความเขตบางรัก Lawyer at Bang Rak ทนายความเขตบางรัก Lawyer at Bang Rak
22 อาคารเค (สำนักงานใหญ่) ซอยสุขุมวิท 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10110

Legal Services & Litigation

Flourish Legal Services Flourish Legal Services
กรุงเทพ-ชลบุรี สายใหม่, คลองสองต้นนุ่น, ลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10520

บริการด้านกฎหมาย/ Legal Services in Thailand

Formichella & Sritawat Formichella & Sritawat
399, Interchange 21 Building, 23rd Fl. , Unit 3, Sukhumvit Road, Klongtoey-Nua, Wattana
Bangkok, 10110

CORPORATE, TELECOM, MEDIA & TECH (TMT), DATA PRIVACY & CYBERSECURITY, DISPUTE RESOLUTION & LITIGATION

ทนายวุติ : Lawyer Woot ทนายวุติ : Lawyer Woot
9/4 พุทธบูชา 39 แยก 1-1 บางมด ทุ่งครุ
Bangkok, 10140

ให้คำปรึกษา ระงับข้อพิพาท เจรจาไกล่เกลี่ย เอกสารทางกฎหมาย บุคคลทั่วไปและนิติบุคคล

ทีมทนายกฎหมายครอบครัว -  ฟ้องชู้ ฟ้องหย่า เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ทีมทนายกฎหมายครอบครัว - ฟ้องชู้ ฟ้องหย่า เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร
Bangkok

ทีมทนายมืออาชีพ ยินดีให้บริการและให้คำปรึกษาครับ

TA Law Firm 泰安律所 TA Law Firm 泰安律所
TA Lawfirm #903 9 Th Floor. 1011 Supalai Grand Tower, Rama 3 Road Chong Nonsi Subdistrict, Yan Nawa, Bangkok 10120
Bangkok, 10210

泰国泰安律师事务所 名称:泰安律师事务所 广告语:稳如泰山,安心托?

สำนักงานกฎหมาย Emperor Of Laws - Law Firm สำนักงานกฎหมาย Emperor Of Laws - Law Firm
ชัชฎาวิลล่า 3
Bangkok, 10170

Law Firm in Bangkok. Law Office ทนายความ ปรึกษาคดี งานนิติกรรมสัญญาต่างๆ บังคับคดี Visa & Work Permi

ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง
ถ. พัฒนาการ แขวง ประเวศ
Bangkok, 10250

อาจารย์สอนกฎหมาย นักกฎหมายมืออาชีพ