กุ๊กกิ๊กกฎหมายกับอ.สมชาย
ตำแหน่งใกล้เคียง การปฏิบัติตามกฎหมาย
10110
10110
สถาบันแอ๊คกรุ๊ป ซอย รามคำแหง
65 Soi Sukhunvit, Prakanong
Sukhumvit Soi 39 Phrom Phong Klongton Nua Wattana
ถนน ศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
ตรงข้ามศูนย์หนังสือ ตึกสำนักพิมพ์ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
10250
กรุงเทพมหานคร
ถนนอ่อนนุช ติดถนน
Amphoe Bangkok Noi 10310
10240
ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท เงินทุน
ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
10250
เลขที่ 46 ถ. พัฒนาการ ซ. พัฒนาการ 2 แขวง/เขตสวนหลวง
คลองตัน, Suan Luang
10250
เอกมัยคอมเพล็กซ์
ตำแหน่งใกล้เคียง นักบัญชี
Park Avenue Plaza
Park Avenue Plaza
Ramkhamhaeng Road
, Suan Luang
10110
10240
ความคิดเห็น
แต่พลันที่มีข่าวตำรวจชี้ว่า ไรเดอร์ทั้งสอง “ประมาทร่วม” ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมไรเดอร์แกร็บถึงไปประมาทด้วยได้ ดูจากคลิปยังไงก็ไม่ประมาท เพราะขับอยู่ดี ๆ ไรเดอร์คนหลังก็ขับเบียดแทรกเข้าไป ทั้งที่
ไม่มีช่องว่างแล้ว
ขออนุญาตไม่ยืนยัน่ ขอสมมุติเอาว่า พนักงานสอบสวนชี้ว่าทั้งสอง “ประมาทร่วม”
ประเด็นวิเคราะห์ข้อแรก ไรเดอร์แกร็บประมาทได้หรือไม่ คำตอบ คือ เป็นได้ที่ไม่ขี่ชิดเลนซ้าย ตามกฎหมายจราจร มอเตอร์ไซค์ต้องขี่ในช่องทางเดินรถซ้ายสุด ไม่เกินกึ่งกลางของช่องทางเดินรถซ้ายสุด (พรบ.จราจร มาตรา ๓๓, ๓๔) แต่มีข้อสังเกตว่า การไม่ขี่เลนซ้ายปั๊บจะถือว่าประมาททันทีนั้น อาจเถียงกันได้ แต่ขอยังไม่เถียง เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดวันนี้
ส่วนไรเดอร์อีกคันที่ขับเบียดเข้าไป จากคลิปใคร ๆ ก็คงฟันธงว่าประมาทแน่ ช่องเหลือนิดเดียว ยังเบียดแทรกเข้าไป
เมื่อทั้งสองฝ่ายประมาทแบบนี้ จะเรียกว่า “ประมาทร่วม” ได้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ได้ครับ
ทำไมไม่ได้ มาดูกันที่ความหมายของ “ประมาท” ก่อน
“กระทำโดยประมาท” ได้แก่ “กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และบุคคลอาจใช้ความระมัดระวังนั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสี่)
แสดงว่าจะเป็น “ประมาท” ได้ต้องไม่ได้เจตนาทำ เช่น มัวแต่เดินดูมือถือ เลยไปชนโต๊ะวางเครื่องแก้วเจียระนัยตกแตก แบบนี้เรียกว่า “ประมาท” เพราะเราไม่ควรเดินไปเล่นมือถือไป แต่ถ้าเดินไปแบบตั้งใจเดินเตะโต๊ะที่เขาวาง เครื่องแก้วเจียระนัยตกแตก “ตั้งใจ” แบบนี้ไม่เรียกว่า “ประมาท” แต่เป็น “เจตนา” และเป็นความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
ดังนั้น เราจึง “ตั้งใจ” ประมาท “ไม่ได้” หรือ ตั้งใจประมาท “ไม่มี”
เอาล่ะ สมมุติเรายุติว่า ไรเดอร์แกร็บประมาทที่ไม่ขี่เลนซ้าย ไรเดอร์คนที่สองประมาทที่ขี่เบียดแทรกเข้าไปอย่างเร็ว เมื่อแต่ละคน “ประมาท” จะเป็น “ประมาทร่วม” ได้หรือไม่
คำว่า “ประมาทร่วม” เป็นคำที่อาจทำให้คนฟังเข้าใจสับสนว่าหมายถึง เราตั้งใจที่จะไปประมาทร่วมกับอีกคนหนึ่ง เช่น เห็นคนอื่นประมาทเดินเล่นมือถือกำลังจะเตะโต๊ะวางแก้วเจียระนัย เราเลยรีบเดินเข้าไปเพื่อจะเตะโต๊ะด้วย
คนแรกเห็นชัดว่าประมาทแน่ แต่คนหลังเมื่อตั้งใจจะเดินไปเตะโต๊ะ ก็ไม่เป็น “ประมาท” แล้วแต่เป็น “เจตนา” ทำให้เสียทรัพย์
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถ “ตั้งใจ” จะไปประมาทร่วมกับคนอื่นได้
จะเป็นได้แค่ “ต่างฝ่ายต่างประมาท” เช่น เขาก็เดินเล่นมือถือ เราก็เดินเล่นมือถือ ต่างคนต่างไม่รู้กัน สองคนเลยเดินชนกันแล้วกระแทกโต๊ะวางแก้วเจียระนัยตกแตก แบบนี้ “ไม่ใช่” ประมาทร่วม แต่เป็น “ต่างฝ่ายต่างประมาท” ฉันก็ประมาทในแบบของฉัน เธอก็ประมาทในแบบของเธอ เพียงแต่เกิดความเสียหายเดียวกัน คือ “แก้วเจียระนัยแตก”
ดังนั้น “ร่วมกันประมาท” จึงมีไม่ได้ แต่ก็เป็นคำที่คนใช้กันทั่วไป
แล้วกรณีไรเดอร์นี้อย่างมากก็ถือว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาท” แต่ฝ่ายไหนจะต้องชดใช้ค่าเสียหายมากน้อยแค่ไหน ต้องดูความร้ายแรงของความประมาทของแต่ละฝ่าย ไม่ได้ต้องให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดเท่ากันเสมอไป
สมมุติศาลเห็นว่า ไรเดอร์คนหลังผิดเต็ม ๆ ไรเดอร์คนแรกไม่เกี่ยว ศาลก็ให้ไรเดอร์คนหลังรับผิดชอบไปทั้งหมดได้ ถ้าเห็นว่าทั้งสองคนต่างประมาทเท่ากัน ก็ให้รับผิดเท่ากัน ถ้าเห็นว่าประมาทไม่เท่ากันก็ให้รับผิดไม่เท่ากันได้
ประเด็นที่ลึกลงไปอีก คือ ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าประมาทและสั่งปรับทั้งสองคน แล้วทั้งสองคนยอมเสียค่าปรับ เท่ากับทั้งสองคนยอมรับว่า “ตนเองประมาท” และจะถูกปิดปากไม่ให้เถียงเป็นอย่างอื่น คดีแบบนี้เรียกว่า “คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา”
ดังนั้น หากเจ้าของรถยนต์อีกคันที่พลอยฟ้าพลอยฝนได้รับความเสียหายฟ้องไรเดอร์ทั้งสองคนให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งสองคนจะเถียงว่าไม่ประมาท “ไม่ได้” แล้ว
ถึงตอนนี้ต้องแล้วแต่ศาลจะชี้ว่า ใครประมาทมากกว่า ก็ให้คนนั้นชดใช้มากกว่าได้ แต่ก็น่าจะทำให้ไรเดอร์คนแรก (ที่คนส่วนใหญ่เห็นใจ) มีภาระตกเป็นจำเลย ก็หวังว่าเรื่องคงยุติ ไม่ต้องถึงโรงถึงศาลนะครับ ผมเอาใจช่วย
ประเด็นกฎหมายที่จะหยิบมาเล่าให้ฟังวันนี้ คือ หลัก res ipsa loquitur
Res ipsa loquitur เป็นภาษาละติน (ถ้าแปลตรงตัว จะแปลว่า “the thing itself speaks”) แปลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมแสดงเหตุผลในตัวเอง (The thing speaks for itself) เป็นหลักในกฎหมายคอมมอนลอว์ ในคดีละเมิดในทางแพ่ง กล่าวคือ เป็นหลักที่ศาลใช้เพื่อชี้ให้เห็นว่า ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นนั้นเกิดจากความประมาท (negligence) โดยพิจารณาจากลักษณะและธรรมชาติของเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดว่ามีบุคคลใด หรือสิ่งใด หรือจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นก็ตาม
อย่างไรก็ดี การใช้หลัก res ipsa loquitur นั้น ยังต้องมีองค์ประกอบบางประการ ได้แก่ การมีหน้าที่ต้องระวัง (duty of care) การกระทำผิดหน้าที่ (breach) และมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสียหายที่เกิดขึ้น (causation) ในระดับที่ความเสียหายนั้นโดยปกติจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีความประมาทนั้น
เล่ากันว่า ซิเซโร (Cicero) น่าจะเป็นคนแรกที่กล่าวถ้อยคำนี้และมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคดี Pro Mileno และ Charles Edward Pollok ผู้พิพากษาของอังกฤษเป็นคนแรกที่นำหลักนี้มากล่าวอีกครั้งในคดี Byrne and Boadle, (2 Hurl. & C**t. 722, 159 Eng. Rep. 299, 1863)
หลักนี้ถูกนำมาอธิบายในกฎหมายพยานของไทยด้วยเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์คานสะพานหล่นลงมาก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งปกติหากมีการติดตั้งคานสะพานอย่างดี ย่อมไม่มีทางที่คานสะพานจะหลุดและหล่นลงมาได้ แน่นอนว่า เหตุการณ์บางครั้งก็อาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยได้ เช่น พายุรุนแรงพัดสะพานหล่นลงมา เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้เท่าที่ปรากฏไม่มีกรณีที่จะอ้างเหตุสุดวิสัยได้ ดังนั้น เมื่อคานสะพานไม่ควรหล่นลงมา แต่กลับหล่นลงมา จึงต้องมีใครสักคนที่ประมาทเลินเล่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงแสดงอยู่ในตัวว่าจะต้องมีใครสักคนที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งคานสะพานนั้นที่ประมาทเลินเล่อและต้องรับผิด แม้ว่าในท้ายที่สุดผู้เสียหายจะไม่สามารถระบุเจาะจงตัวบุคคลที่ต้องรับผิดได้ก็ตาม แต่อย่างน้อยบริษัทที่รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ กำกับดูแลมาตรฐานการก่อสร้าง และความปลอดภัยย่อมต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีนี้
“รถไฟสองขบวน มาอยู่ในรางเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน สันนิษฐานได้ว่าย่อมต้องมีใครสักคนที่ประมาท”
กรณีนี้อย่างไรเสียก็ต้องมีใครประมาทสักคน
ประเด็นที่อยากจะพูดถึงวันนี้คือ มีข่าวว่าร้านซูชินี้ขายแฟรนไชส์ให้กับ
ผู้สนใจลงทุน สาขาหนึ่ง ๆ ในหลักล้านบาท ไม่รวมค่าตกแต่ง บางคนลงทุนไว้หลายสาขา โดยเจ้าของแฟรนไชส์ (ปกติเรียกว่าแฟรนไชซอร์) จะเป็นผู้บริหารร้านที่ขายแฟรนไชส์ไป ทำบัญชีทุกอย่างให้ คนซื้อแฟรนไชส์ (ปกติเรียก แฟรนไชซี) จะได้รับเงินปันผล เป็นค่าตอบแทน
สิ่งที่อยากจะบอกทุกคนว่า ถ้าเรื่องราวการลงทุนเปิดร้านเป็นแบบนี้จริง (ผมเก็บข้อมูลจากการอ่านข่าวในเวปหลายเวป)
สิ่งที่ลงทุนนั้น "ไม่ใช่แฟรนไชส์" แม้ว่าทั้งคนซื้อและคนขายจะประกาศว่านั่นเป็นแฟรนไชส์ก็ตาม อย่างเก่งก็เป็นได้แค่การลงทุนด้วยการให้ยืมเงิน แลกด้วยการได้รับผลตอบแทนเท่านั้น
อะไรที่ทำให้ไม่เป็นแฟรนไชส์
ในระบบแฟรนไชส์ คือ การโคลนนิ่งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้ว ให้แฟรนไชซีเอาไปทำ โดยแฟรนไชซีจะต้องทำธุรกิจนั้นตามวิธีการที่แฟรนไชซอร์สอน ซึ่งก็คือวิธีการที่แฟรนไชซอร์ใช้กับร้านของตนเองจนประสบความสำเร็จแล้วนั่นเอง
แฟรนไชซีจะเอาความรู้ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดมาใช้ในการทำร้าน บริหารร้านที่ตนเองเป็นคนลงทุน เน้น.. แฟรนไชซีต้องเป็นคนบริหารร้านนั้นเอง ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบแฟรนไชส์ คือ การถ่ายทอดวิธีการทำธุรกิจ ซึ่งจะทำให้แฟรนไชซีมีความรู้ในธุรกิจนี้ติดตัวไป
แต่จากข้อเท็จจริง ไม่พบว่ามีใครหรือนักลงทุนคนไหนให้ข่าวว่า ได้รับการเทรนให้ทำร้านซูชิแบบนี้ และได้ลงมือทำ บริหารในสาขาที่ตนเองเป็นคนลงทุนนั้นเลยแม้แต่คนเดียว
อย่างนี้ไม่ใช่ "แฟรนไชส์" ครับ อย่าเรียกว่า แฟรนไชส์ เพราะจะทำให้คนที่ทำแฟรนไชส์อย่างถูกต้อง พลอยได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียงไป
ต่อไปจะขออนุญาตวิเคราะห์ ประเด็นนี้ในมุมวิชาการด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งขออนุญาตยกตัวอย่างกรณีนี้เป็นกรณีศึกษา
ช้อเท็จจริง ผู้สร้างงาน คำว่า “ไทยแลนด์” ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สร้างงานนี้ด้วยกระบวนการใด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แอพพลิเคชั่นวาดภาพที่มีมากมายในตอนนี้ หรืออาจจะวาดลงบนกระดาษก็ได้ และปรากฏต่อมาว่า งานชิ้นนี้ถูกเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้นำไปเผยแพร่ แต่ผู้ผลิตเสื้อนำงานนี้มาจากอินเตอร์เน็ตและนำไปพิมพ์ / หรือปัก บนเสื้อและนำไปให้นักกีฬาสวมใส่ (ไม่ทราบแน่ชัดว่า กระบวนการตั้งแต่นำคำนั้นมาจากอินเตอร์เน็ตจนไปปรากฏบนเสื้อเป็นอย่างไร)
งานสร้างสรรค์ทั้งหมดจะเห็นว่าประกอบด้วยตัวอักษรที่อ่านได้ว่า “ไทยแลนด์” และมีลายประกอบรอบตัวอักษร แต่ส่วนที่ถูกนำมาใช้งานต่อและเป็นประเด็นในการวิเคราะห์ คือ เฉพาะคำว่า “ไทยแลนด์” เท่านั้น
ประเด็นวิเคราะห์จึงมีว่า การนำคำว่า “ไทยแลนด์” ไปใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ (หากเป็นการนำไปใช้ทั้งหมดทั้งตัวอักษรและลายประกอบต่าง ๆ ผลวิเคราะห์จะเปลี่ยนแปลงไป)
ข้อวิเคราะห์
งานสร้างสรรค์ตัวอักษร “ไทยแลนด์” ตามข้อเท็จจริงนั้น ใกล้เคียงที่สุดน่าจะจัดเข้าเป็นงานจิตรกรรม ซึ่งถือเป็นงานในแผนกศิลปกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง (ดู พรบ.ลิขสิทธิ์ มาตรา 6 และนิยาม มาตรา 4 (1) เมื่อเป็นงานประเภทที่กฎหมายให้ความคุ้มครองแล้ว ก็ต้องดูต่อว่าการเกิดขึ้นของงานนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องมี “การสร้างสรรค์” และการสร้างสรรค์นั้นก็ต้องมีระดับการสร้างสรรค์ที่มากพอสมควร หากพบว่างานใดที่มีระดับการสร้างสรรค์เพียงเล็กน้อย ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง
ประเด็นถัดมาที่ขอวิเคราะห์ คือ การออกแบบตัวอักษร “ไทยแลนด์” นี้ ถือว่าได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่
พยัญชนะอักษรไทยมีมานานแล้ว และไม่มีใครอ้างลิขสิทธิ์เหนือพยัญชนะอักษรไทยได้ เพราะหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของพยัญชนะคือ การใช้ในการเขียนสื่อสาร สร้างเป็นคำ เป็นประโยค เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้พยัญชนะได้โดยเสรี
หากพิจารณารูปทรงของตัวอักษร “ไทยแลนด์” จะพบว่าใช้พยัญชนะไทย มาเขียนขึ้นอย่างสวยงาม อ่อนช้อย และดูหนักแน่น ซึ่งอันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่แม้แต่ผมหรือใคร ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่ความสวยงามที่สอดใส่ผสมผสานเข้าไปในตัวพยัญชนะนั้น ไม่สามารถแยกออกได้จากหน้าที่ใช้งานของพยัญชนะ (utilitarian aspect) หากให้ลิขสิทธิ์ก็จะจำกัดการใช้พยัญชนะของคนอื่น ซึ่งจะส่งผลอันไม่พึงประสงค์ได้ เพราะมีโอกาสที่คนอื่นอาจเขียน คำว่า “ไทยแลนด์” ในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับงานพิพาทนี้ได้โดยไม่ได้ตั้งใจจะละเมิดลิขสิทธิ์ ก็อาจถูกฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ดังนั้น การเขียนพยัญชนะไทย ไม่ว่าจะสวยงามเพียงใดก็ตามจะไม่ได้รับลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาก็ไม่ให้ความคุ้มครองการออกแบบตัวอักษร เคยมีคดีในประเทศอินเดีย ศาลก็ตัดสินว่าไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน (Re Anand Expanded Italics,2002)
อันที่จริงเคยมีความพยายามในระดับระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองการออกแบบตัวอักษร ถึงขนาดจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้นฉบับหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1973 The Vienna Agreement for the Protection of Typefaces and Their International Deposit แต่ในที่สุดข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับนี้ก็ไม่ผ่านออกมาใช้บังคับ
แนวทางที่จะคุ้มครองการออกแบบตัวอักษรในปัจจุบัน (ตามกฎหมายไทยและอีกหลายประเทศที่คุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยลิขสิทธิ์) คือ ต้องคุ้มครองการออกแบบตัวอักษรนั้นในฐานะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความว่า สิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลเป็นตัวอักษรบนหน้าจอมอนิเตอร์ จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่สิ่งที่ได้รับการคุ้มครองคือ “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” ไม่ใช่ “ตัวอักษร”
ประเด็นชวนคิดต่อ คือ
ถ้าผู้สร้างสรรค์ คำว่า “ไทยแลนด์” สร้างงานนี้บนคอมพิวเตอร์ หรือแอพพลิเคชั่นวาดภาพซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมาย งานที่สร้างขึ้นจะเกิดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากนำงานนั้นไปโพสบนอินเตอร์เน็ต ใครก็ตามดาวน์โหลดตัวอักษรนั้นไป เท่ากับเป็นการดาวน์โหลดชุดคำสั่งหรือ “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” ไปใช้ในการทำให้ตัวอักษรนั้นปรากฏขึ้นอีกครั้ง เท่ากับละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
แต่หากเป็นการปริ้นท์ออกมาบนกระดาษ เอามาปรับแต่งมากบ้างน้อยบ้าง (ถือเป็นการทำซ้ำ /ดัดแปลง ได้หรือไม่ ถ้าเป็นอ้างข้อยกเว้น “การใช้ส่วนบุคคล” fair use ได้หรือไม่) แล้วสแกนกลับไปเป็นไฟล์ดิจิตัล เพื่อนำไปใช้งานต่อไป (พิมพ์หรือปักลงบนเสื้อ) จะเห็นว่าชุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากการสแกนเป็นคนละชุดกับ “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” ชุดแรกที่ดาวน์โหลดมา จึงไม่น่าเป็นละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเมื่อในส่วนของ “รูปแบบตัวอักษร” (Typefaces) ไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง เท่ากับจะไม่มีการละเมิดเกิดขึ้นเลย
ผมจึงเห็นว่า รูปแบบของพยัญชนะ (typefaces) ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะระดับการสร้างสรรค์ไม่มากพอ ประกอบกับความสวยงามที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้นไม่อาจแยกออกได้จากหน้าที่การใช้งานของพยัญชนะ
หากจะคุ้มครองต้องคุ้มครองผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่แสดงผลเป็นตัวอักษรนั้นบนหน้าจอมอนิเตอร์
บันทึกไว้ ณ 13 พฤษภาคม 2565
พื้นที่เปิดสำหรับเกร็ดความรู้เล็ก?
หลายคนเกิดมาพร้อมความฝัน มีเป้าหมายชีวิตชัดเจน แต่บางคนความฝันอาจยังเลือนลาง อยู่ในช่วงค้นหาตัวตน…
ไม่ว่าจะมีฝันหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร! เพราะเส้นชัยของแต่ละคนแตกต่างกัน อย่าให้ใครมากำหนดอนาคตของเรา #กล้า 💪🏼 ก้าวออกมาปลดล็อกทุกขีดจำกัด ค้นหาความถนัดของตัวเอง ด้วยหลักสูตรอนาคตไกล เน้นสร้างประสบการณ์ตรง ได้ลงมือทำด้วยตัวเอง รู้ทันทุกเทรนด์ โดดเด่นทักษะด้าน Business และ Future Workforce
สร้างทักษะที่ทำให้ความฝันเป็นจริง มุ่งสู่เส้นชัยที่คุณกำหนดเองที่ DPU
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สร้างธุรกิจสร้างมืออาชีพ
สมัครเรียน : https://bit.ly/3k5En44
#DPU #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ #สร้างธุรกิจสร้างมืออาชีพ

แนวปฏิบัติเป็น soft law แต่ไม่ใช่กฎหมาย
การบินไทยตัดเงินเดือนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 1 เดือน ทำได้หรือไม่
จากกรณีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่เก็บถาดอาหาร ขณะเครื่องบินลงจอด ผลการสอบสวนพบว่าเป็นความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานต้อนรับฯ จึงลงโทษตามระเบียบของบริษัทฯ โดยการตัดเงินเดือน และให้พักการปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินเป็นระยะเวลา 1 เดือน (ที่มาข้อเท็จจริง และภาพ @สรยุทธ สุทัศนะจิน ดา กรรมกรข่าว)
โทษมี ๒ กรณี คือตัดเงินเดือน กับ พักงาน ๑ เดือน น่าจะผิดกฎหมาย ดังนี้
๑) การตัดเงินเดือน แม้ลูกจ้างทำหนังสือข้อตกลงยินยอมให้หักเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาก็ไม่สามารถหักได้ต้องคืนเงินแก่ลูกจ้างเพราะเป็นกี่ทำข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับที่กฎหมายกำหนดไว้มาตรา ๗๖ ย่อมมีผลเป็นโมฆะ ตามป.พ.พ. มาตรา ๑๕๐ ดังนั้น การหักเงินเดือนของการบินไทยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง เคยมีพนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องรัฐวิสาหกิจ ถูกนายจ้างลงโทษด้วยการ “ตัดเงินเดือนร้อยละ ๑๐ เป็นเวลา ๑ เดือน” ศาลพิพากษาว่าสามารถทำได้
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๔๐๙/๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่นำ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาใช้ แต่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งออกตาม ๑๓ (๑) แห่ง พรบ. รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
ซึ่งในประกาศดังกล่าว ข้อ ๓๑ จะบัญญัติห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างก็ตาม แต่การที่นายจ้างมีคำสั่งลงโทษลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างไม่เชื่อฟัง และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติของนายจ้าง
นายจ้างจึงตัดค่าจ้างเดือนมีนาคมร้อยละ ๑๐ นั้น การลงโทษของนายจ้างไม่เป็นการหักค่าจ้าง แต่เป็นการลงโทษวินัยการทำงานที่ได้บัญญัติเอาไว้ชัดเจนแล้วตามข้อบังคับว่าด้วยพนักงานฯ
แต่ปัจจุบันการบินไทยไม่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว จึงไม่อาจเทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาเรื่องนี้ได้
ข) การลงโทษด้วยการพักงาน เช่นนี้ การบินไทยในฐานะนายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้ในระหว่างการพักงานตามหลักสัญญาต่างตอบแทน เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นกรณีการหักค่าจ้างเพราะเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานตอบแทน นายจ้างมีสิทธิไม่จ่าย ก็ไม่มีเงินให้หักค่าจ้างแต่อย่างใด แต่กระทรวงแรงงานมีแนวปฎิบัติว่าการพักงานเพื่อเป็นการลงโทษควรพักงานไม่เกิน ๗ วัน การพักงาน ๑ เดือนจึงน่าจะขัดกับแนวปฎิบัติ
อย่างไรก็ตาม แม้การลงโทษจะไม่ถูกกฎหมาย แต่เมื่อลงโทษไปแล้วย่อมล้างความผิดที่ลูกจ้างได้กระทำ นายจ้างจะอ้างที่หลังว่าโทษที่ลงไม่ถูกกฎหมายและจะอ้างว่าการฝ่าฝืนต่อขั้นตอนการปฎิบัติที่ร้ายแรง จึงเลิกจ้างภายหลังไม่ได้
อีกทั้งหากมีการทำผิดซ้ำก็จะเลิกจ้างไม่ได้เพราะกรณีดังกล่าวไม่มีการออกหนังสือตักเตือน (ตักเตือนเฉพาะหัวหน้า)
เรื่องนี้ การบินไทยอ้างว่าลงโทษตามระเบียบบริษัท ซึ่งคาดเดาว่าน่าจะเป็นระเบียบตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อกลายเป็นบริษัทเอกชนแล้วจึงควรปรับปรุงระเบียบให้ถูกต้อง

"การเข้าเป็นภาคีข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซล เพื่อห้ามการเคลื่อนย้ายข้ามแดนซึ่งของเสียอันตราย" รายงานฉบับสมบูรณ์
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ วงศ์บัณฑิต
ดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/3VjYVno
นักศึกษาและบุคลากร Login ด้วย TU Wi-Fi account บุคคลทั่วไปสมัครสมาชิกก่อนใช้งาน
---------
สารบัญ
บทที่ 1 บทนํา
บทที่ 2 การควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนซึ่งของเสียอันตรายและของเสียอย่างอื่นตามอนุสัญญาบาเซล
บทที่ 3 ข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลเพื่อห้ามการเคลื่อนย้ายข้ามแดนซึ่งของเสียอันตราย
บทที่ 4 การเข้าเป็นภาคีและการอนุวัติการข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลเพื่อห้ามการเคลื่อนย้ายข้ามแดนซึ่งของเสีย อันตราย
บทที่ 5 ข้อพิจารณาในเข้าเป็นภาคีข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซล
บทที่ 6 สรุป

ท่านที่สนใจเรียนเชิญครับ
#ประชาสัมพันธ์ #หลักสูตรอบรม
วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ขอเชิญ #ผู้บริหารทุกระดับ #ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือ #บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผน #ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ #ด้านประกันคุณภาพ หรือ #ผู้ประกอบการธุรกิจทุกประเภท และ #ผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการอบรมในหลักสูตร "กฎหมายเพื่อการบริหารซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน" (หลักสูตร 6 วัน)
- ระหว่างวันที่ 22 – 23 เมษายน 2566
- ระหว่างวันที่ 29 - 30 เมษายน 2566
- ระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤษภาคม 2566
🎓 อบรม ณ โรงแรม แกรนด์ อินเตอร์ โฮเทล สมุทรสาคร
.
🎈พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายจากผู้พิพากษาอาวุโสแผนกคดีแรงงานศาลฎีกา ที่ปรึกษาคณะทำงานกฎหมายแรงงานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
อธิบดีศาลปกครองเพชรบุรี คณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ปรีดีพนมยงค์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔷ค่าลงทะเบียน 8,000 บาท ต่อท่าน
.
🔮ศึกษาดูรายละเอียดหลักสูตร
คลิ๊กที่นี้ https://cmu.to/shortcourses
📍 หรือลงทะเบียนออนไลน์
คลิ๊กที่นี้ https://cmu.to/sV0mc
หรือแสกน QR Code บนโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
☎️สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ งานวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร 08 6306 3824
Email : [email protected]

Photos from Business Coach & Consulting's post

สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์โดยการสปอยล์ (Spoil)”
ถ้าจะบอกว่าตามหลักกฎหมายภายใต้ Berne Convention และกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ถ้าตีความให้ถูก การสปอยหนังที่เห็นกันทั่วไปในบ้านเรา “ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์” เป็นสิ่งที่ทำได้ตามหลักการของ Berne และของไทย คนจะเกลียดขี้หน้าผมหรือเปล่านี่
หลัก Quotation ใน Berne Art. 10(1) หายไปเลย Quotation เป็นข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็น Limitation บางคนจะเรียกว่า exception แต่ที่จริงสองคำนี้มาจากแนวคิดที่แตกต่างตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง
Quotation ใน Art. 10(1) เป็นข้อที่ Berne บังคับให้ทุกประเทศต้องมีข้อนี้เสมอ เป็นบทบังคับ (Mandatory) นักวิชาการบางคนเรียกสิทธิในการ Quotes ว่าเป็น User Right หรือ Right to Quote โปรดสังเกตว่าใช้คำว่า สิทธิ (Right) ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้น และไม่มีข้อบังคับว่าจะต้อง Quote สั้นๆ เท่านั้น แต่ให้ดูวัตถุประสงค์ของการ Quote เป็นหลัก ถ้าให้สมวัตถุประสงค์ต้อง Quote ยาวก็ทำได้ ไม่ห้าม ดังนั้น การสแกนหนังสือทั้งเล่มในคดี Google book project ศาลในอเมริกาตัดสินว่าทำได้
ปริมาณของการ Quote จะเอามาพิจารณาภายใต้เงื่อนไข Fair Practice หรือไม่
ถ้าเป็น Fair ก็ทำได้ ต่อให้จะเกิดความเสียหายกับเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม เพราะหัวใจของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า มีไว้เพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์นั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (แต่เข้าใจคลาดเคลื่อนมานาน)
หัวใจของกฎหมายลิขสิทธิ์ คือ ต้องการให้เกิดงานใหม่มากๆ ซึ่งทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุด การคุ้มครองผู้สร้างสรรค์เป็นเพียงวิธีการ (mean) ของกฎหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (end) ของกฎหมายเท่านั้น
แต่ที่เราเข้าใจและตีความกันส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนเอาวิธีการ (mean) มาเป็นเป้าหมาย (end)
ถ้าเข้าใจถูกต้อง ถ้าสร้างงานใหม่ได้ด้วยการสปอย งานนั้นก็สอดคล้องกับเป้าหมาย (end) ของกฎหมาย และการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ ต้องไม่ขัดขวางการสร้างงานใหม่ คือ อย่าเอา mean มาขวาง end
ดังนั้นขออนุญาตไม่ค่อยเห็นด้วย เป็นส่วนใหญ่กับความเห็นวิทยากร
สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์โดยการสปอยล์ (Spoil)” ปี 2564 สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์โดยการสปอยล์ (Spoil)” สิงหาคม 28, 2021 by wiwat.ksp in ป.....

#แนะนำอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรภิรมย์ โกมลารชุน
◽️ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทางนิติศาสตร์
⚖️รายวิชาที่สอน
ปริญญาตรี: กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน และกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ
ปริญญาโท: กฎหมายลักษณะพยานชั้นสูง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาชั้นสูง
📖ประวัติและผลงานวิชาการ https://law.dpu.ac.th/kunpheerom.html
#นิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ห้ามใช้คำ'ไม่ถูกใจยินดีคืนเงิน-เห็นผล 100%'!แพร่ประกาศคุมโฆษณาฉบับใหม่ ฝ่าฝืนโทษคุก-ปรับ
.
“ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาอาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการโฆษณาพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงได้ และในกรณีจำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาจะออกคำสั่งระงับการโฆษณาดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะทราบผลการพิสูจน์ก็ได้
ในกรณีที่ผู้กระทำการโฆษณาอ้างอิงรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด หรือยืนยันข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งในการโฆษณา ถ้าผู้กระทำการโฆษณาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นไปตามที่อ้างอิง คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาอาจออกคำสั่งตามมาตรา 27 ได้ และให้ถือว่าผู้กระทำการโฆษณารู้หรือควรได้รู้ว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ”
อ่านเพิ่มเติม: https://www.isranews.org/article/isranews-news/115281-OCPB-Advertisement-control-Act-news.html
#สำนักข่าวอิศรา #โฆษณา
ติดตามสำนักข่าวอิศรา
www.isranews.org
www.youtube.com/c/isranewsagency
https://twitter.com/isranews_agency

เด็กวันนี้อาจไม่ใช่ผู้ใหญ่ (อย่างที่เราหวัง) ในวันหน้า
คนเป็นพ่อเป็นแม่ ใครมั่งจะไม่คาดหวังในตัวลูก จริงมั้ย? อย่างน้อยๆ นอกจากอยากให้ลูกมีความสุขและสุขภาพดีแล้ว ยังคาดหวังให้เค้าอยู่ในสังคมที่ดี ประสบความสำเร็จ ฯลฯ
แต่ก็ต้องยอมรับว่า โลกวันนี้มีทางเลือกให้พวกเค้าหลากหลายเหลือเกิน เกินกว่าที่เราจะจินตนาการด้วยซ้ำ ลองคิดดูว่าตอนเป็นเด็กเรายังแทบไม่รู้จักอาชีพอย่างนักแคสเกม ยูทูบเบอร์ หรืออาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่ทุกวันนี้บางอาชีพที่เราไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น กลับทำเงินได้และเป็นอาชีพในฝันของหลายๆ คน
และในขณะที่โลกกำลังก้าวไปสู่ยุค Digital ที่ล้ำขึ้นไปอีก ยุคของ Green Economy และยุคของ Aging society คงจะมีอาชีพและโอกาสอะไรเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งยากต่อการคาดเดา
ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ที่โตมาคนละยุคกับเด็กสมัยนี้ บางอย่างที่เราคิดว่าดี เด็กยุคนี้อาจไม่ได้มองแบบนั้นเสมอไป เราอาจต้องการความสำเร็จ ต้องการสร้างความมั่นคงมั่งคั่ง แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่พวกเค้าต้องการก็ได้ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีความคิดเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองในยุคนี้ รวมถึงตัวเองด้วย คงอาจต้องละความคาดหวังบางอย่างในตัวลูกลง โดยเฉพาะการคาดหวังว่าเค้าจะต้องสมบูรณ์แบบ เก่งไปซะทุกเรื่อง หรือคาดหวังว่าเค้าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แบบที่เราต้องการ เพราะนอกจากจะทำให้เราผิดหวัง ยังอาจเป็นการทำร้ายเค้าอีกด้วย
แล้วคาดหวังแบบไหนถึงเรียกกว่าพอดี?
คำถามนี้ คงมีผู้รู้หลายคนมาให้คำตอบได้ แต่ส่วนตัวในฐานะที่มีลูกวัยรุ่น 2 คน เชื่อว่าการคาดหวังบนความต้องการของลูกคงดีที่สุด เพราะนั่นคือชีวิตของเค้า ไม่ใช่ชีวิตของเรา ให้อิสระในความคิดของลูก และอย่าคาดหวังอะไรที่เกินความสามารถหรือไม่ใช่ตัวเค้า และพร้อมที่จะผลักดัน เป็นกำลังใจให้เค้าเสมอเมื่อเค้าล้ม มากกว่าคอยคาดหวังและกดดัน
ด้วยข้อจำกัดของทุกบ้าน ทุกครอบครัวที่ต่างกัน เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนพยายามทำให้ดีที่สุด ที่จะเป็นพ่อแม่ ที่ “ใส่ใจ” และ “ไว้ใจ” ลูกๆ เพื่อจะได้หาจุดพอดีของความคาดหวัง ขอเป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนนะคะ 😊
#เลี้ยงลูก #พ่อแม่ยุคใหม่ #เลี้ยงลูกแบบไม่คาดหวัง #เด็กยุคใหม่
วันสุดท้ายของปี 2565 กำลังจะผ่านไป ขอให้แฟนเพจทุกท่านได้รับแต่สิ่งดี ๆ ในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ในปีที่ผ่านมา เพจได้นำเสนอประเด็นหลากหลาย แต่จะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์มากหน่อย เนื่องจากช่วงหลังสนใจจับประเด็นลิขสิทธิ์มากขึ้น โดยเฉพาะอยากศึกษาให้ละเอียดในประเด็น ข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์ ตั้งใจจะผลิตบทความ และหนังสือ (อันหลังนี่ไม่ค่อยแน่ใจ เพราะแค่บทความก็ยังยากแล้วเลย)
ขอขอบคุณแฟนเพจทุกท่าน ที่กดไลท์ และแลกเปลี่ยนความเห็น และหวังว่าปีใหม่นี้เราจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันอีกเยอะ ๆ ครับ
สวัสดีปีใหม่ 2566 ทุกท่านครับ

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง
เรื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระประชวร
ตามที่ สำนักพระราชวังมีแถลงการณ์ เรื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อให้คณะแพทย์ถวายการรักษาภาวะพระหทัยเต้นเร็วผิดปกติด้วยวิธีจี้ไฟฟ้าพระหทัยด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง เมื่อวันอังคาร ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับพักฟื้นพระวรกายต่อ ณ วังสระปทุม ในวันอาทิตย์ ที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นที่ทราบโดยทั่วแล้วนั้น
คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รายงานเพิ่มเติมว่า คณะแพทย์ ฯ ได้ตรวจพบการเต้นผิดจังหวะของพระหทัยขึ้นมาใหม่อีกแบบหนึ่ง แต่เป็นเพียงชั่วคราว และทรงหายได้เอง คณะแพทย์ฯ จึงขอพระราชทานกราบบังคมทูลให้ทรงลดพระราชกิจลงสักระยะหนึ่ง จนกว่าพระอาการทางพระหทัยจะคงที่
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
สำนักพระราชวัง
๒๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕

Timeline photos
Five letters. One word. Today and every day, all we want is Peace.

การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม : กระบวนการยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย

คดีสัญญากู้ จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กู้ และต่อสู้อีกข้อว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จะเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันหรือไม่
คำตอบ ไม่ขัดแย้งครับ และจะเกิดประเด็นข้อพิพาททั้งสองประเด็นคือ จำเลยกู้เงินโจทก์จริงหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
ปกติการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จะเทียบกันระหว่างฟ้องโจทก์กับคำให้การ แต่กรณีอายุความ ถ้าดูในฟ้องโจทก์จะไม่พบประเด็นนี้เลย แต่จะมาปรากฎในคำให้การ หากจำเลยจะสู้ประเด็นนี้ ถ้าอย่างนั้นทำไมโจทก์ไม่บรรยายประเด็นนี้ด้วย
เหตุผลคือ ปวพ 172 กำหนดสิ่งที่ต้องบรรยายในฟ้องไว้ ซึ่งเรื่องอายุความ ไม่ใช่ทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ หรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ดังนั้น แม้ไม่บรรยายไว้ก็ไม่ถือว่าฟ้องไม่ชอบด้วย ม 172
แต่ถือเป็นปริยายได้ว่า ที่โจทก์ฟ้องแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เห็นว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความเมื่อจำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นข้อพิพาท อีกทั้ง ประเด็นอายุความ ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้นเองไม่ได้
เมื่อต่อสู้ไว้ว่าไม่ได้กู้ แล้วสู้ว่าขาดอายุความ ทำไมจึงไม่ขัดแย้งกัน
ถ้าจะเป็นขัดแย้งกัน จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ต่อสู้ต้องไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง คือ ต้องเกิดทางใดทางหนึ่งเท่านั้น เช่น สู้ว่าไม่ได้กู้ แต่ถ้าศาลฟังว่าจำเลยกู้ จำเลยก็ชำระคืนเงินกู้ไปครบถ้วนแล้ว
จะเห็นว่า สู้แบบนี้ขัดกัน เพราะตอนแรกบอกว่าไม่ได้กู้ แต่สู้ตอนหลังว่าชำระแล้ว ซึ่งจะชำระแล้วเท่ากับต้องยอมรับว่ากู้เสียก่อน
ดังนั้นจึงมีทั้งกู้และไม่กู้เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีทั้งสองทางไม่ได้
แต่หากศาลฟังตามโจทก์ว่า จำเลยกู้ (จำเลยแพ้ในประเด็นนี้) แต่คดีโจทก์ก็ขาดอายุความได้ เช่น ฟ้องเกิน 10 ปี เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงเป็นทั้งกู้ และขาดอายุความได้พร้อมๆ กัน จึงไม่ขัดแย้งกัน เป็นคำให้การที่ชอบด้วย ปวพ 177
ตัวอย่างเพิ่มเติม สู้ว่าไม่ได้ค้ำประกัน และสู้อีกว่าหนี้ตามฟ้องโจทก์คิดดอกเบี้ยผิด จะถือว่าคำให้การขัดแย้งกันไม่ได้ เพราะแม้ศาลจะฟังได้ว่า จำเลยค้ำประกันหนี้จริง แต่โจทก์ก็อาจคิดดอกเบี้ยผิดตามข้อต่อสู้จำเลยได้ จึงไม่ขัดกัน


📌เด็ก ม.ปลาย ก็เรียนกฎหมายได้
นิติศาสตร์🧑⚖️⚖️ เปิดรับสมัคร 👉Pre-Uni👈
สำหรับ ม.4-5-6 เรียนแค่วันเสาร์-อาทิตย์
.
✅ ฝึกทักษะนักกฎหมายยุคใหม่
✅ เรียนกับผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ
✅ มี Certificate
✅ สะสมหน่วยกิตก่อนใคร
👉🏻 สมัครออนไลน์ https://bit.ly/3IsdqQb
📲 02-954-7300 ต่อ 111, 271, 281
.
#นิติศาตร์ปรีดีพนมยงค์ #นิติศาสตร์ #นิติDPU #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

❗️เปิดรับสมัคร❗️หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ
เรียนแค่วันเสาร์-อาทิตย์
📌อัพสกิล อัพวุฒิ
.
✅ ใช้วุฒิ ปวส. หรือเทียบเท่า
✅ เทียบโอนหน่วยกิตได้
✅ จบ Course work ภายใน 28 เดือน
✅ เรียนแบบ Block Course
.
📆 เริ่มเรียน มกราคม 2566 นี้
👮♂️ สมัครเรียน 👉 https://bit.ly/3dLdf7H
🏫 มาที่ศูนย์รับสมัคร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
⏰ 08.30-16.30 น.
📱 โทร.02-954-7300 ต่อ 111 , 089-201-1086
#หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต #คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ #มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ #สร้างธุรกิจสร้างมืออาชีพ


Photos from มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU's post

Photos from คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ : Law Pridi DPU's post
Soft power ที่ควรค่าแก่การชื่นชม

บริษัทตรวจสอบบัญชี Big 5 เหลือแค่ Big 4 เพราะ Arthur Andersen /โดย ลงทุนแมน
หากเราพูดถึงบริษัทตรวจสอบบัญชี หลายคนก็น่าจะรู้จัก Big 4 อย่าง PwC, EY, KPMG และ Deloitte
แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อ 20 ปีก่อน ยังมีบริษัทตรวจสอบบัญชีอีกแห่งหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า Big 5 อย่าง Arthur Andersen ซึ่งมีสำนักงานกว่า 84 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 85,000 คน
แต่เนื่องจาก Arthur Andersen ได้ทำผิดกฎร้ายแรง คือ ทำลายหลักฐานการปลอมแปลงบัญชี ทำให้ถูกถอนใบอนุญาตไปในท้ายที่สุด
เรื่องราวการหลุดจาก Big 5 ของ Arthur Andersen เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ต้นเรื่องที่ทำให้ Arthur Andersen เสียตำแหน่ง Big 5 ไปนั้น ก็คือบริษัทพลังงานอย่าง Enron ที่ Arthur Andersen เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้
โดยบริษัท Enron มีธุรกิจหลัก คือ การเป็นนายหน้าทำสัญญาซื้อขายพลังงานแบบ B2B และมีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา
แต่แล้วในปี 1996 Enron กลับเปลี่ยนวิธีการบันทึกสินทรัพย์ทางบัญชี จากการบันทึกสินทรัพย์ด้วยราคาต้นทุน ไปเป็นการบันทึกแบบ Mark to market หรือก็คือ ราคาสินทรัพย์ที่ประเมินได้ ณ เวลานั้น
ซึ่งส่วนต่างของราคาสินทรัพย์ที่เกิดขึ้น ถูกนำมาบันทึกเป็นกำไร จากการประเมินมูลค่าสินทรัพย์
และ Enron ได้ปรับการบันทึกสินทรัพย์เหล่านี้ กับสัญญาซื้อขายที่บริษัทถืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายพลังงาน หรือธุรกรรมอื่น ๆ
ประเด็นคือ เมื่อสัญญาซื้อขายพลังงานมีราคาเพิ่มขึ้น Enron ก็จะบันทึกส่วนต่างของราคา ไปเป็นกำไรของบริษัท แทนที่จะบันทึกเพียงค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นรายได้จริง ๆ ของบริษัท
รวมถึงยังบันทึกรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านการประเมินมูลค่าด้วยตัวเองเข้ามาเป็นรายได้
และทำการตกแต่งงบการเงิน ด้วยการซ่อนหนี้ของตัวเอง ผ่านการจัดตั้งทรัสต์ และกู้เงินมาซื้อสินทรัพย์ของบริษัทตัวเอง ในราคาที่แพงกว่าความเป็นจริง
ด้วยกลโกงทั้งหมดนี้ ส่งผลให้รายได้ของ Enron ในช่วงปี 1996 ถึงปี 2000 เพิ่มขึ้นกว่า 750% และกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสินทรัพย์มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ในขณะที่บริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน กลับมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้น
แต่แล้วความจริงก็ปรากฏ เมื่อ CEO ของ Enron ที่มีชื่อว่า Jeffrey Skilling ประกาศลาออก และงบการเงินของบริษัทในไตรมาส 3 ของปี 2001 พลิกกลับมาขาดทุนถึง 23,221 ล้านบาท
ทำให้ SEC หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกา ต้องเข้ามาตรวจสอบ Enron และ Arthur Andersen ซึ่งทำหน้าที่รับรองงบการเงิน
แต่แทนที่ Arthur Andersen จะให้ความร่วมมือกับ SEC บริษัทกลับเลือกทำในสิ่งที่เลวร้ายที่สุด ในฐานะบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี ด้วยการทำลายหลักฐาน อย่างเอกสารและ E-mail ของ Enron ทั้งหมด
ทำให้ Arthur Andersen ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และถูกยึดใบอนุญาตผู้ตรวจสอบบัญชี รวมถึงต้องขายแผนกผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Big 4
และถึงแม้ว่าคำตัดสินของศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาในปี 2005 จะออกมาว่า Arthur Andersen ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ต่อการตกแต่งงบการเงิน แต่เกิดจากความละเลยในการตรวจสอบ
ทว่าคำตัดสินเหล่านั้นก็ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว เพราะชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของ Arthur Andersen ได้หมดลง จากทั้งกรณีของบริษัท Enron และอีก 2 กรณีอย่าง บริษัท Sunbeam ที่ Arthur Andersen รับรองงบการเงิน ที่มีกำไรเกินความเป็นจริง และบริษัท Waste Management ที่รับรองงบการเงินที่ผิดพลาด
ส่งผลให้บรรดานักลงทุนในตลาดต่างหลีกเลี่ยง การลงทุนในบริษัทที่ Arthur Andersen เป็นผู้รับรองงบการเงิน
และลูกค้าเดิมของ Arthur Andersen ก็เลือกที่จะเปลี่ยนไปใช้บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายอื่น สุดท้ายจึงเหลือเพียงแผนกที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Accenture
และจากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เอง ทำให้ปัจจุบันจึงเหลือบริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่เพียงแค่ 4 บริษัท หรือที่เรารู้จักกันว่า Big 4 นั่นเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://yucommentator.org/2016/11/when-the-big-five-accounting-firms-became-the-big-four/
-https://edition.cnn.com/2013/07/02/us/enron-fast-facts/index.html
-https://www.youtube.com/watch?v=vg4SBeKULbA
-https://www.investopedia.com/terms/a/anderseneffect.asp
-https://www.investopedia.com/updates/enron-scandal-summary/
-https://www.linkedin.com/pulse/from-big-5-bankruptcy-the-rise-fall-arthur-andersen-urja-sggscc
-www.rangsun.econ.tu.ac.th/data/06/03-45/01-01-Arthur%20Andersen%20กำลังเดินลงหลุมฝังศพ.pdf

เฟซบุ๊กเพจ MICE in Thailand โพสต์ข้อมูลว่า ข่าวดีสำหรับประเทศไทยอีกครั้ง "กรุงเทพฯ" ได้รับรางวัลจาก Global Destination Sustainability Index (GDS-Index) ในหมวด Most Improved Award 2022 ในฐานะเมืองที่มีคะแนนปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมไมซ์และท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีก่อนหน้ามากที่สุด (73.66%)
.
ในปีนี้ มีเมือง 66 เมืองเข้าร่วมแสดงผลงานใน Global Destination Sustainability Index แต่มีเพียง 30 เมืองรวมทั้งกรุงเทพฯ ได้รับเลือกเป็นเมืองที่มีผลงานระดับ Top 30 และมีเพียง 1 เมืองที่ได้รับรางวัลในแต่ละหมวด ประกอบด้วย Innovation Award, Leadership Award, และ Most Improved Award ที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ได้รับ
.
https://mgronline.com/travel/detail/9650000107619
#####
ติดตาม Travel360 เที่ยวรอบทิศ ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
Youtube : Travel MGR
IG :
TikTok :
www.mgronline.com/travel

Photos from BANGKOK LAW เคียงคู่สู่ความสำเร็จ's post

และแล้วเรื่องเครื่องหมายสตาร์บัคก็วนกลับมาให้มีเรื่องคุยอีกจนได้ ทำให้นึกถึงเรื่องคดีสตาร์บังในบ้านเรา
เรื่องนี้เกิดในประเทศญี่ปุ่นครับ
เครื่องหมายที่เป็นปัญหาและโดนสตาร์บัคคัดค้านคือ เครื่องหมายด้านซ้ายครับ ทุกอย่างไม่เหมือนกัน ยกเว้น แถบวงกลมสีเขียว
เครื่องหมายสตาร์บัคจดในประเทศญี่ปุ่นก่อนตั้งแต่ 2004 แต่เมื่อเครื่องหมาย Bull Pulu มายื่นจด สำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่นก็รับจดทะเบียน เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายไม่ได้เหมือนกันจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด
สตาร์บัคเลยยื่นฟ้องต่อ Japan Intellectual Property High Court
ข้อโต้แย้งหลักของสตาร์บัค คือ เครื่องหมายของ Bull Pulu นั้นกว่า 80% คือเจ้าวงกลมสีเขียว ทำให้เจ้าส่วนวงกลมสีเขียวนี้เป็นภาคส่วนที่สำคัญ และทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดกับเครื่องหมายสตาร์บัคได้
แต่ข้ออ้างนี้ ศาลไม่เห็นด้วย
ศาลเห็นว่า สตาร์บัคไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เจ้าวงกลมสีเขียวนั่นในสายตาของผู้บริโภคนั้นเป็นภาคส่วนสำคัญ
จากนั้นศาลว่าต่อไปว่า วงกลมนั้นเป็นเพียงแนวคิดในการออกแบบ (conceptual design element) อีกทั้งข้อความในวงกลมก็ไม่เหมือนของ สตาร์บัค และผู้บริโภคไม่สามารถพิจารณาความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายทั้งสองโดยดูแต่เพียงวงกลมสีเขียวได้ ดังนั้น วงกลมสีเขียวนั้นจึงไม่ใช่ภาคส่วนสำคัญของสตาร์บัค
ส่วนที่สำคัญในความเห็นศาลคือ ภาคส่วนตัวหนังสือของทั้งสองเครื่องหมายนั้น แตกต่างกัน และเป็นส่วนที่ทำให้เห็นว่าเครื่องหมายทั้งสองแตกต่างกัน และไม่ทำให้ผู้บริโภคสับสนหลงผิด
ศาลจึงเห็นว่า เครื่องหมายทั้งสองไม่เหมือนกัน
สตาร์บัคจึงเพิกถอนเครื่องหมายของ Bull Pulu ไม่ได้
นึกถึงเครื่องหมายสตาร์บัง กับสตาร์บัคที่เคยเป็นประเด็นในบ้านเราเมื่อหลายปีก่อน ผมเคยเขียนในเพจไปแล้วว่า เครื่องหมายสตาร์บังไม่น่าจะเหมือนคล้ายกับสตาร์บัค ซึ่งถ้าเอามาเทียบกับแนวของศาลญี่ปุ่น ก็น่าจะชนะแบบ Bull Pulu
ปัจจุบัน ในไทย สตาร์บัคถอดวงกลมเขียวออกแล้ว เหลือแต่ตรงกลางเท่านั้น เอ.. เพราะเหลือแค่ตรงกลาง ถ้าคนอื่นจะเลียนจะยากกว่าหรือเปล่าน้า
บันทึกไว้ ณ วันที่ 11/11/2022

รู้จัก บริษัทเปลือกหอย ที่เป็นมากกว่ากลไกเลี่ยงภาษี - BillionMoney
รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราซื้อหุ้น Alibaba ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เรากำลังลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนบนหมู่เกาะเคย์แมนอยู่
ซึ่งบริษัทที่จดทะเบียนบนหมู่เกาะเคย์แมน ก็คือบริษัทเปลือกหอย หรือ Shell Company ที่มักจะถูกใช้ในการหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทขนาดใหญ่
แต่ Alibaba กลับไม่ได้ใช้บริษัทนี้ในการหลบเลี่ยงภาษี
แล้วบริษัทใหญ่ ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากบริษัทเปลือกหอยอย่างไรได้บ้าง ?
BillionMoney จะสรุปให้ฟัง แบบฉบับเข้าใจง่าย ๆ
บริษัทเปลือกหอย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Shell Company ไม่ใช่บริษัทขายอาหารทะเล อย่างที่หลายคนมีความคิดแว่บขึ้นมาในหัว เมื่อเห็นชื่อเป็นครั้งแรก
แต่เป็นบริษัทที่จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตัวเอง แถมไม่มีพนักงานแม้แต่คนเดียว
บริษัทพวกนี้มักจะถูกจัดตั้งในประเทศ ที่ไม่มีการเก็บภาษี
ไม่มีกฎระเบียบให้เปิดเผยข้อมูลบริษัท เพื่อจูงใจให้นักธุรกิจ หรือนักลงทุนทั่วโลกมาเปิดบริษัท เพื่อหลบเลี่ยงภาษี
แต่ก็มีองค์กรอาชญากรรมบางแห่ง ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายนี้ เป็นแหล่งฟอกเงินเหมือนกัน
สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ได้รับเป็นการตอบแทนก็คือ ค่าธรรมเนียมจากการเปิดบริษัท ที่ทุกบริษัทต้องจ่ายทุกปี
ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ มักเป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก
ที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ใหญ่นัก และพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก
เช่น หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และหมู่เกาะเคย์แมน เป็นต้น
แล้วธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไร ?
ประโยชน์ของการใช้บริษัทเปลือกหอย มีทั้งการใช้งานในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี
การใช้ประโยชน์ในทางที่ดี ก็เช่น
ความพยายามป้องกันการถูกซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร (Hostile Takeover)
การถูกซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตรก็คือ การที่บริษัทหนึ่ง ไปกว้านซื้อหุ้นของบริษัทเป้าหมาย จนมีสัดส่วนการถือครองหุ้นมาก ๆ โดยที่เจ้าของบริษัทนั้น ไม่ได้ต้องการขายกิจการให้
เจ้าของบริษัทที่กำลังจะถูกซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร
ก็อาจตั้งบริษัทเปลือกหอยขึ้นมา แล้วทำการโอนถ่ายทรัพย์สินมีค่า ไปอยู่ในมือของบริษัทเปลือกหอยแทน เพื่อไม่ให้ทรัพย์สินเหล่านั้น ตกไปอยู่ในมือของผู้ที่จะเข้ามาซื้อกิจการ
ในส่วนของการใช้งานบริษัทเปลือกหอยในทางที่ไม่ดีก็คือ การหลบเลี่ยงภาษี
วิธีการที่นิยมใช้กันในหมู่บริษัทขนาดใหญ่ก็คือ การจัดตั้งบริษัทเปลือกหอย ในประเทศที่เสียภาษีน้อย ๆ
จากนั้นก็โอนกำไรที่จะต้องนำมาคิดภาษี ไปยังบริษัทเปลือกหอย ในรูปแบบของค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายการรับคำปรึกษา หรือค่าประกัน
พอทำแบบนี้แล้ว ก็ทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
และเหลือกำไรให้เสียภาษีน้อยลงนั่นเอง
ส่วนค่าใช้จ่ายที่โอนไป ก็มักจะถูกโอนเงินต่อไปยังบัญชีธนาคารส่วนบุคคล
ที่มีการสร้างไว้ในประเทศปลอดภาษีอีกประเทศหนึ่ง
เพื่อไม่ให้ถูกสืบสวนได้ง่าย ๆ
อีกตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากบริษัทเปลือกหอย
ที่เมื่ออ่านแล้ว หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงก็คือ การหลีกเลี่ยงกฎระเบียบบางอย่างที่เข้มงวด
ธุรกิจเทคโนโลยีสัญชาติจีนขนาดใหญ่ อย่าง Alibaba, Tencent, Baidu ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
มักจะนิยมจัดตั้งบริษัทเปลือกหอย เพื่อหลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ ในการห้ามต่างชาติถือครองหุ้นของบริษัทที่สำคัญของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
เราเรียกโครงสร้างบริษัทแบบนี้ว่า Variable Interest Entities (VIE)
วิธีการก็คือ การเอาบริษัทเปลือกหอยเข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา แล้วทำสัญญาระหว่างบริษัทเปลือกหอย กับบริษัทที่ทำธุรกิจจริง ๆ ในจีน เพื่อแบ่งผลกำไรตามที่ตกลงกันไว้
ดังนั้นแล้ว หากใครซื้อหุ้น Alibaba หรือ Tencent ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ก็หมายความว่า เรากำลังลงทุนในบริษัทเปลือกหอย และไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทเหล่านั้นจริง ๆ นั่นเอง..
ติดตาม BillionMoney ช่องทางอื่นได้ที่
Website : billionmoney.com
Blockdit : blockdit.com/billionmoney
Facebook : facebook.com/BillionMoneyTH
Twitter : twitter.com/BillionMoneyTH
Instagram : instagram.com/billionmoneyth/
Youtube : youtube.com/billionmoney
References
-https://www.investopedia.com/terms/s/shellcorporation.asp
-https://smartasset.com/investing/what-is-a-shell-company
-https://www.redflagalert.com/articles/risk/shell-corporations-everything-you-need-to-know
-https://www.sofi.com/learn/content/what-is-a-shell-company/
-https://www.quora.com/How-do-shell-companies-help-you-avoid-paying-taxes
-https://www.marketwatch.com/story/beware-alibaba-ipo-isnt-really-selling-alibaba-2014-05-07
-https://www.investopedia.com/terms/v/variable-interest-entity.asp
-https://www.chinalawinsight.com/2011/10/articles/foreign-investment/variable-interest-entity-vie-structure-for-foreign-investment-in-the-prc-may-face-challenge/

ทำไม ราคาน้ำมันในไทย ถึงแพงกว่า มาเลเซีย ? /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในประเด็นเรื่องพลังงาน ที่มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างไทย และเพื่อนบ้านของเราอย่าง มาเลเซีย ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง
ทำไม ราคาน้ำมันในไทย ถึงแพงกว่า มาเลเซีย ?
สะท้อนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2022
- ประเทศไทย อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร
- ประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ 2.15 ริงกิตต่อลิตร หรือราว 17.30 บาทต่อลิตร
จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันดีเซลของไทย สูงเป็น 2 เท่าของมาเลเซียเลยทีเดียว แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
แม้ว่าไทยและมาเลเซียจะมีอาณาเขตติดกัน แต่สภาพทางธรณีวิทยา ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แหล่งทรัพยากรพลังงาน จึงมีความแตกต่างกันด้วย
จากข้อมูลของบริษัท BP ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของโลก
ได้เปิดเผยเกี่ยวกับน้ำมันดิบของไทย และมาเลเซียไว้ ดังนี้
ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบราว 300 ล้านบาร์เรล ซึ่งเหลือใช้ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น
โดยในปี 2021 ไทยผลิตน้ำมันดิบได้ราว 0.39 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความต้องการใช้ อยู่ที่ 1.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ไทยจะนำเข้าน้ำมันดิบ จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์ และคูเวต
และถึงแม้ว่าไทยจะมีการส่งออกน้ำมันดิบบ้างเล็กน้อย
แต่ก็เป็นเพราะว่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีสารปนเปื้อนสูง
ในขณะที่ กระบวนการผลิตของโรงกลั่นในประเทศ ไม่สามารถรองรับได้ จึงถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
นอกจากน้ำมันดิบแล้ว อีกหนึ่งพลังงานที่ไทยค้นพบปริมาณมาก ในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน นั่นคือ “ก๊าซธรรมชาติ”
แต่หลังจากขุดใช้มากว่า 40 ปี ก็ทำให้ก๊าซธรรมชาติทยอยลดลงเรื่อย ๆ โดยไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 100,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีกแค่ราว 4 ปี
โดยในปี 2021 ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ราว 31,500 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ มากถึง 47,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้อยู่ดี
ทำให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ทางท่อขนส่งจากประเทศเมียนมา
และนำเข้าก๊าซธรรมชาติผ่านทางเรือ ในรูปของ Liquefied Natural Gas (LNG) หรือก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
ซึ่งการนำเข้า LNG ก็กำลังมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในการขึ้นมาทดแทนก๊าซธรรมชาติที่เหลือในอ่าวไทย
โดยในปี 2021 ไทยนำเข้า LNG ราว 9,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 20% ของความต้องการใช้ทั้งหมดเลยทีเดียว
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ทำให้โดยสุทธิแล้ว ไทยกลายเป็นประเทศ ที่จำเป็นต้องนำเข้าพลังงาน เพราะไม่สามารถผลิตพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการได้
ทีนี้ มาดูทางฝั่งประเทศมาเลเซียกันบ้าง
มาเลเซียมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบราว 2,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีกกว่า 12 ปี
โดยในปี 2021 มาเลเซียผลิตน้ำมันดิบได้ราว 0.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่มีความต้องการใช้ อยู่ที่ 0.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เมื่อเทียบกับไทยแล้ว ก็ต้องบอกว่า มาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำมันดิบ มากกว่าที่ผลิตได้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของมาเลเซีย อยู่ที่ 900,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะเหลือใช้ได้อีก 12 ปี เช่นกัน
โดยในปี 2021 มาเลเซียผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ราว 74,200 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพียง 41,100 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทำให้สุดท้ายแล้ว มาเลเซียจึงกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงาน และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้
แล้วทำไมราคาน้ำมันของไทย ถึงแพงกว่ามาเลเซีย ?
ยกตัวอย่างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2022
- ประเทศไทย อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร
- ประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ 2.15 ริงกิตต่อลิตร หรือราว 17.30 บาทต่อลิตร
จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันดีเซลของไทย แพงกว่าของมาเลเซียถึง 2 เท่าเลยทีเดียว
จากที่บอกไปตอนต้นว่า แหล่งทรัพยากรพลังงานของทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกัน
ส่งผลให้ ไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงาน ขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงาน จึงมีการดำเนินนโยบายด้านพลังงานไม่เหมือนกันด้วย
โดยหนึ่งในนั้นก็คือ โครงสร้างราคาน้ำมัน
ซึ่งไทยเอง จะมีการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ใช้น้ำมันอย่างประหยัด
รวมถึง มีการเรียกเก็บเงินอุดหนุนเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในตอนที่ราคาน้ำมันถูก เพื่อนำไปใช้อุดหนุนในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง
อย่างสถานการณ์แบบตอนนี้
ขณะที่มาเลเซีย เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกพลังงาน จึงไม่มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม และไม่มีการตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ มาเลเซียยังสามารถนำรายได้ตรงนี้ มาอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกให้ต่ำกว่าความจริงได้อีกด้วย
นี่จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ราคาน้ำมันในมาเลเซีย มีระดับต่ำกว่าราคาน้ำมันในไทยนั่นเอง
จากเรื่องราวนี้ เราคงเห็นกันแล้วว่า
สถานการณ์ด้านพลังงานของแต่ละประเทศนั้น มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้เส้นทางของนโยบายที่เลือกใช้ ก็ย่อมไม่เหมือนกัน
ดังนั้น หากเราจะเปรียบเทียบระหว่างไทย กับมาเลเซีย หรือแม้กระทั่งประเทศอื่น ๆ ก็ต้องพิจารณาถึงบริบทของประเทศที่แตกต่างกันด้วย..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
https://www.bp.com/content/dam/bp/business-sites/en/global/corporate/pdfs/energy-economics/statistical-review/bp-stats-review-2022-full-report.pdf
https://www.bp.com/content/dam/bp/business-sites/en/global/corporate/pdfs/energy-economics/statistical-review/bp-stats-review-2021-full-report.pdf
-https://www.facebook.com/PTTNews/photos/a.112240405483143/6059150517458739/
-https://www.energynewscenter.com/enc-data-ทำไมราคาน้ำมันไทยไม่เ/
-http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price
-https://www.comparehero.my/transportation/articles/latest-petrol-price-ron95-ron97-diesel
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
Bangkok
10500
วิภาวดี-รังสิต
Bangkok, 10210
บริการทางวิชาการ ความรู้ด้านการสอบ
Bangkok
A personal blog to share knowledge about legal English, the language of the law, and legal translati