The Official Fan Page of Decorative Arts Faculty, Silpakorn University คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2499 ด้วยดำริของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และได้ดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (เสฐียร โกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า “คณะมัณฑนะศิลป์” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น “คณะมัณฑนศิลป์” และเปิดสอนหลักสูตร สาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และหลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรมศิลปากรในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่า อธิการบดีมหาวิทยาลัย)
ระหว่าง พ.ศ. 2499 – 2516 คณะมัณฑนศิลป์ จัดการศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาศิลปตกแต่ง แต่ในเวลานั้น เรียกชื่อว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ตามชื่อคณะวิชา โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญา หลักสูตร 3 ปี และ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิ อนุปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) หรือปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) ตามลำดับ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 – 2544 คณะฯ ได้มีการปรับปรุง และ พัฒนาโครงสร้างหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรี ไม่มีระดับอนุปริญญา พร้อมทั้งขยายสาขาวิชาเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันคณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการออกแบบภายใน สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาประยุกตศิลปศึกษา สาขาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาการ ออกแบบเครื่องประดับ และสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น คณะได้ เปิดสอนปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาศิลปะการออกแบบ ระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาศิลปะการออกแบบ(หลักสูตรนานาชาติ) สาขาการออกแบบเชิงวัฒนธรรม และสาขาการออกแบบ
เปิดเหมือนปกติ
ย้ำกันอีกครั้ง! ปีนี้นิทรรศการ “DEBUT” จัดด้วยกัน 2 รอบ 3 โซน! ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, กรุงเทพ 💫
วันจัดแสดงนิทรรศการ
✦ รอบที่1 : 6 มิ.ย. - 17 มิ.ย.
(พิธีเปิด 9 มิ.ย. 16.00น. - 18.00น.)
✦ รอบที่2 : 20 มิ.ย. - 1 ก.ค.
(พิธีเปิด 20 มิ.ย. 16.00น. - 18.00น.)
สามารถเข้าชมได้วันจันทร์-เสาร์ ตามเวลาเปิดหอศิลป์แต่ละแห่ง ดังนี้
1. หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ (เปิด 10.00น. - 18.00น.)
รอบที่1 : ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
รอบที่2 : ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
2. หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิด 10.00น. - 18.00น.)
รอบที่1 : ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
รอบที่2 : ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
3. หอศิลป์คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ (เปิด 10.00น. - 16.30น.)
รอบที่1 : ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ และ ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
รอบที่ 2 : ภาควิชาประยุกต์ศิลปศึกษา
ประตูทางเข้าเปิดฝั่งท่ามหาราช และ ฝั่งถนนหน้าพระลาน
เช็ครอบเข้าชม วัน เวลา สถานที่ ให้ดี แล้วมาพบกัน💫
#แค่เรียนจบก็เหมือนได้เดบิ้วต์แล้ว
The Designer Says
ในวาระครบรอบการก่อตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ในปี 2565
เราได้เชิญชวนคณาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่า
มาร่วมให้คำนิยามของการออกแบบ
ซึ่งอยู่ในหัวใจและสายเลือดของชาวมัณฑนศิลป์
มาตลอด 66 ปี
ร่วมให้คำนิยามของการออกแบบได้ที่นี่ครับ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScWKfCItJV1go2bTZsKTIY7wgFrra8OWg6djNFuiUms4Ux9JQ/viewform?fbclid=IwAR1k53LnC6LUFXJHWyKB8NL4x5cPzO-J6ZEXt8H9i-ZfTHi_C8UHNrdWjbg
ก่อนจะไปพบกับศิลปินดาวรุ่งหน้าใหม่ ขอเชิญพบกับบุคคลสำคัญในวงการออกแบบทั้งสองท่าน ผู้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการศิลปนิพนธ์ครั้งที่ 52 ในปีนี้ 💫
✦พิธีเปิดรอบแรก วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00น.✦
พบกับคุณประธาน ธีระธาดา ผู้ก่อตั้งนิตยสาร art4d ที่ได้รับความสนใจในแวดวงสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมมามากกว่า 20 ปี อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจด้านการออกแบบให้กับผู้คนอีกมากมาย
✦พิธีเปิดรอบสอง วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00น.✦
พบกับคุณศรัณญู อยู่คงดี ผู้มีชื่อเสียงในฐานะศิลปินและนักออกแบบมากความสามารถแห่งวงการเครื่องประดับ ทั้งในไทยและระดับสากล ผู้นำเสนอความงดงามของผู้หญิง ดอกไม้ และวัฒนธรรมแห่งภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งชนะรางวัลประกวดระดับนานาชาติมากมาย
แล้วมาพบกันในงาน “DEBUT” นิทรรศการแสดงศิลปนิพนธ์ครั้งที่ 52 โดยนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, กรุงเทพฯ
เตรียมตัวให้พร้อม 💫
#แค่เรียนจบก็เหมือนได้เดบิ้วต์แล้ว
🚗เส้นทางการเดินรถและจุดบริการต่างๆ
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2563
กำหนดการฝึกซ้อมพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563
สำหรับบัณฑิตคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 🧑🎓
กำหนดการฝึกซ้อมพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563
สำหรับบัณฑิตคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 และเพื่อให้การฝึกซ้อมความเป็นด้วยความเรียบร้อย จึงขอความร่วมมือจากบัณฑิตเตรียมตัวและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
* วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565
- ขอความร่วมมือบัณฑิตทุกท่าน ดำเนินการตรวจหาเชื้อ Covid-19 ด้วยชุดตรวจ ATK
- กรอกแบบยืนยันผลการรับวัคซีนและผลตรวจ ATK สำหรับบัณฑิตคณะมัณฑนศิลป์ พร้อมทั้งแนบไฟล์ภาพผลการเข้ารับวัคซีนและผลตรวจ ATK / ใบรับรองแพทย์ ในระบบ Google form ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้
ลิ้งค์ สำหรับกรอกข้อมูล
https://forms.gle/EjnZrYeZFFt4vt3w5
หมายเหตุ : ขอให้บัณฑิตตรวจ ATK ในวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป
* ฝึกซ้อมย่อยคณะวิชา
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565
ลงทะเบียน เวลา 8.30-9.00 น. ณ อาคารศิลป์ พีระศรี 3 พระราชวังสนามจันทร์
(ขอให้บัณฑิตจำ ลำดับในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งจะใช้ในการลงทะเบียน)
เวลา 09.30 – 16.30 น. ฝึกซ้อมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563
* ฝึกซ้อมย่อย
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565
เวลา 06.00 – 06.30 น. รายงานตัว ณ สนามบาสฯ รร.สาธิต
เวลา 09.00 – 12.00 น. ฝึกซ้อม ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
เวลา 12.40 – 13.00 น. ถ่ายภาพหมู่บัณฑิต
* วันซ้อมใหญ่
วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565
เวลา 06.00 – 06.30 น. รายงานตัว ณ สนามบาสฯ รร.สาธิต
เวลา 09.00 – 12.00 น. ฝึกซ้อม ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
* วันพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563
วันที่ 10 มิถุนายน 2565
เวลา 06.00 – 06.30 น. รายงานตัว ณ สนามบาสฯ รร.สาธิต
เวลา 09.00 – 11.30 น. พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563
สร้างสรรค์งานเซรามิกในแบบของคุณ 🤩
เรียนเพียง 5 ครั้ง ได้ผลงานของตนเอง
หรือจะนำเทคนิคไปต่อยอดวิชาชีพก็ทำได้
ไม่ว่ามือใหม่ มือเก๋าสมัครได้ตั้งแต่วันนี้💥
.
หลักสูตรระยะสั้น SHC650405001
เทคนิคการสร้างสรรค์งานเซรามิกระดับพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพ รุ่นที่ 2
📌 สร้างสรรค์งานเซรามิกโดยวิธีขึ้นรูปด้วยมือ
📌 เรียนรู้เทคนิคสร้างผลงานจากศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
📌 ประเมินราคาผลงานเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจได้
💰 ค่าลงทะเบียน 7,000 บาท
* พิเศษ! ส่วนลด 30% สำหรับบุคลากร ม.ศิลปากร
เหลือเพียง 4,900 บาท *
📍 ONSITE ณ ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร จ.นครปฐม
.
ใครสมัครได้บ้าง❓
✅ อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
✅ สามารถทำงานกับดินได้
.
✏️ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 23 ตุลาคม 2565
🔥 รับจำนวนจำกัดเพียงแค่ 20 ที่นั่งเท่านั้น!
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ทาง https://lifelong.su.ac.th
หรือแจ้งลงทะเบียนผ่าน Line ID : su4life
.
💬 พบปัญหา/ข้อสงสัย ติดต่อสอบถามได้ที่
โทร. 06-5936-5560
Line ID : su4life
Inbox Fanpage : https://m.me/SU4Life.Silpakorn/
.
#ระบบคลังหน่วยกิต #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ศิลปากร #ทีมศิลปากร #การศึกษาตลอดชีวิต #หลักสูตรระยะสั้น #เซรามิก #เครื่องเคลือบดินเผา #คณะมัณฑนศิลป์ #สร้างอาชีพ #แต่งบ้าน #งานอดิเรก
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเซียมไท้ ขอเชิญชาวไทยร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบฟอนต์ วันเสาร์ที่ 18, 25 มิ.ย., 2 ก.ค. และ วันอาทิตย์ที่ 10, 17 ก.ค. 2565 ณ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ
วิทยากร: ไพโรจน์ ธีระประภา | รศ.อาวิน อินทรังษี | ผศ.ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ | ดร.วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ | ปณต ทองประเสริฐ | สรรเสริญ เหรียญทอง
รายละเอียดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่เวลา 9:00 น. - 15:00 น.
• วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 : การออกแบบฟอนต์เบื้องต้น ประเภทของฟอนต์ โครงสร้างของตัวอักษร สัดส่วนของตัวอักษรละติน-ไทย ตัวเลขอารบิค-ไทย ตำแหน่งของสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่างๆ ลงพื้นที่เพื่อค้นหาแรงบันดาลไจในการออกแบบฟอนต์
• วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 : ผู้อบรมนำเสนอแบบร่างฟอนต์ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการพัฒนา ฟอนต์จากวิทยากร
• วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565 : ผู้เข้าอบรมนำเสนอต้นแบบฟอนต์ในโปรแกรม Illustrator พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการพัฒนาฟอนต์จากวิทยากร
• วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 : การใช้งานโปรแกรม Fontlab : การตั้งค่า Font Info การ สร้าง Glyph การตั้งค่าระยะห่างระหว่างตัวอักษร การปรับ Contour การย่อ-ขยาย
• วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2565 : การใช้งานโปรแกรม Fontlab : การทำ Mark การ Kerning การใช้ Action เพื่อสร้าง Style ให้กับตัวอักษร การออกแบบ Font Specimen ช่องทางการเผยแพร่และจำหน่ายฟอนต์
หมายเหตุ *ผู้เข้าอบรมจะต้องมีพื้นฐานการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator และการอบรมมีการบ้าน หากไม่มีเวลา ขอแนะนำว่าไม่ควรเข้าอบรม
รวมระยะเวลาการอบรม 30 ชั่วโมง ค่าลงทะเบียน 5,000 บาท
สมัครวันนี้-17 มิถุนายน 2565 รับจำนวนจำกัด 20 ท่านเท่านั้น หากใกล้เต็มจะประกาศทางเพจอีกครั้งนะครับ
* ผู้เข้าอบรมทุกท่านจะได้รับประกาศนียบัตรเมื่อเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และจะได้รับเทมเพลทฟอนต์ และฟอนต์ของเซียมไท้ ฟรี
ฟอนต์ที่ผู้เข้าอบรมทำในโครงการ สามารถนำมาจำหน่ายในเว็บ Behance ของเซียมไท้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กรอกใบสมัครที่นี่ครับ https://forms.gle/jwga4spTWe1xNqCy9
ชมผลงานของเซียมไท้ได้ที่นี่ https://www.behance.net/ziam-type...|ziam-type
Photos from M.O.M's post
The Designer Says
ในวาระครบรอบการก่อตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ในปี 2565
เราได้เชิญชวนคณาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่า
มาร่วมให้คำนิยามของการออกแบบ
ซึ่งอยู่ในหัวใจและสายเลือดของชาวมัณฑนศิลป์
มาตลอด 66 ปี
ร่วมให้คำนิยามของการออกแบบได้ที่นี่ครับ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScWKfCItJV1go2bTZsKTIY7wgFrra8OWg6djNFuiUms4Ux9JQ/viewform?fbclid=IwAR1k53LnC6LUFXJHWyKB8NL4x5cPzO-J6ZEXt8H9i-ZfTHi_C8UHNrdWjbg
The Designer Says
ในวาระครบรอบการก่อตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ในปี 2565
เราได้เชิญชวนคณาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่า
มาร่วมให้คำนิยามของการออกแบบ
ซึ่งอยู่ในหัวใจและสายเลือดของชาวมัณฑนศิลป์
มาตลอด 66 ปี
ร่วมให้คำนิยามของการออกแบบได้ที่นี่ครับ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScWKfCItJV1go2bTZsKTIY7wgFrra8OWg6djNFuiUms4Ux9JQ/viewform?fbclid=IwAR1k53LnC6LUFXJHWyKB8NL4x5cPzO-J6ZEXt8H9i-ZfTHi_C8UHNrdWjbg
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:39 น.
ณ แยกอาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย รองอธิการบดีพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช พูลเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีพระราชวังสนามจันทร์ นายสมหมาย ตันธุวปฐม ผู้อำนวยการกองงานวิทยาเขต รับมอบผลงานสร้างสรรค์ จากคณะมัณฑนศิลป์ นำโดย อาจารย์ ดร.ธนาทร เจียรกุล คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ ตามดำเนินการนโยบาย "มัณฑนศิลป์เพื่อสังคม"
เป็นผลงานประติมากรรมกลุ่ม CERAMIC จำนวน 6 ชิ้น ชื่อผลงาน "พรรณไม้แห่งจินตนาการ ๓๐๕๖๕" สร้างสรรค์โดย ผูู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี เมืองแก้ว รองคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ พระราชวังสนามจันทร์
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้มีบรรยากาศ ความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งศาสตร์และศิลป์ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผลงานชุดนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโดย ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ และ โรงงานเถ้าฮงไถ่ โดยคุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ โดยผู้สร้างสรรค์ผลงานและ ผู้สนับสนุนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานสร้างสรรค์นี้จะเกิดประโยชน์ในการสร้างเสริมความมีสุนทรียภาพในจิตใจ รวมถึงอยากมอบเป็นของขวัญให้กับบัณฑิตใหม่ศิลปากรทุกคน และเป็นสิ่งที่เตรียมต้อนรับการเปิดให้เข้ามาเรียน ปฏิบัติงานในพื้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้กับนักศึกษาและบุคคลากรศิลปากร ทุกคน
รายละเอียดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (หลักสูตร 2 ปี) ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กำหนดการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2565
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565
- วันซ้อมย่อย 7 มิถุนายน 2565
- วันซ้อมใหญ่ 8 มิถุนายน 2565
Photos from อาจารย์ทด จิวเวอรี่'s post
ขอเชิญชมนิทรรศการแสดงเดี่ยวของอาจารย์เนติกร ชินโย
"Nothing Lasts Forever"
พิธีเปิดนิทรรศการ วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 เวลา 17:00 น.
ณ ศูนย์จริยศิลป์ ชั้น4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (bacc)
ปิติ : คนรุ่นก่อนที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ก็หมกมุ่นกับการเอาส่วนไม่จำเป็นออก ผลคือผลิตได้ง่าย ใช้ง่าย สะอาดตา ตัวพักแขนของเก้าอี้ที่เราทำไม่ใช่ส่วนเกินหรือของตกแต่ง ผมมองว่ามินิมอลคือรูปลักษณ์ปลายทาง คำว่ามินิมอลง่ายต่อการเข้าใจ แต่ถ้าตั้งต้นว่าจะทำเก้าอี้มินิมอล จะไม่เกิดแนวคิดหรือแรงบันดาลใจ มันจะว่างเปล่า เพราะในการออกแบบมีอย่างอื่นต้องคิด เช่น จุดประสงค์ โจทย์ของลูกค้า สมมุติถ้าบอกจงทำเก้าอี้มินิมอลตัวหนึ่ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ได้เก้าอี้สี่เหลี่ยม มีแผ่นรองนั่ง มีขาเก้าอี้ อาจเป็นไม้สีอ่อน ๆ มีส่วนของกระจก โลหะ ถ้าโจทย์แห้ง ก็ได้อะไรที่แห้งเท่านั้น ซึ่งสำหรับนักออกแบบ เราต้องออกแบบของที่ดูอบอุ่น น่าใช้ คิดถึงคนใช้งาน
.
จุฑามาส : คำที่เราใช้บ่อยคือ “มีเหตุผล” (rational) นำไปสู่การสร้างงานมากกว่า และคำว่า “เหมาะสม” (optimum) หาภาวะที่ดีที่สุด เช่น ดีที่สุดของเก้าอี้เป็นอย่างไร จะออกแบบจากตรงนั้น นี่อาจเป็นรากฐานของมินิมอล นักออกแบบจะใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ปลายทางคนมาเรียกว่ามินิมอล ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์มินิมอลจึงไม่จำเป็นต้องมีแค่สีขาวกับลายไม้เท่านั้น
---
o-d-a ก่อตั้งโดยสองนักออกแบบ จุฑามาส บูรณะเจตน์ (ลูกท้อ) และ ปิติ อัมระรงค์ (ดุ๋ย) ทั้งคู่จบปริญญาตรีจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปิติจบด้านกราฟิกดีไซน์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ขณะที่จุฑามาสจบสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ หลังเรียนจบพวกเขาก็เริ่มทำงานออกแบบร่วมกันในนามสตูดิโอ o-d-a ลงสนามประกวดออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศหลายงานและได้รับรางวัล เช่น Nextmaruni : Wooden Armchair Competition (ญี่ปุ่น, ค.ศ. ๒๐๐๕) และ Honorable Mention จาก Promosedia International Design Competition (อิตาลี, ค.ศ. ๒๐๐๗) เป็นต้น ต่อมา o-d-a ยังทำงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้กับ Katoji แบรนด์ญี่ปุ่นที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์สำหรับเด็ก ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของตัวเอง และผลิตสินค้าอย่างสบู่และแชมพูภายใต้แบรนด์ Seriously Hobby
.
"มินิมอลคือตะกร้าขนาดใหญ่ที่มีของในนั้นมากมาย ผลดีคือมีสินค้าแนวนี้ให้เลือกมากขึ้น พอคนยอมรับคุณค่าก็ไม่อยากตกยุค คนจำนวนหนึ่งจึงยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ดูเรียบง่ายมากขึ้น จริง ๆ มันทำให้คนซื้อของเพิ่มขึ้น เพราะดูเข้าชุดไปหมด ลึก ๆ เรื่องนี้จึงเอื้อระบบทุนนิยม ทำให้คนมีของเยอะ แต่ไม่วุ่นวาย สิ่งของทุกชิ้นมีเสียง ของมินิมอลไม่พูดมาก ทำให้บ้านไม่น่ารำคาญ"
.
Minimal Trend
ในทัศนะของ “ผู้ผลิต”
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
.
สารคดี สำรวจกระแส Soft Power + Minimal ของคนไทย เพื่อทำความรู้จักเทรนด์นี้ให้ถึงราก
.
🥭 นิตยสารสารคดี
ฉบับ 446 พฤษภาคม 2565
SOFT POWER+MINIMAL
เล่มละ 180 บาท
ค่าส่ง 30 บาท
.
🥭 สั่งซื้อได้แล้ววันนี้
คลิกเลย!!
https://shop.line.me/@sarakadeemag/product/1001544330
Line : @sarakadeemag หรือคลิก https://lin.ee/igSEvyb
inbox : http://m.me/sarakadeeboranrobroo
.
#นิตยสารสารคดี
สัมมนาคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปี 2565
ในหัวข้อ “การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในยุควิถีใหม่”
ระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2565
ณ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ขยายเวลารับสมัครนักศึกษาเข้าเรียนปริญญาโท จนถึง 30 มิ.ย 2565
ขยายเวลาเปิดรับสมัคร นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (โครงการพิเศษเรียนนอกเวลาราชการ) ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคต้น ปีการศึกษา 2565 จนถึง 30 มิถุนายน 2565
รายละเอียดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)
http://www.graduate.su.ac.th/images/course/2564/PS_20.pdf
สมัครออนไลน์ได้ที่
http://www.graduate.su.ac.th/index.php/2015-09-15-03-03-00
สามารถสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่
คุณอิญทิรา ไล้เลิศ โทร : 02-221-5874
คุณหทัยกานต์ ประสิทธิ์ โทร : 084-924-1656
รศ.ดร.รัฐไท พรเจริญ โทร : 093-325-6545
LINE คณะมัณฑนศิลป์ : @dec.su
หรือ Inbox
Photos from Decorative Arts, Silpakorn University's post
The Designer Says
ในวาระครบรอบการก่อตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ในปี 2565
เราได้เชิญชวนคณาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่า
มาร่วมให้คำนิยามของการออกแบบ
ซึ่งอยู่ในหัวใจและสายเลือดของชาวมัณฑนศิลป์
มาตลอด 66 ปี
ร่วมให้คำนิยามของการออกแบบได้ที่นี่ครับ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScWKfCItJV1go2bTZsKTIY7wgFrra8OWg6djNFuiUms4Ux9JQ/viewform?fbclid=IwAR1k53LnC6LUFXJHWyKB8NL4x5cPzO-J6ZEXt8H9i-ZfTHi_C8UHNrdWjbg
คณะมัณฑนศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี และอาจารย์วรุษา อุตระ ได้ออกแบบและจัดทำผีเสื้อจากผ้าอัตลักษณ์ไทยทรงดำ บ้านเกาะแรต อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อถวายความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในโอกาสอันเป็นมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และประชาชนทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ถวายความจงรักภักดีผ่านการสนองพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่และน้ำพระราชหฤทัยอันเมตตา ด้วยการประดิษฐ์ "ผีเสื้อแห่งความจงรักภักดีจากผ้าอัตลักษณ์จังหวัด" โดยรวบรวมเศษผ้าอัตลักษณ์ของทุกชุมชน ทุกอำเภอ มาประดิษฐ์เป็นผีเสื้อหลากสีสัน หลายรูปแบบ จังหวัดละ 90 ตัว เป็นการแสดงให้เห็นถึง การน้อมนำพระราชดำริที่ทรงฟื้นคืนชีวิตผ้าไทย ให้ประชาชน ให้เกษตรกรได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง เพราะผ้าไทย จากสายพระเนตรที่กว้างไกลเมื่อ 50 ปีก่อน ส่งผลทำให้พี่น้องประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในปัจจุบัน
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
Official Page of Kasetsart University -- งดฝากร้านและโฆษณา
สถาบันติวหลักสูตรนานาชาติ เช่น GED, SAT, IELTS, IGCSE, A-LEVEL พร้อมบริการ Consult โดยผู้เชี่ยวชาญ
CIDI Chanapatana offers 2 Italian-curriculum diploma programs: Fashion Design and Interior & Product Design.
Welcome to MMCHULA
Official page of School of Management, AIT- Thailand !
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โทร 0 2942 5800, 0 2942 6800 โทรสาร 0 2541 7113
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ MBA NIDA l NIDA Business School l AACSB
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
Welcome To Valaya Alongkorn Rajabhat University Bangkok Center.
สวัสดีครับทุกท่านที่มาเยือนหน้า Facebook ของชาวจันทรเกษม ทุกท่าน ส่งข่าวสารถึงกันและกัน
BBA Thammasat was established in 1992 with the objective of creating a program in undergraduate business education that is responsive to a world of fast-pace technology and a more global-oriented business world.