Waste Talk

Waste Talk

สื่อประชาสัมพันธ์ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการของเสียระหว่าง 3 หน่วยงาน

03/07/2023

🗓 ปฏิทินการจัดสอบมาตรฐานเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4
🏢ศูนย์สอบ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
📝 รับสมัครสอบครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 – 27 กรกฎาคม 2566
📝 รับสมัครสอบครั้งที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 2 – 27 ตุลาคม 2566

🌐 สามารถสมัครสอบและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.ehwm-exam.com
☎️ติดต่อสอบเพิ่มเติมทาง Line OA : https://lin.ee/BHlw0Je
E-mail : [email protected]
โทร : 02-218-3831, 065-478-5107 ในวันและเวลาราชการ
#ศูนย์สอบจุฬาฯ #สอบมาตรฐานเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ #ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ #ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ #ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Photos from กรมโรงงานอุตสาหกรรม's post 12/06/2023
06/06/2023

📣 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.)
ขอเชิญชวนเข้าร่วมปลดล็อควิกฤตปัญหาขยะพลาสติกสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
ในงานสัมมนาวิชาการ “Unlocking the Plastics Circular Economy”
💻ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting

📌ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษ “A vision for a future free from plastic pollution” โดย
> ดร.จุลพงษ์ ทวีศิลป์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสากรรม
> นางกัญชลี นาวิกภูมิ ผู้อำนวยการกองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
> ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร

📌และการเสวนาหัวข้อ “Unlocking the Plastic Circular Economy” :Waste value chain
โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติก

🗓วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 8.30 - 12.00 น.
🌐ลงทะเบียน https://forms.gle/RB47NS2Xwa4wZoab9
Meeting ID: 972 1583 3779
Password: 913964
‼️ ฟรี ‼️ ไม่มีค่าใช้จ่าย

#ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย #ขยะพลาสติก #เศรษฐกิจหมุนเวียน

29/03/2023

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครเพื่อนร่วมงาน 🧑‍💻🗓
เจ้าหน้าที่ธุรการโครงการ 1 ตำแหน่ง
-------------------------------------------
📑 สนับสนุนงานธุรการของโครงการให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
📑 ประสานงานกับผู้สมัครสอบ (ทางโทรศัพท์ อีเมล หรืออื่นๆ)
📑 จัดเก็บ รวบรวม และแยกหมวดหมู่เอกสารของโครงการ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงและการใช้งาน
📑 ตรวจสอบเอกสารของผู้สมัครสอบ
📑 จัดทำใบเสร็จรับเงินของผู้สมัครสอบ
📑 ช่วยเหลือประสานงานเพื่อการจัดการประชุม การจัดสอบ การอบรม เป็นต้น
📑 ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
-------------------------------------------
✅ เพศหญิง อายุไม่เกิน 30 ปี
✅ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
✅ สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้ดี เช่น Microsoft Excel, Word
✅ มีความตั้งใจและมีสมาธิในการทำงาน
✅ มีใจบริการ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
✅ หากมีประสบการณ์ในการทำงานด้านธุรการโครงการฯ หรืองานประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะพิจารณาเป็นพิเศษ
-------------------------------------------
📨 ส่งประวัติส่วนตัว และใบแสดงผลการเรียนได้ที่ [email protected]
☎️ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คุณศิริลักษณ์ 0-2218-3952

Photos from ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)'s post 09/03/2023
07/03/2023

วิดีโอกระบวนการรีไซเคิลซากเซลล์แสงอาทิตย์ https://youtu.be/S3ifdEqS8-g ภายใต้ "โครงการทดสอบการรีไซเคิลซากเซลล์แสงอาทิตย์และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งและกำกับดูแลโรงงานนำร่องในประเทศไทย" โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย

#แผงเซลล์แสงอาทิตย์

Photos from PETROMAT's post 28/02/2023
05/01/2023

📣We are pleased to invite you to a seminar on "Knowledge Sharing on Decommissioning and Net Zero Technology in UK"

📌 12 Jan 2023 (THU)
🕒 9:00 – 12:00 (GMT+7)
🏨 Onsite at Pathumwan Princess Hotel in Bangkok (50 seats/pre-registered only) and Online via Zoom
📎 The registration is free of charges.
https://petromat.chula.ac.th/Decom-Seminar-Register
📞 Further details, please contact Ms. Jansajee at +(66) 80 748 1389

Organized by PETROMAT, HSM, and University of Aberdeen

25/11/2022
Photos from ตู้เย็นกลับบ้าน's post 20/11/2022
09/11/2022

📣 สาระน่ารู้ด้านการจัดการสารและของเสียอันตรายกับ ศสอ.

ตอน 🚜 ยางมะตอยกับสิ่งแวดล้อม 🌏

🛤แอสฟัลต์ หรือยางมะตอย เป็นสารผสมที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดและสารอินทรีย์อื่นๆ ซึ่งเรียกรวมๆ กันว่า สารบิทูเมน เป็นของเหลวกึ่งของแข็งที่มีลักษณะข้นหนืด สีดำหรือสีนํ้าตาลแก่แกมดำ เกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ แต่ที่ใช้ราดบนพื้นผิวถนนในปัจจุบันนั้น เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งในปัจจุบันมีการผลิตยางมะตอยที่มีส่วนผสมหลากหลาย เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

🛤หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการใช้ประโยชน์จากยางมะตอยในธรรมชาติ ย้อนไปไกลถึง 40,000 ปีทีเดียว โดยมีรายงานว่าเครื่องมือหินที่ถูกขุดพบในทะเลทรายของประเทศซีเรีย ถูกเคลือบด้วยสิ่งที่เราเรียกว่ายางมะตอยหรือแอสฟัลต์ แม้แต่หลักฐานกรีกโบราณก็มีข้อมูลว่ากำแพงเมืองบาบิโลนใช้ยางมะตอยเป็นตัวประสานในการก่อสร้างกำแพง นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวอียิปต์โบราณใช้ยางมะตอยเป็นส่วนประกอบในการรักษาสภาพมัมมี

🛤สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เริ่มสร้างถนนสมัยใหม่ที่ราดด้วยยางมะตอยขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 หรือเกือบ90 ปีก่อน ที่ถนนเยาวราชจากสี่แยกวัดตึกถึงสามแยก โดยใช้เทคโนโลยีการทำถนนของประเทศฝรั่งเศส และใช้แอสฟัลต์ยี่ห้อ Maltoy (มาลตอย) ของบริษัท พาราฟิน เพ้นท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำหรับที่มาของคำว่า“ยางมะตอย” ในภาษาไทยนั้น คาดว่าคงเป็นเพราะความที่คนไทยไม่เคยเห็นยางสีดำชนิดนี้มาก่อน จึงเรียกชื่อตามยี่ห้อของแอสฟัลต์ที่ใช้ทำว่า “ยางมาลตอย” แต่การออกเสียงเพี้ยนไปจนกลายเป็น “ยางมะตอย” ในปัจจุบัน

🛤วัตถุประสงค์ของการราดยางมะตอยบนพื้นผิวถนน นอกจากเพื่อสร้างแรงเสียดทานระหว่างยางรถยนต์กับพื้นถนน ทำให้รถเกาะถนนและการขับขี่นุ่มนวลขึ้นแล้ว ยังช่วยลดฝุ่นและเสียงเมื่อรถวิ่งไปมา และเนื่องจากคุณสมบัติของยางมะตอยในการยึดประสานและป้องกันน้ำซึมผ่าน ทำให้ในปัจจุบันมีการผลิตยางมะตอยมาใช้งานด้านอื่นๆ มากขึ้น และเราสามารถหาซื้อยางมะตอยสำเร็จรูปได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป ตัวอย่างการนำยางมะตอยมาใช้งานในปัจจุบัน เช่น ทำพื้นทางเดิน หรือทำเป็นหลังคายางมะตอย เพราะสามารถให้ลวดลายและสีสันที่มีความสวยงามไม่แพ้กระเบื้องมุงหลังคาปกติ ในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป โดยจะมาในรูปแบบของแผ่นยางมะตอยที่มีการอัดทับกันจนเกิดความแข็งแรงและมีเนื้อหนาแน่น นอกจากนี้ พื้นข้างใต้ของแผ่นยางที่มีความเหนียว เมื่อโดนความร้อนจากแสงแดด ความเหนียวจะเพิ่มขึ้น ทำให้การยึดติดมีความแข็งแกร่งมากกว่าเดิม จึงทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ ทั้งความร้อนและพายุฝน

🛤แม้ยางมะตอยจะมีประโยชน์มากมาย แต่เนื่องจากในยางมะตอยมีสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนด์ (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า PAH นักวิจัยพบว่าในยางมะตอยซึ่งเตรียมขึ้นจากน้ำมันดำจากการกลั่นถ่านหิน หรือ โคลทาร์ (Coal Tar) มีเจ้าสาร PAH มากกว่าที่พบในวัสดุอื่นๆ ถึง 100 เท่าเลยทีเดียว

🛤นอกจากยางมะตอยที่พบเห็นได้บนผิวถนนบางจุดแล้ว ในปัจจุบันมีการนำยางมะตอยมาราดทางเดินในสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น หรือภายในบริเวณบ้านกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีสินค้าอีกหลายชนิดที่นำเอา โคลทาร์ (coal tar) หรือน้ำมันกลั่นจากถ่านหินมาทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมของกาวที่ใช้ยึดพื้นไม้ตามบ้านเรือน รวมทั้งเป็นส่วนผสมในสบู่ แชมพู และครีมรักษาโรคผิวหนังบางชนิด ซึ่งบางประเทศ เช่น ไต้หวัน ได้ประกาศห้ามใช้โคลทาร์ในส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ มาเกือบสิบปีแล้ว

🛤จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อปี ค.ศ. 2010 รวมทั้งงานวิจัยอื่นๆ ในเวลาใกล้เคียงกัน ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่สาร PAH จากยางมะตอยจะปนเปื้อนเข้าสู่บ้านเรือน โดยพบว่าบ้านที่ใช้ยางมะตอยทำพื้นถนนหน้าบ้าน ที่จอดรถ หรือทางเดินบริเวณบ้าน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าบ้านทั่วไปถึง 25 เท่าโดยไม่พบความแตกต่างของความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การนำจักรยานหรือสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน หรือพฤติกรรมการปรุงอาหาร และการทำความสะอาดบ้าน และแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดถึงความเป็นพิษของฝุ่นจากเศษยางมะตอยต่อสุขภาพของคนในบ้าน ในขณะที่ฝุ่นหรือพิษจากแหล่งอื่นๆ เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีต่างๆ ในบ้าน อาจดูน่ากังวลกว่าด้วยซ้ำ แต่สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กซึ่งส่วนใหญ่จะชอบคลานเล่นบนพื้นบ้านและเอาทุกอย่างเข้าปากแล้ว ก็นับว่าเป็นความเสี่ยงอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงและคงต้องรอดูผลการศึกษาวิจัยที่มีต่อสุขภาพกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยางมะตอยที่มีโคลทาร์เป็นส่วนผสม โดยทีมวิจัยของ US Geological Survey ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้หลายเมืองในอเมริกา เช่น ออสตินและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แบนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโคลทาร์เป็นส่วนผสมแล้ว
ประเด็นเกี่ยวกับยางมะตอยที่น่าติดตามอีกเรื่องคือ การนําวัสดุผิวทางกลับมาใช้ใหม่ (Reclaimed Asphalt Pavement) หรือที่เรียกโดยย่อว่า RAP ในการบำรุงรักษาผิวทางที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพ โดยการนำ ยางมะตอยเก่ามา Recycle แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อทดแทนวัสดุตามธรรมชาติที่นับวันจะหมดไป อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุน ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีข้อกังวลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการรั่วซึมของสาร PAH และโลหะหนักในยางมะตอย Recycle ซึ่งยังไม่มีผลการศึกษาเชิงลึกถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยที่ชัดเจน

🛤สำหรับผู้ที่ต้องการพื้นยางมะตอยในบริเวณบ้าน ให้เลี่ยงทำในช่วงหน้าฝน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากสาร PAH เพราะความชื้นจะทำให้สาร PAH ระเหยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ปูเสร็จใหม่ๆ ในช่วง 2-3 วันแรก และอย่าลืมถอดรองเท้าพร้อมทั้งเช็ดหรือล้างเท้าก่อนเข้าบ้านทุกครั้ง ข้อสำคัญหมั่นดูดฝุ่นและทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของสารก่อมะเร็ง

#ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย #ยางมะตอย #สารพิษ #มะเร็ง
__________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
🌐 เว็บไซต์ : https://hsm.chula.ac.th/website/
📱 Facebook : https://www.facebook.com/HazardousSubstanceManagement
📩 Email : [email protected]
☎️ โทรศัพท์ : 02 218 3952
CENTER OF EXCELLENCE ON HAZARDOUS SUBSTANCE MANAGEMENT

แบบสอบถามพฤติกรรม “การคัดแยกขยะพลาสติก” 27/10/2022

แบบสอบถามพฤติกรรม “การคัดแยกขยะพลาสติก” แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการคัดแยกขยะพลาสติก จึงใคร่ขอความร่วมมือท่านตอบแบบสอบถาม ....

07/10/2022

🤗 วันนี้เรายินดีที่จะได้บอกทุกคนว่า “จุดรับขยะ Recycle+ ของจุฬาฯ” เปิดทำการแล้วนะ! 📢
พื้นที่นี้เราได้ผู้ใหญ่ใจดีจาก รีไซเคิลเดย์ Recycle Day Thailand เปิดพื้นที่ Recycle Day@Block 28 ให้สายกรีนที่แยกขยะแล้วยังเหลือส่วนที่ขายไม่ได้ ไม่รู้จะไปทางไหน จะส่งไปรษณีย์ก็เสียดายเงิน เอามาฝากไว้ตรงนี้เพื่อส่งต่อให้เรานำไปจัดการต่ออย่างเหมาะสมที่สุด
✨ สุดคุ้ม! มาทีเดียวได้หลายเรื่อง คุณสามารถเอาวัสดุ Recycle ไม่ว่าจะเป็น กล่องกระดาษ ขวด PET ขวดนม HDPE กระป๋องอลูมิเนียม มาแลกสะสมแต้มกับทาง Recycle Day Thailand พร้อมหอบหิ้วขยะส่งเผามาฝากไว้ที่นี่พร้อมๆ กันได้เลย ไม่ต้องแยกไปหลายทาง ✨
ใครที่เคยหลังไมค์มาหาเราว่าอยากเอามาฝากเราทิ้ง เราขอบอกข่าวดีกับคุณอีกทีว่า “เปิดแล้วจ้า เปิดแล้วจ้า เอาไปฝากไว้ได้เลย ส่วนของที่สามารถนำมาฝากไว้ได้ ก็ตามลิสต์ด้านล่างนี้👇🏽👇🏼👇🏻

✔️ ซองขนม/ซองกาแฟ ✔️ แก้วกระดาษเคลือบพลาสติก ✔️ แก้วกาแฟ/หลอด/ฝาโดม/ ✔️ ฝาถ้วยโยเกิร์ต ฟอยล์ห่ออาหาร ✔️ กล่องโฟม/ช้อน/ส้อมพลาสติก ✔️ ภาชนะบรรจุอาหาร ✔️ ถุงกระสอบ ถุงอาหารสัตว์ ✔️ หลอดครีมเปล่า ✔️ ห่อ/ถุงผงซักฟอก ✔️ ห่อ/ถุงรีฟิวน้ำยาต่างๆ ✔️ หลอดยาสีฟันเปล่า✔️ แปรงสีฟัน

🙅🏽 🚫 🙅🏽 ขอมีข้อแม้ว่า "ของที่จะมาฝากต้องแห้ง และ ไม่เปื้อนเศษอาหาร" เพื่อสุขอนามัยที่ดีของตัวคุณและเจ้าหน้าที่ที่ดูแล 💔
พิกัด Recycle day@Block 28 : https://goo.gl/maps/PbLkLfNCNdct4GRZ7
เปิดทำการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลา 8.00 น.- 18.00 น.
(อ่านเรื่องวิธีการจัดการขยะ Recycle+ ของจุฬาฯ ได้ที่ https://www.facebook.com/chulazerowaste/posts/pfbid026uj7S3rQB6TaJe5KJW2XYLxND8MbLttn5W8qWJD3Dt4QPw46v4wgZJe3RQk3McZWl)

Photos from สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ's post 27/09/2022
21/09/2022

📺 รับชมรายการ "เปลี่ยนมุมคิด" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง10 #โทรทัศน์รัฐสภา

โดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศสอ.) ได้ให้สัมภาษณ์ในประเด็น : ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย 🗑♻️

หรือรับชมผ่านช่องทางยูทูบได้ที่ 👉 https://www.youtube.com/watch?v=r-6zKJ9GTrw

#วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา #ศสอ #ขยะอันตราย

‘ปิโตรแมท’ รวมทีมพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม รับทุน ‘บพข.’ ยกร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดกา 26/07/2022

‘ปิโตรแมท’ รวมทีมพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม รับทุน ‘บพข.’ ยกร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดกา ‘ปิโตรแมท’ รวมทีมพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม รับทุน ‘บพข.’ ยกร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม หนุ...

08/07/2022

📣♻ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเสวนาและระดมความคิดเห็น “การจ้างจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมรีไซเคิลตามแนวคิดการทำเหมืองแร่ในเมือง (Urban Mining)”

📆ในวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 -12.00 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

📱ทั้งนี้ท่านสามารถลงทะเบียนโดยการสแกนรหัสคิวอาร์ (QR Code) ด้านล่าง หรือผ่านระบบออนไลน์ที่ shorturl.at/fjNS4 ภายในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

🏭และสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัด กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา อยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี สระบุรี สามารถเข้าร่วมเป็นสถานประกอบการเป้าหมาย โดยสมัครผ่าน QR Code ในโปสเตอร์ด้านล่างนี้ 👇

สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรร 05/07/2022

ร่วมรับฟังแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และออกแบบร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลกากอุตสาหกรรม
งาน “สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม”
ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม The Chamber โรงแรม S31 สุขุมวิท
พบวิทยากร
– รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ
– ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ
– คุณธีระพล ติรวศิน
– คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณนภาศรี
– คุณศุภลักษณ์ ชัยภูริมาศ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/76994/

สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROM […]

01/07/2022
28/06/2022

ขอเชิญผู้สนใจร่วมเปิดตัวโครงการ "ความร่วมมือกลไกใหม่ในการจัดการ E-WASTE เมืองพัทยา"

📆ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 08.30 - 11.30 น.
🏛ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อ. บางละมุง จ. ชลบุรี หรือ
🎥รับชมผ่าน Facebook Live Page Waste Talk
💻หรือโปรแกรม Zoom Meeting ID : 916 1713 8865 Password : 979775
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) และศึกษากำหนดการได้โดยสแกน QR Code ด้านล่าง

♻️⛱ โครงการนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการของเสียและขยะอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับเมืองพัทยา มหาวิทยาลัยบูรพา และเครือข่าย เพื่อศึกษาต้นแบบความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทานของซากผลิตภัณฑ์ฯ ประเภทตู้เย็น ตามหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต และรูปแบบของมาตรการที่จะใช้กับเมืองพัทยา เพื่อสร้างมูลค่าส่วนเพิ่ม (ลดต้นทุนของระบบ) ในโครงการ รวมถึงการจัดทำเครื่องมือติดตามขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล (Digital WEEE Manifest, DWM) ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานกับเมืองพัทยา โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

24/06/2022

ลงทะเบียนเพื่อร่วมออกแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม!!!
📍รับฟังแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
📍ออกแบบร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลกากอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการที่ถูกต้อง

"สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม" พบกับวิทยากร

– รศ. ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียน (บพข.)
– ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
– คุณธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมฯ
– คุณกิติศักดิ์ สุวรรณนภาศรี และคุณศุภลักษณ์ ชัยภูริมาศ นักวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.)

วันศุกร์ที่ 8 ก.ค. 2565 เวลา 9:00 – 12:00 น. ห้องประชุม The Chamber โรงแรม S31 Sukhumvit

สำรองที่นั่งด่วน! รับจำนวนจำกัด!! (ไม่มีค่าลงทะเบียน)
https://petromat.chula.ac.th/seminar-registration-industrial-waste-website

จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-218-1848

💻♻️ ขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม ในงานสัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูล การจัดการกากอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน

📆 ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น.
📌 ณ ห้องประชุม Chamber ชั้น B โรงแรม S31 Sukhumvit
🔒 สำรองที่นั่งโดยสแกน QR Code ด้านล่าง หรือ ลิงก์
👉 https://bit.ly/3tUOsCY
☎️ สอบถามข้อมูล โทร. 02-218-1848

13/06/2022

สงสัยไหม? แบตเตอรี่รถยนต์ EV หมดแล้วจะถูกส่งไปไหน

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลกที่หลายคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลายคำถามเกิดขึ้นว่า เมื่อแบตเตอรี่ EV หมดอายุการใช้งาน หรือประมาณ 10 ปี แบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดอย่างไร จะมีโอกาสกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯเปิดเผยว่า เมื่อแบตเตอรี่ EV หมดอายุ จะยังไม่ใช่ของเสีย แม้จะนำไปใช้กับรถยนต์ไม่ได้ แต่ยังมีความสามารถในการเก็บไฟฟ้า จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า แบตเตอรี่มือสองเช่น ใช้ในโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งในส่วนนี้จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ตรวจสอบประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นมาตรฐาน

“แบตเตอรี่ EV จะแตกต่างจาก E-wase ที่เป็นการสะสมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคต ในส่วนของแบตเตอรี่จะมีการออกแบบที่มุ่งไปสู่ กรีนดีไซน์ ในแต่ส่วนของแบตเตอรี่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ และส่วนใดใช้หมดแล้วทิ้งไป ทำอย่างไรให้เกิดการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”

#รถยนต์ไฟฟ้า

อ่านเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/news/society/2412901

Photos from ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)'s post 13/06/2022

NRCT Open House 2022

13/06/2022

LIVE - NRCT Open House 2022

Photos from ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)'s post 01/06/2022

โครงการ "จุฬาฯ รักษ์โลก" 🌏 ร่วมแก้ปัญหา "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ♻

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

LIVE - เปิดตัวโครงการ "ความร่วมมือกลไกใหม่ในการจัดการ E-WASTE เมืองพัทยา"
Digital WEEE Manifest

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

Room 311, 3rd Floor, Chamchuri 9 Building, Chulalongkorn University 254 Phayatha
Bangkok
10330

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 08:00 - 17:00
พุธ 08:00 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 17:00

Bangkok องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ (แสดงผลทั้งหมด)
The Rotary Club of Bangkok South The Rotary Club of Bangkok South
The Crowne Plaza Bangkok Lumpini Park Hotel, Lower Ground Floor, 952 Rama IV Road
Bangkok, 10500

Give a little, change a lot... With help of sponsors and donations, we have funded and installed ove

The JUMP Foundation The JUMP Foundation
1/5-1/6, Soi Ari 2, Phahonyothin Road Samsen Nai, Phayathai , กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10200

The JUMP! Foundation is a non-profit organization that believes in inspiring, empowering, and engagin

Love Wildlife Love Wildlife
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100

Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife thro

Imagine Thailand Imagine Thailand
195 Soi Udomsuk 37 Sukhumvit Road
Bangkok, 10261

We believe in the capacity of youth, university students and skilled professionals to create a new f

Guidotti Foundation Guidotti Foundation
Bangkok, 10110

Guidotti Foundation is privately funded, strives in assisting people reaching financial independence

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์
19 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
Bangkok, 10240

A tree planting organization that aims to increase no. of trees in Thailand and raise green awareness

ASAswu ชมรมอาสาพัฒนา มศว ASAswu ชมรมอาสาพัฒนา มศว
114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
Bangkok, 10110

เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชมรมอาส?

ICA Church, International Christian Assembly - Bangkok ICA Church, International Christian Assembly - Bangkok
Manoonpol Building 2, 2884/1 New Petchaburi Road
Bangkok, 10310

Services 9am (Thai Translation) and 11am Sundays and online service through Facebook live at 11am and

Human Development Forum Foundation Human Development Forum Foundation
BP Place, 5 Paholyothin Soi 18, B. P. Place
Bangkok, 10900

Founded in 2007 HDFF's vision is to the address the needs of communities related to Human Security a

มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 191 ซอย วิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7 แขวง ตลาดบางเขน เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10210

มูลนิธิกระจกเงา เราอาสาเป็นเงาสะท้อนปัญหาของสังคม

Thai - Italian Chamber of Commerce (TICC) Thai - Italian Chamber of Commerce (TICC)
Vanit Building II, 16 Flr. Suite 1601 B, 1126/2 New Petchburi Road
Bangkok, 10400

page of the Thai Italian Chamber of Commerce (TICC)