กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan

กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan

ความคิดเห็น

“ป่าจะอยู่ได้ คนจะต้องอยู่ได้ก่อน
เพราะว่า คนที่ด้อยโอกาสในสังคม
เขาไม่ได้สามารถ จะไปเรียกร้องอะไร
เขาไม่มีอำนาจ คนเหล่านี้อยู่กับธรรมชาติ
ผมคิดว่าป่าจะอยู่หรือไม่…อยู่กับคนกลุ่มนี้ด้วย”

๑ กันยายน รำลึก ๓๒ ปี “สืบ นาคะเสถียร”
อาลัย ผู้พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ ถูกกระทิงชนเสียชีวิต
วันนี้ 17 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 13.10 น. เกิดเหตุกระทิงชนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ ที่บริเวณลานสุริยัน(เขาสมอปูน)โดยได้รับบาดเจ็บ 2 นาย (น้องตั๊ก นกรณ์ ศรีเรือง และน้องด้า สำรวย หนีบหลี ลูกจ้างTOR)
โดยนำ ฮ.บินขึ้นรับตัวผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล โดยน้องตั๊ก ส่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี สำหรับน้องด้า ส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา(ขณะนี้ปลอดภัยแล้ว)
ต่อมาน้องตั๊ก(นกรณ์ ศรีเรือง) หัวหน้าชุดลาดตะเวนที่3 อช.เขาใหญ่ ได้เสียชีวิตด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
สำหรับท่านใดจะทำบุญช่วยเหลือครอบครัวน้องตั๊ก สามารถโอนได้ที่เลขบัญชีภรรยาน้องตั๊ก ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ 7 เดือน ชื่อบัญชี คุณรัชนี โชคเจริญ ธ.กรุงไทย 3230426282 ออมทรัย์
หลับให้สบายนะตั๊ก ในเบื้องต้นตั้งศพสวดพระอภิธรรม ที่วัดกุดคล้า ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม จะแจ้งให้ทราบต่อไป

17 กันยายน 2564 / 22.00 น.
เขื่อนกลางเขาใหญ่มรดกโลก “ไม่จริง แค่ขอบป่าหลายพันไร่” กรมชลแจง
กรมชลประทานยอมรับกำลังดัน 5 โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โต้ไม่ได้อยู่กลางป่า แต่กินพื้นที่ขอบป่าหลายพันไร่ และต้องถอดที่ออกจากเขตป่าอนุรักษ์หากอนุมัติสร้างโครงการ ขณะชาวบ้าน-อุทยานฯ ยันไม่ต้องการอ่าง ด้านนักอนุรักษ์เตือนจะกระทบหนักสัตว์ป่า-สะเทือนสถานภาพมรดกโลก
https://greennews.agency/?p=25008
กองบก.
GreenNews
#เขาใหญ่ #มรดกโลก

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

19/05/2023

#ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม คณะกรรมการประสานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่าตะวันออก และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง โดยการสนับสนุนงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินโครงการ โครงการวิจัยและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนเพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน ตำบลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2566 ถึง มีนาคม 2567
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจัยและพัฒนาชุดความรู้ ฐานข้อมูลช้างป่า และระบบติดตามช้างป่าในระดับเครือข่ายชุมชน ด้วยเครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายการจัดการช้างป่าชุมชน และพัฒนากลไกประสานการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ บนฐานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นและวิทยาศาสตร์พลเมือง และ 3) วิจัยและพัฒนาแนวทางการลดผลกระทบและควบคุมความเสียหายจากช้างป่า ในระบบการจัดการร่วมกันเป็นเครือข่าย
ซึ่งกำหนดการจะเริ่มตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 16.00 น. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง หมู่ที่ 5 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ดังนี้

1. กล่าวเปิดเวทีประชุม โครงการวิจัยและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชน เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน ตำบลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดย นายจันทรานนท์ ชญานินศิวกูร หัวหน้าโครงการฯ

2. เวทีเสวนา หัวข้อ "แนวทางการจัดการปัญหาช้างป่าในพื้นที่ท่าตะเกียบ ปัจจุบัน-อนาคต"
โดย 1. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ 2. ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) 3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน 4. สถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา

3. บรรยาย หัวข้อ ภาพรวมโครงการวิจัยและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชน เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน ตำบลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดย ทีมนักวิจัย

4. ทบทวนและนำเสนอสถานการณ์ช้างป่าในพื้นที่ชุมชน 10 หมู่บ้าน
โดย กลุ่มย่อย 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 22
กลุ่มที่ 2 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 8
กลุ่มที่ 3 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14
กลุ่มที่ 4 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 16
กลุ่มที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 20

5. ถอดบทเรียนและนำเสนอ การจัดการช้างป่าเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังช้างป่า 10 หมู่บ้าน
โดย กลุ่มย่อย 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 22
กลุ่มที่ 2 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14
กลุ่มที่ 3 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 20

6. ร่วมกันกำหนดและนำเสนอ รูปแบบแนวทางการเฝ้าระวังช้างป่าที่มีประสทธิภาพและปลอดภัย
โดยกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 22
กลุ่มที่ 2 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14
กลุ่มที่ 3 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 20

#ช้างป่า #ตะวันออก #วิจัยและพัฒนา #ศักยภาพเครือข่ายชุมชน

06/05/2023
30/03/2023
[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] " 7 ปีกับการเดินสู่แสงสว่างปลายอุโมงค์ จุดเริ่มต้นเครือข่ายแก้ปัญหาช 17/03/2023

[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] " 7 ปีกับการเดินสู่แสงสว่างปลายอุโมงค์ จุดเริ่มต้นเครือข่ายแก้ปัญหาช ความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาช้างป่า​ จุดกำเนิดจากภาคตะวันออก​ ที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า....

[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] เปิด 4 ยุทธศาสตร์ 3 เป้าหมาย กรมอุทยานฯแก้ปัญหาคนกับช้างป่าอย่างยั่งย 15/03/2023

[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] เปิด 4 ยุทธศาสตร์ 3 เป้าหมาย กรมอุทยานฯแก้ปัญหาคนกับช้างป่าอย่างยั่งย (13 มีนาคม 66 ) 4 ยุทธศาสตร์ 3 เป้าหมาย แก้ปัญหาคนกับช้างป่าอย่างยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของกรมอุทยานแห.....

[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] 13​ มีนาคม​ "วันช้างไทย" "ปัญหาช้างเลี้ยง" ช้างไทยพิการกระดูกสันหลังผิด 14/03/2023

[คน-ช้าง-ป่าตะวันออก] 13​ มีนาคม​ "วันช้างไทย" "ปัญหาช้างเลี้ยง" ช้างไทยพิการกระดูกสันหลังผิด "ปัญหาช้างเลี้ยง" ช้างไทยพิการกระดูกสันหลังผิดรูป​ ที่มีการนำเสนอในสื่อออนไลน์นั้น​ เท็จจริงเป็นอย่างไร....

ภารกิจย้ายช้างป่าEp7 : สื่ออาสาคนช้างป่าตะวันออก 30/01/2023

ภารกิจย้ายช้างป่าEp7 : สื่ออาสาคนช้างป่าตะวันออก 28 มกราคม 2566 จับสีดอมะปริง พื้นที่หนองปลาไหล อ.ปลวกแดง จ.ระยอง จากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ปล่อยสู่ป่าเขตรักษาพ.....

Photos from กรมชลประทาน's post 28/01/2023
12/09/2022

#ค่าของฅน #คนกับฅน #1
การตายของต้น อาทิตย์ ผิวงาม ต้องไม่สูญเปล่า

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อกรณีการเสียชีวิตของ "ต้น" อาทิตย์ ผิวงาม ซึ่งเป็นชาวตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

ก่อนหน้านี้ผมได้โพสต์ขึ้นFacebookถึงเหตุปัจจัยปัญหาช้างป่าที่ทับลาน ปัญหาช้างป่าที่ผมเคยพูดไปเมื่อหลายปีก่อน และจนนำไปสู่การพยายามป้องกันและแก้ไขปัญหาด้วยการขอกันพื้นที่สร้างศูนย์เรียนรู้ทางธรรมชาติผาเม่น (อารามธรรมชาติ)ในเขตป่ากั้นชนระหว่างชุมชนกับเขตป่าอนุรักษ์ขึ้น เพราะมองเห็นถึงอนาคตของปัญหาหลังสำรวจพบว่ามีสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างป่ามีจำนวนเยอะมาก และแน่นอนปราการสำคัญคือการตั้งจุดสกัดร่วมกับชุมชนเฝ้าระวังปัญหาต้นทาง สร้างการยกระดับความปลอดภัยระหว่างคนกับสัตว์ป่าที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แต่เรายังไม่สามารถเดินไปถึงจุดวาดหวังนั้นไว้ได้ ทั้งจากความร่วมมือ ทั่งจากความไม่เข้าใจ ทั้งจากปัจจัยหนุนเสริม และความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นนับปัญหา ทั้งในภาคสังคมภายนอก สังคมภายใน

ความอึดอัดภายในที่บอกเล่าใครไม่ได้มันแตกดังโพล๊ะ มึนชา ชะงักและเชื่องช้า กว่าจะหยิบปากกาออกมาเขียนได้ถึงความรู้สึกภายใน หลังจากตื่นขึ้นมาในเช้าวันที่ 12 กันยายน 65 ได้รับสาส์นจาก น้าหมู สาริกา มีใจความว่า
..................................................................................

"ต้น อาทิตย์ ผิวงาม จนท.ทับลาน ถูกช้างป่า อช.ทับลาน(ละมุด)ทำร้ายเสียชีวิต ในพื้นที่ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ช่วงเวลาประมาณ 23.30 น. ของคืน11กย.65 ตอนนี้ศพอยู่ รพ.นาดี"
................................................................................
และจากข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมของสาเหตุการเสียชีวิตของ"ต้น" อาทิตย์ ผิวงาม ซึ่งเป็นพนักงานราชการ ในตำแหน่ง พนักงานพิทักษ์ป่า เป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทับลานที่ 07 (เขาไม้ปล้อง) พื้นที่เดียวกันกับที่ผมขึ้นไปทำงานโครงการอารามธรรมชาติผาเม่น

"ต้น" ถูกช้างป่าทำร้ายร่างกาย ขณะเข้าผลักดันช้างป่า ร่วมกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 20 (ห้วยคำภู) พร้อมอาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า บริเวณป่ารอยเขตอุทยานแห่งชาติทับลานกับพื้นที่ชุมชนบ้านวังอ้ายป่อง ในท้องที่ หมู่ที่ 3 ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีนั่นเอง

สภาพศพของ "ต้น" อาทิตย์ ผิวงาม มีร่องรอยจากการถูกช้างป่าที่ชื่อ "ละมุด" ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยบุกไปพังครัวชาวบ้านมาแล้ว ทำร้าย"ต้น" ตามร่างกายหลายจุด "ต้น"ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุนั่นเอง

และช่วงเวลา 01.00 น. ทางกู้ชีพ กู้ภัยองค์การบริหารส่วนตำบลนาดีได้เคลื่อนย้ายร่างของต้น ไปยังโรงพยาบาลนาดี เพื่อให้แพทย์ตรวจสอบยืนยันสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง
..................................................................................

แต่เบื้องต้นผมขอเขียนเล่าถึง"ต้น" อาทิตย์ ผิวงาม และเสียดายต้น ผู้พิทักษ์ป่า ผู้ตั้งใจทำงานต้องมาจบชีวิตแบบนี้ เรื่องของต้น ผมเชื่อว่ายังสะท้อนป่าผืนนี้ได้อีกมาก และผมจะเล่าในตอนต่อไปเรื่อยๆครับ

และรวมถึงคารวะดวงวิญญาณของต้น และผู้เสียชีวิตอื่นๆต่อกรณีช้างป่า ทุกดวงมา ณ ที่นี้ด้วย

กราบดวงวิญญาณ การตายของต้นไม่สูญเปล่า แด่สหายต้นผู้จากไป
12 กันยา 65
น้าหนวด ผ้าขะม้าพาจร

#บันทึกของคนกับฅน #จบที่ช้าง

ขอบคุณภาพประกอบ/น้าหมู สาริกา ส่งมาให้
ขอบคุณ อิฐก้อนแรกที่ร่วมกับกระผม พี่เช็ค สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ Suthipong Thamawuit
อารามธรรมชาติ Save คน Save สัตว์ป่า

07/09/2022
Photos from The eastern citizen center ECC's post 07/09/2022
07/09/2022

ค้านเขื่อนคลองมะเดื่อ ทำลายธรรมชาติ ทำลายพื้นที่อาศัยสัตว์ป่า ทำลายแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยกรมชลประทาน

#หยุดเขื่อน #คลองมะเดื่อ #แหล่งท่องเที่ยว #ช้างป่า #เขาใหญ่ #นครนายก

01/09/2022

“ป่าจะอยู่ได้ คนจะต้องอยู่ได้ก่อน
เพราะว่า คนที่ด้อยโอกาสในสังคม
เขาไม่ได้สามารถ จะไปเรียกร้องอะไร
เขาไม่มีอำนาจ คนเหล่านี้อยู่กับธรรมชาติ
ผมคิดว่าป่าจะอยู่หรือไม่…อยู่กับคนกลุ่มนี้ด้วย”

๑ กันยายน รำลึก ๓๒ ปี “สืบ นาคะเสถียร”

The Thin Green Line - Original Documentary 28/07/2022

https://www.facebook.com/111363824643709/posts/182779957502095/

The Thin Green Line - Original Documentary In 2004, Australian Park Ranger Sean Willmore sold his car, remortgaged his house and travelled the world for 14 months to bring you the story of the sometim...

[The Eastern Citizen Center ECC แสงตะวันออก] นักวิชาการสายอนุรักษ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนักอนุรักษ์ส่วนใ 20/07/2022

[The Eastern Citizen Center ECC แสงตะวันออก] นักวิชาการสายอนุรักษ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนักอนุรักษ์ส่วนใ นักวิชาการสายอนุรักษ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนักอนุรักษ์ส่วนใหญ่ ตั้งข้อสงสัย มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวั.....

[The Eastern Citizen Center ECC แสงตะวันออก] หนังสือเปิดผนึก จากคุณศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร 20/07/2022

[The Eastern Citizen Center ECC แสงตะวันออก] หนังสือเปิดผนึก จากคุณศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร หนังสือเปิดผนึก จากคุณศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ถึง ประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยโพ.....

18/09/2021

อาลัย ผู้พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ ถูกกระทิงชนเสียชีวิต
วันนี้ 17 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 13.10 น. เกิดเหตุกระทิงชนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ ที่บริเวณลานสุริยัน(เขาสมอปูน)โดยได้รับบาดเจ็บ 2 นาย (น้องตั๊ก นกรณ์ ศรีเรือง และน้องด้า สำรวย หนีบหลี ลูกจ้างTOR)
โดยนำ ฮ.บินขึ้นรับตัวผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล โดยน้องตั๊ก ส่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี สำหรับน้องด้า ส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา(ขณะนี้ปลอดภัยแล้ว)
ต่อมาน้องตั๊ก(นกรณ์ ศรีเรือง) หัวหน้าชุดลาดตะเวนที่3 อช.เขาใหญ่ ได้เสียชีวิตด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
สำหรับท่านใดจะทำบุญช่วยเหลือครอบครัวน้องตั๊ก สามารถโอนได้ที่เลขบัญชีภรรยาน้องตั๊ก ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ 7 เดือน ชื่อบัญชี คุณรัชนี โชคเจริญ ธ.กรุงไทย 3230426282 ออมทรัย์
หลับให้สบายนะตั๊ก ในเบื้องต้นตั้งศพสวดพระอภิธรรม ที่วัดกุดคล้า ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม จะแจ้งให้ทราบต่อไป

17 กันยายน 2564 / 22.00 น.

อาลัย ผู้พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ นกรณ์ ศรีเรือง(ตั๊ก)
น้องตั๊ก พิทักษ์ป่าเขาใหญ่ ที่ถูกกระทิงพุ่งชนเสียชีวิตด้วยอาการสงบแล้วที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
17 กันยายน 2564 / 17.00 น.

เครดิต น้าหมู สาริกา

07/09/2021
เขื่อนกลางเขาใหญ่มรดกโลก “ไม่จริง แค่ขอบป่าหลายพันไร่” กรมชลแจง 21/08/2021

เขื่อนกลางเขาใหญ่มรดกโลก “ไม่จริง แค่ขอบป่าหลายพันไร่” กรมชลแจง
กรมชลประทานยอมรับกำลังดัน 5 โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โต้ไม่ได้อยู่กลางป่า แต่กินพื้นที่ขอบป่าหลายพันไร่ และต้องถอดที่ออกจากเขตป่าอนุรักษ์หากอนุมัติสร้างโครงการ ขณะชาวบ้าน-อุทยานฯ ยันไม่ต้องการอ่าง ด้านนักอนุรักษ์เตือนจะกระทบหนักสัตว์ป่า-สะเทือนสถานภาพมรดกโลก
https://greennews.agency/?p=25008
กองบก.
GreenNews
#เขาใหญ่ #มรดกโลก

เขื่อนกลางเขาใหญ่มรดกโลก “ไม่จริง แค่ขอบป่าหลายพันไร่” กรมชลแจง กรมชลประทานยอมรับกำลังดัน 5 โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่

กรมชลฯ ชี้ "ห้วยสะโตน" ศึกษาก่อนประกาศมรดกโลกเขาใหญ่ 20/08/2021

กรมชลฯ ชี้ "ห้วยสะโตน" ศึกษาก่อนประกาศมรดกโลกเขาใหญ่ ตัวแทนกรมชลประทาน แจงปมผุด 7 อ่างเก็บน้ำรอบมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ชี้ส่วนใหญ่ศึกษาแผนงานก่อนประกาศอุทย...

20/08/2021
Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 19/08/2021

ศุกร์ที่ 20สค.นี้ ชวนฟังเสวนา "เขื่อน(อ่างฯ)คุกคาม มรดกโลก ? ดงพญาเย็น - เขาใหญ่"
เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร จัดรายการเสวนาออนไลน์ “เขื่อน(อ่างฯ)คุกคาม มรดกโลก ? ดงพญาเย็น - เขาใหญ่”

เพื่อให้สาธารณชนได้ร่วมรับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงในพื้นที่ และร่วมส่งเสียงแทนธรรมชาติ ยุติโครงการเขื่อน(อ่างฯ)ที่กำลังคุกคามผืนป่าอนุรักษ์ของไทยในขณะนี้
#ขอพื้นที่ให้ป่าไม้และสัตว์ป่า #ขอการจัดการน้ำนอกป่าให้ประชาชน
ผู้ร่วมเสวนา
- สุรพล ดวงแข กรรมการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
- ดร.พิเชฐ นุ่นโต ผู้ประสานงานเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง สมาชิกผู้เชี่ยวชาญช้างป่าเอเชีย
- กฤษณา แก้วปลั่ง ผู้อำนวยการแผนงานประเทศไทย องค์การแพนเทอรา (Panthera) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้
- ประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ไพบูลย์ จิตร์เสงี่ยม ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านดง ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก
- มหิต วงศ์ษา ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน
- ณัฐวุฒิ รักษ์กุศล ผู้ดำเนินรายการ
รับชมสดพร้อมกันทางเพจเฟซบุ๊กมูลนิธิสืบนาคะเสถียร วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 - 12.00 น. https://www.facebook.com/SeubNakhasathienFD
#เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ #มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #หยุดคุกคามป่าอนุรักษ์

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 16/08/2021

เครือข่ายอนุรักษ์รอบผืนป่าเขาใหญ่ ร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ องค์กรพันธ์มิตร
ขอเชิญร่วมรับฟังการถ่ายทอดสดการเสวนาหัวข้อ
"เขื่อน(อ่าง) คุกคาม มรดกโลก?"
ผ่านระบบ Facebook Live เพจ : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 10.00 น.
วิทยากรร่วมพูดคุย
1.อาจารย์สุรพล ดวงแข
ตำแหน่งกรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
2.ดร.พิเชฐ นุ่นโต
ตำแหน่ง ผู้ประสานงานเครือข่ายเสียงคน เสียงช้าง / สมาชิกผู้เชี่ยวชาญ
ช้างป่าเอเชีย
3.ประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน
4.กฤษณา แก้วปลั่ง
ผู้อำนวยการ แผนงานประเทศไทย
องค์การแพนเทอรา(Panthera)
5.ไพบูลย์ จิตเสงี่ยม
ผู้ใหญ่บ้าน หมูที่ 1 บ้านดง ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
6.ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 16/08/2021

"เมื่อบ้านของสัตว์ป่าเป็นผืนน้ำ"
จากข่าวที่ทุกท่านได้รับทราบว่าได้มีการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ (แต่ที่จริงแล้วก็คือเขื่อน) ในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึง 7 โครงการ ซึ่งมีความคืบหน้าแตกต่างกัน ในแต่ละโครงการต้องจัดทำ EIA / SEA หรือข้อมูลข้อคิดเห็นในการก่อสร้างโครงการต่างๆซึ่งแต่ละโครงการจะต้องดำเนินการทำข้อมูลเหล่านี้ตามแต่ละพื้นที่ที่สร้างตามที่กฎหมายกำหนด จะมีการบอกข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ที่ทุกโครงการจะอ้างถึงคือถ้ามีการสร้างอ่างเก็บน้ำ(เขื่อน) "จะเป็นแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า"
จากเหตุผลที่อ้างมานี้ จากสภาพความเป็นจริงของการอยู่อาศัยของสัตว์ป่า ต้องบอกว่าแทนที่อ่างเก็บน้ำ(เขื่อน) จะเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า แต่จริงๆแล้วจะเป็นการคุกคามสัตว์ป่าโดยตรง เพราะพื้นที่ที่ใช้ในการสร้างอ่างเก็บน้ำ(เขื่อน) ทั้ง 7 โครงการ จะอยู่ในพื้นที่ราบระหว่างช่องเขา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า จะมีเพียงพื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ นครนายก ที่เป็นพื้นที่ที่กรมอุทยานฯ กำลังทำข้อตกลงกับชาวบ้านในการวางแนวเขตเพื่อการอยู่ร่วมกัน แต่สัตว์ป่ายังสามารถใช้พื้นที่ได้
พื้นที่ริมธารน้ำที่ราบเชิงเขาเหล่านี้มีความสำคัญในการเป็นพื้นที่หากินของสัตว์ป่าทุกชนิด เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัย และยังเป็นพื้นที่ที่คอยตรึงสัตว์ป่าไว้ไม่ให้สัตว์ป่าออกมาใช้ชีวิตนอกพื้นที่อีกด้วย การที่เราเอาผืนน้ำไปแทนพื้นที่ป่านั้น โดยที่อ้างว่าเมื่อมีแหล่งน้ำ สัตว์ป่าจะไม่ออกมานอกอุทยาน เป็นเรื่องที่ไม่จริงแน่นอน หากยังปล่อยให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ (เขื่อน) ในพื้นที่ สิ่งที่จะเกิดตามมาและเป็นการตอกย้ำปัญหาคือการออกนอกพื้นที่ของสัตว์ป่าเช่นช้างและกระทิงที่จะมีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ฉะนั้นโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่จึงส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าโดยตรงและยังจะส่งผลกระทบกับพื้นที่โดยรอบๆอีกด้วย เราเชื่อมั่นว่าองค์ความรู้ที่มีและโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โครงการฝาย โครงการประตูระบายน้ำที่มีอยู่พื้นที่โดยรอบอุทยานในปัจจุบัน และด้วยความสามารถของผู้รับผิดชอบดูยังแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากรน้ำที่ยกมาเป็นข้ออ้างในการก่อสรา้งอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 อ่างได้
เราจึงขอยืนหยัดที่จะคัดค้านทั้ง 7 โครงการนี้ การแก้ปัญหาระหว่างคนกับคนจะแก้ง่ายเพราะเราปรึกษาและพูดคุยกันรู้เรื่อง แต่การแก้ปัญหาของสัตว์ป่าแก้ยากเพราะสัตว์ป่าไม่สามารถพูดภาษาคนได้ การลุกล้ำที่อยู่ของสัตว์ป่า ยิ่งเป็นการตอกย้ำปัญหาสัตว์ป่าออกนอกแนวเขตอุทยานให้หนักยิ่งขึ้น จึงขอให้ยุติการดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 แห่งเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาซ้ำซ้อนในพื้นที่โดยรอบมรดกโลก-ดงพญาเย็นเขาใหญ่

"ขอพื้นที่ให้ป่าไม้และสัตว์ป่า - ขอการจัดการน้ำนอกป่าให้ประชาชน"

เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น - เขาใหญ่

นโยบายที่สวนทางกับความจริง สร้าง‘เขื่อน’บนผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 21/07/2021

การสร้าง“เขื่อน” อาจไม่ใช่การสร้างอนาคต แต่เป็นการทำลายธรรมชาติที่มีอยู่ให้หมดไป และนั่นอาจไม่ใช่นโยบายพัฒนาสร้างชาติอย่างยั่งยืนอย่างที่ควรจะเป็น
'เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์'รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ มีเจตนายืนหยัดคัดค้าน และจะติดตามความคืบหน้าโครงการทั้ง 7 โครงการอย่างใกล้ชิด เพื่อปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ป่าผืนสุดท้ายใจกลางประเทศไม่ให้ถูกทำลายอีกต่อไป จึงได้ออกแถลงการณ์และหนังสือขอคัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น–เขาใหญ่

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/950003

นโยบายที่สวนทางกับความจริง สร้าง‘เขื่อน’บนผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ทุกคนรู้และสัมผัสได้ถึงสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะธรรมชาติถูกทำลาย จึงเรียกร้องให้มีการเพิ.....

16/07/2021

นโยบายการพัฒนาในบ้านเรามักย้อนแย้งกับสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น หน่วยงานหนึ่งพยายามรักษาป่า เพิ่มพื้นที่ป่าและผลักดันให้ผืนป่าเป็นมรดกโลก หน่วยงานหนึ่งอยากให้ท้องทะเลได้รับการคุ้มครอง เพื่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและแหล่งอาหารของมนุษย์ ทว่าบางหน่วยงานที่รับผิดชอบบริหารจัดการน้ำ มักมุ่งเน้นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยยกสารพัดเหตุผลการพัฒนามาชี้นำซึ่งที่ผ่านมามีคำตอบเป็นที่ประจักษ์ว่า "เขื่อน" ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการพัฒนาในโลกสมัยใหม่
โลกยุคดิจิทัล, เทคโนโลยีมีบทบาทนำและได้เปลี่ยนฐานคิดของคนยุคหน้าไปแล้วอย่างสิ้นเชิง โลกในยุคที่มนุษย์ให้ความสนใจพึ่งพาดาวดวงอื่น ไม่คิดจะสร้างเขื่อนเพื่อแลกน้ำมาใช้ เพราะนั่นคือชุดความคิดที่ผุพัง ยังจะคิดอยู่หรือว่าการถางป่าเพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าการลงทุนไม่ล้าหลังหลงยุคตกสมัย การละเลงทำลายทรัพยากรธรรมชาติในในประเทศที่มีอย่างจำกัดเพื่อปรนเปรอต่างชาติไม่สมควรเป็นวิสัยทัศน์ให้ลูกหลานเจนเนอเรชั่นใหม่หวังพึ่งพาได้อีกแล้ว
ถ้านโยบายการพัฒนาชี้นำโดยมโนทัศน์ปุโรทั่งเช่นนี้เป็นเรื่องยากยิ่งที่เราจะพาประเทศก้าวไปยืนอยู่แถวหน้า อย่าว่าแต่โลกที่หนึ่งเลย ลำพังจะข้ามให้พ้นกับดักชุดความคิดการพัฒนาแบบเดิม ๆ ยังเป็นเรื่องยากเย็น โครงการก่อสร้างเขื่อนในผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 7 แห่งก็เป็นอีกตัวอย่างของวาทกรรมน้ำสร้างชาติ ที่ปักใจเชื่อว่าการนำ "ป่า" ไปแลกกับ "น้ำ" จะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ จะทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ซึ่งล้วนมีข้อโต้แย้งมากมาย เพราะระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งและความยากจนของพี่น้องชาวนาชาวไร่ก็ยังวนเวียนอยู่รายรอบโครงการจัดการน้ำเหล่านั้น
เราจึงไม่เชื่อว่า "เขื่อน" คือการสร้างอนาคตสำหรับคนยุคหน้า Green Economy ต้องไม่ใช่การรุกรานธรรมชาติ เพราะมันสวนทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างสิ้นเชิง
อ่านแถลงการณ์เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ได้ที่: https://bit.ly/3re4UMg

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 14/07/2021

สืบเนื่องจากมีการดำเนินการเดินหน้าโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ทั้งหมด 7 อ่างคือ
1.อ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ จ.นครนายก เสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1000 ไร่
2.อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน จ.สระแก้ว เสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4700 ไร่
3.อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขออนุญาตสำรวจ
4.อ่างเก็บน้ำคลองวังมืด จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขออนุญาตสำรวจ
5.อ่างเก็บน้ำใสน้อยใสใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขออนุญาตสำรวจ
6.อ่างเก็บน้ำคลองหนองแก้ว จ.ปราจีนบุรี อยู่ในแผนการขอเข้าสำรวจ
ปี 2575 - 2579
7.อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา จ.ปราจีนบุรี อยู่ในสภาเกษตรกรขอให้สร้าง

เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มีความเห็นที่จะขอคัดค้านโครงการดังกล่าวเนื่องจาก เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญของประเทศ และ และยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ หากยังมีการสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ อาจจะทำให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ในด้านระบบนิเวศ พื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ความมั่นคงของพื้นที่และประชาชนที่อยู่อาศัยรอบพื้นที่ ที่พึ่งพาอาศัยมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร หารายได้ และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้พิจารณาโครงการเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนและไม่ใช้พื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ แต่ใช้นวัตกรรมต่างๆที่มีในปัจจุบันโดยผ่านความรู้ความเชี่ยวชาญของหน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้
"ขอพื้นที่ให้ต้นไม้และสัตว์ป่า-ขอการจัดการน้ำทางเลือกให้ประชาชน

เครือข่ายอนุรักษ์รอบผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น - เขาใหญ่
14 กรกฎาคม 2564

วันนี้เมื่อ 16 ปีที่แล้ว
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”นับเป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็นผืนป่าตะวันออก

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 07/07/2021

แถลงการณ์
เครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออกและศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตรผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม
เรื่องขอคัดค้านโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรีในส่วนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น 7500 ไร่ สืบเนื่องจากทางเครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออกและศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตรผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิมได้ทำงานในพื้นที่รอบป่ารอยต่อหกจังหวัดภาคตะวันออกมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปีโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี กิจกรรมที่สำคัญที่ทำให้เรามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจคัดค้านไม่เห็นด้วยต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดโดยเฉพาะในการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นคือการเดินธรรมยาตราเพื่อผืนป่าตะวันออกอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปีล่าสุดพศ.2563ได้เดินจากอุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นและลัดเลาะพบปะพูดคุยกับผู้คนในระหว่างเส้นทางเดินในทุกอ่างเก็บน้ำที่มีในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว จึงขอแสดงเหตุผลในการคัดค้านและออกแถลงการณ์ ดังนี้
1)อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นมีพื้นที่ขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง จึงไม่ควรทำให้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัดได้ลดน้อยลงไปอีก และป่าที่มีอยู่ยังสามารถให้ประโยชน์กับคนในพื้นที่ในด้านอื่นๆได้อีกที่ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำอย่างเดียว ถึงแม้จะเป็นป่าที่ฟื้นตัวจากการให้สัมปทานป่าไม้ในอดีต ยกเว้นมีวาระซ่อนเร้นในเรื่องอื่น
2)ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปทำให้อ่างเก็บน้ำที่สร้างเสร็จแล้วได้มีน้ำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้มีน้ำใช้ดังเหตุผลในการขอสร้างอ่างเก็บน้ำก่อนให้เห็นเป็นเชิงประจักษ์เช่นอ่างเก็บน้ำประแกตที่สร้างเสร็จมา 4 ปีแล้วยังไม่มีการกระจายน้ำอย่างเป็นธรรมหรือวางระบบโครงข่ายเพื่อผู้ใช้น้ำในบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำเลย ยกเว้นผู้ที่อยู่ด้านล่างของอ่างเก็บน้ำและใกล้ลำน้ำตามธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดจากการวางโครงข่ายของหน่วยงาน แต่กับมีการวางโครงข่ายท่อส่งน้ำไปลงอ่างเก็บน้ำประแสร์ในพื้นที่จังหวัดระยองและกำลังจะก่อสร้างท่อส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำในจังหวัดอื่นอีก แต่กับไม่มีการวางโครงข่ายเพื่อเกษตรกรชาวสวนผลไม้ดังกล่าวอ้างไว้ โดยเฉพาะชุมชนด้านข้างและอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำเลย
3)ขอให้เลิกใช้คำกล่าวอ้างว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ชาวสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรีจะได้ประโยชน์จากการใช้น้ำ ทำให้ผู้คนในสังคมมองเห็นว่าชาวสวนผลไม้จันทบุรีเป็นกลุ่มคนที่เห็นแก่ตัว ยอมทำลายผืนป่าอนุรักษ์ได้เพื่อให้ตัวเองมีน้ำใช้ เพราะในความเป็นจริงแล้วเฉพาะการใช้พื้นที่นอกเขตอุทยานแห่งชาติจำนวน 7000 ไร่ก็ย่อมเพียงพอต่อชาวสวนผลไม้ดังกล่าวอ้างได้เมื่อคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รับน้ำของชาวสวนผลไม้ที่ไม่ใช่ทั้งจังหวัด
4)ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมีความจริงใจในการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเกษตรกรให้มากกว่าเดิม ทั้งที่กลุ่มเกษตรกรคือผู้เสียสละและเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องเดิมอพยพไปหาที่ใหม่ ต้องใช้เวลาในการก่อร่างสร้างตัวให้ได้ดังเดิม แต่กับไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานรับผิดชอบเลย โดยเฉพาะการยอมเสียสละเพื่อให้ได้มีน้ำไว้ใช้แต่กับไม่ได้ใช้น้ำที่มีอยู่แต่อย่างใด
5)ขอให้เลิกสร้างสังคมตัวแทนจากกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากหน่วยงานรับผิดชอบในการสร้างอ่างเก็บน้ำในทุกพื้นที่ที่ผ่านมา ทั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยได้เสียสละหรือได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำเลย มีแต่ได้กับได้ จึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องออกมารักษาผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้เมื่อมีผู้เห็นต่างไปจากตนจนทำให้เสียผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ข้อเสนอต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดในครั้งนี้คือ เห็นด้วยต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำในครั้งนี้เฉพาะในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น ซึ่งอยู่ในการครอบครองของเอกชนอยู่แล้วและต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำและการกระจายน้ำอย่างเป็นธรรม ซึ่งรวมไปถึงอ่างเก็บน้ำเดิมอีก 3 อ่างด้วยคืออ่างเก็บน้ำประแกต อ่างเก็บน้ำพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และให้นำผลงานวิจัยที่มีจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาสังคมที่มีผลการศึกษาถึงการลดความขัดแย้งในการจัดการน้ำภาคตะวันออกมาใช้ให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันของคนในพื้นที่
การแสดงออกด้วยการออกแถลงการณ์ของเราเป็นการแสดงออกด้วยความบริสุทธิ์ใจที่ไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝงซ่อนเร้นและเราคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออนาคตของพวกเราทุกคน ดังคำกล่าวของมหาตมะ คานธีที่ว่า โลก....มีทรัพยากร ที่จะแบ่งปัน ให้แก่...พวกมนุษย์ทุกคน...ที่จําเป็น
แต่...ไม่มีพอ ที่จะสนองความโลภ......ของคน...แม้คนเดืยว....
จาก
เครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก และ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตรผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 02/07/2021

็นเขาใหญ่
ขอพื้นที่ให้ต้นไม้และสัตว์ป่า ขอการจัดการน้ำโดยไม่เสียพื้นที่ป่าให้ประชาชน

23/06/2021

แถลงการณ์คัดค้านการเห็นชอบรายงาน EHIA โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการกิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง (EHIA) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี แล้วนั้น
เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ดังรายชื่อแนบท้าย ขอคัดค้านการเห็นชอบรายงาน EHIA โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ที่จะก่อสร้างพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จำนวน 7,503 ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนซ่อง จำนวน 7,097 ไร่ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น ส่วนใหญ่เป็นป่าที่ราบต่ำและเป็นที่ราบสูงในบางพื้นที่ ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยขนาดใหญ่มักเลือกใช้พื้นที่ป่าที่ราบต่ำ ประกอบกับสังคมพืชที่เป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และป่าฟื้นฟูหรือป่ารุ่นสอง มีลักษณะโปร่งไม่รกทึบ และพบว่าบริเวณพื้นที่ที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดนี้ มีพืชอาหารช้างอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารที่สัตว์กินพืชส่วนใหญ่มักใช้และเป็นพื้นที่ในการหากิน และเป็นป่าดิบแล้งที่ลุ่ม ทำให้มีความชุ่มเย็น เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่ามากกว่าบริเวณอื่นๆในกลุ่มป่านี้ นอกจากนี้ยังพบสัตว์ป่าอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น กระทิง กวาง หมูป่า ฯ ดังนั้นการเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าให้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ถือเป็นการทำลายแหล่งอาศัยของช้างป่าซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้ช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่ามากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว และอาจสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ปัญหาสำคัญในพื้นที่ดังกล่าวคือการที่ช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่า กำลังได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่องทั้งการปรับปรุงแหล่งน้ำและแหล่งอาหารด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดึงช้างป่าที่ออกไปรบกวนประชาชนในพื้นที่โดยรอบให้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอีกครั้ง หากต้องกลายสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำ นอกจากจะแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ตามที่ตั้งเป้าไว้ไม่ได้แล้ว ยังทำให้สูญเสียป่าพื้นราบขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพรองรับการอพยพกลับมาของช้างป่า ปิดกั้นทางเดินไม่ให้ช้างกลับคืนสู่ป่าอีกด้วย โดยข้อมูลจากการสำรวจเส้นทางหากินของช้างป่า สำนักอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นและบริเวณใกล้เคียง พบว่าช้างป่าหากินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นบริเวณพื้นที่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดนั้น เป็นช้างโขลงเดียวกันกับช้างป่าที่พบในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวฝั่งตะวันตก
3. ที่ผ่านมามีบทเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับช้างหลังสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วเสร็จ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองประแกต อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และอ่างเก็บน้ำคลองพวาใหญ่ ที่พบว่าหลังจากอ่างเก็บน้ำเริ่มสามารถเก็บน้ำได้ ปรากฏว่ามีช้างป่าจำนวนมากเข้ามาหากิน โดยมีเส้นทางหากินที่สร้างความเสียหายให้กับชุมชนเป็นวงกว้าง ในกรณีอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ช้างป่าที่หากินในพื้นที่น้ำท่วม มีโอกาสสูงที่จะอพยพลงมาเดินวนหากินในพื้นที่ชุมชน ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร นี่ต่างหากที่เป็นปัญหาสำคัญที่ควรต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
4. อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น เป็นส่วนหนึ่งของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก อยู่ตรงกลางระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ซึ่งเป็นแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศที่สำคัญ corridor area และถือเป็นพื้นที่หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ เป็นพื้นที่ที่คอยเชื่อมพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 2 แห่ง ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด 2 อันดับแรก ให้เกิดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรม การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นอาศัย และเพิ่มพูนประชากรของสัตว์ป่า ซึ่งเป็นปัจจัยดึงดูดให้สัตว์ผู้ล่าเข้าใช้พื้นที่อีกด้วย จากผลการศึกษาของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 3 แห่ง เป็นผืนป่าที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกมีแนวเขตเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน เหมาะสมในการเป็นแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าที่สำคัญในภาคตะวันออก แม้อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นลำดับที่ 5 ของกลุ่มป่าตะวันออก แต่เป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเป็นแหล่งอาศัยและดำรงชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น ยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่มากถึง 7 ชนิด และแต่ละชนิดถือได้ว่ามีค่าความชุกชุมค่อนข้างสูง
5. เมื่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบรายงานฯ นั่นเท่ากับว่าเป็นใบผ่านทางให้โครงการก่อสร้างได้ รายละเอียดหลังจากนี้แค่เป็นเรื่องที่เจ้าของโครงการต้องไปดำเนินการต่อตามกระบวนการ
ดังนั้น เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ตามรายชื่อแนบท้าย จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติการอนุมัติโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด เพื่อรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยไม่สร้างปัญหาใหม่ที่ทำให้บ้านที่เหมาะสมของสัตว์ป่าถูกทาลายลงอย่างสิ้นเชิง และอาจทำให้สัตว์ป่าออกมารบกวนประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย
รายชื่อเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ร่วมคัดค้านการเห็นชอบรายงาน EHIAโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
มูลนิธิโลกสีเขียว
สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย
กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
กลุ่มใบไม้
ชมรมฅนรักษ์สัตว์ป่า
กลุ่ม ฅ.ฅนทำทาง
กลุ่มเยาวชนต้นกล้า จ.นครนายก
กลุ่มรักษ์​กระทิง​เขา​ใหญ่
กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (siamensis)
กลุ่ม​ลูก​มะปราง​ สระบุรี​
พิเชฐ นุ่นโต นักวิชาการอิสระ/เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง
ดร.นพดล ประยงค์ นักวิชาการอิสระ
ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี มหาวิทยาลัยมหิดล
มูลนิธิสถาบันปฏิปัน
ประชาคมเมืองอุทัยธานี
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยุหะ
องค์การแพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย
กลุ่ม BIG TREE
กลุ่มรักษ์เขาขะเมา
มูลนิธิเพื่อนบูรพา
กลุ่มเพื่อนทับลาน
กลุ่มอนุรักษ์ช่วยเหลือสัตว์ป่า
เพจผ้าขาวม้าติ่งป่า
กลุ่มไม้ขีดไฟ

Photos from กลุ่มเพื่อนทับลาน friend for thaplan's post 22/06/2021

็นเขาใหญ่ ปัจจุบันมีการขออนุญาติสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ ทั้งหมด 7 อ่าง โดยแต่ละอ่างได้เตินตามขั้นตอนแบ่งเป็น

1. อ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายก อยู่ในขั้นตอนส่ง EIA ให้คณะ คชก.พิจารณาและถูกตีกลับมาให้ทำประเด็นเพิ่มเติม เสียพื้นที่ป่าประมาณ 1000 ไร่

2. อ่างเก็บน้ำห้วยสโตน อุทยานแห่งชาติตราพระยา จ.สระแก้ว อยู่ในขั้นตอนของกรมชลฯยืนขอใช้พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากกรมอุทยาน เสียพื้นที่ป่าประมาณ 4700 ไร่

3. อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร อุทยานแห่งขาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานเพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม

4. อ่างเก็บน้ำใสน้อยใสใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานเพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม

5. อ่างเก็บน้ำคลองวังมืด อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานเพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม

6. อ่างเก็บน้ำคลองหนองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในแผนการขอเข้าสำรวจในปี 2572 - 2575

7. อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายกอยู่ในขั้นตอนการขอให้สร้างจากสภาเกษตรกร
ทั้งหมดคืออ่างเก็บน้ำที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นมรดกโลก ขอพื้นที่อยู่ให้สัตว์ป่า ขอการจัดการน้ำทางเลือกที่ไม่เสียพื้นที่ป่าให้กับประชาชน

Photos from อารามธรรมชาติ's post 19/03/2021
รากสาเหตุและปัจจัยสู่ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า Root Cause of HEC 17/03/2021

รากสาเหตุและปัจจัยสู่ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า Root Cause of HEC รากสาเหตุและปัจจัยสู่ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า Root Cause of human elephant conflict (HEC) โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Desai & Riddle (2015)

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

ช่วยลูกหมูป่าหนีไฟ
ช่วยเต่า หนีไฟป่า
ไฟป่าผาเม่น 12/ก.พ.63
ไฟป่าผาเม่น 12/ก.พ.63
ไฟป่าดับแล้วครับ ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันดับไฟ
อุทยานแห่งชาติทับลาน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) ขอรายงานผลการปฏิบัติงาน ดังนี้วันที่ 5 ม.ค. 2563  เวลา...
ไฟมาป่าหมด
คลิปไฟป่า..

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

246/8 ซอย โยธินพัฒนา แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
Bangkok
10240

Environmental Conservation อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Love Wildlife Love Wildlife
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100

Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife thro

ANURA CLUB ANURA CLUB
Bangkok

มาเรียนรู้วิธีการรักษ์โลกไปด้วยกัน 🌎💙 Let’s learn how to save the world together

มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม : Environmental and Social Foundation มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม : Environmental and Social Foundation
92/283 Moo 2, Soi Ekkarat 15/1, Phaholyothin 87 Road , Lak Hok
Bangkok, 12000

มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

Future Forest Future Forest
Bangkok

My name is Kin (Rattanapong Jennarongsak), I am 15 years old and the founder of this project, based i

Thailand MPAs 30 by 30 Thailand MPAs 30 by 30
Ramkhamhaeng Road
Bangkok, 10240

การสนับสนุนการประกาศเพิ่มพื้นที่คุ้มครองอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030

Tnmsky Tnmsky
82
Bangkok, 10500

C3Leng Recycle C3Leng Recycle
Bangkok, 10400

Sustainable Online Recycling Application ซีซาเล้ง - พัฒนาระบบรีไซเคิลไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

CRU go Green CRU go Green
39/1 Ratchadapisek Road Chandrakasem Chatuchak
Bangkok, 10900

ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ?

Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA
Bangkok, 10110

The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business

FREC Bangkok FREC Bangkok
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat
Bangkok, 10100

Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FRE

MUE TRIM มือทริม MUE TRIM มือทริม
รามอินทรา 58 แยก 4
Bangkok, 10230

รับบริการทริมใบ และ จัดจำหน่าย อุปกรณ์สมุนไพร Line ID : @610rvzsu

Volunpsy Volunpsy
Bangkok, 10330

ฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย