บ้านอุ่นรัก กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า

บ้านอุ่นรัก กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า

แชร์

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กพัฒนาการช้าไม่สมวัย (เด็กเล็กวัย 2-5 ขวบ)

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการ #เด็กออทิสติก #เด็กพัฒนาการช้า #เด็กสมาธิสั้น #ความรู้คู่ความรักจึงทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้
.
ยินดีต้อนรับทุกท่าน สู่บ้านอุ่นรักค่ะ" เพราะเรามั่นใจว่าความรู้และความรักทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้"
.
การดำเนินงาน แนวคิด และบริการของเรา
.
ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” เปิดดำเนินงานมากว่า 29 ปี มีที่ทำการ 2 แห่ง คือ บ้านอุ่นรักสวนสยาม และบ้านอุ่นรักธนบุรี เราให้ความสำคัญเรื

20/03/2025

กิจกรรมเสริมพัฒนาการคลายร้อนช่วงปิดเทอม ตอนที่ 1

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศฤดูร้อนปี 2568 เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์และจะสิ้นสุดลงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2568 ประกอบกับในช่วงหน้าร้อนของทุก ๆ ปี กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นช่วงของการปิดเทอม

เมื่อช่วงปิดเทอมหน้าร้อนมาถึง พ่อแม่ผู้ปกครองและลูกหลานจึงต่างฝ่ายต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับช่วงเวลาที่ว่านี้ไปด้วยกัน

เรื่องที่แต่ละฝ่ายต้องปรับตัว
• พ่อแม่ผู้ปกครองปรับตัวและปรับกิจวัตรประจำวันของตนเองให้เอื้อกับการที่ลูกหลานอยู่บ้านในช่วงเด็กปิดเทอม
• ก่อนปิดเทอมที่เด็กไปโรงเรียน เด็กจะทำกิจวัตรตามตารางเรียนอย่างมีรูปแบบและโครงสร้างชัดเจน ทำให้รู้ว่าตนต้องทำอะไรก่อน-หลัง ทำอะไรในเวลาใด และครูคาดหวังอะไรจากพวกเขาบ้างในแต่ละช่วงตารางเวลาเรียน แต่ในช่วงปิดเทอมที่เด็กอยู่บ้าน กิจวัตรประจำวันที่บ้านจะมีรูปแบบและโครงสร้างที่แตกต่างไปจากที่ตนเคยทำที่โรงเรียน เนื่องจากโดยทั่วไปกิจวัตรที่เด็กทำที่บ้านอาจมีรูปแบบและโครงสร้างที่น้อยลงหรือแตกต่างไปจากที่ตนเคยทำที่โรงเรียน เด็กจึงต้องปรับตัว
• เด็กปรับตัวด้านอารมณ์และทักษะทางสังคม เช่น เด็กโล่งใจขึ้นหรือเครียดลดลงเพราะในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เด็กไม่ต้องเข้าสังคมกับคนอื่นมากนัก แต่ในทางกลับกัน เด็กบางคนที่มีเพื่อนหรือเปิดใจกับเพื่อนที่โรงเรียนได้แล้ว พอโรงเรียนปิดเทอม เด็กและเพื่อนต่างฝ่ายต่างอยู่ที่บ้านของตนเองจึงได้พบปะกันน้อยลง ไม่ค่อยมีเวลาร่วมกันเพื่อรักษามิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูงหรือคงไว้ซึ่งระดับทักษะทางสังคมอย่างที่พวกเขาเคยมีที่โรงเรียน
• เด็กปรับตัวด้านพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันที่บ้านในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน การที่กิจวัตรที่บ้านมีรูปแบบหรือโครงสร้างลดลงเมื่อเทียบกับกิจวัตรที่เด็กเคยทำที่โรงเรียน เด็กก็อาจมีเวลาว่างมากขึ้นและใช้เวลาว่างนั้นในทำกิจกรรมเฉพาะอย่างตามที่ตนสนใจเป็นพิเศษมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในบางประการ เช่น พฤติกรรมทำซ้ำหรือหมกมุ่น เป็นต้น
• เด็กออทิสติกรายที่มีประสาทรับรู้สัมผัสไวอาจหงุดหงิดกับความร้อนของอากาศช่วงหน้าร้อน ความชื้นของเหงื่อ หรือผิวสัมผัสของเสื้อผ้าที่ใส่ในช่วงหน้าร้อน เด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องปรับตัว

แม้ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนจะเป็นช่วงที่เด็กออทิสติกและพ่อแม่ผู้ปกครองต้องปรับตัว แต่ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสดีที่ต่างฝ่ายจะได้ใช้เวลาร่วมกันเพื่อสร้างความทรงจำดี ๆ หรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่น่าจดจำ อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ทักษะชีวิตที่จำเป็นผ่านกิจกรรมสนุก ๆ แบบต่าง ๆ ที่บ้านได้เช่นกัน

สำหรับโพสต์หน้า บ้านอุ่นรักจะแชร์ไอเดียเรื่องกิจกรรมที่น่าสนใจ โปรดติดตามอ่านโพสต์ครั้งหน้าจากเรา

ขอขอบคุณบทความต้นฉบับ หัวข้อ “Summer Activities for Children with Autism” ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ behavioral-innovations.com อันเป็นแนวคิดและที่มาของโพสต์นี้ของบ้านอุ่นรัก

กดลิงก์เพื่อบทความต้นฉบับ
https://behavioral-innovations.com/blog/summer-activities-for-children-with-autism/

เครดิตข้อมูล:
- ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2568 ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเปิดและปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2549
- บทความ Summer Activities for Children with Autism เผยแพร่บนเว็บไซต์ behavioral-innovations.com

18/03/2025

❓ยิ่งไม่นิ่ง ยิ่งต้องเคลื่อนไหว
#กิจกรรมช่วยฝึกเมื่อลูกไม่นิ่ง

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง ซอย 26 โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #ไม่พูด #พูดไม่ได้ #พูดช้า #สองขวบแล้วยังไม่พูด #แก้ไขการพูด #ซนอยู่ไม่สุข #ไม่สนใจ #ไม่สบตา #เลี่ยงสบตา #ไม่หันตามเสียงเรียก #เรียนรู้ช้า #เด็กพิเศษ #กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ #ส่งเสริมพัฒนาการ #พัฒนาการไม่สมวัย #โรงเรียนเด็กพิเศษ #ทักษะของเด็ก #ไม่เข้าสังคม #นั่งกับที่ไม่ได้

16/03/2025

บริการของ “บ้านอุ่นรัก”

✅เสริมสร้างพัฒนาการระยะเริ่มแรก(Early Intervention) สำหรับเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย (เด็กวัย 2-5 ขวบ) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการรอบด้าน เช่น กระตุ้นการพูดในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวการมีแบบแผน เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และเสริมสร้างสมาธิของเด็ก
✅จัดกลุ่มเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
✅ฝึกเด็กรายบุคคล
✅เตรียมความพร้อมของเด็กวัยเด็กเล็กด้านพื้นฐานการเรียนรู้และทักษะทางสังคมเพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กมีความพร้อมมากพอในการเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล
✅สอนเสริมสำหรับเด็กนักเรียนของบ้านอุ่นรักที่เรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล
✅อบรมผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

“บ้านอุ่นรัก” ใช้ความรู้คู่ความรักเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง ซอย 26 โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #ไม่พูด #พูดไม่ได้ #พูดช้า #สองขวบแล้วยังไม่พูด #แก้ไขการพูด #ซนอยู่ไม่สุข #ไม่สนใจ #ไม่สบตา #เลี่ยงสบตา #ไม่หันตามเสียงเรียก #เรียนรู้ช้า #เด็กพิเศษ #กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ #ส่งเสริมพัฒนาการ #พัฒนาการไม่สมวัย #โรงเรียนเด็กพิเศษ #ทักษะของเด็ก #ไม่เข้าสังคม #นั่งกับที่ไม่ได้

14/03/2025

✅ ออทิสติกจัดอยู่ในโรคที่มีกลุ่มอาการอันส่งผลกระทบต่อพัฒนาการล่าช้าแบบแผ่ขยายหลายด้าน ดังนั้น แม้ลูกออทิสติกจะมีอาการน้อยแต่ลูกอาจจะมีพัฒนาการในภาพรวมไม่สมวัย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็กเพื่อแพทย์วินิจฉัยอาการ แพทย์และทีมกระตุ้นพัฒนาการช่วยวางแนวทางบำบัดรักษาและเสริมสร้างพัฒนาการเพื่อลดข้อจำกัดทางอาการ ตลอดจนฟื้นฟูพัฒนาการของลูกให้สมวัยมากที่สุดโดยเร็วที่สุด

Photo Credit: Peter Burdon on Unsplash

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง ซอย 26 โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #ไม่พูด #พูดไม่ได้ #พูดช้า #สองขวบแล้วยังไม่พูด #แก้ไขการพูด #ซนอยู่ไม่สุข #ไม่สนใจ #ไม่สบตา #เลี่ยงสบตา #ไม่หันตามเสียงเรียก #เรียนรู้ช้า #เด็กพิเศษ #กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ #ส่งเสริมพัฒนาการ #พัฒนาการไม่สมวัย #โรงเรียนเด็กพิเศษ #ทักษะของเด็ก #ไม่เข้าสังคม #นั่งกับที่ไม่ได้

12/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 6: การติดตามและการปรับแนวทางการใช้ยาของเด็กออทิสติก

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

การติดตามและการปรับแนวทางการใช้ยาของเด็กออทิสติก
ในขณะที่เด็กยังไม่สามารถปรับตัวให้ชินกับการใช้ยา กินยา หรือฉีดยา เราควรทำดังต่อไปนี้
- ติดตามความคืบหน้าเรื่องการใช้ยาด้วยการจดบันทึกว่าเด็กใช้ยาสำเร็จหรือไม่
- พยายามต่อไปจนกว่าเด็กจะร่วมมือหรือเกิดความมั่นใจเรื่องการใช้ยา
- ให้รางวัลหรือแรงเสริมทางบวกเพื่อตอบแทนสำหรับความร่วมมือ ความพยายาม และความสำเร็จที่เด็กทำได้ เช่น กล่าวชม ให้เด็กติดสติกเกอร์บนบันทึกหรือแผนภูมิแสดงลำดับขั้นของความพยายามและความสำเร็จ การเสริมแรงเชิงบวกที่ให้ครั้งนี้เป็นรางวัลสำหรับครั้งนี้และจะกระตุ้นให้เด็กให้ความร่วมมือและพยายามทำต่อไป ซึ่งนับเป็นการสอนเด็กทางอ้อมว่าความพยายาม ความร่วมมือ และทักษะต่าง ๆ ที่เด็กค่อย ๆ สะสมหรือทำได้เป็นชัยชนะเล็กๆ น้อย ๆ ที่สำคัญและน่าภาคภูมิใจเสมอ
- ปรับเปลี่ยน
o ฉีดยาเด็กไม่สำเร็จหรือเด็กไม่ให้ฉีดยา เราอาจต้องเปลี่ยนไปใช้บริการที่โรงพยาบาลอื่นที่มีบรรยากาศหรือบุคคลากรที่เป็นมิตรกับเด็กมากขึ้น เช่น คลินิกกุมารแพทย์ขนาดเล็ก (แทนการไปโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เด็กกลัว)
o เด็กยังกลืนยาไม่ได้ เราอาจถามแพทย์หรือเภสัชกรว่ามียารูปแบบอื่นหรือรสชาติอื่นทดแทนหรือไม่ เราสามารถเติมหรือปรับเปลี่ยนรสชาติ ขนาด หรือกลิ่นของยาได้หรือไม่เพื่อให้เด็กกินยาง่ายขึ้น
o สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรว่าขอเปลี่ยนเวลากินยาเป็นวันละครั้งแทนวันละ 2 ครั้งได้หรือไม่
o หากปัญหาการใช้ยาของเด็กทำให้เด็กหรือเราเครียดและเด็กยังไม่ตอบสนองต่อเทคนิคต่าง ๆ ข้างต้น เราควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ หรือจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาเด็กเพื่อช่วยให้เด็กเอาชนะความกลัวการใช้ยา

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

11/03/2025

ปีนี้ 30 ++แล้วค่ะ

10/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 5: การจัดการเรื่องความกลัวเข็มฉีดยา
(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

การจัดการเรื่องความกลัวเข็มฉีดยา

• เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจและผ่อนคลาย การเบี่ยงเบนความสนใจจะทำให้เด็กหันเหความสนใจจากเข็มและหันไปสนใจสิ่งอื่นแทน วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการเบี่ยงเบนความสนใจหรือทำให้เด็กผ่อนคลายให้คำนึงถึงอายุของเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ

o 6-24 เดือน: บทกลอน ภาพหมุนวน หรือของเล่นที่มีดนตรี
o 2-5 ขวบ: สิ่งเร้าทางสายตาหรือการได้ยินอย่างง่ายๆ เช่น การเป่าฟองสบู่ การนับ และการอ่านนิทาน
o 5 ขวบขึ้นไป: จินตนาการที่ชี้นำ เข่น ให้เด็กใช้จินตนาการว่าตนอยู่ที่อื่น ให้เล่นวิดีโอเกม หรือดูคลิป

• เทคนิคการลดความไวด้านความรู้สึกสำหรับโรคกลัวเข็ม เช่น ค่อย ๆ สอดเข็มฉีดยา

• เทคนิคการลดความกลัวเข็มฉีดยาเพราะเข็มฉีดยาเป็นเพียงอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น อนุญาตให้เด็กถือเข็มฉีดยาที่ยังไม่ได้ใส่เข็ม จากนั้นจึงสอดเข็มโดยเข็มนั้นมีฝาปิดไว้ และท้ายที่สุดก็ให้นำเข็มฉีดยาที่ประกอบเสร็จแล้วออกมาใช้ฉีดยา

• ปรึกษานักจิตวิทยาในกรณีที่จำเป็นต้องจัดการกับความกลัวเข็มฉีดยาของเด็ก

ตอนหน้า มาคุยกันต่อเรื่องอะไรในประเด็นนี้ โปรดติดตามอ่านกันนะคะ

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

เก็บฝาขวดกระตุ้นพัฒนาการเด็ก #บ้านอุ่นรัก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า 09/03/2025

เก็บมาฝากค่ะ

เก็บฝาขวดกระตุ้นพัฒนาการเด็ก #บ้านอุ่นรัก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า "บ้านอุ่นรัก" ขอฝากข้อมูลและแนวทางการเสริมพัฒนาการเด็กที่ท่านสามารถลงมือทำเองได้ที่บ้านด้วยค่ะ "บ้านอุ่....

08/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 4: สอนเด็กให้รู้เทคนิคการกลืนยา

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

สอนเด็กให้รู้เทคนิคการกลืนยา

• เทคนิคการกลืนด้วยการก้มตัวไปข้างหน้า: ให้เด็กเงยหน้า วางยาบนลิ้นของเด็ก ให้เด็กจิบน้ำแต่ยังไม่ต้องกลืนน้ำ ให้เด็กให้กดคางชิดอกแล้วกลืน
• เทคนิคการกลืน 2 จังหวะ: ให้เด็กเงยหน้า วางยาบนลิ้นของเด็ก ให้เด็กดื่มน้ำแต่แบ่งการกลืนเป็น 2 จังหวะ คือ จังวะแรกกลืนน้ำอึกเล็ก ๆ โดยยังไม่กลืนยาเม็ด จากนั้นให้เด็กกลืนน้ำที่เหลือเป็นจังหวะที่ 2 พร้อมกลืนยาเม็ดพร้อมกันไปในทันที
• เทคนิคการกลืนด้วยหลอด: ให้เด็กเงยหน้า วางยาบนลิ้นของเด็ก ให้เด็กดื่มเครื่องดื่มผ่านหลอด เมื่อเด็กจดจ่อกับการกลืนเครื่องดื่มที่ตนชอบ เด็กอาจกลืนยาเม็ดได้โดยไม่คิดถึงว่าตนกำลังกินยา
• เทคนิคการกลืนยาในขณะดื่มน้ำจากขวด: ให้เด็กเปิดฝาขวดน้ำที่เด็กถืออยู่ ให้เด็กเงยหน้า วางยาบนลิ้นของเด็ก ให้เด็กดื่มน้ำจากขวดน้ำที่เปิดฝาเตรียมไว้ก่อนแล้ว บอกเด็กให้สัมผัสขวดตลอดเวลาในขณะดื่มน้ำและกลืนยา การดื่มน้ำจากขวดอาจช่วยให้เด็กกลืนยาเม็ดได้ง่ายขึ้น

อย่าลืมว่า ทุกแนวทางจากโพสต์ของเราเป็นแนวทางที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรนำไปปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กเพิ่มเติมก่อนจะนำมาปรับใช้ เพราะสำหรับบ้านอุ่นรักแล้ว แพทย์ประจำตัวเด็ก ตลอดจนทีมบำบัดประจำตัวเด็ก เป็นบุคคลที่สำคัญเสมอในเรื่องของการบำบัดรักษาอาการของเด็ก ๆ ค่ะ

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

06/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 3: ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา (ต่อจากโพสต์ที่แล้ว)
- การปรับแต่งขนาดของยาด้วยการหัก ตัด บด ซึ่งทำได้เฉพาะกรณีที่แพทย์หรือเภสัชกรอนุญาตให้ทำเท่านั้น

หมายเหตุ
• ยาเม็ดบางชนิดห้ามหัก ห้ามบด ห้ามตัด ห้ามละลายหรือผสมกับอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด
• ยาเม็ดบางชนิดมีสารเคลือบพิเศษที่ควบคุมประสิทธิภาพการปล่อยฤทธิยาเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การหัก ตัด หรือบดยาเป็นการทำลายฟิล์มเคลือบนี้ส่งผลให้ฤทธิของยาถูกปลดปล่อยออกมาทั้งหมดในครั้งเดียวและยามีประสิทธิภาพเปลี่ยนไปหรือลดน้อยลง
• ยาที่หัก ตัด บด เพื่อละลายน้ำ ต้องเป็นยาที่ผสมหรือละลายน้ำได้เท่านั้น
• เครื่องดื่มหรืออาหารชนิดที่จะนำมาผสมกับยาต้องไม่ส่งผลต่อฤทธิของยา
• ต้องมั่นใจว่าเด็กกินยาที่หัก ตัด บด กินครบโดส กินครบตามมื้อ และกินตามเวลาที่แพทย์กำหนด
• อย่าเตรียมอาหารจำนวนมากพร้อมกับยา
• ยาอาจเสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไปหากถูกบดหรือแกะออกจากบรรจุภัณฑ์ป้องกัน
• อย่าอบยาลงในอาหาร

บ้านอุ่นรักหวังว่าข้อความจากการแปลสรุปความและเรียบเรียงใหม่ของเราที่เรานำมาแบ่งปันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านและเด็ก ๆ นะคะ ส่วนในโพสต์หน้า เรามาดูวิธีสอนเด็กเรื่องการกลืนกินยากันค่ะ

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

04/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 3: ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา
(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา (ต่อจากโพสต์ที่แล้ว)

การทำให้เด็กร่วมมือเรื่องยาที่เด็กต้องกินต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์มีหลายวิธี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองจะเป็นผู้พิจารณาทางเลือก ตลอดจนนำแนวทางนั้น ๆ ไปปรึกษาแพทย์ก่อนนำมาปรับใช้ค่ะ

สำหรับโพสต์นี้ เราขอแชร์อีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจที่เราได้จากการแปลสรุปบทความต้นฉบับมาให้ท่านพิจารณา คือ

- ในกรณียาน้ำ เราอาจใช้การปรับแต่งรสชาติหรือกลิ่นของยา ซึ่งจะทำได้เฉพาะกรณีที่แพทย์หรือเภสัชกรประจำตัวเด็กอนุญาตให้ทำเท่านั้น เช่น ใส่สารเติมแต่งให้ยามีรสชาติที่กินง่ายขึ้น ผสมยากับน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาหารเหลวอื่นๆ เพื่อกลบกลิ่นหรือกลบรสชาติของยา

หมายเหตุ
• เครื่องดื่มหรืออาหารที่จะนำมาผสมกับยาต้องไม่มีปฏิกิริยาต่อฤทธิของยา
• ปรับแต่งด้วยส่วนผสมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
• ต้องมั่นใจว่าเมื่อผสมยากับอาหารหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ แล้ว เด็กกินยาครบหมดภายในเวลาที่กำหนด

บ้านอุ่นรักหวังว่าข้อความจากการแปลสรุปความและเรียบเรียงใหม่ของเราที่เรานำมาแบ่งปันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านและเด็ก ๆ นะคะ ส่วนในโพสต์หน้า เรามาเรื่องการปรับขนาดยาเม็ดกันค่ะ

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

02/03/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 3: ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา (ต่อจากโพสต์ที่แล้ว)

การทำให้เด็กออทิสติกยอมให้ความร่วมมือมีอยู่หลายวิธี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองลองพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบุตรหลานของตน จากนั้นก็นำไปปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กก่อนนำมาปรับใช้กันด้วยนะคะ

โพสต์นี้ เรามาพิจารณากันต่ออีกสัก 3 วิธีที่น่าสนใจค่ะ

- สาธิตให้ดูหรือจำลองสถานการณ์ให้เด็กเห็นว่าการกลืนกินยาทำได้ง่าย เด็กทำได้ และการใช้ยาเฉพาะที่แพทย์ให้ใช้นี้ไม่มีอันตราย การสาธิตให้เด็กเห็นจะช่วยให้เด็กคลายความวิตกกังวลลงได้บ้างเมื่อตนต้องกินยาเอง ทั้งนี้ การสาธิต การทำให้ดูเป็นตัวอย่างหรือการจำลองสถานการณ์ให้เด็กดูเป็นวิธีสอนที่เหมาะสมที่จะใช้สอนเด็กออทิสติกรายที่มีปัญหาด้านการฟัง การความเข้าใจภาษา หรือการฟังเข้าใจ

- ใช้ยาหลอกเพื่อฝึกกลืนกิน พ่อแม่ผู้ปกครองอาจขอยาหลอกจากแพทย์ประจำตัวเด็กมาให้เด็กฝึกกิน โดยยาหลอกควรมีขนาด รูปร่าง และสีใกล้เคียงกับยาจริงที่เด็กต้องกินมากที่สุด เพื่อนำมาฝึกกลืนกินตามเวลาและสถานที่จริงที่เด็กจะต้องทำเมื่อกินยาจริง

- ใช้ยาน้ำแทนยาเม็ดหรือใช้ยาเม็ดแทนยาน้ำ เช่น ถ้าเด็กไม่ยอมกินยาน้ำ เราควรปรึกษาแพทย์ว่ามียาเม็ดหรือเม็ดเคี้ยวให้เด็กกินแทนหรือไม่ เป็นต้น

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

28/02/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 3: ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา ( #ต่อจากโพสต์ที่แล้ว)

การทำให้เด็กออทิสติกยอมให้ความร่วมมือมีอยู่หลายวิธี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองลองพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบุตรหลานของตน...สำหรับโพสต์นี้ เรามาดูกันต่ออีก 2 วิธีที่น่าสนใจ คือ

- ใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีในการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งและเพื่อทำให้เด็กสามารถควบคุมสติอารมณ์ให้สงบได้ดีขึ้นในขณะที่ตนกำลังเผชิญกับความกลัวที่ต้องใช้ยา ทั้งนี้ การเพิ่มการเสริมแรงทางบวกผสานกับการลดการเสริมแรงเชิงลบจะช่วยให้เด็กรู้สึกภูมิใจในความสามารถของตนเองและมีแรงบันดาลใจจากภายในที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง ในระหว่างการสอนให้เด็กกลืนกินยา เมื่อเด็กให้ความร่วมมือ พยายามทำ หรือทำขั้นตอนต่าง ๆ ได้สำเร็จ จนกระทั่งถึงทำได้สำเร็จทุกขั้นตอน เราควรกล่าวชมหรือให้รางวัล เช่น ให้เด็กติดสติ๊กเกอร์บนบันทึกแสดงความสำเร็จของตนเองหรือให้เล่นของเล่นที่เด็กชอบ เป็นต้น

- ใช้เรื่องราวทางสังคมเป็นสื่อการสอน เช่น ให้เด็กดูรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก วิดีโอออนไลน์ หรือเล่านิทานที่เกี่ยวข้องกับการกินยาด้วยน้ำเสียงที่สงบและน่าฟัง เด็กที่ได้ดูหรือได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้จะมีโอกาสเตรียมความพร้อมว่าเมื่อตนต้องใช้ยา ตนควรทำอย่างไร ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรอธิบายความรู้สึกที่เด็กอาจเจอเมื่อต้องใช้ยาควบคู่กันไปด้วย

อย่าลืมนำข้อมูลต่าง ๆ ไปปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กแล้วค่อยนำมาปรับใช้นะคะ ด้วยความรักและปรารถนาดีจากบ้านอุ่นรักค่ะ

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

26/02/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 3.1: ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา

(หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่)
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

#ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติกร่วมมือเรื่องการใช้ยา (ส่วนที่ 1)

การทำให้เด็กออทิสติกยอมให้ความร่วมมือมีอยู่หลายวิธี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองลองพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบุตรหลานของตน ซึ่งวันนี้ เราจะนำข้อมูลจากบทความต้นฉบับมาแชร์ 2 วิธีก่อน คือ

- ก่อนไปพบแพทย์ เราบอกให้เด็กรู้ล่วงหน้าว่าแพทย์จะสั่งยาให้ การบอกให้เด็กรู้ล่วงหน้าเสียแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เด็กมีเวลาปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันหรือตารางเวลาของตนเอง

- สอนให้เด็กกลืนยาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้น ค่อยลดความช่วยเหลือลง (เริ่มสอนโดยนำอาหารหรือขนมที่มีขนาดเล็กมาประกอบการสอน เช่น เมล็ดข้าวสุกที่ปั้นให้มีรูปทรงหรือขนาดคล้ายเม็ดยาหรือลูกอมเม็ดเล็ก เป็นต้น จากนั้น เราค่อยๆ ปรับเพิ่มขนาดของสิ่งนั้นให้มีขนาดพอดีกับเม็ดยาที่เด็กต้องกิน การค่อย ๆ ขยับปรับแต่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะการกลืนไปทีละขั้นตอน ส่วนการช่วยเหลือจากเราถือเป็นสิ่งเร้าที่เราสามารถค่อย ๆ ถอดให้น้อยลงได้ การลดสิ่งเร้าจะลดความวิตกกังวลของเด็ก ตลอดจนเพิ่มความมั่นใจในตนเองของเด็ก ซึ่งในระหว่างการสอน เราควรเน้นความรู้สึกสบายใจของเด็กในทุกขั้นตอนและมีการปรับแนวทางให้เหมาะกับความต้องการของเด็กเป็นระยะ ๆ ด้วย)

วิธีทำให้เด็กออทิสติกยอมให้ความร่วมมือยังมีอีกหลายวิธี บ้านอุ่นรักอยากให้ทุกท่านช่วยติดตามอ่านกันต่อค่ะ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ขอให้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับวิธีนั้น ๆ ไปปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กด้วยนะคะเพื่อเราจะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

24/02/2025

🌹แอด นำมาลงใหม่ เพื่อทบทวน สิ่งที่ขัดขวาง หรือ ทำให้พัฒนาการของลูกไม่ก้าวหน้ามีอะไรบ้างลองมาพิจารณากันดูนะคะ🌀

🌟"บ้านอุ่นรัก" กระตุ้นพัฒนาการ เด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย (เด็กวัย 2-5 ขวบ) ใช้ความรู้ คู่ความรัก ในการดูแลเด็กๆ
🏡30 กว่าปีที่บ้านอุ่นรักอยู่เคียงข้าง ลูกๆออทิสติกสมาธิสั้น และพัฒนาการช้า

🔐เราหวังว่า ความรัก ความจริงใจ ความหวังดี และประสบการณ์ ของเราจะเป็นประโยชน์นะคะ

☎️ติดต่อบ้านอุ่นรัก🏡
1)สาขา สวนสยาม
โทร 086 775 9656
2)สาขา ธนบุรี (ถนนพุทธมณฑลสาย 2 )
โทร 087 502 5261

🏡วันและเวลาทำการ
: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

🏡 #บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #ไม่พูด #พูดไม่ได้ #พูดช้า #สองขวบแล้วยังไม่พูด #ฝึกพูด #แก้ไขการพูด #ซน #อยู่ไม่สุข #ลูกซน #ไม่สนใจ #ไม่สบตา #เลี่ยงสบตา #ไม่มองตา #ไม่หันตามเสียงเรียก #เรียนรู้ช้า #เด็ก #ลูก #เด็กเล็ก #เด็กพิเศษ #กิจกรรมเด็ก #กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ #ส่งเสริมพัฒนาการ #พัฒนาการไม่สมวัย #โรงเรียนเด็กพิเศษ

23/02/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 2: ทำไมต้องหาทางให้เด็กยอมใช้ยา

บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

ทำไมต้องหาทางให้เด็กยอมใช้ยา

1. ยามีผลต่อสุขภาพกายใจของเด็ก
การทำตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวเด็กเรื่องยาที่เด็กจำเป็นต้องกินหรือต้องใช้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จเรื่องการบำบัดอาการด้วยยา (เช่น ยาแก้ไข้ แก้ไอ แก้ตัวร้อน แก้ท้องเสีย หรือยาเฉพาะอื่น ๆ ที่เด็กจำเป็นต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์ประจำตัวเด็ก อีกทั้ง แพทย์ได้ปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น)
หากเด็กไม่ยอมใช้ยา อาจเกิดอะไรได้บ้าง
• ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าอาการจะดีขึ้นได้หรือหายดี
• อาการอาจแย่ลง
• เป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย
• เด็กอาจเกิดความเครียดทางจิตใจ
• เมื่ออาการแย่ลงก็ต้องไปพบแพทย์ซ้ำหรือต้องกินยาเพิ่ม

2. ประโยชน์ด้านจิตวิทยาและสังคม
การทำตามคำแนะนำเรื่องยาอาจสำคัญต่อความเป็นอยู่ทางจิตวิทยาและสังคมของเด็ก เช่น แพทย์ประจำตัวเด็กพิจารณาอย่างดีแล้วว่าต้องสั่งยานี้เพื่อช่วยให้เด็กจัดการกับอาการต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาอันสืบเนื่องมาจากโรคออทิสติก เช่น ปัญหาความหงุดหงิด ความวิตกกังวล พฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น และปัญหาด้านการนอนหลับ หากเด็กไม่ยอมกินยา ปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กจะไม่บรรเทาเบาบางลงหรือซับซ้อนมากขึ้น เด็กจึงอาจไม่ยอมหรือไม่สามารถเข้าร่วมทำกิจกรรมทางสังคมที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมและจิตวิทยาสำหรับตนเอง เช่น การเล่นร่วมกับเพื่อน หรือการเข้าเรียนร่วมที่โรงเรียน เป็นต้น

แนวทางแก้ไขเบื้องต้นที่คนที่บ้านพอจะทำได้: พ่อแม่ผู้ปกครองบอกให้เด็กรู้ว่าการทำตามคำแนะนำเรื่องยามีความสำคัญต่อสุขภาพ และการที่เด็กให้ความร่วมมือ เด็กจะมีอาการที่ดีขึ้นได้และจะหายดี ซึ่งช่วยลดโอกาสที่เด็กจะต้องไปพบแพทย์ซ้ำอีกครั้ง

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

20/02/2025

ปัญหาเด็กออทิสติกกับการใช้ยา **เฉพาะยา + เฉพาะเด็กรายที่แพทย์ประจำตัวเด็กได้วินิจฉัยและปรึกษาร่วมกับครอบครัวของเด็กแล้วว่าเด็กจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

ตอนที่ 1: ทำไมเด็กออทิสติกบางคนไม่ชอบกินยา

หมายเหตุ: บทความนี้แปลแบบสรุปความมาจากบทความต้นฉบับและมีการเรียบเรียงใหม่
เครดิตข้อมูล: singlecare.com
กดลิงก์เพื่ออ่านบทความต้นฉบับ
https://www.singlecare.com/blog/teaching-children-with-autism-medication/

#ทำไมเด็กออทิสติกบางคนไม่ชอบกินยา

ปัญหาเด็กออทิสติกกินยายากหรือไม่ยอมฉีดยาอาจเกิดได้เสมอด้วยเหตุผลใดก็ได้ แต่ในกรณีเด็กไม่ยอมให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไขโดยไม่ตำหนิเด็ก แต่เน้นการทำให้เด็กร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ปัญหานี้เกิดจากเหตุใดได้บ้าง?

- เด็กมีความไวต่อรูปทรง รสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส
- เด็กเลือกกินแต่สิ่งที่ชอบ
- เด็กกลืนยายาก (การกลืนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการเคลื่อนไหวที่สอดประสานกันของลิ้นและเพดานปากเพื่อดันยาไปสู่หลอดอาหารในจังหวะที่เหมาะสม หากเด็กมีปัญหาด้านประสาทรับรู้สัมผัสหรือมีลักษณะการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ในช่องปากที่ไม่สอดประสานกัน เด็กจะกลืนยายาก ไอ สำลัก อาเจียนหรือยาติดคอซึ่งมีส่วนทำให้เด็กไม่ยอมกินยา)
- เด็กวิตกกังวลหรือกลัว (กลัวเข็มฉีดยา กลัวอาหารบางอย่าง กลัวการอาเจียนหรือการสำลัก กลัวแพ้ กลัวผลข้างเคียงของยา หรือเด็กกลัวเพราะเชื่อมโยงผลข้างเคียงจากยาที่ตนเคยกินในอดีต เช่น เคยกินยาอื่นแล้วไม่สบายตัว อาเจียน หรือท้องเสีย เป็นต้น)
- เด็กยึดติดกับรูปแบบเดิมหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (ต่อต้านการกินยาเพิ่ม ยาชนิดใหม่เป็นยาที่ไม่เคยกินมาก่อนหรือการกินยาขนานใหม่เพิ่มเติมไปรบกวนกิจวัตรประจำวันที่เด็กเคยทำ)

พ่อแม่ผู้ปกครองลองหาสาเหตุและจดบันทึกข้อมูลไว้เพื่อนำข้อมูลไปปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กและหาทางแก้ไขต่อไป

#ปรึกษาแพทย์จะได้แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา

"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักสวนสยาม ถนนสวนสยาม 24 แยก 2 โทร 086 775 9656
บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261
วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

#บ้านอุ่นรัก #กระตุ้นพัฒนาการเด็ก #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ โรงเรียน ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

❓ยิ่งไม่นิ่ง ยิ่งต้องเคลื่อนไหว #กิจกรรมช่วยฝึกเมื่อลูกไม่นิ่ง"บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการ...
🌹แอด  นำมาลงใหม่  เพื่อทบทวน  สิ่งที่ขัดขวาง หรือ ทำให้พัฒนาการของลูกไม่ก้าวหน้ามีอะไรบ้างลองมาพิจารณากันดูนะคะ🌀🌟"บ้านอุ...
เเอด ขอเอาหัวข้อ การต่อยอดคุณภาพการพูดมาลงใหม่อีกครั้งนะคะ✴ส่งเสริมทักษะด้านภาษา  การต่อยอดการพูด ของลูกออทิสติก ลูกสมาธ...
บ้านอุ่นรักมีทีมครูกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่ถึงพร้อมด้านความรู้ ความรัก ความเมตตา ความเชี่ยวชาญงาน และความเป็นมืออาชีพ เราจ...
🌟"บ้านอุ่นรัก"  กระตุ้นพัฒนาการ เด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย (เด็กวัย 2-5 ขวบ)  ใช้ความรู้ คู่ความรัก ในกา...
เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมแพ้ ลูกก็จะไม่ยอมแพ้เช่นกันสู้เคียงข้างกันไป พ่อแม่ช่วยลูกได้หลายวิธีเครดิต: Model: Microsoft PowerPoin...
ลูกนอนไม่ค่อยหลับ ต้องทำอย่างไร 🛌🏿Character Credit: pinterest.com | Cute Character DesignMelody Credit: melodyloops | Sp...
คุยกับลูกอย่างไร เมื่อพี่น้องของลูกเป็นเด็กพิเศษ #แก้ไขปัญหาด้วยการพูดคุย "บ้านอุ่นรัก" เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิส...
#พ่อ&แม่ช่วยลูกให้ #ฟังเข้าใจความหมายของคำพูด หรือความหมายที่เราสื่อสาร ได้อย่างไร👇🏡30 ปีที่บ้านอุ่นรักอยู่เคียงข้าง ลูก...
#บทบาทพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้อย่างไรบ้างเมื่อพบว่า #ลูกซน #อยู่ไม่นิ่ง 👇🏡 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒน...
"พูดอย่างไร? ให้เด็กเรียนรู้ได้ดี" แนวทางดี ๆ จาก "บ้านอุ่นรัก" จะมีมาฝากเรื่อย ๆ ฝากติดตามเราด้วยนะคะ"บ้านอุ่นรัก" เสริ...
ี้เช้าวันพรุ่งนี้ ลองทำดูนะคะ➡️ลูกได้ใช้สมาธิในการเดิน วิ่ง หยุดตามจังหวะ ➡️ช่วยสร้างเสริมความเฉียบคมทางการฟัง➡️ ฝึกการค...

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


9/8 ถนนสวนสยาม 24 (แยก 2) หมู่บ้านอมรพันธ์ ซอย 7/1-5 คันนายาว
Bangkok
10230

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 16:00
อังคาร 09:00 - 16:00
พุธ 09:00 - 16:00
พฤหัสบดี 09:00 - 16:00
ศุกร์ 09:00 - 16:00