ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว
ตำแหน่งใกล้เคียง มหาวิทยาลัย
Sukhumvit 23 Klongtoeinue Wattana
10110
10110
114
ซอยสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา
ซอยสุขุมวิท 23 ถนนประสานมิตร เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
10110
10110
Sukhumvit
Room
10110
ศูนย์จิตอาสา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
International College For Sustainability Studies Srinakharinwirot University
ปลูกจิตสำนึกที่ใจ แล้วนำไปใช้จนวันตาย ปลูกจิตสำนึกที่ใจแล้วนำไปใช้จนวันตาย
เนื่องจากวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ทางชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว จึงขอนำเสนอ สารคดีเรื่อง….ชีวิตของเสือปลาในพื้นที่เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับชีวิตของสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีชื่อว่า “เสือปลา”
#กองทุนสิ่งแวดล้อม #โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์เสือปลา #มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #กลุ่มเด็กรักษ์ทุ่ง #ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมศว
ชีวิตของเสือปลาที่สามร้อยยอด
ถ้าพูดถึงเสือปลาหลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อ หรืออาจจะสงสัยว่าเป็นสัตว์ชนิดใดกันแน่ ซึ่งเสือปลาได้อาศัยอยู่หลากหลายแหล่ง แต่ในพื้นที่ของประเทศไทยมีรายงานการค้นพบเสือป่าครั้งแรกและมีจำนวนเยอะที่สุดในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันเสือปลามีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ตาม IUCN Red List ในขณะที่ประเทศไทยเสือปลาได้รับการปรับสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แสดงให้เห็นว่า ประชากรของเสือปลากำลังน่าเป็นห่วงและมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธ์ุไปจากธรรมชาติ
เสือปลา (Fishing cat) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus viverrinus อยู่ในวงศ์ Felidae จัดเป็นกลุ่มเสือและแมวป่าขนาดเล็ก มีลักษณะภายนอกเป็นเสือ พื้นลำตัวสีเทา มีลายสีดำเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว เสือปลาเป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดเล็ก มักอาศัยบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ชุ่มน้ำหรือจำพวกป่าละเมาะหรือพุ่มไม้เล็กใกล้น้ำ ปัจจุบันถิ่นอาศัยแหล่งสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของเสือปลาในประเทศไทยคือ พื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอดเสือปลาจะกินอาหารจำพวก ปลา ปู หอย หนู นก และสัตว์ขนาดเล็ก โดยเสือปลาจะออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นสัตว์ที่หากินกับน้ำโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ผู้ล่าชั้นบนสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งปัจจุบันเสือปลาถูกจัดอยู่ในสถานะที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์/เสี่ยงสูญพันธุ์ (Vulnerable) ตามรายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) และอยู่ในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศทั้งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ส่วนในประเทศไทยจัดอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
โดยสาเหตุที่สำคัญในการเสี่ยงสูญพันธุ์เสือปลา คือ การถูกล่าหรือถูกคุกคามจากมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ โดยส่งผลกระทบต่อการสูญเสียถิ่นที่อยู่ไปจนถึงแหล่งอาหารของเสือปลา ยกตัวอย่างเช่น เสือปลาได้ทำการล่าอาหารจากแหล่งชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ในทางกลับกันพื้นที่นั้นอาจจะเป็นพื้นที่ที่เสือปลาเคยอาศัยอยู่มาก่อน การมีอยู่ของเสือปลาไม่ได้หมายความเพียงการอนุรักษ์เผ่าพันธุ์หรือถิ่นที่อยู่อาศัย ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเอาไว้ได้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงทางรอดต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสือปลาจะอยู่ได้ บ้านอย่างพื้นที่ชุ่มน้ำก็ต้องมีมากพอสำหรับให้เสือปลาได้อาศัย หากิน ขยายเผ่าพันธุ์ ขณะเดียวกัน พื้นที่ชุ่มน้ำยังมีบทบาทสำคัญต่อการรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วยดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในชั้นดินไม่ให้ออกไปยังชั้นบรรยากาศ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำกักเก็บประมาณ 10% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดของโลกอย่างไรก็ตาม บนความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเรียกคืนพื้นที่ชุ่มน้ำให้กลับมีมากมายเหมือนเช่นในอดีต แต่การรักษาสิ่งที่มีอยู่ ก็เปรียบได้ดังความหวังของอนาคตอย่างหนึ่งเช่นกัน
การดำรงอยู่ของเสือปลาในฐานะสัตว์ผู้ล่านั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเสือปลาเป็นผู้ที่สามารถควบคุมปริมาณสัตว์อื่น ๆ และรักษาสมดุลของระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเอาไว้ได้ ถ้าหากเสือปลาเกิดการสูญพันธุ์ไป สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อาหารของเสือปลา หรือแม้กระทั่งสัตว์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเสือปลา อาจได้รับผลกระทบโดยเกิดการเสียสมดุล เช่น สัตว์บางชนิดจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น บางชนิดก็จะลดน้อยลง
โดยแนวทางการแก้ไขของชาวบ้านในพื้นที่เขาสามร้อยยอดที่โดดเด่น คือ การจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งทำให้ได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์เสือปลา เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่มาอาจจะได้รับความรู้จากบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขาสามร้อยยอดและยังสร้างความรู้จักของเสือปลาให้กับบุคคลทั่วไป
ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยแนวทางนี้ของพื้นที่เขาสามร้อยยอด ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่และเสือปลา สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้
แต่ปัจจุบัน….เสือปลายังคงอยู่ในสถานะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และเสือปลาในพื้นที่เขาสามร้อยยอดนั้นยังคงได้รับผลกระทบในเรื่องพื้นที่ที่อยู่อาศัยอยู่ แล้วบทสรุปของปัญหาเรื่องผลกระทบของเสือปลานี้จะเป็นไง เราจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้หรือไม่ การดำรงอยู่ร่วมกันของชีวิตต่างสายพันธุ์นั้น คำตอบไม่ได้อยู่ที่ว่าใครอยู่มาก่อน ใครมาทีหลัง ใครทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายไหนกระทำอย่างไร ใครถูกหรือผิด แต่ขึ้นกับว่า จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร
#กองทุนสิ่งแวดล้อม #โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์เสือปลา #มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #กลุ่มเด็กรักษ์ทุ่ง #ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมศว
ข้อมูลโดย :
https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/infographic-/
ฮ๊าโหล่ววว มากันแล้วนะคะสำหรับรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่21 แบบไม่เรียงตามลำดับ ทั้งตัวจริงและตัวสำรองของฝั่งประสานมิตร❤️
📢สำหรับตัวจริงจะมีการโทรคอนเฟิร์ม ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 🌱🌷
และมีการชี้แจงกำหนดการผ่านทาง LINE ในเวลาต่อมา เตรียมยกหูรับสายประชาสัมพันธ์นะคะ📞🌟
และในส่วนของตัวสำรองอย่าเพิ่งเสียใจไป เพราะทุกคนยังมีโอกาสได้ไปร่วมค่ายกับพวกเราอยู่ อย่าลืมรับสายจากประชาสัมพันธ์นะคะ⚠️💓🍁
ฮ๊าโหล่ววว มากันแล้วนะคะสำหรับรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่21 แบบไม่เรียงตามลำดับ ทั้งตัวจริงและตัวสำรองของฝั่งองครักษ์💖
📢สำหรับตัวจริงจะมีการโทรคอนเฟิร์ม ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 🌱🌷
และมีการชี้แจงกำหนดการผ่านทาง LINE ในเวลาต่อมา เตรียมยกหูรับสายประชาสัมพันธ์นะคะ📞🌟
และในส่วนของตัวสำรองอย่าเพิ่งเสียใจไป เพราะทุกคนยังมีโอกาสได้ไปร่วมค่ายกับพวกเราอยู่ อย่าลืมรับสายจากประชาสัมพันธ์นะคะ⚠️💓🍁
🛎️ เริ่มนับถอยหลังในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
สำหรับการสมัครเข้าร่วมค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่ 21
หากใครสนใจแล้วยังไม่ได้สมัคร อย่าลังเลรีบมาสมัครกันได้แล้วนะคะ🌷✨
🫧สำหรับนิสิตองครักษ์
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 7 ธ.ค. 66 ณ ออคตะ เวลา 19.00น.เป็นต้นไป
🫧สำหรับนิสิตประสานมิตร
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 8 ธ.ค.66 ณ ใต้อาคารเรียนรวม เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
หากไม่มาจับสลากจะถือว่าสละสิทธิ์นะคะ❗️
อย่าลืมมาจับสลากกับพวกเราน้าา จะได้ไปรับกิจกรรมที่สนุก ๆ ด้วยกันค่าา 🌈💐
🛎️ เริ่มนับถอยหลัง 1 DAY
ในการรับสมัครค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่ 21
หากใครสนใจแล้วยังไม่ได้สมัคร อย่าลืมมาสมัครกันนะคะ🌷✨
🫧สำหรับนิสิตองครักษ์
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 7 ธ.ค. 66 ณ ออคตะ เวลา 19.00น.เป็นต้นไป
🫧สำหรับนิสิตประสานมิตร
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 8 ธ.ค.66 ณ ใต้อาคารเรียนรวม เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
หากไม่มาจับสลากจะถือว่าสละสิทธิ์นะคะ❗️
อย่าลืมมาจับสลากกับพวกเราน้าา จะได้ไปรับกิจกรรมที่สนุก ๆ ด้วยกันค่าา 🌈💐
🌤️ 27 พฤศจิกายน 2566 นี้ทางชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว ขอเชิญชวนทุก ๆ คนร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน ✨
📣 ประเพณีลอยกระทงนั้นเป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ รู้ว่าสิ่งมีชีวิตมีชีวิตอยู่ได้เพราะน้ำเป็นสำคัญ เพราะเป็นบ่อเกิดของสิ่งมีชีวิต เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาที่ได้ล่วงล้ำก้ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยใช้วัสดุที่ลอยน้ำได้ใส่เครื่องเซ่นให้ลอยไปกับน้ำ เช่น ต้นกล้วย กระบอกไม้ไผ่ ฯลฯ ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คนเรารู้จักจากประสบการณ์ธรรมชาติ คือ สิ้นฤดูกาลเก่า เดือน 12 ขึ้นฤดูกาลใหม่ เดือนอ้าย ตามจันทรคติ ที่มีดวงจันทร์เป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นสิ่งที่มีอำนาจทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่าการลอยเครื่องเซ่น หรือกระทงนี้คือ การขอขมาพระแม่คงคา และพระแม่ธรณี จึงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน 🙏
‼️ ทว่าปัจจุบันนี้คนวิวัฒนาการกระทง ไม่ใช่แค่ทำจากใบตองเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีทั้งโฟม พลาสติก กระดาษ ขนมปัง และการแปรเปลี่ยนวัสดุต่าง ๆ ให้มีรูปร่างเหมือนกระทง ทำให้ปัญหามลพิษทางน้ำก็ทวีความรุนแรงขึ้นมาพร้อม ๆ กันกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่มีผลมหาศาลต่อแม่น้ำที่หลายคนเคารพบูชา 🐡✨
แต่ถึงอย่างนั้นการลอยกระทงแบบ “รักษ์โลก” ก็สามารถทำได้ และมีหลายวิธี ลอยกระทงออนไลน์ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง โดยในปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายที่ออกแบบมาสำหรับเทศกาลลอยกระทง รูปแบบเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ยังคงความสวยงามขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยเราไว้ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยลดมลภาวะทางน้ำหลังจากที่ลอยไปแล้วได้อีกด้วย 🌳
#ลอยกระทงรักษ์โลก
#ลอยกระทงออนไลน์
📣 กลับมาแล้วสำหรับชาวอนุรักษ์ธรรมชาติ 🌤️
ชาวมศวไม่มีจุดคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าหลังปีใหม่จะไปเที่ยวไหนดี มาร่วมผจญภัยไปกับพวกเราชาวอนุรักษ์ได้ ในค่ายปิดเทอมเปิดป่า ครั้งที่ 21 ⛰️✨
📢 ค่ายปิดเทอมเปิดป่า ครั้งที่ 21 จัดขึ้นวันที่ 2-7 มกราคม พ.ศ. 2567
📍ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ
สำหรับกิจกรรมภายในค่าย
💥 ตั้งแคมป์ผิงไฟในหุบเขา รับลมหนาวริมลำธาร
💥 เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ
💥 กิจกรรมสื่อความหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์
#เปิดให้ลงทะเบียนแล้ววันนี้
🌳องครักษ์
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย - 7 ธ.ค. 2566
(ลงทะเบียนได้ถึง 12.00 น. ของวันที่ 7 ธ.ค. 2566)
🌱จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 7 ธ.ค. 2566 เวลา 19.00 น.
ณ ออคตะ
🌳ประสานมิตร
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย - 8 ธ.ค. 2566
(ลงทะเบียนได้ถึง 12.00 น. ของวันที่ 8 ธ.ค. 2566)
🌱จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 8 ธ.ค. 2566 เวลา 17.30 น.
ณ ใต้อาคารเรียนรวม
📌เลื่อนดูภาพถัดไป เพื่อ Scan QR code ได้เลย📌
💥 ฟรีชั่วโมงกิจกรรม ‼️
#สมัครได้ทุกชั้นปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย 🤩
❗️หมายเหตุ ❗️
ขั้นตอนการไปค่ายกับเรา
1.ลงทะเบียน
2.จับสลากเพื่อลุ้นไปค่าย
‼️หากไม่เข้าร่วมการจับสลากจะถือเป็นการสละสิทธิ์
📞ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ออย : 0929685200
แป้ง : 0923566656
เหม่ยลี่ : 0638877374
พลอยณิช : 0909762965
“แหล่งมรดกโลก” คือพื้นที่ซึ่งอาจจะเป็น ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ที่สะท้อนถึงประโยชน์ และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า และควรได้รับการปกป้องเพื่ออนุรักษ์สืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง
วันที่ 16 พฤศจิกายน วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก และวันก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติ (UNESCO) โดยอนุสัญญาว่าด้วยความคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ ให้ตระหนักว่าการปกป้องสมบัติทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ควรเป็นภารกิจร่วมกันที่ทุกคนต้องลงมือทำ โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เมื่อ พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผืนป่าที่บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 3 แห่งที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่
🌳 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
🌳 พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
🌳 พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน
ช่วยกันพัฒนาให้แหล่งมรดกโลกคงอยู่ไว้บนรากฐานความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งแหล่งมรดกของประเทศไทย และของโลก
รูปภาพ : ธนกฤต แดงทองดี
อ้างอิง
https://primo.co.th/บทความ/ชวนเที่ยว-7-มรดกโลก-ที/
https://cul.offpre.rmutp.ac.th/wp/?p=29745
https://www.thebangkokinsight.com/news/videos/902641/
ร่วมรักษาป่าใหญ่และสิ่งแวดล้อมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร https://www.seub.or.th/support/donate/thai-qr-code/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0-2580-4381 ต่อ ฝ่ายระดมทุน
#ระดมทุน #มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
☀️ ข่าวดีสายแคมป์ปิ้ง 🏕️
🧳🧤 เปิดประสบการณ์ รับสมัครผู้ประสบภัย เฮ้ย! ผู้ร่วมเดินทาง เตรียมจัดกระเป๋าไปติดป่าฝ่าดง เฮ้ย! ไปบุกป่าฝ่าดงกับพวกเรา เฮ้ย! ถูกแล้ว ตั้งแคมป์รับลมหนาวแรกของปี2567 🎇
เตรียมพบกับพวกเราชาวอนุรักษ์ในค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่ 21 เร็วๆนี้ 🎉🎉
พร้อมแล้วออกลุยเลยยย 🌈
สามารถติดตามรายละเอียดงานได้ที่นี่เร็วๆนี้
Facebook : ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว
Instagram : anurak_swu
Twitter : AnurakSWU
TikTok : anurakswu
🌱 ค่ายผลิใบครั้งที่ 27 วันที่ 20-23 ตุลาคม 2566 ✨
ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแสะสัตว์ป่านครนายก ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก 🤟✨💚
#ผลิใบ27
#ผลิใบไม่เหงามาเขาพระด้วยกัน
นับเป็นอีกหนึ่งข่าวน่ายินดีของประเทศไทย เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน เปิดเผยภาพกระทิง (Bos gaurus) หลังจากที่ไม่ได้รับรายงานการพบเห็นมานานกว่า 37 ปี
วันที่ 29 ตุลาคม 2566 เพจเฟซบุ๊กของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความระบุว่า นายอาคม บุญโนนเเต้ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน เปิดเผยว่า ตามที่เขตฯ ได้มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (Camera Trap) เพื่อสำรวจการกระจายของสัตว์ป่าในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL)
ด้วยความที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของป่ารอยต่อประเทศไทย ทำให้มีร่องรอยสัตว์ป่าที่เข้ามาใช้ประโยชน์ชุกชุม โดยช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีการรายงานพบกระทิง (Bos gaurus) ซึ่งนับเป็นสัตว์ที่พบตัวค่อนข้างยาก ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ด้านเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน พบเห็นกระทิงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2529 และในปี 2531 ได้มีผู้ลักลอบล่าวัวป่าชนิดนี้ จากบริเวณแม่ลาหลวง ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา ซึ่งเป็นผืนป่าต่อเนื่องกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน
ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการพบเห็นกระทิงดังกล่าว ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวินนั้น มีปรากฏในเอกสารรายฉบับร่างแผนแม่บทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2533
นายอาคม กล่าวว่า นี้ถือเป็นเวลากว่า 37 ปี แล้ว ที่ไม่มีรายงานการค้นพบกระทิงในพื้นที่เขตฯ ดังกล่าว แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข้อมูลบอกเล่า รอยตีน หรือกองมูล ที่ยืนยันแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นกระทิงหรือไม่ด้วย ซึ่งนี้ก็แตกต่างจากวัวแดงตรงที่มีคนพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง และที่สำคัญวัวแดงมีแหล่งอาศัยชัดเจน คือบริเวณป่าเต็งรังที่ราบตอนบนของเขตฯ แค่จุดเดียวเท่านั้น
จากการรายงานของเจ้าหน้าที่บริเวณที่ถ่ายภาพได้ และชาวบ้านในพื้นที่ พบว่ามีร่องรอยกระทิงมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นประจำทุกปี โดยมาในลักษณะฝูงเล็ก ๆ 1-3 ตัว เพียงเท่านั้น โดยพวกมันมีพฤติกรรมหากินข้ามไปมาบริเวณป่ารอยต่อระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา และประเทศเมียนมา ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงคำบอกเล่า รอยตีน และกองมูลเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นกระทิง
ความสำคัญกระทิงต่อระบบนิเวศ
กระทิง หรือ เมย เป็นสัตว์เท้ากีบ อยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกับควายป่าและวัวแดง แต่กระทิงนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่รูปร่างใหญ่ ล่ำ มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขาทั้งสี่มีสีขาวคล้ายกับสวมถุงเท้าอยู่ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตรงหน้าผากที่อยู่ระหว่างเขาจะมีขนสีน้ำตาล พวกมันจะมีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งจะมีสมาชิกตั้งแต่ 2 – 60 ตัว
พวกมันกินพืชเป็นอาหาร ได้แก่ ใบไม้ ผลไม้ป่า และหญ้าชนิดต่าง ๆ โดยในอดีตพวกมันมีจำนวนมาก และกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีกระทิงอยู่เหลือเพียงบ้างพื้นที่เท่านั้น ทำให้ปัจจุบันกระทิงมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
อย่างไรก็ตาม พวกมันมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมาก โดยพวกมันมีบทบาทเป็นสัตว์เบิกนำในการค้นหา แหล่งพืชอาหารหรือแหล่งน้ำ ซึ่งจะช่วยให้สัตว์อื่น ๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ นอกจากนี้กระทิงยังช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า เช่น ลูกส้าน กระท้อนป่า มะกอกป่า ฯลฯ ดังนั้นหากป่าหรือพื้นที่ใดมีกระทิง เท่ากับว่าป่าบริเวณนั้นมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้และพรรณพืชที่หลากหลาย
อ้างอิง
ครั้งแรกในรอบ 37 ปี พบ "กระทิง" ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน
https://www.thaipbs.or.th/news/content/333317
พบ "กระทิง" ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน หลังจากหายไปนานกว่า 37 ปี
https://www.thairath.co.th/news/society/2736420
ภาพประกอบ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
☀️ จบไปแล้วนะคะ ค่ายผลิใบครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นค่ายที่ทางชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว จัดขึ้นมาของค่ายแรกปีการศึกษา 2566
📍ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแสะสัตว์ป่านครนายก ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก
วันที่ 20-23 ต.ค. 2566
ตลอดระยะเวลา 4 วัน 3 คืนที่ผ่านมาได้มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสียงของการร้องเพลงที่ไม่ตรงจังหวะ เสียงของการหัวเราะ และเสียงสะอื้นในช่วงระยะเวลาที่เราได้มีการเปิดใจพูดคุยกัน 📣✨
ท้ายที่สุด พวกเราชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว ก็หวังว่า ทุกคนจากผลิใบครั้งที่ 27 นี้ จะนำประสบการณ์ ความรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้มาใช้ชีวิตประจำวันกันนะคะ
ขอบคุณ และพบกับพวกเราใหม่ในค่ายปิดเทอมเปิดป่าครั้งที่ 21 ⛰️✨
#ผลิใบไม่เหงามาเขาพระด้วยกัน
#ผลิใบ27
📢ขออนุญาตประชาสัมพันธ์สำหรับนิสิตฝั่งองครักษ์ ในการปรับเปลี่ยนเวลา
จากเดิมลงทะเบียน 17.00น. จับสลากและปฐมนิเทศ 17.30น.
‼️ ปรับเปลี่ยนเป็น ลงทะเบียน 18.30น. จับสลากและปฐมนิเทศ 19.00 น. ณ ออคตะ🏔️ สามารถลงทะเบียนออนไลน์จนถึงวันที่ 10 ต.ค. 66 เวลา 16.00น.⏳
ขออภัยในความไม่สะดวก🙇🏻♀️🙇🏻♂️
❗️หากใครที่ลงทะเบียนแล้วไม่ได้มาจับสลาก จะถือว่าเป็นการสละสิทธิ์
อย่าลืมมาจับสลากกันนะคะ พวกเราอยากเจอทุกคนน้าา💚💫
D-Day💥❗️
นับถอยหลังไม่กี่ชั่วโมงสุดท้าย ก่อนปิดรับสมัครค่ายผลิใบครั้งที่ 27 ใครที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน บอกเลยว่าลังเลนานไม่ได้แล้ว🌈☘️
พวกเรารอเจอทุกคนอยู่นะคะ🤗
🌷สำหรับนิสิตประสานมิตร
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 9 ต.ค.66 ณ ใต้อาคารเรียนรวม เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
🌷สำหรับนิสิตองครักษ์
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 10 ต.ค.66 ณ ออคตะ เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
หากไม่มาจับสลากจะถือว่าสละสิทธิ์นะคะ❗️
ใครที่ลงทะเบียนแล้ว อย่าลืมมาจับสลากนะคะ ไปผ่อนคลายหลังสอบกับพวกเรากันค่ะ 🌟
🛎️ เริ่มนับถอยหลัง Day 1 ✨
ในการรับสมัครค่ายผลิใบครั้งที่27🌱
หากใครสนใจแล้วยังไม่ได้สมัคร อย่าลืมมาสมัครกันนะคะ🌷✨
🫧สำหรับนิสิตประสานมิตร
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 9 ต.ค.66 ณ ใต้อาคารเรียนรวม เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
🫧สำหรับนิสิตองครักษ์
จับสลากและปฐมนิเทศในวันที่ 10 ต.ค.66 ณ ออคตะ เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
หากไม่มาจับสลากจะถือว่าสละสิทธิ์นะคะ❗️
อย่าลืมมาจับสลากกับพวกเราน้าา จะได้ไปรับกิจกรรมที่สนุก ๆ ด้วยกันค่าา 🌈💐
#ผลิใบครั้งที่27
📣 ประกาศแจ้งปรับเปลี่ยนสถานที่กะทันหัน ‼️
🐞ค่ายผลิใบ ครั้งที่ 27
จากเดิมจะทำค่ายขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแสะสัตว์ป่าราชบุรี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
เปลี่ยนสถานที่เป็น
📍ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแสะสัตว์ป่านครนายก ต.เขาพระ อ.เมือง จ.นครนายก
วันที่ 20-23 ต.ค. 2566
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ค่ะ🙇🏻♀️
👇🏻สามารถลงทะเบียนได้ที่👇🏻
🐝 ประสานมิตร
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.- 9 ต.ค. 2566 (ลงทะเบียนได้ถึง 16.00 น. ของวันที่ 9 ต.ค.2566)
🚲 Walk in : วันที่ 25-29 ก.ย. และ 9 ต.ค. 2566 ณ ใต้ตึกไข่ดาว เวลา 12.00 น.- 13.30 น.
🍄 จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 9 ต.ค. 2566 เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
ณ ใต้อาคารเรียนรวม
🐝 องครักษ์
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.- 10 ต.ค. 2566 (ลงทะเบียนได้ถึง 16.00 น. ของวันที่ 10 ต.ค.2566)
🚲 Walk in : วันที่ 25-29 ก.ย.และ 10 ต.ค. 2566 ณ โรงอาหารหอใน (โรงเขียว) เวลา 12.00 น.- 13.30 น.
🍄 จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 10 ต.ค. 2566 เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
ณ ออคตะ
🌱สามารถสแกน QR Code ได้เลยยย
# ฟรีชั่วโมงกิจกรรมด้วยน้าาา🌹
# สมัครได้ทุกชั้นปี ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
📞ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
พลอยพลาย : 099-324-9091
ป๋อมแป๋ม : 062-269-6790
เอ๋ย : 090-991-2328
บูม : 064-948-2447
‼️หมายเหตุ : หากไม่เข้าร่วมจับสลากตามวันเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์น้าา 😿
#ผลิใบครั้งที่27
🐝กลับมาพบกันอีกครั้งกับพวกเราชาวอนุรักษ์ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสกับธรรมชาติ บรรยากาศแสนบริสุทธิ์ในยามเช้า และดื่มด่ำกับแสงดาวยามค่ำคืน🌱✨
🐞ค่ายผลิใบ ครั้งที่ 27 จัดขึ้นวันที่ 20-23 ต.ค. 2566
📍ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติแสะสัตว์ป่าราชบุรี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
#เปิดให้ลงทะเบียนแล้ววันนี้
🐝 ประสานมิตร
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.- 9 ต.ค. 2566 (ลงทะเบียนได้ถึง 16.00 น. ของวันที่ 9 ต.ค.2566)
🚲 Walk in : วันที่ 25-29 ก.ย. และ 9 ต.ค. 2566 ณ ใต้ตึกไข่ดาว เวลา 12.00 น.- 13.30 น.
🍄 จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 9 ต.ค. 2566 เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
ณ ใต้อาคารเรียนรวม
🐝 องครักษ์
ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.- 10 ต.ค. 2566 (ลงทะเบียนได้ถึง 16.00 น. ของวันที่ 10 ต.ค.2566)
🚲 Walk in : วันที่ 25-29 ก.ย.และ 10 ต.ค. 2566 ณ โรงอาหารหอใน (โรงเขียว) เวลา 12.00 น.- 13.30 น.
🍄 จับสลากและปฐมนิเทศวันที่ 10 ต.ค. 2566 เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป
ณ ออคตะ
# ฟรีชั่วโมงกิจกรรมด้วยน้าาา🌹
# สมัครได้ทุกชั้นปี ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
📞ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
พลอยพลาย : 099-324-9091
ป๋อมแป๋ม : 062-269-6790
เอ๋ย : 090-991-2328
บูม : 064-948-2447
‼️หมายเหตุ : หากไม่เข้าร่วมจับสลากตามวันเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์น้าา 😿
#ผลิใบครั้งที่27
16 กันยายน วันโอโซนโลก (World Ozone Day)
วันโอโซนโลก คืออะไร
เกิดจากการที่ประเทศต่างๆได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้น และ ในปี ค.ศ.1987 ได้จัดให้มีการลงนาม เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้น สารเคมีที่ถูกควบคุม คือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สารทําความเย็นใน ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศใช้เป็นก๊าซสําหรับเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทําละลายในการทําความสะอาด ล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์ ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
โอโซนมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นกับตำแหน่งในชั้นบรรยากาศ
โอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ทำหน้าที่กรองรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) หรือ โอโซนภาคพื้นดิน (Ground Level Ozone) ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ควันไอเสียรถยนต์ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งโอโซนในชั้นนี้ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และถือเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่เพิ่มความร้อนบนพื้นผิวโลกอีกด้วย
วิธีปกป้องโอโซนง่ายๆ เช่น การปลูกต้นไม้ การเดินทางด้วยรถสาธารณะ การลดขยะและลดของเสียให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยปกป้องโอโซน สิ่งมีชีวิต และโลกของเราไปพร้อมๆกันคะ🌱💚
แหล่งที่มา: United States Environmental Protection Agency National Geographic
https://www.onep.go.th
#วันโอโซนโลก
📣 วนกลับมาเจอกันอีกครั้ง ‼️
ค่ายเอาใจหนุ่มสาวรุ่นใหม่สายรักธรรมชาติ
🌱 ค่ายผลิใบ ครั้งที่ 27 🌱
🌷เบื่อเมืองกรุง อยากไปสูดอากาศในป่า ถ้าอยากรู้ว่าเราจะจัดค่ายที่ไหนจัดเมื่อไร ติดตามพวกเราไว้ในเร็ว ๆ นี้ แล้วเจอกันค่าาาาา 💐✨
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มศว
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอร่วมเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต อีกทั้งขอส่งความห่วงใยไปยังผู้บาดเจ็บทุกท่านในเหตุการณ์อุบัติเหตุงานก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่
ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
วันที่ 10 กันยายน 2566
ANURAK SWU Club would like to extend our sincere sympathies to the
families of those who passed away, and assistance to all those injured in the main
auditorium building disaster.
at Srinakharinwirot University, Prasarnmit, Bangkok
On 10th of September 2023
✨จบไปแล้วกับโครงการนิทรรศการ “สืบ นาคะเสถียร” 33 ปี สืบสาส์นสัตว์ (ไม่)สูญ
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนกิจกรรม สปอนเซอร์ใจดีและขอขอบคุณทุก ๆ คน ทุก ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการนี้ให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณทุกคนที่มาเข้ามาร่วมกิจกรรมกับพวกเราในครั้งนี้
✨พบกันใหม่กับพวกเราชาวอนุรักษ์ธรรมชาติ ในครั้งถัดไป ขอบคุณค่ะ ✨✨🌿🌿
#33ปีสืบนาคะเสถียร
#33ปีสาส์นสืบสัตว์(ไม่)สูญ
#สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
นิทรรศการ 33 ปี สืบ นาคะเสถียร วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. - 15.00 น. และ16.30-19.30 น. ณ สำนักหอสมุดกลาง ร่วมฟังดนตรีสุดพิเศษจาก"อาจินต์,วสันต์17
และ Gandharva"
#33ปีสืบนาคะเสถียร
#33ปีสาส์นสืบสัตว์(ไม่)สูญ
#สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
นิทรรศการ 33 ปี สืบ นาคะเสถียร วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 น. - 15.00 น. และเวลา 16.30-19.45 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักหอสมุดกลาง มศว ประสานมิตร
• รับชมภาพยนตร์ "ฝนตกที่ห้วยขาแข้ง"
• ร่วมฟังบรรยายหัวข้อ "หลังคุณสืบจากไปสัตว์ป่าเป็นอย่างไรในผืนป่าตะวันตก"
#33ปีสืบนาคะเสถียร
#33ปีสาส์นสืบสัตว์(ไม่)สูญ
#สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
ชั้น 2 ตึกกิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
Bangkok
10110
50 Ngam Wong Wan Road, Ladyaow Chatuchak
Bangkok, 10900
Official Page of Kasetsart University -- งดฝากร้านและโฆษณา
Master Of Management, Chulalongkorn University, 50th Anniversary Building, Phyathai Road
Bangkok, 10330
Welcome to MMCHULA
AIT School Of Management, Column Tower (15th Fl), Sukhumvit Soi 16
Bangkok, 10110
Official page of School of Management, AIT- Thailand !
39/1 Ratchadaphisek Road
Bangkok, 10900
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โทร 0 2942 5800, 0 2942 6800 โทรสาร 0 2541 7113
148 ม. 3 ถ. เสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
Bangkok, 10240
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ MBA NIDA l NIDA Business School l AACSB
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ
Bangkok, 10140
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
Thammasat Business School, 2 Prachan Road
Bangkok, 10200
BBA Thammasat was established in 1992 with the objective of creating a program in undergraduate business education that is responsive to a world of fast-pace technology and a more ...
Habito Road, Phra Khanong Nuea, Wattahana
Bangkok, 10110
Humanitarian Affairs Asia aspires to tackle global challenges and serve society by getting young people involved. We believe in cultivating a spirit of selfless giving and contribu...
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
Bangkok, 10200
Official Thammasat Relations for Thammasat Communities
Bangkok, 10400
PICMU is the Program in Inorganic Chemistry @ Mahidol University in which the program has been appro
69 Vipawadee-Rangsit Road
Bangkok, 10400
College of Management Mahidol University (Official)
61 Phaholyothin Road Jatujak
Bangkok, 10900
Business Administration (BA) Faculty, Sripatum University is among the first five Private Business School in Thailand.