รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปรึกษาภาษี ติดต่อ Line: tony2212 /mouytai
เปิดเหมือนปกติ
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 14/2565 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 580 หนังสือรับรอง สามารถดูตัวอย่างหนังสือรับรองที่เปลี่ยนแปลงตาม Link ด้านล่างค่ะ
https://www.tfac.or.th/Article/Detail/151968
ขั้นตอนการเลิกบริษัท
ขั้นตอนการชำระบัญชี
1. เมื่อบริษัทเลิกกันแล้ว
2. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
* ขั้นตอนตาม 2-3 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่บริษัทเลิกกัน*
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (ณ วันที่บริษัทเลิกกันหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
6. ผู้ชาระบัญชีชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท)
7. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่ก าหนดไว้ในข้อบังคับ
8. กรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ก็ให้ผู้ชำระบัญชียื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน
ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันเริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความ
เป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด
9. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
10. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
11. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการช าระบัญชี
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=941
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)
3. รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)
4. งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (หรืองบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้)
5. รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)
6. แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตร หรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
ค่าธรรมเนียม
1. การชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัท 500 บาท
2. หนังสือรับรองรายการละ 40 บาท
3. รับรองสำเนาเอกสารคำรับรองจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
ยื่นคำขอจดทะเบียน ณ หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ตามที่สำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทก่อนเลิกตั้งอยู่ ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 (ปิ่นเกล้า พหลโยธิน รัชดาภิเษก สี่พระยา บางนา และแจ้งวัฒนะ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)) เฉพาะธุรกิจหลักทรัพย์ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ) **ดูรายละเอียดที่ตั้ง**
2. ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่นอกจากนี้สามารถ ยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ที่เว็บไซต์ https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
ที่มา:https://www.dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_liquidate.pdf
TAS32 หุ้นกู้แปลงสภาพ
พี่น้องครับ เรามารู้จักการระดมทุนด้วยหุ้นกู้แปลงสภาพราคาใช้สิทธิแปลงสภาพลอยตัว (Fixed-for-variable convertible debentures) กันนะครับ
หลังๆ มานี้มีกิจการหลายแห่งเลือกระดมทุนด้วยหุ้นกู้แปลงสภาพราคาใช้สิทธิแปลงสภาพลอยตัว ซึ่งกองทุนสัญชาติสิงคโปร์ Advance Opportunities Fund (AO) และ Advance Opportunities Fund I (AOI) ได้เข้ามาลงทุนใน Listed Co. ที่มีศักยภาพในการ turn around หลายแห่งในไทย โดย AJA เป็นหนึ่งในกิจการที่กองทุนทั้งสองเข้าลงทุนซึ่งข้อมูลที่นำมาลงในโพสต์นี้ก็มาจากงบการเงินปี 2564 ของกิจการแห่งนี้
หุ้นกู้แปลงสภาพราคาใช้สิทธิแปลงสภาพลอยตัวที่ AO เข้าลงทุนเป็นหุ้นกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำมาก อย่างของ AJA เพียง 0.50% ต่อปีเท่านั้น แต่โลกนี้ไม่มีของฟรีครับ เพราะ AO ขอสิทธิแปลงสภาพในราคา 90% ของราคาตลาด ณ วันแปลงสภาพ
นั่นแปลว่า เมื่อแปลงแล้วก็สามารถไปกินกำไรจากการขายหุ้นในตลาดแทน สมมติถือหุ้นกู้ 1 ปี แปลงสภาพแล้วขายทันที ก็จะได้ผลตอบแทนตั้ง 0.50% + 10% = 10.5% ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ไม่เลวเลยนะครับ และเท่าที่เห็น ยังไงก็กำไรโดยความเสี่ยงก็ไม่มากเท่าใดนัก เพราะถ้าราคาหุ้นไม่ค่อยวิ่งก็ยังไม่ต้องไปแปลงสภาพ ถือเป็นหุ้นกู้ไว้ก่อนเพื่อลดความเสี่ยง
คราวนี้ ถ้ามามองด้านผู้ออกบ้าง TAS32 เรื่องการแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ระบุว่าหากกิจการมีภาระที่ต้องออกตราสารทุนของตนเองเพื่อชำระภาระผูกพันตามสัญญา “ในจำนวนผันแปร” จะถือว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นตราสารหนี้ (TAS32.21) ซึ่งในกรณีนี้ กิจการผู้ออกมีภาระที่ต้องออกหุ้นในราคา 90% ของราคาหน้าหุ้นกู้ ณ วันที่แปลงสภาพ ธุรกรรมนี้จึงถือเป็น “ตราสารหนี้” ทั้งจำนวน
แล้ว AJA จะจัดทำรายงานทางการเงินอย่างไร? เราพอสรุปได้ดังนี้
• แยกองค์ประกอบเป็นตราสารหนี้ส่วนที่เป็นหุ้นกู้และ ส่วนที่เป็นสิทธิ์แปลงสภาพ
• จัดประเภทส่วนที่เป็นหุ้นกู้เป็นหนี้สินทางการเงินตามปกติ แสดงด้วย amortized cost (TFRS9)
• จัดประเภทสิทธิ์แปลงสภาพเป็นหนี้สินทางการเงินที่มีมูลค่าผันแปรไปตามราคาตลาดของหุ้นสามัญ จึงต้องวัดมูลค่าด้วย FVPL (TFRS9)
• บันทึกค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นหักจากหุ้นกู้แปลงสภาพ และตัดจำหน่ายตามอายุ
• หุ้นกู้แปลงสภาพและสิทธิ์แปลงสภาพดังกล่าวจะส่งผลต่อการคำนวณกำไรต่อหุ้นปรับลดตาม TAS33
ตอนนี้มันมีตราสารเพื่อระดมทุนหลากหลายมาก พี่น้องก็คงต้องดูเนื้อหาของสัญญาเพื่อมาประกอบการบันทึกบัญชี ซึ่งโพสต์นี้น่าจะมีประโยชน์กับการสอบ AC2 อยู่บ้าง
ลิงค์นี้เป็นงบ AJA 2564 นะครับ ถ้าสนใจลองดูที่หมายเหตุข้อ 20
https://market.sec.or.th/public/idisc/Download?FILEID=dat/news/202202/22022117.zip
แล้วถ้าจะเตรียมสอบ AC1 – AC2 สด หรือออนไลน์ก็ทักมาได้เลย inbox หรือ lineID: @cpasolution ขอบคุณมากๆ
#หุ้นกู้แปลงสภาพ
เปิดบริษัท ต้องทำอะไรบ้าง ลองอ่านกันค่ะ
งบเสี่ยงที่จะถูกเพ่งเล็ง
Photos from Zero to Profit's post
Photos from ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี's post
📌 แจกนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50 ปี 2564 แบบผูกสูตร
⏬ https://bit.ly/3GMs3w9
.
เรียกว่าเป็นไฟล์ที่นักบัญชีทุกคนตามหา แนะนำควรโหลดเก็บเอาไว้เลย ภ.ง.ด.50 แบบผูกสูตร สามารถบวกเลขรวมยอดอัตโนมัติ คำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ผู้จัดทำได้เพิ่มในส่วนของ
🟠 เพิ่มใบแนบสำหรับกรอกผลขาดทุนสะสม
🟠 เพิ่มใบแนบกรอกรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี และรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น
🟠 สามารถใช้กรอก ภ.ง.ด. 50 ธุรกิจ BOI ได้อีกด้วย
.
แนะนำให้ใช้โปรแกรม Adobe reader dc ในการเปิดสามารถโหลดฟรีได้ที่นี่ https://get.adobe.com/reader/
.
เครดิต: ขอขอบคุณนายอธิฐ สุทธิปัญโญ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาไฟล์นี้มาแจกให้กับทุกคนได้ใช้งานกันครับ และตอนนี้คอมพิวเตอร์ของพี่อธิฐได้พังไปแล้ว ใครที่ต้องการร่วมบริจาคสมทบทุนจัดหาคอมพิวเตอร์ใหม่สามารถร่วมผ่านบัญชี Prompt Pay : 099-007-6161 (ตามอัธยาศัย)
.
.
ผมรวบรวม Link แบบฟอร์มภาษี (แบบผูกสูตร) ที่พี่อธิฐ ได้ทำทั้งหมดไว้ให้ในโพสนี้เลยครับ เพื่อบางท่านพลาดไป
1. แบบ ภ.ง.ด. 90 ปี 2564 ⏬ https://bit.ly/3JlKuJy
1. แบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2564 ⏬ https://bit.ly/3IcqszZ
2. แบบ ภ.ง.ด. 94 ปี 2564 ⏬ https://bit.ly/33bZKZh
อย่าลืมยืนยันตัวตนผู้ทำบัญชีกันค่ะ
ช้อปดีมีคืน
TFRS15 การรับรู้รายได้
ขอสวัสดีปีใหม่ 2565 ด้วยโพสต์แรกของปีในการฉายภาพรวมของ TFRS 15
TFRS 15 – ตอนที่ 1
ภาพรวมของ TFRS 15
TFRS 15 – รายได้จากสัญญากับลูกค้า (Revenue from Contracts with Customers) กำหนดหลักการของการรับรู้รายได้ (Revenues) สำหรับกิจการทุกประเภทที่เรียกกันว่า Five-Step Revenue Recognition Model โดยขอเรียกเป็นภาษาไทยว่าโมเดลการรับรู้รายได้ห้าขั้น (ตามรูป) สำหรับตอนที่ 1 นี้ขออธิบายเบื้องต้นของหลักการของโมเดลนี้ก่อน พอให้เห็นภาพคร่าวๆ ก่อน รายละเอียดในแต่ละขั้นตอน เอาไว้ค่อยๆ ขยายความกันไปทีละส่วน
ขั้นที่ 1 ระบุสัญญากับลูกค้า
คีย์เวิร์ดคือคำว่า สัญญา กับ คำว่า ลูกค้า ถ้ายังไม่มีสัญญากับลูกค้า ก็จะไม่สามารถมีการรับรู้รายได้ โดยสัญญาต้องเป็นการตกลงกันของสองฝ่าย คือ เรากับลูกค้า จะตกลงกันเป็นลานลักษณ์อักษรหรือวาจาก็ได้ ไม่ได้ซีเรียส แต่ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงหรือยอมรับว่าใครต้องทำอะไรกันบ้าง เช่น เราต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการอะไร และลูกค้าจะต้องจ่ายเงินเราเท่าใด เป็นต้น ส่วนคำว่า ลูกค้า ก็ไม่มีอะไรมาก ก็ตามที่เข้าใจกันทั่วไป ก็คือ คนที่เราขายสินค้าหรือให้บริการตามปกติธุรกิจของเรา
ขั้นที่ 2 ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา
คำว่า ภาระที่ต้องปฏิบัติ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Performance Obligation แล้วมันคืออะไรหละ ไอ้คำเนี่ย เป็นคำศัพท์ใหม่เลย ถ้าเราคิดต่อเนื่องจากขั้นที่ 1 ที่บอกว่า เราต้องรู้ว่าเราต้องทำอะไร (เช่น การส่งมอบสินค้าหรือบริการ) ไอ้สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ ภาระที่ต้องปฏิบัติ นั่นเอง ง่ายๆ เช่นนี้ โดยปกติ ถ้าสัญญาคือคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ภาระที่ต้องปฏิบัติก็มักจะเป็นการส่งมอบสินค้า ก็ตรงไปตรงมาเช่นนั้น แต่ที่ต้องมีขั้นตอนนี้ เพราะหลายครั้งในหนึ่งสัญญาอาจจะมีสิ่งที่เราต้องทำหลายอย่าง เช่น ส่งมอบสินค้า ติดตั้งสินค้าให้ลูกค้า และยังมีบริการดูแลหลังการขายอีกด้วย สาเหตุที่ต้องมีการระบุภาระที่ต้องปฏิบัติ เพราะบางครั้งสิ่งที่เราต้องทำหลายๆ อย่างอาจถือรวมเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งเดียว แต่ในบางกรณีอาจจะแยกเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติหลายรายการ เรื่องนี้สำคัญทีเดียว เพราะถ้าเป็นภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งเดียว ชีวิตที่เหลือก็ง่ายเลย แต่ถ้ามีภาระที่ต้องปฏิบัติมากกว่าหนึ่งรายการ ก็เพิ่มความวุ่นวายนิดหน่อย การที่จะถือเป็นหนึ่งเดียวกันหรือแยกกัน มาตรฐานใช้คำว่า Distinct ซึ่งเหมือนเค้าจะแปลว่า แตกต่างกัน (แต่ใจจริงผมชอบใช้คำว่า แยกออกจากกันได้) นั่นคือ หากสิ่งที่เราต้องทำ (เช่น ส่งมอบสินค้า ติดตั้งสินค้า บริการหลังการขาย) มันแยกออกจากกันได้ ต่างคนต่างอยู่ได้ สินค้าที่ขายไม่ได้ต้องการการติดตั้งที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ส่วนการบริการหลังการขายก็เป็นการบริการตามปกติของเรา บางครั้งอาจไม่ต้องซื้อสินค้าจากเราก็ได้ อะไรทำนองนี้ แบบนี้ ก็ถือว่า มันแตกต่างกัน มันแยกออกจากกันได้ ก็จะมีมากกว่าหนึ่งภาระที่ต้องปฏิบัติ เราจะกลับมาคุยรายละเอียดกันอีกทีในตอนต่อๆ ไป
ขั้นที่ 3 กำหนดราคาของรายการ
คำว่าราคาของรายการ (Transaction Price) คิดง่ายๆ ก็คือ จำนวนเงินทั้งหมดที่ลูกค้าจะต้องจ่ายให้เราตามสัญญา โดยปกติก็จะตรงไปตรงมา เพราะจำนวนเงินมักจะกำหนดไว้ชัดเจน ไม่ว่าจะกำหนดราคาสำหรับแต่ละรายการที่เราต้องทำตามสัญญา จะแยกกันหรือรวมกัน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ที่จะมักจะเป็นประเด็นคือจำนวนเงินอาจผันแปรไปตามปัจจัยบางอย่าง ซึ่งประเด็นนี้ของติดไว้ก่อน เล่าตรงนี้ก็จะยืดยาดไป
ขั้นที่ 4 ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา
ขั้นตอนนี้ข้ามไปได้เลย หากในขั้นที่ 2 พบว่าตามสัญญามีเพียงแค่ภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งเดียวเท่านั้น เพราะในกรณีนี้ราคาของรายการทั้งหมดก็จะเป็นของภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งเดียวนั้น แต่ถ้าในขั้นที่ 2 ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติได้มากกว่า 1 รายการ ขั้นตอนนี้ก็จะมีความสำคัญ เราต้องปันส่วนราคาของรายการตามขั้นที่ 3 ให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติแต่ละรายการ แล้วจะปันส่วนโดยใช้เกณฑ์ใดหละ คงไม่ใช่หารเท่าแน่นอน ชาวบัญชีไม่มีทางทำอะไรแบบนั้นแน่นอน เกณฑ์ที่ใช้ในการปันส่วนคือสัดส่วนของราคาขายเอกเทศ หรือ Stand-alone Selling Price (แอบชอบคำแปลภาษาไทยคำนี้ นานๆ ทีจะเห็นมาตรฐานการบัญชีจะใช้คำสไตล์นี้ 55555) ของภาระที่ต้องปฏิบัติแต่ละรายการต่อผลรวมของราคาขายเอกเทศของภาระที่ต้องปฏิบัติทั้งหมดตามสัญญา
ขั้นที่ 5 รับรู้รายได้เมื่อกิจการได้ปฏิบัติภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว
คีย์เวิร์ดของการปฏิบัติภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นคือการโอนอำนาจควบคุม (Control) ของสินค้าและบริการให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้วในแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติ นั่นคือ เมื่อเราโอนอำนาจควบคุมแล้ว เราก็สามารถรับรู้รายได้ได้ เราอาจจะรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลา (Over Time) หรือ ณ จุดเวลา (Point in Time) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการโอนอำนาจควบคุม หากเราโอนอำนาจควบคุมรวดเดียวจบ เราก็รับรู้รายได้ครั้งเดียว หรือ Point in Time หากเราค่อยๆ ทยอยโอนอำนาจควบคุมตลอดช่วงเวลา เราก็ค่อยๆ ทยอยรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลา แล้วจะรู้ได้ไงว่าเมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการโอนอำนาจควบคุมแล้ว ประเด็นนี้ก็ขอติดไว้ก่อนเพราะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องเล่ายาวพอควร เอาเป็นว่าถ้าเป็นการขายสินค้าส่วนใหญ่แล้วเมื่อเราส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าแล้ว ก็ถือว่าเราได้โอนอำนาจควบคุมของสินค้าให้ลูกค้าแล้ว เราก็รับรู้รายได้ได้ หรือหากเป็นการบริการแนวรับจ้างทำของตามคำสั่งลูกค้าเป็นการเฉพาะ ก็อาจจะคิดได้ว่าเราค่อยๆ โอนอำนาจควบคุมตามความก้าวหน้าของงานที่เราทำ ในกรณีนี้เราก็ค่อยๆ ทยอยรับรู้รายได้ไปเรื่อยๆ จนกว่างานจะเสร็จ
โมเดลการรับรู้รายได้ห้าขั้นตาม TFRS 15 ก็ประมาณนี้ครับ อย่างที่บอกไว้ หากเป็นการขายสินค้าตามปกติ ไม่มีเงื่อนไขอะไรวุ่นวาย เราก็ยังรับรู้รายได้ตามเดิมแหละ ก็คือเมื่อเราส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า แต่ถ้าเงื่อนไขการขายของเราแนวขายสินค้าแถมบริการ เราอาจจะต้องมีการแบ่งราคาที่ตกลงกับลูกค้าเป็นราคาของสินค้าและราคาของการบริการ หากทั้ง 2 รายการนี้เสร็จสิ้นพร้อมกัน ก็ไม่มีประเด็นอะไร ก็รับรู้รายได้พร้อมกันแหละ (แบบนี้ เราอาจคิดว่า เออ ไม่ต้องเสียเวลาทำขั้นที่ 4 ก็ได้ ไม่จำเป็น) แต่ถ้าการส่งสินค้ากับการให้บริการดันเสร็จสิ้นไม่พร้อมกัน การปันส่วนราคาในขั้นที่ 4 ก็สำคัญ และเราก็ต้องรับรู้รายได้แยกกัน ไม่สามารถรับรู้รายได้พร้อมกันได้
สำหรับตอนแรกเอาแค่พอหอมปากหอมคอประมาณนี้ก่อนล่ะกัน ตอนต่อไปอาจจะแสดงตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพของการวิเคราะห์ตามโมเดลการรับรู้รายได้ห้าขั้น
หากเห็นว่าโพสต์นี้เป็นประโยชน์ ก็กด Follow กด Like กด Share กันได้นะครับ
Photos from CPA Solution's post
📌 บุคคลธรรมดาทำธุรกิจค้าขายเสียภาษีประมาณเท่าไหร่
.
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา มีรายได้จากการค้าขายไม่ว่าจะเป็น ขายของออนไลน์ ร้านขายอาหาร เปิดร้านขายของชำ ถ้าในระหว่างปีคุณไม่ได้มีการจัดทำบัญชีเงินสดรับจ่าย และเก็บเอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายเอาไว้ ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคุณจะไม่สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริงและสมควรได้ ต้องเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาอัตราค่าใช้จ่ายที่ 60% ของยอดรายได้แทน
.
แอดมินได้ทำสรุปข้อมูลยอดภาษีที่จะต้องเสียแบบคร่าวๆ ตามยอดรายได้ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมใจและเตรียมเงินสำหรับเสียภาษีเอาไว้ให้ ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดลงได้อีกถ้ามีค่าลดหย่อนที่เพิ่มขึ้น
.
⛔ ข้อมูลที่เห็นจะเป็นแค่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น ถ้าคุณมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการจะต้องเรียกเก็บ VAT 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งกรมสรรพากร
Photos from ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี's post
สรุปประเด็นบัญชี PayPal
มาตรการใช้งานบัญชีที่เปลี่ยนไป
ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไหม
และเกี่ยวกับเรื่องภาษีอะไรบ้าง ?
คลิป : https://youtu.be/DwwNEhxLxVs
---
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า...
Paypal กำลังจะเปิดให้บริการใหม่ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งผู้ใช้งานฝั่งใช้งานทั่วไป (ส่วนตัว) และแบบธุรกิจ โดยต้องมีการยืนยันตัวตน
โดยสำหรับกรณีบัญชีใช้งานทั่วไป (ต่อให้มีการยืนยันตัวตน) ก็จะไม่สามารถเก็บเงินในบัญชี PayPal และถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้อีกต่อไป
แต่สำหรับบัญชีธุรกิจที่ผ่านมาตรการยืนยันตัวตน สามารถใช้งานได้อยู๋ โดยสามารถเก็บยอดเงินและถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยที่ผูกไว้ได้เท่านั้น
โดยการยืนยันตัวตนในฝั่งของธุรกิจ จะต้องมี
- เลขทะเบียนพาณิชย์ประเทศไทย 13 หลัก
- ชื่อกิจการอย่างเป็นทางการ หมายเลขโทรศัพท์และที่ตั้งธุรกิจ
- เอกสารการจดทะเบียนธุรกิจของประเทศไทย
- หลักฐานที่ตั้งธุรกิจ (โปรดอัปโหลดใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคล่าสุด เอกสารภาษี รายการเดินบัญชีบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารล่าสุดที่ปรากฏที่ตั้งธุรกิจ)
ตรงนี้สิ่งที่ยังพรี่หนอมไม่เคลียร์คือ จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล หรือ จดทะเบียนพาณิชย์ (ในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ก็เพียงพอ แต่เข้าใจว่าน่าจะหมายถึงการจดทะเบียนพาณิชย์ก็พอแล้ว เพื่อให้บุคคลธรรมดามีหลักฐานว่ามีการประกอบธุรกิจ
นอกจากนั้น Paypal จะมีการคิด VAT7% ในส่วนของค่าบริการ (ค่าธรรมเนียมทางบัญชี) หรือพูดง่าย ๆ ว่า ที่ Paypal คิดจากลูกค้าเดิม จะมีการ + เพิ่มอีก 7% ตามนโยบายของภาษี e-service ที่เพิ่งบังคับใช้
รายละเอียดอื่น ๆ : https://bit.ly/3mNKysm
---
ดังนั้นในมุมของคนที่ใช้งานบัญชี มีอยู่ 2 ทางเลือกคือ เปลี่ยนที่ใช้ใหม่ (ถ้ามี) หรือ ใช้บัญชีเดิมแล้วทำตามเงื่อนไขของ Paypal ซึ่งตรงนี้หลายคนอาจจะเข้าใจผิดในประเด็นภาษีบางเรื่อง
1. ถ้าความหมายการยืนยันธุรกิจคือ "การจดทะเบียนพาณิชย์" อย่างที่สันนิษฐานมา บุคคลธรรมดาสามารถจดได้ด้วยตัวเอง เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท + เดินทางไปจด
รายละเอียด :https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=373
2. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยังเหมือนเดิม คือ รายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ หากนำเข้ามาในไทยในปีที่เกิดรายได้ และตัวผู้มีเงินได้อยู่ในไทยถึง 180 วัน ก็ยังมีหน้าที่ต้องเสียตามปกติ (เว้นแต่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
รายละเอียด : https://www.taxbugnoms.co/taxes-for-foreign-income/
3. ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคือ ค่าธรรมเนียมที่ต้องมี VAT และการใช้งานที่ถูกจำกัดตามเงื่อนไขที่ PayPal กำหนดไว้ ดังนั้นตรงนี้อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมครับ
รวบรวมมาให้ประมาณนี้ในมุมของการจัดการเบื้องต้นครับ ยังไงถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมคอมเม้นไว้หรือแลกเปลี่ยนกันได้ครับ
สรรพากรมาชี้แจงแล้วค่ะ
มาลองดูกันนะ
Photos from Zero to Profit's post
กรมสรรพากรให้ นิติบุคคลทุกกิจการต้องยืนยันตัวตนใหม่ผ่านทางระบบออนไลน์ ภายใน 31 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น มาบอกวิธีทำตามได้เลยค่ะ
เอาเงินออกจากธุรกิจยังไงดี
[ตัวอย่าง] เอาเงินออกจากธุรกิจยังไงดี ? ให้เสียภาษีน้อยที่สุด | สอนจัดการเงิน ฉบับคนทำธุรก เอาเงินเราออกจากธุรกิจยังไงดี ? ให้เสียภาษีน้อยที่สุด เจ้าของธุรกิจหลายคนมักจะมีคำถามแบบนี้อยู่บ่อย ๆ แต...
Barista & Latte Art Training, Set up bar, Catering, Event ,Latte Art Workshop รับเป็นที่ปรึกษา จำหน่ายเครื่องชง วัตถุดิบกาแฟ ครบวงจร
ผมบาง ผมร่วง ใช้ดี Herbal Hair Products & Horn Comb Thailand: 02-171-5018/096-649-7969 Line ID: quanmeithai Website: quanmeihairtonic .com
BLUer App แอพบริการเรียกรถ ที่มีประสบการณ์เพื่อให้บริการการเดินทาง และส่งของทั่วประเทศ
Interior design and built, specialized in office allocation and design.
รับพิมพ์ บิล บิลเข้าเล่ม บิลต่อเนื่อง เช่น ใบเสร็จรับเงิน พิมพ์สติกเกอร์ ขาวมัน ขาวด้าน pp pvc
ขายรองเท้าแฟชั่นราคาถูก แม่ค้าเป็นกันเอง